เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 19 มีนาคม 54
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในสมัยที่ผมยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น วิชาที่ผมไม่ชอบที่สุดวิชาหนึ่งก็คือ ชีววิทยา เหตุผลก็เพราะ มันเป็นวิชาที่ผมจะต้องท่องจำมากที่สุดโดยที่ผมไม่รู้ว่าจะจำไปทำไมยกเว้นแต่ว่าจะต้องไปทำข้อสอบ การจำนั้น บ่อยครั้งเป็นการจำที่ไม่มีพื้นฐานอะไรที่เป็นเหตุเป็นผลเลยสำหรับผม เช่นต้องจำว่าใบไม้ชนิดไหนมี “กี่แฉก” หรือต้องจำชื่อเซลแปลก ๆ จำนวนมากว่ามันมีรูปร่างและทำงานอย่างไร นี่ประกอบกับการที่ผมไม่คิดว่าจะเรียนต่อทางสายแพทย์หรือวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ผมจึงเรียนวิชาชีววิทยาเพียงแค่ “พอผ่าน” หลังจากนั้นผมก็เลิกสนใจความรู้ทางด้านนี้ไปเลย
ผมกลับมาสนใจเรื่องของสิ่งมีชีวิตซึ่ง แน่นอน รวมถึงมนุษย์หรือคนเราด้วยเมื่อได้มีโอกาสอ่านหนังสือพ็อคเก็ตบุคซึ่งเขียนเพื่อให้คนเข้าใจง่ายเกี่ยวกับเรื่อง “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ตามทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน หนังสือในแนวนี้เริ่มมีแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับคำอธิบายและทฤษฎีใหม่ ๆ ของนักวิชาการรุ่นใหม่ ๆ หลังจากอ่านหลาย ๆ เล่มผมก็พบว่า แท้ที่จริงแล้ว เกือบทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนด้วยนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม สังคมและการเมือง นี่เป็นเรื่องน่าทึ่ง และในฐานะที่เป็น Value Investor ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ผมอยากรู้ อย่างน้อยที่สุดมันคงช่วยให้ผมเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ผมลงทุนอยู่ และก็โดยบังเอิญ ความรู้เรื่อง Behavioral Finance หรือ “การเงินพฤติกรรม” ก็เป็นเรื่องที่กำลังได้รับการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมันสามารถอธิบายความ “ผิดปกติ” ในตลาดการเงินได้ดี มันช่วยในการลงทุนของเราไม่น้อยไปกว่าทฤษฎีการเงินสายหลักอย่างทฤษฎี “ตลาดที่มีประสิทธิภาพ” หรือที่เรียกว่า Efficient Market ที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่านักลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นคนที่มีเหตุผลและไม่ได้ใช้อารมณ์ในการลงทุน
ในความเห็นของผม ทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น มันมีพื้นฐานที่ง่ายมากและนั่นคือสิ่งที่ทำให้มันทรงพลังในการที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ หัวใจสำคัญก็คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกนั้นต่างก็มาจากการปรับตัวและปรับปรุงจากสิ่งมีชีวิตอื่น การปรับตัวและปรับปรุงนั้นไม่ได้มีเป้าหมายหรือทิศทางแต่เป็นการได้มาโดยบังเอิญเนื่องจากการ “ผ่าเหล่า” ของยีนส์ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใดและอย่างไร หัวใจสำคัญก็คือ เมื่อมีสิ่งที่ “ดี” เกิดขึ้นจากการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะเก็บสิ่ง “ดี” นั้นไว้และส่งต่อให้ลูกหลาน คำว่า “ดี” นั้น ไม่ใช่ดีในแง่ของศีลธรรมที่เราเข้าใจกันแต่เป็นสิ่งที่ดีในแง่ของชีวิตหรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือดีในแง่ของยีนส์นั่นก็คือ มันทำให้ยีนส์เผยแพร่ไปได้มากขึ้น
การที่ยีนส์จะเผยแพร่ต่อไปได้หรือเผยแพร่ได้มากขึ้นนั้น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีภารกิจหรือ Mission สำคัญสามอย่างนั่นก็คือ หนึ่ง มันจะต้องพยายามกินสิ่งมีชีวิตอื่น สอง มันจะต้องหลีกหนีการถูกกิน และสาม มันจะต้อง “สืบพันธุ์” หรือส่งต่อยีนส์ไปให้ได้มากที่สุด และนี่คือสิ่งที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทำเป็นหลัก สิ่งที่ทำนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งประกอบเพื่อที่จะเสริมให้ภารกิจหลักบรรลุเป้าหมาย ว่าที่จริงสิ่งมีชีวิตที่ “ไม่ซับซ้อน” เช่นพวกแบคทีเรีย ไส้เดือน หรือสัตว์ “ชั้นต่ำ” ทั้งหลายนั้น จะไม่ทำภารกิจเสริมเลย สัตว์ชั้นสูงที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ที่อยู่ในป่าเช่นเสือหรือกวางเองก็ทำภารกิจเสริมน้อยมาก ในแต่ละวันมันคิดแต่ว่าจะกินสัตว์อื่นได้อย่างไร จะหลีกหนีการถูกกินหรือเอาตัวรอดได้อย่างไร และจะมีโอกาสผสมพันธุ์ไหม ในขณะที่มนุษย์หรือคนเรานั้น เราทำภารกิจเสริมมากมายจนบางครั้งเราลืมคิดไปว่าภารกิจหลักคืออะไร อย่างไรก็ตาม “จิตใต้สำนึก” จะเป็นคนที่ชี้นำหรือสั่งเราเองว่าเราจะต้องตัดสินใจทำอะไรหรือทำอย่างไรที่จะทำให้เราบรรลุภารกิจหลัก
