สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 31
กระทู้นี้มีผู้อาวุโสออกมาโพสเยอะดี :D
ตัวผมคิดง่าย ๆว่าจะอาชีพอะไร ลงทุนแบบไหน ที่สำคัญคือ ไม่เบียดเบียน แบ่ง
ปันคนในสังคม ในอาชีพที่ดีก็มีคนเลว ในอาชีพที่เลวก็ยังมีคนดี
ตัวผมคิดง่าย ๆว่าจะอาชีพอะไร ลงทุนแบบไหน ที่สำคัญคือ ไม่เบียดเบียน แบ่ง
ปันคนในสังคม ในอาชีพที่ดีก็มีคนเลว ในอาชีพที่เลวก็ยังมีคนดี
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 32
หรืออีกวิธีหนึ่ง. ใช้การดึงแฟคเตอร์เหล่านี้ออกไป แล้วดูผลกระทบ
ดึงอาชีพครูออกจากสังคม. สังคมเราคงจะวุ่นวายพอสมควร. อันนี้ก็แปลว่าอาชึพครูมีคุณค่าต่อสังคมมาก
ดึงวิศวะออก. สังคมเราคงลำบาก
ดึงกรรมกรออก. ยุ่งแน่ๆ
ดึงโจรผู้ร้ายออก. อ้าว. สังคมดีขึ้นเยอะ
ดึงศาสนาออก. อืม. ไม่อยากนึก แต่ยุ่งเหยิงแน่
แึงชาวไร่ชาวนาออก ลำบากแน่
ดึงหมออก. กรรม . เจ็บป่วยจะทำอย่างไร
ใครที่เป็นหมอแล้วลาออกก็เท่ากับมีส่วนเพิ่มภาระให้สังคม(เข้าเนื้อ :lol:)
ตัวเองออกแล้วยังเที่ยวไปช่วยเผยแพร่แนวคิดวีไอ ทำให้หมอลาออกเพิ่มเข้าไปอีกก็ยิ่งเป็นบาปอีก (เข้าอีกแล้ว กำ)
ทีนี้ดึงนักเล่นหุ้นทุกประเภทออก ผมว่าสังคมไม่ค่อยกระเทือนเท่าไหร่ทั้งในแง่บวกและลบ
ดึงอาชีพครูออกจากสังคม. สังคมเราคงจะวุ่นวายพอสมควร. อันนี้ก็แปลว่าอาชึพครูมีคุณค่าต่อสังคมมาก
ดึงวิศวะออก. สังคมเราคงลำบาก
ดึงกรรมกรออก. ยุ่งแน่ๆ
ดึงโจรผู้ร้ายออก. อ้าว. สังคมดีขึ้นเยอะ
ดึงศาสนาออก. อืม. ไม่อยากนึก แต่ยุ่งเหยิงแน่
แึงชาวไร่ชาวนาออก ลำบากแน่
ดึงหมออก. กรรม . เจ็บป่วยจะทำอย่างไร
ใครที่เป็นหมอแล้วลาออกก็เท่ากับมีส่วนเพิ่มภาระให้สังคม(เข้าเนื้อ :lol:)
ตัวเองออกแล้วยังเที่ยวไปช่วยเผยแพร่แนวคิดวีไอ ทำให้หมอลาออกเพิ่มเข้าไปอีกก็ยิ่งเป็นบาปอีก (เข้าอีกแล้ว กำ)
ทีนี้ดึงนักเล่นหุ้นทุกประเภทออก ผมว่าสังคมไม่ค่อยกระเทือนเท่าไหร่ทั้งในแง่บวกและลบ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10548
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 33
ผมมองอย่างนี้ครับเด็กใหม่ไฟแรง เขียน:พี่ๆน้องๆครับ
ผมมีความสงสัยอยู่นานแล้วว่า
สังคมโดยรวม ได้อะไรเพิ่มมากขึ้นจากการที่พวกเราเป็นนักลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า
นอกเหนือจากผลตอบแทนของเราเองที่ดูเหมือนกับว่าดีกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ
แต่สังคมโดยรวมได้อะไรกับพวกเราด้วยหรือไม่ครับ
และถ้าได้ สังคมได้อะไรครับ?????
ถ้าเรามองใหญ่ ขนาดถึง สังคมระดับ ประเทศ เราอาจจะ ไม่เห็นผลนัก แต่อาจจะมีผลในสังคมเล็กๆ เช่นในระดับ ครอบครัว หรือ ญาติ หรือเพื่อน ของคนนั้นๆ
นักลงทุนคุณค่า ก็เป็นหมวกอีกใบที่เรา สามารถหยิบมาสวมได้ เหมือนกับ นักลงทุนหุ้นแนวอื่น หรือแม้กระทั่งนักลงทุนแบบอื่นเช่น ทองคำ อสังหา หรืออ่นๆ
คนๆหนึ่งสามารถสวมหมวกได้หลายใบ เช่น ผมเป็น หมอ เป็นพ่อของลูก เป็นนายจ้าง เป็นลูกน้อง ผมอาจจะเป็นสมาชิกสมาคมกีฬา เป็นสมาชิกชมรมงานอดิเรก อะไรซักอีกหลายๆอย่าง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่อาจเป็นหมวกที่เอามาสวมอีกหลายๆใบ
แต่สำคัญอยู่ที่ วิธีคิดแบบ นักลงทุนแบบ เน้นคุณค่า ซึ่งผมได้เจอกับตัวเอง
ผมเห็นด้วยกับในทุกอาชีพ หรือ กลุ่มสังคมมีดี มีเลว คละกันไป
ในอาชีพหมอ ของผม ผมก็ได้ช่วยเหลือคนให้หายจากความทรมานหรือความทุกข์ ได้ใช้ความรู้ของตัวเองมาช่วยเหลือคน และครอบครัวของเค้ามีความสุข ก็เป็นสังคมเล็กๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวผม
สิ่งที่ผมทำก็ค่อยๆ ส่งผลดีต่อคนรอบข้าง ทีละนิดๆ เมื่อคนได้รับความช่วยเหลือ หรือเคยได้รับความดี ก็น่าจะมีส่วนหนึ่งอย่างน้อยสร้างคุณความดีต่อไป อนาคต ก็เปลี่ยนแปลงได้ เหมือน ผีเสือกระพือปีก อาจกระทบ ไปถึง ที่อื่นได้ ใครจะรู้ (เพียงมันคงไม่เห็นภาพได้เร็ว)
ซึงผมก็ไม่เคยคิดว่าจะ จะทำให้สังคมใหญ่เกิดผลอะไร แต่ก็ทำให้สังคมรอบข้างผมรู้สึกดีและมีความสุข เกิดมีคนสานต่อเจตนารมณ์ดีๆ นั้น
ย้อนกลับมาเรื่องการลงทุน ผมรู้สึกว่า ในกลุ่มนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า วิธีคิดในการที่จะเป็นนักลงทุนแบบคุณค่า ก็ส่งผลดีต่อผม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องทัศนคติ ต่อการดำรงชีวิต หรือ การลงทุน ผมไม่ได้พูดเกินเลยไปนะครับว่า ในสังคมแบบนักลงทุนคุณค่าก็มีทั้งดี หรือ ไม่ดี เพียงแต่ผมรู้สึกว่าในสังคม VI แบบ พวกเรามีกลุ่มน้ำดี มากกว่า กลุ่มน้ำเสีย ผมรู้สึกถึงการแบ่งปัน เผื่อแผ่ มากกว่า ในการลงทุนแบบอื่น
ซึ่งผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
ในแง่สังคม ผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่ อาจจะมีมุมมองกับการลงทุนหุ้นอย่างไร ผมก็เคยมองแบบนั้นเหมือนกัน แต่ผมเชื่อว่าถ้าตอนนี้ มีใครได้มาคุยกับผม ก็คงได้รับมุมองที่แตกต่างกันไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 34
ถ้าถามสังคม สังคมจะตอบเหมือนกับหลาย ๆท่านที่ว่าสังคมได้รับประโยชน์จากการลงทุนเน้นคุณค่าน้อยมาก การทำประโยชน์ให้กับสังคมก็ต่างคนต่างทำ มากบ้างน้อยมากก็ขึ้นกับแต่ละคน
วันนี้ผู้ได้รับประโยชน์ ส่วนใหญ่ คือ ผู้มีเงินที่แสวงหาผลตอบแทนที่ดี ที่ได้พบช่องทางที่เหมาะสมในการลงทุน แล้วก็จะชักชวนเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง มาร่วมรับประโยชน์ด้วย โดยสรุป คือ เกิดกำไรกับปัจเจกบุคคลเท่านั้น
ส่วนตัวเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจำนวนไม่น้อย มีความคิดฝังในใจว่าหากมีโอกาสก็อยากทำประโยชน์ให้กับสังคม แต่ก็ไม่สบโอกาสที่เหมาะสมด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ
เชื่อว่า จะมีวันหนึ่งที่การลงทุนเน้นคุณค่าจะทำประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับสังคมได้ ผ่านกลุ่มเพื่อนนักลงทุน รวมไม้ซีกให้เป็นไม้ซุง ประสานสติปัญญา ความหวังดี ความโปร่งใสซื่อสัตย์ โดยมีกำลังเงินส่วนที่พร้อมสละของพวกเรารองรับ สร้างสรรค์สังคม ด้วยความชาญฉลาด คุ้มค่าเงิน อย่าง value investing
วันนี้ผู้ได้รับประโยชน์ ส่วนใหญ่ คือ ผู้มีเงินที่แสวงหาผลตอบแทนที่ดี ที่ได้พบช่องทางที่เหมาะสมในการลงทุน แล้วก็จะชักชวนเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง มาร่วมรับประโยชน์ด้วย โดยสรุป คือ เกิดกำไรกับปัจเจกบุคคลเท่านั้น
ส่วนตัวเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจำนวนไม่น้อย มีความคิดฝังในใจว่าหากมีโอกาสก็อยากทำประโยชน์ให้กับสังคม แต่ก็ไม่สบโอกาสที่เหมาะสมด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ
เชื่อว่า จะมีวันหนึ่งที่การลงทุนเน้นคุณค่าจะทำประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับสังคมได้ ผ่านกลุ่มเพื่อนนักลงทุน รวมไม้ซีกให้เป็นไม้ซุง ประสานสติปัญญา ความหวังดี ความโปร่งใสซื่อสัตย์ โดยมีกำลังเงินส่วนที่พร้อมสละของพวกเรารองรับ สร้างสรรค์สังคม ด้วยความชาญฉลาด คุ้มค่าเงิน อย่าง value investing
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 36
สังคมได้ประโยชน์
เพราะ VI เป็นคนที่ตรวจสอบกิจการว่าดีหรือไม่ดี
VI เป็นผู้ที่สอดส่องหาความรู้ตลอดเวลา
หาความผิดปกติของกลไกของตลาดอยู่เสมอ
ว่าหากไม่สมประกอบแล้วไซร้ราคาของสินทรัพย์นั้นน้อยกว่าปกติ
ทำให้พวกเรายิ้มว่าได้ของดีนั้นเอง
