ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 31
link ครับ
http://www.pattanakit.net/index.php?lay ... &Ntype=134
ยื่น ภ.ส.6 ได้เลย ไม่ต้องมีทนาย แต่รายละเอียดว่าไม่เห็นด้วยกับประเด็นใด ถ้าให้นักกฏหมายช่วยเขียนให้ ก็อาจจะโต้แย้งได้ครอบคลุมและดีกว่า
และถ้ายื่นอุทธรณ์แล้ว ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
ก็สามารถจ้างทนาย ยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันทีครับ
เราเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ปีละหลายแสน ไม่ควรยอมในสิ่งที่เราไม่ผิดครับ
โดยเฉพาะกรณีนี้.. มาตรา 56 วรรค 2 และ 47 ทวิ เขียนไว้ชัดเจน และใช้มานานครับ
http://www.pattanakit.net/index.php?lay ... &Ntype=134
ยื่น ภ.ส.6 ได้เลย ไม่ต้องมีทนาย แต่รายละเอียดว่าไม่เห็นด้วยกับประเด็นใด ถ้าให้นักกฏหมายช่วยเขียนให้ ก็อาจจะโต้แย้งได้ครอบคลุมและดีกว่า
และถ้ายื่นอุทธรณ์แล้ว ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
ก็สามารถจ้างทนาย ยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันทีครับ
เราเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ปีละหลายแสน ไม่ควรยอมในสิ่งที่เราไม่ผิดครับ
โดยเฉพาะกรณีนี้.. มาตรา 56 วรรค 2 และ 47 ทวิ เขียนไว้ชัดเจน และใช้มานานครับ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 32
สำหรับการเสียภาษีคณะบุคคลในปีนี้ การเครดิตภาษีเป็นอย่างไรรบกวนพี่ Unexpected ช่วยบอกให้ทราบด้วยได้ไหมครับ
ผมเองมี หสม อยู่แต่ใช้ในกิจการอื่น ไม่ใช่หุ้นครับ ส่วนคณะบุคคลก็มีแต่ยังไม่มีรายได้ในคณะบุคคล เพราะใช้ถือครองอย่างอื่น เนื่องจากคณะบุคคลทาง บช แนะนำำว่ามีจุดประสงค์ที่หากำไรก็ได้ ไม่หากำไรก็ได้ แต่ หสม มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
แต่อย่างไรก็ดีเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆมากๆครับ รบกวนช่วยบอกผลการเครดิตภาาษีของปีนี้ด้วยนะครับ ว่าเรียบร้อยดีไหม ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ผมเองมี หสม อยู่แต่ใช้ในกิจการอื่น ไม่ใช่หุ้นครับ ส่วนคณะบุคคลก็มีแต่ยังไม่มีรายได้ในคณะบุคคล เพราะใช้ถือครองอย่างอื่น เนื่องจากคณะบุคคลทาง บช แนะนำำว่ามีจุดประสงค์ที่หากำไรก็ได้ ไม่หากำไรก็ได้ แต่ หสม มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร
แต่อย่างไรก็ดีเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆมากๆครับ รบกวนช่วยบอกผลการเครดิตภาาษีของปีนี้ด้วยนะครับ ว่าเรียบร้อยดีไหม ขอบคุณล่วงหน้าครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 33
[quote="jo7393"]สำหรับการเสียภาษีคณะบุคคลในปีนี้ การเครดิตภาษีเป็นอย่างไรรบกวนพี่ Unexpected ช่วยบอกให้ทราบด้วยได้ไหมครับ
ผมเองมี หสม อยู่แต่ใช้ในกิจการอื่น ไม่ใช่หุ้นครับ ส่วนคณะบุคคลก็มีแต่ยังไม่มีรายได้ในคณะบุคคล เพราะใช้ถือครองอย่างอื่น เนื่องจากคณะบุคคลทาง บช แนะนำำว่ามีจุดประสงค์ที่หากำไรก็ได้
ผมเองมี หสม อยู่แต่ใช้ในกิจการอื่น ไม่ใช่หุ้นครับ ส่วนคณะบุคคลก็มีแต่ยังไม่มีรายได้ในคณะบุคคล เพราะใช้ถือครองอย่างอื่น เนื่องจากคณะบุคคลทาง บช แนะนำำว่ามีจุดประสงค์ที่หากำไรก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 34
ส่วนเรื่องข้อกฏหมาย ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ยังงัยก็เครดิตภาษีได้ครับ
เพราะการเสียภาษี ต้องยึดตามประมวลรัฐฎากรอยู่แล้ว (56 วรรค 2 กับ 47 ทวิ)
ส่วนประเด็นที่สรรพากรยกมาตรา 1117 มาแย้ง อันนั้นเป็นประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ครับ
ซึ่งถ้าสรรพากรคิดว่าเสียหาย ก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเอา
...
ประเด็นเดียวที่ผมค่อนข้างกังวล (ในอนาคต) เกี่ยวกับการถือหุ้นด้วยคณะบุคคล มีเรื่องเดียวครับ
คือ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์แล้ว คณะบุคคลไม่สามารถถือหุ้นบริษัท หรือ หจก ได้ครับ ผู้ที่ถือได้ คือ บุคคล และ นิติบุคคล..
ซึ่งคำว่า "บุคคล" ก็ต้องยึดตามกฏหมายนั้นๆ (แพ่งและพานิชย์) ซึ่งหมายถึง ประชาชน ถือสัญชาติใดก็ได้
ดังนั้นคณะบุคคลจึงไม่สามารถถือหุ้นได้ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์
...
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงจะไม่สามารถนำมาเป็นข้อโต้แย้ง ในการเครดิตภาษีได้ เพราะคนละเรื่องกัน แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือ สรรพากร ต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเอา เรียกค่าเสียหาย (ถ้าคิดว่าเสียหาย) เป็นรายคณะบุคคลครับ
ซึ่งปัจจุบันมีคณะบุคคล, หสม. ถือหุ้นเยอะแยะ ดูได้จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่
และเท่าที่ถามจากผู้ใหญ่ที่เคารพท่านหนึ่ง เป็นอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร ท่านบอกว่า สรรพากรคงไม่ไปไล่ฟ้องทีละคณะบุคคล แต่คงเลือกใช้วิธี ไม่ยินยอมให้จัดตั้งคณะบุคคลใหม่มากกว่า
และเข้มงวด กับคณะบุคคลที่เป็นปัญหาตอนนี้ ซึ่งหลักๆเกิดจากพวกที่ไปจดเป็นร้อยๆคณะบุคคล เพื่อเลี่ยงภาษี หรือสร้างหลักฐานค่าใช้จ่ายปลอม เพื่อเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากกว่า
รวมถึงพวกที่ไม่ได้ประกอบกิจการตามความเป็นจริง เช่นผู้รับเหมาจด 10 คณะบุคคล เพื่อสร้างบ้าน 1 หลัง แบบนี้มากกว่าครับ
...
ผิดถูกอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยครับ
เพราะการเสียภาษี ต้องยึดตามประมวลรัฐฎากรอยู่แล้ว (56 วรรค 2 กับ 47 ทวิ)
ส่วนประเด็นที่สรรพากรยกมาตรา 1117 มาแย้ง อันนั้นเป็นประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ครับ
ซึ่งถ้าสรรพากรคิดว่าเสียหาย ก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเอา
...
ประเด็นเดียวที่ผมค่อนข้างกังวล (ในอนาคต) เกี่ยวกับการถือหุ้นด้วยคณะบุคคล มีเรื่องเดียวครับ
คือ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์แล้ว คณะบุคคลไม่สามารถถือหุ้นบริษัท หรือ หจก ได้ครับ ผู้ที่ถือได้ คือ บุคคล และ นิติบุคคล..
ซึ่งคำว่า "บุคคล" ก็ต้องยึดตามกฏหมายนั้นๆ (แพ่งและพานิชย์) ซึ่งหมายถึง ประชาชน ถือสัญชาติใดก็ได้
ดังนั้นคณะบุคคลจึงไม่สามารถถือหุ้นได้ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์
...
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงจะไม่สามารถนำมาเป็นข้อโต้แย้ง ในการเครดิตภาษีได้ เพราะคนละเรื่องกัน แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือ สรรพากร ต้องไปฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเอา เรียกค่าเสียหาย (ถ้าคิดว่าเสียหาย) เป็นรายคณะบุคคลครับ
ซึ่งปัจจุบันมีคณะบุคคล, หสม. ถือหุ้นเยอะแยะ ดูได้จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่
และเท่าที่ถามจากผู้ใหญ่ที่เคารพท่านหนึ่ง เป็นอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร ท่านบอกว่า สรรพากรคงไม่ไปไล่ฟ้องทีละคณะบุคคล แต่คงเลือกใช้วิธี ไม่ยินยอมให้จัดตั้งคณะบุคคลใหม่มากกว่า
และเข้มงวด กับคณะบุคคลที่เป็นปัญหาตอนนี้ ซึ่งหลักๆเกิดจากพวกที่ไปจดเป็นร้อยๆคณะบุคคล เพื่อเลี่ยงภาษี หรือสร้างหลักฐานค่าใช้จ่ายปลอม เพื่อเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากกว่า
รวมถึงพวกที่ไม่ได้ประกอบกิจการตามความเป็นจริง เช่นผู้รับเหมาจด 10 คณะบุคคล เพื่อสร้างบ้าน 1 หลัง แบบนี้มากกว่าครับ
...
ผิดถูกอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยครับ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 35
ปต้ หสม หากจดทะเบียนถือเป็นนิติบุคคล นะครับ
ดังนั้นใช้ถือหุ้นได้แน่นอนครับ เอ ทำให้ผมสงสัยว่าแล้วอย่างนี้คณะบุคคลจดทะเบียนได้ไหมครับ จะได้เป็นนิติบุคคล ไว้จะลองถาม บ/ช หรือคนที่วิ่งงานกระทรวงดูครับ
ดังนั้นใช้ถือหุ้นได้แน่นอนครับ เอ ทำให้ผมสงสัยว่าแล้วอย่างนี้คณะบุคคลจดทะเบียนได้ไหมครับ จะได้เป็นนิติบุคคล ไว้จะลองถาม บ/ช หรือคนที่วิ่งงานกระทรวงดูครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 36
คณะบุคคลจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่ได้ครับ
และถึง หสม จะจดทะเบียนนิติบุคคลได้ ปัญหาคือ ต้องมีการตรวจสอบบัญชี และทำบัญชีส่งสรรพกรด้วย จึงไม่นิยม และผมก็ไม่แน่ใจว่าการเครดิตภาษีเงินปันผลจะเหมือนกับบุคคลธรรมดาหรือไม่ (คิดว่าไม่เหมือน)
จึงทำให้ตอนนี้ มีคณะบุคคล และ หสม (ไม่จดทะเบียน) ถือหุ้นบริษัทต่างๆอยู่มากมายครับ ซึ่งตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ คณะบุคคล และ หสม ไม่สามารถถือหุ้นได้
แต่ก็ต้องมีผู้เสียหายฟ้องร้องเอาครับ ซึ่งเรื่องนี้ยากมากครับ ตีความกันยาว
และถึง หสม จะจดทะเบียนนิติบุคคลได้ ปัญหาคือ ต้องมีการตรวจสอบบัญชี และทำบัญชีส่งสรรพกรด้วย จึงไม่นิยม และผมก็ไม่แน่ใจว่าการเครดิตภาษีเงินปันผลจะเหมือนกับบุคคลธรรมดาหรือไม่ (คิดว่าไม่เหมือน)
จึงทำให้ตอนนี้ มีคณะบุคคล และ หสม (ไม่จดทะเบียน) ถือหุ้นบริษัทต่างๆอยู่มากมายครับ ซึ่งตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ คณะบุคคล และ หสม ไม่สามารถถือหุ้นได้
แต่ก็ต้องมีผู้เสียหายฟ้องร้องเอาครับ ซึ่งเรื่องนี้ยากมากครับ ตีความกันยาว
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเปล่า
โพสต์ที่ 37
ขอบคุณครับ
ส่วนเรื่องจดทะเบียนแล้ว ระบบบัญชีจะเปลี่ยนไปครับ ต้องทำแบบ บ.ครับ
การคำนวณภาษีก็จะไม่มีขั้นบันได เหมือนบุคคลธรรมดาครับ
ส่วนเรื่องจดทะเบียนแล้ว ระบบบัญชีจะเปลี่ยนไปครับ ต้องทำแบบ บ.ครับ
การคำนวณภาษีก็จะไม่มีขั้นบันได เหมือนบุคคลธรรมดาครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 371
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเ
โพสต์ที่ 39
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ปีภาษี 2553
http://www.rd.go.th/publish/39807.0.html
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
http://www.rd.go.th/publish/39807.0.html
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเ
โพสต์ที่ 40
ไล่บี้ตั้งคณะบุคคลเลี่ยงภาษี ชี้เป้าดารา-หมอ-วิศวกร ถอนขนห่าน 20% รายได้
เดลินิวส์, 22 ต.ค. 55
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายก
รัฐมนตรี และรมว.คลัง เพื่อแก้ปัญหากรณีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ ดารา หมอ วิศวกรที่ตังคณะบุคคล
ขึ้นมา เพื่อเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบื้องต้นคาดว่า กรมสรรพากรจะเก็บภาษีคณะบุคคลที่20%
จากรายรับทั้งหมดของคณะบุคคลนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเลี่ยงภาษีอีก
เดลินิวส์, 22 ต.ค. 55
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายก
รัฐมนตรี และรมว.คลัง เพื่อแก้ปัญหากรณีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ ดารา หมอ วิศวกรที่ตังคณะบุคคล
ขึ้นมา เพื่อเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบื้องต้นคาดว่า กรมสรรพากรจะเก็บภาษีคณะบุคคลที่20%
จากรายรับทั้งหมดของคณะบุคคลนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเลี่ยงภาษีอีก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- UKKU
- Verified User
- โพสต์: 434
- ผู้ติดตาม: 2
Re: ห้างหุ้นส่วน กับ คณะบุคคล เสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดาหรือเ
โพสต์ที่ 41
“ดารา-หมอ-วิศวะ” จ่อโดนภาษีภาษี 20% “คลัง” เปิดหลักเกณฑ์ยื่นภาษี “ผัว-เมีย”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2555 09:07 น.
“สรรพากร” เล็งรีดภาษี 20% ของรายรับ แก้ปัญหากลุ่มอาชีพอิสระ “ดารา-หมอ-วิศวะ” ตั้งคณะบุคคลเลี่ยงภาษี พร้อมเปิดหลักเกณฑ์ยื่นภาษี “ผัว-เมีย” หากมีรายได้ทั้งคู่ให้ต่างคนต่างยื่นเอง แต่หากมีธุรกรรมร่วมกัน หรือไม่รู้ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าถึงการแก้ปัญหาการเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น ดารา หมอ วิศวกร ด้วยการไปจัดตั้งเป็นคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล โดยยืนยันว่าตนเองได้นำเรื่องนี้หารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว โดยได้เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาเบื้องต้นอาจจะให้มีการเก็บภาษีที่อัตรา 20% ของรายรับสำหรับกลุ่มอาชีพดังกล่าว เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีอีก
ทั้งนี้ ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวต้องแก้กฎหมายภาษี และต้องเสนอเรื่องไปยังสภา โดยกฎหมายใหม่นี้จะแยกคำนิยามให้ชัดว่า คณะบุคคลคืออะไร ห้างหุ้นส่วนคืออะไร หากเป็นคณะบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรต้องเสียภาษีอย่างไร ซึ่งกฎหมายใหม่จะบอกว่าจะต้องเก็บภาษีอัตราเท่าใด ส่วนการรวมตัวกันเพื่อมุ่งการค้า แต่ไม่ได้จดเป็นบริษัท ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ก็ต้องเสียภาษีแบบบริษัท ซึ่งจะแบ่งแยกกันชัดเจน แต่คงต้องรอให้กฎหมายออกมาก่อน
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร โดยในปี 2556 กรมเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ และดึงคนให้มาเสียภาษีเพิ่มขึ้น ล่าสุด เตรียมจะนำระบบบัตรสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าและบริการ นำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีอื่นๆ เมื่อมีการสะสมแต้มจะต้องมีใบเสร็จของภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ออกมา จะช่วยทำให้แก้ปัญหาเลี่ยงแวตของร้านค้าต่างๆ ตรงนี้จะเป็นการขยายฐานภาษี ทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีการขึ้นภาษีใดๆ ก็ตาม
ขณะที่กรณีการแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างสามีและภรรยานั้น ขณะนี้กรมสรรพากรออกประกาศแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภรรยาแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2555 ที่ต้องยื่นแบบแสดงภาษีในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 ซึ่งในประกาศดังกล่าวระบุว่าการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภรรยา มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี กรณีสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้สามีและภรรยา ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2555 09:07 น.
“สรรพากร” เล็งรีดภาษี 20% ของรายรับ แก้ปัญหากลุ่มอาชีพอิสระ “ดารา-หมอ-วิศวะ” ตั้งคณะบุคคลเลี่ยงภาษี พร้อมเปิดหลักเกณฑ์ยื่นภาษี “ผัว-เมีย” หากมีรายได้ทั้งคู่ให้ต่างคนต่างยื่นเอง แต่หากมีธุรกรรมร่วมกัน หรือไม่รู้ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าถึงการแก้ปัญหาการเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น ดารา หมอ วิศวกร ด้วยการไปจัดตั้งเป็นคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล โดยยืนยันว่าตนเองได้นำเรื่องนี้หารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว โดยได้เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาเบื้องต้นอาจจะให้มีการเก็บภาษีที่อัตรา 20% ของรายรับสำหรับกลุ่มอาชีพดังกล่าว เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีอีก
ทั้งนี้ ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวต้องแก้กฎหมายภาษี และต้องเสนอเรื่องไปยังสภา โดยกฎหมายใหม่นี้จะแยกคำนิยามให้ชัดว่า คณะบุคคลคืออะไร ห้างหุ้นส่วนคืออะไร หากเป็นคณะบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรต้องเสียภาษีอย่างไร ซึ่งกฎหมายใหม่จะบอกว่าจะต้องเก็บภาษีอัตราเท่าใด ส่วนการรวมตัวกันเพื่อมุ่งการค้า แต่ไม่ได้จดเป็นบริษัท ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ก็ต้องเสียภาษีแบบบริษัท ซึ่งจะแบ่งแยกกันชัดเจน แต่คงต้องรอให้กฎหมายออกมาก่อน
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร โดยในปี 2556 กรมเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ และดึงคนให้มาเสียภาษีเพิ่มขึ้น ล่าสุด เตรียมจะนำระบบบัตรสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าและบริการ นำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีอื่นๆ เมื่อมีการสะสมแต้มจะต้องมีใบเสร็จของภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ออกมา จะช่วยทำให้แก้ปัญหาเลี่ยงแวตของร้านค้าต่างๆ ตรงนี้จะเป็นการขยายฐานภาษี ทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีการขึ้นภาษีใดๆ ก็ตาม
ขณะที่กรณีการแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างสามีและภรรยานั้น ขณะนี้กรมสรรพากรออกประกาศแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภรรยาแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2555 ที่ต้องยื่นแบบแสดงภาษีในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 ซึ่งในประกาศดังกล่าวระบุว่าการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภรรยา มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี กรณีสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้สามีและภรรยา ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เกิดกับตายหนึ่งครั้งเท่าๆกัน
ต่างก็ตรงความหมายระหว่างนั้น
ต่างก็ตรงความหมายระหว่างนั้น