ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปันผล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Iceberg_s
Verified User
โพสต์: 285
ผู้ติดตาม: 0

ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปันผล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ครม.ไฟเขียวมาตรการภาษีสนับสนุนใช้ทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน พร้อมยกเว้นภาษีเงินได้ และเงินปันผล

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยก เว้นรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา

ทั้งนี้ เป็นการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกิดภาระภาษีซ้ำซ้อนในการดำเนินธุรกรรม และช่วยสนับสนุนการใช้ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสต์ สำหรับเงินได้รายรับและการกระทำตามสารอันเนื่องมาจากการโอน หรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตี หรือระหว่างทรัสตีกับทรัสตีตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์

รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ทรัสตี สำหรับเงินได้จากกองทรัสต์ แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ทรัสตีได้รับจากการให้ บริการเป็นทรัสตีตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์

นอกจากนี้ ยังยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินชดเชยเงินปันผลหรือเงินปันผลที่ได้จากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ให้แก่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ได้รับประโยชน์ สำหรับเงินชดเชยเงินปันผล ซึ่งได้รับตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยผู้รับประโยชน์ต้องยอมให้ทรัสตีหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10% ของเงินชดเชยเงินปันผลที่ได้รับ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้รับผลประโยชน์ไม่ข้อรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
สงสัยว่าทรัสต์คืออะไรครับ ข่าวนี้ช่วยสนับสนุนตลาดทุนยังไงมั่ง
ถ้าจะตั้งขึ้นมา ด้วยเหตุผลทางภาษี จะยุ่งยากไปมั๊ยนะครับ :?: :?:
แล้วเป็นไปได้มั๊ยที่ผู้ก่อตั้ง คนบริหาร และผู้รับผลประโยชน์เป็นคนเดียวกันหมดเลย :roll: :roll: :roll:
j2methai
Verified User
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดีสำหรับตลาดทุนของไทยอีกข่าวหนึ่งเลยทีเดียว ร่างกฎหมายฉบับนี้ใช้เวลายกร่างกันค่อนข้างนาน เพราะตามกระบวนการในการยกร่างกฎหมายของไทยมีหลายขั้นตอน เริ่มจากการยกร่างกฎหมายของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง (ในกรณีนี้คือ ก.ล.ต.) ไปยังกระทรวงการคลัง ก่อนนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีในรอบแรกเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จ ก็จะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เข้าใจว่าหลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจถึงสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้เท่าไรนัก ดิฉันจึงอยากจะขอเล่าให้ฟังถึงหลักการของ “ทรัสต์” ก่อน แล้วค่อยไปดูกันว่าแล้วการมีทรัสต์จะช่วยอะไรกับตลาดทุน เริ่มกันเลยดีไหมคะ


ทรัสต์ก็คือการจัดการทรัพย์สินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ของบุคคลในสัญญาทรัสต์ ที่ประกอบด้วยผู้ก่อตั้งทรัสต์ (เจ้าของทรัพย์สิน) ทรัสตี (ผู้รับบริหารทรัพย์สิน) และผู้รับประโยชน์ (คนเดียวหรือหลายคนก็ได้) เป็นความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ผู้ก่อตั้งทรัสต์จึงยอมมอบกรรมสิทธิ์และสิทธิต่าง ๆ เหนือทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีซึ่งเป็นบุคคลที่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ไว้วางใจ เพื่อให้ทรัสตีถือกรรมสิทธิ์และสิทธิต่าง ๆ (trust property) แทนผู้ก่อตั้งทรัสต์ รวมทั้งบริหารหรือจัดการทรัพย์สินหรือสิทธิเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ ความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่นำเอาหลักตามธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งก็คือความไว้วางใจต่อกันและกัน มาเป็นหลักกฎหมายที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งกำหนดให้ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจมีหน้าที่ต้องทำงานตามที่เขาไว้วางใจอย่างเหมาะสมและดีที่สุด
ดูตัวอย่างกันดีไหมคะ สมมติว่า นาย ก. (ผู้ก่อตั้งทรัสต์) ต้องการให้มีการจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของนาย ข. นาย ก. จึงได้โอนทรัพย์สินไปให้นาย ค. (ทรัสตี) จัดการโดยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกเป็นของนาย ข. ส่วนตัวนาย ค. นั้นเมื่อได้รับความไว้วางใจจากนาย ก. แล้วก็มีหน้าที่ต้องจัดการกองทรัพย์สินด้วยความซื่อสัตย์และระมัดระวังเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของ นาย ข. ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ และเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินเป็นไปตามประสงค์ของนาย ก. อย่างแท้จริง จึงได้มีการสร้างหลัก “การห่างไกลจากการล้มละลาย” (bankruptcy remoteness) ขึ้นมาคุ้มครองทรัพย์สินที่ได้โอนมา โดยในกรณีตัวอย่างนี้คือ มีการป้องกันทรัพย์สินที่นาย ค. จัดการตามที่นาย ก. มอบหมาย ไม่ให้ทรัพย์สินเหล่านั้นถูกนำไปปะปนกับทรัพย์สินอื่นของนาย ค. หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ให้ถูกนำไปใช้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของ นาย ค. ถ้าเกิดจู่ ๆ นาย ค. มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวและต้องถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายไป ทั้งนี้ ก็เพราะทรัพย์สินที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทรัสต์นี้
จริง ๆ หลักการเรื่องทรัสต์นี้มีการประยุกต์ใช้อยู่แล้วในตลาดทุนไทยนะคะ เพียงแต่เป็นการนำมาใช้เฉพาะเรื่องอย่างเช่น เรื่องการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ดังนั้น การมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัสต์อย่างชัดเจนย่อมจะทำให้กลไกทรัสต์นี้ครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ ในตลาดทุนมากยิ่งขึ้น เพราะกลไกของทรัสต์และหลัก “การห่างไกลจากการล้มละลาย” สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกรรมในตลาดทุนได้อีกหลายเรื่อง อาทิเช่น การทำ securitization (คือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์) การออก covered warrant และการออก ESOP หรือ Employee Stock Option Program (คือการเสนอขายหุ้นให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท) ซึ่งแต่ละเรื่องมีรายละเอียดพอสมควร ดิฉันจึงจะขอนำมาอธิบายให้ทราบกันในโอกาสต่อไปนะคะ
เห็นประโยชน์ของการมีกฎหมายเรื่องทรัสต์นี้แล้วก็คงต้องขอให้เอาใจช่วยให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาไว ๆ นะคะ ดิฉันดีใจเพราะรู้สึกว่าตลาดทุนของเราพัฒนาไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ก็จะมีส่วนช่วยให้ตลาดทุนโดยรวมของเรามีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ ทั้งจากผู้ลงทุนในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้นด้วย วันนี้ขอลาไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ ...

http://www.sec.or.th/investor_edu/info_ ... CAT0000316
j2methai
Verified User
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ทรัสต์ คืออะไร


ในการให้คำจำกัดความของทรัสต์นั้น ยังไม่มีนักกฎหมายคนใดให้คำจำกัดความที่ดีสมบูรณ์โดยไม่บกพร่องได้เลย ดังนั้นจึงสมควรที่จะนำคำจำกัดความของนักกฎหมายหลาย ๆ ท่านมาแสดงไว้

ท่าน Harold Greville Hanbury ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Modern Equity ว่า “ความสัมพันธ์ทางทรัสต์นั้น คือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งหรือหลายคนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง และตนมีหน้าที่จะต้องยึดถือทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น โดยจะต้องกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ หรือโดยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้รับประโยชน์นั้น ผู้รับประโยชน์ย่อมมีสิทธิทางเอ๊กควิต ซึ่งคล้ายกับกรรมสิทธิ์ทางคอมมอนลอว์ อันอาจใช้ยันได้ทั้งตัวทรัสตีเอง และบุคคลอื่นซึ่งได้ทรัพย์สินนั้นไป เว้นแต่ผู้ซื้อทรัพย์สินนั้นโดยชอบและโดยสุจริต”

ท่าน George W. Keeton ในหนังสือ The Law of Trusts ได้ให้คำจำกัดความว่า “ทรัสต์… คือความสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียกว่าทรัสตี ตกอยู่ในบังคับทางเอ๊กควิตี้ที่จะต้องยึดถือทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ และไม่ว่าจะมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือเพียงสิทธิทางเอ๊กควิตี้ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (ซึ่งผู้ยึดถือทรัพย์สินอาจเป็นผู้อื่นนั้นด้วยผู้หนึ่งก็ได้ และซึงเรียกว่าผู้รับประโยชน์) หรือเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอันชอบด้วยกฎหมาย และการยึดถือนั้น ยึดไว้ในทำนองที่ว่า ประโยชน์อันแท้จริงของทรัพย์สินนั้นมิได้ตกแก่ทรัสตี หากตกแก่ผู้รับประโยชน์ของทรัสต์นั้น”

ท่าน Spence ได้ให้ความหมายของคำว่า ทรัสต์ว่า “ผลประโยชน์หรือประโยชน์ทางกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่มีการครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในตัวทรัพย์นั้น”

สถาบันทางกฎหมายของอเมริกา (The American Law Institute) ในบทความเรื่อง The Law of Trusts ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ทรัสต์ …. ที่ไม่ใช่เพื่อการกุศล ที่กลับมาเป็นประโยชน์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์เอง (Resulting Trust) หรือที่เกิดจากการสมมุติของกฎหมาย (Constructive Trust) แล้ว ก็คือความสัมพันธ์ที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ (Fiduciary relationship) เกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้บุคคลผู้ยึดถือทรัพย์สินนั้น จำต้องรับหน้าที่ทางเอ๊กควิตี้ที่จะต้องจัดการทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งเจตนาที่จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์เช่นว่านั้น”

ท่านผู้พิพากษา Story ได้กล่าวว่า “ทรัสต์อาจให้คำจำกัดความได้ว่า เป็นสิทธิทางเอ๊กควิตี้ หรือประโยชน์ในทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแตกต่างกับกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในทรัพย์สินนั้น”

ท่าน H.A. Smith ในหนังสือ Principles of Equity ได้ให้คำจำกัดความของทรัสต์ว่า “เป็นหน้าที่อันเอ๊กควิตี้ถือว่ามีอยู่บนความรู้สึกหิริโอตตัปปะ (Conscience) ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย”

ท่าน Sir Arthur Underhill ได้ให้คำจำกัดความไว้ในหนังสือ Law Relating to Trust and Trustees ว่า “ทรัสต์คือหน้าที่ทางเอ๊กควิตี้ ซึ่งผูกมัดบุคคลผู้หนึ่ง (เรียกว่าทรัสตี) ให้จัดการทรัพย์สินซึ่งตนมีอำนาจเหนือ (เรียกว่าทรัพย์สินภายใต้ทรัสต์ Trust property) เพื่อประโยชน์ของบุคคลอีกคนหนึ่ง หรือหลายคน (เรียกว่าผู้รับประโยชน์) ซึ่งอาจเป็นตนเองด้วยผู้หนึ่งก็ได้ และผู้รับประโยชน์นั้นแต่เพียงคนใดคนหนึ่งมีสิทธิบังคับให้ปฏิบัติตามหน้าที่นั้นได้ หากทรัสตีกระทำการ หรือเพิกเฉยไม่กระทำงานอันปราศจากข้ออ้างหรืออำนาจที่ให้ไว้ในตราสารจัดตั้งทรัสต์ หรือที่ให้ไว้โดยกฎหมาย ได้ชื่อว่าทำละเมิดทรัสต์” คำจำกัดความของท่าน Sir Arthur Underhill นี้ได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้พิพากษา Cohen ในคดี Re Marshall’s Will Trust

แม้ว่าจะมีคำจำกัดความของนักกฎหมายหลายท่านดั่งกล่าวข้างต้นแล้วก็ดี ก็ยังเป็นการยากที่จะเข้าใจคำว่า ทรัสต์อยู่นั่นเอง จึงขอยกตัวอย่างดังนี้ ก. ทำพินัยกรรมยกเงินให้ ข. 10,000 บาท และสั่งให้ ข. ลงทุนซื้อพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาล และให้เอาดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจ่ายให้ ค. ในระหว่างที่ ค. ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อ ค. ตายแล้วให้ ข. จัดการขายพันธบัตรนั้น และแบ่งเงินที่ขายได้ให้บุตรของ ค. คนละเท่า ๆ กัน ตามตัวอย่างนี้ เมื่อ ก. ให้เงินแก่ ข. แล้ว ข. ก็ควรจะได้เงินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ และแม้ ก. จะสั่ง ข. ให้จัดการเกี่ยวแก่เงินนั้นอย่างไรต่อไป ค. ผู้จะได้รับประโยชน์จากคำสั่งของ ก. นั้น ก็ไม่น่าที่จะบังคับ ข. ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ก. ได้ เพราะ ค. เป็นบุคคลภายนอก ไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับ ข. เลย เหตุนี้กฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษจึงไม่ยอมรับบังคับให้ แต่โดยทางเอีกควิตี้แล้ว นักกฎหมายต่างเห็นกันว่า ถ้าปล่อยไปเช่นนั้นน่าจะไม่ยุติธรรม เพราะการที่ ก. ให้เงิน ข. ก็โดยเจตนาจะให้ ข. จัดการลงทุนเงินนั้นเพื่อเก็บผลประโยชน์ให้ ค. และเมื่อ ค. ตายแล้ว ก็ต้องการให้เงินนั้นตกเป็นของบุตรของ ค. หาใช่ตั้งใจจะให้เป็นสิทธิขาดแก่ ข. ไม่ ดังนี้ศาลชานเซอรี่ (Chancery Court) ซึ่งเป็นฝ่ายเอ๊กควิตี้จึงเข้ามาแทรกแซงบังคับให้ ข. จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ ก. ได้ให้ไว้ อันความสัมพันธ์ระหว่าง ข. กับ ค. หรือบุตรของ ค. (ที่เกิดแล้ว หรือจะเกิดขึ้นภายหลัง) ซึ่งทำให้ ข. มีหน้าที่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ ก. และก่อให้เกิดสิทธิแก่ ค. หรือบุตรของ ค. ที่จะบังคับ ข. ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ก. นั้น เรียกว่าทรัสต์ ก. เรียกว่าผู้ก่อตั้งทรัสต์ ข. ผู้ได้รับเงินและถือว่าเป็นเจ้าของเงินตามกฎหมาย มีสิทธิจะจัดการแก่เงินได้ทุกประการเรียกว่าทรัสตี และ ค. ผู้ซึ่งมีสิทธิแต่เพียงจะบังคับให้ ข. ส่งมอบดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้ตนตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือบุตร ค. ผู้ซึ่งมีสิทธิบังคับ ข. ให้ขายพันธบัตรเอาเงินมาแบ่งให้ตน เมื่อ ค. ตายแล้วนั้น เรียกว่าผู้รับประโยชน์ (Beneficiaries หรือ Cestuis que trust)

ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ก. ทำตราสารที่เรียกว่า deed (คือตราสารที่ผู้กระทำต้องลงชื่อประทับตรา และส่งมอบตราสารนั้น) มีข้อความว่าตนเป็นเจ้าของพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาลอยู่เป็นมูลค่า 10,000 บาท ประสงค์จะถือพันธบัตรนั้นเป็นทรัสต์เพื่อเอาดอกเบี้ย และผลประโยชน์อื่นของพันธบัตรนั้นจ่ายให้แก่ตนเอง ตลอดเวลาที่ตนยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อตนตายแล้ว จะถือเป็นทรัสตืเพื่อจ่ายดอกเบี้ยและผลประโยชน์นั้นให้แก่ภริยาของตนชั่วชีวิตของภริยานั้น และหลังจากตนหรือภริยา (สุดแล้วแต่ว่าใครจะตายภายหลัง) ได้ตายไปแล้ว ก็จะขายพันธบัตรนั้น และนำเงินมาแบ่งกันระหว่างบุตรของตน ดังนี้ถือว่ามีทรัสต์เกิดขึ้นแล้ว โดย ก. เป็นทั้งผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี และผู้รับประโยชน์ด้วยผู้หนึ่ง ถ้า ก. เป็นผู้รับประโยชน์แต่ผู้เดียว จะเกิดทรัสต์ขึ้นไม่ได้ เพราะคนเราจะบังคับตนเองเพื่อประโยชน์ของตนเองหาได้ไม่ หรือถ้าภริยา ก. และบุตรของ ก. ทุกคนตายก่อน ก. และ ก. เป็นผู้จัดการมรดกของภริยาและบุตร ดังนี้ทรัสต์ที่มีมาแต่แรกนั้นก็จะสิ้นสุดลง เพราะทรัสตีและผู้รับประโยชน์กลายเป็นบุคคลคนเดียวกันเสียแล้ว

อาจมีคำถามว่า เหตุไร ก. จึงตั้งตนเองเป็นทั้งทรัสตี และผู้รับประโยชน์ ก. จะตั้งผู้อื่นเป็นทรัสตีมิได้ หรือ คำตอบคือ ได้ แต่ในกรณีเช่นนั้น ก. จะต้องโอนพันธบัตรนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้อื่นที่จะเป็นทรัสตี และสั่งผู้นั้นให้จัดการดังที่ตนประสงค์ ซึ่ง ก. อาจไม่มีบุคคลที่สนิทสนมพอจะไว้ใจได้ หรืออาจไม่มีใครยอมรับเป็นทรัสตีก็ได้ และอาจมีคำถามอีกว่า ก็เมื่อ ก. เป็นเจ้าของพันธบัตรนั้นอยู่แล้วย่อมได้รับดอกเบี้ยและผลประโยชน์อยู่ในตัว เหตุไรจึงต้องตั้งตนเป็นทรัสตีแล้วกลับให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์นั้นอีก และหาก ก. ประสงค์จะมอบพันธบัตรนั้นให้บุตรของตน ก็จะทำเป็นพินัยกรรมให้ไว้มีสะดวกกว่าหรือ คำตอบมีว่า เมื่อ ก. ยึดถือพันธบัตรนั้นในฐานะทรัสตีแล้ว เจ้าหนี้ส่วนตัวของ ก. ก็จะเอาชำระหนี้สินจากพันธบัตรนั้นไม่ได้ (นอกจาก ก. จะก่อตั้งทรัสต์เพื่อฉ้อโกงเจ้าหนี้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทรัสต์ได้) และถ้า ก. จะทำพินัยกรรมให้บุตรของตนแล้ว เผื่อ ก. ตายก่อนภริยา และ ก. ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ภริยาของ ก. ก็จะตกอยู่ในฐานะลำบาก หรือถ้า ก. จะทำพินัยกรรมยกพันธบัตรนั้นให้ภริยาตนโดยหวังว่า เมื่อภริยาตายพันธบัตรนั้นก็จะตกเป็นมรดกแก่บุตร ก็ยังไม่แน่นอนว่าภริยาตนจะไม่จำหน่ายพันธบัตรนั้นไปเสียก่อน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด และได้ผลสมเจตนาของเจ้าของทรัพย์สินทุกอย่างก็คือ การตั้งทรัสต์ดั่งตัวอย่างข้างต้น

ในการก่อตั้งทรัสต์นั้น ผู้ก่อตั้งทรัสต์อาจจะสั่งให้ทรัสตีจัดการทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์หลายทอดดั่งตัวอย่างที่กล่าวแล้ว หรือเพียงเพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ทอดเดียวก็ได้ เช่น ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ ข. โดยให้ยึดเป็นทรัสต์ เพื่อ ค. โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว ในกรณีที่ ก. ใช้ถ้อยคำเพียงเท่านี้ ก. ย่อมมีสิทธิที่จะให้ ข. จัดการหรือจำหน่าย จ่ายโอน ทรัพย์สินนั้นอย่างไรก็ได้ตามความประสงค์ของตน

สิทธิของทรัสตีที่มีต่อทรัพย์สินภายใต้ทรัสต์นั้นเป็นทรัพย์สิทธิ ใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไป ตามกฎหมายถือว่าทรัสตีมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น จึงมีสิทธิจัดการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ทุกอย่าง แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายในขอบเขตแห่งคำสั่งของผู้ก่อตั้งทรัสต์ และกฎหมายในเรื่องที่ทรัสต์ใช้บังคับอยู่ ส่วนสิทธิของผู้รับประโยชน์นั้นเป็นเพียงบุคคล สิทธิในอันที่จะบังคับทรัสต์ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ก่อตั้งทรัสต์ หรือในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทรัสตี ถ้าทรัสตีปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นการละเมิดทรัสต์ หรือในอันที่จะติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์สิน ซึ่งตกอยู่ภายใต้ทรัสต์คืนจากบุคคลที่ได้ทรัพย์สินนั้นไปโดยรู้ว่า ทรัพย์สินนั้นตกอยู่ภายใต้ทรัสต์ แต่สิทธินี้ไม่อาจใช้ยันต่อผู้ซื้อทรัพย์สินนั้นโดยสุจริต และโดยไม่ทราบว่า ทรัพย์สินนั้นตกอยู่ภายใต้ทรัสต์ได้

ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นหาใช่ว่าจะบังคับกันได้ทุกกรณีไปไม่ ที่จะบังคับกันได้ต้องเป็นทรัสต์ที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะปิดประตูตีตายบ้านเป็นเวลา 20 ปี หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินมาชำระค่าปรับให้แก่จำเลยในคดีการพนัน จึงเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน


ให้ทรัสต์ หมายถึงนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายด้วยกัน ได้แก่ ผู้จัดตั้งทรัสต์ ทรัสตี และผู้รับประโยชน์

ลักษณะของทรัสต์ในที่นี้คือกองทรัพย์สินหรือกองทรัสต์ ซึ่งผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวไปให้บุคคลที่เรียกว่าทรัสตี (Trustee) เพื่อให้ทรัสตีทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นที่เรียกว่าผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) หรือผู้ลงทุน โดยทรัพย์สินของทรัสต์เป็นทรัพย์สินที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของทรัสตี และทรัพย์สินของทรัสต์มีเพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์และไม่สามารถนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของทรัสตีในกรณีที่ทรัสตีล้มละลาย

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.p ... 5%E0%B9%8C
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:cool: :cool: :cool:

เย้... กฎหมายดีๆ อย่างงี้ สนับสนุนครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
chentailong
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 729
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

"การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสต์ สำหรับเงินได้รายรับและการกระทำตามสารอันเนื่องมาจากการโอน หรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตี หรือระหว่างทรัสตีกับทรัสตีตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์"
เดี๋ยวเจอ ทรัสแบบ เช่น บ. C ขายตึก เข้า ทรัสท์ เข้าใจว่ากำไรก็ไม่ต้องเสียภาษี แล้ว ทรัสท์ ก็เอาไปขายต่อให้ผู้ลงทุน แทนที่แต่เดิม c จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 25-30%

สุดท้ายคนได้ประโยชน์คือ บ ขนาดใหญ่ คนมีตัง และ บ.รับบริหารทรัสท์(บล.) ต่างๆ ครับ คนเสียประโยชน์คือคนส่วนใหญ่จากรายได้รัฐที่จะหายไป
"Every great achievement was once considered impossible."
ภาพประจำตัวสมาชิก
thalucoz
Verified User
โพสต์: 658
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จริง ๆ จะดีใจมากครับถ้า เป็นการยกเว้นการเสียภาษีให้กับเงินปันผลที่จ่ายให้กับ กับบุคคลธรรมดา

และจะดียิ่งกว่าอีก ถ้าส่วนที่ขาดทุนจากตลาดหลักทรัพย์จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ด้วย

(เหมือนที่ อเมริกาทำ แต่ส่วนทึ่ขายออกแล้วกำไร หรือมีกำไรก็ต้องเสียภาษีอีกเช่นกัน สำหรับในไทยตรงนี้ยังไม่เสียครับ)

และจะดีที่สุดถ้ารัฐจะสนับสนุนให้บริษัที่เข้าตลาดไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ถ้าได้นำ 20% ของกำไร( ซึ่งจะต้องน้อยกว่าภาษีที่ต้องจ่ายด้วยนะถึงจะได้ผล)ไปทำสาธารณะประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เช่น การบริษัทจาก Computer การสร้างศูนย์การเรียนรู้ การให้ทุนการศึกษา การสร้างถนนหนทาง การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

(คิดไปคิดมาเริ่ม เฟ้อ แล้วขอจบแค่นี้ครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ)
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

chentailong เขียน:
"การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสต์ สำหรับเงินได้รายรับและการกระทำตามสารอันเนื่องมาจากการโอน หรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตี หรือระหว่างทรัสตีกับทรัสตีตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์"
เดี๋ยวเจอ ทรัสแบบ เช่น บ. C ขายตึก เข้า ทรัสท์ เข้าใจว่ากำไรก็ไม่ต้องเสียภาษี แล้ว ทรัสท์ ก็เอาไปขายต่อให้ผู้ลงทุน แทนที่แต่เดิม c จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 25-30%

สุดท้ายคนได้ประโยชน์คือ บ ขนาดใหญ่ คนมีตัง และ บ.รับบริหารทรัสท์(บล.) ต่างๆ ครับ คนเสียประโยชน์คือคนส่วนใหญ่จากรายได้รัฐที่จะหายไป
ผมคิดว่ามันนอกเหนือขอบเขตทรัสต์นะครับ
ที่ทรัสตีทำได้น่าจะเป็นการบริหารสิทธิการเช่าพื้นที่อาคารมากกว่าครับ

และเข้าใจว่าผู้ได้รับผลประโยชน์จากทรัสต์น่าจะต้องเสียภาษีปกตินะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอแก้ครับ เข้าใจว่าขายหรือทำอะไรก็ได้ตามสิทธิที่ทรัสตีได้รับ
แต่ผู้ได้รับผลประโยชน์จากทรัสต์น่าจะต้องเสียภาษีปกตินะ
wiwatwcom
Verified User
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครม.หนุนทรัสต์ทำธุรกรรมในตลาดทุน เว้นภาษีเงินได้-เงินปัน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ไม่รู้เข้าใจ ถูกหรือไม่ เราสามารถ ใช้ ทรัส มาจัดการทรัพย์สินเรา แล้ว ส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่ทายาทได้
โดยไม่ต้องมาแบ่งสมบัติกันให้ปวดหัว(เพราะมันเยอะมาก ทั้งทอง หุ้น หอพัก ตึกแถว สวนยาง ลิขสิทธิ แถมบางอย่างแบ่งไม่ได้มีแค่ชิ้นเดียว) เอาผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุน มาจัดสรรเป็นรายได้ให้
ผู้รับผลประโยชน์ หากเป็นตามนี้ การวางแผนมรดกก็ง่ายขึ้น
โพสต์โพสต์