หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 1
เคยเห็นพี่สุมาอี้เขียนเกี่ยวกับ Anchoring เอาไว้นานมากแล้ว
คราวนี้เป็น Anchoring อีกเวอร์ชั่นครับ
Anchoring หรือ การผูกติด เป็นคำศัพท์ทางจิตวิทยา ถูกคิดขึ้นครั้งแรกโดย Amos Tversky และ Daniel Kahneman มีความหมายถึงอคติของมนุษย์ที่มักไปผูกติดกับข้อมูลบางอย่างมากจนเกินไป มักเกิดขึ้นเมื่อเราใช้สามัญสำนึกไปตัดสินใจในเรื่องใด ๆ โดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
ตัวอย่างแรกในการทดลอง “การผูกติด” นี้ ผู้ทดลองได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่ามีชนชาติอาฟริกันจำนวนเท่าใดในสหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 10 %” มักจะตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 25%
ส่วนผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 65 %” มักจะให้ตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 45%
ตัวอย่าง ในการทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกขอให้เขียนเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคม จากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองก็ถูกขอให้ประมูลสิ่งของที่ตนเองไม่รู้มูลค่า เช่น ไวน์ ช็อคโกแล็ต หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ผลปรากฎว่า ผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมที่สูง ๆ จะให้มูลค่าประมูลสูงกว่าผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมต่ำ ๆ ถึง 60-120%
ความผิดปกติเหล่านี้ เกิดจาก “การผูกติด” นั่นเองครับโดยในการทดลองแรก ผู้เข้าร่วมทดลองไปผูกติดกับคำถาม ที่ถามนำ ส่วนการทดลองหลัง ผู้เข้าร่วมทดลองดันไปผูกติดกับหมายเลขประกันสังคมของตัวเองซึ่งไม่ได้ เกี่ยวอะไรกับมูลค่าของ สิ่งของที่ใช้ประมูลเลย
ตัวอย่างการผูกติด นี้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้บ่อย ๆ แต่บางครั้งถ้าเราเอาการผูกติดนี้มาใช้ประเมินสถานการณ์สำคัญ ๆ อย่างการลงทุนนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาล
ตัวอย่าง ที่ผมพึ่งเจอมาจาก การผูกติดในการลงทุนอย่างสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ ช่วงนี้มีคนมาถามเยอะมากว่า “หุ้นตกแล้ว เข้าซื้อเลยดีไหม”
อัน ที่จริงผมไม่ได้คิดว่าการลงทุนเฉลี่ยต้นทุนจะเป็นวิธีที่ไม่ดีอะไร เพียงแต่ การตัดสินใจลงทุนนั้นต้องมาจากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ลงทุนจากการที่เราจะเอาอคติการการผูกติดนี้มาใช้
ปรากฎการณ์นี้เกิด ขึ้นเมื่อ หลังจากปรากฎการณ์ January Effect เกิดขึ้นมาได้ไม่นาน ดัชนีหุ้นไทยขึ้นไปถึงราว ๆ 1050 จุด หลังจากนั้นก็ปรับฐานตกลงมาถึงราว ๆ 30 จุด เป็นการตกลง ถึง30 จุดภายในวันเดียว ก่อนจะทำการรีบาวน์จากจุดต่ำสุดเล็กน้อย อันที่จริงแล้วการปรับฐานหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเป็น เรื่องธรรมดามากในตลาดหุ้น
และตอนที่มันตกแรง ๆ นี่เองที่เริ่มเห็นชาวสวนบางท่าน กระตือรือล้นรีบเตรียมการที่จะเข้าซื้อ
อนิจจา หุ้นตก กับ หุ้นถูก นั้น มีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย
หาก เราลองพิจารณาดูให้ดี ลองมองดูภาพที่ใหญ่ขึ้น การตกของดัชนีจากประมาณ 1050 มาที่ประมาณ 1020 หรือราว ๆ -2.85% นั้นเทียบไม่ได้เลยกับการที่ ดัชนี set ไต่ขึ้นมาจาก 736.66 เมื่อต้นปีที่แล้ว ดังนั้นคนที่ซื้อหุ้นขาขึ้นเมื่อปีที่แล้วจะมีกำไรและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคน ที่รอซื้อเฉพาะตอนที่หุ้นกำลังตกมาก มาถึงตอนนี้เรายังไม่ได้พิจารณาถึงหุ้นรายตัวสำหรับลงทุน หรือ การตรวจหามูลค่ากันเลย ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ในบทความนี้อยากจะสื่อ ว่าหากท่านเลือกเข้าซื้อเพียงเพราะหุ้นตกลงมานั้น ท่านกำลังเป็นเหยื่อของ การผูกติดกับราคา new high เข้าให้แล้ว
ขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้คิดว่าการซื้อหุ้นตอนหุ้นตกจะเป็นวิธีที่ไม่ดี อะไร เพราะผมเองก็ใช้เป็นโอกาสในการปรับพอร์ตอยู่บ้างเหมือนกันครับ
ช่วงนี้มีคนเข้ามาถามเรื่องทำนองนี้กันมากเลยครับ ที่จริงช่วงหลัง ๆ มานี้ผมไม่ค่อยจะได้เข้ามาเขียนบทความใหม่ ๆ เลย แต่ช่วงนี้ต้องขอเขียนบ่อยหน่อยด้วยความเป็นห่วงครับ
สุดท้ายนี้ขอฝากพิชัยยุทธ์ซุนวู ฉบับนักลงทุนผู้เฉียบแหลมไว้อีกเช่นเคยครับ
ซุนวู ตื้นลึกหนาบาง บทที่ 6
ผู้ สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ ที่สามารถทำให้ข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์ การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ นั้นปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงื่อน จารชนที่แฝงตัวก็มิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย การรบไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว
SI นายตลาดและข่าววงใน
นักลงทุนผู้เฉียบ แหลม จะรู้จักใช้ประโยชน์จาก นายตลาด ไม่ใช่ถูก นายตลาด ชี้นำ ไม่เชื่อในข่าวลือหรือ ข่าววงใน เพราะอีกฝ่ายอาจใช้กลล่อด้วยประโยชน์ พึงระวังว่า นายตลาด นั้นไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว เคลื่อนไหวปราศจากเค้าเงื่อน แม้แต่ผู้มีสติปัญญาก็อาจออกอุบายเพื่อเอาชนะได้ยาก
อ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Anchoring
ที่มา: http://peacedev.wordpress.com/2011/01/1 ... %e0%b8%99/
คราวนี้เป็น Anchoring อีกเวอร์ชั่นครับ
Anchoring หรือ การผูกติด เป็นคำศัพท์ทางจิตวิทยา ถูกคิดขึ้นครั้งแรกโดย Amos Tversky และ Daniel Kahneman มีความหมายถึงอคติของมนุษย์ที่มักไปผูกติดกับข้อมูลบางอย่างมากจนเกินไป มักเกิดขึ้นเมื่อเราใช้สามัญสำนึกไปตัดสินใจในเรื่องใด ๆ โดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
ตัวอย่างแรกในการทดลอง “การผูกติด” นี้ ผู้ทดลองได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่ามีชนชาติอาฟริกันจำนวนเท่าใดในสหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 10 %” มักจะตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 25%
ส่วนผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 65 %” มักจะให้ตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 45%
ตัวอย่าง ในการทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกขอให้เขียนเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคม จากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองก็ถูกขอให้ประมูลสิ่งของที่ตนเองไม่รู้มูลค่า เช่น ไวน์ ช็อคโกแล็ต หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ผลปรากฎว่า ผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมที่สูง ๆ จะให้มูลค่าประมูลสูงกว่าผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมต่ำ ๆ ถึง 60-120%
ความผิดปกติเหล่านี้ เกิดจาก “การผูกติด” นั่นเองครับโดยในการทดลองแรก ผู้เข้าร่วมทดลองไปผูกติดกับคำถาม ที่ถามนำ ส่วนการทดลองหลัง ผู้เข้าร่วมทดลองดันไปผูกติดกับหมายเลขประกันสังคมของตัวเองซึ่งไม่ได้ เกี่ยวอะไรกับมูลค่าของ สิ่งของที่ใช้ประมูลเลย
ตัวอย่างการผูกติด นี้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้บ่อย ๆ แต่บางครั้งถ้าเราเอาการผูกติดนี้มาใช้ประเมินสถานการณ์สำคัญ ๆ อย่างการลงทุนนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาล
ตัวอย่าง ที่ผมพึ่งเจอมาจาก การผูกติดในการลงทุนอย่างสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ ช่วงนี้มีคนมาถามเยอะมากว่า “หุ้นตกแล้ว เข้าซื้อเลยดีไหม”
อัน ที่จริงผมไม่ได้คิดว่าการลงทุนเฉลี่ยต้นทุนจะเป็นวิธีที่ไม่ดีอะไร เพียงแต่ การตัดสินใจลงทุนนั้นต้องมาจากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ลงทุนจากการที่เราจะเอาอคติการการผูกติดนี้มาใช้