จุดนี้แหละเป็นสิ่งที่ทั่วไปไม่ให้ความใส่ใจหรือใจใส่มากนักครับ
เพราะ VI เป็นคนที่ตรวจสอบกิจการว่าดีหรือไม่ดี
VI เป็นผู้ที่สอดส่องหาความรู้ตลอดเวลา
หาความผิดปกติของกลไกของตลาดอยู่เสมอ
ว่าหากไม่สมประกอบแล้วไซร้ราคาของสินทรัพย์นั้นน้อยกว่าปกติ
ทำให้พวกเรายิ้มว่าได้ของดีนั้นเอง
จุดนี้แหละเป็นสิ่งที่ทั่วไปไม่ให้ความใส่ใจหรือใจใส่มากนักครับ
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 37
ถ้าบริษัททำผลงานได้ดี แต่หุ้นไม่มีมูลค่า ผบห. ก็คงขาดแรงจูงใจในการทำบริษัทให้ดี
VI เป็นผู้ให้รางวัลกับคนขยันที่ทำผลงานได้ดีครับ
VI เป็นผู้ให้รางวัลกับคนขยันที่ทำผลงานได้ดีครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- super2007
- Verified User
- โพสต์: 88
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 38
การถือหุ้นให้เห็นผล ส่วนมากสามารถถือยาว
เก็บดอกเก็บผลระหว่างทางได้
* เงินปันผล / เงินปันผลพิเศษ ฯลฯ
เมื่อผู้ลงทุนได้เงินมา บ้างส่วนนำไปใช้จ่าย อุปโภค บริโภค
ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ประเทศก็ได้ประโยชน์
การจากบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมครับ
เก็บดอกเก็บผลระหว่างทางได้
* เงินปันผล / เงินปันผลพิเศษ ฯลฯ
เมื่อผู้ลงทุนได้เงินมา บ้างส่วนนำไปใช้จ่าย อุปโภค บริโภค
ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ประเทศก็ได้ประโยชน์
การจากบริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 39
ผมว่าคนไทยทุกวันนี้ก็มีความหวังว่าจะรวยในสักวันหนึงเป็นส่วนมาก เฉพาะอาชีพวีไอก็อาจจะเป็นไทยแลนด์dream(แบบอเมริกาdreamอ่ะครับ)ได้เลยและถ้าดึงวีไอออกจากสังคมไทยผมยุ่งแน่ๆเลยเพราะวีไอที่เซียนแล้วส่วนใหญ่กระเป๋าหนักๆกันทั้งนั้นจึงถือเป็นผู้บริโภครายสำมะคัญทั้งตอนนี้และอนาคตที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีแบบสหรัฐที่เอาการบริโภคของปชช(แต่เอาเงินในอนาคตหรือกำไรจากการลงทุนมาใช้นะ).เป็นหลักในการขับเคลื่อนศก.ของเขา :)
และที่สำคัญวีไอพันธ์แท้ก็คือนักพอเพียงตัวจริงหรือเป็นนักพอเพียงเกียรตินิยมแน่นอนถ้ามีมหาลัยเปิดสอนเพราะฉะนั้นวีไอก็เป็นลูกที่ดีของชาติแล้วน่าภูมิใจไหมล่ะและในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่กลายเป็นนักบุญตามปู่บัฟได้อีกนะ
สังคมได้เยอะแยะเลยแต่ที่ผมอยากบอกก็คือช่วยให้คนที่เข้าใจอะไรผิดแบบทำตามกันมาได้ตาสว่างเข้าใจหุ้นได้อย่างถูกต้องได้บุญหลาย :lol:
และที่สำคัญวีไอพันธ์แท้ก็คือนักพอเพียงตัวจริงหรือเป็นนักพอเพียงเกียรตินิยมแน่นอนถ้ามีมหาลัยเปิดสอนเพราะฉะนั้นวีไอก็เป็นลูกที่ดีของชาติแล้วน่าภูมิใจไหมล่ะและในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่กลายเป็นนักบุญตามปู่บัฟได้อีกนะ
สังคมได้เยอะแยะเลยแต่ที่ผมอยากบอกก็คือช่วยให้คนที่เข้าใจอะไรผิดแบบทำตามกันมาได้ตาสว่างเข้าใจหุ้นได้อย่างถูกต้องได้บุญหลาย :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 40
vi จะช่วยให้คนมองหาคุณค่าของสิ่งต่างๆ มากกว่าการมองที่เงินตรา
ช่วยสร้างสังคมแห่คุณค่า :D :D
ช่วยสร้างสังคมแห่คุณค่า :D :D
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 41
vi ทำให้ "สองมาตรฐาน" ลดลง ในสังคมหุ้นครับ
ประมาณว่าถ้าไม่มีคนมองแบบ VI เอาเสียเลย
ป่านนี้...หุ้นดีๆ ไม่มีสภาพคล่อง และไม่มีใครใส่ใจ คงจะน้อยใจกันแย่
หุ้นพวกนั้นคงแอบตัดพ้อนักลงทุนว่า "สองมาตรฐานนี่หว่า!!!"
ทีคนนั้นตลาดให้ pe ตั้งสูง แต่ทีชั้นดันให้ pe นิดเดียวต่ำติดดิน
นี่ผมไม่ได้พูดเรื่องการเมืองนะครับ 555+
ประมาณว่าถ้าไม่มีคนมองแบบ VI เอาเสียเลย
ป่านนี้...หุ้นดีๆ ไม่มีสภาพคล่อง และไม่มีใครใส่ใจ คงจะน้อยใจกันแย่
หุ้นพวกนั้นคงแอบตัดพ้อนักลงทุนว่า "สองมาตรฐานนี่หว่า!!!"
ทีคนนั้นตลาดให้ pe ตั้งสูง แต่ทีชั้นดันให้ pe นิดเดียวต่ำติดดิน
นี่ผมไม่ได้พูดเรื่องการเมืองนะครับ 555+
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 43
พอดีเพิ่งกลับจากต่างจังหวัดครับ
ยังเพลียๆไม่หาย นั่งรถทัวน์ 7 ชม. โยกเหมือนนั่งในเรือ
ประเด็นที่ว่านักลงทุน vi มีประโยชน์อะไรกับสังคม
เท่าที่อ่านมา ก็เห็นด้วยกับพี่เพื่อนๆทุกท่านโดยเฉพาะคุณ leadinginshadow
เพราะถ้าถามว่าทำไมต้องมีตลาดหุ้น จุดประสงค์หลักเพื่อให้เกิดการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นเดิมต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของบางส่วนเพื่อแลกกับเงินเพิ่มทุน ถ้าขายหุ้นน้อยๆได้เงินเยอะ (ขายหุ้นแพง) ผู้ถือหุ้นเดิมย่อมมีแรงจูงใจในการนำบริษัทเข้าตลาดมากกว่า นักลงทุน vi เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ที่ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อราคาหุ้นลดลงมาก จนต่ำกว่ามูลค่า นักลงทุน vi จะเข้าซื้อ ทำให้ราคาหุ้นไม่ลดต่ำเกินไป บริษัทต่างๆก็ยินดีที่จะนำหุ้นมาขาย หรือในกรณีขายหุ้น IPO หากราคาที่เสนอขายต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นในมุมมองของ vi เราก็จะเข้าซื้อหุ้นซึ่งทำให้เกิดการระดมทุนโดยตรงครับ
ดังนั้นจะเห็นว่าเราเป็นฟันเฟืองเล็กๆของสังคมทุนนิยม และมีศักดิ์มีศรีเหมือนอาชีพอื่นๆที่ต่างทำหน้าที่ต่างๆในสังคมเช่นกันครับ
อีกประเด็นที่ทุกคนพูดถึง เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลพอสมควร คือเรื่องการนำเงินกำไรไปช่วยเหลือสังคม ผมขอเรียกว่าเราเป็นนักจัดสรรทรัพยากร จากที่จำเป็นน้อยไปสู่คนที่จำเป็นมาก หรือจากคนรวยไปสู่คนจนนั่นเอง ผมเชื่อว่านักลงทุน vi ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะคิดคล้ายๆกันในการจัดสรรเงินกำไรคืนสู่สังคม ซึ่งแน่นอนว่าประเทศชาติได้ประโยชน์
มีนักธุรกิจจีนท่านนึงที่ร่วมบริจาคเงินในเคมเปญที่วอร์เรนเป็นโต้โผพูดทำนองว่า การที่คนเราตายลง พร้อมเงินจำนวนมากมายมหาศาล เป็นเรื่องที่น่าละอายเป็นอย่างยิ่ง :? บางทีพวก vi ที่เก่งๆ อาจเหมือนในหนังสไปเดอร์แมน คืออำนาจพิเศษ(เก่งหาเงิน) มาพร้อมกับภาระอันยิ่งใหญ่(ที่ต้องรับใช้สังคม) :lol:
ยังเพลียๆไม่หาย นั่งรถทัวน์ 7 ชม. โยกเหมือนนั่งในเรือ
ประเด็นที่ว่านักลงทุน vi มีประโยชน์อะไรกับสังคม
เท่าที่อ่านมา ก็เห็นด้วยกับพี่เพื่อนๆทุกท่านโดยเฉพาะคุณ leadinginshadow
เพราะถ้าถามว่าทำไมต้องมีตลาดหุ้น จุดประสงค์หลักเพื่อให้เกิดการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นเดิมต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของบางส่วนเพื่อแลกกับเงินเพิ่มทุน ถ้าขายหุ้นน้อยๆได้เงินเยอะ (ขายหุ้นแพง) ผู้ถือหุ้นเดิมย่อมมีแรงจูงใจในการนำบริษัทเข้าตลาดมากกว่า นักลงทุน vi เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ที่ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อราคาหุ้นลดลงมาก จนต่ำกว่ามูลค่า นักลงทุน vi จะเข้าซื้อ ทำให้ราคาหุ้นไม่ลดต่ำเกินไป บริษัทต่างๆก็ยินดีที่จะนำหุ้นมาขาย หรือในกรณีขายหุ้น IPO หากราคาที่เสนอขายต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นในมุมมองของ vi เราก็จะเข้าซื้อหุ้นซึ่งทำให้เกิดการระดมทุนโดยตรงครับ
ดังนั้นจะเห็นว่าเราเป็นฟันเฟืองเล็กๆของสังคมทุนนิยม และมีศักดิ์มีศรีเหมือนอาชีพอื่นๆที่ต่างทำหน้าที่ต่างๆในสังคมเช่นกันครับ