จากพื้นฐานดังกล่าว เราก็สามารถที่จะรู้หรือคาดการณ์การกระทำหรือพฤติกรรมของคนได้ถูกต้องขึ้น เช่นเดียวกัน เราก็สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของสังคมหรือวัฒนธรรมได้ว่าทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ในประเด็นนี้ เราจะต้องนำ “สิ่งแวดล้อม” เข้ามาประกอบการวิเคราะห์ เพราะสิ่งแวดล้อมแบบหนึ่งนั้น มีผลต่อการกินหรือถูกกินและการสืบพันธุ์ต่างกัน ร่างกายและจิตใจมนุษย์ถูกออกแบบหรือได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่โบราณนับได้ถึงสองแสนปีแล้ว และแม้ว่าจะมีการปรับปรุงมาตลอดเพื่อให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในช่วงประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนที่เราเริ่มเปลี่ยนจากการล่าสัตว์และหาของป่ามาทำเกษตรกรรม ทำให้ร่างกายของเรายังปรับตัวไม่ทัน ยิ่งถ้าคิดถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนที่เกิดการปฏิวัติอุตสากรรม นั้น ก็ยิ่งทำให้ร่างกายของเรา “เพี้ยน” ไปจากที่เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นั่นคือ ร่างกายของเราถูกออกแบบมาสำหรับการล่าสัตว์หาของป่าแต่ต้องมาอยู่ในสังคมที่ก้าวหน้ามากและสามารถหาอาหารได้อย่างง่ายดายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มนุษย์ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องปฏิบัติภารกิจในชีวิตสามประการ พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากนี้ที่ไม่เป็นการเสริมกับภารกิจหลักนี้ย่อมไม่มี มนุษย์ทุกคนทำทุกอย่าง “เพื่อตนเอง” ถ้าพูดกันตามภาษาที่เราคุ้นเคยก็คือ คนย่อม “เห็นแก่ตัว” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องขึ้นไปอีกก็คือ “ยีนส์ย่อมเห็นแก่ตัว” และยีนส์ก็คือคนที่คุมคน ดังนั้นคนจึงเห็นแก่ตัว ว่าที่จริง ถ้าคนไม่เห็นแก่ตัว ป่านนี้คนก็คงหมดโลกไปแล้ว เพราะคนจะ “ถูกกิน” หมดก่อนถึงวันนี้ อย่าลืมว่าในสมัยแสนปีที่แล้ว มนุษย์ไม่ได้สบายแบบวันนี้และยังต้องคอยหนีเสืออยู่ในป่าเช่นเดียวกับที่ต้อง “ถูกกิน” โดยเชื้อโรคทั้งหลายโดยที่ไม่มียารักษา
ผมเขียนมายืดยาว เป็นเรื่องที่พื้นฐานมาก การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในฐานะ VI นั้นแต่ละคนก็ต้องทำเอง การหาความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะในด้านของจิตวิทยาของคนซึ่งก็มีคนเขียนไว้ไม่น้อยที่เรียกว่า “จิตวิทยาวิวัฒนาการ” ซึ่งเป็นสาขาจิตวิทยา “แนวใหม่” ที่กำลังได้รับการยอมรับเนื่องจากสามารถอธิบายเรื่องของจิตวิทยาหรือพฤติกรรมคนได้ดีกว่าจิตวิทยาแนวเดิม ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ VI เข้าใจชีวิตและสังคมดีขึ้น และน่าจะทำให้มีโอกาส “กินคนอื่น” แทนที่จะ “ถูกกิน” ในสมรภูมิหุ้น เหนือสิ่งอื่นใด มันน่าจะทำให้เราไม่ “ซื่อ” จนเกินไป คิดว่ามีคนที่ “ไม่เห็นแก่ตัว” เอา “อาหาร” มาให้เรากินแทนที่เขาจะกินเสียเอง อย่าลืมว่าตลาดหุ้นนั้น ถ้าเทียบกับยุคหินก็คือป่าที่เต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ต่างก็ต้องการ “กินคนอื่น” ถ้าเผลอคุณก็มีโอกาสเป็นอาหารของพวกเขาเสมอ
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในสมัยที่ผมยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น วิชาที่ผมไม่ชอบที่สุดวิชาหนึ่งก็คือ ชีววิทยา เหตุผลก็เพราะ มันเป็นวิชาที่ผมจะต้องท่องจำมากที่สุดโดยที่ผมไม่รู้ว่าจะจำไปทำไมยกเว้นแต่ว่าจะต้องไปทำข้อสอบ การจำนั้น บ่อยครั้งเป็นการจำที่ไม่มีพื้นฐานอะไรที่เป็นเหตุเป็นผลเลยสำหรับผม เช่นต้องจำว่าใบไม้ชนิดไหนมี “กี่แฉก” หรือต้องจำชื่อเซลแปลก ๆ จำนวนมากว่ามันมีรูปร่างและทำงานอย่างไร นี่ประกอบกับการที่ผมไม่คิดว่าจะเรียนต่อทางสายแพทย์หรือวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ผมจึงเรียนวิชาชีววิทยาเพียงแค่ “พอผ่าน” หลังจากนั้นผมก็เลิกสนใจความรู้ทางด้านนี้ไปเลย
ผมกลับมาสนใจเรื่องของสิ่งมีชีวิตซึ่ง แน่นอน รวมถึงมนุษย์หรือคนเราด้วยเมื่อได้มีโอกาสอ่านหนังสือพ็อคเก็ตบุคซึ่งเขียนเพื่อให้คนเข้าใจง่ายเกี่ยวกับเรื่อง “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ตามทฤษฎีของ ชาร์ล ดาร์วิน หนังสือในแนวนี้เริ่มมีแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับคำอธิบายและทฤษฎีใหม่ ๆ ของนักวิชาการรุ่นใหม่ ๆ หลังจากอ่านหลาย ๆ เล่มผมก็พบว่า แท้ที่จริงแล้ว เกือบทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนด้วยนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม สังคมและการเมือง นี่เป็นเรื่องน่าทึ่ง และในฐานะที่เป็น Value Investor ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ผมอยากรู้ อย่างน้อยที่สุดมันคงช่วยให้ผมเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ผมลงทุนอยู่ และก็โดยบังเอิญ ความรู้เรื่อง Behavioral Finance หรือ “การเงินพฤติกรรม” ก็เป็นเรื่องที่กำลังได้รับการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมันสามารถอธิบายความ “ผิดปกติ” ในตลาดการเงินได้ดี มันช่วยในการลงทุนของเราไม่น้อยไปกว่าทฤษฎีการเงินสายหลักอย่างทฤษฎี “ตลาดที่มีประสิทธิภาพ” หรือที่เรียกว่า Efficient Market ที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่านักลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นคนที่มีเหตุผลและไม่ได้ใช้อารมณ์ในการลงทุน
ในความเห็นของผม ทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น มันมีพื้นฐานที่ง่ายมากและนั่นคือสิ่งที่ทำให้มันทรงพลังในการที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ หัวใจสำคัญก็คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกนั้นต่างก็มาจากการปรับตัวและปรับปรุงจากสิ่งมีชีวิตอื่น การปรับตัวและปรับปรุงนั้นไม่ได้มีเป้าหมายหรือทิศทางแต่เป็นการได้มาโดยบังเอิญเนื่องจากการ “ผ่าเหล่า” ของยีนส์ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใดและอย่างไร หัวใจสำคัญก็คือ เมื่อมีสิ่งที่ “ดี” เกิดขึ้นจากการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะเก็บสิ่ง “ดี” นั้นไว้และส่งต่อให้ลูกหลาน คำว่า “ดี” นั้น ไม่ใช่ดีในแง่ของศีลธรรมที่เราเข้าใจกันแต่เป็นสิ่งที่ดีในแง่ของชีวิตหรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือดีในแง่ของยีนส์นั่นก็คือ มันทำให้ยีนส์เผยแพร่ไปได้มากขึ้น