ปรากฎการณ์นี้เกิด ขึ้นเมื่อ หลังจากปรากฎการณ์ January Effect เกิดขึ้นมาได้ไม่นาน ดัชนีหุ้นไทยขึ้นไปถึงราว ๆ 1050 จุด หลังจากนั้นก็ปรับฐานตกลงมาถึงราว ๆ 30 จุด เป็นการตกลง ถึง30 จุดภายในวันเดียว ก่อนจะทำการรีบาวน์จากจุดต่ำสุดเล็กน้อย อันที่จริงแล้วการปรับฐานหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเป็น เรื่องธรรมดามากในตลาดหุ้น
และตอนที่มันตกแรง ๆ นี่เองที่เริ่มเห็นชาวสวนบางท่าน กระตือรือล้นรีบเตรียมการที่จะเข้าซื้อ
อนิจจา หุ้นตก กับ หุ้นถูก นั้น มีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย
หาก เราลองพิจารณาดูให้ดี ลองมองดูภาพที่ใหญ่ขึ้น การตกของดัชนีจากประมาณ 1050 มาที่ประมาณ 1020 หรือราว ๆ -2.85% นั้นเทียบไม่ได้เลยกับการที่ ดัชนี set ไต่ขึ้นมาจาก 736.66 เมื่อต้นปีที่แล้ว ดังนั้นคนที่ซื้อหุ้นขาขึ้นเมื่อปีที่แล้วจะมีกำไรและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคน ที่รอซื้อเฉพาะตอนที่หุ้นกำลังตกมาก มาถึงตอนนี้เรายังไม่ได้พิจารณาถึงหุ้นรายตัวสำหรับลงทุน หรือ การตรวจหามูลค่ากันเลย ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ในบทความนี้อยากจะสื่อ ว่าหากท่านเลือกเข้าซื้อเพียงเพราะหุ้นตกลงมานั้น ท่านกำลังเป็นเหยื่อของ การผูกติดกับราคา new high เข้าให้แล้ว
ขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้คิดว่าการซื้อหุ้นตอนหุ้นตกจะเป็นวิธีที่ไม่ดี อะไร เพราะผมเองก็ใช้เป็นโอกาสในการปรับพอร์ตอยู่บ้างเหมือนกันครับ
ช่วงนี้มีคนเข้ามาถามเรื่องทำนองนี้กันมากเลยครับ ที่จริงช่วงหลัง ๆ มานี้ผมไม่ค่อยจะได้เข้ามาเขียนบทความใหม่ ๆ เลย แต่ช่วงนี้ต้องขอเขียนบ่อยหน่อยด้วยความเป็นห่วงครับ
สุดท้ายนี้ขอฝากพิชัยยุทธ์ซุนวู ฉบับนักลงทุนผู้เฉียบแหลมไว้อีกเช่นเคยครับ
ซุนวู ตื้นลึกหนาบาง บทที่ 6
ผู้ สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ ที่สามารถทำให้ข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์ การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ นั้นปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงื่อน จารชนที่แฝงตัวก็มิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย การรบไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว
SI นายตลาดและข่าววงใน
นักลงทุนผู้เฉียบ แหลม จะรู้จักใช้ประโยชน์จาก นายตลาด ไม่ใช่ถูก นายตลาด ชี้นำ ไม่เชื่อในข่าวลือหรือ ข่าววงใน เพราะอีกฝ่ายอาจใช้กลล่อด้วยประโยชน์ พึงระวังว่า นายตลาด นั้นไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว เคลื่อนไหวปราศจากเค้าเงื่อน แม้แต่ผู้มีสติปัญญาก็อาจออกอุบายเพื่อเอาชนะได้ยาก
อ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Anchoring
ที่มา: http://peacedev.wordpress.com/2011/01/1 ... %e0%b8%99/
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- Berkaizer
- Verified User
- โพสต์: 19
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 3
ถ้าเป็นผม ตอนมันตกผมจะกะราคาที่รับได้ไว้ แล้วเขาไปซื้อเลยคับ
เพราะเมื่อก่อนผมมีบทเรียนไม่ดีสองอย่างเกี๋ยวกับการเก็บหุ้นตก คือ
1.พอซื้อปุ๊ปตกต่อปั๊บ หรือไปรับมีดที่ยังร่วงอยู่ เสียดายรอบแรก แล้วมาคิดทีหลัง ถ้ารอนานก่านี้หน่อยได้หุ้นเยอะกว่านี้แล้วเรา :lol:
2.พอรอซื้อหุ้นและก็อยากรอซื้อโดยหวังว่าจะได้ราคาถูกเข้าไปอีก เหมือนจะรอมีดให้ปักก่อนคับ แล้วจะซื้อ ทีนี้แหละเอาแต่รอ ราคาแพงกว่าเดิม เสียดายรอบสอง
สุดท้ายเลยคิดราคาหุ้นไว้ พอถึงราคานั้นที่รับได้ก็เอาเลย จะเกิดไรต่อช่างหัวมัน ก่อนซื้อก็สัญญากะตัวเองไว้ว่าห้ามขาย ถ้าคิดจะขายอย่าซื้อแต่ทีแรกดีกว่า พอจะทำอะไรแบบเก็งกำไรตามสัญชาติญาณ จะหยิบหนังสือของเบนเกรแฮมมาอ่านในหน้าสัญญาที่เขาร่างไว้ และรู้สึกเหมือนกำลังเหมือนโดนเบนด่า สุดท้ายเลยทำใจซื้อครั้งเดียวจบได้คับ ของแบบนี้สำหรับผมมันพูดง่ายทำยาก ต้องเอาหนังสือมาเปิดทุกที จะได้ไม่ตาบอด
เพราะเมื่อก่อนผมมีบทเรียนไม่ดีสองอย่างเกี๋ยวกับการเก็บหุ้นตก คือ