อีกประเด็นที่ทุกคนพูดถึง เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลพอสมควร คือเรื่องการนำเงินกำไรไปช่วยเหลือสังคม ผมขอเรียกว่าเราเป็นนักจัดสรรทรัพยากร จากที่จำเป็นน้อยไปสู่คนที่จำเป็นมาก หรือจากคนรวยไปสู่คนจนนั่นเอง ผมเชื่อว่านักลงทุน vi ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะคิดคล้ายๆกันในการจัดสรรเงินกำไรคืนสู่สังคม ซึ่งแน่นอนว่าประเทศชาติได้ประโยชน์
มีนักธุรกิจจีนท่านนึงที่ร่วมบริจาคเงินในเคมเปญที่วอร์เรนเป็นโต้โผพูดทำนองว่า การที่คนเราตายลง พร้อมเงินจำนวนมากมายมหาศาล เป็นเรื่องที่น่าละอายเป็นอย่างยิ่ง :? บางทีพวก vi ที่เก่งๆ อาจเหมือนในหนังสไปเดอร์แมน คืออำนาจพิเศษ(เก่งหาเงิน) มาพร้อมกับภาระอันยิ่งใหญ่(ที่ต้องรับใช้สังคม) :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 45
ตัวอย่างสุดยอด VI ครับ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ รับรางวัลเชิดชูเกียรติพลเรือนที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสหรัฐฯ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
วอร์เรน บัฟเฟตต์ รับรางวัลเชิดชูเกียรติพลเรือนที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสหรัฐฯ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
วอร์เรน บัฟเฟตต์ รับรางวัลเชิดชูเกียรติพลเรือนที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสหรัฐฯ
Posted on Friday, November 19, 2010
วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนมหาเศรษฐีชื่อดัง / อดีตประธานาธิบดีจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกา และ นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี ได้รับมอบเหรียญรางวัลเชิดชูเกียรติ Presidential Medal of Freedom ประจำปีนี้ ซึ่งเป็นเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดฝ่ายพลเรือนของสหรัฐ ที่มอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อสหรัฐ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพของโลก
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐแถลงว่า "ผู้ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ล้วนมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน และมีความสามารถในด้านต่างๆ รวมถึงมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสหรัฐให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงทำให้ประเทศและโลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น"
ในโอกาสนี้ บัฟเฟตต์ ได้ส่งจดหมายขอบคุณไปยังรัฐบาลกลางสหรัฐพร้อมทั้งกล่าวว่า การรับมือกับวิกฤตการเงินของสหรัฐช่วยประคับประคองให้หลายบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และช่วยให้ชาวอเมริกันหลายล้านคนยังมีงานทำ
บัฟเฟตต์ นักลงทุนมหาเศรษฐีวัย 80 ปี เป็นเจ้าของบริษัทเบิร์กเชียร์ แฮทธาเวย์ มีบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมประกันภัยไปจนถึงภาคธุรกิจพลังงาน โดยฟอร์บส์ประมาณการณ์สินทรัพย์ของบัฟเฟตต์ไว้ที่ 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ บัฟเฟตต์ยังได้บริจาคเงินส่วนใหญ่ให้กับมูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกตส์ รวมถึงองค์กรการกุศลอื่นๆ
จอร์ช เอช. ดับเบิ้ลยู บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐวัย 86 ปี ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้ที่ทำงานให้กับสหรัฐมายาวนาน โดยก่อนที่จะเขาจะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำทำเนียบขาวในปี 2531 นั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีในยุคของอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนีวัย 56 ปี เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในเส้นทางการเมืองหลังจากที่เยอรมนีตะวันออกกับตะวันตกได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 46
หากจำไม่ผิดในรีปลับลิก เพลโตกล่าวว่า คนเป็นยังไงสังคมเป็นยังงั้น
ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า
สังคมก็ได้คนแบบวีไอจำนวนหนึ่งไงครับ :lol:
ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า
สังคมก็ได้คนแบบวีไอจำนวนหนึ่งไงครับ :lol:
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 47
การลงทุนมีผลทำให้ค่าแรงสูงขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะพวกหัวกระทิ
ได้เงินเดือนน้อยไปหน่อยก็ขยับไปเล่นหุ้น เล่นแล้วได้กำไรก็ลาออกมานั้งๆนอนๆ
ทำให้ตลาดแรงงานขาดคนไปก็ต้องหาคนเพิ่มหรือไม่ก็เพิ่มค่าแรงให้คุ้มค่าการลงทุน
ถ้าคนขับ Taxi นิยมเล่นหุ้นกัน ค่าโดยสาร Taxi อาจปรับขึ้นได้ เพราะเล่นหุ้นแล้วได้กำไรมากกว่าขับ Taxi คนเลยหนีหายกันไปหมด ค่าแรงคนขับก็อาจได้เพิ่ม(โดยการปรับค่าโดยสาร)
ในมุมกลับกันถ้าเล่นหุ้นแล้วเจ้งมา ตลาดแรงงานคนก็เพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าแรงลดลง ดังนันพอเกิดวิกฤติเศรษกิจที ค่าแรงถึงไม่เพิ่ม(โยงจนเกี่ยวกันจนได้)
ได้เงินเดือนน้อยไปหน่อยก็ขยับไปเล่นหุ้น เล่นแล้วได้กำไรก็ลาออกมานั้งๆนอนๆ
ทำให้ตลาดแรงงานขาดคนไปก็ต้องหาคนเพิ่มหรือไม่ก็เพิ่มค่าแรงให้คุ้มค่าการลงทุน
ถ้าคนขับ Taxi นิยมเล่นหุ้นกัน ค่าโดยสาร Taxi อาจปรับขึ้นได้ เพราะเล่นหุ้นแล้วได้กำไรมากกว่าขับ Taxi คนเลยหนีหายกันไปหมด ค่าแรงคนขับก็อาจได้เพิ่ม(โดยการปรับค่าโดยสาร)
ในมุมกลับกันถ้าเล่นหุ้นแล้วเจ้งมา ตลาดแรงงานคนก็เพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าแรงลดลง ดังนันพอเกิดวิกฤติเศรษกิจที ค่าแรงถึงไม่เพิ่ม(โยงจนเกี่ยวกันจนได้)
- Worapot
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 49
VI มักจะเป็นคนที่ ใช้เหตุผลนำหน้าอารมณ์ ควบตัวเองได้ดีพอสมควร ใช้เวลาคิดไตร่ตรอง ก่อนที่จะเชื่อ ก่อนที่จะทำพี่ๆน้องๆครับ
ผมมีความสงสัยอยู่นานแล้วว่า
สังคมโดยรวม ได้อะไรเพิ่มมากขึ้นจากการที่พวกเราเป็นนักลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า
นอกเหนือจากผลตอบแทนของเราเองที่ดูเหมือนกับว่าดีกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ
แต่สังคมโดยรวมได้อะไรกับพวกเราด้วยหรือไม่ครับ
และถ้าได้ สังคมได้อะไรครับ?????
VI มองเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งพอสมควร ไม่ได้มองอะไรอย่างฉาบฉวย รู้จักมองอะไรยาว ๆ เป็นปี ๆ และคิดแบบยั่งยืน
VI เป็นผู้ที่มองเห็นคุณค่าทางจิตใจเหนือกว่าเรื่องเงิน
ผมเชื่อว่า VI เป็นคนที่สังคมต้องการเพื่่อมาถ่วงดุลกับคนส่วนใหญ่ในสังคม shortcut ในปัจจุบัน ที่ให้คุณค่ากับเปลือกนอกมากกว่าเนื้อใน
หรือคุณว่าไม่จริง
- HARINLUX
- Verified User
- โพสต์: 339
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 51
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ :)เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:พี่ๆน้องๆครับ
ผมมีความสงสัยอยู่นานแล้วว่า
สังคมโดยรวม ได้อะไรเพิ่มมากขึ้นจากการที่พวกเราเป็นนักลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า
นอกเหนือจากผลตอบแทนของเราเองที่ดูเหมือนกับว่าดีกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ
แต่สังคมโดยรวมได้อะไรกับพวกเราด้วยหรือไม่ครับ
และถ้าได้ สังคมได้อะไรครับ?????
