ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 1
จากกระทู้ กระทู้ภาษีปี 53 (ยื่น ภงด90 ทาง Net มีปัญหา ใส่ปันผลไม่ได้)
มีใครยื่น เครดิต ปันผล คณะบุคคลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วบ้างครับ?
สรุปต้องทำยังไงครับ...
1. เอาปันผลที่ได้ หาร 2 ?
2. เอาปันผลที่ได้ให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิ ?
3. ต้องให้บริษัทฯ ที่จ่ายปันผลออกหนังสือภาษีหัก ณ ที่จ่ายแยกเป็นรายบุคคลให้ใหม่ ?
4. เครดิตไม่ได้เลย ?
รบกวนเพื่อนๆ ที่ทำสำเร็จช่วยบอกหน่อยได้ไหมครับ?
มีใครยื่น เครดิต ปันผล คณะบุคคลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วบ้างครับ?
สรุปต้องทำยังไงครับ...
1. เอาปันผลที่ได้ หาร 2 ?
2. เอาปันผลที่ได้ให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิ ?
3. ต้องให้บริษัทฯ ที่จ่ายปันผลออกหนังสือภาษีหัก ณ ที่จ่ายแยกเป็นรายบุคคลให้ใหม่ ?
4. เครดิตไม่ได้เลย ?
รบกวนเพื่อนๆ ที่ทำสำเร็จช่วยบอกหน่อยได้ไหมครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 2
คณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีหน่วยใหม่เลยครับ ไม่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา
-
- Verified User
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 3
ขออภัย เพิ่งเข้าไปอ่านกระทู้ที่อ้างอิง
งงด้วยคน
สรุปว่าสรรพากรทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้คณะบุคคลลดหย่อนภาษีได้แล้ว
งงด้วยคน
สรุปว่าสรรพากรทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้คณะบุคคลลดหย่อนภาษีได้แล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 4
ผมอธิบายตามความเข้าใจของผมแล้วกันนะครับ
1.สรรพากร ตีความว่า เฉพาะบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเท่านั้น ถึงมีสิทธิถือหุ้นบริษัท (อ้างตาม มาตรา 15 ,65 , 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ) ดังนั้นหนังสือรับรองการหักภาษีณ.ที่จ่ายในนามคณะบุคคล จึงผิดหมด ต้องออกใหม่เป็นในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคน ที่ร่วมคณะ ตามสัดส่วนที่ถือหุ้น
2.ตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าคณะบุคคล ก็เหมือนบุคคลธรรมดา จึงอนุญาติให้ คณะบุคคลมีสิทธิถือหุ้น (ซึ่งแต่เดิมสรรพากรก็ตีความว่าได้ เพิ่งมาเปลี่ยนในปีนี้ ) แต่ปัญหาคือ พอถือหนังสือรับรองการหักภาษีมาขอคืน สรรพากรก็ไม่ยอมรับ เพราะถือว่า คณะบุคคลไม่มีสิทธิถือหุ้นแต่แรกอยู่แล้ว
3.คณะบุคคลก็ยังคงเป็นหน่วยภาษีแยกจากบุคคลธรรมดาเหมือนเดิม สามารถมีรายได้อย่างอื่นได้ แต่มีรายได้เงินปันผลไม่ได้
4.ถ้าจะให้ถูกต้องตามสรรพากรกำหนด ก็ต้องไปให้ TSD ออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ.ที่จ่ายใหม่ โดยยกเลิกฉบับเดิมที่ออกในนามคณะบุคคล แล้วออกใหม่ในนามบุคคลธรรมดา ตามสัดส่วนที่ถือหุ้น แต่ผมว่าในทางปฏิบัติคงยุ่งน่าดู เพราะหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ถูกหักณ.ที่จ่ายคงสับสนแน่
อ่านคำอธิบายได้จาก web กรรมสรรพากรตามนี้ครับ
http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
1.สรรพากร ตีความว่า เฉพาะบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเท่านั้น ถึงมีสิทธิถือหุ้นบริษัท (อ้างตาม มาตรา 15 ,65 , 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ) ดังนั้นหนังสือรับรองการหักภาษีณ.ที่จ่ายในนามคณะบุคคล จึงผิดหมด ต้องออกใหม่เป็นในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคน ที่ร่วมคณะ ตามสัดส่วนที่ถือหุ้น
2.ตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าคณะบุคคล ก็เหมือนบุคคลธรรมดา จึงอนุญาติให้ คณะบุคคลมีสิทธิถือหุ้น (ซึ่งแต่เดิมสรรพากรก็ตีความว่าได้ เพิ่งมาเปลี่ยนในปีนี้ ) แต่ปัญหาคือ พอถือหนังสือรับรองการหักภาษีมาขอคืน สรรพากรก็ไม่ยอมรับ เพราะถือว่า คณะบุคคลไม่มีสิทธิถือหุ้นแต่แรกอยู่แล้ว
3.คณะบุคคลก็ยังคงเป็นหน่วยภาษีแยกจากบุคคลธรรมดาเหมือนเดิม สามารถมีรายได้อย่างอื่นได้ แต่มีรายได้เงินปันผลไม่ได้
4.ถ้าจะให้ถูกต้องตามสรรพากรกำหนด ก็ต้องไปให้ TSD ออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ.ที่จ่ายใหม่ โดยยกเลิกฉบับเดิมที่ออกในนามคณะบุคคล แล้วออกใหม่ในนามบุคคลธรรมดา ตามสัดส่วนที่ถือหุ้น แต่ผมว่าในทางปฏิบัติคงยุ่งน่าดู เพราะหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ถูกหักณ.ที่จ่ายคงสับสนแน่
อ่านคำอธิบายได้จาก web กรรมสรรพากรตามนี้ครับ
http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 5
http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
เลขที่ : 409791
เรื่อง : เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นร่วมกัน ถือเป็นเงินได้ของแต่ละบุคคล
คำถาม : นาย ก. และ นาย ข. ร่วมกันถือหุ้นในบริษัท เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลจะนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ นาย ก. และ นาย ข. เปิดบัญชีร่วมกัน บริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร และเงินปันผลดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของคณะบุคคลถูกต้องหรือไม่
คำตอบ : ตามมาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 กำหนดว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปสามารถถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกันได้ ซึ่งคำว่า “บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดว่า คณะบุคคลไม่มีสภาพเป็นบุคคล ดังนั้น การถือหุ้นในบริษัทๆ จะต้องมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ในการถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน ประกอบด้วยบุคคลใดร่วมถือหุ้นบ้าง และกรณีร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นต้องระบุจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ รวมทั้งระบุว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น ส่วนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าว ต้องจ่ายให้กับบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น และเงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ที่ร่วมกันถือหุ้นทุกคน
กรณีบริษัทจ่ายเงินปันผลให้กับนาย ก. และ นาย ข. ที่ร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นในบริษัทดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้กับนาย ก. และ นาย ข. คนละฉบับตามจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ บริษัทไม่สามารถออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามคณะบุคคล
ส่วนการนำเงินปันผลดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นาย ก. และ นาย ข. จะต้องนำเงินปันผลดังกล่าวที่ได้รับตามจำนวนหุ้นที่ถือมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของแต่ละบุคคล
มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ผมว่าน่าจะมีการนำข้อกฎหมายมานำเสนอ แล้วใส่ความความเห็นส่วนตัวลงไป เพื่อจะสรุปให้เป็นแบบที่อยากให้เป็น
กรณีนี้กำลังบอกว่าคณะบุคคลไม่มีสภาพเป็นบุคคล แต่ไม่ได้บอกว่าทำไมนิติบุคคลจึงมีสภาพเป็นบุคคล
เลขที่ : 409791
เรื่อง : เงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นร่วมกัน ถือเป็นเงินได้ของแต่ละบุคคล
คำถาม : นาย ก. และ นาย ข. ร่วมกันถือหุ้นในบริษัท เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลจะนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ นาย ก. และ นาย ข. เปิดบัญชีร่วมกัน บริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร และเงินปันผลดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของคณะบุคคลถูกต้องหรือไม่
คำตอบ : ตามมาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 กำหนดว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปสามารถถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกันได้ ซึ่งคำว่า “บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดว่า คณะบุคคลไม่มีสภาพเป็นบุคคล ดังนั้น การถือหุ้นในบริษัทๆ จะต้องมีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ในการถือหุ้นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน ประกอบด้วยบุคคลใดร่วมถือหุ้นบ้าง และกรณีร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นต้องระบุจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ รวมทั้งระบุว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้น ส่วนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าว ต้องจ่ายให้กับบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น และเงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ที่ร่วมกันถือหุ้นทุกคน
กรณีบริษัทจ่ายเงินปันผลให้กับนาย ก. และ นาย ข. ที่ร่วมกันถือหุ้นหลายหุ้นในบริษัทดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้กับนาย ก. และ นาย ข. คนละฉบับตามจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือ บริษัทไม่สามารถออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามคณะบุคคล
ส่วนการนำเงินปันผลดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นาย ก. และ นาย ข. จะต้องนำเงินปันผลดังกล่าวที่ได้รับตามจำนวนหุ้นที่ถือมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของแต่ละบุคคล
มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ผมว่าน่าจะมีการนำข้อกฎหมายมานำเสนอ แล้วใส่ความความเห็นส่วนตัวลงไป เพื่อจะสรุปให้เป็นแบบที่อยากให้เป็น
กรณีนี้กำลังบอกว่าคณะบุคคลไม่มีสภาพเป็นบุคคล แต่ไม่ได้บอกว่าทำไมนิติบุคคลจึงมีสภาพเป็นบุคคล
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 6
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น
อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
มาตรา 53 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกมิได้
ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจองหุ้น หรือถือหุ้น หุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันในการส่งใช้เงินค่าหุ้นและเงินที่สูงกว่ามูลค่าหุ้น และต้องแต่งตั้งให้บุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิใน ฐานะเป็นผู้จองหุ้นหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
มาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น
อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
มาตรา 53 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกมิได้
ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจองหุ้น หรือถือหุ้น หุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันในการส่งใช้เงินค่าหุ้นและเงินที่สูงกว่ามูลค่าหุ้น และต้องแต่งตั้งให้บุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิใน ฐานะเป็นผู้จองหุ้นหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
"Price is what you pay. Value is what you get."
