กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
stemcell
Verified User
โพสต์: 666
ผู้ติดตาม: 0

กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผม post ในชมรมหมอ VI ห้องนั่งเล่น อยาก share เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน :D

กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

มี keyword อยู่ที่คำว่าพอเพียง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก หลักศาสนาพุทธว่าด้วย "ทางสายกลาง" + "การประมาณตน" และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีนัยซ่อนไว้เป็นแนวคิดว่า "ตลาดหุ้น กิจการ และราคาหุ้นเป็นสิ่งไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้อนาคต ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทำกำไรได้สูงสุด และ เราไม่สามารถทนการขาดทุนได้ครั้งละมากๆ หรือ ทนการขาดทุนปริมาณน้อยแต่บ่อยเกินไป" โดยอ้างอิงมาจากหลักการและแนวคิดต่างๆดังนี้
1. ศาสนาพุทธ เช่น หลักไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา )
2. ลัทธิเต๋า เช่น ธรรมชาติ หยิน หยาง
3. ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น critical mass , reflexivity , game theory
4. ทฤษฏีตลาดทุน
5. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การพนัน
6. กำลังภายในและตำราพิชัยสงคราม เช่น รู้เขา รู้เรา , กลยุทธ์แรก ( หนี )
เอามายำใหญ่เป็นแกงโฮ๊ะ.............. 55555+

แต่เราสามารถบริหารจัดการได้โดยใช้หลักต่างๆ เช่น money management , risk management , margin of safety และ process กระบวนการคิดแก้ไขปัญหาใช้หลัก PDCA ( plan do check act ) วงจรคุณภาพ

เริ่มต้นเอาตรงนี้ก่อน ค่อยตามตอนต่อไป ( discuss ได้เต็มที่ เพื่อแลกเปลี่ยนกันนะครับ ) :D
stemcell
Verified User
โพสต์: 666
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตอน2 money management ก่อนลงทุน
เมื่อเรามีงาน มีรายได้ มีรายจ่าย จะต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่าย จึงจะออม ทำประกันความเสี่ยง(ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ )และ ลงทุนได้ ถ้ายังออมไม่ได้ต้องเพิ่มรายได้ หรือ ลดรายจ่าย หรือลงทุนเพิ่มโดยใช้เงินผู้อื่น เช่น กู้แบงค์

เมื่อเราออม ทำประกันความเสี่ยงแล้วจึงลงทุน โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนตามนิสัย ตามการรับได้ความเสี่ยงในการลงทุน และ style ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ( อย่างน้อย 6 เดือนของค่าใช้จ่าย / เดือน .... แล้วแต่ละคน) + หุ้น + ทอง + ที่ดิน + ตราสารหนี้ ........... ข้อนี้หาอ่านได้ทั่วไปนะครับ ( wealth management )

บางคนรับความเสี่ยงมากก็ลงหุ้นเยอะ รับความเสี่ยงน้อยก็ถือเงินสด + ตราสารหนี้เยอะ ข้อนี้ถือว่าสำคัญในเรื่อง "รู้จักตนเอง และ การประมาณตน" + "รู้เขา " ถ้ารู้น้อย ก็ลงทุนน้อยๆก่อน ถ้ารู้มากขึ้นค่อยลงทุนมากขึ้น และ การลงทุนในความรู้ เรียนรู้ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ก็เป็นส่วนหนึ่งของ risk management

ดังนั้นคนที่ " ไม่รู้จักตนเอง + ลงทุนโดยไม่รู้ + ไม่ได้บริหารจัดการเงินเบื้องต้นก่อนการลงทุน ( กู้หนี้ยืมสิน ) " จึงมีโอกาส ขาดทุนเกินพอเพียง

ค่อยๆทยอยเขียนนะครับ บางทีไม่ว่างอาจทำให้ไม่ต่อเนื่อง :D
stemcell
Verified User
โพสต์: 666
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตอนที่3 กระบวนการคิดลดเสี่ยง