หากมาพิจารณาคุณสมบัติของ นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า พวกเราจะคนที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการทรัพย์เงินทองของตนได้ดีกว่ากลุ่มคนอื่นๆเป็นอย่างมาก
ในความคิดส่วนตัว ผมเชื่อว่าประชาชนคนไทย เกิน 90% ที่ไม่มีความรู้หรือถ้ารู้ก็มีน้อยมากๆ ในการจัดการบริหารจัดการทรัพย์สินเงินทองของตนเอง
การมีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการทรัพย์สินเงินทอง นี่แหละครับที่ผมว่า พวกเราสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวมได้
อย่างที่ผมปฏิบัติอยู่ หากมีโอกาสได้พูดคุยกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงผมก็จะพยายามพูดคุยถึงแนวทางบริหารจัดการเงินทองทรัพย์สินของพวกเขา พยายามให้ความรู้ในการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นคงของรายได้ มีอยู่มีกินพอสบายๆได้ยามสูงอายุ
ในระยะเวลาประมาณ 2 ปี ผมสามารถชักนำให้ครอบครัวญาติพี่น้องเพื่อนฝูง จำนวน 8-9 ครอบครัว มีความรู้สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินเงินทองของตนเองได้ดีขึ้น กว่าแต่ก่อนมาก
หากนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า มีจำนวนมากขึ้นทุกๆปีในเมืองไทย และแต่ละคนให้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพย์สินเงินทองแก่ญาติพี่น้องและคนรอบๆข้างแล้ว ก็เท่ากับว่า ครอบครัวที่สามารถจัดการทรัพย์สินเงินทองของตนเองได้ดีขึ้น ก็จะมีความมั่งคงมากขึ้น เท่ากับช่วยสังคมส่วนรวมนั่นเอง
ในมุมมองของผม สังคมโดยรวมจะได้อะไรจากพวกเรา การให้ความรู้นั่นแหละครับ คือคำตอบ
การให้ความรู้ ก็นับเป็นการให้อย่างหนึ่ง :lol: :lol:
---------------------
ความรู้ คู่คุณธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 52
สังคมได้อะไร
ให้คิดก็เหมือนจะต้องตอบว่าไม่ได้อะไร
แต่ก่อนอื่น การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือ การลงทุนโดยมองคุณค่าหรือมูลค่าให้ออก
และตามประสบการณ์ที่ผมมองเห็น VI ก็ถูกใช้ไป 2 ทาง
1. ลงทุน VI ระยะสั้น คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก แล้วดูว่าสิ่งนี้มูลค่าถูก แล้วคาดว่าราคาจะขึ้นก็ซื้อ ถ้าแพงราคาจะลงก็ขาย ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ส่วนต่างราคา รวมถึงความรวดเร็วที่จะทำกำไรได้ บางครั้งผมก็มักคิดว่า ดูเหมือนการเก็งกำไรแบบเน้นคุณค่า(คำว่าการลงทุน มันดูมั่นคงกว่าเยอะใครๆก็อยากใช้คำนี้) เพราะถ้าอ้างอิงตามหนังสือที่เป็นที่ยอมรับดูเงื่อนไขจะเข้าหมวดการเก็งกำไรมากกว่า
2. ลงทุน VI ระยะยาว คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก และมองยาวขึ้นว่า มูลค่านั้นในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ทั้งจากการเติบโต ความต้องการของสังคม เมื่อคิดว่าเหมาะสมก็ลงทุน และถือการลงทุนนั้นในระยะยาวหลายๆปี ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะเป็นเงินปันผลซึ่งได้รับจากการกำไรที่การลงทุนที่ถือนั้นไปปฏิบัติต่อสังคมจริงและก่อส่วนต่างที่เป็นกำไร กระแสเงินสด ซึ่งเป็นรายได้ที่แท้จริงและผ่านกระบวนการต่างๆทางสังคม
และตัวความเห็นที่จะเขียนต่อ จะเป็นส่วนของ ข้อ 2 ลงทุน VI ระยะยาว
สังคมมองมาอย่างไร
สังคมที่สัมผัสได้ น่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนจริงใจ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเที่ยว คนบ้านใกล้กัน คนรู้จัก คนที่เราต้องติดต่อด้วย และสังคมโดยรวม ก็น่าจะเป็น คนกรุงเทพ คนเชียงใหม่ คนไทย คนจีน คนทั้งโลก
ครั้งหนึ่ง ได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกคนมีเงินพอสมควร ซึ่งคนนี้ก็มักจะได้คำพูดจากสังคมที่สัมผัสได้ว่า มึงรวยว่ะ น่าอิจฉาว่ะ ไม่ต้องทำอะไรก็มีเงินใช้แล้ว พ่อมึงนี่เก่ง(ทำงานเก่งทำเงินได้ดี)ว่ะ พ่อมึงรวยเนอะ มึงนี่รวยเพราะพ่อ ก็เลยถามว่าพอมึงได้ยิน “มึงนี่รวยเพราะพ่อ” (ด้วยความอิจฉาเล็กๆ หรือรู้สึกว่ามึงแม้งโชคดีว่ะ) มึงรู้สึกยังไงว่ะ มันตอบว่า พวกมึงซวยเอง (โอ้คำตอบชอบมาก) ถามว่าให้พวกมึงมีพ่อที่รวยเก่ง เหมือนพ่อกูเอามั้ย (คิดว่า คนมากกว่า90-95% ก็น่าจะอยากมีบ้านรวย พ่อรวยนะ) ตอนแรกๆก็รู้สึกกับคำพูดพวกนี้แต่ตอนนี้ไม่แล้ว
ให้คิดก็เหมือนจะต้องตอบว่าไม่ได้อะไร
แต่ก่อนอื่น การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือ การลงทุนโดยมองคุณค่าหรือมูลค่าให้ออก
และตามประสบการณ์ที่ผมมองเห็น VI ก็ถูกใช้ไป 2 ทาง
1. ลงทุน VI ระยะสั้น คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก แล้วดูว่าสิ่งนี้มูลค่าถูก แล้วคาดว่าราคาจะขึ้นก็ซื้อ ถ้าแพงราคาจะลงก็ขาย ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ส่วนต่างราคา รวมถึงความรวดเร็วที่จะทำกำไรได้ บางครั้งผมก็มักคิดว่า ดูเหมือนการเก็งกำไรแบบเน้นคุณค่า(คำว่าการลงทุน มันดูมั่นคงกว่าเยอะใครๆก็อยากใช้คำนี้) เพราะถ้าอ้างอิงตามหนังสือที่เป็นที่ยอมรับดูเงื่อนไขจะเข้าหมวดการเก็งกำไรมากกว่า
2. ลงทุน VI ระยะยาว คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก และมองยาวขึ้นว่า มูลค่านั้นในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ทั้งจากการเติบโต ความต้องการของสังคม เมื่อคิดว่าเหมาะสมก็ลงทุน และถือการลงทุนนั้นในระยะยาวหลายๆปี ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะเป็นเงินปันผลซึ่งได้รับจากการกำไรที่การลงทุนที่ถือนั้นไปปฏิบัติต่อสังคมจริงและก่อส่วนต่างที่เป็นกำไร กระแสเงินสด ซึ่งเป็นรายได้ที่แท้จริงและผ่านกระบวนการต่างๆทางสังคม
และตัวความเห็นที่จะเขียนต่อ จะเป็นส่วนของ ข้อ 2 ลงทุน VI ระยะยาว
สังคมมองมาอย่างไร
สังคมที่สัมผัสได้ น่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนจริงใจ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเที่ยว คนบ้านใกล้กัน คนรู้จัก คนที่เราต้องติดต่อด้วย และสังคมโดยรวม ก็น่าจะเป็น คนกรุงเทพ คนเชียงใหม่ คนไทย คนจีน คนทั้งโลก
ครั้งหนึ่ง ได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกคนมีเงินพอสมควร ซึ่งคนนี้ก็มักจะได้คำพูดจากสังคมที่สัมผัสได้ว่า มึงรวยว่ะ น่าอิจฉาว่ะ ไม่ต้องทำอะไรก็มีเงินใช้แล้ว พ่อมึงนี่เก่ง(ทำงานเก่งทำเงินได้ดี)ว่ะ พ่อมึงรวยเนอะ มึงนี่รวยเพราะพ่อ ก็เลยถามว่าพอมึงได้ยิน “มึงนี่รวยเพราะพ่อ” (ด้วยความอิจฉาเล็กๆ หรือรู้สึกว่ามึงแม้งโชคดีว่ะ) มึงรู้สึกยังไงว่ะ มันตอบว่า พวกมึงซวยเอง (โอ้คำตอบชอบมาก) ถามว่าให้พวกมึงมีพ่อที่รวยเก่ง เหมือนพ่อกูเอามั้ย (คิดว่า คนมากกว่า90-95% ก็น่าจะอยากมีบ้านรวย พ่อรวยนะ) ตอนแรกๆก็รู้สึกกับคำพูดพวกนี้แต่ตอนนี้ไม่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 53
ต่อมาบังเอิญได้อยู่ในการสนทนาระหว่าง คุณเริ่มมี กับ คุณช่วยเหลือ เรื่องก็คือว่า คุณเริ่มมี เริ่มมีอาการจิตตก คือคุณเริ่มมี เพิ่งจะเรียนจบมาได้ไม่กี่ปี และบังเอิญ คุณเริ่มมี มีการลงทุน น่าจะเกี่ยวกับตลาดหุ้น เค้าเล่าว่า เค้าลงทุนในตลาดหุ้นมาหลายปีแล้วเหมือนกัน จากบื้อๆเป็นเข้าใจมากขึ้น จนมาถึงวันนี้เค้ามีรายได้จากเงินปันผล และบางทีก็จะมาจากส่วนต่างกำไร แล้วตัวเค้าก็ค่อนข้างมั่นใจว่าเขาจะสามารถหาพอเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว แต่ด้วยว่าความรู้สึกต่างๆที่วิ่งเข้ามาจากสังคมที่สัมผัสได้นั้นช่างงงงวย และหนักหน่วง ตัวคุณเริ่มมี จึงเริ่มรู้สึกว่าตัวเค้าจะมีปัญหากับสังคมรึไม่