1.พอซื้อปุ๊ปตกต่อปั๊บ หรือไปรับมีดที่ยังร่วงอยู่ เสียดายรอบแรก แล้วมาคิดทีหลัง ถ้ารอนานก่านี้หน่อยได้หุ้นเยอะกว่านี้แล้วเรา :lol:
2.พอรอซื้อหุ้นและก็อยากรอซื้อโดยหวังว่าจะได้ราคาถูกเข้าไปอีก เหมือนจะรอมีดให้ปักก่อนคับ แล้วจะซื้อ ทีนี้แหละเอาแต่รอ ราคาแพงกว่าเดิม เสียดายรอบสอง
สุดท้ายเลยคิดราคาหุ้นไว้ พอถึงราคานั้นที่รับได้ก็เอาเลย จะเกิดไรต่อช่างหัวมัน ก่อนซื้อก็สัญญากะตัวเองไว้ว่าห้ามขาย ถ้าคิดจะขายอย่าซื้อแต่ทีแรกดีกว่า พอจะทำอะไรแบบเก็งกำไรตามสัญชาติญาณ จะหยิบหนังสือของเบนเกรแฮมมาอ่านในหน้าสัญญาที่เขาร่างไว้ และรู้สึกเหมือนกำลังเหมือนโดนเบนด่า สุดท้ายเลยทำใจซื้อครั้งเดียวจบได้คับ ของแบบนี้สำหรับผมมันพูดง่ายทำยาก ต้องเอาหนังสือมาเปิดทุกที จะได้ไม่ตาบอด
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณพี่ Picatos ที่แวะเข้ามาอ่านครับ
รู้สึกชื่นชมกับคำสอนที่เต็มไปด้วยความห่วงใยของพี่ Picatos มานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้คุยกันสักที
ขอบคุณพี่ Berkaizer ที่เข้ามาแชร์ความเห็นครับ
ปล. พี่ Berkaizer ตัวจริงต้องไม่ธรรมดาแน่เลย อุตส่าห์สมัครสมาชิกแล้วเข้ามาโพสตอบกระทู้ผม ขอบคุณมากเลยครับ
รู้สึกชื่นชมกับคำสอนที่เต็มไปด้วยความห่วงใยของพี่ Picatos มานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้คุยกันสักที
ขอบคุณพี่ Berkaizer ที่เข้ามาแชร์ความเห็นครับ
ปล. พี่ Berkaizer ตัวจริงต้องไม่ธรรมดาแน่เลย อุตส่าห์สมัครสมาชิกแล้วเข้ามาโพสตอบกระทู้ผม ขอบคุณมากเลยครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 5
ไหนๆ คุณ peacedev ก็ชวนคุยแล้ว... ก็ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ครับ...
ผมเชื่อว่าระบบสมองของคนเราไม่สามารถประเมินมูลค่าเป็นค่าสัมบูรณ์ (absolute value) ได้ ความสามารถของสมองมนุษย์ทำได้แค่การให้มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ (relative value) เท่านั้น
ผมมองว่า Anchoring ของคุณ peacedev ในตลาดขาขึ้นจะยังไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่ เพราะ ซื้อสวนตอนตลาดปรับฐาน.... จะอันตรายจริงๆ ตอนก็ฟองสบู่แตก... แต่... มีคนบอกว่าเราไม่มีทางรู้เหรอว่าเราอยู่ในฟองสบู่รึเปล่า จนกว่าฟองสบู่จะแตก... ซึ่งไอ้การที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นฟองสบู่รึเปล่า เหล่านี้ก็แสดงถึงผลของ Anchoring เช่นกัน...
อย่างในตลาดหุ้น เมื่อตลาดปรับขึ้นมาเยอะๆ... เราจะทำการปรับจุดอ้างอิงในการให้มูลค่าใหม่อยู่ตลอดเวลา อาจจะเรียกมั่วๆ ว่า rebalance anchor ... เรามักจะมีข้ออ้างให้กับตัวเองอยู่เสมอว่าหุ้นยังไม่แพง... ทำให้เราหาหุ้นถือได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะบ่นกันหนัก กันหนาว่า ดัชนีปรับขึ้นมาเยอะแล้ว ตลาดแพงแล้ว... แต่สุดท้ายเราก็หาหุ้นมาถือได้อยู่ดี ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจาก Anchoring
คนที่อยู่ในฟองสบู่จะไม่รู้ตัวหรอกว่าอยู่ในฟองสบู่... เพราะ มนุษย์มีความสามารถในการปรับจุดอ้างอิง หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง... จะรู้ตัวว่าเป็นฟองสบู่ก็ต่อเมื่อ ฟองสบู่แตกไปแล้วจริงๆ ถึงจะบางอ้อว่า... นั่นมันฟองสบู่นี่หว่า...
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะรู้ว่าเราอยู่ในฟองสบู่... แต่การจะกระโดดออกจากฟองสบู่ก่อนเวลาอันควร ก็ทำให้เสียโอกาสมากมาย... เพราะ ช่วงเวลาที่ทำกำไรให้กับพอร์ตของเรามากที่สุด ก็ช่วงที่มันเป็นฟองสบู่นี่แหละ...
คำถามก็คือ แล้วเราควรที่จะทำยังไงดี? ปล่อยให้ฟองสบู่แตกก็ตาย กระโดดออกมาก่อนฟองสบู่แตกก็เสียโอกาสมากมาย... มันช่างเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเป็นอย่างยิ่ง
และ แต่ละคนมีคำตอบที่แตกต่างกันไป... ไม่มีคำตอบตายตัว... สุดท้ายแล้วขอให้ทุกท่านลงทุนอย่างมีสติ พร้อมที่จะรับกับเหตุที่ดีและร้ายที่จะผ่านเข้ามาครับ...