คนเรามีวิถึชีวิตต่างกัน มีอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม และ การเรียนรู้ เป็นที่มาของประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้การเรียนรู้เรื่องเดียวกัน การกระทำจากเหตุเดียวกัน ส่งให้เกิดผลลัพท์แตกต่างกัน เช่น ตำราแพทย์เล่มเดียวกัน แต่ส่งผลให้เกิดการรักษาแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อเราได้เลือกลงทุนกิจการ หรือ เก็งกำไร หรือ พนันหุ้น จะต้องมีกระบวนการคิดให้สามารถลดความเสี่ยง ที่น่าสนใจคือกระบวนการคิดแบบวงจรคุณภาพ PDCA ( plan do check act ) คนที่ทำ HA , JCI หรือระบบคุณภาพอื่นๆอาจเคยได้ยินและทำมาแล้ว
plan คือ การเตรียมการขั้นตอนการลงทุน ซึ่งจะต้องมีแผน มีทางหนีทีไล่ในกรณีที่เป็นอย่างที่คิด และ ไม่เป็นอย่างที่คิด อย่างที่เคยเกริ่นไว้ตามหลักไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) เหมือนอย่างที่เราเล่นหมากรุก ก็จะมีกระบวนการคิดว่าถ้าเราเดินแบบนี้ คู่ต่อสู้เดินแบบนี้ เราจะเดินแบบไหน ล่วงหน้า ก่อนที่จะเดินหมากจริงๆ
do คือ การทำตามแผนการลงทุน
check คือ การตรวจสอบแผนการลงทุนเป็นระยะๆ ทั้งผลประกอบการ ข่าว หรือ ข้อมูลที่มากระทบ
act คือ หลังจากตรวจสอบการลงทุนแล้ว เราก็ตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบแตกต่างกัน บางครั้งเราพบว่า ถึงแม้มีแผนเตรียมการไว้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็อยู่นอกแผน เราต้องดำเนินการแก้ไขอย่างมีสติ และ นำไปสู่การ plan ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่อง

เมื่อเราทำตามขั้นตอนที่เรียกว่า วงจรคุณภาพความคิด ( PDCA ) ก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้น นำมาสะสมเป็นประสบการณ์ ในที่สุดก็นำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า "สติ" มากขึ้นจากกระบวนการคิดเป็นระบบ

ไม่มีใครที่รู้อนาคตเนื่องจากมันไม่แน่นอน แต่ถ้าเรามีการเตรียมกระบวนความคิดอย่างเป็นระบบ ก็จะช่วยลดผลกระทบลงได้

น่าจะเหลืออีก 2 - 3 ตอนสั้นๆ ถ้าไม่เบื่อกันนะครับ ( เขียนเหนื่อย ) :mrgreen:
stemcell
Verified User
โพสต์: 666
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ตอนที่4 กำไรพอเพียง

คนเราทุกคนยังไม่พ้นทุกข์ ยังมี "รัก โลภ โกรธ หลง และ ความกลัว" สิ่งนี้เป็นที่มาของการศึกษาหลายเรื่องที่ดูความเกี่ยวข้องทางเศรษฐศาสตร์ การลงทุน การพนัน กับ อารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ ตลาดหุ้น กิจการ ราคาหุ้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นเป็นภาวะไม่อยู่นิ่ง dynamic ตลอดเวลา เพราะมันคืออารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์

เมื่อเราลงทุน หรือ เก็งกำไร หรือ พนันหุ้น เราทำการซื้อหุ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ ลึกๆเราก็อยากกำไร อาจเป็นได้หลายแง่ เช่น ส่วนต่างราคาหุ้น , เงินปันผล , มีชื่อเสียง , สนองตัณหา แล้วเราจะทำกำไรเมื่อไหร่ คำว่า"พอเพียง" จะมาร่วมกันกับคำว่า "positive attitude or positive thinking"

เมื่อเราโชคดีได้กำไรมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า รักในหุ้น โลภในกำไร โกรธถ้ามันผันผวน หลงกับพื้นฐานที่มี dynamic และ กลัวจะขาดทุนกำไร และ ความไม่รู้ก็จะเกิดขึ้น ก็จะมีแนวทาง "พอเพียง" ช่วยได้แต่เทคนิกในการทำขึ้นอยู่กับแนวทางของแต่ละคน เช่น