เริ่มจากครอบครัว ตอนเริ่มแรกครอบครัวก็ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆที่ต่างได้รับรู้เกี่ยวกับหุ้น จนคุณเริ่มมี สามารถทำผลตอบแทนได้ต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทีละน้อย ซึ่งก็ใช้เวลาหลายปีจนครอบครัวมองเห็นเข้าใจ และคิดว่าพอจะเป็นไปได้ ปัญหาส่วนนี้จึงเบาบางลง แต่หาจบแค่นี้ไม่ ญาติ คนใกล้บ้าน คนรู้จัก อ่าวทำไมไม่ไปเรียนต่อ เล่นหุ้นจะรอดเหรอ และอื่นๆอีกมาก และวันนึงคุณเริ่มมี หลังจากจิตตกได้สักพัก ก็มีโอกาสคุยกับคุณช่วยเหลือทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ตอนเรียน เริ่มมีจึงเริ่มเล่าเรื่อง และอยู่ๆคุณช่วยเหลือจึงนัดให้ออกมาเจอ เริ่มมีถามเจอทำไมมีอะไรรึเปล่า ช่วยเหลือจึงบอกว่าให้ออกมาคุยกัน เค้าเรียนจิตวิทยาอยู่อยากคุยดูเผื่อว่าจะช่วยอะไรได้
ไม่กี่วันหลังจากนั้น เค้าสองคนก็เจอกัน ในร้านกาแฟบรรยากาศดีๆแห่งหนึ่ง คุณช่วยเหลือจึงเริ่มถาม อ่าวเป็นไงบ้าง เริ่มมี จึงเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ ดูๆไปคุณเริ่มมีพูดอยู่ฝ่ายเดียว คุณช่วยเหลือ ตอบบ้าง ถามบ้างแบบสั้นๆ แล้วเริ่มมีก็เริ่มพูดน้อยลงๆๆ จนจบ รวมๆ เกือบชั่วโมงมั้ง เริ่มมี หัวเราะเล็กๆ แล้วพูดว่า ดูเหมือนตัวเค้าพูดอยู่ซะฝ่ายเดียว อืมแต่กลับรู้สึกดีแฮะ คุณช่วยเหลือเริ่มพูด ก็คือว่า ใช้เงินทำงานได้ หาเงินได้โดยไม่ต้องทำงาน เลยไม่มีงานอะไรทำ และก็หาได้ตกเดือนละไม่แพ้คนที่เพิ่งจบปริญญาโทแบบทั่วไป แต่กังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การยอมรับ ใช่มั้ย เริ่มมีตอบ อืม พรางคิดว่า พูดตั้งเป็นชั่วโมงตกลงเนื้อหาก็ประมาณแค่นี้เนอะ
เริ่มจากครอบครัว ตอนเริ่มแรกครอบครัวก็ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆที่ต่างได้รับรู้เกี่ยวกับหุ้น จนคุณเริ่มมี สามารถทำผลตอบแทนได้ต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทีละน้อย ซึ่งก็ใช้เวลาหลายปีจนครอบครัวมองเห็นเข้าใจ และคิดว่าพอจะเป็นไปได้ ปัญหาส่วนนี้จึงเบาบางลง แต่หาจบแค่นี้ไม่ ญาติ คนใกล้บ้าน คนรู้จัก อ่าวทำไมไม่ไปเรียนต่อ เล่นหุ้นจะรอดเหรอ และอื่นๆอีกมาก และวันนึงคุณเริ่มมี หลังจากจิตตกได้สักพัก ก็มีโอกาสคุยกับคุณช่วยเหลือทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ตอนเรียน เริ่มมีจึงเริ่มเล่าเรื่อง และอยู่ๆคุณช่วยเหลือจึงนัดให้ออกมาเจอ เริ่มมีถามเจอทำไมมีอะไรรึเปล่า ช่วยเหลือจึงบอกว่าให้ออกมาคุยกัน เค้าเรียนจิตวิทยาอยู่อยากคุยดูเผื่อว่าจะช่วยอะไรได้
ไม่กี่วันหลังจากนั้น เค้าสองคนก็เจอกัน ในร้านกาแฟบรรยากาศดีๆแห่งหนึ่ง คุณช่วยเหลือจึงเริ่มถาม อ่าวเป็นไงบ้าง เริ่มมี จึงเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ ดูๆไปคุณเริ่มมีพูดอยู่ฝ่ายเดียว คุณช่วยเหลือ ตอบบ้าง ถามบ้างแบบสั้นๆ แล้วเริ่มมีก็เริ่มพูดน้อยลงๆๆ จนจบ รวมๆ เกือบชั่วโมงมั้ง เริ่มมี หัวเราะเล็กๆ แล้วพูดว่า ดูเหมือนตัวเค้าพูดอยู่ซะฝ่ายเดียว อืมแต่กลับรู้สึกดีแฮะ คุณช่วยเหลือเริ่มพูด ก็คือว่า ใช้เงินทำงานได้ หาเงินได้โดยไม่ต้องทำงาน เลยไม่มีงานอะไรทำ และก็หาได้ตกเดือนละไม่แพ้คนที่เพิ่งจบปริญญาโทแบบทั่วไป แต่กังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การยอมรับ ใช่มั้ย เริ่มมีตอบ อืม พรางคิดว่า พูดตั้งเป็นชั่วโมงตกลงเนื้อหาก็ประมาณแค่นี้เนอะ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 54
คุณช่วยเหลือ เริ่มพูดต่อ “คุณเริ่มมี คุณรู้มั้ยว่าจริงๆแล้ว ชีวิตแบบคุณคือชีวิตที่แทบทุกคนอิจฉา อยากเป็น อยากมี” คุณเริ่มมีนั่งนิ่ง อึ้ง พรางคิด เออว่ะ เออว่ะ เออว่ะ จริงๆ เออว่ะ คุณช่วยเหลือ พูดต่อ ลองคิดดูสิ คนที่มาทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ทั่วไป ได้เดือนละ 25,000 บาท กับคุณที่สามารถทำเงินได้ 30,000 บาท โดยที่ไม่ต้องทำงานหนักเท่า ถ้าเลือกได้ก็น่าจะตอบแทนได้เลยว่า คนส่วนใหญ่มากๆ จะต้องเลือกมีเงินโดยไม่ต้องทำงาน หรือทำงานน้อยๆ สบายๆ จะยกเว้นแค่กรณีเดียว คือ คนที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก คุณเริ่มมี นั่งนิ่ง อึ้งต่อ เออว่ะ
คุณเริ่มมีจิตเริ่มหายตก เริ่มพูดว่า เออเนอะ สมมุติ มีคนที่ทำงานในสังคมได้เงินเดือนละ 25000 บาท มาบอกให้ผมไปทำงานข้างนอกสิ ซึ่งสมมุติว่าได้เงินเดือน 25000 บาท ด้วยทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไม่สิตามวุฒิ ปริญญาตรี เริ่มงาน อาจจะได้ 15000 บาทด้วยซ้ำ ต่อให้ได้ 25000 บาท ทำงานทุกวัน แต่ผมไม่ต้องทำทุกวันได้ 30000 บาท นั่นอาจจะแปลว่าทางหรือวิธีที่ผมทำอยู่น่าสนใจกว่า และถ้าผมไปทำงานตำแหน่งเค้าก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าหรืทำได้ดีกว่า หรือถ้าเค้ามาทำแบบผมก็อาจจะทำได้ หรือทำไม่ได้ก็ได้ งั้นดูๆไป วิธีของผมนั้นดูดีกว่าแล้ว แล้วผมควรจะเชื่อสังคมและทำตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าถูกหรือไม่ เออว่ะ
คุณเริ่มมี คิดต่อ และพูดว่า แปลว่าตอนนี้ ตัวเค้าคิดผิดอยู่ใช่มั้ยเนี่ย ทำให้รู้สึก ข้อดี กลายเป็นข้อเสีย คุณกลายเป็นโทษ ประโยชน์กลายเป็นภัย พร้อมกับพูดว่า เข้าใจแล้ว เราจะไม่ถูกหรือผิด จากความเห็นชอบจากผู้อื่นว่าถูกหรือผิด แต่เราจะถูกหรือผิด จากเหตุผลที่ถูกต้องและความเป็นจริง
Ok อันนี้เข้าใจแล้ว แล้วทำไงดีกับสังคมล่ะ
คุณเริ่มมีจิตเริ่มหายตก เริ่มพูดว่า เออเนอะ สมมุติ มีคนที่ทำงานในสังคมได้เงินเดือนละ 25000 บาท มาบอกให้ผมไปทำงานข้างนอกสิ ซึ่งสมมุติว่าได้เงินเดือน 25000 บาท ด้วยทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไม่สิตามวุฒิ ปริญญาตรี เริ่มงาน อาจจะได้ 15000 บาทด้วยซ้ำ ต่อให้ได้ 25000 บาท ทำงานทุกวัน แต่ผมไม่ต้องทำทุกวันได้ 30000 บาท นั่นอาจจะแปลว่าทางหรือวิธีที่ผมทำอยู่น่าสนใจกว่า และถ้าผมไปทำงานตำแหน่งเค้าก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าหรืทำได้ดีกว่า หรือถ้าเค้ามาทำแบบผมก็อาจจะทำได้ หรือทำไม่ได้ก็ได้ งั้นดูๆไป วิธีของผมนั้นดูดีกว่าแล้ว แล้วผมควรจะเชื่อสังคมและทำตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าถูกหรือไม่ เออว่ะ
คุณเริ่มมี คิดต่อ และพูดว่า แปลว่าตอนนี้ ตัวเค้าคิดผิดอยู่ใช่มั้ยเนี่ย ทำให้รู้สึก ข้อดี กลายเป็นข้อเสีย คุณกลายเป็นโทษ ประโยชน์กลายเป็นภัย พร้อมกับพูดว่า เข้าใจแล้ว เราจะไม่ถูกหรือผิด จากความเห็นชอบจากผู้อื่นว่าถูกหรือผิด แต่เราจะถูกหรือผิด จากเหตุผลที่ถูกต้องและความเป็นจริง
Ok อันนี้เข้าใจแล้ว แล้วทำไงดีกับสังคมล่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 55
ผมฟังนะดูเหมือน คุณช่วยเหลือเพียงพูดถึงจิตวิทยาที่คนทั่วไปคิดหรือรู้สึกถึงแม้อาจจะไม่ค่อยเข้าใจวิธีที่คุณเริ่มมีทำอย่างละเอียดนัก แล้วคุณเริ่มมีก็เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำดีขึ้นและพูดออกมา อืม น่าสนใจ
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ สำหรับคำถาม “ทำไงดีล่ะกับสังคม” คำตอบไม่ยากเลย ใช้แค่ 4 คำ
เริ่มมี พูด “ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ”
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ
1.ยิ้มแย้ม 2. ทักทาย 3. ช่วยเหลือ 4. ชมเชย
ยิ้มแย้ม ถ้าเราเจอคนที่รู้จัก หรือแม้แต่ไม่รู้จักแล้วเราอยากรู้จัก และเรายิ้มให้ นั่นก็แสดงถึงการเป็นมิตรแล้ว แต่ถ้าเค้าไม่ยิ้มตอบก็ไม่เป็นไรแต่เราได้มอบความรู้สึกดีๆที่เป็นมิตรให้แล้ว
ทักทาย ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็ใช้แค่คำว่า สวัสดี เราก็จะได้เริ่มคุยกันแล้ว ความเป็นมิตรเป็นสังคมก็มากขึ้น
