ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
- Knight191
- Verified User
- โพสต์: 137
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 1
เช่น หุ้น IRC จ่ายปันผลมา แยกเป็นส่วนๆ คือ
ส่วนที่ 1. เครดิตได้ 30% = 3000 บาท (ผมโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%)
ส่วนที่ 2. ไม่ได้เครดิตเพราะได้ยกเว้น ภาษีนิติบุคคล (BOI) = 2000 บาท (แต่ยอดนี้ผมไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%)
เวลายื่นขอคืนภาษี ต้องเอาส่วนที่ 2. (2000 บาท) มารวมในเงินได้ เพื่อยื่น ภงด.90 ของผมด้วยไหมครับ
ขอบคุณครับ
ส่วนที่ 1. เครดิตได้ 30% = 3000 บาท (ผมโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%)
ส่วนที่ 2. ไม่ได้เครดิตเพราะได้ยกเว้น ภาษีนิติบุคคล (BOI) = 2000 บาท (แต่ยอดนี้ผมไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%)
เวลายื่นขอคืนภาษี ต้องเอาส่วนที่ 2. (2000 บาท) มารวมในเงินได้ เพื่อยื่น ภงด.90 ของผมด้วยไหมครับ
ขอบคุณครับ
- tradtrae
- Verified User
- โพสต์: 247
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 2
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 119/2545
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มี เงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 2 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 4 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดัง กล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536
ข้อ 6 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลง ทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็น รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ 7 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดัง กล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
ข้อ 8 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่ง เสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผล และเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมา รวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว ทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
ข้อ 9 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผล จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผล และเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงิน ปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัท จำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม
(2) บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวม คำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว ทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปัน ผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงิน ส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 12 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปัน ผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 13 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษี เงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตรา ใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้ในอัตราใด
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสีย ภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไร หลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้ มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
ข้อ 14 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 15 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 16 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 17 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 18 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน เกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บ ภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบ จำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงิน ได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 19 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และใน กรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี
ข้อ 20 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
วิชัย จึงรักเกียรติ
(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
ที่ ป. 119/2545
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มี เงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 2 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 4 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 กรณีบุคคลธรรมดา ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดัง กล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536
ข้อ 6 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลง ทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็น รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ 7 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดัง กล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
ข้อ 8 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่ง เสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผล และเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมา รวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว ทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
ข้อ 9 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผล จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผล และเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงิน ปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัท จำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม
(2) บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวม คำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว ทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปัน ผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงิน ส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 12 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปัน ผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 13 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษี เงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตรา ใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้ในอัตราใด
