ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 1
1. การใช้ PE ratio เพื่อประเมิน fair value ของกิจการที่เราลงทุน จัดได้ว่าเป็นวิธีการที่ง่าย และให้ sense ถึงความถูกแพงของหุ้นได้เป็นอย่างดี
2. อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ การใช้ PE ratio อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยาก เพราะการใช้ PE ratio นั้นต้องอาศัยทั้ง ”ศิลปะ” และ “ประสบการณ์” พอสมควร
3. สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ PE ratio ที่เราใช้นั้นควรจะเป็น PE ratio ของ ”อนาคต” นั่นหมายความว่าเราต้องสามารถใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาประเมินผลกำไรในอนาคตให้ได้เสียก่อน ( ผมมองว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องประเมินผลกำไรอีก 2 ปี ข้างหน้าให้ได้ ) ก่อนที่จะให้อัตราส่วนทางการเงินตัวนี้
4. ไกด์ไลน์คร่าวๆ สำหรับการใช้ PE ratio… สิ่งแรกที่ผมจะพิจารณาก็คือคุณภาพของ E ( ซึ่งก็คือคุณภาพของกิจการ ) ถ้ากิจการเป็นกิจการที่ดีมากๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง ( super stock ) มีรายได้ที่สม่ำเสมอ และมีกำไรที่มีสเถียรถาพซึ่งสามารถเติบโตได้ทุกปี ผมมักจะให้ pe 12 -15 สำหรับกิจการที่ดีพอสมควร มีการเติบโตติดกันหลายๆปี แต่อาจจะไม่ได้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากนัก รายได้อาจจะผันผวนในบางไตรมาส ผมก็มักจะลด pe ลงมาเหลือ 8 -12 ส่วนกิจการ”งั้นๆ” กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ผมก็มักจะให้ที่น้อยกว่า 8
5. สิ่งที่ผมจะใช้ต่อไป ก็คือ PE ratio เฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่าลืมว่า E เกิดจากคุณภาพของกิจการ แต่ PE ratio เกิดจากความคาดหวังของนักลงทุน ดังนั้น PE ratio ของอุตสาหกรรมนั้นจะเป็น reference คร่าวๆ ให้กับเราได้เป็นอย่างดีว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราไปพบหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวหนึ่งถูกเทรดที่ PE แค่ 5 แล้วเราดูงบการเงินย้อนหลังไป เราก็พบว่าบริษัทก็มีผลกำไรสม่ำเสมอ พอสมควร แบรนด์ของบริษัท ก็เป็นที่รู้จักในตลาด เราอาจจะคิดว่านี่คือหุ้นที่”ดี” และน่าจะเทรดที่ PE 7-8 แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของอุตสาหกรรม เราจะพบว่า มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กมากมายที่เทรดกันแค่ PE 4-5 ( หลายตัวอาจมีงบการเงินที่”แข็งแรง”กว่าบริษัทที่เราสนใจด้วยซ้ำ ) นั่นเป็นเพราะมุมมองของตลาดเราต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ไม่เคยดีอีกเลย นับตั้งแต่วิกฤติ 40 เป็นต้นมา
6. PE / % Growth ( PEG ) เป็นอีกวิธีที่อาจจะใช้หา PE ratio ที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับหุ้นโตเร็ว ที่บางครั้งการใช้ Forward PE ratio ไปแค่ 1-2 ปี อาจจะ”หลอกตา” ทำให้หุ้นดูแพงเกินจริง ปีเตอร ลินช์ ให้หลักการคร่าวๆว่า PEG ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วคือ 1 ซึ่งก็แปลว่า PE ratio ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วนั้นเท่ากับอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยนั่นเอง