การที่ยีนส์จะเผยแพร่ต่อไปได้หรือเผยแพร่ได้มากขึ้นนั้น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีภารกิจหรือ Mission สำคัญสามอย่างนั่นก็คือ หนึ่ง มันจะต้องพยายามกินสิ่งมีชีวิตอื่น สอง มันจะต้องหลีกหนีการถูกกิน และสาม มันจะต้อง “สืบพันธุ์” หรือส่งต่อยีนส์ไปให้ได้มากที่สุด และนี่คือสิ่งที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทำเป็นหลัก สิ่งที่ทำนอกเหนือจากนี้เป็นสิ่งประกอบเพื่อที่จะเสริมให้ภารกิจหลักบรรลุเป้าหมาย ว่าที่จริงสิ่งมีชีวิตที่ “ไม่ซับซ้อน” เช่นพวกแบคทีเรีย ไส้เดือน หรือสัตว์ “ชั้นต่ำ” ทั้งหลายนั้น จะไม่ทำภารกิจเสริมเลย สัตว์ชั้นสูงที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ที่อยู่ในป่าเช่นเสือหรือกวางเองก็ทำภารกิจเสริมน้อยมาก ในแต่ละวันมันคิดแต่ว่าจะกินสัตว์อื่นได้อย่างไร จะหลีกหนีการถูกกินหรือเอาตัวรอดได้อย่างไร และจะมีโอกาสผสมพันธุ์ไหม ในขณะที่มนุษย์หรือคนเรานั้น เราทำภารกิจเสริมมากมายจนบางครั้งเราลืมคิดไปว่าภารกิจหลักคืออะไร อย่างไรก็ตาม “จิตใต้สำนึก” จะเป็นคนที่ชี้นำหรือสั่งเราเองว่าเราจะต้องตัดสินใจทำอะไรหรือทำอย่างไรที่จะทำให้เราบรรลุภารกิจหลัก
จากพื้นฐานดังกล่าว เราก็สามารถที่จะรู้หรือคาดการณ์การกระทำหรือพฤติกรรมของคนได้ถูกต้องขึ้น เช่นเดียวกัน เราก็สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของสังคมหรือวัฒนธรรมได้ว่าทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ในประเด็นนี้ เราจะต้องนำ “สิ่งแวดล้อม” เข้ามาประกอบการวิเคราะห์ เพราะสิ่งแวดล้อมแบบหนึ่งนั้น มีผลต่อการกินหรือถูกกินและการสืบพันธุ์ต่างกัน ร่างกายและจิตใจมนุษย์ถูกออกแบบหรือได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่โบราณนับได้ถึงสองแสนปีแล้ว และแม้ว่าจะมีการปรับปรุงมาตลอดเพื่อให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในช่วงประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนที่เราเริ่มเปลี่ยนจากการล่าสัตว์และหาของป่ามาทำเกษตรกรรม ทำให้ร่างกายของเรายังปรับตัวไม่ทัน ยิ่งถ้าคิดถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนที่เกิดการปฏิวัติอุตสากรรม นั้น ก็ยิ่งทำให้ร่างกายของเรา “เพี้ยน” ไปจากที่เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นั่นคือ ร่างกายของเราถูกออกแบบมาสำหรับการล่าสัตว์หาของป่าแต่ต้องมาอยู่ในสังคมที่ก้าวหน้ามากและสามารถหาอาหารได้อย่างง่ายดายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มนุษย์ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องปฏิบัติภารกิจในชีวิตสามประการ พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากนี้ที่ไม่เป็นการเสริมกับภารกิจหลักนี้ย่อมไม่มี มนุษย์ทุกคนทำทุกอย่าง “เพื่อตนเอง” ถ้าพูดกันตามภาษาที่เราคุ้นเคยก็คือ คนย่อม “เห็นแก่ตัว” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องขึ้นไปอีกก็คือ “ยีนส์ย่อมเห็นแก่ตัว” และยีนส์ก็คือคนที่คุมคน ดังนั้นคนจึงเห็นแก่ตัว ว่าที่จริง ถ้าคนไม่เห็นแก่ตัว ป่านนี้คนก็คงหมดโลกไปแล้ว เพราะคนจะ “ถูกกิน” หมดก่อนถึงวันนี้ อย่าลืมว่าในสมัยแสนปีที่แล้ว มนุษย์ไม่ได้สบายแบบวันนี้และยังต้องคอยหนีเสืออยู่ในป่าเช่นเดียวกับที่ต้อง “ถูกกิน” โดยเชื้อโรคทั้งหลายโดยที่ไม่มียารักษา
ผมเขียนมายืดยาว เป็นเรื่องที่พื้นฐานมาก การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในฐานะ VI นั้นแต่ละคนก็ต้องทำเอง การหาความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะในด้านของจิตวิทยาของคนซึ่งก็มีคนเขียนไว้ไม่น้อยที่เรียกว่า “จิตวิทยาวิวัฒนาการ” ซึ่งเป็นสาขาจิตวิทยา “แนวใหม่” ที่กำลังได้รับการยอมรับเนื่องจากสามารถอธิบายเรื่องของจิตวิทยาหรือพฤติกรรมคนได้ดีกว่าจิตวิทยาแนวเดิม ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ VI เข้าใจชีวิตและสังคมดีขึ้น และน่าจะทำให้มีโอกาส “กินคนอื่น” แทนที่จะ “ถูกกิน” ในสมรภูมิหุ้น เหนือสิ่งอื่นใด มันน่าจะทำให้เราไม่ “ซื่อ” จนเกินไป คิดว่ามีคนที่ “ไม่เห็นแก่ตัว” เอา “อาหาร” มาให้เรากินแทนที่เขาจะกินเสียเอง อย่าลืมว่าตลาดหุ้นนั้น ถ้าเทียบกับยุคหินก็คือป่าที่เต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ต่างก็ต้องการ “กินคนอื่น” ถ้าเผลอคุณก็มีโอกาสเป็นอาหารของพวกเขาเสมอ
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
บทความยอดเยี่ยมอย่างเคยครับ
อ่านง่าย ได้ข้อคิด ตักเตือนดีมาก
อ่านง่าย ได้ข้อคิด ตักเตือนดีมาก
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ย่อหน้าสุดท้ายไม่รู้ทำไมอ่านแล้วคิดถึงนักลงทุนคนนึงที่ตอนนี้ดังจากการเขียนblog ออกหนังสือไปแล้วสองเล่ม และตอนนี้ก้อมีsocial network อย่างfacebookไว้ใบ้หวยกะเชียหุ้นตัวเอง (แต่คนเข้าไปถามหวยแกเยอะนะ)
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
อ่านบทความนี้ของอาจารย์ แล้วรู้สึกแปลกดีครับ...