ช่วยเหลือ ทั้งเราช่วยคนอื่น คนอื่นช่วยเรา ด้วยความเต็มใจ โดยทั่วไป ย่อมรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย
ชมเชย ขอบคุณ ด้วยความจริงใจ
การมีสังคมย่อมไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ แล้วถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และมีเวลาให้สังคมก็จะไม่ขาดสังคม
แต่ส่วนเรื่องที่เราจะเอามาพูดคุยนั้น เราสามารถเลือกได้ เลือกว่าจะพูด หรือไม่พูด และควรพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรวม ก็ประมาณนี้
คุณเริ่มมี คิดไปด้วยและเริ่มพูดว่า อย่างนี้ถ้าเราแบ่งเรื่องออกเป็น เรื่องของเรา และ เรื่องของสังคม ก็ได้น่ะสิ
เรื่องของเรา เราก็สามารถคิด ไตร่ตรอง และทำในสิ่งที่เราควรจะทำได้ เรามีสิทธิ์นั้นเพียงแต่ เรื่องของเราที่ทำนั้นไม่ควรเบียดเบียนสังคม นั่นแปลว่า เราทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และ ยังคงเป็นมิตรต่อสังคมอยู่
และเรื่องของสังคม มันคงดีแน่ถ้าสิ่งที่เราอยากทำ ไปมีประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง แต่ถ้ามันไม่มีโดยตรง เราก็ค่อยๆสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยอ้อมก็ได้นี่นา
แปลว่าเราก็คงต้องทำในสิ่งที่เราอยากและควรทำ (เพราะถ้าไม่ทำใครจะมาทำให้เรา) โดยมีสังคมอยู่เคียงข้าง
ต่างคนก็พยักหน้า
ผมก็ได้แต่คิด ดีจังที่เราได้มานั่งฟังและทำความเข้าใจเรื่องนี้ ขอบคุณทั้งคุณ เริ่มมี และ คุณช่วยเหลือ
ผู้รับหน้าที่...
ในสังคม ทุกๆคน ต่างดูเหมือนมีหน้าที่ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่างคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถ้าไม่รู้ตัวหรือไม่ได้คิด ก็แค่รู้ตัวว่าขับรถแล้วได้เงินจบ แต่พอตัวได้คิด หน้าที่ก็คือ พาคนหรือสิ่งของ จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งและได้เงินเป็นผลตอบแทนจากสังคม และการขนส่งนี้ก็คือการมอบให้สังคม แล้วนำเงินที่ได้ไปใช้บริโภค ดูแลตัวเองและครอบครัว เงินก็หมุนกับสู่บุคคลอื่นในสังคม รวมถึงถ้ามีการเสียภาษีสู่รัฐ กลไกทั่วไปรัฐก็ต้องนำเงินกับมาสร้างสร้างประโยชน์สู่สังคม นี่ใช่ไหมหน้าที่ทางสังคม
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ สำหรับคำถาม “ทำไงดีล่ะกับสังคม” คำตอบไม่ยากเลย ใช้แค่ 4 คำ
เริ่มมี พูด “ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ”
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ
1.ยิ้มแย้ม 2. ทักทาย 3. ช่วยเหลือ 4. ชมเชย
ยิ้มแย้ม ถ้าเราเจอคนที่รู้จัก หรือแม้แต่ไม่รู้จักแล้วเราอยากรู้จัก และเรายิ้มให้ นั่นก็แสดงถึงการเป็นมิตรแล้ว แต่ถ้าเค้าไม่ยิ้มตอบก็ไม่เป็นไรแต่เราได้มอบความรู้สึกดีๆที่เป็นมิตรให้แล้ว
ทักทาย ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็ใช้แค่คำว่า สวัสดี เราก็จะได้เริ่มคุยกันแล้ว ความเป็นมิตรเป็นสังคมก็มากขึ้น
ช่วยเหลือ ทั้งเราช่วยคนอื่น คนอื่นช่วยเรา ด้วยความเต็มใจ โดยทั่วไป ย่อมรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย
ชมเชย ขอบคุณ ด้วยความจริงใจ
การมีสังคมย่อมไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ แล้วถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และมีเวลาให้สังคมก็จะไม่ขาดสังคม
แต่ส่วนเรื่องที่เราจะเอามาพูดคุยนั้น เราสามารถเลือกได้ เลือกว่าจะพูด หรือไม่พูด และควรพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรวม ก็ประมาณนี้
คุณเริ่มมี คิดไปด้วยและเริ่มพูดว่า อย่างนี้ถ้าเราแบ่งเรื่องออกเป็น เรื่องของเรา และ เรื่องของสังคม ก็ได้น่ะสิ
เรื่องของเรา เราก็สามารถคิด ไตร่ตรอง และทำในสิ่งที่เราควรจะทำได้ เรามีสิทธิ์นั้นเพียงแต่ เรื่องของเราที่ทำนั้นไม่ควรเบียดเบียนสังคม นั่นแปลว่า เราทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และ ยังคงเป็นมิตรต่อสังคมอยู่
และเรื่องของสังคม มันคงดีแน่ถ้าสิ่งที่เราอยากทำ ไปมีประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง แต่ถ้ามันไม่มีโดยตรง เราก็ค่อยๆสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยอ้อมก็ได้นี่นา
แปลว่าเราก็คงต้องทำในสิ่งที่เราอยากและควรทำ (เพราะถ้าไม่ทำใครจะมาทำให้เรา) โดยมีสังคมอยู่เคียงข้าง
ต่างคนก็พยักหน้า
ผมก็ได้แต่คิด ดีจังที่เราได้มานั่งฟังและทำความเข้าใจเรื่องนี้ ขอบคุณทั้งคุณ เริ่มมี และ คุณช่วยเหลือ
ผู้รับหน้าที่...
ในสังคม ทุกๆคน ต่างดูเหมือนมีหน้าที่ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่างคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถ้าไม่รู้ตัวหรือไม่ได้คิด ก็แค่รู้ตัวว่าขับรถแล้วได้เงินจบ แต่พอตัวได้คิด หน้าที่ก็คือ พาคนหรือสิ่งของ จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งและได้เงินเป็นผลตอบแทนจากสังคม และการขนส่งนี้ก็คือการมอบให้สังคม แล้วนำเงินที่ได้ไปใช้บริโภค ดูแลตัวเองและครอบครัว เงินก็หมุนกับสู่บุคคลอื่นในสังคม รวมถึงถ้ามีการเสียภาษีสู่รัฐ กลไกทั่วไปรัฐก็ต้องนำเงินกับมาสร้างสร้างประโยชน์สู่สังคม นี่ใช่ไหมหน้าที่ทางสังคม
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 56
ลงทุนแบบเน้นคุณค่า รับผลตอบแทนการลงทุนกับธุรกิจ
ไม่ใช่เก็งกำไรจนลืมรับปันผลแบบนี้
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
ไม่ใช่เก็งกำไรจนลืมรับปันผลแบบนี้
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 57
ผมเข้ามาลงทุนโดยใช้ความโลภของตัวเองเป็นที่ตั้ง
ผมเลือกแนวทาง VI เพียงเพราะผมรู้สึกว่ามันสมเหตุสมผล และถูกจริตกับผมดี
การที่อยู่ในตลาดทำให้ผมได้เห็นกิเลสต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะกิเลสในตัวผมเองที่เติบโตขึ้นทุกวันๆ
ผมเข้ามาลงทุนโดยไม่เคยคิดว่าสังคมจะได้อะไรจากผม แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว นอกจากสังคมจะได้รับผลดีแล้ว ผลเสียที่เกิดขึ้นก็รุนแรงได้ไม่แพ้กัน เช่น มิจฉาทิฎฐิอาจเกิดขึ้นในใจของคนในสังคม จนนำไปสู่ความเข้าใจผิด และทำให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้น
ผมเชื่อว่าปรัชญาการลงทุนแบบ VI จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดมีความสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมันกลับไม่ได้ทำให้คนมีความทุกข์ลดลงแม้แต่น้อย ในทางกลับกันอาจจะทุกข์ และมีกิเลสมากขึ้นด้วยซ้ำ
ยิ่งนั่งคิดต่อก็ยิ่งปวดหัว... ผมรู้สึกว่าแค่การเข้าใจตัวเองยังยาก การที่จะเข้าใจสังคมนี่ช่างยากเกินที่จะเข้าใจเสียเหลือเกิน... ซึ่งผมรู้สึกว่าการที่เรามานั่งคิดว่าเรามาลงทุนแบบ VI จะเป็นการช่วยสังคมให้ดีขึ้น มันช่างเป็นการสวมหน้ากากที่จะปกปิดความโลภตัวเองเสียเหลือเกิน และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ความโลภเปลี่ยนแปลงกลายเป็นความหลงผิดได้... เพราะ โมหะนั้นช่างน่ากลัวซะยิ่งกว่าโลภะเสียมากมาย
ปล. ขออภัยหากความคิดเห็นทำให้ท่านขุ่นเคืองใจ
ผมเลือกแนวทาง VI เพียงเพราะผมรู้สึกว่ามันสมเหตุสมผล และถูกจริตกับผมดี
การที่อยู่ในตลาดทำให้ผมได้เห็นกิเลสต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะกิเลสในตัวผมเองที่เติบโตขึ้นทุกวันๆ
ผมเข้ามาลงทุนโดยไม่เคยคิดว่าสังคมจะได้อะไรจากผม แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว นอกจากสังคมจะได้รับผลดีแล้ว ผลเสียที่เกิดขึ้นก็รุนแรงได้ไม่แพ้กัน เช่น มิจฉาทิฎฐิอาจเกิดขึ้นในใจของคนในสังคม จนนำไปสู่ความเข้าใจผิด และทำให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้น
ผมเชื่อว่าปรัชญาการลงทุนแบบ VI จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดมีความสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมันกลับไม่ได้ทำให้คนมีความทุกข์ลดลงแม้แต่น้อย ในทางกลับกันอาจจะทุกข์ และมีกิเลสมากขึ้นด้วยซ้ำ
ยิ่งนั่งคิดต่อก็ยิ่งปวดหัว... ผมรู้สึกว่าแค่การเข้าใจตัวเองยังยาก การที่จะเข้าใจสังคมนี่ช่างยากเกินที่จะเข้าใจเสียเหลือเกิน... ซึ่งผมรู้สึกว่าการที่เรามานั่งคิดว่าเรามาลงทุนแบบ VI จะเป็นการช่วยสังคมให้ดีขึ้น มันช่างเป็นการสวมหน้ากากที่จะปกปิดความโลภตัวเองเสียเหลือเกิน และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ความโลภเปลี่ยนแปลงกลายเป็นความหลงผิดได้... เพราะ โมหะนั้นช่างน่ากลัวซะยิ่งกว่าโลภะเสียมากมาย
ปล. ขออภัยหากความคิดเห็นทำให้ท่านขุ่นเคืองใจ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 58
เขียนต่อดีกว่า
ตอนเด็กเล็กมากๆ ผมได้อยู่ใกล้กับการค้าขาย และด้วยคิดเรื่องการหาเงินบ่อยครั้ง ก็นั่งคิดแล้วก็ถามผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างซื่อๆ ว่า การหาเงินต้องขายของเท่านั้นเหรอ แต่ในเมื่อเราต้องการหาเงิน ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ แล้วผมก็นั่งนิ่งอึ้งคิด เออว่ะ มันเป็นวิธีโดยตรง มันทำไม่ได้เหรอ อย่างขายวัสดุก่อสร้าง เราก็ต้องเอาเงินซื้อของมา และพอขายของไปก็ได้เงินกลับมาถึงได้กำไร ถึงแปลว่าหาเงินกำไรได้ สมมุติขายข้าว หรือค้าขายอะไรก็รูปแบบนี้ ทำไมต้องผ่านอะไรบางอย่าง ทำไมต้องอ้อมด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ถูกถามก็นั่งนิ่งตอบต่อไม่ได้เหมือนกัน และตัวผมตอนนั้นก็เลยไม่รู้คำตอบ แต่ผมได้แต่รู้สึกพิเศษกับประโยคนี้จัง “ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ มันน่าจะเป็นทางตรงกว่าตั้งเยอะ”
เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ หลายปี คิดไปเรื่อยๆ จนวันที่เห็น เงิน มันทำเงินได้จริงๆ เริ่มจากเห็นเงินในธนาคาร เอ่ ฝากอยู่ในธนาคารเฉยๆ ทำไมก็ได้เงินว่ะ เฮ้อ โลกนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆธนาคารให้เงินเรา เราไม่ได้ทำอะไรให้ธนาคารเลยนะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ ทำไมธนาคารให้เงินเราอ่ะ เค้าทำได้ยังไง เค้าก็อธิบายว่า พอเราฝากเงิน เค้าก็เอาเงินไปให้คนอื่นกู้ยืม เค้าก็มีกำไร เค้าก็เลยให้ดอกเบี้ยเรา อืม อ้อเหรอ อ๋อมันเป็นอย่างนี้เอง คิดต่อไปเรื่อยๆ งั้นแปลว่า เหมือนกับว่า เราให้ธนาคารยืมเงินเราไป พอเค้ายืมเรา เค้าเอาไปให้คนอื่นยืมต่อ เราก็ต้องเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ธนาคารเป็นลูกหนี้เรา งั้นเรามีหน้าที่หาเงินไปให้ธนาคารยืม เราก็จะได้เงิน ธนาคารมีหน้าที่นำเงินของเราไปให้คนอื่นยืมธนาคารถึงจะได้เงิน โอ้โห๋ มันซับซ้อนจัง แล้วใครมายืมเงินของเราจากธนาคารล่ะ อืม เราฝากเงินได้ดอกเบี้ย ธนาคารให้กู้ได้กำไร งั้นแปลว่าคนมากู้ธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเราได้และธนาคารมีกำไร ดอกเบี้ยก็ต้องสูงสิ แล้วคนที่มากู้ธนาคารเอาเงินไปทำอะไรอ่ะ เฮ้อ น่าปวดหัวแฮะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ต่อ เค้าบอกว่าเค้าก็กู้เอาไปเป็นทุนขายของ ทำธุรกิจ และก็เอากำไรมาจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นไง อืม อ้อเหรอ งั้นก็แปลว่าเค้าต้องได้กำไร มากกว่าค่าดอกเบี้ยสิ แปลว่าขายของทำธุรกิจก็ได้เงินเยอะข้นไปอีกสิ อืม น่าสนใจแฮะ
ถ้าเปรียบหน้าที่ทางสังคมเฉพาะส่วนนี้ ก็เหมือนเรามีหน้าที่หาเงินมาฝาก(หน้าที่นี้ก็ไม่ถึงกับง่ายนะ)ให้สังคมนำเงินเราไปใช้โดยผ่านธนาคาร และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนจากสังคม (เหมือนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มให้กับสังคม และก็ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะแค่การทำให้มีเงินเหลือฝากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแล้ว) ธนาคารมีหน้าที่ทางสังคมให้ใช้ความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ดี และได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นผลตอบแทนจากสังคม ผู้กู้ก็มีหน้าที่ทางสังคมนำเงินนั้นไปทำธุรกิจที่สังคมต้องการ
หลังจากนั้นหลายๆปีผ่านไปเรื่อยๆ จึงมองเห็น เฮ้อ มันมีที่ๆเอาเงินไปฝาก ไปวาง ไปใช้ แล้วก็ได้ผลตอบแทนอีกนี่นา เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น ตั๋วเงิน กองทุน ซึ่งดูด้วยตาเปล่า ก็ยังเหมือน ลงเงินได้เงิน เงินที่ได้เราก็ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมนักคล้ายรูปแบบเงินฝาก ต่างกันที่ความเสี่ยง ความรู้จึงจำเป็น นี่ยังไม่ได้รวมถึงลงทุนทางพวกอสังหา ซึ่งต้องผ่านตัวกลางอสังหา
ทั้งหมดดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคม แต่จริงแล้วกำลังทำหน้าที่ให้สังคม
ตอนเด็กเล็กมากๆ ผมได้อยู่ใกล้กับการค้าขาย และด้วยคิดเรื่องการหาเงินบ่อยครั้ง ก็นั่งคิดแล้วก็ถามผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างซื่อๆ ว่า การหาเงินต้องขายของเท่านั้นเหรอ แต่ในเมื่อเราต้องการหาเงิน ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ แล้วผมก็นั่งนิ่งอึ้งคิด เออว่ะ มันเป็นวิธีโดยตรง มันทำไม่ได้เหรอ อย่างขายวัสดุก่อสร้าง เราก็ต้องเอาเงินซื้อของมา และพอขายของไปก็ได้เงินกลับมาถึงได้กำไร ถึงแปลว่าหาเงินกำไรได้ สมมุติขายข้าว หรือค้าขายอะไรก็รูปแบบนี้ ทำไมต้องผ่านอะไรบางอย่าง ทำไมต้องอ้อมด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ถูกถามก็นั่งนิ่งตอบต่อไม่ได้เหมือนกัน และตัวผมตอนนั้นก็เลยไม่รู้คำตอบ แต่ผมได้แต่รู้สึกพิเศษกับประโยคนี้จัง “ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ มันน่าจะเป็นทางตรงกว่าตั้งเยอะ”
เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ หลายปี คิดไปเรื่อยๆ จนวันที่เห็น เงิน มันทำเงินได้จริงๆ เริ่มจากเห็นเงินในธนาคาร เอ่ ฝากอยู่ในธนาคารเฉยๆ ทำไมก็ได้เงินว่ะ เฮ้อ โลกนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆธนาคารให้เงินเรา เราไม่ได้ทำอะไรให้ธนาคารเลยนะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ ทำไมธนาคารให้เงินเราอ่ะ เค้าทำได้ยังไง เค้าก็อธิบายว่า พอเราฝากเงิน เค้าก็เอาเงินไปให้คนอื่นกู้ยืม เค้าก็มีกำไร เค้าก็เลยให้ดอกเบี้ยเรา อืม อ้อเหรอ อ๋อมันเป็นอย่างนี้เอง คิดต่อไปเรื่อยๆ งั้นแปลว่า เหมือนกับว่า เราให้ธนาคารยืมเงินเราไป พอเค้ายืมเรา เค้าเอาไปให้คนอื่นยืมต่อ เราก็ต้องเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ธนาคารเป็นลูกหนี้เรา งั้นเรามีหน้าที่หาเงินไปให้ธนาคารยืม เราก็จะได้เงิน ธนาคารมีหน้าที่นำเงินของเราไปให้คนอื่นยืมธนาคารถึงจะได้เงิน โอ้โห๋ มันซับซ้อนจัง แล้วใครมายืมเงินของเราจากธนาคารล่ะ อืม เราฝากเงินได้ดอกเบี้ย ธนาคารให้กู้ได้กำไร งั้นแปลว่าคนมากู้ธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเราได้และธนาคารมีกำไร ดอกเบี้ยก็ต้องสูงสิ แล้วคนที่มากู้ธนาคารเอาเงินไปทำอะไรอ่ะ เฮ้อ น่าปวดหัวแฮะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ต่อ เค้าบอกว่าเค้าก็กู้เอาไปเป็นทุนขายของ ทำธุรกิจ และก็เอากำไรมาจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นไง อืม อ้อเหรอ งั้นก็แปลว่าเค้าต้องได้กำไร มากกว่าค่าดอกเบี้ยสิ แปลว่าขายของทำธุรกิจก็ได้เงินเยอะข้นไปอีกสิ อืม น่าสนใจแฮะ