7. หุ้นอีกประเภทที่การใช้ PE อย่างเดียวอาจจะหลอกตา นั่นก็คือหุ้นที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ และมีภาระค่าเสื่อมในแต่ละปีมากๆ เพราะบริษัทประเภทนี้ผลกำไร ( E ) จะดูน้อย เพราะผลจากค่าเสื่อม ทั้งที่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดอิสระที่ไหลเข้าบริษัทนั้นมาก ( จนบางครั้งบริษัทแทบจะปันผลออกมาได้หมดทั้ง 100% ของ EPS ) การประเมิน FV ของหุ้นประเภทนี้ ดีที่สุดคือการใช้ DCF หรือถ้าจะทำให้ง่าย ก็อาจจะประเมินด้วย P / Cash flow or P / EBITDA แทน
8. แล้วถามว่า PE เท่าไรถึงจะเรียกว่า Undervalue? คำตอบของคำถามนี้ก็ง่ายๆ นั่นคือเมื่อเราเห็นว่าบริษัทนั้นๆ กำลังถูกเทรดกันที่ PE ratio ที่น้อยกว่า PE ratio ที่เหมาะสมที่เราประเมินไว้ ( ลำพังโดยตัวที่ PE เองนั้นไม่อาจบอกได้ว่าหุ้นถูกหรือแพง เช่น PE 8 สำหรับอุตสาหกรรมตะวันตกดิน อาจจะเรียกได้ว่าแพง แต่ PE 8 สำหรับหุ้น modern trade อาจจะเรียกได้ว่าถูก )
9. อย่างไรก็ดี PE ที่น้อยมากๆ เช่นต่ำกว่า 3 -4 ก็อาจจะจัดได้ว่า undervalue โดยไม่ต้องสนกับคุณภาพของกิจการมากนัก เพราะที่ PE ระดับนี้ ปันผลมักจะเกิน 10% ( ถ้า payout ไม่ต่ำกว่า 50% ของ EPS ) ซึ่งปันผลที่ขึ้นถึงสองหลักถือว่า undervalue มาก หากมองด้วย dividend approach ( หากมีโอกาสผมจะเขียนบทความเรื่อง dividend approach ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน )
10. สำหรับหุ้นวัฎจักร โดยเฉพาะในกลุ่ม commodity ส่วนตัวผมไม่ค่อยนิยมใช้ PE ratio ในการประเมิน FV เท่าไรนัก เพราะ E ของบริษัทเหล่านี้มักจะผันผวนได้มากๆ ผมมักจะใช้ PB ในการประเมินมูลค่ามากกว่า ( อาศัยหลักการที่ว่า นักลงทุนจะยินดีซื้อกิจการต่อจากเจ้าของในราคากี่เท่าของเงินลงทุนเริ่มแรก ในขณะที่ธุรกิจกำลังอยู่ใน up-cycle ) โดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังว่า ตลาดมักจะให้ PB เท่าไรใน”ขาขึ้น” รอบก่อนๆ
อย่างไรก็ดีหลักการในข้อ 9 เรื่อง PE ratio ที่ต่ำมากๆ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับหุ้นวัฎจักรได้ นั่นคือ ถ้าเราเห็นแล้วว่า E ของขาขึ่นรอบนี้ จะทำให้ Forward PE ratio ต่ำกว่า 3 -4 ก็เป็นจุดที่เรามั่นใจได้พอสมควรว่าหุ้นยัง undervalue อยู่มาก
2. อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ การใช้ PE ratio อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยาก เพราะการใช้ PE ratio นั้นต้องอาศัยทั้ง ”ศิลปะ” และ “ประสบการณ์” พอสมควร
3. สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ PE ratio ที่เราใช้นั้นควรจะเป็น PE ratio ของ ”อนาคต” นั่นหมายความว่าเราต้องสามารถใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาประเมินผลกำไรในอนาคตให้ได้เสียก่อน ( ผมมองว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องประเมินผลกำไรอีก 2 ปี ข้างหน้าให้ได้ ) ก่อนที่จะให้อัตราส่วนทางการเงินตัวนี้
4. ไกด์ไลน์คร่าวๆ สำหรับการใช้ PE ratio… สิ่งแรกที่ผมจะพิจารณาก็คือคุณภาพของ E ( ซึ่งก็คือคุณภาพของกิจการ ) ถ้ากิจการเป็นกิจการที่ดีมากๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง ( super stock ) มีรายได้ที่สม่ำเสมอ และมีกำไรที่มีสเถียรถาพซึ่งสามารถเติบโตได้ทุกปี ผมมักจะให้ pe 12 -15 สำหรับกิจการที่ดีพอสมควร มีการเติบโตติดกันหลายๆปี แต่อาจจะไม่ได้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากนัก รายได้อาจจะผันผวนในบางไตรมาส ผมก็มักจะลด pe ลงมาเหลือ 8 -12 ส่วนกิจการ”งั้นๆ” กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ผมก็มักจะให้ที่น้อยกว่า 8
