ถ้าดู GDP, GDP/Caita, Area ของแต่ล่ะประเทศในอันดับ 1-3กลายเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกแล้ว สำหรับ 7-Eleven แต่ประเทศที่มีสาขามากที่สุดกลับอยู่ในเอชียไม่ใช่ยุโรป
เซเว่น อีเลฟเว่น ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดย บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิต และจัดจำหน่ายน้ำแข็ง ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ ซึ่งในระยะแรก เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ของทุกวัน อันเป็นที่มาของชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น นั่นเอง
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน และได้รับความช่วยเหลือจากอิโต-โยคะโดซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นมีอำนาจควบคุมบริษัทในปี พ.ศ. 2534 ในปี พ.ศ. 2548 อิโต-โยคะโดก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และเซเว่น อีเลฟเว่นก็กลายเป็นบริษัทลูกของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ตั้งแต่นั้นมา
ในส่วนของประเทศไทย แฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.ซีพี ออลล์ (เดิมคือ บมจ. ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อสิทธิการประกอบกิจการ จากเจ้าของสิทธิ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทย คือ สาขาถนนพัฒน์พงศ์ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาประมาณ 5,123 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 3,000 สาขา ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขาซึ่งเป็นธุรกิจที่ำทำกำำไรดีต่อวันมากที่สุดของประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 333,092,337 บาท รวม 5,123 สาขาทั่วประเทศ
สำหรับประเทศที่มี 7-Eleven มากที่สุดคือ
อันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่น มี 12,105 สาขา
อันดับ 2 ประเทศไต้หวัน มี 4,800 สาขา
อันดับ 3 ประเทศไทย มี 4,778 สาขา
อันดับ 4 ประเทศเกาหลีใต้ มี 1,995 สาขา
อันดับ 5 ประเทศจีน มี 1,440 สาขา
อันดับ 6 ประเทศมาเลเซีย มี 1,013 สาขา
อันดับ 7 ประเทศเม็กซิโก มี 969 สาขา
อันดับ 8 ประเทศสหรัฐอเมริกา มี 586 สาขา
อันดับ 9 ประเทศแคนาดา มี 462 สาขา
อันดับ 10 ประเทศสิงคโปร์ มี 435 สาขา
1.GDP Ranking 2009 List by the International Monetary Fund
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... _(nominal)
- ญี่ปุ่น 5,068,059 millions of USD (อันดับ 2)
- ไต้หวัน 378,969 millions of USD (อันดับ 25)
- ไทย 263,889 millions of USD (อันดับ 33)
2.GDP per capita 2009 List by the International Monetary Fund
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... per_capita
- ญี่ปุ่น 39,731 USD (อันดับ 17)
- ไต้หวัน 16,392 USD (อันดับ 38)
- ไทย 3,940 USD (อันดับ 93)
3.Countries by total area
จาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... total_area
- ญี่ปุ่น 377,930 km2 (อันดับ 61)
- ไต้หวัน 36,188 km2 (อันดับ 136)
- ไทย 513,120 km2 (อันดับ 50)
ถ้ามองในด้านพื้นที่จะเห็นว่าไต้หวัน จำนวนพื้นที่ประเทศ/สาขา นั้นมากที่สุด ( เล็กกว่าบ้านเรา 14.xx เท่า)
ถ้ามองได้ด้าน GDP กำลังซื้อในญี่ปุ่น+ความเจริญ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้มีจำนวนสาขามากที่สุด
ถ้ามอง GDP per capita สัดส่วน สาขา / GDP per capita ไทย บ้านเรามากที่สุด
แล้วชาว TVI มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ? โอกาสที่ 7-11 ในบ้านเราจะหนาแน่นเท่าไต้หวัน(โต 14 เท่า) หรือ จำนวนสาขาเติบโตไปเป็นอันดับ 1 เทียบเท่า ญี่ปุ่น (โต 2.5 เท่า) มีมากน้อยแค่ไหน ปัจจัยอะไรบ้างครับ?