ผมเชื่อว่าระบบสมองของคนเราไม่สามารถประเมินมูลค่าเป็นค่าสัมบูรณ์ (absolute value) ได้ ความสามารถของสมองมนุษย์ทำได้แค่การให้มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ (relative value) เท่านั้น
ผมมองว่า Anchoring ของคุณ peacedev ในตลาดขาขึ้นจะยังไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่ เพราะ ซื้อสวนตอนตลาดปรับฐาน.... จะอันตรายจริงๆ ตอนก็ฟองสบู่แตก... แต่... มีคนบอกว่าเราไม่มีทางรู้เหรอว่าเราอยู่ในฟองสบู่รึเปล่า จนกว่าฟองสบู่จะแตก... ซึ่งไอ้การที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นฟองสบู่รึเปล่า เหล่านี้ก็แสดงถึงผลของ Anchoring เช่นกัน...
อย่างในตลาดหุ้น เมื่อตลาดปรับขึ้นมาเยอะๆ... เราจะทำการปรับจุดอ้างอิงในการให้มูลค่าใหม่อยู่ตลอดเวลา อาจจะเรียกมั่วๆ ว่า rebalance anchor ... เรามักจะมีข้ออ้างให้กับตัวเองอยู่เสมอว่าหุ้นยังไม่แพง... ทำให้เราหาหุ้นถือได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะบ่นกันหนัก กันหนาว่า ดัชนีปรับขึ้นมาเยอะแล้ว ตลาดแพงแล้ว... แต่สุดท้ายเราก็หาหุ้นมาถือได้อยู่ดี ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจาก Anchoring
คนที่อยู่ในฟองสบู่จะไม่รู้ตัวหรอกว่าอยู่ในฟองสบู่... เพราะ มนุษย์มีความสามารถในการปรับจุดอ้างอิง หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง... จะรู้ตัวว่าเป็นฟองสบู่ก็ต่อเมื่อ ฟองสบู่แตกไปแล้วจริงๆ ถึงจะบางอ้อว่า... นั่นมันฟองสบู่นี่หว่า...
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะรู้ว่าเราอยู่ในฟองสบู่... แต่การจะกระโดดออกจากฟองสบู่ก่อนเวลาอันควร ก็ทำให้เสียโอกาสมากมาย... เพราะ ช่วงเวลาที่ทำกำไรให้กับพอร์ตของเรามากที่สุด ก็ช่วงที่มันเป็นฟองสบู่นี่แหละ...
คำถามก็คือ แล้วเราควรที่จะทำยังไงดี? ปล่อยให้ฟองสบู่แตกก็ตาย กระโดดออกมาก่อนฟองสบู่แตกก็เสียโอกาสมากมาย... มันช่างเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเป็นอย่างยิ่ง
และ แต่ละคนมีคำตอบที่แตกต่างกันไป... ไม่มีคำตอบตายตัว... สุดท้ายแล้วขอให้ทุกท่านลงทุนอย่างมีสติ พร้อมที่จะรับกับเหตุที่ดีและร้ายที่จะผ่านเข้ามาครับ...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 6
คุณ picatos นี่ไม่ธรรมดาจริงๆ
ผมเห็นด้วย ที่บอกว่าหุ้นเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ
จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยซ้ำว่า หุ้นแต่ละตัวมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่
"หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?"
ขอตอบว่า ดีมากเลย มีตัง ถ้าคิดและพิจารณาดีแล้วก็ซื้อเลย
แต่อย่ากู้เงินมาซื้อหุ้น
อย่าเล่นมาร์จิ้น
อย่าชวนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมาเล่นหุ้นโดยไม่มีความรู้
ผมเห็นด้วย ที่บอกว่าหุ้นเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ
จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยซ้ำว่า หุ้นแต่ละตัวมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่
"หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?"