ปกติ VI จะไม่ค่อยคิดเรื่องไปกินเค้า หรือถูกเค้ากิน เพราะ ปกติ เราก็แค่หาธุรกิจที่เราเข้าใจได้ ซื้อในราคาที่มี MOS เยอะๆ สุดท้ายแล้วอัตราผลตอบแทนก็จะออกมาดีเอง... จะไม่ค่อยไปคิดเรื่องจะไปกินเค้า หรือจะถูกเค้ากิน... น่าจะเรียกได้ว่า เป็นหลักการลงทุนที่อยู่เหนือเกมส์การไล่ล่าส่วนเกินทุนในนิยามของพี่คลายเครียด
"เพราะไม่คิดจะเอาชนะ จึงชนะ" หลักการของ โกะ กับของ วีไอ ก็มีส่วนที่คล้ายๆ กันอยู่... ในเกมการเล่นโกะ หลักวิธีคิด จะไม่ใช่การไล่ล่าฆ่าคู่ต่อสู้ แต่จะมีการใช้เม็ดหมาก ตาเดินแต่ละตา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด... ซึ่งในการเดินให้เกิดประสิทธิภาพไปเรื่อยๆ ก็มีการกินกันบ้าง หรือถูกเค้ากินบ้าง ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ หากการกินเค้าหรือถูกเค้ากินแลกเปลี่ยนมากับสิ่งที่คุ้มค่า...
สุดท้ายก็ต้องกลับมาถามตัวเองว่า... การลงทุนที่ดี ต้องไปกินเค้า หรือหนีรอดจากการถูกเค้ากินจริงๆ เหรอ? ผมว่า... ผมแค่ลงทุนอย่างมีความสุข ได้อัตราผลตอบแทนที่พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ผมก็พอใจแล้วครับ... จะถูกเค้ากิน หรือ เผลอไปงับโดนคนอื่นเค้าบ้าง ไม่เป็นสาระเท่าไหร่ครับ...
ยังไงก็ขออภัย... หากผมเผลอไปกิน เผลอไปงับเพื่อนๆ เข้าแบบไม่รู้ตัวนะครับ... ผมไม่ได้มีเจตนา...
ปกติ VI จะไม่ค่อยคิดเรื่องไปกินเค้า หรือถูกเค้ากิน เพราะ ปกติ เราก็แค่หาธุรกิจที่เราเข้าใจได้ ซื้อในราคาที่มี MOS เยอะๆ สุดท้ายแล้วอัตราผลตอบแทนก็จะออกมาดีเอง... จะไม่ค่อยไปคิดเรื่องจะไปกินเค้า หรือจะถูกเค้ากิน... น่าจะเรียกได้ว่า เป็นหลักการลงทุนที่อยู่เหนือเกมส์การไล่ล่าส่วนเกินทุนในนิยามของพี่คลายเครียด
"เพราะไม่คิดจะเอาชนะ จึงชนะ" หลักการของ โกะ กับของ วีไอ ก็มีส่วนที่คล้ายๆ กันอยู่... ในเกมการเล่นโกะ หลักวิธีคิด จะไม่ใช่การไล่ล่าฆ่าคู่ต่อสู้ แต่จะมีการใช้เม็ดหมาก ตาเดินแต่ละตา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด... ซึ่งในการเดินให้เกิดประสิทธิภาพไปเรื่อยๆ ก็มีการกินกันบ้าง หรือถูกเค้ากินบ้าง ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ หากการกินเค้าหรือถูกเค้ากินแลกเปลี่ยนมากับสิ่งที่คุ้มค่า...
สุดท้ายก็ต้องกลับมาถามตัวเองว่า... การลงทุนที่ดี ต้องไปกินเค้า หรือหนีรอดจากการถูกเค้ากินจริงๆ เหรอ? ผมว่า... ผมแค่ลงทุนอย่างมีความสุข ได้อัตราผลตอบแทนที่พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ผมก็พอใจแล้วครับ... จะถูกเค้ากิน หรือ เผลอไปงับโดนคนอื่นเค้าบ้าง ไม่เป็นสาระเท่าไหร่ครับ...
ยังไงก็ขออภัย... หากผมเผลอไปกิน เผลอไปงับเพื่อนๆ เข้าแบบไม่รู้ตัวนะครับ... ผมไม่ได้มีเจตนา...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ผใกไม่ชอบชีวะ
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
รบกวนพี่ picatos ชี้แนะสักกระดานครับ อยากชม อานุภาพกำแพงหมาก ของพี่เป็นบุญตาสักครั้งpicatos เขียน:"เพราะไม่คิดจะเอาชนะ จึงชนะ" หลักการของ โกะ กับของ วีไอ ก็มีส่วนที่คล้ายๆ กันอยู่... ในเกมการเล่นโกะ หลักวิธีคิด จะไม่ใช่การไล่ล่าฆ่าคู่ต่อสู้ แต่จะมีการใช้เม็ดหมาก ตาเดินแต่ละตา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด... ซึ่งในการเดินให้เกิดประสิทธิภาพไปเรื่อยๆ ก็มีการกินกันบ้าง หรือถูกเค้ากินบ้าง ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ หากการกินเค้าหรือถูกเค้ากินแลกเปลี่ยนมากับสิ่งที่คุ้มค่า...
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ฝีมือผมอ่อนด้อยครับ... ไม่ได้เล่นมานานแล้วครับ...Voldtrest เขียน:รบกวนพี่ picatos ชี้แนะสักกระดานครับ อยากชม อานุภาพกำแพงหมาก ของพี่เป็นบุญตาสักครั้งpicatos เขียน:"เพราะไม่คิดจะเอาชนะ จึงชนะ" หลักการของ โกะ กับของ วีไอ ก็มีส่วนที่คล้ายๆ กันอยู่... ในเกมการเล่นโกะ หลักวิธีคิด จะไม่ใช่การไล่ล่าฆ่าคู่ต่อสู้ แต่จะมีการใช้เม็ดหมาก ตาเดินแต่ละตา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด... ซึ่งในการเดินให้เกิดประสิทธิภาพไปเรื่อยๆ ก็มีการกินกันบ้าง หรือถูกเค้ากินบ้าง ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ หากการกินเค้าหรือถูกเค้ากินแลกเปลี่ยนมากับสิ่งที่คุ้มค่า...
เก๋าๆ ต้องคุณ airazoc ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์สอนผมเล่นโกะ... ตาคนนั้นเค้าหลายดั้งครับ...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
บทความอันนี้ ถือว่า แรงพอสมควรครับ
ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยยอมรับ ความจริงที่โหดร้าย
ผมว่า การลงทุนก็เป็นเรื่องของทุนนิยม และเป็นเรื่องของผลประโยชน์
เวป วีไอ ก็คงจะเต็มไปด้วยผลประโยชน์เช่นกัน
มีการเชียร์หุ้น วิจารณ์หุ้น ก็ไม่รู้ว่าผลประโยชน์เยอะแค่ไหน
แต่ที่แน่ๆ ผมก็ได้รับความรู้มากมายจาก พี่ๆหลายๆคนในเวป ที่สอนถึงวิธีการในการคิด
ในการลงทุน รวมไปถึงการใช้ชีวิต
คนเข้ามาใหม่ๆ แรกๆก็คงอยากจะเป็นผู้รับ
แต่เมื่อสมาชิกเก่าๆหลายๆคน ทำตัวเป็นผู้ให้
ทำให้คนใหม่ๆ ก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นผู้ให้บ้าง
เพราะอย่างที่ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี นี่ครับ
ผมว่า หากอ่านบทความนี้ ก็จะพบว่า ยีนส์มนุษย์ล้วนแต่แสวงหาผลประโยชน์
เพื่อเลี้ยงดูเผ่าพันธ์ของมันให้อยู่รอด ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรในแง่ของกฎของสิ่งมีชีวิต
การที่ท่าน อ.เขียน ก็เพื่อให้แง่คิด ในแง่ของสติว่า อย่าหลงเชื่ออนาคตที่สวยหรู
ลงทุนต่างๆ ก็คิดทบทวนในแง่ของเหตุผลที่ชัดเจน
ขอบคุณ ดร.ครับ ที่เตือนสติ
ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยยอมรับ ความจริงที่โหดร้าย
ผมว่า การลงทุนก็เป็นเรื่องของทุนนิยม และเป็นเรื่องของผลประโยชน์
เวป วีไอ ก็คงจะเต็มไปด้วยผลประโยชน์เช่นกัน
มีการเชียร์หุ้น วิจารณ์หุ้น ก็ไม่รู้ว่าผลประโยชน์เยอะแค่ไหน
แต่ที่แน่ๆ ผมก็ได้รับความรู้มากมายจาก พี่ๆหลายๆคนในเวป ที่สอนถึงวิธีการในการคิด
ในการลงทุน รวมไปถึงการใช้ชีวิต
คนเข้ามาใหม่ๆ แรกๆก็คงอยากจะเป็นผู้รับ
แต่เมื่อสมาชิกเก่าๆหลายๆคน ทำตัวเป็นผู้ให้
ทำให้คนใหม่ๆ ก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นผู้ให้บ้าง
เพราะอย่างที่ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี นี่ครับ
ผมว่า หากอ่านบทความนี้ ก็จะพบว่า ยีนส์มนุษย์ล้วนแต่แสวงหาผลประโยชน์
เพื่อเลี้ยงดูเผ่าพันธ์ของมันให้อยู่รอด ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรในแง่ของกฎของสิ่งมีชีวิต
การที่ท่าน อ.เขียน ก็เพื่อให้แง่คิด ในแง่ของสติว่า อย่าหลงเชื่ออนาคตที่สวยหรู
ลงทุนต่างๆ ก็คิดทบทวนในแง่ของเหตุผลที่ชัดเจน
ขอบคุณ ดร.ครับ ที่เตือนสติ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
อีกหนึ่งบทความที่น่าอ่านมากและอาจจะทำให้เรามองเห็นภาพใหญ่
เกิดเป็น Value Investor
โลกในมุมมองของ Value Investor : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ในฐานะที่เป็นคนกลุ่มแรกๆ ในการลงทุน และเผยแพร่การลงทุนแบบ Value Investment ในเมืองไทย ผมได้พบกับ Value Investor มากมาย สิ่งที่ผมสังเกตเห็น และรู้สึกประหลาดใจก็คือ Value Investor โดยเฉพาะที่ค่อนข้างมุ่งมั่นกับการลงทุนจริงๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และจำนวนมากกว่าปกติมีอาชีพหรือมีการศึกษาในสายวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางวิศวกรรมและแพทย์ ในช่วงแรกๆ ผมคิดว่าเป็นความบังเอิญ ต่อมาผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเรื่องที่มีเหตุผล เพียงแต่ผมไม่รู้ว่าอะไรคือ เหตุผลที่ทำให้ Value Investor ผู้มุ่งมั่นในตลาดหุ้นไทยวันนี้ประกอบไปด้วยวิศวกรผู้ชายจำนวนมากกว่าปกติ
ถึงวันนี้ หลังจากที่ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ "จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ" (Evolutionary Psychology) ซึ่งเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาใหม่ที่เพิ่งมีการศึกษามาเพียงสิบกว่าปี ผมก็คิดว่าผมพอรู้หรืออธิบายได้ว่า ทำไม Value Investor ผู้มุ่งมั่นในเมืองไทยเวลานี้จึงมักจะเป็นวิศวกรหรือหมอและเป็นผู้ชาย คำตอบสั้นๆ แบบหยาบๆ ก็คือ เพราะเขาอาจจะเกิดมาเป็น Value Investor
จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์โดยอิงกับทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน ซึ่งบอกว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดนั้นมี Mission หรือภารกิจหลักก็คือ การเอาตัวรอด และการแพร่เผ่าพันธุ์หรือยีนของตัวเองให้มากที่สุด ร่างกายและพฤติกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนั้น มี " วิวัฒนาการ" หรือการปรับตัวอย่างช้าๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถเอาตัวรอดได้ดี และแพร่พันธุ์ได้มากที่สุด สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายหรือค่อยๆ สูญพันธุ์ไป มนุษย์เราก็เป็นสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจากลิงหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ดังนั้นร่างกาย และพฤติกรรมของคนเรา จึงมีการปรับตัวหรือมีวิวัฒนาการให้เข้ากับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมซึ่งก็คือ โลกเรานั่นเอง แต่โลกที่ว่านั้นไม่ใช่โลกในวันนี้ แต่เป็นโลกในยุคดึกดำบรรพ์หรือในยุคน้ำแข็งที่ผ่านมาเป็นหมื่น แสน หรือล้านปีมาแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า โลกในยุคปัจจุบันที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมและข้อมูลข่าวสารนั้น เพิ่งจะเกิดขึ้นแค่ไม่กี่ร้อยปี ร่างกายและจิตใจของมนุษย์ยังปรับตัวไม่ทัน
ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาวิวัฒนาการกับจิตวิทยาแบบมาตรฐานก็คือ นักจิตวิทยามาตรฐานนั้นคิดว่า พฤติกรรมของคนนั้นไม่ได้เกิดมาจากวิวัฒนาการ แต่เกิดจากการเรียนรู้ และสังคมกับคนอื่นซึ่งเริ่มต้นหลังจากที่คน ๆ นั้นเกิด พูดง่ายๆ สมองของคนในวันที่เกิดนั้นว่างเปล่า เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีแต่ "เครื่อง" แต่ยังไม่ได้ลง "โปรแกรม" เลย ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้เขาเป็นอย่างไร เราก็สอน หรือลง "โปรแกรม" ให้เขาเป็นอย่างนั้นได้ ส่วนนักจิตวิทยาวิวัฒนาการนั้นเชื่อว่า ในสมองของเรานั้น มี "โปรแกรมพื้นฐาน" หรือระบบแนวคิด และพฤติกรรมที่ถูก "ถ่ายเท" และ "ปรับแต่ง" หรือวิวัฒนาการ มาจากบรรพบุรุษมานานเป็นแสนเป็นล้านปีแล้ว ดังนั้น ถ้าเด็กเกิดมาเป็นผู้ชาย เขาก็จะมีโปรแกรมหรือสมองของผู้ชาย เขาจะมีพฤติกรรมแบบผู้ชาย เราจะสอนให้เขามีพฤติกรรมแบบผู้หญิงไม่ได้หรือได้ก็น้อยมาก
อย่างที่พูดไว้ข้างต้น มนุษย์ในปัจจุบันนั้น มี "โปรแกรม" ของการอยู่รอดและแพร่พันธุ์ที่เหมาะสำหรับคนในยุคหิน และคนในยุคหินที่เหมาะจะเอาตัวรอดและแพร่พันธุ์ได้ดีนั้นก็คือ ผู้ชายต้องเป็นสมาชิกหลักที่จะหาอาหาร และทรัพยากรซึ่งในปัจจุบันก็คือ ทรัพย์สมบัติและเงินทอง ผู้ชายต้องเป็นคนที่มีความคิดที่ "เป็นระบบ" และเป็นเหตุเป็นผล หรือคิดเกี่ยวกับตัวเลขและเข้าใจวิธีการทำงานของสิ่งหรือระบบต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมเพื่อที่จะสามารถคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้น และสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ดีกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงนั้นถูกกำหนดให้เป็นคนหลักในการเลี้ยงลูก ดังนั้นจึงเข้าใจเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับคนหรืออารมณ์และจิตใจของคน ดีกว่าผู้ชาย พูดโดยสรุปก็คือ ผู้ชายมีสมอง "แบบผู้ชาย" มากกว่าผู้หญิงและผู้หญิงมีสมอง "แบบผู้หญิง" มากกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ย
คนที่เรียนเป็นวิศวกรหรือแพทย์นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็คือคนที่มีสมองที่คิดเป็นระบบ เป็นตัวเลข และเป็นเหตุเป็นผลสูง ซึ่งต้องใช้สมอง "แบบผู้ชาย" มิฉะนั้นเขาก็คงจะเรียนไม่ได้ การลงทุนนั้น เป็นเรื่องของการหาและสะสมทรัพยากร ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้ชาย ส่วนการลงทุนแบบ Value Investment นั้น จำเป็นต้องใช้หลักการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ ใช้หลักของเหตุผลและตัวเลขประกอบ ทั้งหมดนั้นรวมกันทำให้คนๆ หนึ่งที่เราเห็นว่าเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่น และมีความสามารถสูงนั้น แท้ที่จริงแล้วอาจจะไม่ใช่เป็นเพราะการศึกษาหรือเรียนรู้หลักการจากหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดตั้งแต่เขายังอยู่ในครรภ์มารดา และได้ยีนที่เป็นสมองแบบผู้ชายสูง พูดง่ายๆ เขาอาจจะต้องเกิดมาพร้อมกับศักยภาพที่จะเป็น Value Investor ก่อน และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เหมาะสมเขาก็กลายเป็น Value Investor คนที่เกิดมาไม่ได้เป็น Value Investor เช่น คนที่เกิดมาเป็นผู้หญิง และมีสมองของผู้หญิงสูงทำอย่างไรก็ยากที่เธอจะเป็น Value Investor (หมายเหตุ: เธออาจจะเป็นนักเก็งกำไรรายย่อยที่ชอบอ่านความรู้สึกของคนที่เล่นหุ้นในตลาด และซื้อขายหุ้นเพื่อความสนุกสนานมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับครอบครัว)
แน่นอน ผู้หญิงหรือคนที่ไม่ได้เป็นวิศวกรหรือหมอก็สามารถเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่น และเก่งกาจได้ เพราะผู้หญิงบางคนก็อาจจะมีสมองแบบผู้ชายสูงกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ย เช่นเดียวกัน คนที่มีความคิดแบบเป็นระบบ หรือมีสมองแบบผู้ชายสูงก็ไม่จำเป็นต้องเรียนวิศวะหรือแพทย์ ดังนั้นคนในสาขาอาชีพอื่นก็สามารถเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นได้ เพียงแต่ในสภาวะปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยนั้น ดูเหมือนว่ากลุ่มผู้นำของ Value Investor จะประกอบไปด้วยคนที่เกิดมา เพื่อที่จะเป็น Value Investor และพวกเขามักจะเป็นผู้ชายที่ทำงานในสายวิทยาศาสตร์ เฉพาะอย่างยิ่งวิศวกรและแพทย์
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
ชอบ ดร. แกตรงที่คิดยังไงก็พูดออกมาแบบนั้น
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
ผมว่า ที่ ดร.เขียนคำว่า
ส่วนประโยคนี้
ขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.นิเวศน์มากๆนะครับผม
นั้นหมายถึง ให้เราเห็นโอกาสในการใช้ประโยชน์จาก Mr.Market มากกว่าที่เราจะไปเอาเปรียบนักลงทุนคนอื่นๆนะครับน่าจะทำให้มีโอกาส “กินคนอื่น” แทนที่จะ “ถูกกิน” ในสมรภูมิหุ้น
ส่วนประโยคนี้
ผมว่า ความหมายชัดอยู่แล้วนะครับ อ่านแล้วก็รู้อยู่ในใจครับเหนือสิ่งอื่นใด มันน่าจะทำให้เราไม่ “ซื่อ” จนเกินไป คิดว่ามีคนที่ “ไม่เห็นแก่ตัว” เอา “อาหาร” มาให้เรากินแทนที่เขาจะกินเสียเอง อย่าลืมว่าตลาดหุ้นนั้น ถ้าเทียบกับยุคหินก็คือป่าที่เต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ต่างก็ต้องการ “กินคนอื่น” ถ้าเผลอคุณก็มีโอกาสเป็นอาหารของพวกเขาเสมอ
ขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.นิเวศน์มากๆนะครับผม
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
ต้องขยันหน่อยแล้วเรา ไม่งั้น"โดนกิน" ละยุ่งเลย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณมาก สำหรับ บทความดีๆ ครับ
และสะกิจใจหลายๆ คนในนี้ รวมทั้งตัวผมเองด้วย
และสะกิจใจหลายๆ คนในนี้ รวมทั้งตัวผมเองด้วย
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
ทำไมดร.รู้หลักการวีไอแล้ว
ไม่เก็บเงียบไว้คนเดียว
เหมือนเสือค่อยๆจับกินกวางวันละตัวๆ
ผลิตเสือสิงห์กระทิงแรดจำนวนมากมาแย่งกินกวางทำไม
หนังสือทั้งหลายที่ดร.เขียน ผมว่าลงทุนลงแรงไปไม่น้อย
ได้ตังค์มาแค่นี้ผมว่าน้อยมากเมื่อเทียบกำไรจากหุ้น
และที่ออกมาเตือนนี้ก็น่าจะด้วยหวังดีนะครับ
เคยเห็นเสือเตือนกวางแบบนี้ไหมครับ
ไม่เก็บเงียบไว้คนเดียว
เหมือนเสือค่อยๆจับกินกวางวันละตัวๆ
ผลิตเสือสิงห์กระทิงแรดจำนวนมากมาแย่งกินกวางทำไม
หนังสือทั้งหลายที่ดร.เขียน ผมว่าลงทุนลงแรงไปไม่น้อย
ได้ตังค์มาแค่นี้ผมว่าน้อยมากเมื่อเทียบกำไรจากหุ้น
และที่ออกมาเตือนนี้ก็น่าจะด้วยหวังดีนะครับ
เคยเห็นเสือเตือนกวางแบบนี้ไหมครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
ผมเห็นด้วยกับแนวคิดจิตวิทยาวิวัฒนาการนะครับ
คือคิดว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกตามธรรมชาติแต่ไม่ถูกในสังคมมนุษย์
เพราะอย่างนี้ครับ
เดิมทีทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินไม่เพียงแต่โดนค้านเพราะไปกระทบกับความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าเท่านั้น
แต่เพราะมีทฤษฎี use & disuse (ใช้และไม่ใช้) เป็นคู่แข่งสำคัญและเห็นผลชัดๆ
ยีราฟคอสั้นกินอารได้ตามปกติก็จะไม่มีปัญหาอะไรแต่เมื่อใบไม้ด้านล่างร่อยหรอลง
ยีราฟก็พยายามยืดคอขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอด ทุกวันนี้ยีราฟจึงคอยาว
คนเราใช้งานแขนขามากๆร่างกายก็กำยำล่ำบึ้ก ตรงกันข้ามอวัยวะไหนที่ไม่ถูกใช้ก็มักจะเหี่ยวแห้งลง
ฟังดูสมเหตุผลและเห็นชัดๆกับตา แต่สุดท้ายทฤษฎี use & disuse ก็ได้รับการพิสูจน์ว่าผิด
ผิดเพราะมันไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน
ผิดเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงในระดับยีน
ชาร์ล ดาร์วินต่างหากที่ถูกต้อง
คือคิดว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกตามธรรมชาติแต่ไม่ถูกในสังคมมนุษย์
เพราะอย่างนี้ครับ
เดิมทีทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินไม่เพียงแต่โดนค้านเพราะไปกระทบกับความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าเท่านั้น
แต่เพราะมีทฤษฎี use & disuse (ใช้และไม่ใช้) เป็นคู่แข่งสำคัญและเห็นผลชัดๆ
ยีราฟคอสั้นกินอารได้ตามปกติก็จะไม่มีปัญหาอะไรแต่เมื่อใบไม้ด้านล่างร่อยหรอลง
ยีราฟก็พยายามยืดคอขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอด ทุกวันนี้ยีราฟจึงคอยาว
คนเราใช้งานแขนขามากๆร่างกายก็กำยำล่ำบึ้ก ตรงกันข้ามอวัยวะไหนที่ไม่ถูกใช้ก็มักจะเหี่ยวแห้งลง
ฟังดูสมเหตุผลและเห็นชัดๆกับตา แต่สุดท้ายทฤษฎี use & disuse ก็ได้รับการพิสูจน์ว่าผิด
ผิดเพราะมันไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน
ผิดเพราะมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงในระดับยีน
ชาร์ล ดาร์วินต่างหากที่ถูกต้อง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
กลับมาเรื่องจิตวิทยาวิวัฒนาการ
นิยามตามที่ดร.สรุปก็คือ
นักจิตวิทยามาตรฐานนั้นเปรียบง่ายๆเหมือนสมองของคนในวันที่เกิดนั้นว่างเปล่า เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีแต่ "เครื่อง" แต่ยังไม่ได้ลง "โปรแกรม" เลย ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้เขาเป็นอย่างไร เราก็สอน หรือลง "โปรแกรม" ให้เขาเป็นอย่างนั้นได้
ส่วนนักจิตวิทยาวิวัฒนาการนั้นเชื่อว่า ในสมองของเรานั้น มี "โปรแกรมพื้นฐาน" หรือระบบแนวคิด และพฤติกรรมที่ถูก "ถ่ายเท" และ "ปรับแต่ง" หรือวิวัฒนาการ มาจากบรรพบุรุษมานานเป็นแสนเป็นล้านปีแล้ว
ที่ผมเห็นว่าถูกก็เพราะในกระบวนการวิวัฒนาการนั้นจะต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางยีนเท่านั้น ถ้าไม่ผ่านทางยีนแล้วจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ยาวนานขนาดนั้น
อันนี้คือถูกต้องตามกฎธรรมชาติ. ทั้งแนวคิดและพฤติกรรมถูกถ่าเทลงมาในยีนและส่งมาสู่สมองตั้งแต่ต้น อันที่จริงทฤษฎีนี้ก็เป็นการ copy แนวคิดของชาร์ลมานั่นเอง
ทีนี้ทำไมผมถึงคิดว่าถูกตามกฎธรรมชาติแต่ไม่ถูกในสังคมมนุษย์
เพราะทฤษฎีของชาร์ลนั้นถือว่าธรรมชาติเป็นใหญ่และเป็นผู้ตัดสินแบบไม่มีความลำเอียงรวมทั้งไม่มีความเมตตาปรานีใดๆในการคัดเลือกหรือไม่เลือก
เขาถึงตั้งชื่อว่า natural selection
ยีราฟคอสั้นกินอาหารไม่ได้ ธรรมชาติพิพากษาให้ตาย มีลูกมากน้อยแค่ไหนธรรมชาติก็กำหนดให้ตายเหมือนเดิม ทุกวันนี้จึงมีแต่ยีราฟคอยาว
แต่ในสังคมมนุษย์เรื่องจิตวิทยาวิวัฒนาการนี้เป็น human selection
สังคมไม่ปล่อยให้มนุษย์อดตายและตัดโอกาสในการสืบทอดเผ่าพันธ์ด้วยเหตุผลว่ายากจนหรือโง่
ถ้าสมัยสองสามพันปีก่อนก็มีโรงทานเลี้ยงอาหารคนยากคนจน
ต่อมาก็มีศาสนาสอนให้เมตตาต่อกัน