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 8
อ่านดูแล้วKao เขียน:กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น
อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
มาตรา 53 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกมิได้
ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจองหุ้น หรือถือหุ้น หุ้นเดียวหรือหลายหุ้นร่วมกัน บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันในการส่งใช้เงินค่าหุ้นและเงินที่สูงกว่ามูลค่าหุ้น และต้องแต่งตั้งให้บุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิใน ฐานะเป็นผู้จองหุ้นหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
มาตรา 1118 กับ มาตรา 56 วรรคสอง
มันขัดแย้งกันอยู่ บอกให้ทำกันไปคนละอย่าง
ทั้งสองมาตราก็อยู่ในระดับประมวลกฏหมายเหมือนกัน
คงต้องให้ศาลเปนผู้ตัดสินแล้วหละครับ
แต่ถ้าต้องไปทำแบบที่สรรพากรแนะนำ http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
ตลาดหลักทรัพย์คงยุ่งตาย5555555เลย
แต่อย่างว่าก็เปนความผิดของตลาดตลาดหลักทรัพย์แหละ ชอบทำอะไรขัดกับ ปม แพ่งและพาณิชย์ ทำไปได้ตั้งหลายมาตรา เช่น 1117 ,1118 และน่าจะมีอีกหลายมาตรา
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 9
การหลีกเลี่ยงภาษีโดยเจตนาเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(3) บริษัทจำกัด
มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ บริษัททั้งหลายนั้น ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับจัดตั้งขึ้น
มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติ แห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณี ที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็น วันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้ นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด
มาตรา 17 ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่า ตายพร้อมกัน
มาตรา 18 สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อม เสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจ ให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความ เสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 67 ภายใต้บังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดย สภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา 68 ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงาน ใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 69 ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งทำการหลายแห่ง หรือมี สำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการหรือของ สำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย
มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตาม ที่กฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้
ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา 71 ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนิน กิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้แทนของ นิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 72 การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
มาตรา 73 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความ เสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาล จะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
มาตรา 74 ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้ เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะ เป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
มาตรา 75 ถ้ากรณีตาม มาตรา 74 เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของ นิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอ จะเป็นองค์ประชุมหรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่อง นี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความใน มาตรา 73 มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทน เฉพาะการโดยอนุโลม
มาตรา 76 ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือ ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่น เกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบ วัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าว ตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการ ดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายนั้น
มาตรา 77 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมาย นี้ มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของ นิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคล ภายนอก โดยอนุโลม
ประมวลรัษฎากร
มาตรา 56 ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง (ขยายเวลาชำระภาษีของผู้ออกจากราชการ) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 16) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
(1) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท
(2) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท
(3) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท หรือ
(4) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป)
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28)
:: พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตราที่ 50-66
:: หมวด 5 หุ้นและผู้ถือหุ้น
มาตรา 50 หุ้นของบริษัทแต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน และมีมูลค่าหุ้นละ ไม่ต่ำกว่าห้าบาท
มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทจะเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียน ไว้ บริษัทต้องให้ผู้จองหุ้นส่งใช้จำนวนเงินที่สูงกว่ามูลค่าหุ้นพร้อมกับ เงินค่าหุ้น และนำค่าหุ้นส่วนที่เกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรองส่วนล้ำมูลค่า หุ้นแยกต่างหากจากทุนสำรองตาม มาตรา 116
มาตรา 52 บริษัทซึ่งดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ถ้าปรากฏว่ามี การขาดทุนจะเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ก็ได้แต่ต้อง
(1) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) กำหนดอัตราส่วนลดไว้แน่นอน และระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย และ
(3) ปฏิบัติตาม มาตรา 137 โดยอนุโลม
มาตรา 53 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกมิได้
ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจองหุ้น หรือถือหุ้น หุ้นเดียวหรือหลายหุ้น ร่วมกัน บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันในการส่งใช้เงินค่าหุ้นและเงินที่สูง กว่ามูลค่าหุ้น และต้องแต่งตั้งให้บุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้ สิทธิในฐานะเป็นผู้จองหุ้นหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 54 ภายใต้บังคับ มาตรา 35 (5) และ มาตรา 52 หุ้นทุกหุ้น ต้องใช้เป็นเงินครั้งเดียวจนเต็มมูลค่า
ในการชำระค่าหุ้น ผู้จองหุ้นหรือผู้ซื้อหุ้นจะขอหักกลบลบหนี้กับบริษัทไม่ได้
มาตรา 55 บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ซื้อภายในสองเดือนนับแต่ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือนับแต่วันที่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบ ถ้วนในกรณีที่บริษัทจำหน่ายหุ้นที่เหลือหรือจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังการจด ทะเบียนบริษัท
ห้ามมิให้ออกใบหุ้นให้แก่บุคคลใดจนกว่าจะมีการจดทะเบียนบริษัทหรือจด ทะเบียนเพิ่มทุนและบุคคลนั้นได้ชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว
บหุ้นที่ออกโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคสองเป็นโมฆะ
มาตรา 56 ใบหุ้นนั้นอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อบริษัท
(2) เลขทะเบียนบริษัท และวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท
(3) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้น และจำนวนหุ้น
(4) ชื่อผู้ถือหุ้น
(5) ลายมือชื่อกรรมการซึ่งลงหรือพิมพ์ไว้อย่างน้อยหนึ่งคน แต่กรรม การจะมอบหมายให้นายทะเบียนหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ลงหรือพิมพ์ลายมือชื่อแทนก็ได้
(6) วันเดือนปีที่ออกใบหุ้น
มาตรา 57 บริษัทจะกำหนดข้อจำกัดใด ๆ ในการโอนหุ้นมิได้เว้นแต่ข้อ จำกัดนั้น ๆ จะเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตาม กฎหมาย หรือเพื่อเป็นการรักษาอัตราส่วนการถือหุ้นของคนไทยกับคนต่างด้าว
ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะโอนหุ้นที่ซื้อตาม มาตรา 17 (3) ก่อนครบกำหนด สองปีนับแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้วมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 58 การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้นโดยระบุ ชื่อผู้รับโอน และลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับ โอนการโอนหุ้นนั้นจะใช้ยันบริษัทได้ เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียน การโอนหุ้นแล้ว แต่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการ โอนหุ้นแล้ว ในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ให้ บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายในสิบสี่วันนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้นหรือหาก บริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน เจ็ดวัน
ในกรณีที่ผู้รับโอนหุ้นประสงค์จะได้ใบหุ้นใหม่ ให้ร้องขอต่อบริษัทโดยทำ เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้น และมีพยานหนึ่งคนเป็นอย่างน้อยลง ลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อนั้น พร้อมทั้งเวนคืนใบหุ้นเดิมหรือหลักฐานอื่นให้แก่ บริษัท ในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำร้องขอ และให้ บริษัทออกใบหุ้นให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้น
มาตรา 59 ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตายหรือล้มละลาย อันเป็นเหตุให้ บุคคลใดมีสิทธิในหุ้นนั้น ถ้าบุคคลนั้นได้นำหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายมาแสดง ครบถ้วนแล้ว ให้บริษัทลงทะเบียนและออกใบหุ้นให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่ วันได้รับหลักฐานครบถ้วน
มาตรา 60 ในระหว่างยี่สิบเอ็ดวันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้งบริษัท จะงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นก็ได้ โดยประกาศให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัททุกแห่ง ไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวัน เริ่มงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น
มาตรา 61 บริษัทต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้น
(2) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้น และจำนวนหุ้น
(3) วันเดือนปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา 62 บริษัทต้องเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐานประกอบ การลงทะเบียนไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท แต่บริษัทจะมอบหมายให้บุคคล ใดทำหน้าที่เก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐานประกอบการลงทะเบียนแทน บริษัทไว้ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบถึงผู้เก็บ รักษาทะเบียนดังกล่าว
ในกรณีที่ทะเบียนผู้ถือหุ้นสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ บริษัทแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบหรือควรจะได้ทราบถึง การสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดนั้นและจัดทำหรือซ่อมแซมทะเบียนผู้ถือหุ้นให้ เสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่แจ้ง
ทะเบียนผู้ถือหุ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง
มาตรา 63 ผู้ถือหุ้นมีสิทธิขอตรวจรายการในทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐาน ประกอบการลงทะเบียนได้ ในระหว่างเวลาทำการของผู้เก็บรักษาทะเบียนผู้ ถือหุ้น ในการนี้ผู้เก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นจะกำหนดเวลาไว้ก็ได้แต่ต้องไม่ น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นขอสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นทั้งหมด หรือบางส่วนพร้อมด้วย คำรับรองของบริษัทว่าถูกต้อง หรือขอให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นที่สูญ หาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญและได้เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับ ของบริษัทให้แก่บริษัทแล้ว บริษัทต้องจัดทำหรือออกให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในสิบสี่ วันนับแต่วันได้รับคำขอ
หุ้นที่สูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดที่ได้มีการออกใบหุ้นใหม่แทนแล้วให้ ถือว่าเป็นอันยกเลิก
ค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับของบริษัทตามวรรคสอง ต้องไม่เกินอัตราที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 64 บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในวันประชุมสามัญประ จำปี โดยมีรายการตาม มาตรา 39 วรรคสอง ต่อนายทะเบียนภายในหนึ่ง เดือนนับแต่วันเสร็จการประชุม
มาตรา 65 บุริมสิทธิในหุ้นซึ่งได้ออกให้แล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้
การแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญจะกระทำมิได้ เว้นแต่บริษัทจะมีข้อบัง คับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในการนี้ให้ทำได้โดยผู้ถือหุ้นยื่นคำขอแปลงหุ้นต่อ บริษัทพร้อมกับส่งมอบใบหุ้นคืน
การแปลงหุ้นตามวรรคสองให้มีผลนับแต่วันยื่นคำขอ ในการนี้ให้บริษัท ออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ขอภายในสิบสี่วันนับแต่วันได้รับคำขอ
มาตรา 66 บริษัทจะเป็นเจ้าของหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของตนเองมิได้
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
เลขที่หนังสือ : กค 0811/05486
วันที่ : 7 พฤษภาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระภาษีของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 39, มาตรา 40 (4), มาตรา 47 (7) (ข),มาตรา 48 (3), มาตรา 50 (2), มาตรา 65 ทวิ, มาตรา 65 ตรี, มาตรา 77/1 (10) (ข),มาตรา 82/5 (6), กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528
ข้อหารือ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้พิจารณาให้ใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก่ บลจ. ก. ในการประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ก. จะต้องเสียภาษีอากร อย่างไรบ้าง
แนววินิจฉัย : ผู้เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคล คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่นำไปมอบให้บริษัทที่ได้รับ
อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะ
ได้รับ แยกตามสถานะของผู้มีเงินได้จะมีภาระภาษีดังนี้
1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา จะมีภาระภาษีแยกตามประเภทต่าง ๆ ของเงินได้
ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์
ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้
จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดย
เฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรือ
อุตสาหกรรม อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้โดยไม่ต้องนำไป
รวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร และหาก
ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปี สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้
รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย
โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ
อุตสาหกรรม ตามมาตรา 48 (3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
กรณีผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีภูมิลำเนาใน
ประเทศไทยหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้ดังกล่าวจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง
ขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น
ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตใน
การคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ค) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
และผู้มีเงินได้เป็นผู้ทรงคนแรก อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตาม
มาตรา 50 (2) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 โดย
ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีตามมาตรา 48 (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้
จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (23)
กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้
จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่
ได้จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ก) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในอนุสัญญาภาษีซ้อนบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(จ) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หากได้
รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน อยู่
ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข) แห่ง
ประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ค)
แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 (30) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออก
ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196
(พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
2. กรณีผู้มีเงินได้เป็นกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กลุ่มบุคคล
ดังกล่าวมีฐานะเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งมีภาระภาษีเช่นเดียวกับ 1. โดยผู้อำนวยการ
หรือผู้จัดการเป็นผู้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในนามของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม
มาตรา 56 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวประกอบด้วย สามี ภรรยา
โดยชอบด้วยกฎหมายและความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี
3. กรณีผู้มีเงินได้มีฐานะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มี
หน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือน
มีนาคมทุก ๆ ปี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
4. กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
ผู้มีเงินได้ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะ
มีภาระภาษีดังนี้
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
(ก) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นธนาคารตามกฎหมาย
ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน
ประเทศไทย อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ข้อ 4 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
(ข) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม สถาบันการเงินที่
มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม
หรืออุตสาหกรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยหรือ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงบริษัทตาม (1) และ (2) ของข้อ 5
แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0
ตามข้อ 5 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
(ค) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้
ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ที่จ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทยอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ
15 เว้นแต่เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีในอัตรา
ร้อยละ 10 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
กฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยนั้น จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศที่มี
อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ภาระภาษีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติในอนุสัญญา
ดังกล่าว
(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ผู้มีเงินได้
ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากได้รับ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก
ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ที่ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้จ่ายอยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ใน
อัตราร้อยละ 10.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ข้อ 4 (2)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ
ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อื่นมิใช่
รายได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใน
อัตราร้อยละ 10 และกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับการ
ลดอัตราภาษีลงเหลือร้อยละ 2
5. กรณีผู้มีเงินได้เป็น วัด มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47
(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีแต่อย่างใด
6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกองทุนส่วนบุคคลเป็นการนำทรัพย์สินไปลงทุนโดยการนำ
เงินไปฝากธนาคาร ซื้อหลักทรัพย์ ไม่อยู่ในความหมายของ "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนส่วนบุคคลจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่อยู่ในบังคับ
ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ากองทุนส่วนบุคคลของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูก
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม
มาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้ : 61/26656
เลขที่หนังสือ : กค 0702/373
วันที่ : 4 มีนาคม 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 41 มาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ สมาคม ข. หารือเกี่ยวกับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล โดยมีรายละเอียดสรุปความได้ดังนี้
1. ความหมายและประเภทของกองทุนส่วนบุคคล
กองทุนส่วนบุคคลเป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคล (หมายความรวมถึงนิติบุคคล) ที่ให้จัดการลงทุน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำเป็นทางการค้าปกติ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น กองทุนส่วนบุคคลจึงมีสถานภาพเป็นไปตามสถานภาพของบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน กล่าวคือ หากเจ้าของทรัพย์สินเป็นบุคคลธรรมดา กองทุนส่วนบุคคลจะมีสถานภาพเป็นบุคคลธรรมดา แต่หากเจ้าของทรัพย์สิน เป็นนิติบุคคล กองทุนส่วนบุคคลก็จะมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
2. การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ในการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนั้น บุคคลหรือคณะบุคคลผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นต้องทำสัญญา มอบหมายให้บริษัทจัดการ ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วน บุคคลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ทำการแทน เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งการลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลนั้น เจ้าของหลักทรัพย์หรือเจ้าของทรัพย์สินยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าว และเจ้าของหลักทรัพย์ หรือเจ้าของทรัพย์สินสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนร่วมกับบริษัทจัดการได้ โดยบริษัทจัดการจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินใดๆ ภายใต้กรอบและข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากับลูกค้าเท่านั้น ดังนั้น บุคคลผู้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรง คือเจ้าของหลักทรัพย์หรือ เจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตน โดยนำไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการหรือลูกค้าให้ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งรับมอบ ส่งมอบ ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจนับทรัพย์สิน ทำทะเบียนทรัพย์สิน ติดตามสิทธิประโยชน์จากการลงทุน และจัดทำรายงานให้บริษัทจัดการทราบ
3. เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงาน ก.ล.ต. กำลังพิจารณาอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล นำทรัพย์สินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่เสนอขายในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยกองทุนส่วนบุคคล ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อคน และกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์- สหรัฐอเมริกาต่อราย ดังนี้
3.1 หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน
3.2 หลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
3.3 หลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน
3.4 หลักทรัพย์ประเภทตราสารอนุพันธ์และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
3.5 หลักทรัพย์ประเภทเงินฝากและตราสารเทียบเท่าเงินสด
3.6 หลักทรัพย์อื่นๆ
4. การลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ข้างต้น จะก่อให้เกิดรายได้ ดังนี้
4.1 เงินปันผล
4.2 ดอกเบี้ยรับ
4.3 กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์
4.4 ส่วนลดรับ
4.5 กำไรที่เกิดจากการนำกำไรที่ได้รับไปลงทุนต่อ
4.6 อื่นๆ เช่น กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
สมาคมฯ จึงขอทราบว่า กรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนำเงินไปลงทุนที่ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล จะมีภาระภาษีอย่างไร
แนววินิจฉัย กรณีบุคคลทำสัญญามอบหมายให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล นำหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของผู้มอบหมาย ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่ ต่างประเทศ ในฐานะเป็นผู้ทำการแทน บุคคลผู้มอบหมาย โดยผู้มอบหมายยังคงมีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเป็นผู้รับประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าว ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศ ย่อมเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีตาม กฎหมายของประเทศที่ได้เข้าไปลงทุน และอาจมีภาระภาษีในประเทศไทย ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในประเทศไทยใน ปีภาษีที่ได้รับเงินได้ และนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้ จะ ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เงินได้ ที่ได้รับถือเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี หากบุคคลผู้มีเงินได้ตาม 1. และ 2. เป็นบุคคลตามอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกัน การเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีอากรแล้วแต่ที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว
เลขตู้ : 71/35667
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้ง ให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น อนึ่ง บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัท ในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น
ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(3) บริษัทจำกัด
มาตรา 1014 บรรดาสำนักงานสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ บริษัททั้งหลายนั้น ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งบัญชาการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับจัดตั้งขึ้น
มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติ แห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น
ส่วนที่ 1 สภาพบุคคล
มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณี ที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็น วันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้ นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด
มาตรา 17 ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่า ตายพร้อมกัน
มาตรา 18 สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อม เสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจ ให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความ เสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
หมวด 2 นิติบุคคล ส่วนที่ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 67 ภายใต้บังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดย สภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา 68 ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงาน ใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 69 ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งทำการหลายแห่ง หรือมี สำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของที่ทำการหรือของ สำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย
มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตาม ที่กฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้
ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา 71 ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนิน กิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้แทนของ นิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 72 การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
มาตรา 73 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความ เสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาล จะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