ถ้าลงทุนด้วยความสุข เมื่อไหร่ที่เริ่มไม่มีความสุข อันเกิดจากความไม่รู้ว่า " ความเสี่ยงเป็นอย่างไร" "เหลือ margin of safety เท่าไหร่" "กิจการจะเป็นอย่างไรในอนาคต" เราก็ขายกิจการ หรือ ขายหุ้นออกมา มีหลายแนวทาง เช่น คลายเครียดเรโช ( หาอ่านเพิ่มเติมเองนะครับ ) แต่ของผมใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์วัด ก็ขายจนกระทั่งมีความรู้สึกว่า ถ้าที่เหลืออยู่ขาดทุนจนหมดก็ไม่เป็นไร 55555+

หรือบางคนลงทุนจนกว่ากิจการจะมีพื้นฐานเปลี่ยนไป ก็จะขายเมื่อพื้นฐานเปลี่ยน แต่มีข้อแม้ว่าอย่าปล่อยให้"ความไม่รู้" มากำหนดการลงทุน ซึ่งก็จะมีกระบวนการคิดแบบ PDCA มาช่วย

หรือบางคนลงทุนโดยอาศัยการ switch ระหว่างหุ้นที่มี margin of safety ต่ำ ไป สูง หรือ บางคนกำหนด zoning ของกำไรไว้ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ขายทำกำไรออกมา เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เราพอใจแล้ว อยู่ในแผนที่เราตั้งไว้ ซึ่งก็หมายถึงความพอเพียง นั่นเอง

และ สิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยหลังจากการขายกิจการ หรือขายหุ้นไปแล้ว พบว่ากิจการยังดี หรือ ราคาหุ้นขึ้นไปต่อ ทำให้เราขาดทุนกำไร เราควรมี positive attitude หรือ positive thinking ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครทำกำไรได้สูงสุดตลอดไป และ เราได้แบ่งกำไรให้กับคนที่ซื้อกิจการหรือหุ้นต่อจากเราไป ได้ทำกำไรบ้าง อย่างนี้จึงจะเกิดความสุขในการลงทุน

บางครั้งภาษาก็ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการบรรยายได้หมด ใกล้จะจบบทความสั้นแล้ว
:D
stemcell
Verified User
โพสต์: 666
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ตอนสุดท้าย ขาดทุนพอเพียง

เวลาเราเลือกลงทุนกิจการ หรือ ซื้อหุ้น ที่เราพูดกันบ่อยๆต้องมี margin of safety , risk management , money management ปัญหาคือตอนไหนล่ะที่มี margin of safety หรือมีความเสี่ยงต่ำ บางครั้งเราพบว่าหลายครั้งเราเลือกกิจการที่ดีแต่เราได้ราคา premium ทำให้ระยะยาวทำกำไรได้ไม่มากอย่างที่เคยคิด หรือ อาจจะขาดทุนด้วยซ้ำ ตอนที่เราเลือกซื้อกิจการ เราอาศัยความรู้ ข้อมูลที่ได้มา และเราหวังว่าจะได้อย่างครบถ้วน แต่ความเป็นจริงแล้วข้อมูลไม่เคยครบถ้วนและนอกจากนั้นยังเกิดการ bias อยู่เสมอๆ

การจะมี margin of safety จึงต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุด และ ต้องรอจังหวะ แล้วจังหวะไหนล่ะ?
1. " หุ้นตก หรือ panic หรือ เกิดจากความไม่มีเหตุผล " โดยอารมณ์ของผู้ถือ หรือ เกิดการ force cell
2. แต่ถ้าไม่ได้จังหวะนั้นและรอไม่ไหว ยอมซื้อในราคา premium หรือ ราคาที่มีความนิยม ( หุ้นตลาด ) เราต้องคาดการณ์ให้ได้ว่ากิจการนั้นจะมีการเจริญเติบโตอย่างสมเหตุผล และ สม่ำเสมอ เป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ จนความนิยมนั้นติดตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะดูแบบ macro ( micro ) trend follower เช่น ในอนาคตมีผู้สูงอายุมาก โอกาสป่วยเยอะ โรงพยาบาลน่าจะดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะผิดพลาดอ้างอิงจากกฎไตรลักษณ์, ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์