5. สิ่งที่ผมจะใช้ต่อไป ก็คือ PE ratio เฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่าลืมว่า E เกิดจากคุณภาพของกิจการ แต่ PE ratio เกิดจากความคาดหวังของนักลงทุน ดังนั้น PE ratio ของอุตสาหกรรมนั้นจะเป็น reference คร่าวๆ ให้กับเราได้เป็นอย่างดีว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราไปพบหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวหนึ่งถูกเทรดที่ PE แค่ 5 แล้วเราดูงบการเงินย้อนหลังไป เราก็พบว่าบริษัทก็มีผลกำไรสม่ำเสมอ พอสมควร แบรนด์ของบริษัท ก็เป็นที่รู้จักในตลาด เราอาจจะคิดว่านี่คือหุ้นที่”ดี” และน่าจะเทรดที่ PE 7-8 แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของอุตสาหกรรม เราจะพบว่า มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กมากมายที่เทรดกันแค่ PE 4-5 ( หลายตัวอาจมีงบการเงินที่”แข็งแรง”กว่าบริษัทที่เราสนใจด้วยซ้ำ ) นั่นเป็นเพราะมุมมองของตลาดเราต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ไม่เคยดีอีกเลย นับตั้งแต่วิกฤติ 40 เป็นต้นมา
6. PE / % Growth ( PEG ) เป็นอีกวิธีที่อาจจะใช้หา PE ratio ที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับหุ้นโตเร็ว ที่บางครั้งการใช้ Forward PE ratio ไปแค่ 1-2 ปี อาจจะ”หลอกตา” ทำให้หุ้นดูแพงเกินจริง ปีเตอร ลินช์ ให้หลักการคร่าวๆว่า PEG ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วคือ 1 ซึ่งก็แปลว่า PE ratio ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วนั้นเท่ากับอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยนั่นเอง
7. หุ้นอีกประเภทที่การใช้ PE อย่างเดียวอาจจะหลอกตา นั่นก็คือหุ้นที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ และมีภาระค่าเสื่อมในแต่ละปีมากๆ เพราะบริษัทประเภทนี้ผลกำไร ( E ) จะดูน้อย เพราะผลจากค่าเสื่อม ทั้งที่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดอิสระที่ไหลเข้าบริษัทนั้นมาก ( จนบางครั้งบริษัทแทบจะปันผลออกมาได้หมดทั้ง 100% ของ EPS ) การประเมิน FV ของหุ้นประเภทนี้ ดีที่สุดคือการใช้ DCF หรือถ้าจะทำให้ง่าย ก็อาจจะประเมินด้วย P / Cash flow or P / EBITDA แทน
8. แล้วถามว่า PE เท่าไรถึงจะเรียกว่า Undervalue? คำตอบของคำถามนี้ก็ง่ายๆ นั่นคือเมื่อเราเห็นว่าบริษัทนั้นๆ กำลังถูกเทรดกันที่ PE ratio ที่น้อยกว่า PE ratio ที่เหมาะสมที่เราประเมินไว้ ( ลำพังโดยตัวที่ PE เองนั้นไม่อาจบอกได้ว่าหุ้นถูกหรือแพง เช่น PE 8 สำหรับอุตสาหกรรมตะวันตกดิน อาจจะเรียกได้ว่าแพง แต่ PE 8 สำหรับหุ้น modern trade อาจจะเรียกได้ว่าถูก )
9. อย่างไรก็ดี PE ที่น้อยมากๆ เช่นต่ำกว่า 3 -4 ก็อาจจะจัดได้ว่า undervalue โดยไม่ต้องสนกับคุณภาพของกิจการมากนัก เพราะที่ PE ระดับนี้ ปันผลมักจะเกิน 10% ( ถ้า payout ไม่ต่ำกว่า 50% ของ EPS ) ซึ่งปันผลที่ขึ้นถึงสองหลักถือว่า undervalue มาก หากมองด้วย dividend approach ( หากมีโอกาสผมจะเขียนบทความเรื่อง dividend approach ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน )
10. สำหรับหุ้นวัฎจักร โดยเฉพาะในกลุ่ม commodity ส่วนตัวผมไม่ค่อยนิยมใช้ PE ratio ในการประเมิน FV เท่าไรนัก เพราะ E ของบริษัทเหล่านี้มักจะผันผวนได้มากๆ ผมมักจะใช้ PB ในการประเมินมูลค่ามากกว่า ( อาศัยหลักการที่ว่า นักลงทุนจะยินดีซื้อกิจการต่อจากเจ้าของในราคากี่เท่าของเงินลงทุนเริ่มแรก ในขณะที่ธุรกิจกำลังอยู่ใน up-cycle ) โดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังว่า ตลาดมักจะให้ PB เท่าไรใน”ขาขึ้น” รอบก่อนๆ
อย่างไรก็ดีหลักการในข้อ 9 เรื่อง PE ratio ที่ต่ำมากๆ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับหุ้นวัฎจักรได้ นั่นคือ ถ้าเราเห็นแล้วว่า E ของขาขึ่นรอบนี้ จะทำให้ Forward PE ratio ต่ำกว่า 3 -4 ก็เป็นจุดที่เรามั่นใจได้พอสมควรว่าหุ้นยัง undervalue อยู่มาก
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 2
ต้องขอ Copy ไปไว้เป็นสมบัติส่วนตัวเลยครับ ไว้สอนลูกสอนหลานได้เลย
เป็นการตกผลึกจากประสพการณ์และการศีกษาโดยแท้
เป็นการตกผลึกจากประสพการณ์และการศีกษาโดยแท้
-
- Verified User
- โพสต์: 36
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 3
มีประโยชน์สำหรับหน้าใหม่อย่างผมมากครับ ขอขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 5
ไม๋ธรรมดาเลย สำหรับความรู้และหลักคิดของ คุณreiter
ผมรู้แล้วว่าจะลอกหุ้นใคร
ผมรู้แล้วว่าจะลอกหุ้นใคร
Blueplanet
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 6
ผมชอบข้อ5ที่สุด บริษัทดีในกลุ่มอสังหาฯถูกเทรดในPEต่ำมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
เพราะอคติและความกลัวตั้งแต่วิกฤษเศรษฐกิจในปี2540
เพราะอคติและความกลัวตั้งแต่วิกฤษเศรษฐกิจในปี2540
ลงทุนเพื่อชีวิต
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 7
รบกวนถามคุณหมอเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อยอยู่ของผมหน่อยครับ
CPNถือเป็นหุ้นตามข้อ 7 หรือไม่ครับ
แล้วมีธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายหุ้นประเภทนี้ครับ
CPNถือเป็นหุ้นตามข้อ 7 หรือไม่ครับ
แล้วมีธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายหุ้นประเภทนี้ครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1661
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 9
ผมว่าพวกโมเดิร์นเทรด และก็โรงพยาบาลthaloengsak เขียน:รบกวนถามคุณหมอเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อยอยู่ของผมหน่อยครับ
CPNถือเป็นหุ้นตามข้อ 7 หรือไม่ครับ
แล้วมีธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายหุ้นประเภทนี้ครับ
ผมชอบกลุ่มพวกนี้ก็เพราะมันมีกระแสเงินสดซ่อนอยู่แบบนี้แหละ
อันที่จริงพวกโรงแรมก็น่าจะใช่ แต่เนื่องจากรายได้เขาไม่ค่อยสม่ำเสมอ
ก็เลยยังไม่น่าสนใจ (สำหรับผมนะ)
- sorn adis
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 295
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณคุณหมอแป๊ะมากครับที่กรุณาให้ข้อสรุปอีกหนึ่งบทเรียนที่มีประโยชน์มาก
ทำให้ผมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งประเภทหุ้นทั้งหกของลินซ์ได้ลงตัว
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ หุ้นกลับตัว ซึ่งผมมักใช้ forward PE ในการประเมินมูลค่าหุ้น
ในทางปฏิบัติ คุณหมอแป๊ะคิดว่าควรใช้วิธีใดในการประเมินมูลค่าหุ้น turn around ครับ
ขอบคุณครับ
ทำให้ผมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งประเภทหุ้นทั้งหกของลินซ์ได้ลงตัว
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ หุ้นกลับตัว ซึ่งผมมักใช้ forward PE ในการประเมินมูลค่าหุ้น
ในทางปฏิบัติ คุณหมอแป๊ะคิดว่าควรใช้วิธีใดในการประเมินมูลค่าหุ้น turn around ครับ
ขอบคุณครับ
คาถาลงทุน
BuVaPiCaMos
BuVaPiCaMos
- CHOOKY
- Verified User
- โพสต์: 540
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับ
รอติดตาม เรื่อง dividend app.. นะครับ ที่ อเมริกา dividend investing ก็มีนักลงทุนใช้หลักการนี้อยุ่มากพอสมควร
รอติดตาม เรื่อง dividend app.. นะครับ ที่ อเมริกา dividend investing ก็มีนักลงทุนใช้หลักการนี้อยุ่มากพอสมควร
"ค้นหาคุณค่าให้พบ แล้วซื้อหุ้นกิจการที่ดีนั้น ซึ่งมีกำไรต่อเนื่อง ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ ในเวลาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ และถือมันไว้ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดี และยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
- HENDRIX
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 15
ผมชอบข้อ 10 มาก มันตรงกับข้อสรุปที่ผมเพิ่งได้
ซึ่งผมจะดูที่ pbv 6 ( คงต้องให้เวลาตัดสินว่าผมกำลังมี confirmation bias อยู่รึเปล่า )
ส่วนโซนซื้อหุ้นวัฏจักรอยู่ที่ pbv 0.5 และมีข้อมูลว่ากำลังจะเป็นขาขึ้นครับ
ซึ่งผมจะดูที่ pbv 6 ( คงต้องให้เวลาตัดสินว่าผมกำลังมี confirmation bias อยู่รึเปล่า )
ส่วนโซนซื้อหุ้นวัฏจักรอยู่ที่ pbv 0.5 และมีข้อมูลว่ากำลังจะเป็นขาขึ้นครับ
ชนะตลาดหรือเปล่าไม่สน ชนะใจตนเป็นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 181
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 17
และแล้ว คุณหมอก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง ได้อะไรดีๆ อีกแล้วกะเว็บนี้
ถ้าไม่เคยผิดพลาด คงยังเรียกตัวเอง ว่านักลงทุนมืออาชีพ ไม่ได้
- watermusic
- Verified User
- โพสต์: 62
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 18
รบกวนถามหน่อยครับ สงสัยเกี่ยวกับข้อ 3 เล็กน้อย
ถ้าเราใช้ E ในอนาคต มันจะไม่สะท้อนราคาในปัจจุบันรึเปล่าครับ
แล้วจะเพิ่มความเสี่ยงในการคาดการณ์ผลประกอบการผิดพลาดด้วยรึเปล่าครับ
ถ้าเราใช้ E ในอนาคต มันจะไม่สะท้อนราคาในปัจจุบันรึเปล่าครับ
แล้วจะเพิ่มความเสี่ยงในการคาดการณ์ผลประกอบการผิดพลาดด้วยรึเปล่าครับ
สิ่งมีชีวิตซึ่งขับเคลื่อนด้วยความกลัวและความโลภ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 19
ธุรกิจในกลุ่มค้าปลีกเกือบทั้งหมดจะเข้าข่ายเกณฑ์ข้อเจ็ดครับ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมหุ้นค้าปลีกมักจะเทรดกัยที่พีอีสองหลักthaloengsak เขียน:รบกวนถามคุณหมอเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อยอยู่ของผมหน่อยครับ
CPNถือเป็นหุ้นตามข้อ 7 หรือไม่ครับ
แล้วมีธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายหุ้นประเภทนี้ครับ
นอกจากกลุ่มค้าปลีกแล้ว ก็จะเป็นพวกกลุ่มโรงพยาบาล โรงแรม และก็กลุ่มสาธารณูปโภค ( เช่น BTS, BMCL, BECL, TTW, EASTW )
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 21
หุ้น turn around ในช่วงแรกของการ turn ผมมักมองไปที่ book value เสียมากกว่า ผมมองว่าถ้าเจ้าของเค้าอุตส่าห์บริหารจนธุรกิจพลิกกลับมากำไร เค้าก็คงไม่อยากขายธุรกิจให้กับคนอื่นในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนของตัวเอง ( หรืออาจจะให้ส่วนลดนิดหน่อย ถ้านลท. หรือ ผบห.เอง ก็ยังไม่แน่ใจว่าการ"พลิกฟื้น"ครั้งนี้จะยั่งยืนสักแค่ไหน )2BOK เขียน:ขอบคุณคุณหมอแป๊ะมากครับที่กรุณาให้ข้อสรุปอีกหนึ่งบทเรียนที่มีประโยชน์มาก