ถ้าเปรียบหน้าที่ทางสังคมเฉพาะส่วนนี้ ก็เหมือนเรามีหน้าที่หาเงินมาฝาก(หน้าที่นี้ก็ไม่ถึงกับง่ายนะ)ให้สังคมนำเงินเราไปใช้โดยผ่านธนาคาร และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนจากสังคม (เหมือนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มให้กับสังคม และก็ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะแค่การทำให้มีเงินเหลือฝากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแล้ว) ธนาคารมีหน้าที่ทางสังคมให้ใช้ความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ดี และได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นผลตอบแทนจากสังคม ผู้กู้ก็มีหน้าที่ทางสังคมนำเงินนั้นไปทำธุรกิจที่สังคมต้องการ
หลังจากนั้นหลายๆปีผ่านไปเรื่อยๆ จึงมองเห็น เฮ้อ มันมีที่ๆเอาเงินไปฝาก ไปวาง ไปใช้ แล้วก็ได้ผลตอบแทนอีกนี่นา เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น ตั๋วเงิน กองทุน ซึ่งดูด้วยตาเปล่า ก็ยังเหมือน ลงเงินได้เงิน เงินที่ได้เราก็ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมนักคล้ายรูปแบบเงินฝาก ต่างกันที่ความเสี่ยง ความรู้จึงจำเป็น นี่ยังไม่ได้รวมถึงลงทุนทางพวกอสังหา ซึ่งต้องผ่านตัวกลางอสังหา
ทั้งหมดดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคม แต่จริงแล้วกำลังทำหน้าที่ให้สังคม
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 59
picatos เขียน:ผมเข้ามาลงทุนโดยใช้ความโลภของตัวเองเป็นที่ตั้ง
ผมเลือกแนวทาง VI เพียงเพราะผมรู้สึกว่ามันสมเหตุสมผล และถูกจริตกับผมดี
การที่อยู่ในตลาดทำให้ผมได้เห็นกิเลสต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะกิเลสในตัวผมเองที่เติบโตขึ้นทุกวันๆ
ผมเข้ามาลงทุนโดยไม่เคยคิดว่าสังคมจะได้อะไรจากผม แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว นอกจากสังคมจะได้รับผลดีแล้ว ผลเสียที่เกิดขึ้นก็รุนแรงได้ไม่แพ้กัน เช่น มิจฉาทิฎฐิอาจเกิดขึ้นในใจของคนในสังคม จนนำไปสู่ความเข้าใจผิด และทำให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้น
ผมเชื่อว่าปรัชญาการลงทุนแบบ VI จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดมีความสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมันกลับไม่ได้ทำให้คนมีความทุกข์ลดลงแม้แต่น้อย ในทางกลับกันอาจจะทุกข์ และมีกิเลสมากขึ้นด้วยซ้ำ
ยิ่งนั่งคิดต่อก็ยิ่งปวดหัว... ผมรู้สึกว่าแค่การเข้าใจตัวเองยังยาก การที่จะเข้าใจสังคมนี่ช่างยากเกินที่จะเข้าใจเสียเหลือเกิน... ซึ่งผมรู้สึกว่าการที่เรามานั่งคิดว่าเรามาลงทุนแบบ VI จะเป็นการช่วยสังคมให้ดีขึ้น มันช่างเป็นการสวมหน้ากากที่จะปกปิดความโลภตัวเองเสียเหลือเกิน และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ความโลภเปลี่ยนแปลงกลายเป็นความหลงผิดได้... เพราะ โมหะนั้นช่างน่ากลัวซะยิ่งกว่าโลภะเสียมากมาย
ปล. ขออภัยหากความคิดเห็นทำให้ท่านขุ่นเคืองใจ
ผมเข้ามาลงทุน เพราะผมต้องการเงินครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 60
สาม...ก๊ก
ไม่รู้เป็นเรื่องที่คนเขียนขึ้น หรือจากความจริงกันแน่ แต่มันเยี่ยมมาก
ในเรื่องสามก๊ก ในเรื่องของความคิด สติปัญญา คงต้องยกให้เค้า จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง
เรื่องขงเบ้งมีอยู่ว่า ขงเบ้งนั้นเป็นชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา 55 ไม่แน่ใจเป็นชาวอะไรกันแน่ แต่ขงเบ้งนั้นเริ่มแรก ก็มาอาศัยอยู่นอกเมือง ใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา ไม่ยุ่งศึก สงคราม การเมือง แต่ชาวบ้านคนนี้กลับสนใจสิ่งที่มากกว่าชาวบ้านธรรมดา นั่นคือ ศึกษาหาความรู้ พูดคุย เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อน ผู้รู้คนอื่นไปเรื่อยๆ จนเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มีสติปัญญามากเหลือเกิน จนชื่อถูกลือออกไป
ถึงคราวเล่าปี่ ผู้จิตใจดี อยากเชิญ ขงเบ้งมาช่วย ก่อนไปเชิญได้พบปราชญ์ผู้หนึ่ง สุมาเต็กโช กล่าวว่า “ชีซีจะไปยังเรียกให้ขงเบ้งออกมาตกระกำลำบากด้วย ขงเบ้งถึงแม้จะได้นายดีแต่ก็ไม่ใช่เวลาที่เหมาะ” ประโยคนี้มีความหมายนักออกมาจากปากผู้มองเห็น อยากรู้ตอนจบหาดูได้ในหนังสามก๊กนะครับ (คือ ชีซีเป็นปราชญ์ฝ่ายเล่าปี่แต่มีเหตุต้องแยกจากไปเลยแนะนำขงเบ้งให้เล่าปี่)
หลังจากเล่าปี่ไปเชิญ 3 ครั้ง ขงเบ้งก็พร้อมที่เข้าร่วมเล่าปี่ ทั้งๆที่รู้ว่า หน้าที่ของตัวขงเบ้งเอง กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จะว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมก็ได้ จากคนๆหนึ่งปลูกนั่นปลูกนี่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ท่องเที่ยว ศึกษาไปเรื่อย หน้าที่ทางสังคมก็สามัญชน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ กินเอง มีเหลือก็ขายแลกเปลี่ยน สอนความรู้ให้ผู้อื่น มอบให้สังคม ผมดูว่าถ้าพอใจ พอเพียง มันก็ดูสบายใจดีนะสำหรับคนๆหนึ่ง
แต่ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับภาระความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ก็เกิดขึ้น แต่ขงเบ้งสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้นะ แต่ขงเบ้งยอมให้เกิดขึ้น
ไม่รู้เป็นเรื่องที่คนเขียนขึ้น หรือจากความจริงกันแน่ แต่มันเยี่ยมมาก
ในเรื่องสามก๊ก ในเรื่องของความคิด สติปัญญา คงต้องยกให้เค้า จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง
เรื่องขงเบ้งมีอยู่ว่า ขงเบ้งนั้นเป็นชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา 55 ไม่แน่ใจเป็นชาวอะไรกันแน่ แต่ขงเบ้งนั้นเริ่มแรก ก็มาอาศัยอยู่นอกเมือง ใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา ไม่ยุ่งศึก สงคราม การเมือง แต่ชาวบ้านคนนี้กลับสนใจสิ่งที่มากกว่าชาวบ้านธรรมดา นั่นคือ ศึกษาหาความรู้ พูดคุย เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อน ผู้รู้คนอื่นไปเรื่อยๆ จนเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มีสติปัญญามากเหลือเกิน จนชื่อถูกลือออกไป
ถึงคราวเล่าปี่ ผู้จิตใจดี อยากเชิญ ขงเบ้งมาช่วย ก่อนไปเชิญได้พบปราชญ์ผู้หนึ่ง สุมาเต็กโช กล่าวว่า “ชีซีจะไปยังเรียกให้ขงเบ้งออกมาตกระกำลำบากด้วย ขงเบ้งถึงแม้จะได้นายดีแต่ก็ไม่ใช่เวลาที่เหมาะ” ประโยคนี้มีความหมายนักออกมาจากปากผู้มองเห็น อยากรู้ตอนจบหาดูได้ในหนังสามก๊กนะครับ (คือ ชีซีเป็นปราชญ์ฝ่ายเล่าปี่แต่มีเหตุต้องแยกจากไปเลยแนะนำขงเบ้งให้เล่าปี่)
หลังจากเล่าปี่ไปเชิญ 3 ครั้ง ขงเบ้งก็พร้อมที่เข้าร่วมเล่าปี่ ทั้งๆที่รู้ว่า หน้าที่ของตัวขงเบ้งเอง กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จะว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมก็ได้ จากคนๆหนึ่งปลูกนั่นปลูกนี่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ท่องเที่ยว ศึกษาไปเรื่อย หน้าที่ทางสังคมก็สามัญชน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ กินเอง มีเหลือก็ขายแลกเปลี่ยน สอนความรู้ให้ผู้อื่น มอบให้สังคม ผมดูว่าถ้าพอใจ พอเพียง มันก็ดูสบายใจดีนะสำหรับคนๆหนึ่ง
แต่ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับภาระความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ก็เกิดขึ้น แต่ขงเบ้งสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้นะ แต่ขงเบ้งยอมให้เกิดขึ้น