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสีย ภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไร หลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้ มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
ข้อ 14 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 15 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียก เก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 16 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 17 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 18 กรณีบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุใน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน เกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บ ภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบ จำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงิน ได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบ ถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงิน ภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 19 กรณีบุคคล ธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และใน กรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี
ข้อ 20 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
วิชัย จึงรักเกียรติ
(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
- Knight191
- Verified User
- โพสต์: 137
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 4
ตอนยื่น ภงด 90 จะมีช่องเฉพาะสำหรับคีย์ ไม่โดนหัก ณ ที่จ่าย 10% ไม่นำมารวมเป็นรายได้
หรือว่าให้คีย์แค่ส่วนเดียวเท่านั้นเลย คือ เครดิต 30% = 3000 บาท
พอดีไม่เคยเจอหุ้นตัวที่จ่ายปันผลลักษณะนี้ครับ
ขอบคุณครับ
หรือว่าให้คีย์แค่ส่วนเดียวเท่านั้นเลย คือ เครดิต 30% = 3000 บาท
พอดีไม่เคยเจอหุ้นตัวที่จ่ายปันผลลักษณะนี้ครับ
ขอบคุณครับ
- xcha
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 5
จะมีช่อง "ยกเว้นภาษี" ให้กรอกครับ
ถ้านึกภาพไม่ออก ผมเคยเขียนวิธีการลง ภงด.90 ไว้ใน Blog ลองไปดูได้นะครับ ที่ http://www.yourinvestment.in.th/2009/03/50-2551.html
ถ้านึกภาพไม่ออก ผมเคยเขียนวิธีการลง ภงด.90 ไว้ใน Blog ลองไปดูได้นะครับ ที่ http://www.yourinvestment.in.th/2009/03/50-2551.html
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
เกี่ยวกับการรวมคำนวณเงินปันผล
โพสต์ที่ 8
จริง ๆ แล้ว ถ้าโดนหักภาษีไว้แล้วเรามีสิทธิในการเลือกว่าจะ เอารายได้จากเงินปันผลนั้น ๆ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีหรือไม่ก็ได้ครับ
สมมติว่าถ้ารวมคำนวณ ในกรณีที่ เงินปันผลนั้นสามารถเครดิตภาษีได้ ก็ต้องบวกกลับ เครดิตภาษีมาเป็นเงินได้ก่อน เพื่อคำนวนภาษีที่ต้องเสีย จากนั้น ค่อยนำเครดิตภาษี กับ ภาษีที่โดนหักไว้มาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระครับ (ในกรณีที่คำนวนแล้วเสียมากกว่าเดิม ก็ไม่ต้องยื่นเสียภาษี เพราะว่าโดนหักไปแล้ว)
ในกรณีที่โดนหักภาษีไว้ แต่ไม่ได้เครดิตภาษี ก็ใช้เงินปันผลบวกกลับเข้าไปในการคำนวนภาษี แล้ว นำภาษีที่โดนหักมาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
สมมติว่าถ้ารวมคำนวณ ในกรณีที่ เงินปันผลนั้นสามารถเครดิตภาษีได้ ก็ต้องบวกกลับ เครดิตภาษีมาเป็นเงินได้ก่อน เพื่อคำนวนภาษีที่ต้องเสีย จากนั้น ค่อยนำเครดิตภาษี กับ ภาษีที่โดนหักไว้มาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระครับ (ในกรณีที่คำนวนแล้วเสียมากกว่าเดิม ก็ไม่ต้องยื่นเสียภาษี เพราะว่าโดนหักไปแล้ว)
ในกรณีที่โดนหักภาษีไว้ แต่ไม่ได้เครดิตภาษี ก็ใช้เงินปันผลบวกกลับเข้าไปในการคำนวนภาษี แล้ว นำภาษีที่โดนหักมาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 9
ขอต่ออีกนิดครับ (ขออภัยที่ Post ต่อเนื่องครับ)
ส่วนเงินปันผลที่ไม่ได้ถูกหักภาษีไว้ ส่วนใหญ่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล พอจ่ายเป็นปันผลมาให้เรา เราก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำไปรวมกับรายได้ที่ต้องเสียภาษีของเรา (เพราะได้รับการยกเว้นไปแล้ว งงไหมครับ )
แล้วถ้าเราเกิด อุตริ คิดจะรวมยื่นไปจะเกิดอะไรขึ้น ความจริงที่ปรากฏก็คือในแบบยื่นเสียภาษี จะไม่มีที่ให้กรอกครับรายได้ส่วนนี้ ซึ่งเป็นการย้ำเตือนอีกครั้ง และถามว่าเราจะเอากรอกช่องอื่น ๆ ได้ไหม (อันนี้ไม่เคยลองถ้าใครลองแล้ว เป็นอย่างไรแจ้งกลับมาจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ)
ส่วนเงินปันผลที่ไม่ได้ถูกหักภาษีไว้ ส่วนใหญ่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล พอจ่ายเป็นปันผลมาให้เรา เราก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำไปรวมกับรายได้ที่ต้องเสียภาษีของเรา (เพราะได้รับการยกเว้นไปแล้ว งงไหมครับ )
แล้วถ้าเราเกิด อุตริ คิดจะรวมยื่นไปจะเกิดอะไรขึ้น ความจริงที่ปรากฏก็คือในแบบยื่นเสียภาษี จะไม่มีที่ให้กรอกครับรายได้ส่วนนี้ ซึ่งเป็นการย้ำเตือนอีกครั้ง และถามว่าเราจะเอากรอกช่องอื่น ๆ ได้ไหม (อันนี้ไม่เคยลองถ้าใครลองแล้ว เป็นอย่างไรแจ้งกลับมาจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ)
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
- xcha
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 10
คุณ thalucoz ครับ
ใน "กระดาษทำการเงินได้ 40 (4)(ข)" จะมีช่อง "ยกเว้นภาษี" ให้กรอกครับ (พึ่งจะมีปีล่าสุดนี่เองครับ)
แต่อันนี้ผมกรอกด้วย Internet นะครับ ถ้ากรอกเป็นกระดาษไม่แน่ใจว่า จะมี กระดาษทำการเงินได้ 40(4)(ข) อันนี้ให้กรอกหรือเปล่า
ใน "กระดาษทำการเงินได้ 40 (4)(ข)" จะมีช่อง "ยกเว้นภาษี" ให้กรอกครับ (พึ่งจะมีปีล่าสุดนี่เองครับ)
แต่อันนี้ผมกรอกด้วย Internet นะครับ ถ้ากรอกเป็นกระดาษไม่แน่ใจว่า จะมี กระดาษทำการเงินได้ 40(4)(ข) อันนี้ให้กรอกหรือเปล่า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ปันผลส่วนที่ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ต้องไปรวมยื่น ภงด90 ไหม
โพสต์ที่ 13
ควรกรอกทั้งสองส่วนครับ
แต่ส่วน boi กรอกไป โปรแกรมก็ไม่นำมารวมเป็นเงินได้อยู่ดีครับ ดังนั้นกรอกไปไม่เสียหาย ไม่กรอกก็ไม่เป็นไร
แต่ส่วน boi กรอกไป โปรแกรมก็ไม่นำมารวมเป็นเงินได้อยู่ดีครับ ดังนั้นกรอกไปไม่เสียหาย ไม่กรอกก็ไม่เป็นไร
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว