ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 1
ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนเลยว่า
1. ผมเป็น VS ใช้เทคนิคเป็นหลักการในการเทรด ดังนั้นถ้าผิดพลาดอะไร แนะนำด้วยนะครับ
2. คำต่อไปนี้ ผมคัดลอกมาบางส่วนของหนังสือ อาจจะสื่อความหมายได้ไม่ครบถ้วน ผมต้องขออภัยมานะที่นี้
จากหนังสือ ดร.นิเวศน์ "เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้" หน้า 19
นักลงทุนพันธุ์แท้ ไม่เก็บหุ้นที่ขาดทุน ถ้าลงทุนแล้วผิดพลาด พื้นฐานเปลี่ยน ก็จะขายหุ้นนั้นทิ้ง ส่วนหุ้นที่ลงทุนไปแล้ว ผลการดำเนินการดีขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถูกเก็บไว้ยาวนาน
ซึ่งในความคิดของผม (ย้ำอีกครั้ง)
VI มักจะเลือกหุ้นที่มีกิจการพื้นฐานดี, ปันผลสม่ำเสมอ, P/E ต่ำ, หนี้สินน้อย, ....
ส่วน DSM นั้นกลับใช้หลักการที่ว่า "ถ้าหุ้นนั้นดีมีอนาคต หรือกิจการย่ำแย่ ทุกอย่างจะสะท้อนออกมาที่ราคาหุ้น"
ดังนั้น ถ้าหุ้นพื้นฐานดีมีอนาคต ราคาหุ้นก็จะต้องวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ (เขียว).....DSMer ก็จะถือหุ้นนั้นเอาไว้
แต่ถ้าหุ้นพื้นฐานไม่ดี ราคาหุ้นก็จะตกลงมา(แดง).....DSMer ก็จะเริ่มทยอยขายออกไป (เพราะถือว่ากิจการไม่ดี)
และเมื่อหุ้นเริ่มขี้นอีกครั้ง(เขียว) ก็ถือว่ากิจการกลับมาดีอีกครั้ง.....DSMer ก็จะซื้อหุ้นที่ขายไปกลับมา
บางท่านที่ไม่เคยทำ DSM อาจจะสงสัยว่า แล้วมันจะได้กำไรหรือ ผมบอกได้เลยว่า "ไม่ลองไม่รู้" หลายคนที่ทำไปแล้ว 1-2 ปี จะเห็นผลว่า มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว(ถ้าชอบเงิน ก็เอาเงินไปใช้ ถ้าชอบเงินปันผล ก็เอากำไรไปซื้อหุ้นเพิ่ม)
สรุป จะเห็นว่า หลักการของ DSM ตรงกับหลักการของ VI นั่นคือ ถ้ากิจการไม่ดี(แดง) ก็ขาย แต่ถ้ากิจการดี(เขียว) ก็ซื้อ...เพียงแต่ต้องขยันซื้อและขายมากหน่อย จึงไม่เหมาะกับ VI ที่มีอาชีพอื่นทำอยู่
1. ผมเป็น VS ใช้เทคนิคเป็นหลักการในการเทรด ดังนั้นถ้าผิดพลาดอะไร แนะนำด้วยนะครับ
2. คำต่อไปนี้ ผมคัดลอกมาบางส่วนของหนังสือ อาจจะสื่อความหมายได้ไม่ครบถ้วน ผมต้องขออภัยมานะที่นี้
จากหนังสือ ดร.นิเวศน์ "เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้" หน้า 19
นักลงทุนพันธุ์แท้ ไม่เก็บหุ้นที่ขาดทุน ถ้าลงทุนแล้วผิดพลาด พื้นฐานเปลี่ยน ก็จะขายหุ้นนั้นทิ้ง ส่วนหุ้นที่ลงทุนไปแล้ว ผลการดำเนินการดีขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถูกเก็บไว้ยาวนาน
ซึ่งในความคิดของผม (ย้ำอีกครั้ง)
VI มักจะเลือกหุ้นที่มีกิจการพื้นฐานดี, ปันผลสม่ำเสมอ, P/E ต่ำ, หนี้สินน้อย, ....
ส่วน DSM นั้นกลับใช้หลักการที่ว่า "ถ้าหุ้นนั้นดีมีอนาคต หรือกิจการย่ำแย่ ทุกอย่างจะสะท้อนออกมาที่ราคาหุ้น"
ดังนั้น ถ้าหุ้นพื้นฐานดีมีอนาคต ราคาหุ้นก็จะต้องวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ (เขียว).....DSMer ก็จะถือหุ้นนั้นเอาไว้
แต่ถ้าหุ้นพื้นฐานไม่ดี ราคาหุ้นก็จะตกลงมา(แดง).....DSMer ก็จะเริ่มทยอยขายออกไป (เพราะถือว่ากิจการไม่ดี)
และเมื่อหุ้นเริ่มขี้นอีกครั้ง(เขียว) ก็ถือว่ากิจการกลับมาดีอีกครั้ง.....DSMer ก็จะซื้อหุ้นที่ขายไปกลับมา
บางท่านที่ไม่เคยทำ DSM อาจจะสงสัยว่า แล้วมันจะได้กำไรหรือ ผมบอกได้เลยว่า "ไม่ลองไม่รู้" หลายคนที่ทำไปแล้ว 1-2 ปี จะเห็นผลว่า มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว(ถ้าชอบเงิน ก็เอาเงินไปใช้ ถ้าชอบเงินปันผล ก็เอากำไรไปซื้อหุ้นเพิ่ม)
สรุป จะเห็นว่า หลักการของ DSM ตรงกับหลักการของ VI นั่นคือ ถ้ากิจการไม่ดี(แดง) ก็ขาย แต่ถ้ากิจการดี(เขียว) ก็ซื้อ...เพียงแต่ต้องขยันซื้อและขายมากหน่อย จึงไม่เหมาะกับ VI ที่มีอาชีพอื่นทำอยู่
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 2
หาก DSM เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ผลดี
ผมคิดว่าคนที่ค้นคิดวิธีนี้น่าจะได้ Nobel prize เลยนะครับ
หากเป็นจริง งานนี้ฝรั่งยังต้องยกนิ้วให้คนไทยเลยครับ
ส่วนผมไม่มีความเห็น เพราะไม่เคยศึกษาครับ
แต่การเลือกลงทุนผมเลือกลงทุนโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน
เลือกกิจการที่มีความสามารถในการแข่งขัน ซื้อที่ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
รอให้ตลาดรับรู้คุณค่า หรือให้ราคากิจการสูงกว่าที่ควรจะเป็น ก็ขายไป
ก็เหมือนการลงทุนทุกประเภท
เลือกกิจการที่ดี ราคาถูกๆ และขายไปราคาที่ได้กำไร
(ถ้าเลือกผิดก็ต้องรีบขายแม้จะขาดทุน)
ดูๆไปหลักการนี้ก็ดูสมเหตุสมผลดีนี่ครับ
ง่ายๆไม่ซับซ้อน และมีประสิทธิผล
ตั้งแต่ใช้มาก็ได้ผลดี ไว้เมื่อไหร่หลักการนี้ใช้ไม่ได้
อาจจะต้องลองวิธีการใหม่ๆบ้างครับ..
ผมคิดว่าคนที่ค้นคิดวิธีนี้น่าจะได้ Nobel prize เลยนะครับ
หากเป็นจริง งานนี้ฝรั่งยังต้องยกนิ้วให้คนไทยเลยครับ
ส่วนผมไม่มีความเห็น เพราะไม่เคยศึกษาครับ
แต่การเลือกลงทุนผมเลือกลงทุนโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน
เลือกกิจการที่มีความสามารถในการแข่งขัน ซื้อที่ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
รอให้ตลาดรับรู้คุณค่า หรือให้ราคากิจการสูงกว่าที่ควรจะเป็น ก็ขายไป
ก็เหมือนการลงทุนทุกประเภท
เลือกกิจการที่ดี ราคาถูกๆ และขายไปราคาที่ได้กำไร
(ถ้าเลือกผิดก็ต้องรีบขายแม้จะขาดทุน)
ดูๆไปหลักการนี้ก็ดูสมเหตุสมผลดีนี่ครับ
ง่ายๆไม่ซับซ้อน และมีประสิทธิผล
ตั้งแต่ใช้มาก็ได้ผลดี ไว้เมื่อไหร่หลักการนี้ใช้ไม่ได้
อาจจะต้องลองวิธีการใหม่ๆบ้างครับ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 4
DSM ใช้เทคนิดที่รู้กันอยู่แล้ว
คือ short -and- cover แต่เอามาประยุกต์แบบเป็น step.
พวก hedge fund เองก็ใช้อยู่
DSM =
เมื่อหุ้นตก --> Short position --> stepped short and cover
เมื่อหุ้นขึ้น --> Long position --> Let the profit run.
คือ short -and- cover แต่เอามาประยุกต์แบบเป็น step.
พวก hedge fund เองก็ใช้อยู่
DSM =
เมื่อหุ้นตก --> Short position --> stepped short and cover
เมื่อหุ้นขึ้น --> Long position --> Let the profit run.
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 5
ช่วยอธิบายให้ละเอียดหน่อยได้ไหมครับ ผมไม่เข้าใจครับ
เอ่อผมเห็นคุณเด่นศรีเขียนหลักการลงที่พันทิพย์มาไม่ถึงปีไม่ใช่เหรอครับ แล้วไหงมีตั้งหลายคนใช้มา 1 -2 ปีแล้วครับ
ไม่ได้จับผิดนา
ผมชอบ DSM อยู่เรื่องนึงเหมือนกัน ผมว่ามันช่วยให้คนไม่ประเมินผลกำไรจากราคาตลาด ตลาดทำอะไรไม่ได้ แต่พอมาเจอที่คุณเขียนว่า
สรุป จะเห็นว่า หลักการของ DSM ตรงกับหลักการของ VI นั่นคือ ถ้ากิจการไม่ดี(แดง) ก็ขาย แต่ถ้ากิจการดี(เขียว) ก็ซื้อ...เพียงแต่ต้องขยันซื้อและขายมากหน่อย จึงไม่เหมาะกับ VI ที่มีอาชีพอื่นทำอยู่[/quote]
งงครับ
ถึงผมไม่ใช่ VI แต่ผมก็รู้ว่า VI ไม่ใช้ราคาตลาดเป็นตัวประเมินคุณภาพกิจการ อีกอย่าง ถ้าเขาไม่มีอะไรทำเขาก็อยู่เฉยได้
ส่วน DSMตอนแรกผมนึกว่าเขามีสมมติฐานว่าการประเมินมูลค่า หรือคุณค่าของกิจการมันยาก เขาก็เลยอาศัยตลาดเป็นตัวชี้นำหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงสม่ำเสมอ โดยไม่พยายามระบุว่ากิจการใดดีหรือไม่ดี หุ้นและกิจการประเมินค่าไม่ได้ เพียงแต่ทำกำไรทุกขั้นของการ Trade
กลุ้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อะไรอะไรก็ไม่เข้าใจ
เอ่อผมเห็นคุณเด่นศรีเขียนหลักการลงที่พันทิพย์มาไม่ถึงปีไม่ใช่เหรอครับ แล้วไหงมีตั้งหลายคนใช้มา 1 -2 ปีแล้วครับ
ไม่ได้จับผิดนา
ผมชอบ DSM อยู่เรื่องนึงเหมือนกัน ผมว่ามันช่วยให้คนไม่ประเมินผลกำไรจากราคาตลาด ตลาดทำอะไรไม่ได้ แต่พอมาเจอที่คุณเขียนว่า
สรุป จะเห็นว่า หลักการของ DSM ตรงกับหลักการของ VI นั่นคือ ถ้ากิจการไม่ดี(แดง) ก็ขาย แต่ถ้ากิจการดี(เขียว) ก็ซื้อ...เพียงแต่ต้องขยันซื้อและขายมากหน่อย จึงไม่เหมาะกับ VI ที่มีอาชีพอื่นทำอยู่[/quote]
งงครับ
ถึงผมไม่ใช่ VI แต่ผมก็รู้ว่า VI ไม่ใช้ราคาตลาดเป็นตัวประเมินคุณภาพกิจการ อีกอย่าง ถ้าเขาไม่มีอะไรทำเขาก็อยู่เฉยได้
ส่วน DSMตอนแรกผมนึกว่าเขามีสมมติฐานว่าการประเมินมูลค่า หรือคุณค่าของกิจการมันยาก เขาก็เลยอาศัยตลาดเป็นตัวชี้นำหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงสม่ำเสมอ โดยไม่พยายามระบุว่ากิจการใดดีหรือไม่ดี หุ้นและกิจการประเมินค่าไม่ได้ เพียงแต่ทำกำไรทุกขั้นของการ Trade
กลุ้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อะไรอะไรก็ไม่เข้าใจ
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 6
เดาว่า ไม่น่าจะเหมือนกันนะ
อย่างน้อยก็เรื่อง ค่าคอมมิชชั่น
VIลงทุนในกิจการ
DSMน่าจะหากำไรจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนหุ้นโดยที่มีราคาหุ้นที่ล่องลอยตามราคาและอารมณ์ตลาดมั๊ง คือต้นทุนของราคาไม่แตกต่างกับราคาในตลาดทุกๆวัน
อย่างน้อยก็เรื่อง ค่าคอมมิชชั่น
VIลงทุนในกิจการ
DSMน่าจะหากำไรจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนหุ้นโดยที่มีราคาหุ้นที่ล่องลอยตามราคาและอารมณ์ตลาดมั๊ง คือต้นทุนของราคาไม่แตกต่างกับราคาในตลาดทุกๆวัน
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 7
DSM เป็น Trading System เหมือนกับ Turtle Trading เป็น trading system
จริงๆแล้ว ผมก็คิดเหมือนคุณ CK คุณ loong_p และคุณ ba_2l แหละครับ เพียงแต่ถ้ามาอธิบายในนี้แล้ว จะยิ่งสับสนไปกันใหญ่ ผมจึงพยายามนำมาเปรียบกับวิธีของ VI เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆDSM ใช้เทคนิดที่รู้กันอยู่แล้ว
คือ short -and- cover แต่เอามาประยุกต์แบบเป็น step.
เป้าหมายของผมก็คือ ผมไม่อยากให้คนที่เป็น VI ถือหุ้นไว้อย่างเดียว แล้วปล่อยให้ราคาหุ้นมันขึ้นมันลงโดยไม่ทำอะไรเลย เพราะผมเองก็จะถือหุ้นอีกอย่างน้อย 4 ปี ตอนนี้ผมพยายามบริหารพอร์ตอยู่ตลอดเวลา จนต้นทุนหุ้นของผมลดลงทุกวันๆ จนผมสามารถซื้อหุ้นตัวอื่นได้แล้ว (อยากได้หลายตัว แต่ทุนน้อย)
จริงๆแล้ว คุณเด่นศรีใช้มาหลายปีแล้ว (เท่าที่แกเล่าให้ฟัง) แกเคยเสนอที่พันธุ์ทิพย์มาแล้ว แต่คนไม่เข้าใจ และด่าแกด้วย แกก็เลยเลิกไป แต่ปีที่แล้วหุ้นลงทั้งปี (ทั้งๆที่ผลประกอบการออกมาดี...VI งงไหม) คนก็เลยเข้าใจไอเดียของแกเอ่อผมเห็นคุณเด่นศรีเขียนหลักการลงที่พันทิพย์มาไม่ถึงปีไม่ใช่เหรอครับ แล้วไหงมีตั้งหลายคนใช้มา 1 -2 ปีแล้วครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 8
คุณ wpong ครับ ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แล้วคุณจะเข้าใจทั้งเรื่อง DSM, Short Sell, Short Against Port
โดยปกติ ถ้าคุณซื้อหุ้น 1 หุ้นที่ราคา 10 บาท แล้วขายที่ราคา 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเดาตลาด แล้วเชื่อว่าลงแน่ๆ คุณก็ขายหุ้นไปที่ราคา 20 บาท จากนั้นเมื่อลงมาถึง 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ ผลก็คือ คุณซื้อ 10 บาท ขาย 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
(Short->ขาย 20 ซื้อ 10 = กำไร 10 บาท) = ( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
จะเห็นว่าทั้งสองอันจะเป็น "ซื้อ 10 ขาย 20 เสมอ" .....คุณ wpong งงไหมครับ
ถ้าไม่งง ก็มาดูว่า "แล้วเอาหุ้นที่ไหนมาขายล่ะ?".....ถ้าคุณยืมหุ้นคนอื่นมาขาย จะเรียกว่า "Short Sell" ถ้ายืมหุ้นตัวเองมาขาย จะเรียกว่า "Short Against Port" ส่วน DSM ก็คือ "Short Against Port"
โดยปกติ ถ้าคุณซื้อหุ้น 1 หุ้นที่ราคา 10 บาท แล้วขายที่ราคา 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเดาตลาด แล้วเชื่อว่าลงแน่ๆ คุณก็ขายหุ้นไปที่ราคา 20 บาท จากนั้นเมื่อลงมาถึง 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ ผลก็คือ คุณซื้อ 10 บาท ขาย 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
(Short->ขาย 20 ซื้อ 10 = กำไร 10 บาท) = ( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
จะเห็นว่าทั้งสองอันจะเป็น "ซื้อ 10 ขาย 20 เสมอ" .....คุณ wpong งงไหมครับ
ถ้าไม่งง ก็มาดูว่า "แล้วเอาหุ้นที่ไหนมาขายล่ะ?".....ถ้าคุณยืมหุ้นคนอื่นมาขาย จะเรียกว่า "Short Sell" ถ้ายืมหุ้นตัวเองมาขาย จะเรียกว่า "Short Against Port" ส่วน DSM ก็คือ "Short Against Port"
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 9
ตอนแรกก็งงครับ แต่ถ้ามองจริงๆ ผมว่าปี46 หุ้นขึ้นเร็วและแรงเกินไปต่างหาก ทำให้ปีที่แล้วต้องเบาๆๆ ลงบ้าง ไม่งั้นคนก็ไม่กลัวตลาดนะซิ แล้วเมื่อไหร่ที่คนไม่กลัว ความน่ากลัวกำลังมาถึง........แต่ปีที่แล้วหุ้นลงทั้งปี (ทั้งๆที่ผลประกอบการออกมาดี...VI งงไหม) คนก็เลยเข้าใจไอเดียของแก
ส่วนผมว่าผมเข้าใจไอเดียของแกนะ แต่ทำไม่ได้.....เพราะหุ้นส่วนมากในปอด ทำไม่ได้จริงๆๆ และผมคงไม่มีเวลามากขนาดนั้น
ถ้าผมคิดเหมือนคนทั่วๆไป ผลตอบแทนผมก็เหมือนคนทั่วๆไป
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
- ลำชี
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 10
dsm เป็นแนวคิดของคูณเด่นศรี
รายได้หลักคือ กสงฝ มาเพิ่มหุ้นให้มากขึ้น
ถ้าราคาลงก็สะสมหุ้นให้มากขึ้น
เมื่อราคามันขึ้นมันก็มากขึ้นโดยอัตโนมัติ
เพราะฉนั้นเป็นการลงทุนที่ยาวจริงฯ
และมีวิธีดึงต้นทุนออกให้เหลือแต่กำไร
อยู่ในportเติบโต
รายได้หลักคือ กสงฝ มาเพิ่มหุ้นให้มากขึ้น
ถ้าราคาลงก็สะสมหุ้นให้มากขึ้น
เมื่อราคามันขึ้นมันก็มากขึ้นโดยอัตโนมัติ
เพราะฉนั้นเป็นการลงทุนที่ยาวจริงฯ
และมีวิธีดึงต้นทุนออกให้เหลือแต่กำไร
อยู่ในportเติบโต
ลำชี
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 11
ทั้งDSM และ VI
เหมือนกันตรง
มีตั้งแต่เป็นนักลงทุนเข้มข้น ...ไปจนถึงนักเก็งกำไรที่เข้าใจว่าเป็นการลงทุน
ต้องอดทนทั้งคู่
ส่วนใหญ่ตั้งใจลงทุนระยะยาว แต่บางครั้งก็ต้องขายออกไป(ไม่บ่อย)
มีเป้าหมายชัดเจน มีแผนการ(เมื่อไหร่ซื้อ เมื่อไหร่ขาย)
ในระยะยาวมักไม่ขาดทุน(กำไรมาก)
ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
ไม่สนใจภาวะตลาด (DSM ก็ไม่สนใจแค่ตามกระแส)
สุดท้ายหวังได้ทรัพย์สิน คือจำนวน ราคาหุ้นในพอร์ตโตขึ้น
ปล คำว่าtrading
VI ก็ต้องtradingแบบ VI เช่นแบบหุ้นห่านทองคำ
เหมือนกันตรง
มีตั้งแต่เป็นนักลงทุนเข้มข้น ...ไปจนถึงนักเก็งกำไรที่เข้าใจว่าเป็นการลงทุน
ต้องอดทนทั้งคู่
ส่วนใหญ่ตั้งใจลงทุนระยะยาว แต่บางครั้งก็ต้องขายออกไป(ไม่บ่อย)
มีเป้าหมายชัดเจน มีแผนการ(เมื่อไหร่ซื้อ เมื่อไหร่ขาย)
ในระยะยาวมักไม่ขาดทุน(กำไรมาก)
ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
ไม่สนใจภาวะตลาด (DSM ก็ไม่สนใจแค่ตามกระแส)
สุดท้ายหวังได้ทรัพย์สิน คือจำนวน ราคาหุ้นในพอร์ตโตขึ้น
ปล คำว่าtrading
VI ก็ต้องtradingแบบ VI เช่นแบบหุ้นห่านทองคำ
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 12
ประมาณว่า ถ้าเป็น vi ถือหุ้นยาวอยู่แล้ว แต่เกิดภาวะขาลงขึ้น ราคาหุ้นของบริษัทที่ดี มันลงท่าเดียว แต่กิจการยังดีเหมือนเดิม เราก็มาใช้ dsm เพื่อทำให้ซื้อหุ้นเพิ่มได้มากขึ้น โดยที่ไม่ได้ใส่เงินใหม่เข้าไป
Expecto Patronum!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 13
( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเดาตลาด แล้วเชื่อว่าลงแน่ๆ คุณก็ขายหุ้นไปที่ราคา 20 บาท จากนั้นเมื่อลงมาถึง 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ ผลก็คือ คุณซื้อ 10 บาท ขาย 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
(Short->ขาย 20 ซื้อ 10 = กำไร 10 บาท) = ( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
คุณ Jaffa ครับ แล้วถ้าเดาตลาดว่าลง แล้วเราขายไป แต่มันไม่ลงแต่กลับขึ้นเราก็ขายหมูเสียหุ้นไปฟรีๆ ไม่ใช่หรือครับ ทุกอย่างยังขึ้นอยู่กับคำว่าเดา เพราะก็ยอมรับว่าไม่มีอะไรแน่นอนไม่ใช่หรือครับ ยกเว้นมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ที่อารมณ์ของตลาดอาจไม่ตอบสนองตามนั้น
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเดาตลาด แล้วเชื่อว่าลงแน่ๆ คุณก็ขายหุ้นไปที่ราคา 20 บาท จากนั้นเมื่อลงมาถึง 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ ผลก็คือ คุณซื้อ 10 บาท ขาย 20 บาท คุณก็จะกำไร 10 บาท
(Short->ขาย 20 ซื้อ 10 = กำไร 10 บาท) = ( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
คุณ Jaffa ครับ แล้วถ้าเดาตลาดว่าลง แล้วเราขายไป แต่มันไม่ลงแต่กลับขึ้นเราก็ขายหมูเสียหุ้นไปฟรีๆ ไม่ใช่หรือครับ ทุกอย่างยังขึ้นอยู่กับคำว่าเดา เพราะก็ยอมรับว่าไม่มีอะไรแน่นอนไม่ใช่หรือครับ ยกเว้นมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ที่อารมณ์ของตลาดอาจไม่ตอบสนองตามนั้น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 14
คุณเด่นศรีเคยพูดไว้ประโยคหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว และเป็นที่มาของ DSM อันลือลั่น
"ผมมานั่งคิดว่า ทำไมฝรั่งถึงทำกำไรจากหุ้นได้ทั้งขาลงขาขึ้น"
เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของวิธีการของ DSM คือ
ทำกำไรจากหุ้น ทั้งขาขึ้น และขาลง
"ผมมานั่งคิดว่า ทำไมฝรั่งถึงทำกำไรจากหุ้นได้ทั้งขาลงขาขึ้น"
เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของวิธีการของ DSM คือ
ทำกำไรจากหุ้น ทั้งขาขึ้น และขาลง
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 16
DSM คงไม่เหมาะกับทุกคนครับ ต้องมีเวลาเฝ้าหน้าจอด้วย
1.ต้องเลือกหุ้นดีเท่านั้น หรือ หุ้นไม่ดีก็ได้ครับ
2. เหมาะกับคนเงินน้อย
3. ไม่ต้องเดาตลาดว่าจะขึ้นลงใช่หรือไม่
4.สมมติฐานคือ สักวันหุ้น ต้องขึ้น เพราะเป็นหุ้นดี แล้วจำนวนหุ้นที่เราสะสมไว้เรื่อยๆ โดยใช้จำนวนเงินเท่าเดิม ก็จะทำงานให้เรา
เอ ผมยังสงสัย
1. ถ้าหุ้นไม่มีปันผล แล้วมันจะมีประโยชน์หรือเปล่า
2. ถ้าเลือกหุ้นคิดว่าดีแล้วมันไม่ดี ราคามันจะกลับขึ้นมาหรือเปล่า
3. ถ้าเรากำหนดเสตปไว้ แล้ว ค่อยๆ ทยอยขาย ทีละ 10 เปอร์เซ้นต์ ทีนี้ ถ้ามันลงเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ 10 ขั้น เราขายหุ้นไปหมดก่อน เราจะทำยังไง จะซื้อคืนเมื่อไหร่ งง
1.ต้องเลือกหุ้นดีเท่านั้น หรือ หุ้นไม่ดีก็ได้ครับ
2. เหมาะกับคนเงินน้อย
3. ไม่ต้องเดาตลาดว่าจะขึ้นลงใช่หรือไม่
4.สมมติฐานคือ สักวันหุ้น ต้องขึ้น เพราะเป็นหุ้นดี แล้วจำนวนหุ้นที่เราสะสมไว้เรื่อยๆ โดยใช้จำนวนเงินเท่าเดิม ก็จะทำงานให้เรา
เอ ผมยังสงสัย
1. ถ้าหุ้นไม่มีปันผล แล้วมันจะมีประโยชน์หรือเปล่า
2. ถ้าเลือกหุ้นคิดว่าดีแล้วมันไม่ดี ราคามันจะกลับขึ้นมาหรือเปล่า
3. ถ้าเรากำหนดเสตปไว้ แล้ว ค่อยๆ ทยอยขาย ทีละ 10 เปอร์เซ้นต์ ทีนี้ ถ้ามันลงเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ 10 ขั้น เราขายหุ้นไปหมดก่อน เราจะทำยังไง จะซื้อคืนเมื่อไหร่ งง
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 920
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 17
ซื้อ 10 ขาย 20 กับขาย 20 แล้วซื้อ 10 มันต่างกันที่อันแรกผมกล้าพูดว่าผมกำไรแล้ว(โว้ย)....แล้วผมก็จะเอาเงินทุนผมออกมาแล้วเล่นหุ้นด้วยเงินกำไรได้อย่างสบายใจ...แต่ขายหุ้นตัวเองที่ 20 แล้วมาซื้อที่ 10 ผมไม่รู้ว่าผมกำไรหรือขาดทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 18
นั่นน่ะสิ มันนึกไม่ออกstockms เขียน:ซื้อ 10 ขาย 20 กับขาย 20 แล้วซื้อ 10 มันต่างกันที่อันแรกผมกล้าพูดว่าผมกำไรแล้ว(โว้ย)....แล้วผมก็จะเอาเงินทุนผมออกมาแล้วเล่นหุ้นด้วยเงินกำไรได้อย่างสบายใจ...แต่ขายหุ้นตัวเองที่ 20 แล้วมาซื้อที่ 10 ผมไม่รู้ว่าผมกำไรหรือขาดทุน
ใครช่วยตอบคำถามผมข้างบนให้หน่อยได้มั้ยครับ?