ทำให้ผมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งประเภทหุ้นทั้งหกของลินซ์ได้ลงตัว
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ หุ้นกลับตัว ซึ่งผมมักใช้ forward PE ในการประเมินมูลค่าหุ้น
ในทางปฏิบัติ คุณหมอแป๊ะคิดว่าควรใช้วิธีใดในการประเมินมูลค่าหุ้น turn around ครับ
ขอบคุณครับ
ถ้าบริษัท turn around อย่างมั่นคงแล้วสักสามสี่ปี ต่อไปผมก็มองโดยใช้หลักการเหมือนบริษัททั่วไปแล้วครับ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 22
การประเมินผลประกอบการณ์ในอนาคตย่อมมีความไม่แม่นยำ 100% เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วครับ บัฟเฟต์เค้าถึงได้พร่ำบอกให้เราลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจง่าย มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ผลกำไรเติบโตอย่างมั่นคง ผบห.มีความรู้ความสามารถและซื่อสัตย์watermusic เขียน:รบกวนถามหน่อยครับ สงสัยเกี่ยวกับข้อ 3 เล็กน้อย
ถ้าเราใช้ E ในอนาคต มันจะไม่สะท้อนราคาในปัจจุบันรึเปล่าครับ
แล้วจะเพิ่มความเสี่ยงในการคาดการณ์ผลประกอบการผิดพลาดด้วยรึเปล่าครับ
และเหนือสิ่งอื่นใดคือการเผื่อ MOS
-
- Verified User
- โพสต์: 1070
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 23
อยากให้วิจารณ์ CPALL กับการใช้ PE ในมุมมองของคุณ เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง บอกตามตรงว่าชอบ อยากรู้มากขึ้น ถ้ารบกวนมากเกิน ไป ไม่ต้องก้อได้ครับreiter เขียน:1. การใช้ PE ratio เพื่อประเมิน fair value ของกิจการที่เราลงทุน จัดได้ว่าเป็นวิธีการที่ง่าย และให้ sense ถึงความถูกแพงของหุ้นได้เป็นอย่างดี
2. อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ การใช้ PE ratio อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยาก เพราะการใช้ PE ratio นั้นต้องอาศัยทั้ง ”ศิลปะ” และ “ประสบการณ์” พอสมควร
3. สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ PE ratio ที่เราใช้นั้นควรจะเป็น PE ratio ของ ”อนาคต” นั่นหมายความว่าเราต้องสามารถใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาประเมินผลกำไรในอนาคตให้ได้เสียก่อน ( ผมมองว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องประเมินผลกำไรอีก 2 ปี ข้างหน้าให้ได้ ) ก่อนที่จะให้อัตราส่วนทางการเงินตัวนี้
4. ไกด์ไลน์คร่าวๆ สำหรับการใช้ PE ratio… สิ่งแรกที่ผมจะพิจารณาก็คือคุณภาพของ E ( ซึ่งก็คือคุณภาพของกิจการ ) ถ้ากิจการเป็นกิจการที่ดีมากๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง ( super stock ) มีรายได้ที่สม่ำเสมอ และมีกำไรที่มีสเถียรถาพซึ่งสามารถเติบโตได้ทุกปี ผมมักจะให้ pe 12 -15 สำหรับกิจการที่ดีพอสมควร มีการเติบโตติดกันหลายๆปี แต่อาจจะไม่ได้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากนัก รายได้อาจจะผันผวนในบางไตรมาส ผมก็มักจะลด pe ลงมาเหลือ 8 -12 ส่วนกิจการ”งั้นๆ” กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ผมก็มักจะให้ที่น้อยกว่า 8
