Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 1
สังคมได้อะไร
ให้คิดก็เหมือนจะต้องตอบว่าไม่ได้อะไร
แต่ก่อนอื่น การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือ การลงทุนโดยมองคุณค่าหรือมูลค่าให้ออก
และตามประสบการณ์ที่ผมมองเห็น VI ก็ถูกใช้ไป 2 ทาง
1. ลงทุน VI ระยะสั้น คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก แล้วดูว่าสิ่งนี้มูลค่าถูก แล้วคาดว่าราคาจะขึ้นก็ซื้อ ถ้าแพงราคาจะลงก็ขาย ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ส่วนต่างราคา รวมถึงความรวดเร็วที่จะทำกำไรได้ บางครั้งผมก็มักคิดว่า ดูเหมือนการเก็งกำไรแบบเน้นคุณค่า(คำว่าการลงทุน มันดูมั่นคงกว่าเยอะใครๆก็อยากใช้คำนี้) เพราะถ้าอ้างอิงตามหนังสือที่เป็นที่ยอมรับดูเงื่อนไขจะเข้าหมวดการเก็งกำไรมากกว่า
2. ลงทุน VI ระยะยาว คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก และมองยาวขึ้นว่า มูลค่านั้นในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ทั้งจากการเติบโต ความต้องการของสังคม เมื่อคิดว่าเหมาะสมก็ลงทุน และถือการลงทุนนั้นในระยะยาวหลายๆปี ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะเป็นเงินปันผลซึ่งได้รับจากการกำไรที่การลงทุนที่ถือนั้นไปปฏิบัติต่อสังคมจริงและก่อส่วนต่างที่เป็นกำไร กระแสเงินสด ซึ่งเป็นรายได้ที่แท้จริงและผ่านกระบวนการต่างๆทางสังคม
และตัวความเห็นที่จะเขียนต่อ จะเป็นส่วนของ ข้อ 2 ลงทุน VI ระยะยาว
สังคมมองมาอย่างไร
สังคมที่สัมผัสได้ น่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนจริงใจ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเที่ยว คนบ้านใกล้กัน คนรู้จัก คนที่เราต้องติดต่อด้วย และสังคมโดยรวม ก็น่าจะเป็น คนกรุงเทพ คนเชียงใหม่ คนไทย คนจีน คนทั้งโลก
ครั้งหนึ่ง ได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกคนมีเงินพอสมควร ซึ่งคนนี้ก็มักจะได้คำพูดจากสังคมที่สัมผัสได้ว่า มึงรวยว่ะ น่าอิจฉาว่ะ ไม่ต้องทำอะไรก็มีเงินใช้แล้ว พ่อมึงนี่เก่ง(ทำงานเก่งทำเงินได้ดี)ว่ะ พ่อมึงรวยเนอะ มึงนี่รวยเพราะพ่อ ก็เลยถามว่าพอมึงได้ยิน “มึงนี่รวยเพราะพ่อ” (ด้วยความอิจฉาเล็กๆ หรือรู้สึกว่ามึงแม้งโชคดีว่ะ) มึงรู้สึกยังไงว่ะ มันตอบว่า พวกมึงซวยเอง (โอ้คำตอบชอบมาก) ถามว่าให้พวกมึงมีพ่อที่รวยเก่ง เหมือนพ่อกูเอามั้ย (คิดว่า คนมากกว่า90-95% ก็น่าจะอยากมีบ้านรวย พ่อรวยนะ) ตอนแรกๆก็รู้สึกกับคำพูดพวกนี้แต่ตอนนี้ไม่แล้ว
ต่อมาบังเอิญได้อยู่ในการสนทนาระหว่าง คุณเริ่มมี กับ คุณช่วยเหลือ เรื่องก็คือว่า คุณเริ่มมี เริ่มมีอาการจิตตก คือคุณเริ่มมี เพิ่งจะเรียนจบมาได้ไม่กี่ปี และบังเอิญ คุณเริ่มมี มีการลงทุน น่าจะเกี่ยวกับตลาดหุ้น เค้าเล่าว่า เค้าลงทุนในตลาดหุ้นมาหลายปีแล้วเหมือนกัน จากบื้อๆเป็นเข้าใจมากขึ้น จนมาถึงวันนี้เค้ามีรายได้จากเงินปันผล และบางทีก็จะมาจากส่วนต่างกำไร แล้วตัวเค้าก็ค่อนข้างมั่นใจว่าเขาจะสามารถหาพอเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว แต่ด้วยว่าความรู้สึกต่างๆที่วิ่งเข้ามาจากสังคมที่สัมผัสได้นั้นช่างงงงวย และหนักหน่วง ตัวคุณเริ่มมี จึงเริ่มรู้สึกว่าตัวเค้าจะมีปัญหากับสังคมรึไม่ เริ่มจากครอบครัว ตอนเริ่มแรกครอบครัวก็ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆที่ต่างได้รับรู้เกี่ยวกับหุ้น จนคุณเริ่มมี สามารถทำผลตอบแทนได้ต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทีละน้อย ซึ่งก็ใช้เวลาหลายปีจนครอบครัวมองเห็นเข้าใจ และคิดว่าพอจะเป็นไปได้ ปัญหาส่วนนี้จึงเบาบางลง แต่หาจบแค่นี้ไม่ ญาติ คนใกล้บ้าน คนรู้จัก อ่าวทำไมไม่ไปเรียนต่อ เล่นหุ้นจะรอดเหรอ และอื่นๆอีกมาก และวันนึงคุณเริ่มมี หลังจากจิตตกได้สักพัก ก็มีโอกาสคุยกับคุณช่วยเหลือทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ตอนเรียน เริ่มมีจึงเริ่มเล่าเรื่อง และอยู่ๆคุณช่วยเหลือจึงนัดให้ออกมาเจอ เริ่มมีถามเจอทำไมมีอะไรรึเปล่า ช่วยเหลือจึงบอกว่าให้ออกมาคุยกัน เค้าเรียนจิตวิทยาอยู่อยากคุยดูเผื่อว่าจะช่วยอะไรได้ ไม่กี่วันหลังจากนั้น เค้าสองคนก็เจอกัน ในร้านกาแฟบรรยากาศดีๆแห่งหนึ่ง คุณช่วยเหลือจึงเริ่มถาม อ่าวเป็นไงบ้าง เริ่มมี จึงเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ ดูๆไปคุณเริ่มมีพูดอยู่ฝ่ายเดียว คุณช่วยเหลือ ตอบบ้าง ถามบ้างแบบสั้นๆ แล้วเริ่มมีก็เริ่มพูดน้อยลงๆๆ จนจบ รวมๆ เกือบชั่วโมงมั้ง เริ่มมี หัวเราะเล็กๆ แล้วพูดว่า ดูเหมือนตัวเค้าพูดอยู่ซะฝ่ายเดียว อืมแต่กลับรู้สึกดีแฮะ คุณช่วยเหลือเริ่มพูด ก็คือว่า ใช้เงินทำงานได้ หาเงินได้โดยไม่ต้องทำงาน เลยไม่มีงานอะไรทำ และก็หาได้ตกเดือนละไม่แพ้คนที่เพิ่งจบปริญญาโทแบบทั่วไป แต่กังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การยอมรับ ใช่มั้ย เริ่มมีตอบ อืม พรางคิดว่า พูดตั้งเป็นชั่วโมงตกลงเนื้อหาก็ประมาณแค่นี้เนอะ
คุณช่วยเหลือ เริ่มพูดต่อ “คุณเริ่มมี คุณรู้มั้ยว่าจริงๆแล้ว ชีวิตแบบคุณคือชีวิตที่แทบทุกคนอิจฉา อยากเป็น อยากมี” คุณเริ่มมีนั่งนิ่ง อึ้ง พรางคิด เออว่ะ เออว่ะ เออว่ะ จริงๆ เออว่ะ คุณช่วยเหลือ พูดต่อ ลองคิดดูสิ คนที่มาทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ทั่วไป ได้เดือนละ 25,000 บาท กับคุณที่สามารถทำเงินได้ 30,000 บาท โดยที่ไม่ต้องทำงานหนักเท่า ถ้าเลือกได้ก็น่าจะตอบแทนได้เลยว่า คนส่วนใหญ่มากๆ จะต้องเลือกมีเงินโดยไม่ต้องทำงาน หรือทำงานน้อยๆ สบายๆ จะยกเว้นแค่กรณีเดียว คือ คนที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก คุณเริ่มมี นั่งนิ่ง อึ้งต่อ เออว่ะ
คุณเริ่มมีจิตเริ่มหายตก เริ่มพูดว่า เออเนอะ สมมุติ มีคนที่ทำงานในสังคมได้เงินเดือนละ 25000 บาท มาบอกให้ผมไปทำงานข้างนอกสิ ซึ่งสมมุติว่าได้เงินเดือน 25000 บาท ด้วยทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไม่สิตามวุฒิ ปริญญาตรี เริ่มงาน อาจจะได้ 15000 บาทด้วยซ้ำ ต่อให้ได้ 25000 บาท ทำงานทุกวัน แต่ผมไม่ต้องทำทุกวันได้ 30000 บาท นั่นอาจจะแปลว่าทางหรือวิธีที่ผมทำอยู่น่าสนใจกว่า และถ้าผมไปทำงานตำแหน่งเค้าก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าหรืทำได้ดีกว่า หรือถ้าเค้ามาทำแบบผมก็อาจจะทำได้ หรือทำไม่ได้ก็ได้ งั้นดูๆไป วิธีของผมนั้นดูดีกว่าแล้ว แล้วผมควรจะเชื่อสังคมและทำตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าถูกหรือไม่ เออว่ะ
คุณเริ่มมี คิดต่อ และพูดว่า แปลว่าตอนนี้ ตัวเค้าคิดผิดอยู่ใช่มั้ยเนี่ย ทำให้รู้สึก ข้อดี กลายเป็นข้อเสีย คุณกลายเป็นโทษ ประโยชน์กลายเป็นภัย พร้อมกับพูดว่า เข้าใจแล้ว เราจะไม่ถูกหรือผิด จากความเห็นชอบจากผู้อื่นว่าถูกหรือผิด แต่เราจะถูกหรือผิด จากเหตุผลที่ถูกต้องและความเป็นจริง