มาตรา 74 ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้ เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะ เป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
มาตรา 75 ถ้ากรณีตาม มาตรา 74 เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของ นิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอ จะเป็นองค์ประชุมหรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่อง นี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความใน มาตรา 73 มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทน เฉพาะการโดยอนุโลม
มาตรา 76 ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือ ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่น เกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบ วัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าว ตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการ ดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายนั้น
มาตรา 77 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมาย นี้ มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของ นิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคล ภายนอก โดยอนุโลม
ประมวลรัษฎากร
มาตรา 56 ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง (ขยายเวลาชำระภาษีของผู้ออกจากราชการ) )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 16) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 104) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 124) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
(1) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท
(2) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท
(3) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท หรือ
(4) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป)
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 28)
:: พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตราที่ 50-66
:: หมวด 5 หุ้นและผู้ถือหุ้น
มาตรา 50 หุ้นของบริษัทแต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน และมีมูลค่าหุ้นละ ไม่ต่ำกว่าห้าบาท
มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทจะเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียน ไว้ บริษัทต้องให้ผู้จองหุ้นส่งใช้จำนวนเงินที่สูงกว่ามูลค่าหุ้นพร้อมกับ เงินค่าหุ้น และนำค่าหุ้นส่วนที่เกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรองส่วนล้ำมูลค่า หุ้นแยกต่างหากจากทุนสำรองตาม มาตรา 116
มาตรา 52 บริษัทซึ่งดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ถ้าปรากฏว่ามี การขาดทุนจะเสนอขายหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ก็ได้แต่ต้อง
(1) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) กำหนดอัตราส่วนลดไว้แน่นอน และระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย และ
(3) ปฏิบัติตาม มาตรา 137 โดยอนุโลม
มาตรา 53 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกมิได้
ถ้าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจองหุ้น หรือถือหุ้น หุ้นเดียวหรือหลายหุ้น ร่วมกัน บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันในการส่งใช้เงินค่าหุ้นและเงินที่สูง กว่ามูลค่าหุ้น และต้องแต่งตั้งให้บุคคลในจำนวนนั้นแต่เพียงคนเดียวเป็นผู้ใช้ สิทธิในฐานะเป็นผู้จองหุ้นหรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
มาตรา 54 ภายใต้บังคับ มาตรา 35 (5) และ มาตรา 52 หุ้นทุกหุ้น ต้องใช้เป็นเงินครั้งเดียวจนเต็มมูลค่า
ในการชำระค่าหุ้น ผู้จองหุ้นหรือผู้ซื้อหุ้นจะขอหักกลบลบหนี้กับบริษัทไม่ได้
มาตรา 55 บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ซื้อภายในสองเดือนนับแต่ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือนับแต่วันที่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบ ถ้วนในกรณีที่บริษัทจำหน่ายหุ้นที่เหลือหรือจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังการจด ทะเบียนบริษัท
ห้ามมิให้ออกใบหุ้นให้แก่บุคคลใดจนกว่าจะมีการจดทะเบียนบริษัทหรือจด ทะเบียนเพิ่มทุนและบุคคลนั้นได้ชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว
บหุ้นที่ออกโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคสองเป็นโมฆะ
มาตรา 56 ใบหุ้นนั้นอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อบริษัท
(2) เลขทะเบียนบริษัท และวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท
(3) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้น และจำนวนหุ้น
(4) ชื่อผู้ถือหุ้น
(5) ลายมือชื่อกรรมการซึ่งลงหรือพิมพ์ไว้อย่างน้อยหนึ่งคน แต่กรรม การจะมอบหมายให้นายทะเบียนหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ลงหรือพิมพ์ลายมือชื่อแทนก็ได้
(6) วันเดือนปีที่ออกใบหุ้น
มาตรา 57 บริษัทจะกำหนดข้อจำกัดใด ๆ ในการโอนหุ้นมิได้เว้นแต่ข้อ จำกัดนั้น ๆ จะเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตาม กฎหมาย หรือเพื่อเป็นการรักษาอัตราส่วนการถือหุ้นของคนไทยกับคนต่างด้าว
ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะโอนหุ้นที่ซื้อตาม มาตรา 17 (3) ก่อนครบกำหนด สองปีนับแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้วมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบ จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มาตรา 58 การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้นโดยระบุ ชื่อผู้รับโอน และลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนและส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับ โอนการโอนหุ้นนั้นจะใช้ยันบริษัทได้ เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียน การโอนหุ้นแล้ว แต่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการ โอนหุ้นแล้ว ในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ให้ บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายในสิบสี่วันนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้นหรือหาก บริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน เจ็ดวัน
ในกรณีที่ผู้รับโอนหุ้นประสงค์จะได้ใบหุ้นใหม่ ให้ร้องขอต่อบริษัทโดยทำ เป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้น และมีพยานหนึ่งคนเป็นอย่างน้อยลง ลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อนั้น พร้อมทั้งเวนคืนใบหุ้นเดิมหรือหลักฐานอื่นให้แก่ บริษัท ในการนี้หากบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นนั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำร้องขอ และให้ บริษัทออกใบหุ้นให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้น
มาตรา 59 ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตายหรือล้มละลาย อันเป็นเหตุให้ บุคคลใดมีสิทธิในหุ้นนั้น ถ้าบุคคลนั้นได้นำหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายมาแสดง ครบถ้วนแล้ว ให้บริษัทลงทะเบียนและออกใบหุ้นให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่ วันได้รับหลักฐานครบถ้วน
มาตรา 60 ในระหว่างยี่สิบเอ็ดวันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้งบริษัท จะงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นก็ได้ โดยประกาศให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของบริษัททุกแห่ง ไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวัน เริ่มงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น
มาตรา 61 บริษัทต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้น
(2) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้น และจำนวนหุ้น
(3) วันเดือนปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา 62 บริษัทต้องเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐานประกอบ การลงทะเบียนไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัท แต่บริษัทจะมอบหมายให้บุคคล ใดทำหน้าที่เก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐานประกอบการลงทะเบียนแทน บริษัทไว้ ณ ที่ใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบถึงผู้เก็บ รักษาทะเบียนดังกล่าว
ในกรณีที่ทะเบียนผู้ถือหุ้นสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ บริษัทแจ้งต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบหรือควรจะได้ทราบถึง การสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดนั้นและจัดทำหรือซ่อมแซมทะเบียนผู้ถือหุ้นให้ เสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่แจ้ง
ทะเบียนผู้ถือหุ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง
มาตรา 63 ผู้ถือหุ้นมีสิทธิขอตรวจรายการในทะเบียนผู้ถือหุ้นและหลักฐาน ประกอบการลงทะเบียนได้ ในระหว่างเวลาทำการของผู้เก็บรักษาทะเบียนผู้ ถือหุ้น ในการนี้ผู้เก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นจะกำหนดเวลาไว้ก็ได้แต่ต้องไม่ น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นขอสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นทั้งหมด หรือบางส่วนพร้อมด้วย คำรับรองของบริษัทว่าถูกต้อง หรือขอให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นที่สูญ หาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญและได้เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับ ของบริษัทให้แก่บริษัทแล้ว บริษัทต้องจัดทำหรือออกให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในสิบสี่ วันนับแต่วันได้รับคำขอ
หุ้นที่สูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดที่ได้มีการออกใบหุ้นใหม่แทนแล้วให้ ถือว่าเป็นอันยกเลิก
ค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับของบริษัทตามวรรคสอง ต้องไม่เกินอัตราที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 64 บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในวันประชุมสามัญประ จำปี โดยมีรายการตาม มาตรา 39 วรรคสอง ต่อนายทะเบียนภายในหนึ่ง เดือนนับแต่วันเสร็จการประชุม
มาตรา 65 บุริมสิทธิในหุ้นซึ่งได้ออกให้แล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้
การแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญจะกระทำมิได้ เว้นแต่บริษัทจะมีข้อบัง คับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในการนี้ให้ทำได้โดยผู้ถือหุ้นยื่นคำขอแปลงหุ้นต่อ บริษัทพร้อมกับส่งมอบใบหุ้นคืน
การแปลงหุ้นตามวรรคสองให้มีผลนับแต่วันยื่นคำขอ ในการนี้ให้บริษัท ออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ขอภายในสิบสี่วันนับแต่วันได้รับคำขอ
มาตรา 66 บริษัทจะเป็นเจ้าของหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของตนเองมิได้
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
เลขที่หนังสือ : กค 0811/05486
วันที่ : 7 พฤษภาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระภาษีของกองทุนส่วนบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 39, มาตรา 40 (4), มาตรา 47 (7) (ข),มาตรา 48 (3), มาตรา 50 (2), มาตรา 65 ทวิ, มาตรา 65 ตรี, มาตรา 77/1 (10) (ข),มาตรา 82/5 (6), กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528
ข้อหารือ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้พิจารณาให้ใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก่ บลจ. ก. ในการประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ก. จะต้องเสียภาษีอากร อย่างไรบ้าง
แนววินิจฉัย : ผู้เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคล คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่นำไปมอบให้บริษัทที่ได้รับ
อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะ
ได้รับ แยกตามสถานะของผู้มีเงินได้จะมีภาระภาษีดังนี้
1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา จะมีภาระภาษีแยกตามประเภทต่าง ๆ ของเงินได้
ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์
ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้
จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดย
เฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรือ
อุตสาหกรรม อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้โดยไม่ต้องนำไป
รวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 ตามมาตรา 50 (2) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร และหาก
ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปี สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้
รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย
โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ
อุตสาหกรรม ตามมาตรา 48 (3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
กรณีผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีภูมิลำเนาใน
ประเทศไทยหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้ดังกล่าวจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง
ขึ้นตามกฎหมายไทย ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียหารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น
ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตใน
การคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
(ค) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
และผู้มีเงินได้เป็นผู้ทรงคนแรก อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตาม
มาตรา 50 (2) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 โดย
ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีตามมาตรา 48 (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หาก
เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงเงินได้
จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (23)
กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้
จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่
ได้จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ก) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในอนุสัญญาภาษีซ้อนบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(จ) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หากได้
รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน อยู่
ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 ตามมาตรา 50 (2) (ข) แห่ง
ประมวลรัษฎากร และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ตามมาตรา 48 (3) (ค)
แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 (30) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออก
ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 196
(พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