5. สิ่งที่ผมจะใช้ต่อไป ก็คือ PE ratio เฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่าลืมว่า E เกิดจากคุณภาพของกิจการ แต่ PE ratio เกิดจากความคาดหวังของนักลงทุน ดังนั้น PE ratio ของอุตสาหกรรมนั้นจะเป็น reference คร่าวๆ ให้กับเราได้เป็นอย่างดีว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราไปพบหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวหนึ่งถูกเทรดที่ PE แค่ 5 แล้วเราดูงบการเงินย้อนหลังไป เราก็พบว่าบริษัทก็มีผลกำไรสม่ำเสมอ พอสมควร แบรนด์ของบริษัท ก็เป็นที่รู้จักในตลาด เราอาจจะคิดว่านี่คือหุ้นที่”ดี” และน่าจะเทรดที่ PE 7-8 แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของอุตสาหกรรม เราจะพบว่า มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กมากมายที่เทรดกันแค่ PE 4-5 ( หลายตัวอาจมีงบการเงินที่”แข็งแรง”กว่าบริษัทที่เราสนใจด้วยซ้ำ ) นั่นเป็นเพราะมุมมองของตลาดเราต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ไม่เคยดีอีกเลย นับตั้งแต่วิกฤติ 40 เป็นต้นมา
6. PE / % Growth ( PEG ) เป็นอีกวิธีที่อาจจะใช้หา PE ratio ที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับหุ้นโตเร็ว ที่บางครั้งการใช้ Forward PE ratio ไปแค่ 1-2 ปี อาจจะ”หลอกตา” ทำให้หุ้นดูแพงเกินจริง ปีเตอร ลินช์ ให้หลักการคร่าวๆว่า PEG ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วคือ 1 ซึ่งก็แปลว่า PE ratio ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วนั้นเท่ากับอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยนั่นเอง
7. หุ้นอีกประเภทที่การใช้ PE อย่างเดียวอาจจะหลอกตา นั่นก็คือหุ้นที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ และมีภาระค่าเสื่อมในแต่ละปีมากๆ เพราะบริษัทประเภทนี้ผลกำไร ( E ) จะดูน้อย เพราะผลจากค่าเสื่อม ทั้งที่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดอิสระที่ไหลเข้าบริษัทนั้นมาก ( จนบางครั้งบริษัทแทบจะปันผลออกมาได้หมดทั้ง 100% ของ EPS ) การประเมิน FV ของหุ้นประเภทนี้ ดีที่สุดคือการใช้ DCF หรือถ้าจะทำให้ง่าย ก็อาจจะประเมินด้วย P / Cash flow or P / EBITDA แทน
8. แล้วถามว่า PE เท่าไรถึงจะเรียกว่า Undervalue? คำตอบของคำถามนี้ก็ง่ายๆ นั่นคือเมื่อเราเห็นว่าบริษัทนั้นๆ กำลังถูกเทรดกันที่ PE ratio ที่น้อยกว่า PE ratio ที่เหมาะสมที่เราประเมินไว้ ( ลำพังโดยตัวที่ PE เองนั้นไม่อาจบอกได้ว่าหุ้นถูกหรือแพง เช่น PE 8 สำหรับอุตสาหกรรมตะวันตกดิน อาจจะเรียกได้ว่าแพง แต่ PE 8 สำหรับหุ้น modern trade อาจจะเรียกได้ว่าถูก )
9. อย่างไรก็ดี PE ที่น้อยมากๆ เช่นต่ำกว่า 3 -4 ก็อาจจะจัดได้ว่า undervalue โดยไม่ต้องสนกับคุณภาพของกิจการมากนัก เพราะที่ PE ระดับนี้ ปันผลมักจะเกิน 10% ( ถ้า payout ไม่ต่ำกว่า 50% ของ EPS ) ซึ่งปันผลที่ขึ้นถึงสองหลักถือว่า undervalue มาก หากมองด้วย dividend approach ( หากมีโอกาสผมจะเขียนบทความเรื่อง dividend approach ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน )
10. สำหรับหุ้นวัฎจักร โดยเฉพาะในกลุ่ม commodity ส่วนตัวผมไม่ค่อยนิยมใช้ PE ratio ในการประเมิน FV เท่าไรนัก เพราะ E ของบริษัทเหล่านี้มักจะผันผวนได้มากๆ ผมมักจะใช้ PB ในการประเมินมูลค่ามากกว่า ( อาศัยหลักการที่ว่า นักลงทุนจะยินดีซื้อกิจการต่อจากเจ้าของในราคากี่เท่าของเงินลงทุนเริ่มแรก ในขณะที่ธุรกิจกำลังอยู่ใน up-cycle ) โดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังว่า ตลาดมักจะให้ PB เท่าไรใน”ขาขึ้น” รอบก่อนๆ
