$$ รวมหุ้น Turnaround $$
- Java The Boy
- Verified User
- โพสต์: 497
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 122
"Pak" ผู้ชายคนนี้โรแมนติคมากครับ
ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์มีอยู่ 4 ข้อคือ...
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 124
วันนี้โชคดีมากๆได้มาเก็บตกกระทู้ดีๆของพี่ pak
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 126
steel ทำลายสถิติ แล้วครับคุณโจ P/BV 136 เท่าลูกอิสาน เขียน:ไม่ทราบผมดูผิดหรือเปล่า ตัว tsf ทั้งสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ไม่มีเกิน 1 ร้อยล้านเลย แต่มูลค่าตลาดของหุ้น 900 ล้าน ราคา/มูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 21 เท่า น่าจะสูงสุดในตลาดหุ้นไทยchaleekilo เขียน:ขอเสนอ tsf ครับ
1 เปลี่ยน model ธุรกิจ ( เปลี่ยนมาจาก 124 ) จากเป็นที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์องค์กร มาขายสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะ ป้ายโฆษณาใน สุวรรณภูมิ,สัมปทานป้ายโฆษณาบนทางด่วน
2 เปลี่ยนผู้บริหารใหม่ทั้งทีม
3 รายได้จากขาดทุน 30 กว่าล้าน เหลือ ขาดทุน 3 ล้าน ใน q3/53
4 มี DCA เช่น มีสัญญาสัมปทานจากสุวรรณภูมิอีกหลายปี, มีการทำ M&A ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และเกี่ยวเนื่องกันอย่างต่อเนื่องซึ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง, มีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
ปล.มิได้มาเชียร์หุ้นนะครับ แต่ในร้อยคนร้อยหุ้นไม่มีห้องนี้เลยไม่รู้จะระบายที่ไหนครับ (อัดอั้นมานานครับ)
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 127
เข้ามาอ่าน บทความของ"เทพแห่งหุ้น Turnaround"
ขอบคุณและขอคารวะคุณ pak ครับ
ขอบคุณและขอคารวะคุณ pak ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 115
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 128
pak เขียน:"ศาสตร์" และ "ศิลป์" แห่งหุ้น Turnaround
By pak
คุณเคยเห็น "ต้นไม้ยืนต้นตายไหม?"
ใครดูก็คงคิดว่า...มันจะต้องตายแน่ๆ!!!
เพราะมันเหี่ยว ไม่มีแม้แต่ดอกหรือใบ บนลำต้นแห้งแล้งนั้นแล้ว
แต่เราอาจลืมมองให้ลึกไปกว่านั้น...
แท้จริงแล้ว มันยังคงมี "รากแก้ว" ที่แข็งแรงซ่อนตัวอยู่!!!
การที่มันเสียดอกและใบไปนั้น มันอาจเกิดขึ้นเพราะภัยแล้ง , น้ำท่วม ,หรือภัยธรรมชาติต่างๆ
แต่ถ้ามันยังคงมีรากที่แข็งแรง และชอนลึกลงไปในใต้ดิน
แน่นอนครับ...มันรอวันที่จะกลับมาบานสะพรั่งได้เช่นเดิม
เพียงแค่รอวันเวลาเท่านั้น
"รากแก้ว"...ก็เปรียบเสมือน "แก่นแท้ และธรรมาภิบาลของบริษัทฯ!!!"
ถ้ามันจะเป็นหุ้น Turnaround ได้จริง
วันนึง คุณจะเห็นดอกไม้เล็กๆ เริ่มบานอยู่บนลำต้นแห้งเหี่ยวนั้น...ทีละเล็ก ทีละน้อย
และในทางกลับกัน คุณเคยเห็นไหม...
"สวนหย่อมที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม อยู่บนชั้นดาดฟ้าของคอนโดหรู!!!"
ต้นไม้ใหญ่ มีดอกใบบานสวยงามเต็มต้น ที่เพิ่งขุดมาจากป่า และนำมาลงปลูกใหม่ๆ
แต่ไม่นานนัก...
ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็กลับค่อยๆเหี่ยวลง และล้มตายในที่สุด
นั่นเป็นเพราะ มันถูกขุดเอามา "วางตั้งไว้" เพื่อโชว์เฉยๆ!!!
นั่นเป็นเพราะ รากมันไม่แข็งแรง"
ก็เหมือนบางบริษัทฯ
ที่ภายนอกดูดี แต่ไม่นานนัก ความจริงจะค่อยๆปรากฏออกมา
เพราะมันไม่ได้มี "รากแก้ว หรือ ธรรมาภิบาลที่ดี" เป็นพื้นฐานของกิจการอย่างแท้จริง
ดังนั้น จงอย่ามองแต่เปลือก หรือภายนอก!!!
เราต้องมองให้ลึกซึ่งกว่านั้นมากๆ
ไม่มีใครจะมาดูแลเราได้ในสงครามตลาดหุ้น
จะกี่หน่วยงานราชการ เราก็ไม่อาจจะพึ่งได้เต็ม 100%
เวลาเราเจ๊งขึ้นมา ไม่มีใครร้องไห้ให้กับเรา ไม่มีใครจะใจดีเอาเงินมาคืนเราหรอกนะครับ
เราต้องพึ่งตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่เราจะมีแรงพึงกระทำได้
สำหรับเรื่องการลงทุน นั้น...หลายๆท่านอาจมองว่ามันเป็น "ศาสตร์"
แต่ผมมองว่า มันมีความเป็น "ศิลป์" ปะปนอยู่ด้วยเสมอ
หุ้น Turnaround ที่ผมเลือกลงทุนบางตัว...มันไม่มี Bid(หรือการตั้งรอซื้อ)รองรับเอาเสียเลย!!!
มีคนถามผม ว่า..."กลัวไหม?"
ผมมักจะตอบตัวเองอยู่เสมอๆว่า...
"Bid" คือ สิ่งที่เราเห็นภายนอก
แต่ "Brand" และ "Barrier" ของธุรกิจ คือ สิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ภายใน
เสมือนเป็น Intangible Asset ที่มิได้ถูกมองเห็นได้โดยง่าย
แม้หุ้นของผมจะไม่มี Bid รองรับ...แต่ผมก็มี Brand และ Barrier รองรับทดแทนอยู่เสมอๆ
หุ้น Turnaround ที่ผมเลือกลงทุนบางตัว...ถูกทุบราคาลงไปเกือบ 30 - 50%!!!
มีคนถามผมเช่นกัน ว่า..."กลัวไหม?"
ผมมักจะปลอบใจ และสอนตัวเองอยู่เสมอๆว่า...
"จำนวนหุ้นของเรายังเท่าเดิม และความเป็นเจ้าของในบริษัทฯนั้นๆของเรา ก็มิได้ลดลงไปเลยแม้แต่น้อย"
สำหรับผมแล้ว...
การลงทุนในหุ้น Turnaround มันคือ "Passion" หรือ “ความปรารถนาอย่างแรงกล้า” ชนิดหนึ่ง
ถ้าคุณ "ไม่เชื่อ, ไม่รัก, ไม่ศรัทธา หรือไม่ผูกพัน" กับมันอย่างแรงกล้าแล้วหล่ะก็
...ยากเหลือเกินที่คุณจะผ่านการทดสอบไปได้?
เหมือนที่ผมชื่นชอบ ประโยคในภาพยนต์เรื่อง SAW VI (ที่ผมเคยได้เขียนไปแล้วครั้งหนึ่ง)
ในประโยคในเทปที่ John Kramer ตั้งคำถามกับ Mark Hoffman ที่ว่า...
"You feel you now have control, don't you? You think you will walk away untested?"
ก่อนจบ ขอแถม "ดราม่า" ซักนิดเถอะนะครับ ^ ^
ก็คือ ถ้าจะว่าไปแล้ว...