ขอตอบว่า ดีมากเลย มีตัง ถ้าคิดและพิจารณาดีแล้วก็ซื้อเลย
แต่อย่ากู้เงินมาซื้อหุ้น
อย่าเล่นมาร์จิ้น
อย่าชวนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมาเล่นหุ้นโดยไม่มีความรู้
Blueplanet
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแชร์มุมมองเพิ่มเติมครับ
รู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้รับการขยายมุมมองจากพี่ ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นกลางของพี่ picatos
ผมพอจะสรุปได้คร่าว ๆ ว่ามนุษย์เรายังไง ๆ ก็ต้องการการเปรียบเทียบ
ผมคิดต่อว่าน่าจะเป็นการดีที่เราเปรียบเทียบหลาย ๆ สิ่งพร้อมกันอย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น มากกว่าการเปรียบเทียบราคาเปิดปิด ราคา High หรือ Low ซึ่งมีแต่ความไม่แน่นอนและไม่มีจุดยืนที่ตายตัว
เช่น เปรียบเทียบอัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร และ ผลตอบแทนจากการลงทุนอื่น ๆ (ถ้าเป็นไปได้ต้องเปรียบเทียบความเสี่ยงด้วย) พอทำแบบนี้แล้วน่าจะได้อัตราความความน่าลงทุนได้คร่าว ๆ ครับ
และเมื่อเราไม่รู้ว่าเราอยู่จุดไหนของฟองสบู่ โดยส่วนตัวแล้วจะประเมินทั้งด้านบวกที่สุด และ ด้านลบที่สุดเอาไว้ในคราวเดียวกัน
ถ้าเรายอมรับกับปัจจัยลบที่สุดได้น้อย เมื่อเทียบกันปัจจัยบวกที่สุดที่เกิดขึ้นได้ เราก็เสี่ยงน้อยลง เช่น อาจจะกันเงินส่วนใหญ่ออกไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำน้อยลงหรือฝากธนาคาร แบบนี้เป็นต้นครับ
อย่างเช่นสมัยหุ้นตกไปแรง ๆ ไปถึงสามร้อยปลาย ๆ ผมประเมินได้ว่าด้านลบยังมีอยู่แต่ก็สู้โอกาสฟื้นตัวที่สามารถสร้างมูลค่าได้อีกมาก (ณ ตอนนี้อัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดถือว่าสูงมากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร) พอคิดได้อย่างนี้ในช่วงนั้นเลยลุยซื้อลูกเดียวเลยครับตกลงไปอีกก็ไม่เป็นไรเพราะเราประเมินได้มูลค่าตามความพอใจอย่างเต็มที่แล้ว
ตอนนี้ดัชนีฟื้นขึ้นมามากแล้ว ถ้าเอาอัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดมาเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยพันธบัตร จะได้ค่าที่น้อยลง
แบบนี้ผมก็จะลดความเสี่ยงลงมากแล้ว (ซึ่งวิธีลดความเสี่ยงของแต่ละคนก็คงจะต่าง ๆ กันออกไปครับ)
รู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้รับการขยายมุมมองจากพี่ ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นกลางของพี่ picatos
ผมพอจะสรุปได้คร่าว ๆ ว่ามนุษย์เรายังไง ๆ ก็ต้องการการเปรียบเทียบ
ผมคิดต่อว่าน่าจะเป็นการดีที่เราเปรียบเทียบหลาย ๆ สิ่งพร้อมกันอย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น มากกว่าการเปรียบเทียบราคาเปิดปิด ราคา High หรือ Low ซึ่งมีแต่ความไม่แน่นอนและไม่มีจุดยืนที่ตายตัว
เช่น เปรียบเทียบอัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร และ ผลตอบแทนจากการลงทุนอื่น ๆ (ถ้าเป็นไปได้ต้องเปรียบเทียบความเสี่ยงด้วย) พอทำแบบนี้แล้วน่าจะได้อัตราความความน่าลงทุนได้คร่าว ๆ ครับ
และเมื่อเราไม่รู้ว่าเราอยู่จุดไหนของฟองสบู่ โดยส่วนตัวแล้วจะประเมินทั้งด้านบวกที่สุด และ ด้านลบที่สุดเอาไว้ในคราวเดียวกัน
ถ้าเรายอมรับกับปัจจัยลบที่สุดได้น้อย เมื่อเทียบกันปัจจัยบวกที่สุดที่เกิดขึ้นได้ เราก็เสี่ยงน้อยลง เช่น อาจจะกันเงินส่วนใหญ่ออกไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำน้อยลงหรือฝากธนาคาร แบบนี้เป็นต้นครับ
อย่างเช่นสมัยหุ้นตกไปแรง ๆ ไปถึงสามร้อยปลาย ๆ ผมประเมินได้ว่าด้านลบยังมีอยู่แต่ก็สู้โอกาสฟื้นตัวที่สามารถสร้างมูลค่าได้อีกมาก (ณ ตอนนี้อัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดถือว่าสูงมากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร) พอคิดได้อย่างนี้ในช่วงนั้นเลยลุยซื้อลูกเดียวเลยครับตกลงไปอีกก็ไม่เป็นไรเพราะเราประเมินได้มูลค่าตามความพอใจอย่างเต็มที่แล้ว
ตอนนี้ดัชนีฟื้นขึ้นมามากแล้ว ถ้าเอาอัตราปันผลเฉลี่ยในตลาดมาเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยพันธบัตร จะได้ค่าที่น้อยลง
แบบนี้ผมก็จะลดความเสี่ยงลงมากแล้ว (ซึ่งวิธีลดความเสี่ยงของแต่ละคนก็คงจะต่าง ๆ กันออกไปครับ)
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- Skyforever
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1221
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 8
ผมเห็นด้วยกับคุณ Picatos เป็นอย่างยิ่งครับ ติดตามอ่านผลงานของคุณ Picatos มาพอสมควรแล้ว รู้สึกนับถือในมุมมองจริงๆblueplanet เขียน:คุณ picatos นี่ไม่ธรรมดาจริงๆ
ผมเห็นด้วย ที่บอกว่าหุ้นเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ
จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยซ้ำว่า หุ้นแต่ละตัวมีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไหร่
"หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?"
