ฐิตินาถ ณ พัทลุง Retire Young Retire Happy
-
- Verified User
- โพสต์: 715
- ผู้ติดตาม: 0
ฐิตินาถ ณ พัทลุง Retire Young Retire Happy
โพสต์ที่ 1
พอดีอ่านบทความนี้มาแล้วชอบนะครับ ลองอ่านกันดูละกันครับ
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart ... 886232.php
นงค์นาถ ห่านวิไล
ฐิตินาถ ณ พัทลุง Retire Young Retire Happy
"ได้ทดลองปฏิบัติธรรม พบว่า 'ใจ' กับความเจ็บปวดแยกออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไป ใจส่วนใจ ใจเราจะไม่เจ็บปวด จนกว่าเราเผลอสติอยากบังคับให้สิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างใจเรา "
+++++++++++
ในวัย 35 ปีของ ฐิตินาถ ณ พัทลุง วันนี้เธอประกาศวางมือจากธุรกิจ ใช้ชีวิตกับ 'น้องทะเล' ลูกชายหนึ่งเดียวของเธอ หลังจากสามีเสียชีวิตไปเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา
การรีไทร์ (Retire) ของเธอ ไม่เพียงแต่หยุดทำงานเฉยๆ แต่เธอได้ขายกิจการเวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และ
โรงเรียนแฮปปี้คิดส์ มาเป็นคนเดินช้า เป็นคุณแม่ของลูก และเป็นวิทยากรบรรยายธรรมะสำหรับคนทำงานในองค์กรรัฐ เอกชน และสถานปฏิบัติธรรม รวมถึงเป็น 'ครูอ้อย' ของเด็กๆ ในหลักสูตรปฏิบัติธรรม
ธุรกิจเวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และกิจการโรงเรียนแฮปปี้คิดส์ กำลังไปได้ดี แต่เธอก็ตัดสินใจขายทิ้ง ด้วยเหตุผลที่ว่าขอทำธุรกิจแบบพอเพียง มีเงินก้อนหนึ่งที่คิดว่ามากพอแก่การดำรงชีวิตและอยู่ได้สบายๆ ก็น่าจะใช้เวลาที่เหลือทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ เพราะเงินนั้นเป็นสิ่งจำเป็นช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย แต่เราสามารถจัดวิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตที่จะช่วยให้เรามีความสุขโดยใช้เงินน้อยๆ ก็ได้
เธอจัดพอร์ตชีวิต โดยมองว่า คนคนหนึ่ง ต้องการความสะดวกสบายระดับหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น คือ ความสุข เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มมีความสุขตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ความสุขในที่นี้ คือ ความสุขประณีต สุขใจ สุขกาย ไม่ทุกข์ ตามหลักพุทธศาสนา
ขณะที่คนส่วนใหญ่ แม้จะมีเงินและทรัพย์สมบัติมากมายนับแสนล้าน แต่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่ เปรียบเสมือนนํ้าในแก้วไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจของเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่เคยพอ แต่ถ้าเรามีนํ้าอยู่ครึ่งแก้ว แล้วสามารถลดขนาดของแก้วนํ้าลง จนเหลือเพียง 1 ใน 4 นํ้าที่มีครึ่งแก้วก็จะล้นเกินอีกเท่าตัว เกินพอสำหรับเรา และพอที่จะแบ่งให้คนอื่น เมื่อน้ำเต็มแล้วเราก็จะไม่ต้องวิ่งหานํ้ามาเติมอีก มีเวลาเหลือให้ลูก ให้คนที่เรารัก ให้กับการพัฒนาจิตใจตัวเอง ให้กับสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง
"ต้องรู้จักพอเป็น มีแค่ไม่เดือดร้อนตลอดชีวิต และอ้อยมีลูกแค่คนเดียว แล้วลูกก็เป็นเด็กพอเพียง ชอบการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องวิ่งหาเงินไปเรื่อยๆ"
เธอเชื่อว่า มีเงินแล้วอาจเจอทางตัน ต้องหาเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความเครียด เพิ่มภาระ เบียดเบียนกระทบคนอื่นมากขึ้น เพิ่มความกลัวในจิตใจมากขึ้น เพราะเงินที่มากเกินไป จะสร้างปัญหามากกว่าตอนที่มีเงินน้อย ยิ่งมีมากก็ใช้มาก เข้าข่ายเสพติดเงิน ทำให้เป้าหมายของชีวิต ก็คือ การหาเงินให้มากขึ้น ต้องทุ่มแรงกายแรงใจ สติ ปัญญา หาเงินมากกว่า สิ่งที่มีความหมายกับชีวิตจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลครอบครัว ดูแลคนที่เรารัก ละเลยต่อสุขภาพทั้งกายและใจ
"คนที่มองว่าเงินเป็นเป้าหมายสูงสุด ความสุขทั้งหมดของชีวิตอยู่ที่เงิน พอหมดเงิน ก็หมดความสุข" ฐิตินาถ เชื่อเช่นนี้
ความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ทว่าเธอเองได้ปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช มีเมตตาช่วยชี้นำทาง หลังจากเธอได้ปฏิบัติธรรมมานาน 7 ปี
ฐิตินาถ เริ่มปฏิบัติธรรมหลังจากสามีเสียชีวิตกะทันหัน ทิ้งหนี้ไว้ให้เกือบ 100 ล้านบาท ตอนนั้นลูกอายุไม่ถึงขวบ ธุรกิจของเขา เธอเองก็ไม่เข้าใจ จะสานต่อก็คงยาก จะทำอย่างไรกับหนี้ก้อนโต รู้สึกเจ็บปวดจนแทบเอาชีวิตไม่รอด
จากนั้น ได้ทดลองปฏิบัติธรรม พบว่า 'ใจ' กับความเจ็บปวดแยกออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไป ใจส่วนใจ ใจเราจะไม่เจ็บปวด จนกว่าเราเผลอสติอยากบังคับให้สิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างใจเรา
การปฏิบัติธรรม ช่วยเธอได้ เพราะเธอใช้เวลา 3 ปีสามารถใช้หนี้เกือบ 100 ล้านได้หมด โดยยึดหลักการตัดอวัยวะรักษาชีวิต และทุกข์ตรงไหนวางตรงนั้น หนักตรงไหน ปล่อยตรงนั้น อะไรที่เรารักษาไว้ไม่ได้ก็ปล่อยมันไป อะไรที่เราเข้าใจก็ดูแลให้ดี
เธอยกตัวอย่างเรื่องลิงกำถั่วที่ล้วงมือเข้าไปในลูกมะพร้าว หรือใส่ถั่วที่ลิงชอบไว้ในกะลา เจ้าลิงพอได้กลิ่นของชอบ ก็วิ่งมาล้วงมือเข้าไปในลูกมะพร้าวหรือกะลา กำของโปรดของมันไว้แน่น แล้วคราวนี้มันจะพบว่า พอจะดึงออกมา กลับดึงออกมาไม่ได้ นั่งรอจนชาวสวนมาจับตัว ทั้งๆ ที่แค่ปล่อยถั่วที่กำเอาไว้แน่นออก มือก็จะหลุดออกจากลูกมะพร้าว
ทุกข์ของเราก็เหมือนลิงกำถั่ว เปรียบเสมือนการกำความคิด ความอยาก ยึดติดว่านี่ของเรา ต้องเป็นอย่างใจเรา เอาไว้อย่างแน่นหนา แต่สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ของเธอ จะไม่กำถั่วแบบลิง แต่ได้ปล่อยวาง เช่น คนซื้อที่ดิน อยากซื้อราคาเท่าไหร่เราก็ขายใช้หนี้ โดยไม่เสียดายว่า ถ้าเก็บไว้จะต้องได้กำไรมากกว่านี้ เพราะโฟกัสไปตรงประเด็น "ต้องการใช้หนี้" จึงทำทุกวิถีทางให้หนี้หมดโดยเร็ว
ทุกวันนี้ เธอเป็นคนไม่มีหนี้สิน แต่มีเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับสองแม่ลูก เพียงพอไปตลอดชีวิต โดยไม่ต้องบริหารงานธุรกิจที่เคร่งเครียดเหมือนในอดีต อาจเรียกว่า Early Rich Early Retire หรือ Retire young Retire Happy
แต่ก่อนที่จะเดินมาถึงจุดนี้ เธอก็เหมือนคนปกติทั่วไป ที่ "ติดกับดักหนู" เช่นกัน เพียงแต่เธอสามารถหาทางออกจากกับดักได้ก่อนหลายๆ คน โดยกลับไปที่จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ คือ การฝึกใจให้มีคุณภาพ รู้ทันความรู้สึกนึกคิด รู้ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร อย่างไร มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเราอย่างไร ทบทวนวิถีชีวิตที่เราต้องการ เปิดทางเลือกให้ตัวเอง เปิดมุมมองให้กว้าง ไม่ติดกับบ้านหลังนี้ เมืองนี้ จนต้องแบกกองหนี้ แต่ต้องหาตัวเอง หาพรสวรรค์ และพรแสวงของตัวเองให้เจอ
ก่อนขายกิจการเธอก็ต้องทำงานหนักเช่นกัน การบริหารงานหลักๆ ที่เวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ แม้เป็นร้านขายเพชรเล็กๆ มีสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้า 3 สาขา ต่อมาขยายเป็น 6 สาขา และขยายเป็น 9 แห่งในเวลาไม่กี่เดือน อาจกล่าวได้ว่าจากฝีมือและแรงกายแรงใจที่ทุ่มเทให้ จนในที่สุดก็หยุดขยายเพื่อให้พนักงานได้มีเวลาลับสติปัญญาของตนเอง สามารถไปฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องลางาน
ขณะที่การบริหารงานของเธอ ขณะนั้นเน้นองค์กรที่มีความสุข สามารถปรึกษากันได้ ทุกอย่างพูดคุยกันได้ ตั้งแต่พนักงานส่งเอกสารจนถึงประธานบริษัท การตั้งเป้าหมายการขายก็ให้ตั้งเป้ากันเอง ขายเอง ทำให้ต่างคนต่างมีศรัทธาซึ่งกันและกัน เมื่อได้กำไรก็มาแบ่งกัน พอทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมในบริษัท ไม่มีใครกดดันใคร งานก็จะออกมาดี
"อดีตลูกน้องบอกเลยว่า พี่อ้อยไม่ต้องทำงานก็ได้ เพราะทุกวันนี้พี่อ้อยทำงานให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี ทุกคนก็จะขยันทำงาน ตั้งใจทำงานไม่สร้างปัญหา อ้อยมีเวลาไปทำบุญ ไปสอนธรรมะให้คนทั่วประเทศ แล้วเขาบอกว่าเขาได้บุญทุกวัน เขาโชคดีทุกวัน คนจะชอบแซวอ้อยว่า บริษัทอ้อยเทวดาเลี้ยง คนเดินไปดูกี่ยี่ห้อมาจบที่ยี่ห้อของอ้อยทุกที ขายดีมากๆ พนักงานจึงได้คอมมิชชั่นสูง อธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ ก็คือ คนทำงานจะรู้สึกว่า เขามีคุณค่า เจ้านายและลูกน้องรักกัน บรรยากาศก็ดี อยู่กันแบบพี่น้อง มีความสุข การทุ่มเทในงานก็จะมาโดยอัตโนมัติ ร้านเพชรของเราก็เลยขายดี"
การทำธุรกิจในช่วงนั้น ทำให้เธอมีเงินเป็นกอบเป็นกำ พอเป็นทุนรอนในการเดินบนเส้นทางธรรมะในวันนี้
-----------------------------------------
พอดีผมเคยไปทำวิปััสสนาที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ตอนนั้น คุณฐิตินาถก็มาบรรยายธรรมให้ฟัง ตอนนั้นผม็รู้สึกเลยว่า เสียงของคุณฐิตินาถนั้น สงบแล้วก็นิ่งจริงๆ คงเป็นสิ่งสะท้อนจิตใจที่สงบของแกนะครับ
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart ... 886232.php
นงค์นาถ ห่านวิไล
ฐิตินาถ ณ พัทลุง Retire Young Retire Happy
"ได้ทดลองปฏิบัติธรรม พบว่า 'ใจ' กับความเจ็บปวดแยกออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไป ใจส่วนใจ ใจเราจะไม่เจ็บปวด จนกว่าเราเผลอสติอยากบังคับให้สิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างใจเรา "
+++++++++++
ในวัย 35 ปีของ ฐิตินาถ ณ พัทลุง วันนี้เธอประกาศวางมือจากธุรกิจ ใช้ชีวิตกับ 'น้องทะเล' ลูกชายหนึ่งเดียวของเธอ หลังจากสามีเสียชีวิตไปเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา
การรีไทร์ (Retire) ของเธอ ไม่เพียงแต่หยุดทำงานเฉยๆ แต่เธอได้ขายกิจการเวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และ
โรงเรียนแฮปปี้คิดส์ มาเป็นคนเดินช้า เป็นคุณแม่ของลูก และเป็นวิทยากรบรรยายธรรมะสำหรับคนทำงานในองค์กรรัฐ เอกชน และสถานปฏิบัติธรรม รวมถึงเป็น 'ครูอ้อย' ของเด็กๆ ในหลักสูตรปฏิบัติธรรม
ธุรกิจเวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ และกิจการโรงเรียนแฮปปี้คิดส์ กำลังไปได้ดี แต่เธอก็ตัดสินใจขายทิ้ง ด้วยเหตุผลที่ว่าขอทำธุรกิจแบบพอเพียง มีเงินก้อนหนึ่งที่คิดว่ามากพอแก่การดำรงชีวิตและอยู่ได้สบายๆ ก็น่าจะใช้เวลาที่เหลือทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ เพราะเงินนั้นเป็นสิ่งจำเป็นช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย แต่เราสามารถจัดวิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตที่จะช่วยให้เรามีความสุขโดยใช้เงินน้อยๆ ก็ได้
เธอจัดพอร์ตชีวิต โดยมองว่า คนคนหนึ่ง ต้องการความสะดวกสบายระดับหนึ่ง แต่มากไปกว่านั้น คือ ความสุข เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มมีความสุขตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ความสุขในที่นี้ คือ ความสุขประณีต สุขใจ สุขกาย ไม่ทุกข์ ตามหลักพุทธศาสนา
ขณะที่คนส่วนใหญ่ แม้จะมีเงินและทรัพย์สมบัติมากมายนับแสนล้าน แต่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่ เปรียบเสมือนนํ้าในแก้วไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจของเราไม่เคยหยุด แก้วของเราจะโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่เคยพอ แต่ถ้าเรามีนํ้าอยู่ครึ่งแก้ว แล้วสามารถลดขนาดของแก้วนํ้าลง จนเหลือเพียง 1 ใน 4 นํ้าที่มีครึ่งแก้วก็จะล้นเกินอีกเท่าตัว เกินพอสำหรับเรา และพอที่จะแบ่งให้คนอื่น เมื่อน้ำเต็มแล้วเราก็จะไม่ต้องวิ่งหานํ้ามาเติมอีก มีเวลาเหลือให้ลูก ให้คนที่เรารัก ให้กับการพัฒนาจิตใจตัวเอง ให้กับสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง
"ต้องรู้จักพอเป็น มีแค่ไม่เดือดร้อนตลอดชีวิต และอ้อยมีลูกแค่คนเดียว แล้วลูกก็เป็นเด็กพอเพียง ชอบการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องวิ่งหาเงินไปเรื่อยๆ"
เธอเชื่อว่า มีเงินแล้วอาจเจอทางตัน ต้องหาเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความเครียด เพิ่มภาระ เบียดเบียนกระทบคนอื่นมากขึ้น เพิ่มความกลัวในจิตใจมากขึ้น เพราะเงินที่มากเกินไป จะสร้างปัญหามากกว่าตอนที่มีเงินน้อย ยิ่งมีมากก็ใช้มาก เข้าข่ายเสพติดเงิน ทำให้เป้าหมายของชีวิต ก็คือ การหาเงินให้มากขึ้น ต้องทุ่มแรงกายแรงใจ สติ ปัญญา หาเงินมากกว่า สิ่งที่มีความหมายกับชีวิตจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลครอบครัว ดูแลคนที่เรารัก ละเลยต่อสุขภาพทั้งกายและใจ
"คนที่มองว่าเงินเป็นเป้าหมายสูงสุด ความสุขทั้งหมดของชีวิตอยู่ที่เงิน พอหมดเงิน ก็หมดความสุข" ฐิตินาถ เชื่อเช่นนี้
ความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ทว่าเธอเองได้ปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช มีเมตตาช่วยชี้นำทาง หลังจากเธอได้ปฏิบัติธรรมมานาน 7 ปี
ฐิตินาถ เริ่มปฏิบัติธรรมหลังจากสามีเสียชีวิตกะทันหัน ทิ้งหนี้ไว้ให้เกือบ 100 ล้านบาท ตอนนั้นลูกอายุไม่ถึงขวบ ธุรกิจของเขา เธอเองก็ไม่เข้าใจ จะสานต่อก็คงยาก จะทำอย่างไรกับหนี้ก้อนโต รู้สึกเจ็บปวดจนแทบเอาชีวิตไม่รอด
จากนั้น ได้ทดลองปฏิบัติธรรม พบว่า 'ใจ' กับความเจ็บปวดแยกออกจากกันได้ เวลานั่งสมาธิเราปวดขา ความปวดแยกออกไป ใจส่วนใจ ใจเราจะไม่เจ็บปวด จนกว่าเราเผลอสติอยากบังคับให้สิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างใจเรา
การปฏิบัติธรรม ช่วยเธอได้ เพราะเธอใช้เวลา 3 ปีสามารถใช้หนี้เกือบ 100 ล้านได้หมด โดยยึดหลักการตัดอวัยวะรักษาชีวิต และทุกข์ตรงไหนวางตรงนั้น หนักตรงไหน ปล่อยตรงนั้น อะไรที่เรารักษาไว้ไม่ได้ก็ปล่อยมันไป อะไรที่เราเข้าใจก็ดูแลให้ดี
เธอยกตัวอย่างเรื่องลิงกำถั่วที่ล้วงมือเข้าไปในลูกมะพร้าว หรือใส่ถั่วที่ลิงชอบไว้ในกะลา เจ้าลิงพอได้กลิ่นของชอบ ก็วิ่งมาล้วงมือเข้าไปในลูกมะพร้าวหรือกะลา กำของโปรดของมันไว้แน่น แล้วคราวนี้มันจะพบว่า พอจะดึงออกมา กลับดึงออกมาไม่ได้ นั่งรอจนชาวสวนมาจับตัว ทั้งๆ ที่แค่ปล่อยถั่วที่กำเอาไว้แน่นออก มือก็จะหลุดออกจากลูกมะพร้าว
ทุกข์ของเราก็เหมือนลิงกำถั่ว เปรียบเสมือนการกำความคิด ความอยาก ยึดติดว่านี่ของเรา ต้องเป็นอย่างใจเรา เอาไว้อย่างแน่นหนา แต่สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ของเธอ จะไม่กำถั่วแบบลิง แต่ได้ปล่อยวาง เช่น คนซื้อที่ดิน อยากซื้อราคาเท่าไหร่เราก็ขายใช้หนี้ โดยไม่เสียดายว่า ถ้าเก็บไว้จะต้องได้กำไรมากกว่านี้ เพราะโฟกัสไปตรงประเด็น "ต้องการใช้หนี้" จึงทำทุกวิถีทางให้หนี้หมดโดยเร็ว
ทุกวันนี้ เธอเป็นคนไม่มีหนี้สิน แต่มีเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับสองแม่ลูก เพียงพอไปตลอดชีวิต โดยไม่ต้องบริหารงานธุรกิจที่เคร่งเครียดเหมือนในอดีต อาจเรียกว่า Early Rich Early Retire หรือ Retire young Retire Happy
แต่ก่อนที่จะเดินมาถึงจุดนี้ เธอก็เหมือนคนปกติทั่วไป ที่ "ติดกับดักหนู" เช่นกัน เพียงแต่เธอสามารถหาทางออกจากกับดักได้ก่อนหลายๆ คน โดยกลับไปที่จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ คือ การฝึกใจให้มีคุณภาพ รู้ทันความรู้สึกนึกคิด รู้ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร อย่างไร มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเราอย่างไร ทบทวนวิถีชีวิตที่เราต้องการ เปิดทางเลือกให้ตัวเอง เปิดมุมมองให้กว้าง ไม่ติดกับบ้านหลังนี้ เมืองนี้ จนต้องแบกกองหนี้ แต่ต้องหาตัวเอง หาพรสวรรค์ และพรแสวงของตัวเองให้เจอ
ก่อนขายกิจการเธอก็ต้องทำงานหนักเช่นกัน การบริหารงานหลักๆ ที่เวิร์คกิ้ง ไดมอนด์ แม้เป็นร้านขายเพชรเล็กๆ มีสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้า 3 สาขา ต่อมาขยายเป็น 6 สาขา และขยายเป็น 9 แห่งในเวลาไม่กี่เดือน อาจกล่าวได้ว่าจากฝีมือและแรงกายแรงใจที่ทุ่มเทให้ จนในที่สุดก็หยุดขยายเพื่อให้พนักงานได้มีเวลาลับสติปัญญาของตนเอง สามารถไปฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องลางาน