แล้วผมว่าถึงเวลาจะมีคนที่เคยใช้ประสบความสำเร็จ มาอธิบายอย่างละเอียดเป็นภาษาง่ายๆ และ มีตัวอย่างประกอบชัดเจน
ผมคนนึงที่รอฟังอยู่ครับ
ปล. อ้อ แล้วอีกเรื่อง ความสุขในการลงทุน มีหรือไม่ครับ
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 19
ถูกแล้วครับ ดังนั้นก่อนขายผมก็กำหนด Stop Loss ไว้ที่ 22 บาท นั่นคือถ้าหุ้นไม่ลงจริง หรือลงไปนิดแล้วแล้วเด้งขึ้น เมื่อราคาถึง 22 บาท เราก็ซื้อกลับหมด นั่นก็คือ "เราขาดทุนไปหุ้นละ 2 บาท" ->ซื้อ 22 ขาย 20คุณ Jaffa ครับ แล้วถ้าเดาตลาดว่าลง แล้วเราขายไป แต่มันไม่ลงแต่กลับขึ้นเราก็ขายหมูเสียหุ้นไปฟรีๆ ไม่ใช่หรือครับ
ดังนั้น พวก VI ควรจะแน่ใจเสียก่อนว่า ตลาดมันลงแน่ๆ แล้วจึงใช้วิธี DSM
ถูกต้องแล้วครับ แต่ไม่จำเป็นต้องเฝ้าตลอดเวลาหรอกครับ เพราะพวกคุณเป็น VI การบริหารพอร์ตแบบ DSM จะใช้เมื่อคุณต้องการจะทำครับ ไม่ได้บังคับ DSM เป็นเทคนิคในการบริหารพอร์ตเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเลือกหุ้นแต่อย่างไร ทั้ง VI และ VS ก็ใช้ได้ (ดูเรื่อง Short Sell ข้างบนประกอบ)DSM คงไม่เหมาะกับทุกคนครับ ต้องมีเวลาเฝ้าหน้าจอด้วย
อันนี้ยิ่งดีใหญ่เลยครับ สมมุติว่าคุณมีหุ้น 1 หุ้น และขายหุ้น 1 หุ้นไปในราคา 20 บาท(ก็คือตอนนี้คุณไม่มีหุ้นมือแล้ว-น่าจะตรงกับคำถาม) คุณก็มีเงินในมือ 20 บาท พอลงมาที่ 10 บาท แต่คุณมองว่าสภาพตลาดไม่ดี มันน่าจะลงได้อีก คุณก็ปล่อยให้มันลงไปจนกว่ามันจะเริ่มผงกหัวขึ้น(อาจใช้หลักการ-ขึ้นจากราคาต่ำสุด 3 ช่องราคา แล้วซื้อกลับก็ได้) สมมุติว่า 5 บาททีนี้ ถ้ามันลงเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ 10 ขั้น เราขายหุ้นไปหมดก่อน เราจะทำยังไง จะซื้อคืนเมื่อไหร่ งง
ดังนั้นเมื่อคุณมีเงิน 20 บาท แทนที่คุณจะซื้อในราคา 10 บาท (ได้ 2 หุ้น) คุณก็ซื้อได้ที่ราคา 5 บาท (ได้ตั้ง 4 หุ้น)
สมมุติว่าคุณมีเงินทุนแค่ 10 บาท แล้วคุณก็ซื้อหุ้น A ในราคา 10 บาท คุณก็ได้ 1 หุ้น และรอปันผลปีละ 1 บาท ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเกิดตลาดวิ่งขึ้นแบบไร้เหตุผลไปที่ 20 บาท คุณก็รู้ว่ามันผิดปกติ ก็ให้คุณขายออกไปแต่ขายหุ้นตัวเองที่ 20 แล้วมาซื้อที่ 10 ผมไม่รู้ว่าผมกำไรหรือขาดทุน
ผลก็คือ คุณได้เงิน 20 บาท ทีนี้หุ้นก็เริ่มลง เพราะมันขึ้นแบบไม่มีเหตุผล เมื่อหุ้นลงมาที่ 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ เมื่อคุณมีเงิน 20 บาท คุณก็ซื้อหุ้น A ราคา 10 บาท ได้ 2 หุ้น
เห็นไหมครับว่า ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย คุณก็มีอยู่ 1 หุ้นเหมือนเดิม แต่ถ้าคุณบริหารพอร์ตบ้าง คุณก็อาจจะมีหุ้นได้ถึง 2 หุ้น และรับปันผลเหมือนเดิม
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 20
DSM คือ Trading System
เป็นวิธีการตัดสินใจซื้อขายไปตาม rules ที่เราตั้งไว้
โดยไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว
วิธีการของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามสไตล์ครับ
สำคัญว่า เราขจัดตัวแปรสำคัญสองตัวออกไปจากวิธีการ
เทรดได้หรือไม่ -- คือ "ความโลภ" กับ "ความกลัว"
เป็นวิธีการตัดสินใจซื้อขายไปตาม rules ที่เราตั้งไว้
โดยไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว
วิธีการของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามสไตล์ครับ
สำคัญว่า เราขจัดตัวแปรสำคัญสองตัวออกไปจากวิธีการ
เทรดได้หรือไม่ -- คือ "ความโลภ" กับ "ความกลัว"