ขอตอบว่า ดีมากเลย มีตัง ถ้าคิดและพิจารณาดีแล้วก็ซื้อเลย
แต่อย่ากู้เงินมาซื้อหุ้น
อย่าเล่นมาร์จิ้น
อย่าชวนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมาเล่นหุ้นโดยไม่มีความรู้
แต่ผมขอเห็นตรงข้ามกับคุณ blueplanet นะครับ ในเรื่องความจำเป็นในการรู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น คือคุณ blueplanet บอกว่าไม่จำเป็นต้องไปรู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น แต่ผมว่ายิ่งจำเป็นต้องรู้
ผมขอเปรียบแบบนี้นะครับ ถ้าเราอยู่บนเรือที่ลอยอยู่บนน้ำ แล้วสายตาเราจ้องมองแต่ระดับน้ำ เวลาน้ำขึ้นมาเรื่อยๆ เราก็ไม่ค่อยรู้สึกว่าเรือลอยสูงขึ้นไปมาก เปรียบเสมือนกับการที่เรามีหุ้นอยู่ แล้วมัวแต่จับจ้องราคาหุ้น เห็นหุ้นขึ้นมาเรื่อยๆ รวมทั้งหุ้นตัวอื่นๆด้วยพร้อมทั้งข่าวดีต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสร้างฐานราคาที่สูงขึ้นๆในใจเราใหม่เรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุด จนกระทั่งฟองสบู่แตก
แต่ถ้าก่อนจะขึ้นเรือ เรามีจุดสังเกตุ เช่นสังเกตุตอไม้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เราจะสามารถตระหนักในใจได้ว่า ถ้าเรือสูงกว่าตอไม้นี้ แสดงว่าเรือขึ้นมามากไปแล้ว เราต้องลงจากเรือ และเราจะรู้ตัวเราเองเสมอว่า ระดับความสูงของเรือนั้น สูงขึ้นมามากน้อยเพียงไรเทียบกับตอไม้
ตอไม้ที่ผมว่าก็เปรียบเหมือนมูลค่าของหุ้นตัวนั้นๆ ซึ่งถ้าเราไม่รู้มูลค่าหุ้นก่อนจะซื้อ เราก็ผิดซะแล้ว เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เมื่อไหร่ควรจะสละเรือเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
- Berkaizer
- Verified User
- โพสต์: 19
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 9
หลังจากที่เขามาอ่านอีกทีมีความรู้เยอะมากที่ทุกคนให้ไว้ อ่านแล้วรู้สึกมั่นใจขึ้นเหมือนกันคับ
ผมเองก็เจอปัญหาอย่างที่เคยเล่าไปแล้ว และคิดว่ายังมีอีกหลายคนที่กำลังเจอปัญหาเช่นเดียวกันจนทำให้ลังเลที่จะตัดสินใจ
ตอนได้กำไรผมไม่ขอพูดถึง แต่ตอนผมขาดทุนเพราะเก็บหุ้นช่วงที่มันลงเนี่ยสิ ผมปลอบใจตัวเองเสมอว่า ยังไงสุดท้ายถ้าบริษัทที่เราเลือกมาเป็นธุรกิจที่เราพิจารณาแล้วว่าผ่านและมีเหตุผลมากพอที่จะรับประกันว่าเป็นธุรกิจที่ดีจริง สุดท้ายราคาของมันจะไปหาเส้นกำไรจริงๆอย่างในหนังสือว่าไว้คับ
เพราะviมักแต่งงานกับหุ้นเสมอ ถึงได้รับอะไรดีๆจากมันมากกว่านักเก็งกำไรทั่วไป
เราคงไม่โชคร้ายขนาดขาดทุนทุกรอบหรอกคับผม สู้ๆคับ อกหักกับมันจนชิน รับรองว่าจะได้เจอรักแท้จริงๆสักวัน :lovl:
ผมเองก็เจอปัญหาอย่างที่เคยเล่าไปแล้ว และคิดว่ายังมีอีกหลายคนที่กำลังเจอปัญหาเช่นเดียวกันจนทำให้ลังเลที่จะตัดสินใจ
ตอนได้กำไรผมไม่ขอพูดถึง แต่ตอนผมขาดทุนเพราะเก็บหุ้นช่วงที่มันลงเนี่ยสิ ผมปลอบใจตัวเองเสมอว่า ยังไงสุดท้ายถ้าบริษัทที่เราเลือกมาเป็นธุรกิจที่เราพิจารณาแล้วว่าผ่านและมีเหตุผลมากพอที่จะรับประกันว่าเป็นธุรกิจที่ดีจริง สุดท้ายราคาของมันจะไปหาเส้นกำไรจริงๆอย่างในหนังสือว่าไว้คับ
เพราะviมักแต่งงานกับหุ้นเสมอ ถึงได้รับอะไรดีๆจากมันมากกว่านักเก็งกำไรทั่วไป
เราคงไม่โชคร้ายขนาดขาดทุนทุกรอบหรอกคับผม สู้ๆคับ อกหักกับมันจนชิน รับรองว่าจะได้เจอรักแท้จริงๆสักวัน :lovl:
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นตกเข้าซื้อเลยดีไหม?