หุ้น Turnaround ทุกตัวที่ผมเลือก ผมค่อนข้าง "รักและผูกพัน" กับมันนะ
(เฉพาะตัวที่แน่ใจว่าใช่นะครับ บางบริษัทฯที่ดูแล้วไม่ใช่ ผมก็ขายทิ้งไปบ่อยๆอยู่เช่นกันนะครับ)
ถ้าจะให้เปรียบเทียบถึง "ความรักและความผูกพัน"
ผมว่า มันคงคล้ายๆกับเพลงนี้มั้งครับ...
Link : http://www.youtube.com/watch?v=e6drdBap9M4
ท่อนที่พูดว่า...
"Every moment spent with you is a moment I treasure"
โดนใจอย่างแรงครับผม
(ผู้เขียนเริ่มสบถในใจตัวเองว่า..."นี่ฉันเว่อร์ไปไหมนี่ 555+")
แต่ว่าไปแล้ว...ผมก็รู้สึกแบบนั้นจริงๆนะ
(^_^)
ปล.
ขออนุญาตลงเนื้อเพลงและคำแปลของเพลงที่ผมชื่นชอบหน่ยนะครับ
Credit คำแปล : คุณ A Beautiful Lie
(แนะนำให้เปิดเพลงพร้อมกับอ่านคำแปล ได้อารมณ์ทีเดียวขอรับ)
I don't wanna miss a thing
Aerosmith
.. อยากถนอมทุกวินาทีที่อยู่กับเธอ ..
I could stay awake just to hear your breathing
ฉันสามารถลืมตาตื่นเพียงเพื่อยินเสียงลมหายใจเธอแผ่วชิดใกล้
Watch you smile while you are sleeping
ตราบเท่าที่ได้มองเห็นรอยยิ้มละไม ยามเธอหลับใหล
While you're far away dreaming
เคลิ้มไกลอยู่ในห้วงฝันงาม
I could spend my life in this sweet surrender
และแม้นทั้งชีวิตที่เหลือต้องตกอยู่ภายใต้การจำนนอันแสนหวาน ฉันไม่ครั่นคร้าม
I could stay lost in this moment forever
คงยอมหลงอยู่ในห้วงเวลานี้ตราบชั่วกาล
Every moment spent with you is a moment I treasure
เพราะทุกโมงยามที่เคียงข้างช่างมีค่าเสียเหลือเกิน
Don't want to close my eyes
ไม่ปรารถนาที่จะหลับตาลง
I don't want to fall asleep
ฉันไม่ประสงค์ที่จะหลงหลับใหล
Cause I'd miss you baby
เพราะฉันคงจะคิดถึงเธอ ยอดดวงใจ
And I don't want to miss a thing
ฉันไม่ใคร่อยากพลาดอะไรสักอย่างเดียว
Cause even when I dream of you
ด้วยหากแม้นในฝันนั้นฉันมีเธออยู่
The sweetest dream will never do
ก็ไม่อาจเทียบคู่เคียงได้ด้วยเป็นเพียงภาพฝัน
I'd still miss you baby
และฉันก็ยังคงคิดถึงเธออยู่มิลดหลั่น
And I don't want to miss a thing
เหตุเพราะฉันไม่อยากพลั้งพลาดจากเธอ
Lying close to you feeling your heart beating
ทอดร่างเคลียข้างเพียงอยากสัมผัสถึงเสียงเต้นของหัวใจ
And I'm wondering what you're dreaming
นึกสงสัยว่าสิ่งใดที่เธอกำลังฝันถึง
Wondering if it's me you're seeing
ใคร่อยากรู้ในห้วงลึกนึกคำนึง ใช่ฉันไหม แลเห็นกันบ้างไหมเธอ
Then I kiss your eyes
ก้มลงบรรจงจูบบนเปลือกตา
And thank God we're together
ขอบคุณเทวดาที่บันดาลให้เราได้เคียงคู่
I just want to stay with you in this moment forever
ฉันเพียงต้องการอยู่กับเธอเช่นนี้นะ โฉมตรู
Forever and ever