Ok อันนี้เข้าใจแล้ว แล้วทำไงดีกับสังคมล่ะ
ให้คิดก็เหมือนจะต้องตอบว่าไม่ได้อะไร
แต่ก่อนอื่น การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือ การลงทุนโดยมองคุณค่าหรือมูลค่าให้ออก
และตามประสบการณ์ที่ผมมองเห็น VI ก็ถูกใช้ไป 2 ทาง
1. ลงทุน VI ระยะสั้น คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก แล้วดูว่าสิ่งนี้มูลค่าถูก แล้วคาดว่าราคาจะขึ้นก็ซื้อ ถ้าแพงราคาจะลงก็ขาย ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ส่วนต่างราคา รวมถึงความรวดเร็วที่จะทำกำไรได้ บางครั้งผมก็มักคิดว่า ดูเหมือนการเก็งกำไรแบบเน้นคุณค่า(คำว่าการลงทุน มันดูมั่นคงกว่าเยอะใครๆก็อยากใช้คำนี้) เพราะถ้าอ้างอิงตามหนังสือที่เป็นที่ยอมรับดูเงื่อนไขจะเข้าหมวดการเก็งกำไรมากกว่า
2. ลงทุน VI ระยะยาว คือ นักลงทุนที่มองมูลค่าออก และมองยาวขึ้นว่า มูลค่านั้นในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ทั้งจากการเติบโต ความต้องการของสังคม เมื่อคิดว่าเหมาะสมก็ลงทุน และถือการลงทุนนั้นในระยะยาวหลายๆปี ซึ่งการกำไร ก็น่าจะโฟกัสไปที่ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะเป็นเงินปันผลซึ่งได้รับจากการกำไรที่การลงทุนที่ถือนั้นไปปฏิบัติต่อสังคมจริงและก่อส่วนต่างที่เป็นกำไร กระแสเงินสด ซึ่งเป็นรายได้ที่แท้จริงและผ่านกระบวนการต่างๆทางสังคม
และตัวความเห็นที่จะเขียนต่อ จะเป็นส่วนของ ข้อ 2 ลงทุน VI ระยะยาว
สังคมมองมาอย่างไร
สังคมที่สัมผัสได้ น่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนจริงใจ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเที่ยว คนบ้านใกล้กัน คนรู้จัก คนที่เราต้องติดต่อด้วย และสังคมโดยรวม ก็น่าจะเป็น คนกรุงเทพ คนเชียงใหม่ คนไทย คนจีน คนทั้งโลก
ครั้งหนึ่ง ได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกคนมีเงินพอสมควร ซึ่งคนนี้ก็มักจะได้คำพูดจากสังคมที่สัมผัสได้ว่า มึงรวยว่ะ น่าอิจฉาว่ะ ไม่ต้องทำอะไรก็มีเงินใช้แล้ว พ่อมึงนี่เก่ง(ทำงานเก่งทำเงินได้ดี)ว่ะ พ่อมึงรวยเนอะ มึงนี่รวยเพราะพ่อ ก็เลยถามว่าพอมึงได้ยิน “มึงนี่รวยเพราะพ่อ” (ด้วยความอิจฉาเล็กๆ หรือรู้สึกว่ามึงแม้งโชคดีว่ะ) มึงรู้สึกยังไงว่ะ มันตอบว่า พวกมึงซวยเอง (โอ้คำตอบชอบมาก) ถามว่าให้พวกมึงมีพ่อที่รวยเก่ง เหมือนพ่อกูเอามั้ย (คิดว่า คนมากกว่า90-95% ก็น่าจะอยากมีบ้านรวย พ่อรวยนะ) ตอนแรกๆก็รู้สึกกับคำพูดพวกนี้แต่ตอนนี้ไม่แล้ว
ต่อมาบังเอิญได้อยู่ในการสนทนาระหว่าง คุณเริ่มมี กับ คุณช่วยเหลือ เรื่องก็คือว่า คุณเริ่มมี เริ่มมีอาการจิตตก คือคุณเริ่มมี เพิ่งจะเรียนจบมาได้ไม่กี่ปี และบังเอิญ คุณเริ่มมี มีการลงทุน น่าจะเกี่ยวกับตลาดหุ้น เค้าเล่าว่า เค้าลงทุนในตลาดหุ้นมาหลายปีแล้วเหมือนกัน จากบื้อๆเป็นเข้าใจมากขึ้น จนมาถึงวันนี้เค้ามีรายได้จากเงินปันผล และบางทีก็จะมาจากส่วนต่างกำไร แล้วตัวเค้าก็ค่อนข้างมั่นใจว่าเขาจะสามารถหาพอเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว แต่ด้วยว่าความรู้สึกต่างๆที่วิ่งเข้ามาจากสังคมที่สัมผัสได้นั้นช่างงงงวย และหนักหน่วง ตัวคุณเริ่มมี จึงเริ่มรู้สึกว่าตัวเค้าจะมีปัญหากับสังคมรึไม่ เริ่มจากครอบครัว ตอนเริ่มแรกครอบครัวก็ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆที่ต่างได้รับรู้เกี่ยวกับหุ้น จนคุณเริ่มมี สามารถทำผลตอบแทนได้ต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทีละน้อย ซึ่งก็ใช้เวลาหลายปีจนครอบครัวมองเห็นเข้าใจ และคิดว่าพอจะเป็นไปได้ ปัญหาส่วนนี้จึงเบาบางลง แต่หาจบแค่นี้ไม่ ญาติ คนใกล้บ้าน คนรู้จัก อ่าวทำไมไม่ไปเรียนต่อ เล่นหุ้นจะรอดเหรอ และอื่นๆอีกมาก และวันนึงคุณเริ่มมี หลังจากจิตตกได้สักพัก ก็มีโอกาสคุยกับคุณช่วยเหลือทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ตอนเรียน เริ่มมีจึงเริ่มเล่าเรื่อง และอยู่ๆคุณช่วยเหลือจึงนัดให้ออกมาเจอ เริ่มมีถามเจอทำไมมีอะไรรึเปล่า ช่วยเหลือจึงบอกว่าให้ออกมาคุยกัน เค้าเรียนจิตวิทยาอยู่อยากคุยดูเผื่อว่าจะช่วยอะไรได้ ไม่กี่วันหลังจากนั้น เค้าสองคนก็เจอกัน ในร้านกาแฟบรรยากาศดีๆแห่งหนึ่ง คุณช่วยเหลือจึงเริ่มถาม อ่าวเป็นไงบ้าง เริ่มมี จึงเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ ดูๆไปคุณเริ่มมีพูดอยู่ฝ่ายเดียว คุณช่วยเหลือ ตอบบ้าง ถามบ้างแบบสั้นๆ แล้วเริ่มมีก็เริ่มพูดน้อยลงๆๆ จนจบ รวมๆ เกือบชั่วโมงมั้ง เริ่มมี หัวเราะเล็กๆ แล้วพูดว่า ดูเหมือนตัวเค้าพูดอยู่ซะฝ่ายเดียว อืมแต่กลับรู้สึกดีแฮะ คุณช่วยเหลือเริ่มพูด ก็คือว่า ใช้เงินทำงานได้ หาเงินได้โดยไม่ต้องทำงาน เลยไม่มีงานอะไรทำ และก็หาได้ตกเดือนละไม่แพ้คนที่เพิ่งจบปริญญาโทแบบทั่วไป แต่กังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การยอมรับ ใช่มั้ย เริ่มมีตอบ อืม พรางคิดว่า พูดตั้งเป็นชั่วโมงตกลงเนื้อหาก็ประมาณแค่นี้เนอะ
คุณช่วยเหลือ เริ่มพูดต่อ “คุณเริ่มมี คุณรู้มั้ยว่าจริงๆแล้ว ชีวิตแบบคุณคือชีวิตที่แทบทุกคนอิจฉา อยากเป็น อยากมี” คุณเริ่มมีนั่งนิ่ง อึ้ง พรางคิด เออว่ะ เออว่ะ เออว่ะ จริงๆ เออว่ะ คุณช่วยเหลือ พูดต่อ ลองคิดดูสิ คนที่มาทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ทั่วไป ได้เดือนละ 25,000 บาท กับคุณที่สามารถทำเงินได้ 30,000 บาท โดยที่ไม่ต้องทำงานหนักเท่า ถ้าเลือกได้ก็น่าจะตอบแทนได้เลยว่า คนส่วนใหญ่มากๆ จะต้องเลือกมีเงินโดยไม่ต้องทำงาน หรือทำงานน้อยๆ สบายๆ จะยกเว้นแค่กรณีเดียว คือ คนที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก คุณเริ่มมี นั่งนิ่ง อึ้งต่อ เออว่ะ
คุณเริ่มมีจิตเริ่มหายตก เริ่มพูดว่า เออเนอะ สมมุติ มีคนที่ทำงานในสังคมได้เงินเดือนละ 25000 บาท มาบอกให้ผมไปทำงานข้างนอกสิ ซึ่งสมมุติว่าได้เงินเดือน 25000 บาท ด้วยทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไม่สิตามวุฒิ ปริญญาตรี เริ่มงาน อาจจะได้ 15000 บาทด้วยซ้ำ ต่อให้ได้ 25000 บาท ทำงานทุกวัน แต่ผมไม่ต้องทำทุกวันได้ 30000 บาท นั่นอาจจะแปลว่าทางหรือวิธีที่ผมทำอยู่น่าสนใจกว่า และถ้าผมไปทำงานตำแหน่งเค้าก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าหรืทำได้ดีกว่า หรือถ้าเค้ามาทำแบบผมก็อาจจะทำได้ หรือทำไม่ได้ก็ได้ งั้นดูๆไป วิธีของผมนั้นดูดีกว่าแล้ว แล้วผมควรจะเชื่อสังคมและทำตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าถูกหรือไม่ เออว่ะ