โพสต์ที่ 12
ผมเห็นด้วยกับ คุณ peacedev และคุณ Skyforever ในการหาจุดอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ที่มีค่าที่ไม่แกว่งมากเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับอารมณ์ตลาด
ซึ่งเมื่อเราเทียบหุ้นโดยรวม กับจุดอ้างอิงแล้วเริ่มรู้สึกว่าแพง นั่นคงเป็นสัญญาณ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้เราไม่ประมาท และให้เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ยิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งต้องระมัดระวัง
การระมัดระวังของแต่ละคนก็แตกต่างไป... บางคนระมัดระวังโดยการปรับ Asset Allocation บางคนอาจจะเลือกหุ้นกลุ่มที่ปลอดภัยขึ้น บางคนอาจจะให้ความสำคัญกับสัญญาณทางเทคนิคมากขึ้น อันนี้แล้วแต่ความถนัดส่วนบุคคล
แต่สิ่งที่อันตรายที่สุด คือ การที่ไม่รู้ว่าตลาด หรือ หุ้น ณ ขณะนี้ ถูก หรือ แพง... เราควรตั้งการ์ด หรือควรเข้าคลุกวงใน และการที่ไม่มีกลยุทธรองรับสิ่งที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น
ถัดจากการมีกลยุทธแล้ว คือ การมีสติควบคุมใจตัวเองให้ดำเนินการตามกลยุทธให้ได้... ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ยากที่สุด... เพราะ โดยธรรมชาติแล้วเราชอบเข้าข้างตัวเอง... บางทีสัญญาณทุกอย่างที่เรากำหนดเอาไว้ บอกว่าให้ขายแล้ว... แต่การทำจริงนั้นยากมาก...
ณ จุดที่สัญญาณขายที่เรากำหนดเอาไว้มาหมด... มักจะเป็นจุดที่อารมณ์มันพลุ่งพลาน สับสนเป็นที่สุด... ตัวเรามักจะหลอกตัวเองในรูปแบบต่างๆ... ซึ่งในการจะดำเนินการตามแผน ตามกลยุทธได้นั้นต้องใช้ใจที่กล้าหาญ กล้าทำ กล้ารับ ผลของการกระทำ... ณ จุดนั้น... ให้เชื่อเถอะว่า... สิ่งที่เราคิดอย่างมีเหตุผลจนกลายมาเป็นแผนแล้ว ย่อมดีกว่า ปัจจุบันขณะ ที่มีแต่อารมณ์... สงบจิตใจลงให้ได้ แล้วทำตามกลยุทธที่เราวางเอาไว้...
ผิดก็คือผิด... ผิดก็เอามาเป็นบทเรียน เอามาใช้ในการปรับกลยุทธ ในคราวหน้า...
ซึ่งเมื่อเราเทียบหุ้นโดยรวม กับจุดอ้างอิงแล้วเริ่มรู้สึกว่าแพง นั่นคงเป็นสัญญาณ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้เราไม่ประมาท และให้เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน ยิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งต้องระมัดระวัง
การระมัดระวังของแต่ละคนก็แตกต่างไป... บางคนระมัดระวังโดยการปรับ Asset Allocation บางคนอาจจะเลือกหุ้นกลุ่มที่ปลอดภัยขึ้น บางคนอาจจะให้ความสำคัญกับสัญญาณทางเทคนิคมากขึ้น อันนี้แล้วแต่ความถนัดส่วนบุคคล
แต่สิ่งที่อันตรายที่สุด คือ การที่ไม่รู้ว่าตลาด หรือ หุ้น ณ ขณะนี้ ถูก หรือ แพง... เราควรตั้งการ์ด หรือควรเข้าคลุกวงใน และการที่ไม่มีกลยุทธรองรับสิ่งที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น
ถัดจากการมีกลยุทธแล้ว คือ การมีสติควบคุมใจตัวเองให้ดำเนินการตามกลยุทธให้ได้... ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ยากที่สุด... เพราะ โดยธรรมชาติแล้วเราชอบเข้าข้างตัวเอง... บางทีสัญญาณทุกอย่างที่เรากำหนดเอาไว้ บอกว่าให้ขายแล้ว... แต่การทำจริงนั้นยากมาก...
ณ จุดที่สัญญาณขายที่เรากำหนดเอาไว้มาหมด... มักจะเป็นจุดที่อารมณ์มันพลุ่งพลาน สับสนเป็นที่สุด... ตัวเรามักจะหลอกตัวเองในรูปแบบต่างๆ... ซึ่งในการจะดำเนินการตามแผน ตามกลยุทธได้นั้นต้องใช้ใจที่กล้าหาญ กล้าทำ กล้ารับ ผลของการกระทำ... ณ จุดนั้น... ให้เชื่อเถอะว่า... สิ่งที่เราคิดอย่างมีเหตุผลจนกลายมาเป็นแผนแล้ว ย่อมดีกว่า ปัจจุบันขณะ ที่มีแต่อารมณ์... สงบจิตใจลงให้ได้ แล้วทำตามกลยุทธที่เราวางเอาไว้...
ผิดก็คือผิด... ผิดก็เอามาเป็นบทเรียน เอามาใช้ในการปรับกลยุทธ ในคราวหน้า...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?