อย่างไรก็ดีหลักการในข้อ 9 เรื่อง PE ratio ที่ต่ำมากๆ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับหุ้นวัฎจักรได้ นั่นคือ ถ้าเราเห็นแล้วว่า E ของขาขึ่นรอบนี้ จะทำให้ Forward PE ratio ต่ำกว่า 3 -4 ก็เป็นจุดที่เรามั่นใจได้พอสมควรว่าหุ้นยัง undervalue อยู่มาก
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีดีที่มีให้กัน
The One
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 24
cpall เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบริษัทที่การประเมิน FV ด้วย PE ratio อาจจะไม่เหมาะสม และไม่แม่นยำนักสักเท่าไรpornchal เขียน:อยากให้วิจารณ์ CPALL กับการใช้ PE ในมุมมองของคุณ เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง บอกตามตรงว่าชอบ อยากรู้มากขึ้น ถ้ารบกวนมากเกิน ไป ไม่ต้องก้อได้ครับ
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีดีที่มีให้กัน
บริษัทที่มีทั้งคุณสมบัติของความเป็น super stock + ความเป็นหุ้นโตเร็ว + free cash flow ที่ดีมาก อย่าง cpall มักจะเป็นบริษัทที่ประเมินมูลค่ายุติธรรมด้วย PE ratio ได้ยากอยู่เสมอๆ เพราะด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ผมมักจะมองพีอีที่เหมาะสมที่มากกว่า 15 ขึ้นไป
แต่ที่นี้ถามว่าตัวเลขที่เหมาะสมของ cpall จะไปหยุดอยู่ที่เท่าไร? 20? 25? 30? หรือ 40?
ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า pe ที่มากกว่า 15 -20 ขึ้นนั้น ให้ sense ของความถูกแพงได้น้อย ผมยังมองไม่ค่อยออกว่า pe 20 กับ 25 นั้นถูกแพงต่างกันมากน้อยสักเท่าไร ดังนั้นบริษัทในทำนองนี้ผมมักจะนิยมประเมิน FV ด้วยโมเดลของ DCF เสียมากกว่า ( โดยเฉพาะอย่างยิ่ง cpall ที่มีกระแสเงินสดที่โดดเด่นมาก )
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 26
TICON อีกตัวครับ โมเดลธุรกิจเหมือนกัน ต้องตัดค่าเสื่อมเหมือนกัน ซึ่งปันผลได้ประมาณ 80-90% ของกำไรthaloengsak เขียน:รบกวนถามคุณหมอเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อยอยู่ของผมหน่อยครับ
CPNถือเป็นหุ้นตามข้อ 7 หรือไม่ครับ
แล้วมีธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายหุ้นประเภทนี้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 365
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 28
เ๋จ๋งครับ
ชอบมาก ๆ ...
จะติดตามต่อนะครับ ...
ชอบมาก ๆ ...
จะติดตามต่อนะครับ ...
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 29
ขอบคุณครับ ได้ความรู้อีกเยอะเลย
- drfool
- Verified User
- โพสต์: 119
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio
โพสต์ที่ 30
สุดยอดเลยครับ
PE PEG และการเข้าใจกิจการ การคาด Eให้ใกล้เคียงที่สุดในอนาคต เป็นศิลปะของคนที่จะชนะตลาด อย่างที่คุณหมอบอกเลยครับ
มีคนบอกว่า หุ้น A แพงแล้ว PEตอนนี้ตั้ง15 แต่ที่ผ่านมา5ปี E มันเพิ่มปีละ30% นั่นแปลว่าอีกสองปีข้างหน้าPEมันจะเหลือแค่8กว่าเอง ถ้าผมเจอหุ้นแบบนี้ ผมก็กล้ากอดครับ
บทความนี้ตกผลึกมาแล้วจริงๆครับ ต้องเก็บไว้อ่าน
PE PEG และการเข้าใจกิจการ การคาด Eให้ใกล้เคียงที่สุดในอนาคต เป็นศิลปะของคนที่จะชนะตลาด อย่างที่คุณหมอบอกเลยครับ
มีคนบอกว่า หุ้น A แพงแล้ว PEตอนนี้ตั้ง15 แต่ที่ผ่านมา5ปี E มันเพิ่มปีละ30% นั่นแปลว่าอีกสองปีข้างหน้าPEมันจะเหลือแค่8กว่าเอง ถ้าผมเจอหุ้นแบบนี้ ผมก็กล้ากอดครับ
บทความนี้ตกผลึกมาแล้วจริงๆครับ ต้องเก็บไว้อ่าน