- Tao Investor
- Verified User
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 21
แล้วถ้าหุ้น A ไปที่ 30 ทำไงครับพี่สมมุติว่าคุณมีเงินทุนแค่ 10 บาท แล้วคุณก็ซื้อหุ้น A ในราคา 10 บาท คุณก็ได้ 1 หุ้น และรอปันผลปีละ 1 บาท ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเกิดตลาดวิ่งขึ้นแบบไร้เหตุผลไปที่ 20 บาท คุณก็รู้ว่ามันผิดปกติ ก็ให้คุณขายออกไป
ผลก็คือ คุณได้เงิน 20 บาท ทีนี้หุ้นก็เริ่มลง เพราะมันขึ้นแบบไม่มีเหตุผล เมื่อหุ้นลงมาที่ 10 บาท คุณก็ซื้อกลับ เมื่อคุณมีเงิน 20 บาท คุณก็ซื้อหุ้น A ราคา 10 บาท ได้ 2 หุ้น
เห็นไหมครับว่า ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย คุณก็มีอยู่ 1 หุ้นเหมือนเดิม แต่ถ้าคุณบริหารพอร์ตบ้าง คุณก็อาจจะมีหุ้นได้ถึง 2 หุ้น และรับปันผลเหมือนเดิม
แล้วถ้ามันขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่หยุด(อย่างไร้เหตุผล ) ทำไงครับ
แล้วถ้าเรารุ้ว่าราคามันจะลงไปที่เท่าไหร่ ทำไมเราไม่ขายหมดเลย แล้วไปรอข้างล่างล่ะครับ
Inmagination is more importan than knowledge
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 22
ก็เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะลงหรือขึ้น เลยต้องจำกัดความเสี่ยงด้วยวิธีนี้ไงคะ ถ้าลงแล้วขึ้นต่อ ถ้าขายทีเดียวหมด หุ้นก็หมด ถ้าลงจริงๆ แล้วไม่ขายก็เสียโอกาสTao Investor เขียน: แล้วถ้าหุ้น A ไปที่ 30 ทำไงครับพี่
คิดว่าต.ย.ไม่ควรเป็นเพียงหุ้นเดียวค่ะ เอาเป็นว่ามีหุ้น A จำนวน 1000 @ 10 ดีกว่านะคะ ถ้าหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ยังไม่ขายค่ะ ถ้าทำท่าจะลงแล้วค่อยขายทีละ 10% (กี่เปอร์เซ็นต์ก็แล้วแต่ถนัดค่ะ) สมมติว่าจาก 10 บาท ขึ้นไปถึง 22 แล้วลงมา 20 ก็ขาย 100 หุ้น @ 20 คราวนี้ลองมาดูเหตุการณ์สมมตินะคะ
1.กรณีที่ 1 หุ้นขึ้นต่อ ไปที่ 30 เราก็ยังเหลือหุ้นอีก 900 @ 30 กับเงินอีก 2000 (คิดง่ายๆ แบบไม่มีคอม)
2.กรณีที่ 2 หุ้นลง
ลงมาที่ 18 ขาย 100
ลงมาที่ 16 ขาย 100
ลงมาที่ 14 ขาย 100
ลงมาที่ 12 ขาย 100
สมมติว่าต่ำสุดที่ 11 แล้วกลับขึ้นไป 13 ก็ซื้อคืนหุ้นที่เราขายไปแพงกว่า (16,18,20) เราก็จะได้ส่วนต่างที่เรียกว่ากระแสเงินสดแฝง
แล้วถ้ามันขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่หยุด(อย่างไร้เหตุผล ) ทำไงครับ
ขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องขาย พอลงแล้วค่อยขายค่ะ
แล้วถ้าเรารุ้ว่าราคามันจะลงไปที่เท่าไหร่ ทำไมเราไม่ขายหมดเลย แล้วไปรอข้างล่างล่ะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 23
เพราะไม่รู้ครับ ก็เลยไม่ซื้อหมดขายหมดแล้วถ้าเรารุ้ว่าราคามันจะลงไปที่เท่าไหร่ ทำไมเราไม่ขายหมดเลย แล้วไปรอข้างล่างล่ะครับ
ถ้าผมรู้ว่าจุดสูงสุดของราคาหุ้นอยู่ที่ไหน จุดต่ำสุดอยู่ที่ไหน ก็ไม่ต้องดูพื้นฐาน
ไม่ต้องใช้ DSM ไม่ต้องอ่านข่าวเลยครับ รวยอย่างเดียว
ประเด็นหลักคือ เราไม่รู้ว่าหุ้นกำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง จุดสูงสุดอยู่ไหน
และจุดต่ำสุดเป็นเท่าไหร่
แต่เมื่อใช้ DSM ไปพักนึง ก็จะพอเดาได้แล้วครับ
- ลำชี
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 24
อยู่ที่แนวคิดครับ dsm จะยังไม่มองที่กำไรคิดแต่ว่าทำอย่างไรให้มีหุ้นมากกว่าเก่าโดยไม่เพิ่มเงินทุนและไม่สนใจสภาพตลาดเล่นตามน้ำไม่เดาตลาดซื้อ 10 ขาย 20 กับขาย 20 แล้วซื้อ 10 มันต่างกันที่อันแรกผมกล้าพูดว่าผมกำไรแล้ว(โว้ย)....แล้วผมก็จะเอาเงินทุนผมออกมาแล้วเล่นหุ้นด้วยเงินกำไรได้อย่างสบายใจ...แต่ขายหุ้นตัวเองที่ 20 แล้วมาซื้อที่ 10 ผมไม่รู้ว่าผมกำไรหรือขาดทุน
กำไรจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ นะเวลาหนึ่ง ระบบบัญชีจะบอกทั้งหมดว่าตอนนี้ port เราอยู่สถานะอย่างไร และจะทำอย่างไรไม่ให้ สะดุดเวลาเกิด
เหตุการณ์ต่างฯ
ลำชี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 25
ใช้ TT ก็ดีครับ แต่ผมใช้พร้อมกับ DSM แล้วงงๆ ตอนนี้เลยพยายามแบ่งพอร์ตไม่ทราบว่าพี่CK มีวิธีจัดการกับกองหลังอย่างไรครับ ตอนนี้ผมกำลังลองเอาturtles มาประยุกต์ใช้กับกองหลังอยู่
พอร์ตนึงก็ DSM ไปเลย พอร์ตนึงก็ TT ไปเลย
เสร็จแล้วก็ยิ่งงง :lol:
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 26
:lol: :lol: :lol: :lol:
พี่ CK เคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับ DSM ผมเห็นว่าน่าสนใจมาก ก็เลยขุดขึ้นมาแจมครับ
http://www.thaivalueinvestor.com/webboa ... A1&start=0
:lol: :lol: :lol: :lol:
พี่ CK เคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับ DSM ผมเห็นว่าน่าสนใจมาก ก็เลยขุดขึ้นมาแจมครับ
http://www.thaivalueinvestor.com/webboa ... A1&start=0
:lol: :lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 27
ผมฝากพี่ CK ด้วยนะครับ ผมแค่ช่วยอธิบายเรื่องที่มาที่ไป และหลักการเบื้องต้นของ DSM เท่านั้น
ส่วนเทคนิคการซื้อขายต่างๆ รบกวนพี่ CK ด้วยนะครับ เพราะผมเองก็ไม่เคยใช้ DSM แต่ผมใช้การ Short โดยดู Elliotte's wave และ Technical เป็นหลัก บางครั้งก็พลาด บางครั้งก็ได้...ฝากด้วยนะครับ ผมไปล่ะ (ขอเห็นแก่ตัวนิดนึง)
ส่วนเทคนิคการซื้อขายต่างๆ รบกวนพี่ CK ด้วยนะครับ เพราะผมเองก็ไม่เคยใช้ DSM แต่ผมใช้การ Short โดยดู Elliotte's wave และ Technical เป็นหลัก บางครั้งก็พลาด บางครั้งก็ได้...ฝากด้วยนะครับ ผมไปล่ะ (ขอเห็นแก่ตัวนิดนึง)
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ความเหมือนที่แตกต่างของ VI และ DSM
โพสต์ที่ 28
ป.ล.(ก่อนจาก) หลายท่านอาจจะสงสัยคำว่า "กำไร" จากการขาย Short
จริงๆแล้ว ผมอธิบาย "หลักการ" ให้ท่านเห็นภาพพจน์ว่า ทำไม Short Sell ถึงทำกำไรได้
แต่โดยเนื้อแท้แล้ว "คุณไม่ได้กำไรเป็นตัวเงิน" สิ่งที่คุณได้จริงๆ ก็คือ
1. "จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น" เช่น ซื้อ 1@10 บาท ขายไป 20 บาท ได้เงิน 20 บาท แล้วซื้อกลับที่ 10 บาท ได้ 2 หุ้น
หรือ
2. "ต้นทุนหุ้นลดลง" เช่น ซื้อ 1@10 บาท ขายไป 20 บาท ได้เงิน 20 บาท ซื้อคืน 1@10 บาท เหลือเงิน 10 บาท นั่นหมายความว่า หุ้น 1 หุ้นที่คุณซื้อคืนมา มีต้นทุนเป็น 0 บาท (ชักทุนออก 10 บาท)
ลาขาดครับ
(Short->ขาย 20 ซื้อ 10 = กำไร 10 บาท) = ( ปกติ->ซื้อ 10 ขาย 20 = กำไร 10 บาท)
จริงๆแล้ว ผมอธิบาย "หลักการ" ให้ท่านเห็นภาพพจน์ว่า ทำไม Short Sell ถึงทำกำไรได้
แต่โดยเนื้อแท้แล้ว "คุณไม่ได้กำไรเป็นตัวเงิน" สิ่งที่คุณได้จริงๆ ก็คือ
1. "จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น" เช่น ซื้อ 1@10 บาท ขายไป 20 บาท ได้เงิน 20 บาท แล้วซื้อกลับที่ 10 บาท ได้ 2 หุ้น
หรือ
2. "ต้นทุนหุ้นลดลง" เช่น ซื้อ 1@10 บาท ขายไป 20 บาท ได้เงิน 20 บาท ซื้อคืน 1@10 บาท เหลือเงิน 10 บาท นั่นหมายความว่า หุ้น 1 หุ้นที่คุณซื้อคืนมา มีต้นทุนเป็น 0 บาท (ชักทุนออก 10 บาท)
ลาขาดครับ