2. กรณีผู้มีเงินได้เป็นกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กลุ่มบุคคล
ดังกล่าวมีฐานะเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งมีภาระภาษีเช่นเดียวกับ 1. โดยผู้อำนวยการ
หรือผู้จัดการเป็นผู้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในนามของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม
มาตรา 56 วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวประกอบด้วย สามี ภรรยา
โดยชอบด้วยกฎหมายและความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี
3. กรณีผู้มีเงินได้มีฐานะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มี
หน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือน
มีนาคมทุก ๆ ปี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
4. กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
ผู้มีเงินได้ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะ
มีภาระภาษีดังนี้
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
(ก) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง
ประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นธนาคารตามกฎหมาย
ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน
ประเทศไทย อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ข้อ 4 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
(ข) กรณีเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม สถาบันการเงินที่
มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม
หรืออุตสาหกรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยหรือ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย แต่ไม่รวมถึงบริษัทตาม (1) และ (2) ของข้อ 5
แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0
ตามข้อ 5 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
(ค) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้
ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ที่จ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทยอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ
15 เว้นแต่เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีในอัตรา
ร้อยละ 10 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
กฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยนั้น จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศที่มี
อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ภาระภาษีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติในอนุสัญญา
ดังกล่าว
(ง) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ผู้มีเงินได้
ดังกล่าวมีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากได้รับ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝาก
ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ที่ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้จ่ายอยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ใน
อัตราร้อยละ 10.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ข้อ 4 (2)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ก) กรณีผู้มีเงินได้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ
ตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีผู้มีเงินได้เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อื่นมิใช่
รายได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใน
อัตราร้อยละ 10 และกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับการ
ลดอัตราภาษีลงเหลือร้อยละ 2
5. กรณีผู้มีเงินได้เป็น วัด มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47
(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีฐานะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีแต่อย่างใด
6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกองทุนส่วนบุคคลเป็นการนำทรัพย์สินไปลงทุนโดยการนำ
เงินไปฝากธนาคาร ซื้อหลักทรัพย์ ไม่อยู่ในความหมายของ "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) (ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนส่วนบุคคลจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่อยู่ในบังคับ
ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ากองทุนส่วนบุคคลของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูก
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ภาษีซื้อดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ตาม
มาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้ : 61/26656
เลขที่หนังสือ : กค 0702/373
วันที่ : 4 มีนาคม 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล
ข้อกฎหมาย : มาตรา 41 มาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ สมาคม ข. หารือเกี่ยวกับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล โดยมีรายละเอียดสรุปความได้ดังนี้
1. ความหมายและประเภทของกองทุนส่วนบุคคล
กองทุนส่วนบุคคลเป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่จัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคล (หมายความรวมถึงนิติบุคคล) ที่ให้จัดการลงทุน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำเป็นทางการค้าปกติ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น กองทุนส่วนบุคคลจึงมีสถานภาพเป็นไปตามสถานภาพของบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน กล่าวคือ หากเจ้าของทรัพย์สินเป็นบุคคลธรรมดา กองทุนส่วนบุคคลจะมีสถานภาพเป็นบุคคลธรรมดา แต่หากเจ้าของทรัพย์สิน เป็นนิติบุคคล กองทุนส่วนบุคคลก็จะมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
2. การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ในการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนั้น บุคคลหรือคณะบุคคลผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นต้องทำสัญญา มอบหมายให้บริษัทจัดการ ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วน บุคคลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ทำการแทน เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งการลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลนั้น เจ้าของหลักทรัพย์หรือเจ้าของทรัพย์สินยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าว และเจ้าของหลักทรัพย์ หรือเจ้าของทรัพย์สินสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนร่วมกับบริษัทจัดการได้ โดยบริษัทจัดการจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินใดๆ ภายใต้กรอบและข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากับลูกค้าเท่านั้น ดังนั้น บุคคลผู้รับประโยชน์จากการลงทุนโดยตรง คือเจ้าของหลักทรัพย์หรือ เจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตน โดยนำไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการหรือลูกค้าให้ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งรับมอบ ส่งมอบ ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจนับทรัพย์สิน ทำทะเบียนทรัพย์สิน ติดตามสิทธิประโยชน์จากการลงทุน และจัดทำรายงานให้บริษัทจัดการทราบ
3. เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงาน ก.ล.ต. กำลังพิจารณาอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล นำทรัพย์สินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่เสนอขายในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลได้ โดยกองทุนส่วนบุคคล ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อคน และกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์- สหรัฐอเมริกาต่อราย ดังนี้
3.1 หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน
3.2 หลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
3.3 หลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน
3.4 หลักทรัพย์ประเภทตราสารอนุพันธ์และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
3.5 หลักทรัพย์ประเภทเงินฝากและตราสารเทียบเท่าเงินสด
3.6 หลักทรัพย์อื่นๆ
4. การลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ข้างต้น จะก่อให้เกิดรายได้ ดังนี้
4.1 เงินปันผล
4.2 ดอกเบี้ยรับ
4.3 กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์
4.4 ส่วนลดรับ
4.5 กำไรที่เกิดจากการนำกำไรที่ได้รับไปลงทุนต่อ
4.6 อื่นๆ เช่น กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรจากการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
สมาคมฯ จึงขอทราบว่า กรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนำเงินไปลงทุนที่ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล จะมีภาระภาษีอย่างไร
แนววินิจฉัย กรณีบุคคลทำสัญญามอบหมายให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล นำหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของผู้มอบหมาย ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่ ต่างประเทศ ในฐานะเป็นผู้ทำการแทน บุคคลผู้มอบหมาย โดยผู้มอบหมายยังคงมีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเป็นผู้รับประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าว ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศ ย่อมเป็นเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีตาม กฎหมายของประเทศที่ได้เข้าไปลงทุน และอาจมีภาระภาษีในประเทศไทย ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในประเทศไทยใน ปีภาษีที่ได้รับเงินได้ และนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น เข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้ จะ ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เงินได้ ที่ได้รับถือเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
อย่างไรก็ดี หากบุคคลผู้มีเงินได้ตาม 1. และ 2. เป็นบุคคลตามอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกัน การเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีอากรแล้วแต่ที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว
เลขตู้ : 71/35667
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 10
ส่วนที่ ๘
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
มาตรา ๑๓๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้บริษัทหลักทรัพย์ทำสัญญาเป็นหนังสือกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และต้องดำเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ในการนี้ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจกำหนดรายการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาดังกล่าวได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยความเห็นชอบของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้นำความในมาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคสองหรือวรรคสาม ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินโดยความเห็นชอบของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
บริษัทหลักทรัพย์อาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการได้เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลออกจากทรัพย์สินของตน และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินนั้นไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา ๑๓๕ วรรคหนึ่ง ภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือภายในระยะเวลาตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๓๗ ในการรับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแยกทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้ออกจากทรัพย์สินอื่นของตน และดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่รับฝากนั้นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ผู้รับฝากทรัพย์สินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินนั้นได้
มาตรา ๑๓๘ บรรดาทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องลงชื่อของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ทำการแทนไว้ด้วย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๓๙ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงทุนในทรัพย์สินประเภทอื่นใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล นอกจากที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๒) รับค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดไว้ในสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๓) ซื้อหรือขายทรัพย์สินในนามของตนเองให้แก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมิได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงการกระทำดังกล่าว
(๔) ให้คำรับรองแก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลว่าจะมีกำไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอนหรือสัญญาว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กำหนดไว้โดยแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คำรับรองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
(๕) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกองทุนส่วนบุคคลแต่ละรายตามแบบที่สำนักงานประกาศกำหนด และต้องเก็บรักษาเอกสารประกอบบัญชีแสดงให้เห็นความถูกต้องแห่งบัญชีนั้นไว้ด้วย
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำงบการเงินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด การกำหนดดังกล่าวให้คำนึงถึงมาตรฐานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีได้ให้ความเห็นชอบแล้วด้วย
งบการเงินตามวรรคสองต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน และผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
ผู้สอบบัญชีของกองทุนส่วนบุคคลต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี และข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ทำเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนต้องลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคสี่หรือวรรคห้า ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๒๕๘ หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ ด้วย
(๑) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗
(๒) บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว โดยให้นับรวมสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นนั้นด้วย
(๓) นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๔) ผู้ถือหุ้นในบุคคลตาม (๓) ต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากการถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (๓) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้น ทั้งนี้ หากการถือหุ้นในทอดใดมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาให้นับรวมจำนวนสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวในนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นนั้นด้วย
(๕) นิติบุคคลที่มีบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๖) นิติบุคคลที่มีบุคคลตาม (๕) เป็นผู้ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากผู้ถือหุ้นในนิติบุคคล (๕) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นดังกล่าว
(๗) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม (๘) เป็นหุ้นส่วน
(๘) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนสามัญตาม (๗) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
(๙) นิติบุคคลที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
มาตรา ๑๓๓ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้บริษัทหลักทรัพย์ทำสัญญาเป็นหนังสือกับบุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และต้องดำเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ในการนี้ให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจกำหนดรายการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาดังกล่าวได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๔ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยความเห็นชอบของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้นำความในมาตรา ๑๓๓ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลดำเนินการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคสองหรือวรรคสาม ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินโดยความเห็นชอบของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
บริษัทหลักทรัพย์อาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการได้เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๑๓๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลออกจากทรัพย์สินของตน และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินนั้นไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบตามมาตรา ๑๓๕ วรรคหนึ่ง ภายในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือภายในระยะเวลาตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๓๗ ในการรับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแยกทรัพย์สินที่ตนรับฝากไว้ออกจากทรัพย์สินอื่นของตน และดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่รับฝากนั้นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
ผู้รับฝากทรัพย์สินผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินนั้นได้
มาตรา ๑๓๘ บรรดาทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องลงชื่อของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลและชื่อของบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้ทำการแทนไว้ด้วย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๓๙ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) ลงทุนในทรัพย์สินประเภทอื่นใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล นอกจากที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๒) รับค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดจากผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดไว้ในสัญญามอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
(๓) ซื้อหรือขายทรัพย์สินในนามของตนเองให้แก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลโดยมิได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงการกระทำดังกล่าว
(๔) ให้คำรับรองแก่ผู้มอบหมายให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลว่าจะมีกำไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอนหรือสัญญาว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กำหนดไว้โดยแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คำรับรองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
(๕) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของกองทุนส่วนบุคคลแต่ละรายตามแบบที่สำนักงานประกาศกำหนด และต้องเก็บรักษาเอกสารประกอบบัญชีแสดงให้เห็นความถูกต้องแห่งบัญชีนั้นไว้ด้วย
ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีลักษณะตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทำงบการเงินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด การกำหนดดังกล่าวให้คำนึงถึงมาตรฐานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีได้ให้ความเห็นชอบแล้วด้วย
งบการเงินตามวรรคสองต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน และผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมิใช่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์นั้น
ผู้สอบบัญชีของกองทุนส่วนบุคคลต้องรักษามารยาทและปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี และข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ทำเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินไว้ในรายงานการสอบบัญชีที่ตนต้องลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็น
ผู้สอบบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคสี่หรือวรรคห้า ให้สำนักงานมีอำนาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นได้
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑]
มาตรา ๒๕๘ หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ ด้วย
(๑) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗
(๒) บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว โดยให้นับรวมสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นนั้นด้วย
(๓) นิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นในบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ เกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๔) ผู้ถือหุ้นในบุคคลตาม (๓) ต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากการถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (๓) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้น ทั้งนี้ หากการถือหุ้นในทอดใดมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาให้นับรวมจำนวนสิทธิออกเสียงของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวในนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นนั้นด้วย
(๕) นิติบุคคลที่มีบุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว
(๖) นิติบุคคลที่มีบุคคลตาม (๕) เป็นผู้ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ เริ่มจากผู้ถือหุ้นในนิติบุคคล (๕) โดยการถือหุ้นในแต่ละทอดเกินร้อยละสามสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นดังกล่าว
(๗) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม (๘) เป็นหุ้นส่วน
(๘) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ หรือมาตรา ๒๔๗ หรือบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) หรือห้างหุ้นส่วนสามัญตาม (๗) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
(๙) นิติบุคคลที่บุคคลตามมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 12
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย
มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" (Constitutional Law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่าด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติ แต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความในรัฐธรรมนูญ
กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ ชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
"เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น
มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" (Constitutional Law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่าด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติ แต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราชบัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้พระราชกำหนดนั้น
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความในรัฐธรรมนูญ
กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ ชั่วแต่ว่าใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
"เมื่อพระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง"
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 13
พระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
“การจัดการกองทุนส่วนบุคคล”๒ หมายความว่า การจัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการจัดการลงทุนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า
(๑) ตั๋วเงินคลัง
(๒) พันธบัตร
(๓) ตั๋วเงิน
(๔) หุ้น
(๕) หุ้นกู้
(๖) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิ ในทรัพย์สินของกองทุนรวม
(๗) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(๘) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
(๙) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(๑๐) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหน
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕
“การจัดการกองทุนส่วนบุคคล”๒ หมายความว่า การจัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการจัดการลงทุนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า
(๑) ตั๋วเงินคลัง
(๒) พันธบัตร
(๓) ตั๋วเงิน
(๔) หุ้น
(๕) หุ้นกู้
(๖) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิ ในทรัพย์สินของกองทุนรวม
(๗) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(๘) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
(๙) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(๑๐) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหน
-
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 14
ผมสงสัย จริงๆ ว่า พวกที่ จัดตั้ง คำว่า คณะบุคคล
เนี่ยะ จริงๆ แล้ว มี วัตถุประสงค์ อะไรกัน แน่??????
เหมือนพวกดารา หรือ พวกแพทย์ หรือ อาชีพอิสระที่มีรายได้มากๆ แต่ต้องการแบ่งรายได้เพื่อลดฐานภาษีหรือเปล่า
เพื่อ แสวงหากำไร หรือ "เพื่อ หลีกเลี่ยง ภาษีกัน แน่"
ดังนั้นผมของสนับสนุน สรรพภากร ในเรื่องนี้ ครับ
จะรวยกันไปถึงไหน ช่วยชาติกันบ้างเถิด
ประเทศไทยเราเก็บภาษี ต่อ GDP แล้วไม่ได้มากเลย ยังหาเรื่องมาหลีกเลี่ยงกันอีก
เนี่ยะ จริงๆ แล้ว มี วัตถุประสงค์ อะไรกัน แน่??????
เหมือนพวกดารา หรือ พวกแพทย์ หรือ อาชีพอิสระที่มีรายได้มากๆ แต่ต้องการแบ่งรายได้เพื่อลดฐานภาษีหรือเปล่า
เพื่อ แสวงหากำไร หรือ "เพื่อ หลีกเลี่ยง ภาษีกัน แน่"
ดังนั้นผมของสนับสนุน สรรพภากร ในเรื่องนี้ ครับ
จะรวยกันไปถึงไหน ช่วยชาติกันบ้างเถิด
ประเทศไทยเราเก็บภาษี ต่อ GDP แล้วไม่ได้มากเลย ยังหาเรื่องมาหลีกเลี่ยงกันอีก
VI with CISA ระดับ 1
- คนดอย
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 747
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 15
ก็ถ้ามันมีช่องทางทาง กม. คนที่เค้ารู้เค้าศึกษามา เค้าก็สามารถทำกันเพื่อบรรเทาภาระทางภาษี ถ้ามันไม่มีช่องให้ทำ หรือทำแล้วผิด กม. หรือสรรพากรและศาลตีความว่าไม่ได้ ก็ทำไม่ได้ ก็จบเท่านั้นเองครับlong141 เขียน:ผมสงสัย จริงๆ ว่า พวกที่ จัดตั้ง คำว่า คณะบุคคล
เนี่ยะ จริงๆ แล้ว มี วัตถุประสงค์ อะไรกัน แน่??????
เหมือนพวกดารา หรือ พวกแพทย์ หรือ อาชีพอิสระที่มีรายได้มากๆ แต่ต้องการแบ่งรายได้เพื่อลดฐานภาษีหรือเปล่า
เพื่อ แสวงหากำไร หรือ "เพื่อ หลีกเลี่ยง ภาษีกัน แน่"
ดังนั้นผมของสนับสนุน สรรพภากร ในเรื่องนี้ ครับ
จะรวยกันไปถึงไหน ช่วยชาติกันบ้างเถิด
ประเทศไทยเราเก็บภาษี ต่อ GDP แล้วไม่ได้มากเลย ยังหาเรื่องมาหลีกเลี่ยงกันอีก
ส่วนถ้าอยากช่วยชาติ ท่านสามารถช่วยได้โดย ไม่ต้องยื่นขอเครดิตทางภาษีก็ได้ครับ เพราะผมเชื่อว่าหลายคน รวมทั้งผมด้วย ก็เพิ่งรู้หลังจากได้เข้ามาศึกษาใน thaivi นี่หล่ะครับ
- tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 17
สมมุตินะครับ สมมุติlong141 เขียน:ผมสงสัย จริงๆ ว่า พวกที่ จัดตั้ง คำว่า คณะบุคคล
เนี่ยะ จริงๆ แล้ว มี วัตถุประสงค์ อะไรกัน แน่??????
เหมือนพวกดารา หรือ พวกแพทย์ หรือ อาชีพอิสระที่มีรายได้มากๆ แต่ต้องการแบ่งรายได้เพื่อลดฐานภาษีหรือเปล่า
เพื่อ แสวงหากำไร หรือ "เพื่อ หลีกเลี่ยง ภาษีกัน แน่"
ดังนั้นผมของสนับสนุน สรรพภากร ในเรื่องนี้ ครับ
จะรวยกันไปถึงไหน ช่วยชาติกันบ้างเถิด
ประเทศไทยเราเก็บภาษี ต่อ GDP แล้วไม่ได้มากเลย ยังหาเรื่องมาหลีกเลี่ยงกันอีก
เฮียตู่ และ ซ้อนุช รักกัน ทั้งคู่มีแหล่งรายได้หลักจากหลายทางแต่ไม่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) เลย ทั้งคู่จึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่แต่งงาน (ย้ำว่าทั้งคู่ไม่ต้องการแต่งงาน ไม่ใช่แต่งงานแต่ไม่จดทะเบียน) ความรักของทั้งคู่เป็นที่ประจักษ์ต่อคนจำนวนมากในสังคม แต่ถึงกระนั้นทั้งคู่ก็ไม่มีความปารถนาจะแต่งงานกัน
ด้วยความใจบุญทั้งคู่ได้รับอุปการะ เด็กด้อยโอกาส (ทั้งที่พิการ และไม่พิการ) ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสั่งให้ธนาคารโอนเงินให้กับมูลนิธิที่ดูแลเด็กในอุปการะเป็นประจำทุกเดือน (โอนจากบัญชีเฮียตู่ไปยังมูลนิธิหนึ่ง และโอนจากบัญชีซ้อนุชไปยังอีกมูลนิธิหนึ่ง)
ต่อมาทั้งคู่มีความกังวลว่าหากใครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งคู่เป็นอะไรไป อาจจะเกิดปัญหาเรื่องเงินที่โอนให้ทางมูลนิธิ (ด้วยสาเหตุต่างๆ ที่ขอไม่กล่าวถึง) มั้งคู่จึงได้ตกลงใจร่วมกันจัดตั้งคณะบุคคลเฮียตู่และซ้อนุชขึ้น ทำการเปิดบัญชีธนาคารในนามคณะบุคคล งานที่ทำส่วนหนึ่งให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินเข้าคณะบุคคลดังกล่าว ต่อมาเสี่ยตา เห็นว่าคณะบุคคลเฮียตู่และซ้อนุช น่าเลื่อมใส เพราะตลอดมาทั้งสองไม่เคยนำเงินของคณะบุคคลไปใช้ส่วนตัวเลย ตั้งใจตั้งขึ้นมาเพื่ออุปการะเด็กๆจริงๆ เสี่ยตาจึงโอนหุ้นบริษัทของตนจำนวนหนึ่งให้คณะบุคคลดังกล่าว เพื่อหวังจะร่วมบุญกัน เกิดชาตืหน้าฉันใดจะได้ร่วมช่วย้หลือเกื้อกูลกันอีก และเพื่อให้ทั้งเฮียตู่และซ้อนุชสบายใจว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เด็กในอุปการะของทั้งคู่จะได้รับเงินปันผลจากบริษัทของเสี่ยตา
จากเรื่องสมมุติดังกล่าวข้างต้น ผมไม่เห็นว่า เฮียตู่ ซ้อนุช หรือ เสี่ยตา จะเป็นคนไม่ดีตรงไหน อีกทั้งยังไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายเลยแม้แต่ข้อเดียว
กฎหมายที่ออกมาต้องชัดเจน ไม่ใช่ลักลั่น ขัด หรือแย้งกันเอง ถ้ากฎหมายดีแล้วมีคนพยายามเอาไปทำผิด ก็ว่าเป็นกรณีๆไป คนที่เอาไปทำความดีก็มีเยอะแยะไปครับ
ป.ล.ย้ำอีกทีว่าเรื่องที่เล่ามาเป็นเรื่องสมมุติ ชื่อ หรือ พฤติกรรม ที่ตั้งขึ้นมา หากไปพ้อง หรือเกี่ยวข้องกับใคร ขอยืนยันอีกครั้งว่าผมมิได้มีเจตนาจะกล่าวพาดพิงแต่อย่างใด
My Goal
"Earning 1.2M Baht a year doing nothing other than ticking my toe, by the age of 40."
"Earning 1.2M Baht a year doing nothing other than ticking my toe, by the age of 40."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 465
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 18
ผมว่าการเสียภาษีให้ถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของการออกกฏหมาย เป็นสิ่งที่ควรกระทำ
เรื่องการตั้งคณะบุคคลขึ้นมา เพื่อลดหย่อนภาษี (หลบเลี่ยง) เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรกระทำอยู่แล้ว
ผมเห็นด้วยในกรณีนี้ สรรพกรออกมาทำให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ ของการออกกฏหมาย
เรื่องการตั้งคณะบุคคลขึ้นมา เพื่อลดหย่อนภาษี (หลบเลี่ยง) เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรกระทำอยู่แล้ว
ผมเห็นด้วยในกรณีนี้ สรรพกรออกมาทำให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ ของการออกกฏหมาย
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 19
รายได้ 8,090,000.00
ลดหย่อน 30,000.00
เหลือ 8,060,000.00
0-150,000 0% 150,000.00 -
150,001-500,000 10% 350,000.00 35,000.00
500,001-1,000,000 20% 500,000.00 100,000.00
1,000,001-4,000,000 30% 3,000,000.00 900,000.00
4,000,001 ขึ้นไป 37% 4,060,000.00 1,502,200.00
2,537,200.00
0-150,000 0% 150,000.00 150,000.00 - -
150,001-500,000 10% 350,000.00 350,000.00 35,000.00 35,000.00
500,001-1,000,000 20% 500,000.00 500,000.00 100,000.00 100,000.00
1,000,001-4,000,000 30% 3,000,000.00 3,000,000.00 900,000.00 900,000.00
4,000,001 ขึ้นไป 37%
1,035,000.00 1,035,000.00
2,070,000.00
เสียภาษีน้อยลง แต่ก็จ่ายภาษี 2,070,000 บาท สมมุติเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
แต่คงมีคนที่เสียภาษีระดับนี้ในสัดส่วนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะเข้าใจสิ่งนี้คงไม่ง่าย
คนส่วนใหญ่บางทีรายได้ทั้งปี ยังไม่เท่าที่เขาต้องเสียภาษีเลย
ลดหย่อน 30,000.00
เหลือ 8,060,000.00
0-150,000 0% 150,000.00 -
150,001-500,000 10% 350,000.00 35,000.00
500,001-1,000,000 20% 500,000.00 100,000.00
1,000,001-4,000,000 30% 3,000,000.00 900,000.00
4,000,001 ขึ้นไป 37% 4,060,000.00 1,502,200.00
2,537,200.00
0-150,000 0% 150,000.00 150,000.00 - -
150,001-500,000 10% 350,000.00 350,000.00 35,000.00 35,000.00
500,001-1,000,000 20% 500,000.00 500,000.00 100,000.00 100,000.00
1,000,001-4,000,000 30% 3,000,000.00 3,000,000.00 900,000.00 900,000.00
4,000,001 ขึ้นไป 37%
1,035,000.00 1,035,000.00
2,070,000.00
เสียภาษีน้อยลง แต่ก็จ่ายภาษี 2,070,000 บาท สมมุติเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
แต่คงมีคนที่เสียภาษีระดับนี้ในสัดส่วนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะเข้าใจสิ่งนี้คงไม่ง่าย
คนส่วนใหญ่บางทีรายได้ทั้งปี ยังไม่เท่าที่เขาต้องเสียภาษีเลย
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 20
คนที่บริหารภาษี กับ คนที่เลี่ยงภาษี ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน ก็คือ
ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง แต่
คนที่บริหารภาษี ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง โดยใชัช่องทางของกฏหมายที่กำหนดให้ทำได้ เช่น ตั้งคณะบุคคล, ซื้อ ltf, rmf, life insurance, etc
ส่วน คนที่เลี่ยงภาษี ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง โดยการทำผิดกฎหมาย เช่น ปลอมใบกำกับภาษี, สร้างยอดขาย-ค่าใช้จ่ายเท็จ, etc
ส่วน ใครที่อยากเสียภาษีเยอะเยอะ เพื่อช่วยรัฐเอาไปพัฒนาประเทศ และแบ่งค่าคอมมิชชั่นให้นักการเมืองส่วนหนึ่ง ก็ทำโดย ไม่พยายามจะบริหารภาษี, ไม่ขอภาษีคืน, ทำบัญชีแบบตรงไม่ตรงมา, หารายได้ให้มากมากแล้วงดยื่นค่าลดหย่อนที่ตัวเองลดหย่อนได้, ซื้อขายหุ้นจดทะเบียนโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ etc จะได้ช่วยรัฐให้มีงบประมาณไปพัฒนาประเทศมากขึ้น
ทุกคนมีสิทธิเลือกได้ว่าจะทำแบบไหน แต่ตัวคุณเองต้องเป็นคนรับผลในสิ่งที่คุณทำ จะไปบอกว่าคนที่พยายามบริหารภาษีตัวเองเปนคนไม่ดี ไม่ช่วยชาติ คงไปบอกแบบนั้นไม่ได้ เพราะโดยปกติของคนทุกคนคือไม่ชอบจ่ายภาษีเยอะ ถ้าใครผิดปกติชอบจ่ายภาษีเยอะเยอะ ก็ทำแบบที่ผมแนะนำได้เลยครับ
ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง แต่
คนที่บริหารภาษี ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง โดยใชัช่องทางของกฏหมายที่กำหนดให้ทำได้ เช่น ตั้งคณะบุคคล, ซื้อ ltf, rmf, life insurance, etc
ส่วน คนที่เลี่ยงภาษี ทำให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง โดยการทำผิดกฎหมาย เช่น ปลอมใบกำกับภาษี, สร้างยอดขาย-ค่าใช้จ่ายเท็จ, etc
ส่วน ใครที่อยากเสียภาษีเยอะเยอะ เพื่อช่วยรัฐเอาไปพัฒนาประเทศ และแบ่งค่าคอมมิชชั่นให้นักการเมืองส่วนหนึ่ง ก็ทำโดย ไม่พยายามจะบริหารภาษี, ไม่ขอภาษีคืน, ทำบัญชีแบบตรงไม่ตรงมา, หารายได้ให้มากมากแล้วงดยื่นค่าลดหย่อนที่ตัวเองลดหย่อนได้, ซื้อขายหุ้นจดทะเบียนโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ etc จะได้ช่วยรัฐให้มีงบประมาณไปพัฒนาประเทศมากขึ้น
ทุกคนมีสิทธิเลือกได้ว่าจะทำแบบไหน แต่ตัวคุณเองต้องเป็นคนรับผลในสิ่งที่คุณทำ จะไปบอกว่าคนที่พยายามบริหารภาษีตัวเองเปนคนไม่ดี ไม่ช่วยชาติ คงไปบอกแบบนั้นไม่ได้ เพราะโดยปกติของคนทุกคนคือไม่ชอบจ่ายภาษีเยอะ ถ้าใครผิดปกติชอบจ่ายภาษีเยอะเยอะ ก็ทำแบบที่ผมแนะนำได้เลยครับ
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 21
ถามนิดหนึ่งครับว่า ถ้าareliang เขียน:ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น
พระราชบัญญัติ กับ ประมวลกฎหมาย มีเนื้อหาที่ขัดกัน ไม่เป็นในแนวทางเดียวกับ จะยึดกฎหมายใดเปนหลักในการใชัปฏิบัติครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 432
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 22
ไม่ขอตอบครับ ต้องให้ผู้มีความรู้ มีคุณวุฒิ เป็นผู้วินิจฉัยครับ
แต่ที่เห็นส่วนใหญ่จะมีเป็นแนวทางเดียวกัน หรือนำมาเสริมกัน
แต่คนทั่วไปบางทีจะมีผู้หยิบยกบางประโยค หรือ คำ มาตีความให้ผิดเพี้ยนไปเพื่ออะไรบางอย่าง
แต่ที่เห็นส่วนใหญ่จะมีเป็นแนวทางเดียวกัน หรือนำมาเสริมกัน
แต่คนทั่วไปบางทีจะมีผู้หยิบยกบางประโยค หรือ คำ มาตีความให้ผิดเพี้ยนไปเพื่ออะไรบางอย่าง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 371
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 23
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ปีภาษี 2553
http://www.rd.go.th/publish/39807.0.html
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
http://www.rd.go.th/publish/39807.0.html
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 24
โทรไปถาม TSD call center มาแล้วครับ
สรุปว่าปีนี้คณะบุคคลขอคืนเครดิตภาษีหุ้นปันผลไม่ได้แน่นนอนครับ
เพราะสรรพากร บอกว่าให้ใช้ใบปันผลที่ออกในนามบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลเท่านั้นในการขอเครดิตภาษีคืนของบุคคลนั้นตามลิงค์ที่สรรพากรชี้แจงไว้ http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