ต่อมาก็มีการค้นพบการผลิตอาหารจำนวนมากที่เรียกว่าการปฏิวัติทางการเกษตร
ต่อมาก็มีลัทธิทางการเมือง
ปัจจุบันหลายๆประเทศต่างก็มุ่งไปสู่รัฐสวัสดิการ
เมื่อสาเหตุที่จะทำให้ตายและไม่ได้สืบพันธ์ถูกมนุษย์เข้ามาจัดการแบบนี้
กฎนี้จึงไม่เกิดผลในสังคมมนุษย์
เมื่อยีราฟคอสั้นถูกอุ้มชูดูแล ยีราฟคอสั้นก็จะไม่สูญพันธ์
ดังนั้นเราจึงจะยังเห็นผู้ที่มียีนของโรคธาลัสซีเมียอยู่ในสังคม
ยังเห็นผู้ป่วยฮีโมฟีเลียต่อไป
ยังเห็นคนขยันทำมาหากินและคนขี้เกียจ
ยังเห็นคนฉลาดและคนโง่
ยังเห็นคนดีและคนชั่ว
ยังเห็นวีไอและนักเก็งกำไรอยู่คู่กันต่อไป
และด้วยพฤติกรรมหลายๆอย่างของสังคม
สัดส่วนของคนฉลาดต่อทั้งหมดควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
เพราะคนฉลาดมีโอกาสรวยกว่า เก่งกว่า น่าจะถูกเลือกเพื่อมีลูกมีหลานที่มากกว่า
แต่เพราะเป็น human selection และความซับซ้อนองมนุษย์ทำให้สัดส่วนคนฉลาดน้อยลงเรื่อยๆในทุกประเทศ
มีการพบว่าผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีขึ้นไปมักจะแต่งงานช้า
นอกจากช้าแล้วจำนวนลูกยังน้อยด้วย
ในขณะที่ผู้ที่เรียนไม่สูงมักมีลูกเร็วและมาก เป็นต้น
นิยามตามที่ดร.สรุปก็คือ
นักจิตวิทยามาตรฐานนั้นเปรียบง่ายๆเหมือนสมองของคนในวันที่เกิดนั้นว่างเปล่า เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีแต่ "เครื่อง" แต่ยังไม่ได้ลง "โปรแกรม" เลย ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้เขาเป็นอย่างไร เราก็สอน หรือลง "โปรแกรม" ให้เขาเป็นอย่างนั้นได้
ส่วนนักจิตวิทยาวิวัฒนาการนั้นเชื่อว่า ในสมองของเรานั้น มี "โปรแกรมพื้นฐาน" หรือระบบแนวคิด และพฤติกรรมที่ถูก "ถ่ายเท" และ "ปรับแต่ง" หรือวิวัฒนาการ มาจากบรรพบุรุษมานานเป็นแสนเป็นล้านปีแล้ว
ที่ผมเห็นว่าถูกก็เพราะในกระบวนการวิวัฒนาการนั้นจะต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางยีนเท่านั้น ถ้าไม่ผ่านทางยีนแล้วจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ยาวนานขนาดนั้น
อันนี้คือถูกต้องตามกฎธรรมชาติ. ทั้งแนวคิดและพฤติกรรมถูกถ่าเทลงมาในยีนและส่งมาสู่สมองตั้งแต่ต้น อันที่จริงทฤษฎีนี้ก็เป็นการ copy แนวคิดของชาร์ลมานั่นเอง
ทีนี้ทำไมผมถึงคิดว่าถูกตามกฎธรรมชาติแต่ไม่ถูกในสังคมมนุษย์
เพราะทฤษฎีของชาร์ลนั้นถือว่าธรรมชาติเป็นใหญ่และเป็นผู้ตัดสินแบบไม่มีความลำเอียงรวมทั้งไม่มีความเมตตาปรานีใดๆในการคัดเลือกหรือไม่เลือก
เขาถึงตั้งชื่อว่า natural selection
ยีราฟคอสั้นกินอาหารไม่ได้ ธรรมชาติพิพากษาให้ตาย มีลูกมากน้อยแค่ไหนธรรมชาติก็กำหนดให้ตายเหมือนเดิม ทุกวันนี้จึงมีแต่ยีราฟคอยาว
แต่ในสังคมมนุษย์เรื่องจิตวิทยาวิวัฒนาการนี้เป็น human selection
สังคมไม่ปล่อยให้มนุษย์อดตายและตัดโอกาสในการสืบทอดเผ่าพันธ์ด้วยเหตุผลว่ายากจนหรือโง่
ถ้าสมัยสองสามพันปีก่อนก็มีโรงทานเลี้ยงอาหารคนยากคนจน
ต่อมาก็มีศาสนาสอนให้เมตตาต่อกัน
ต่อมาก็มีการค้นพบการผลิตอาหารจำนวนมากที่เรียกว่าการปฏิวัติทางการเกษตร
ต่อมาก็มีลัทธิทางการเมือง
ปัจจุบันหลายๆประเทศต่างก็มุ่งไปสู่รัฐสวัสดิการ
เมื่อสาเหตุที่จะทำให้ตายและไม่ได้สืบพันธ์ถูกมนุษย์เข้ามาจัดการแบบนี้
กฎนี้จึงไม่เกิดผลในสังคมมนุษย์
เมื่อยีราฟคอสั้นถูกอุ้มชูดูแล ยีราฟคอสั้นก็จะไม่สูญพันธ์
ดังนั้นเราจึงจะยังเห็นผู้ที่มียีนของโรคธาลัสซีเมียอยู่ในสังคม
ยังเห็นผู้ป่วยฮีโมฟีเลียต่อไป
ยังเห็นคนขยันทำมาหากินและคนขี้เกียจ
ยังเห็นคนฉลาดและคนโง่
ยังเห็นคนดีและคนชั่ว
ยังเห็นวีไอและนักเก็งกำไรอยู่คู่กันต่อไป
และด้วยพฤติกรรมหลายๆอย่างของสังคม
สัดส่วนของคนฉลาดต่อทั้งหมดควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
เพราะคนฉลาดมีโอกาสรวยกว่า เก่งกว่า น่าจะถูกเลือกเพื่อมีลูกมีหลานที่มากกว่า
แต่เพราะเป็น human selection และความซับซ้อนองมนุษย์ทำให้สัดส่วนคนฉลาดน้อยลงเรื่อยๆในทุกประเทศ
มีการพบว่าผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีขึ้นไปมักจะแต่งงานช้า
นอกจากช้าแล้วจำนวนลูกยังน้อยด้วย
ในขณะที่ผู้ที่เรียนไม่สูงมักมีลูกเร็วและมาก เป็นต้น
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 28
ถ้าจะตอบตามหลักวิวัฒนาการ และมองโลกในแง่ร้าย โดยมองตลาดหุ้นเป็น Zero-Sum Game เป็นสนามแห่งการฆ่าและแย่งชิงผลประโยชน์ ก็คือ...สามัญชน เขียน:ทำไมดร.รู้หลักการวีไอแล้ว
ไม่เก็บเงียบไว้คนเดียว
เหมือนเสือค่อยๆจับกินกวางวันละตัวๆ
ผลิตเสือสิงห์กระทิงแรดจำนวนมากมาแย่งกินกวางทำไม
หนังสือทั้งหลายที่ดร.เขียน ผมว่าลงทุนลงแรงไปไม่น้อย
ได้ตังค์มาแค่นี้ผมว่าน้อยมากเมื่อเทียบกำไรจากหุ้น
และที่ออกมาเตือนนี้ก็น่าจะด้วยหวังดีนะครับ
เคยเห็นเสือเตือนกวางแบบนี้ไหมครับ
ดร. ได้วิวัฒนาการกลายเป็น ไดโนเสาร์ ที่กินเนื้อจำพวก ทีเร็กซ์ เลยต้อง เพาะ พวก เสือ สิงห์ กระทิง แรด เอาไว้กินเป็นอาหาร เพราะ กิน เสือ สิงห์ กระทิง แรด แล้วมันอิ่มกว่า ไปกินพวกปลาซิว ปลาสร้อย
แต่ถ้ามองโลกในแง่บวก และเชื่อว่าตลาดหุ้นไม่ใช่ Zero-Sum Game ดร. คงจะเป็น เสือโพธิสัตว์ กินแต่พืช ไม่กินเนื้อมั้งครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 29
ไม่รู้เป็นไง รู้สึกแจ๊ดๆ
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้ชีวิต/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
เอ่อ เร็วไปนิดเลยพิมพ์ผิด
รู้สึกแปร๊บๆ
รู้สึกแปร๊บๆ