คุณเริ่มมี คิดต่อ และพูดว่า แปลว่าตอนนี้ ตัวเค้าคิดผิดอยู่ใช่มั้ยเนี่ย ทำให้รู้สึก ข้อดี กลายเป็นข้อเสีย คุณกลายเป็นโทษ ประโยชน์กลายเป็นภัย พร้อมกับพูดว่า เข้าใจแล้ว เราจะไม่ถูกหรือผิด จากความเห็นชอบจากผู้อื่นว่าถูกหรือผิด แต่เราจะถูกหรือผิด จากเหตุผลที่ถูกต้องและความเป็นจริง
Ok อันนี้เข้าใจแล้ว แล้วทำไงดีกับสังคมล่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 2
ผมฟังนะดูเหมือน คุณช่วยเหลือเพียงพูดถึงจิตวิทยาที่คนทั่วไปคิดหรือรู้สึกถึงแม้อาจจะไม่ค่อยเข้าใจวิธีที่คุณเริ่มมีทำอย่างละเอียดนัก แล้วคุณเริ่มมีก็เข้าใจสิ่งที่ตัวเองทำดีขึ้นและพูดออกมา อืม น่าสนใจ
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ สำหรับคำถาม “ทำไงดีล่ะกับสังคม” คำตอบไม่ยากเลย ใช้แค่ 4 คำ
เริ่มมี พูด “ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ”
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ
1. ยิ้มแย้ม 2. ทักทาย 3. ช่วยเหลือ 4. ชมเชย
ยิ้มแย้ม ถ้าเราเจอคนที่รู้จัก หรือแม้แต่ไม่รู้จักแล้วเราอยากรู้จัก และเรายิ้มให้ นั่นก็แสดงถึงการเป็นมิตรแล้ว แต่ถ้าเค้าไม่ยิ้มตอบก็ไม่เป็นไรแต่เราได้มอบความรู้สึกดีๆที่เป็นมิตรให้แล้ว
ทักทาย ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็ใช้แค่คำว่า สวัสดี เราก็จะได้เริ่มคุยกันแล้ว ความเป็นมิตรเป็นสังคมก็มากขึ้น
ช่วยเหลือ ทั้งเราช่วยคนอื่น คนอื่นช่วยเรา ด้วยความเต็มใจ โดยทั่วไป ย่อมรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย
ชมเชย ขอบคุณ ด้วยความจริงใจ
การมีสังคมย่อมไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ แล้วถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และมีเวลาให้สังคมก็จะไม่ขาดสังคม
แต่ส่วนเรื่องที่เราจะเอามาพูดคุยนั้น เราสามารถเลือกได้ เลือกว่าจะพูด หรือไม่พูด และควรพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรวม ก็ประมาณนี้
คุณเริ่มมี คิดไปด้วยและเริ่มพูดว่า อย่างนี้ถ้าเราแบ่งเรื่องออกเป็น เรื่องของเรา และ เรื่องของสังคม ก็ได้น่ะสิ
เรื่องของเรา เราก็สามารถคิด ไตร่ตรอง และทำในสิ่งที่เราควรจะทำได้ เรามีสิทธิ์นั้นเพียงแต่ เรื่องของเราที่ทำนั้นไม่ควรเบียดเบียนสังคม นั่นแปลว่า เราทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และ ยังคงเป็นมิตรต่อสังคมอยู่
และเรื่องของสังคม มันคงดีแน่ถ้าสิ่งที่เราอยากทำ ไปมีประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง แต่ถ้ามันไม่มีโดยตรง เราก็ค่อยๆสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยอ้อมก็ได้นี่นา
แปลว่าเราก็คงต้องทำในสิ่งที่เราอยากและควรทำ (เพราะถ้าไม่ทำใครจะมาทำให้เรา) โดยมีสังคมอยู่เคียงข้าง
ต่างคนก็พยักหน้า
ผมก็ได้แต่คิด ดีจังที่เราได้มานั่งฟังและทำความเข้าใจเรื่องนี้ ขอบคุณทั้งคุณ เริ่มมี และ คุณช่วยเหลือ
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ สำหรับคำถาม “ทำไงดีล่ะกับสังคม” คำตอบไม่ยากเลย ใช้แค่ 4 คำ
เริ่มมี พูด “ง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ”
คุณช่วยเหลือ พูดต่อ
1. ยิ้มแย้ม 2. ทักทาย 3. ช่วยเหลือ 4. ชมเชย
ยิ้มแย้ม ถ้าเราเจอคนที่รู้จัก หรือแม้แต่ไม่รู้จักแล้วเราอยากรู้จัก และเรายิ้มให้ นั่นก็แสดงถึงการเป็นมิตรแล้ว แต่ถ้าเค้าไม่ยิ้มตอบก็ไม่เป็นไรแต่เราได้มอบความรู้สึกดีๆที่เป็นมิตรให้แล้ว
ทักทาย ถ้าเราอยากคุยกับใครเราก็ใช้แค่คำว่า สวัสดี เราก็จะได้เริ่มคุยกันแล้ว ความเป็นมิตรเป็นสังคมก็มากขึ้น
ช่วยเหลือ ทั้งเราช่วยคนอื่น คนอื่นช่วยเรา ด้วยความเต็มใจ โดยทั่วไป ย่อมรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย
ชมเชย ขอบคุณ ด้วยความจริงใจ
การมีสังคมย่อมไม่พ้นสิ่งเหล่านี้ แล้วถ้าทำสิ่งเหล่านี้ และมีเวลาให้สังคมก็จะไม่ขาดสังคม
แต่ส่วนเรื่องที่เราจะเอามาพูดคุยนั้น เราสามารถเลือกได้ เลือกว่าจะพูด หรือไม่พูด และควรพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยรวม ก็ประมาณนี้
คุณเริ่มมี คิดไปด้วยและเริ่มพูดว่า อย่างนี้ถ้าเราแบ่งเรื่องออกเป็น เรื่องของเรา และ เรื่องของสังคม ก็ได้น่ะสิ
เรื่องของเรา เราก็สามารถคิด ไตร่ตรอง และทำในสิ่งที่เราควรจะทำได้ เรามีสิทธิ์นั้นเพียงแต่ เรื่องของเราที่ทำนั้นไม่ควรเบียดเบียนสังคม นั่นแปลว่า เราทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และ ยังคงเป็นมิตรต่อสังคมอยู่
และเรื่องของสังคม มันคงดีแน่ถ้าสิ่งที่เราอยากทำ ไปมีประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง แต่ถ้ามันไม่มีโดยตรง เราก็ค่อยๆสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยอ้อมก็ได้นี่นา
แปลว่าเราก็คงต้องทำในสิ่งที่เราอยากและควรทำ (เพราะถ้าไม่ทำใครจะมาทำให้เรา) โดยมีสังคมอยู่เคียงข้าง
ต่างคนก็พยักหน้า
ผมก็ได้แต่คิด ดีจังที่เราได้มานั่งฟังและทำความเข้าใจเรื่องนี้ ขอบคุณทั้งคุณ เริ่มมี และ คุณช่วยเหลือ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 3
ผู้รับหน้าที่...
ในสังคม ทุกๆคน ต่างดูเหมือนมีหน้าที่ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่างคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถ้าไม่รู้ตัวหรือไม่ได้คิด ก็แค่รู้ตัวว่าขับรถแล้วได้เงินจบ แต่พอตัวได้คิด หน้าที่ก็คือ พาคนหรือสิ่งของ จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งและได้เงินเป็นผลตอบแทนจากสังคม และการขนส่งนี้ก็คือการมอบให้สังคม แล้วนำเงินที่ได้ไปใช้บริโภค ดูแลตัวเองและครอบครัว เงินก็หมุนกับสู่บุคคลอื่นในสังคม รวมถึงถ้ามีการเสียภาษีสู่รัฐ กลไกทั่วไปรัฐก็ต้องนำเงินกับมาสร้างสร้างประโยชน์สู่สังคม นี่ใช่ไหมหน้าที่ทางสังคม
เขียนต่อดีกว่า
ตอนเด็กเล็กมากๆ ผมได้อยู่ใกล้กับการค้าขาย และด้วยคิดเรื่องการหาเงินบ่อยครั้ง ก็นั่งคิดแล้วก็ถามผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างซื่อๆ ว่า การหาเงินต้องขายของเท่านั้นเหรอ แต่ในเมื่อเราต้องการหาเงิน ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ แล้วผมก็นั่งนิ่งอึ้งคิด เออว่ะ มันเป็นวิธีโดยตรง มันทำไม่ได้เหรอ อย่างขายวัสดุก่อสร้าง เราก็ต้องเอาเงินซื้อของมา และพอขายของไปก็ได้เงินกลับมาถึงได้กำไร ถึงแปลว่าหาเงินกำไรได้ สมมุติขายข้าว หรือค้าขายอะไรก็รูปแบบนี้ ทำไมต้องผ่านอะไรบางอย่าง ทำไมต้องอ้อมด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ถูกถามก็นั่งนิ่งตอบต่อไม่ได้เหมือนกัน และตัวผมตอนนั้นก็เลยไม่รู้คำตอบ แต่ผมได้แต่รู้สึกพิเศษกับประโยคนี้จัง “ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ มันน่าจะเป็นทางตรงกว่าตั้งเยอะ”
เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ หลายปี คิดไปเรื่อยๆ จนวันที่เห็น เงิน มันทำเงินได้จริงๆ เริ่มจากเห็นเงินในธนาคาร เอ่ ฝากอยู่ในธนาคารเฉยๆ ทำไมก็ได้เงินว่ะ เฮ้อ โลกนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆธนาคารให้เงินเรา เราไม่ได้ทำอะไรให้ธนาคารเลยนะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ ทำไมธนาคารให้เงินเราอ่ะ เค้าทำได้ยังไง เค้าก็อธิบายว่า พอเราฝากเงิน เค้าก็เอาเงินไปให้คนอื่นกู้ยืม เค้าก็มีกำไร เค้าก็เลยให้ดอกเบี้ยเรา อืม อ้อเหรอ อ๋อมันเป็นอย่างนี้เอง คิดต่อไปเรื่อยๆ งั้นแปลว่า เหมือนกับว่า เราให้ธนาคารยืมเงินเราไป พอเค้ายืมเรา เค้าเอาไปให้คนอื่นยืมต่อ เราก็ต้องเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ธนาคารเป็นลูกหนี้เรา งั้นเรามีหน้าที่หาเงินไปให้ธนาคารยืม เราก็จะได้เงิน ธนาคารมีหน้าที่นำเงินของเราไปให้คนอื่นยืมธนาคารถึงจะได้เงิน โอ้โห๋ มันซับซ้อนจัง แล้วใครมายืมเงินของเราจากธนาคารล่ะ อืม เราฝากเงินได้ดอกเบี้ย ธนาคารให้กู้ได้กำไร งั้นแปลว่าคนมากู้ธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเราได้และธนาคารมีกำไร ดอกเบี้ยก็ต้องสูงสิ แล้วคนที่มากู้ธนาคารเอาเงินไปทำอะไรอ่ะ เฮ้อ น่าปวดหัวแฮะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ต่อ เค้าบอกว่าเค้าก็กู้เอาไปเป็นทุนขายของ ทำธุรกิจ และก็เอากำไรมาจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นไง อืม อ้อเหรอ งั้นก็แปลว่าเค้าต้องได้กำไร มากกว่าค่าดอกเบี้ยสิ แปลว่าขายของทำธุรกิจก็ได้เงินเยอะข้นไปอีกสิ อืม น่าสนใจแฮะ
ถ้าเปรียบหน้าที่ทางสังคมเฉพาะส่วนนี้ ก็เหมือนเรามีหน้าที่หาเงินมาฝาก(หน้าที่นี้ก็ไม่ถึงกับง่ายนะ)ให้สังคมนำเงินเราไปใช้โดยผ่านธนาคาร และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนจากสังคม (เหมือนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มให้กับสังคม และก็ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะแค่การทำให้มีเงินเหลือฝากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแล้ว) ธนาคารมีหน้าที่ทางสังคมให้ใช้ความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ดี และได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นผลตอบแทนจากสังคม ผู้กู้ก็มีหน้าที่ทางสังคมนำเงินนั้นไปทำธุรกิจที่สังคมต้องการ
หลังจากนั้นหลายๆปีผ่านไปเรื่อยๆ จึงมองเห็น เฮ้อ มันมีที่ๆเอาเงินไปฝาก ไปวาง ไปใช้ แล้วก็ได้ผลตอบแทนอีกนี่นา เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น ตั๋วเงิน กองทุน ซึ่งดูด้วยตาเปล่า ก็ยังเหมือน ลงเงินได้เงิน เงินที่ได้เราก็ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมนักคล้ายรูปแบบเงินฝาก ต่างกันที่ความเสี่ยง ความรู้จึงจำเป็น นี่ยังไม่ได้รวมถึงลงทุนทางพวกอสังหา ซึ่งต้องผ่านตัวกลางอสังหา
ทั้งหมดดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคม แต่จริงแล้วกำลังทำหน้าที่ให้สังคม
ในสังคม ทุกๆคน ต่างดูเหมือนมีหน้าที่ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่างคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ถ้าไม่รู้ตัวหรือไม่ได้คิด ก็แค่รู้ตัวว่าขับรถแล้วได้เงินจบ แต่พอตัวได้คิด หน้าที่ก็คือ พาคนหรือสิ่งของ จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งและได้เงินเป็นผลตอบแทนจากสังคม และการขนส่งนี้ก็คือการมอบให้สังคม แล้วนำเงินที่ได้ไปใช้บริโภค ดูแลตัวเองและครอบครัว เงินก็หมุนกับสู่บุคคลอื่นในสังคม รวมถึงถ้ามีการเสียภาษีสู่รัฐ กลไกทั่วไปรัฐก็ต้องนำเงินกับมาสร้างสร้างประโยชน์สู่สังคม นี่ใช่ไหมหน้าที่ทางสังคม
เขียนต่อดีกว่า
ตอนเด็กเล็กมากๆ ผมได้อยู่ใกล้กับการค้าขาย และด้วยคิดเรื่องการหาเงินบ่อยครั้ง ก็นั่งคิดแล้วก็ถามผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างซื่อๆ ว่า การหาเงินต้องขายของเท่านั้นเหรอ แต่ในเมื่อเราต้องการหาเงิน ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ แล้วผมก็นั่งนิ่งอึ้งคิด เออว่ะ มันเป็นวิธีโดยตรง มันทำไม่ได้เหรอ อย่างขายวัสดุก่อสร้าง เราก็ต้องเอาเงินซื้อของมา และพอขายของไปก็ได้เงินกลับมาถึงได้กำไร ถึงแปลว่าหาเงินกำไรได้ สมมุติขายข้าว หรือค้าขายอะไรก็รูปแบบนี้ ทำไมต้องผ่านอะไรบางอย่าง ทำไมต้องอ้อมด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ถูกถามก็นั่งนิ่งตอบต่อไม่ได้เหมือนกัน และตัวผมตอนนั้นก็เลยไม่รู้คำตอบ แต่ผมได้แต่รู้สึกพิเศษกับประโยคนี้จัง “ทำไมเราไม่ใช้เงินหาเงินเลยล่ะ มันน่าจะเป็นทางตรงกว่าตั้งเยอะ”
เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ หลายปี คิดไปเรื่อยๆ จนวันที่เห็น เงิน มันทำเงินได้จริงๆ เริ่มจากเห็นเงินในธนาคาร เอ่ ฝากอยู่ในธนาคารเฉยๆ ทำไมก็ได้เงินว่ะ เฮ้อ โลกนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ดีๆธนาคารให้เงินเรา เราไม่ได้ทำอะไรให้ธนาคารเลยนะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ ทำไมธนาคารให้เงินเราอ่ะ เค้าทำได้ยังไง เค้าก็อธิบายว่า พอเราฝากเงิน เค้าก็เอาเงินไปให้คนอื่นกู้ยืม เค้าก็มีกำไร เค้าก็เลยให้ดอกเบี้ยเรา อืม อ้อเหรอ อ๋อมันเป็นอย่างนี้เอง คิดต่อไปเรื่อยๆ งั้นแปลว่า เหมือนกับว่า เราให้ธนาคารยืมเงินเราไป พอเค้ายืมเรา เค้าเอาไปให้คนอื่นยืมต่อ เราก็ต้องเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร ธนาคารเป็นลูกหนี้เรา งั้นเรามีหน้าที่หาเงินไปให้ธนาคารยืม เราก็จะได้เงิน ธนาคารมีหน้าที่นำเงินของเราไปให้คนอื่นยืมธนาคารถึงจะได้เงิน โอ้โห๋ มันซับซ้อนจัง แล้วใครมายืมเงินของเราจากธนาคารล่ะ อืม เราฝากเงินได้ดอกเบี้ย ธนาคารให้กู้ได้กำไร งั้นแปลว่าคนมากู้ธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเราได้และธนาคารมีกำไร ดอกเบี้ยก็ต้องสูงสิ แล้วคนที่มากู้ธนาคารเอาเงินไปทำอะไรอ่ะ เฮ้อ น่าปวดหัวแฮะ ก็เลยถามผู้ใหญ่ต่อ เค้าบอกว่าเค้าก็กู้เอาไปเป็นทุนขายของ ทำธุรกิจ และก็เอากำไรมาจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นไง อืม อ้อเหรอ งั้นก็แปลว่าเค้าต้องได้กำไร มากกว่าค่าดอกเบี้ยสิ แปลว่าขายของทำธุรกิจก็ได้เงินเยอะข้นไปอีกสิ อืม น่าสนใจแฮะ
ถ้าเปรียบหน้าที่ทางสังคมเฉพาะส่วนนี้ ก็เหมือนเรามีหน้าที่หาเงินมาฝาก(หน้าที่นี้ก็ไม่ถึงกับง่ายนะ)ให้สังคมนำเงินเราไปใช้โดยผ่านธนาคาร และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนจากสังคม (เหมือนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มให้กับสังคม และก็ได้กินดอกเบี้ยเฉยๆ แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะแค่การทำให้มีเงินเหลือฝากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแล้ว) ธนาคารมีหน้าที่ทางสังคมให้ใช้ความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ดี และได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นผลตอบแทนจากสังคม ผู้กู้ก็มีหน้าที่ทางสังคมนำเงินนั้นไปทำธุรกิจที่สังคมต้องการ
