ถามเรื่องรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามเรื่องรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
โพสต์ที่ 2
ลักษณะการสอบทาน จะเป็นการ review จากข้อมูลเดิม ๆ หรือ ตรวจสอบแบบหยาบ ๆ แต่เป็นนัยยะสำคัญเพื่อประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่นำมาออกงบการเงินครับ
โดยปกติการตรวจสอบลักษณะนี้จะเป็นการ ออกความเห็นแบบรายไตรมาสครับ (เพราะยังไม่สามารถเข้าตรวจข้อมูลได้ทั้งหมด) ซึ่งเวลาในการตรวจสอบการออกงบสั้นมาก ๆ การจะเข้าไปตรวจแบบละเอียดจึงเป็นไปได้ยากครับ ในขั้นนี้จึงทำได้เท่าที่กล่าวมาข้างต้นครับ
ส่วนการตรวจสอบนั้นจะเป็นการทดสอบระบบการควบคุมภายใน ตรวจสอบรายการที่มีนัยยะสำคัญต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงที่สุด ในส่วนนี้จะใช้เวลามากครับ ในปีหนึ่งจะเป็นการตรวจสอบเพื่อการออกงบการเงินประจำปีครับ
ซึ่งข้อมูลรายไตรมาส ถ้านำมาประกอบกันเป็นปี มักจะไม่ต่างกันอย่างมีสาระสำคัญมากนัก เพราะว่ารายการใหญ่ ได้ถูกสอบทานไปแล้ว เว้นแต่ในช่วงของไตรมาสสุดท้ายจะมีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นครับ เช่น ไฟไหม้, น้ำท่วม ถูกฟ้องร้อง เป็นต้นครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ ผิดถูกช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
โดยปกติการตรวจสอบลักษณะนี้จะเป็นการ ออกความเห็นแบบรายไตรมาสครับ (เพราะยังไม่สามารถเข้าตรวจข้อมูลได้ทั้งหมด) ซึ่งเวลาในการตรวจสอบการออกงบสั้นมาก ๆ การจะเข้าไปตรวจแบบละเอียดจึงเป็นไปได้ยากครับ ในขั้นนี้จึงทำได้เท่าที่กล่าวมาข้างต้นครับ
ส่วนการตรวจสอบนั้นจะเป็นการทดสอบระบบการควบคุมภายใน ตรวจสอบรายการที่มีนัยยะสำคัญต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงที่สุด ในส่วนนี้จะใช้เวลามากครับ ในปีหนึ่งจะเป็นการตรวจสอบเพื่อการออกงบการเงินประจำปีครับ
ซึ่งข้อมูลรายไตรมาส ถ้านำมาประกอบกันเป็นปี มักจะไม่ต่างกันอย่างมีสาระสำคัญมากนัก เพราะว่ารายการใหญ่ ได้ถูกสอบทานไปแล้ว เว้นแต่ในช่วงของไตรมาสสุดท้ายจะมีเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นครับ เช่น ไฟไหม้, น้ำท่วม ถูกฟ้องร้อง เป็นต้นครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ ผิดถูกช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามเรื่องรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
โพสต์ที่ 3
เข้ามาช่วยอธิบาย ในฐานะที่อดีตเคยอยู่ในวงการสอบบัญชี
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ รายงานสอบทานกับรายงานตรวจสอบ
การสอบทาน (Review) หลักๆ จะใช้วิธีการสอบถามดูผลแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ หรือที่เรียกกัน
ว่าการทำการวิเคราะห์ (Analytical Review) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำการตรวจสอบอะไรเลย
ปกติผู้สอบบัญชีจะทำการสอบทานในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งสำรองต่างๆ การรับรู้รายได้
รวมไปถึงประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนั้นสำหรับงบไตรมาสที่เป็นสอบทาน ในความเห็นผมว่ามันเชื่อถือได้
ในระดับหนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการตัดสินใจ (ในความคิดผม)
ส่วนการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีถูกกำหนดตามมาตรฐานสอบบัญชีอยู่แล้วในการตรวจสอบซึ่งย่อมน่าเชื่อถือได้
มากกว่าสอบทานอยู่แล้ว แต่ที่อยากจะบอกคือ ผู้สอบบัญชีมิได้ทำการตรวจสอบทุกรายการ หรือดูเอกสารทุกฉบับ
โดยวิธีการปกติที่ทำกันจะใช้ที่เรียกว่า Risk Base คือตรงไหน Risk สูงก็ตรวจเยอะ (รวมถึงความสาระสำคัญด้วย)
นอกจากนี้ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการดูงบการเงินคือ การทุจริตจากฝ่ายบริหาร (รวมถึงการแต่งตัวเลข) ซึ่งใน
ความเห็นผม ผมว่าตรงจุดนี้ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะ Cover ได้
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ รายงานสอบทานกับรายงานตรวจสอบ
การสอบทาน (Review) หลักๆ จะใช้วิธีการสอบถามดูผลแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ หรือที่เรียกกัน
ว่าการทำการวิเคราะห์ (Analytical Review) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำการตรวจสอบอะไรเลย
ปกติผู้สอบบัญชีจะทำการสอบทานในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้วย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งสำรองต่างๆ การรับรู้รายได้
รวมไปถึงประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนั้นสำหรับงบไตรมาสที่เป็นสอบทาน ในความเห็นผมว่ามันเชื่อถือได้
ในระดับหนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการตัดสินใจ (ในความคิดผม)
ส่วนการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีถูกกำหนดตามมาตรฐานสอบบัญชีอยู่แล้วในการตรวจสอบซึ่งย่อมน่าเชื่อถือได้
มากกว่าสอบทานอยู่แล้ว แต่ที่อยากจะบอกคือ ผู้สอบบัญชีมิได้ทำการตรวจสอบทุกรายการ หรือดูเอกสารทุกฉบับ
โดยวิธีการปกติที่ทำกันจะใช้ที่เรียกว่า Risk Base คือตรงไหน Risk สูงก็ตรวจเยอะ (รวมถึงความสาระสำคัญด้วย)
นอกจากนี้ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการดูงบการเงินคือ การทุจริตจากฝ่ายบริหาร (รวมถึงการแต่งตัวเลข) ซึ่งใน
ความเห็นผม ผมว่าตรงจุดนี้ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะ Cover ได้