ตามความเห็นของผม margin of safety ก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิกให้เกิดการขาดทุนพอเพียง ซึ่งหมายถึงการขาดทุนเป็นไป(และไม่เป็นไป)ตามที่วางแผนไว้ ในขั้นตอน PDCA เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะทนขาดทุนครั้งละมากๆ หรือทนขาดทุนครั้งละน้อยๆแต่บ่อยเกินไป เพราะจะทำให้เงินต้นน้อยเกินกว่าที่จะทำกำไรให้มาเท่าทุน หรือ ต้องใช้เวลานานจนเสียโอกาสไป

วิธีการมีมากมายซึ่งอ้างอิงมากจากหลายทฤษฎี แต่ที่แบ่งได้ตามกลยุทธ์คือ
1. กลยุทธ์หนี เช่น cut loss เป็นการออกจากตลาดมาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมว่าสิ่งที่เราคิดถูกต้องหรือไม่ เหมือนเราเล่นหมากรุกอยู่ก็จะมีbias แต่ถ้าออกมาเป็นผู้ชมก็จะมองเห็นได้ชัดมากขึ้น
2. กลยุทธ์โยนหินถามทาง(แนวรับ) เช่น kelly' method , matingale strategy , DSM ( Densri method or Descending selling method ), DCA ( dollar cost average ) ลองหาอ่านได้เพิ่มเติมนะครับ แต่กลยุทธ์เหล่านี้มีข้อจำกัดตรงที่ จะต้องมีความคาดหวังเป็นบวก หรือ กิจการต้องมีกำไรมากขึ้น มิเช่นนั้นจะขาดทุนในปริมาณที่มาก และนอกจากนี้ถ้าแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนน้อยเกินไป ถ้ากิจการมีการตกต่ำเป็นเวลานานก็จะไม่มีเงินลงทุนเพิ่ม
3. กลยุทธ์โยนหินถามทาง(แนวบุก) จะแบ่งเงินเป็นสัดส่วนต่างกัน ทยอยลงทุนถ้ากิจการมีการเติบโต หรือ คิดถูกต้อง ซึ่งถ้าคิดผิดก็จะเสียหายจำนวนน้อย
4. กลยุทธ์นิ่ง เป็นการทำตัวอยู่เฉยๆ ค้นหาข้อมูลมากขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ

ส่วนปริมาณเงินหรือเปอร์เซนต์สัดส่วนที่จะลงทุนในแต่ละกลยุทธ์ ไม่สามารถบอกได้แน่ชัดขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละคนซึ่งมีนิสัย ประสบการณ์ และ ความรู้ของแต่ละคน แต่เมื่อนำไปใช้ทุกคนก็จะมีรูปแบบของตัวเอง และ นอกจากนี้แนวคิดที่เขียนทั้ง 5 ตอนนี้ คนนำไปใช้ก็จะประยุกต์ทำให้ได้ results แตกต่างกัน

หวังว่าทุกท่านจะได้กำไรพอเพียง และ ขาดทุนพอเพียง ลงทุนอย่างมีความสุข

ปล. ขอขอบคุณ subprime ที่ทำให้ผมขาดทุน แต่ทำให้ได้กำไรประสบการณ์และความรู้
ขอขอบคุณ thaivi.org ที่ทำให้ผมคืนทุนและได้กำไร ลงทุนอย่างมีความสุข และได้แนวคิดเรื่องพอเพียง


จบสักที 55555+ :D
Mr. Boo
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1841
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ได้สาระ และ เพลินดีครับ :D
Rabbit VS. Turtle
ภาพประจำตัวสมาชิก
KGYF
Verified User
โพสต์: 399
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากคร้บ


:bow: :bow: :bow:
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "

" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: กำไรพอเพียง ขาดทุนพอเพียง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เจ๋งครับ... สรุปได้ดีครับ...

ยากจังเนอะ... การที่จะหาจุดพอเพียง ที่พอดีได้... แต่ละคนก็แตกต่างกันไป... ใจของเราก็ไม่รู้จักพอซะที เลยไม่ค่อยจะพอใจกับจุดที่เป็นอยู่...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
โพสต์โพสต์