หลังจากนั้นหลายๆปีผ่านไปเรื่อยๆ จึงมองเห็น เฮ้อ มันมีที่ๆเอาเงินไปฝาก ไปวาง ไปใช้ แล้วก็ได้ผลตอบแทนอีกนี่นา เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น ตั๋วเงิน กองทุน ซึ่งดูด้วยตาเปล่า ก็ยังเหมือน ลงเงินได้เงิน เงินที่ได้เราก็ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมนักคล้ายรูปแบบเงินฝาก ต่างกันที่ความเสี่ยง ความรู้จึงจำเป็น นี่ยังไม่ได้รวมถึงลงทุนทางพวกอสังหา ซึ่งต้องผ่านตัวกลางอสังหา
ทั้งหมดดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคม แต่จริงแล้วกำลังทำหน้าที่ให้สังคม
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 4
สาม...ก๊ก
ไม่รู้เป็นเรื่องที่คนเขียนขึ้น หรือจากความจริงกันแน่ แต่มันเยี่ยมมาก
ในเรื่องสามก๊ก ในเรื่องของความคิด สติปัญญา คงต้องยกให้เค้า จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง
เรื่องขงเบ้งมีอยู่ว่า ขงเบ้งนั้นเป็นชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา 55 ไม่แน่ใจเป็นชาวอะไรกันแน่ แต่ขงเบ้งนั้นเริ่มแรก ก็มาอาศัยอยู่นอกเมือง ใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา ไม่ยุ่งศึก สงคราม การเมือง แต่ชาวบ้านคนนี้กลับสนใจสิ่งที่มากกว่าชาวบ้านธรรมดา นั่นคือ ศึกษาหาความรู้ พูดคุย เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อน ผู้รู้คนอื่นไปเรื่อยๆ จนเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มีสติปัญญามากเหลือเกิน จนชื่อถูกลือออกไป
ถึงคราวเล่าปี่ ผู้จิตใจดี อยากเชิญ ขงเบ้งมาช่วย ก่อนไปเชิญได้พบปราชญ์ผู้หนึ่ง สุมาเต็กโช กล่าวว่า “ชีซีจะไปยังเรียกให้ขงเบ้งออกมาตกระกำลำบากด้วย ขงเบ้งถึงแม้จะได้นายดีแต่ก็ไม่ใช่เวลาที่เหมาะ” ประโยคนี้มีความหมายนักออกมาจากปากผู้มองเห็น อยากรู้ตอนจบหาดูได้ในหนังสามก๊กนะครับ (คือ ชีซีเป็นปราชญ์ฝ่ายเล่าปี่แต่มีเหตุต้องแยกจากไปเลยแนะนำขงเบ้งให้เล่าปี่)
หลังจากเล่าปี่ไปเชิญ 3 ครั้ง ขงเบ้งก็พร้อมที่เข้าร่วมเล่าปี่ ทั้งๆที่รู้ว่า หน้าที่ของตัวขงเบ้งเอง กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จะว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมก็ได้ จากคนๆหนึ่งปลูกนั่นปลูกนี่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ท่องเที่ยว ศึกษาไปเรื่อย หน้าที่ทางสังคมก็สามัญชน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ กินเอง มีเหลือก็ขายแลกเปลี่ยน สอนความรู้ให้ผู้อื่น มอบให้สังคม ผมดูว่าถ้าพอใจ พอเพียง มันก็ดูสบายใจดีนะสำหรับคนๆหนึ่ง แต่ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับภาระความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ก็เกิดขึ้น แต่ขงเบ้งสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้นะ แต่ขงเบ้งยอมให้เกิดขึ้น
เมื่อยอมให้เกิด ก็ต้องยอมรับภาระที่จะเกิด
แน่นอนหน้าที่ทางสังคมเปลี่ยนไป เริ่มแรกมุมมอง ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่แค่ดูแลตัวเองแล้ว เมื่อเป็นที่ปรึกษาหรือที่เรียกว่า “กุนซือ” นั่นคือส่วนของการเป็นผู้นำ ย่อมแปลว่าดูแลคนจำนวนมาก คนจำนวนมากก็จะมีมากเรื่อง เมื่อมากเรื่องต้องวางกฎเกณฑ์ให้ดี ต้องมีการวางแผนการต่างๆ รวมถึงการศึก ทั้งเป็นฝ่ายรับ และรุก
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับ กุนซือมือใหม่ที่เก๋าเกม(เก๋ดีแฮะ) เหล่าแม่ทัพก็ไม่นับถือเกรงกันว่าจะดีแต่ชื่อ เล่าปี่ ขณะนั้นเป็นก๊กที่ดูเล็กมากพึ่งพิงเล่าเปียวแถวเกงจิ๋ว โจโฉก็อยากปราบเล่าปี่ ดูค่อนข้างเป็นสภาวะคับขัน แต่ด้วยการวางแผนของขงเบ้ง ใช้น้อยชนะมากได้ จึงได้การยอมรับอย่างดี
และด้วยเหตุเกงจิ๋วเมืองที่เล่าเปียวครองนั้นเป็นเมืองชัยภูมิสำคัญ และถือเป็นเมืองใหญ่ ใครๆก็อยากยึดครอง แต่เล่าเปียวอายุมากใกล้สิ้นแล้ว เคยพูดกับเล่าปี่ว่าลูกๆเค้าไม่เก่ง ถ้าเค้าสิ้นให้เล่าปี่ครอง แต่เล่าปี่ปฏิเสธ ซึ่งก่อนหน้านั้นขงเบ้งได้บอกเล่าปี่ว่าถ้าเจอคำถามนี้ให้ตอบรับ แต่เมื่อเล่าปี่ปฏิเสธไปจึงบอกเล่าปี่ว่า “ทำไมไม่ตอบตกลง ถ้าเราไม่ยึดไว้ คนอื่นเค้าก็จะมายึด และตอนนั้นเรานั่นแหละที่จะลำบาก” เล่าปี่ตอบด้วยความเป็นคนจิตใจดีว่า เป็นเมืองของคนแซ่เดียวกัน ญาติกันจะมาแย่งยึดได้ยังไง เป็นอะไรที่ผมไม่รู้จะออกความเห็นยังไง แต่ผมเชื่อในความดี แต่การทำความดีก็ได้หลายรูปแบบนะ และในที่สุดโจโฉก็ได้เกงจิ๋ว รวมถึงทหาร เสบียงไปครอง
แต่ประโยคที่ว่า “ถ้าเราไม่ยึด คนอื่นเค้าก็จะมายึด” น่าสนใจนะครับ มันดูเหมือนอ้างอิงได้ในระบบทุนนิยม ระบบธุรกิจ
หลังจากนั้น โจโฉ ต้องการปราบทั้งเล่าปี่ ยึดดินแดนของ ซุนกวน ผู้ครองดินแดนทางใต้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันต่อต้านโจโฉ โดยขงเบ้งได้เดินทางไปเข้าวางแผนช่วยเหลือกับฝ่ายซุนกวน
วันหนึ่งที่ปรึกษาฝ่ายซุนกวน ชื่อโลซก ได้เข้าไปคุยบนเรือกับขงเบ้ง ซึ่งขงเบ้งกำลังดูกระดานปฏิทินโบราณอยู่
โลซก “ท่านดูสบายใจจริงนะ”
ขงเบ้ง “ข้าดูกระดานอยู่ นานมาแล้วมีคนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) แบ่ง 1 ปี ออกเป็น 365 วัน แบ่งออกไปเป็นเดือน แบ่งออกเป็นฤดูกาล ทุกๆปีหมุนเวียนมาบรรจบ ถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งจะรู้ว่าเวลาใด จะเป็นเช่นไร”
โลซก “แล้วท่านดูเพื่อการใด”
ขงเบ้ง “อันแม่ทัพนายกองมีกิจใดบ้าง”
โลซก “รบทัพ จับศึก รับบำเหน็จ”
ขงเบ้ง “นั่นก็ใช่ แต่ถ้าไม่รู้ชัดใน มรรควิธี ก็เป็นแค่แม่ทัพถ่อย(ไม่เก่ง) คือยึดแค่ฝ่ายใดมีทหารมาก ฝ่ายใดมีทหารน้อย อย่างเช่น ...(ชื่อแม่ทัพ...)”
โลซก “งั้นท่านพูดให้ข้าเข้าใจด้วยเถอะ”
ขงเบ้ง “แม่ทัพที่ดีมีการวางแผน ดูแลคนเคร่งครัด มีน้อยก็ชนะมากได้เช่น ... (ชื่อแม่ทัพ) แต่เท่านี้ก็ยังไม่ชัดในมรรควิธี”
โลซก “ แล้วต้องยังไงล่ะท่าน”
ขงเบ้ง “ อันพลัง มีทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองเห็น ก็ทหาร อาวุธ ม้าศึก ที่มองไม่เห็นก็ ดิน น้ำ ฟ้า ไฟ ภูเขา ทุกอย่างล้วนเป็นพลัง หากเข้าใจ ใช้ได้เข้าที่ จะมีพลังเปรียบคนนับล้าน”
หลังจากนั้น การศึกก็เกิด ฝ่ายซุนกวนสามารถปราบโจโฉได้ทางเรือ โดยใช้ ไฟ และ แรงลม ทั้งๆที่มีกำลังทหารน้อยกว่ามากๆ
และเล่าปี่ที่มีขงเบ้งช่วยวางแผนก็เริ่มตั้งหลักได้ ขยายดินแดน กลายเป็นก๊กใหญ่ก๊กหนึ่ง รวมถึงสามารถยึดเกงจิ๋ว จากโจโฉได้ (แต่ตอนหลังก็ถูกแย่งไปอีกโดย...)
