สูตรมั่งคั่ง 'เจ้าพ่อถ่านหิน' ตัวจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 6427
- ผู้ติดตาม: 1
สูตรมั่งคั่ง 'เจ้าพ่อถ่านหิน' ตัวจริง
โพสต์ที่ 1
ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์คุณชนินท์ แห่งบ้านปู ในกรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%87.html
ราคาหุ้น BANPU จะขึ้นไปยืนระดับเท่าไรไม่มีใครรู้ แต่จะแจกแจงแผน 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) อัตราการเติบโตของบ้านปูจะอยู่ที่ระดับ 12-13% ต่อปี
ในประเทศไทยบ้านปูเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ถ้าวัดกันที่ขนาดธุรกิจและมูลค่าหุ้น เป็นองค์กรเอกชนเพียงไม่กี่รายที่ใช้ระยะเวลาการเติบโตจากหลัก "ร้อยล้าน" สู่หลัก "แสนล้าน" ภายในเจเนอเรชั่นเดียว บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2526 มีอายุการก่อตั้ง 28 ปี มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 25 ล้านบาท เทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บ้านปูมีกำไรสุทธิ 24,728 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์รวมมีจำนวน 193,598 ล้านบาท
ความมั่งคั่งของบ้านปูไม่ใช่เกิดจากการขายถ่านหินซึ่งเป็นธุรกิจหลักเพียงอย่างเดียวแต่ทว่าเกิดจากส่วนผสมของ "การลงทุน" อย่างลงตัว หลายครั้งที่บ้านปูใช้วิธี "ซื้อมา-ขายไป" ในหุ้นและกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไฟฟ้า ปิโตรเคมี และถ่านหิน ทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำและทำให้เกิดการ "ทบต้น" ของมูลค่าสินทรัพย์ในอัตราเร่ง
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู จึงไม่ใช่นักธุรกิจผู้เก่งฉกาจในธุรกิจ "ค้าถ่านหิน" เท่านั้น แต่เขาคือ "นักลงทุนชั้นยอด" และอาจเป็น วอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทยตัวจริง
สายตาที่แหลมคมทำให้ชนินท์ทยอยเข้าเก็บหุ้น บมจ.อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC (ปัจจุบันคือ PTTAR) ช่วงที่ธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ในช่วง "ก้นบึ้งขาลง" (Bottom) บริเวณ 3-4 บาท เก็บจำนวนมากถึง 185.68 ล้านหุ้น สัดส่วน 19.38% ถือนานหลายปีก่อนจะเริ่มทยอยขายอย่างใจเย็นในช่วง "ขาขึ้น" ของอุตสาหกรรมเมื่อปลายปี 2546-2548 ช่วงราคา 50-70 บาท เขาขายหุ้น ATC ได้ราคาสูงสุด 75.50 บาท เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 นี่คือดีลการลงทุน "สุดคลาสสิก" ของบ้านปู ได้กำไรมหาศาลเอาไปต่อยอดธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้า
ก่อนหน้านั้นช่วงปี 2543-2544 ชนินท์ทยอยขายหุ้นใน บมจ.เดอะโคเจเนอเรชั่น หรือ COCO (ปัจจุบันคือ GLOW) ที่บ้านปูถือหุ้นอยู่ 32.85% ให้กับ Sithe Pacific Holding ทำสัญญาทยอยหุ้นขาย 4 ครั้งสัดส่วน 22.07% ได้ราคาเฉลี่ย 20.33 บาท ได้เงิน 5,400 ล้านบาท และขายหุ้น COCO ล็อตสุดท้าย 10.78% ให้กับ Tractebel S.A. ที่ราคา 17 บาท ได้เงินอีก 2,200 ล้านบาท ดีลนี้บ้านปูได้กำไรเป็นกอบเป็นกำอีกเช่นกัน
ชนินท์ยังทำกำไรอย่างงดงามจากการเข้าลงทุนในหุ้น บมจ.ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) สัดส่วน 10% และหุ้น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) สัดส่วน 15% โดยเริ่มลงทุนหุ้น RATCH เมื่อปี 2543 ต้นทุน 13-14 บาท ถือรับปันผลมาตลอด 10 ปีเพิ่งมาขายออกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 202.4 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 33 บาท ได้รับเงินประมาณ 6,679 ล้านบาท ดีลนี้มีกำไรกว่า 3,000 ล้านบาท
ที่เหลือไปอ่านต่อตามลิงค์เอาเองนะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%87.html