แต่ TSD บอกว่าออกย้อนหลังแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนามบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ได้ เพราะว่าชื่อที่ใช้ในใบปันผลต้องเป็นชื่อเดียวจำนวนหุ้นเดียวกันกับชื่อและจำนวนหุ้นในวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนรับปันผล เพราะว่ากฏหมายของตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้อย่างนั้น
ประชาชนตาดำดำก็ก้มหน้ารับกรรมต่อไป เพราะหน่วยงานราชการรู้และปฏิบัติไม่เปนในแนวทางเดียวกัน
สรุปว่าปีนี้คณะบุคคลขอคืนเครดิตภาษีหุ้นปันผลไม่ได้แน่นนอนครับ
เพราะสรรพากร บอกว่าให้ใช้ใบปันผลที่ออกในนามบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลเท่านั้นในการขอเครดิตภาษีคืนของบุคคลนั้นตามลิงค์ที่สรรพากรชี้แจงไว้ http://faq.rd.go.th/call_center_inter/s ... &caption=1
แต่ TSD บอกว่าออกย้อนหลังแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นนามบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ได้ เพราะว่าชื่อที่ใช้ในใบปันผลต้องเป็นชื่อเดียวจำนวนหุ้นเดียวกันกับชื่อและจำนวนหุ้นในวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนรับปันผล เพราะว่ากฏหมายของตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้อย่างนั้น
ประชาชนตาดำดำก็ก้มหน้ารับกรรมต่อไป เพราะหน่วยงานราชการรู้และปฏิบัติไม่เปนในแนวทางเดียวกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 25
ถ้ายื่นทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ก็ต้องยื่นแบบกระดาษครับporpiangrich เขียน:การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ปีภาษี 2553
http://www.rd.go.th/publish/39807.0.html
16. คำถาม : คณะบุคคลมีเงินได้ ประเภทเงินปันผล ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถกรอกรายการเงินปันผล จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 15 หรือมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อได้รับเงินปันผล ผู้ร่วมถือหุ้นทุกคนจะต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาถือเป็นเงินได้ของแต่ละคน และนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบจึงไม่เปิดช่องให้กรอกรายการเงินปันผล
-
- Verified User
- โพสต์: 9
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 26
ผมได้ถามสรรพากรมาได้ความว่า
ตอนนี้ยังไม่สรุปนะครับว่ายื่น 40(4) ได้หรือไม่
คือ ยื่นในนามคณะบุคคล---ไม่ได้
ยื่นในนามบุคคล------ได้ แต่ต้องให้ทาง tsd ออกใบรับรองให้ใหม่
ถาม tsd ได้ความว่า ไม่สามารถออกใหม่ได้---- เพราะติดข้อบังคับ
ทางสรรพากรจึงจะประชุมกันเร็วๆนี้เพื่อหาทางออกครับ
แต่ถ้าใครอยากได้เร็ว ให้ยื่นข้อหารือเข้าไปครับ
ถามว่ายื่นปีนี้ทำยังไง-----ไม่มีคำตอบครับ
ถามว่าทำยังไงถึงถูกต้อง----ไม่มีคำตอบ
ถามถึงปีหน้าว่าจะเอายังไง -----ไม่มีคำตอบครับ
ตอนนี้ยังไม่สรุปนะครับว่ายื่น 40(4) ได้หรือไม่
คือ ยื่นในนามคณะบุคคล---ไม่ได้
ยื่นในนามบุคคล------ได้ แต่ต้องให้ทาง tsd ออกใบรับรองให้ใหม่
ถาม tsd ได้ความว่า ไม่สามารถออกใหม่ได้---- เพราะติดข้อบังคับ
ทางสรรพากรจึงจะประชุมกันเร็วๆนี้เพื่อหาทางออกครับ
แต่ถ้าใครอยากได้เร็ว ให้ยื่นข้อหารือเข้าไปครับ
ถามว่ายื่นปีนี้ทำยังไง-----ไม่มีคำตอบครับ
ถามว่าทำยังไงถึงถูกต้อง----ไม่มีคำตอบ
ถามถึงปีหน้าว่าจะเอายังไง -----ไม่มีคำตอบครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 28
เรื่องคณะบุคคลถือหุ้น ผมเห็นว่า ถ้าเป็นการร่วมกันลงทุน และแบ่งผลประโยชน์กันจริงๆ ความเห็นผมว่าควรจะต้องมีสิทธิยื่นเสียและขอคืนในนามคณะบุคคลได้
แต่ตามปกติแล้วการพิสูจน์ ก็คงทำได้ยาก ว่าร่วมกันลงทุนจริงๆ หรือเอาชื่อเพื่อน ชื่อญาติ มาใส่เฉยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
.....
แต่ผมเคยเห็นของรายนึง ไปเอาชื่อเพื่อนและญาติ ประมาณ 8-9 คน ถือหุ้นบริษัทนึง จำนวนนึง แต่แบ่งกระจายการถือหุ้น โดยตั้งเป็น คณะประมาณ 100 กว่า คณะ ด้วยวิธีการสลับชื่อกันไปมา เช่น 1+2 , 1+3 , 1+4 , 1+2+3 , 1+3+4 , 2+3+4 ......
อันนี้เห็นเจตนาของการหลีกเลี่ยงได้ชัด
แต่ตามปกติแล้วการพิสูจน์ ก็คงทำได้ยาก ว่าร่วมกันลงทุนจริงๆ หรือเอาชื่อเพื่อน ชื่อญาติ มาใส่เฉยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
.....
แต่ผมเคยเห็นของรายนึง ไปเอาชื่อเพื่อนและญาติ ประมาณ 8-9 คน ถือหุ้นบริษัทนึง จำนวนนึง แต่แบ่งกระจายการถือหุ้น โดยตั้งเป็น คณะประมาณ 100 กว่า คณะ ด้วยวิธีการสลับชื่อกันไปมา เช่น 1+2 , 1+3 , 1+4 , 1+2+3 , 1+3+4 , 2+3+4 ......
อันนี้เห็นเจตนาของการหลีกเลี่ยงได้ชัด
เด็กฝึกงาน...
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 29
คิดแบบบ้านๆ
เมื่อก่อนเครดิตภาษีได้เพราะเขาบอกว่า คณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคล จึงจัดอยู่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถเครดิตภาษีได้ และรายได้ที่เกิดขึ้น จะต้องแบ่งตามสัดส่วนการร่วมลงทุน
มาปัจจุบันบอกว่าเครดิตไม่ได้ซะงั้น โดยอ้างเหตุผลร้อยแปด ไม่จัดอยู่ในบุคคลธรรมดาบ้างล่ะ ต้องแยกกันคำนวณบ้างล่ะ อยากรู้จริง ถ้าต้องแยกกันคำนวณ แล้วตรูจะมารวมกันจัดตั้งคณะบุคคลทำไมกันล่ะคร๊าบบบ
แบบนี้ผมมีทางเลือกสองทางคือ
1. ฟ้องคนที่ตีความครั้งแรกที่บอกให้คณะบุคคลสามารถเครดิตภาษีได้ในตอนแรก
2. ฟ้องคนปัจจุบันที่ตีความบอกให้คณะบุคคลไม่สามารถเครดิตภาษีได้
เอาจริงๆ ผมว่ารัฐถังแตกมากกว่า เลยจะมาเก็บภาษีกันอย่างงี้
เมื่อก่อนเครดิตภาษีได้เพราะเขาบอกว่า คณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคล จึงจัดอยู่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถเครดิตภาษีได้ และรายได้ที่เกิดขึ้น จะต้องแบ่งตามสัดส่วนการร่วมลงทุน
มาปัจจุบันบอกว่าเครดิตไม่ได้ซะงั้น โดยอ้างเหตุผลร้อยแปด ไม่จัดอยู่ในบุคคลธรรมดาบ้างล่ะ ต้องแยกกันคำนวณบ้างล่ะ อยากรู้จริง ถ้าต้องแยกกันคำนวณ แล้วตรูจะมารวมกันจัดตั้งคณะบุคคลทำไมกันล่ะคร๊าบบบ
แบบนี้ผมมีทางเลือกสองทางคือ
1. ฟ้องคนที่ตีความครั้งแรกที่บอกให้คณะบุคคลสามารถเครดิตภาษีได้ในตอนแรก
2. ฟ้องคนปัจจุบันที่ตีความบอกให้คณะบุคคลไม่สามารถเครดิตภาษีได้
เอาจริงๆ ผมว่ารัฐถังแตกมากกว่า เลยจะมาเก็บภาษีกันอย่างงี้
- คนดอย
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 747
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหายื่นเครดิตปันผล คณะบุคคล
โพสต์ที่ 30
ก็สรรพากรเค้าตั้งเป้าว่าจะต้องจัดเก็บให้ได้ 2ล้านๆ ภายใน 5ปีนี้มั้งคับweerawut89 เขียน:คิดแบบบ้านๆ
เมื่อก่อนเครดิตภาษีได้เพราะเขาบอกว่า คณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคล จึงจัดอยู่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถเครดิตภาษีได้ และรายได้ที่เกิดขึ้น จะต้องแบ่งตามสัดส่วนการร่วมลงทุน
มาปัจจุบันบอกว่าเครดิตไม่ได้ซะงั้น โดยอ้างเหตุผลร้อยแปด ไม่จัดอยู่ในบุคคลธรรมดาบ้างล่ะ ต้องแยกกันคำนวณบ้างล่ะ อยากรู้จริง ถ้าต้องแยกกันคำนวณ แล้วตรูจะมารวมกันจัดตั้งคณะบุคคลทำไมกันล่ะคร๊าบบบ
แบบนี้ผมมีทางเลือกสองทางคือ
1. ฟ้องคนที่ตีความครั้งแรกที่บอกให้คณะบุคคลสามารถเครดิตภาษีได้ในตอนแรก
2. ฟ้องคนปัจจุบันที่ตีความบอกให้คณะบุคคลไม่สามารถเครดิตภาษีได้
เอาจริงๆ ผมว่ารัฐถังแตกมากกว่า เลยจะมาเก็บภาษีกันอย่างงี้
อะไรทำได้ เค้าก็ต้องทำ
ต้องเร่งสปีดกันหน่อย