ขงเบ้ง เปลี่ยนหน้าที่ทางสังคม ขงเบ้งคนนี้ก็เป็นคนๆเดียวกัน กับ ตอนที่ขงเบ้งเป็นชาวบ้าน แต่สิ่งที่มอบให้สังคมกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
“ อันพลัง มีทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองเห็น ก็ทหาร อาวุธ ม้าศึก ที่มองไม่เห็นก็ ดิน น้ำ ฟ้า ไฟ ภูเขา ทุกอย่างล้วนเป็นพลัง หากเข้าใจ ใช้ได้เข้าที่ จะมีพลังเปรียบคนนับล้าน” ผมว่าประโยคนี้น่าสนใจมากนะครับ
ขออภัยถ้าเนื้อเรื่องเกิดผิดพลาดประการใดนะครับ
ไม่รู้เป็นเรื่องที่คนเขียนขึ้น หรือจากความจริงกันแน่ แต่มันเยี่ยมมาก
ในเรื่องสามก๊ก ในเรื่องของความคิด สติปัญญา คงต้องยกให้เค้า จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง
เรื่องขงเบ้งมีอยู่ว่า ขงเบ้งนั้นเป็นชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา 55 ไม่แน่ใจเป็นชาวอะไรกันแน่ แต่ขงเบ้งนั้นเริ่มแรก ก็มาอาศัยอยู่นอกเมือง ใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา ไม่ยุ่งศึก สงคราม การเมือง แต่ชาวบ้านคนนี้กลับสนใจสิ่งที่มากกว่าชาวบ้านธรรมดา นั่นคือ ศึกษาหาความรู้ พูดคุย เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อน ผู้รู้คนอื่นไปเรื่อยๆ จนเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มีสติปัญญามากเหลือเกิน จนชื่อถูกลือออกไป
ถึงคราวเล่าปี่ ผู้จิตใจดี อยากเชิญ ขงเบ้งมาช่วย ก่อนไปเชิญได้พบปราชญ์ผู้หนึ่ง สุมาเต็กโช กล่าวว่า “ชีซีจะไปยังเรียกให้ขงเบ้งออกมาตกระกำลำบากด้วย ขงเบ้งถึงแม้จะได้นายดีแต่ก็ไม่ใช่เวลาที่เหมาะ” ประโยคนี้มีความหมายนักออกมาจากปากผู้มองเห็น อยากรู้ตอนจบหาดูได้ในหนังสามก๊กนะครับ (คือ ชีซีเป็นปราชญ์ฝ่ายเล่าปี่แต่มีเหตุต้องแยกจากไปเลยแนะนำขงเบ้งให้เล่าปี่)
หลังจากเล่าปี่ไปเชิญ 3 ครั้ง ขงเบ้งก็พร้อมที่เข้าร่วมเล่าปี่ ทั้งๆที่รู้ว่า หน้าที่ของตัวขงเบ้งเอง กำลังจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จะว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมก็ได้ จากคนๆหนึ่งปลูกนั่นปลูกนี่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ท่องเที่ยว ศึกษาไปเรื่อย หน้าที่ทางสังคมก็สามัญชน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ กินเอง มีเหลือก็ขายแลกเปลี่ยน สอนความรู้ให้ผู้อื่น มอบให้สังคม ผมดูว่าถ้าพอใจ พอเพียง มันก็ดูสบายใจดีนะสำหรับคนๆหนึ่ง แต่ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับภาระความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ก็เกิดขึ้น แต่ขงเบ้งสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้นะ แต่ขงเบ้งยอมให้เกิดขึ้น
เมื่อยอมให้เกิด ก็ต้องยอมรับภาระที่จะเกิด
แน่นอนหน้าที่ทางสังคมเปลี่ยนไป เริ่มแรกมุมมอง ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่แค่ดูแลตัวเองแล้ว เมื่อเป็นที่ปรึกษาหรือที่เรียกว่า “กุนซือ” นั่นคือส่วนของการเป็นผู้นำ ย่อมแปลว่าดูแลคนจำนวนมาก คนจำนวนมากก็จะมีมากเรื่อง เมื่อมากเรื่องต้องวางกฎเกณฑ์ให้ดี ต้องมีการวางแผนการต่างๆ รวมถึงการศึก ทั้งเป็นฝ่ายรับ และรุก
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับ กุนซือมือใหม่ที่เก๋าเกม(เก๋ดีแฮะ) เหล่าแม่ทัพก็ไม่นับถือเกรงกันว่าจะดีแต่ชื่อ เล่าปี่ ขณะนั้นเป็นก๊กที่ดูเล็กมากพึ่งพิงเล่าเปียวแถวเกงจิ๋ว โจโฉก็อยากปราบเล่าปี่ ดูค่อนข้างเป็นสภาวะคับขัน แต่ด้วยการวางแผนของขงเบ้ง ใช้น้อยชนะมากได้ จึงได้การยอมรับอย่างดี
และด้วยเหตุเกงจิ๋วเมืองที่เล่าเปียวครองนั้นเป็นเมืองชัยภูมิสำคัญ และถือเป็นเมืองใหญ่ ใครๆก็อยากยึดครอง แต่เล่าเปียวอายุมากใกล้สิ้นแล้ว เคยพูดกับเล่าปี่ว่าลูกๆเค้าไม่เก่ง ถ้าเค้าสิ้นให้เล่าปี่ครอง แต่เล่าปี่ปฏิเสธ ซึ่งก่อนหน้านั้นขงเบ้งได้บอกเล่าปี่ว่าถ้าเจอคำถามนี้ให้ตอบรับ แต่เมื่อเล่าปี่ปฏิเสธไปจึงบอกเล่าปี่ว่า “ทำไมไม่ตอบตกลง ถ้าเราไม่ยึดไว้ คนอื่นเค้าก็จะมายึด และตอนนั้นเรานั่นแหละที่จะลำบาก” เล่าปี่ตอบด้วยความเป็นคนจิตใจดีว่า เป็นเมืองของคนแซ่เดียวกัน ญาติกันจะมาแย่งยึดได้ยังไง เป็นอะไรที่ผมไม่รู้จะออกความเห็นยังไง แต่ผมเชื่อในความดี แต่การทำความดีก็ได้หลายรูปแบบนะ และในที่สุดโจโฉก็ได้เกงจิ๋ว รวมถึงทหาร เสบียงไปครอง
แต่ประโยคที่ว่า “ถ้าเราไม่ยึด คนอื่นเค้าก็จะมายึด” น่าสนใจนะครับ มันดูเหมือนอ้างอิงได้ในระบบทุนนิยม ระบบธุรกิจ
หลังจากนั้น โจโฉ ต้องการปราบทั้งเล่าปี่ ยึดดินแดนของ ซุนกวน ผู้ครองดินแดนทางใต้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันต่อต้านโจโฉ โดยขงเบ้งได้เดินทางไปเข้าวางแผนช่วยเหลือกับฝ่ายซุนกวน
วันหนึ่งที่ปรึกษาฝ่ายซุนกวน ชื่อโลซก ได้เข้าไปคุยบนเรือกับขงเบ้ง ซึ่งขงเบ้งกำลังดูกระดานปฏิทินโบราณอยู่
โลซก “ท่านดูสบายใจจริงนะ”
ขงเบ้ง “ข้าดูกระดานอยู่ นานมาแล้วมีคนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) แบ่ง 1 ปี ออกเป็น 365 วัน แบ่งออกไปเป็นเดือน แบ่งออกเป็นฤดูกาล ทุกๆปีหมุนเวียนมาบรรจบ ถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งจะรู้ว่าเวลาใด จะเป็นเช่นไร”
โลซก “แล้วท่านดูเพื่อการใด”
ขงเบ้ง “อันแม่ทัพนายกองมีกิจใดบ้าง”
โลซก “รบทัพ จับศึก รับบำเหน็จ”
ขงเบ้ง “นั่นก็ใช่ แต่ถ้าไม่รู้ชัดใน มรรควิธี ก็เป็นแค่แม่ทัพถ่อย(ไม่เก่ง) คือยึดแค่ฝ่ายใดมีทหารมาก ฝ่ายใดมีทหารน้อย อย่างเช่น ...(ชื่อแม่ทัพ...)”
โลซก “งั้นท่านพูดให้ข้าเข้าใจด้วยเถอะ”
ขงเบ้ง “แม่ทัพที่ดีมีการวางแผน ดูแลคนเคร่งครัด มีน้อยก็ชนะมากได้เช่น ... (ชื่อแม่ทัพ) แต่เท่านี้ก็ยังไม่ชัดในมรรควิธี”
โลซก “ แล้วต้องยังไงล่ะท่าน”
ขงเบ้ง “ อันพลัง มีทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองเห็น ก็ทหาร อาวุธ ม้าศึก ที่มองไม่เห็นก็ ดิน น้ำ ฟ้า ไฟ ภูเขา ทุกอย่างล้วนเป็นพลัง หากเข้าใจ ใช้ได้เข้าที่ จะมีพลังเปรียบคนนับล้าน”
หลังจากนั้น การศึกก็เกิด ฝ่ายซุนกวนสามารถปราบโจโฉได้ทางเรือ โดยใช้ ไฟ และ แรงลม ทั้งๆที่มีกำลังทหารน้อยกว่ามากๆ
และเล่าปี่ที่มีขงเบ้งช่วยวางแผนก็เริ่มตั้งหลักได้ ขยายดินแดน กลายเป็นก๊กใหญ่ก๊กหนึ่ง รวมถึงสามารถยึดเกงจิ๋ว จากโจโฉได้ (แต่ตอนหลังก็ถูกแย่งไปอีกโดย...)