ขณะที่การบริหารงานของเธอ ขณะนั้นเน้นองค์กรที่มีความสุข สามารถปรึกษากันได้ ทุกอย่างพูดคุยกันได้ ตั้งแต่พนักงานส่งเอกสารจนถึงประธานบริษัท การตั้งเป้าหมายการขายก็ให้ตั้งเป้ากันเอง ขายเอง ทำให้ต่างคนต่างมีศรัทธาซึ่งกันและกัน เมื่อได้กำไรก็มาแบ่งกัน พอทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมในบริษัท ไม่มีใครกดดันใคร งานก็จะออกมาดี
"อดีตลูกน้องบอกเลยว่า พี่อ้อยไม่ต้องทำงานก็ได้ เพราะทุกวันนี้พี่อ้อยทำงานให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี ทุกคนก็จะขยันทำงาน ตั้งใจทำงานไม่สร้างปัญหา อ้อยมีเวลาไปทำบุญ ไปสอนธรรมะให้คนทั่วประเทศ แล้วเขาบอกว่าเขาได้บุญทุกวัน เขาโชคดีทุกวัน คนจะชอบแซวอ้อยว่า บริษัทอ้อยเทวดาเลี้ยง คนเดินไปดูกี่ยี่ห้อมาจบที่ยี่ห้อของอ้อยทุกที ขายดีมากๆ พนักงานจึงได้คอมมิชชั่นสูง อธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ ก็คือ คนทำงานจะรู้สึกว่า เขามีคุณค่า เจ้านายและลูกน้องรักกัน บรรยากาศก็ดี อยู่กันแบบพี่น้อง มีความสุข การทุ่มเทในงานก็จะมาโดยอัตโนมัติ ร้านเพชรของเราก็เลยขายดี"
การทำธุรกิจในช่วงนั้น ทำให้เธอมีเงินเป็นกอบเป็นกำ พอเป็นทุนรอนในการเดินบนเส้นทางธรรมะในวันนี้
-----------------------------------------
พอดีผมเคยไปทำวิปััสสนาที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ตอนนั้น คุณฐิตินาถก็มาบรรยายธรรมให้ฟัง ตอนนั้นผม็รู้สึกเลยว่า เสียงของคุณฐิตินาถนั้น สงบแล้วก็นิ่งจริงๆ คงเป็นสิ่งสะท้อนจิตใจที่สงบของแกนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 359
- ผู้ติดตาม: 0
ฐิตินาถ ณ พัทลุง Retire Young Retire Happy
โพสต์ที่ 2
เคยได้ไปนั่งปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย 8 วัน 7 คืน
ที่บ้านคุณแม่ที่นครราชสีมา
เลยได้ฟังคุณนิถินาถมาบรรยายเป็นวิทยากรร่วมด้วย
รู้สึกดี เธอมีข้อคิดที่ดี มีธรรมมะ ใช้หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
มาจัดการกับชีวิตตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีสติ
น่าชื่นชมจริงๆ....
ล่าสุดได้ฟังเธอมาเป็นวิทยากรร่วมในรายการ MONEY TALKใน ช่องยูบีซี
เธอแนะนำว่าอย่าเล่นหุ้นแบบให้ฝรั่งมาชี้นำ
มิฉนั้นอาจเจ็บตัว เจ็บใจ
สรุปได้ว่า......คล้ายๆกับแนว VI อย่างนั้นหรือปล่าวหนอ.....
ที่บ้านคุณแม่ที่นครราชสีมา
เลยได้ฟังคุณนิถินาถมาบรรยายเป็นวิทยากรร่วมด้วย
รู้สึกดี เธอมีข้อคิดที่ดี มีธรรมมะ ใช้หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
มาจัดการกับชีวิตตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีสติ
น่าชื่นชมจริงๆ....
ล่าสุดได้ฟังเธอมาเป็นวิทยากรร่วมในรายการ MONEY TALKใน ช่องยูบีซี
เธอแนะนำว่าอย่าเล่นหุ้นแบบให้ฝรั่งมาชี้นำ
มิฉนั้นอาจเจ็บตัว เจ็บใจ
สรุปได้ว่า......คล้ายๆกับแนว VI อย่างนั้นหรือปล่าวหนอ.....