ราคาหุ้น BANPU จะขึ้นไปยืนระดับเท่าไรไม่มีใครรู้ แต่จะแจกแจงแผน 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) อัตราการเติบโตของบ้านปูจะอยู่ที่ระดับ 12-13% ต่อปี
ในประเทศไทยบ้านปูเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ถ้าวัดกันที่ขนาดธุรกิจและมูลค่าหุ้น เป็นองค์กรเอกชนเพียงไม่กี่รายที่ใช้ระยะเวลาการเติบโตจากหลัก "ร้อยล้าน" สู่หลัก "แสนล้าน" ภายในเจเนอเรชั่นเดียว บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2526 มีอายุการก่อตั้ง 28 ปี มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 25 ล้านบาท เทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บ้านปูมีกำไรสุทธิ 24,728 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์รวมมีจำนวน 193,598 ล้านบาท
ความมั่งคั่งของบ้านปูไม่ใช่เกิดจากการขายถ่านหินซึ่งเป็นธุรกิจหลักเพียงอย่างเดียวแต่ทว่าเกิดจากส่วนผสมของ "การลงทุน" อย่างลงตัว หลายครั้งที่บ้านปูใช้วิธี "ซื้อมา-ขายไป" ในหุ้นและกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไฟฟ้า ปิโตรเคมี และถ่านหิน ทำกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำและทำให้เกิดการ "ทบต้น" ของมูลค่าสินทรัพย์ในอัตราเร่ง
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู จึงไม่ใช่นักธุรกิจผู้เก่งฉกาจในธุรกิจ "ค้าถ่านหิน" เท่านั้น แต่เขาคือ "นักลงทุนชั้นยอด" และอาจเป็น วอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทยตัวจริง
สายตาที่แหลมคมทำให้ชนินท์ทยอยเข้าเก็บหุ้น บมจ.อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC (ปัจจุบันคือ PTTAR) ช่วงที่ธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ในช่วง "ก้นบึ้งขาลง" (Bottom) บริเวณ 3-4 บาท เก็บจำนวนมากถึง 185.68 ล้านหุ้น สัดส่วน 19.38% ถือนานหลายปีก่อนจะเริ่มทยอยขายอย่างใจเย็นในช่วง "ขาขึ้น" ของอุตสาหกรรมเมื่อปลายปี 2546-2548 ช่วงราคา 50-70 บาท เขาขายหุ้น ATC ได้ราคาสูงสุด 75.50 บาท เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 นี่คือดีลการลงทุน "สุดคลาสสิก" ของบ้านปู ได้กำไรมหาศาลเอาไปต่อยอดธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้า
ก่อนหน้านั้นช่วงปี 2543-2544 ชนินท์ทยอยขายหุ้นใน บมจ.เดอะโคเจเนอเรชั่น หรือ COCO (ปัจจุบันคือ GLOW) ที่บ้านปูถือหุ้นอยู่ 32.85% ให้กับ Sithe Pacific Holding ทำสัญญาทยอยหุ้นขาย 4 ครั้งสัดส่วน 22.07% ได้ราคาเฉลี่ย 20.33 บาท ได้เงิน 5,400 ล้านบาท และขายหุ้น COCO ล็อตสุดท้าย 10.78% ให้กับ Tractebel S.A. ที่ราคา 17 บาท ได้เงินอีก 2,200 ล้านบาท ดีลนี้บ้านปูได้กำไรเป็นกอบเป็นกำอีกเช่นกัน
ชนินท์ยังทำกำไรอย่างงดงามจากการเข้าลงทุนในหุ้น บมจ.ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) สัดส่วน 10% และหุ้น บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) สัดส่วน 15% โดยเริ่มลงทุนหุ้น RATCH เมื่อปี 2543 ต้นทุน 13-14 บาท ถือรับปันผลมาตลอด 10 ปีเพิ่งมาขายออกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 202.4 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 33 บาท ได้รับเงินประมาณ 6,679 ล้านบาท ดีลนี้มีกำไรกว่า 3,000 ล้านบาท
ที่เหลือไปอ่านต่อตามลิงค์เอาเองนะครับ
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สูตรมั่งคั่ง 'เจ้าพ่อถ่านหิน' ตัวจริง
โพสต์ที่ 2
ไม่รู้เป็นไง
พอหุ้นขึ้นมากๆ แล้วมีคนไปสัมภาษณ์ผู้บริหารในแนวว่าประสบความสำเร็จมากๆ ผมจะรู้สึกว่าธุรกิจนั้นๆราคาหุ้นและพื้นฐานพี้คไปแล้วครับ
พอหุ้นขึ้นมากๆ แล้วมีคนไปสัมภาษณ์ผู้บริหารในแนวว่าประสบความสำเร็จมากๆ ผมจะรู้สึกว่าธุรกิจนั้นๆราคาหุ้นและพื้นฐานพี้คไปแล้วครับ