ขงเบ้ง เปลี่ยนหน้าที่ทางสังคม ขงเบ้งคนนี้ก็เป็นคนๆเดียวกัน กับ ตอนที่ขงเบ้งเป็นชาวบ้าน แต่สิ่งที่มอบให้สังคมกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
“ อันพลัง มีทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองเห็น ก็ทหาร อาวุธ ม้าศึก ที่มองไม่เห็นก็ ดิน น้ำ ฟ้า ไฟ ภูเขา ทุกอย่างล้วนเป็นพลัง หากเข้าใจ ใช้ได้เข้าที่ จะมีพลังเปรียบคนนับล้าน” ผมว่าประโยคนี้น่าสนใจมากนะครับ
ขออภัยถ้าเนื้อเรื่องเกิดผิดพลาดประการใดนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 5
การแข่งขันระดับโลก
คงจะเป็นที่รู้กันดีว่า โลกนี้นั้นดูเล็กลงด้วยการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน เชื่อมกัน การโอนเงินข้ามไปมาดูเป็นเรื่องง่ายๆ และคงเคยได้ยินว่า บริษัทจากประเทศหนึ่ง ได้เข้าไปซื้อกิจการบริษัทอีกประเทศหนึ่ง และตามที่ผมเข้าใจ ระบบการเงินของทางอเมริกา หรือทางด้านยุโรปหลายๆประเภทนั้น ได้พัฒนาระบบการเงิน จนมีเทคนิคมากสูงกว่าประเทศของเรา และมีบุคลากรทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญลึกซึ้ง
และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งซึ่งอยู่ในระบบทุนนิยม และ ก็เสรีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่แปลกเลยถ้าจะมีคนนำเงินไหลเข้ามาเพื่อทำอะไรบางอย่าง แต่ทั้งหมดนั้นล้วนต้องการผลตอบแทน ซื้อพันธบัตร เอาดอกเบี้ย ซื้อหุ้นเอาส่วนต่างราคา เอาปันผล แปลว่าเขาต้องการผลประโยชน์จากประเทศเรา แล้วอะไรล่ะที่จะไปปรับสมดุล หรือ ช่วยรักษาผลประโยชน์ของคนไทยเอาไว้
งั้นขอวาดภาพต่อ สมมุติ นาย a เป็นคนต่างประเทศ อาศัยที่ต่างประเทศ นาย ก เป็นคนไทย อาศัยที่ประเทศไทย ซื้อหุ้น ไทย หุ้นละ 10 บาท 10 ล้านหุ้น รวมลงทุน 100 ล้านบาท ผ่านไป 1 ปี ราคาหุ้นไทย ขึ้นไป 20 บาท แล้วต้องการขาย จะได้เงินสด 200 ล้านบาท ถ้านาย a เป็นผู้ลงทุนชุดนี้ เมื่อขายได้เงินก็จะโอนกลับภูมิลำเนา เสียภาษีต่างๆ เงินก็จะถูกโอนกลับต่างประเทศทั้งหมด และเงินนั้นก็เข้าไปอยู่ในระบบของประเทศนาย a ไทยอาจจะได้ภาษีอยู่บ้างแต่แค่ทีเดียว สำหรับ นาย ก เป็นคนไทยเมื่อขายได้เงินก็ไปอยู่ในบัญชี 200 ล้านบาท ความมั่งคั่งของนาย ก เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเงินที่ยังคงอยู่ในประเทศนี้ แค่ได้ดอกเบี้ยก็ยังคงจ่ายภาษีให้รัฐไทยอยู่ดี หรืออาจจะไปลงทุนต่อได้อีก ดังนั้นเงินต้นรวมกำไรของนาย ก ดูจะเพิ่มความมั่งคั่งให้ประเทศไทย ดังนั้นถ้าเราเป็นคนไทย เราอยากจะเห็น นาย a หรือ นาย ก เป็นคนลงทุน แน่นอนต้องอยากให้นาย ก เป็นผู้ลงทุน เพราะประเทศไทยได้ประโยชน์
และนาย ก ก็คือ investor และถ้าไม่มีนาย ก มีเฉพาะ นาย a ประเทศไทยจะทำยังไง
ใช่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคมโดยตรง แต่บังเอิญกำลังต่อกร กับนาย a
กลับไปดูนาย a สมมุติ นาย a คน usa อยู่ usa ไปลงทุนในจีน ตามที่เคยเห็นได้ยินในข่าว ซึ่งนาย a เป็น investor ที่มีฝีมือมากคนหนึ่ง ตัดสินใจไปลงทุนในหุ้นบริษัทน้ำมัน ในประเทศจีน 1000 ล้าน ดอลลาร์ ผ่านไป 1 ปี ราคาหุ้นขึ้นไป 2 เท่า นั่นแปลว่าการลงทุน มีมูลค่า 3000 ล้าน ดอลลาร์ ในขณะนี้ และได้ขายได้เงินสดมา นาย a ก็นำเงินกลับ usa นั่นแปลว่า ประเทศ usa มีความมั่งคั่ง เพิ่มขึ้น 2000 ล้านดอลลาร์ จากฝีมือ นาย a ซึ่งเมื่อเงินจำนวนนี้ทำเงินเมื่อไหร่ usa ก็ยังคงได้ภาษี และภาษีเข้าสู่สังคมอยู่ดี
ดูเหมือนความมั่งคั่งจะวิ่งเข้าสู่คนที่มีทุน (เงิน) และความรู้
และถ้านาย ก สามารถทำได้แบบ นาย a ล่ะ ประเทศไทย จะเป็นอย่างไร
ใช่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคมโดยตรง แต่นาย a ได้สร้างความมั่งคั่งให้ usa เพิ่ม 2000 ล้านดอลลาร์
และรวมถึงการลงทุน ในรูปแบบระยะยาว แปลว่ารายได้ก็อยู่ในรูปปันผล ซึ่งได้ทุกปี ก็จะมีการเสียภาษี ซึ่งก็เข้าประเทศอยู่ดี ไม่ว่ามาจากการลงทุนภายในหรือภายนอกประเทศ อาจจะแตกต่างจากแบบข้างต้นที่ได้เงินจากส่วนต่างราคาก้อนเดียว
ถ้าสังคมอยู่ในประเทศ ประเทศมั่งคั่งขึ้น รายได้มากขึ้น สังคมจะไม่ได้ประโยชน์เหรอ
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า สมมุติมีที่ดินเปล่าผืนใหญ่ผืนหนึ่งว่างอยู่ แล้วมีคนมาลงทุนสร้างเป็นที่พักขนาดใหญ่ ด้วยการจ้างคน ก่อสร้าง อิฐหินปูนทรายต่างๆ การตกแต่ง เมื่อสร้างเสร็จ ก็มีคนเดินทางสัญจรไปมาทั้งพักผ่อน ท่องเที่ยว แล้วถามว่า ที่ดินรอบข้างมูลค่าจะเป็นอย่างไร ที่ดินรอบข้างไม่ต้องทำอะไรเลยแต่มูลค่ากลับสูงขึ้น การจ้างงาน เงินลงวัสดุก่อสร้างต่างๆ การตกแต่ง ที่ลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่จะสูญเปล่าเหรอ ไม่เลย มันไปเพิ่มค่าให้ที่ใกล้เคียงอีกด้วย
งั้นมาโฟกัสที่ไทย
“ถ้าเราไม่ยึดไว้ คนอื่นเค้าก็จะมายึด”
ถ้าเปรียบเป็นอาวุธ ต่างประเทศ ที่เข้ามา เขาจะใช้ ข้อมูล ความรู้ และทุน(เงิน) ดังนั้นถ้าเราจะป้องกันเราจะใช้อะไร 555 ใช้กฎหมายเหรอ มันก็ไม่เสรีนะสิ ถึงแม้บางทีต้องเอามาใช้เพื่อปกป้อง
ตามที่เห็นผมก็เห็นมีปรับสมดุลอยู่ ทั้งในด้านส่วนกองทุนรวม สถาบันการเงิน ประกัน ดูมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนนี้จะขึ้นชื่อบริหารจัดการโดยมืออาชีพและมีความรู้ และก็มีนักลงทุน อาจจะเรียกว่ากลุ่ม VI ที่มีความรู้ และ กำลังเรียนรู้ ซึ่งนั่นดูเหมือนความรู้ของกลุ่มนักลงทุนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Value Investment การลงทุนแบบเน้นคุณค่า นั่นแปลว่านักลงทุนกลุ่มนี้ ลงทุนโดยมองมูลค่าหุ้นให้ออก และเมื่อนักลงทุนกลุ่มนี้มองว่าหุ้นอะไรที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ก็ย่อมพร้อมจะนำเงินเข้าไปซื้อ นั่นแปลว่ากลุ่มนี้ก็จะเข้าไปยึดครองเป็นเจ้าของไว้ก่อน ดังนั้นประสิทธิภาพด้านราคาก็มีเหตุผลมากขึ้น และถ้าคนอื่นต่างชาติจะมายึด ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนมากพอเค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจ หรือถ้าพยายามจริง ผลประโยชน์ก็จะตกถึงผู้ยึดครองก่อนซึ่งเป็นคนไทย และผมยังเชื่อว่า ถ้าทุกอย่างพร้อมสำหรับนักลงทุนไทยในการออกไปลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนกลุ่มนี้ที่กำลังพัฒนาความรู้อยู่จะพร้อมที่จะออกไปลงทุนในที่ต่างๆ และน่าจะนำความมั่งคั่งกลับสู่สังคมประเทศไทยได้อีกด้วย
ผมว่า นักลงทุนไทย VI ก็เหมือนพืชคลุมดิน(แต่ถ้าคนไทยเล่นหุ้นกันเองผลประโยชน์ก็อยู่กับคนไทย) ประเทศไทยเป็นผืนดิน ต่างชาติอยากได้ผลประโยชน์ อยากตักดินไปก็ยากหน่อยเพราะเราพืชคลุมดินไว้ไม่อยากให้ใครเอาไป 555 ไปซะนั่น
ถ้าถามว่าสังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
ผมก็คงตอบว่า ผมเป็นนักลงทุนไงครับ
ถ้าคนปลูกผัก สังคมก็ได้ผัก
ถ้าคนสร้างบ้าน สังคมก็ได้บ้าน
ถ้าคนกวาดถนน สังคมก็ได้ถนนสะอาด
แต่ผมเป็นนักลงทุน หน้าที่ผมคือใช้เงินไปทำงาน นั่นแปลว่าผมไม่ได้ออกแรง ไม่มีงานที่ถูกมองเห็นได้ชัดนัก ดังนั้น ผมไม่ได้ออกแรง ก็ต้องแปลว่าตัวผมไม่ได้ทำอะไรให้สังคมแบบที่มองเห็นได้ แต่ผมใช้เงินไปทำงาน แปลว่าเงินของผมทำงานอยู่ในสังคม และถ้าอยากรู้ว่า เงินผมทำอะไรให้กับสังคม ก็ต้องไปถามเงินผมดู เงินของผมจะตอบว่า “ผมทำเต็มที่แล้ว” และถ้าเงินผมทำเต็มที่แล้วให้กับสังคม แปลว่าผมผู้เป็นเจ้าของก็ได้ทำเต็มที่แล้วเช่นกันผ่านเงินของผม
เต๋า เขาว่าแปลว่า หลัก หรือ วิธีการ หรือ ทางของมัน และทุกๆอย่างมีทางของมัน
ผู้ใดเห็นธรรม ก็จะมองเห็นทาง
คงจะเป็นที่รู้กันดีว่า โลกนี้นั้นดูเล็กลงด้วยการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน เชื่อมกัน การโอนเงินข้ามไปมาดูเป็นเรื่องง่ายๆ และคงเคยได้ยินว่า บริษัทจากประเทศหนึ่ง ได้เข้าไปซื้อกิจการบริษัทอีกประเทศหนึ่ง และตามที่ผมเข้าใจ ระบบการเงินของทางอเมริกา หรือทางด้านยุโรปหลายๆประเภทนั้น ได้พัฒนาระบบการเงิน จนมีเทคนิคมากสูงกว่าประเทศของเรา และมีบุคลากรทางการเงินที่มีความเชี่ยวชาญลึกซึ้ง
และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งซึ่งอยู่ในระบบทุนนิยม และ ก็เสรีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่แปลกเลยถ้าจะมีคนนำเงินไหลเข้ามาเพื่อทำอะไรบางอย่าง แต่ทั้งหมดนั้นล้วนต้องการผลตอบแทน ซื้อพันธบัตร เอาดอกเบี้ย ซื้อหุ้นเอาส่วนต่างราคา เอาปันผล แปลว่าเขาต้องการผลประโยชน์จากประเทศเรา แล้วอะไรล่ะที่จะไปปรับสมดุล หรือ ช่วยรักษาผลประโยชน์ของคนไทยเอาไว้
งั้นขอวาดภาพต่อ สมมุติ นาย a เป็นคนต่างประเทศ อาศัยที่ต่างประเทศ นาย ก เป็นคนไทย อาศัยที่ประเทศไทย ซื้อหุ้น ไทย หุ้นละ 10 บาท 10 ล้านหุ้น รวมลงทุน 100 ล้านบาท ผ่านไป 1 ปี ราคาหุ้นไทย ขึ้นไป 20 บาท แล้วต้องการขาย จะได้เงินสด 200 ล้านบาท ถ้านาย a เป็นผู้ลงทุนชุดนี้ เมื่อขายได้เงินก็จะโอนกลับภูมิลำเนา เสียภาษีต่างๆ เงินก็จะถูกโอนกลับต่างประเทศทั้งหมด และเงินนั้นก็เข้าไปอยู่ในระบบของประเทศนาย a ไทยอาจจะได้ภาษีอยู่บ้างแต่แค่ทีเดียว สำหรับ นาย ก เป็นคนไทยเมื่อขายได้เงินก็ไปอยู่ในบัญชี 200 ล้านบาท ความมั่งคั่งของนาย ก เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเงินที่ยังคงอยู่ในประเทศนี้ แค่ได้ดอกเบี้ยก็ยังคงจ่ายภาษีให้รัฐไทยอยู่ดี หรืออาจจะไปลงทุนต่อได้อีก ดังนั้นเงินต้นรวมกำไรของนาย ก ดูจะเพิ่มความมั่งคั่งให้ประเทศไทย ดังนั้นถ้าเราเป็นคนไทย เราอยากจะเห็น นาย a หรือ นาย ก เป็นคนลงทุน แน่นอนต้องอยากให้นาย ก เป็นผู้ลงทุน เพราะประเทศไทยได้ประโยชน์
และนาย ก ก็คือ investor และถ้าไม่มีนาย ก มีเฉพาะ นาย a ประเทศไทยจะทำยังไง
ใช่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคมโดยตรง แต่บังเอิญกำลังต่อกร กับนาย a
กลับไปดูนาย a สมมุติ นาย a คน usa อยู่ usa ไปลงทุนในจีน ตามที่เคยเห็นได้ยินในข่าว ซึ่งนาย a เป็น investor ที่มีฝีมือมากคนหนึ่ง ตัดสินใจไปลงทุนในหุ้นบริษัทน้ำมัน ในประเทศจีน 1000 ล้าน ดอลลาร์ ผ่านไป 1 ปี ราคาหุ้นขึ้นไป 2 เท่า นั่นแปลว่าการลงทุน มีมูลค่า 3000 ล้าน ดอลลาร์ ในขณะนี้ และได้ขายได้เงินสดมา นาย a ก็นำเงินกลับ usa นั่นแปลว่า ประเทศ usa มีความมั่งคั่ง เพิ่มขึ้น 2000 ล้านดอลลาร์ จากฝีมือ นาย a ซึ่งเมื่อเงินจำนวนนี้ทำเงินเมื่อไหร่ usa ก็ยังคงได้ภาษี และภาษีเข้าสู่สังคมอยู่ดี
ดูเหมือนความมั่งคั่งจะวิ่งเข้าสู่คนที่มีทุน (เงิน) และความรู้
และถ้านาย ก สามารถทำได้แบบ นาย a ล่ะ ประเทศไทย จะเป็นอย่างไร
ใช่ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรให้สังคมโดยตรง แต่นาย a ได้สร้างความมั่งคั่งให้ usa เพิ่ม 2000 ล้านดอลลาร์
และรวมถึงการลงทุน ในรูปแบบระยะยาว แปลว่ารายได้ก็อยู่ในรูปปันผล ซึ่งได้ทุกปี ก็จะมีการเสียภาษี ซึ่งก็เข้าประเทศอยู่ดี ไม่ว่ามาจากการลงทุนภายในหรือภายนอกประเทศ อาจจะแตกต่างจากแบบข้างต้นที่ได้เงินจากส่วนต่างราคาก้อนเดียว
ถ้าสังคมอยู่ในประเทศ ประเทศมั่งคั่งขึ้น รายได้มากขึ้น สังคมจะไม่ได้ประโยชน์เหรอ
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า สมมุติมีที่ดินเปล่าผืนใหญ่ผืนหนึ่งว่างอยู่ แล้วมีคนมาลงทุนสร้างเป็นที่พักขนาดใหญ่ ด้วยการจ้างคน ก่อสร้าง อิฐหินปูนทรายต่างๆ การตกแต่ง เมื่อสร้างเสร็จ ก็มีคนเดินทางสัญจรไปมาทั้งพักผ่อน ท่องเที่ยว แล้วถามว่า ที่ดินรอบข้างมูลค่าจะเป็นอย่างไร ที่ดินรอบข้างไม่ต้องทำอะไรเลยแต่มูลค่ากลับสูงขึ้น การจ้างงาน เงินลงวัสดุก่อสร้างต่างๆ การตกแต่ง ที่ลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่จะสูญเปล่าเหรอ ไม่เลย มันไปเพิ่มค่าให้ที่ใกล้เคียงอีกด้วย
งั้นมาโฟกัสที่ไทย
“ถ้าเราไม่ยึดไว้ คนอื่นเค้าก็จะมายึด”
ถ้าเปรียบเป็นอาวุธ ต่างประเทศ ที่เข้ามา เขาจะใช้ ข้อมูล ความรู้ และทุน(เงิน) ดังนั้นถ้าเราจะป้องกันเราจะใช้อะไร 555 ใช้กฎหมายเหรอ มันก็ไม่เสรีนะสิ ถึงแม้บางทีต้องเอามาใช้เพื่อปกป้อง
ตามที่เห็นผมก็เห็นมีปรับสมดุลอยู่ ทั้งในด้านส่วนกองทุนรวม สถาบันการเงิน ประกัน ดูมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนนี้จะขึ้นชื่อบริหารจัดการโดยมืออาชีพและมีความรู้ และก็มีนักลงทุน อาจจะเรียกว่ากลุ่ม VI ที่มีความรู้ และ กำลังเรียนรู้ ซึ่งนั่นดูเหมือนความรู้ของกลุ่มนักลงทุนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Value Investment การลงทุนแบบเน้นคุณค่า นั่นแปลว่านักลงทุนกลุ่มนี้ ลงทุนโดยมองมูลค่าหุ้นให้ออก และเมื่อนักลงทุนกลุ่มนี้มองว่าหุ้นอะไรที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ก็ย่อมพร้อมจะนำเงินเข้าไปซื้อ นั่นแปลว่ากลุ่มนี้ก็จะเข้าไปยึดครองเป็นเจ้าของไว้ก่อน ดังนั้นประสิทธิภาพด้านราคาก็มีเหตุผลมากขึ้น และถ้าคนอื่นต่างชาติจะมายึด ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนมากพอเค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจ หรือถ้าพยายามจริง ผลประโยชน์ก็จะตกถึงผู้ยึดครองก่อนซึ่งเป็นคนไทย และผมยังเชื่อว่า ถ้าทุกอย่างพร้อมสำหรับนักลงทุนไทยในการออกไปลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนกลุ่มนี้ที่กำลังพัฒนาความรู้อยู่จะพร้อมที่จะออกไปลงทุนในที่ต่างๆ และน่าจะนำความมั่งคั่งกลับสู่สังคมประเทศไทยได้อีกด้วย
ผมว่า นักลงทุนไทย VI ก็เหมือนพืชคลุมดิน(แต่ถ้าคนไทยเล่นหุ้นกันเองผลประโยชน์ก็อยู่กับคนไทย) ประเทศไทยเป็นผืนดิน ต่างชาติอยากได้ผลประโยชน์ อยากตักดินไปก็ยากหน่อยเพราะเราพืชคลุมดินไว้ไม่อยากให้ใครเอาไป 555 ไปซะนั่น
ถ้าถามว่าสังคมได้อะไรจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
ผมก็คงตอบว่า ผมเป็นนักลงทุนไงครับ
ถ้าคนปลูกผัก สังคมก็ได้ผัก
ถ้าคนสร้างบ้าน สังคมก็ได้บ้าน
ถ้าคนกวาดถนน สังคมก็ได้ถนนสะอาด
แต่ผมเป็นนักลงทุน หน้าที่ผมคือใช้เงินไปทำงาน นั่นแปลว่าผมไม่ได้ออกแรง ไม่มีงานที่ถูกมองเห็นได้ชัดนัก ดังนั้น ผมไม่ได้ออกแรง ก็ต้องแปลว่าตัวผมไม่ได้ทำอะไรให้สังคมแบบที่มองเห็นได้ แต่ผมใช้เงินไปทำงาน แปลว่าเงินของผมทำงานอยู่ในสังคม และถ้าอยากรู้ว่า เงินผมทำอะไรให้กับสังคม ก็ต้องไปถามเงินผมดู เงินของผมจะตอบว่า “ผมทำเต็มที่แล้ว” และถ้าเงินผมทำเต็มที่แล้วให้กับสังคม แปลว่าผมผู้เป็นเจ้าของก็ได้ทำเต็มที่แล้วเช่นกันผ่านเงินของผม
เต๋า เขาว่าแปลว่า หลัก หรือ วิธีการ หรือ ทางของมัน และทุกๆอย่างมีทางของมัน
ผู้ใดเห็นธรรม ก็จะมองเห็นทาง
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 7
เงินผมนี่ค่อนข้างขี้เกียจแฮะ สงสัยยังไม่เจองานที่ถูกใจ :lovl:
อย่ายอมแพ้
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 8
ไม่ได้มาโพสนานเลยนะครับ
ยินดีต้อนรับการกลับมา
พร้อมมุมมองที่น่าสนใจครับ
ยินดีต้อนรับการกลับมา
พร้อมมุมมองที่น่าสนใจครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Investor ผมคือหนึ่งหน่วยในสังคม
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณสำหรับ ข้อคิดดีๆมากมายครับผม