นิรันดร์กาล ยาวนาน ตลอดไป
Don't want to close my eyes
ไม่อยากแม้นจะแค่หลับตา
I don't want to fall asleep
ไม่ปรารถนาปล่อยกายาให้หลับใหล
Cause I'd miss you baby
ไม่อยากที่จะพลาดจากเธอไป
And I don't want to miss a thing
ไม่ใคร่เสียสักเวลาห่างจากเธอ
Cause even when I dream of you
เพราะแม้นหลังเปลือกตาจะมีเธอรอท่าอยู่ในความฝัน
The sweetest dream will never do
แต่แม้นความฝันแสนหวานล้ำก็ไม่อาจเสมอเหมือน
I 'd still miss you baby
ฉันจะยังคงคิดถึงเธออยู่ไม่คลายเคลือน
And I don't want to miss a thing
จะไม่เฉือนปล่อยให้พลาดสักอย่างเดียว
I don't want to miss one smile
ฉันไม่อยากพลาดแม้นสักหนึ่งรอยยิ้ม
I don't want to miss one kiss
ไม่ปล่อยทิ้งแม้เพียงหนึ่งรอยพิตหวาน
I just want to be with you
แค่ต้องการอยู่กับเธอให้เนิ่นนาน
Right here with you.. just like this
ณ ตรงนี้.. ในแบบนี้.. มีแต่เรา
I just want to hold you close
เพียงอยากจะตระกองเกี่ยวเข้าชิดใกล้
Feel your heart so close to mine
สัมผัสฤทัยของเธอแนบใจฉัน
And Just stay here in tis moment
ในขณะวันที่จะมีแต่เพียงกัน
For all the rest of the time
อยากอยู่กับมันให้นานตลอดไป
Don't want to close my eyes
ฉันไม่อยากจะหลับตาเลยนะ ที่รัก
I don't want to fall asleep
ไม่อยากหักห้ามใจให้หลับใหล
Cause I 'd miss you baby
เพราะฉันปรารถนาเธอเหลือเกิน ยอดดวงใจ
And I don't want to miss a thing
อยากจะใช้ทุกเวลาร่วมกับเธอ
Cause even when I dream of you
ด้วยตราบแม้นจะเป็นเธอในความฝัน
The sweetest dream will never do
แต่ความฝันแสนงามล้ำก็ไม่อาจได้เหมือน
I 'd still miss you baby
ฉันยังคงคิดถึงเธอไม่ลางเลือน
And I don't want to miss a thing
ไม่อยากเฉือนสักเวลาไปจากเธอ
Don't want to close my eyes
ฉันไม่อยากปิดเปลือกตาลงแม้สักนิด
I don't want to fall asleep
อยากห้ามจิตไม่ให้เคลิ้มหลงหลับใหล
Cause I 'd miss you baby
ฉันไม่ใคร่อยากจะพรากจากดวงใจ
And I don't want to miss a thing
อยากจะใช้ทุกเพลาร่วมกับเธอ
Cause even when I dream of you
ด้วยแม้นฝันจะมีเธอไม่ไปไหน
The sweetest dream will never do
แต่ฝันไหนก็หาได้เปรียบเทียมเหมือน
I'd still miss you baby
ยังคิดถึงทุกขณะมิแชเชือน
And I don't want to miss a thing
ไม่อยากเลื่อนปล่อยเวลาให้ห่างกัน
Don't want to close my eyes
ไม่ปรารถนาจะหลับตา
I don't want to fall asleep
ฉันไม่ต้องการจะเข้าสู่นิทรา
I don't want to miss a thing
อยากถนอมทุกเวลาที่อยู่ด้วยกัน
. . . . . . . . . .
. . . .
. .
ที่มา : http://beautifullie.exteen.com/20100531 ... ss-a-thing
..............ชอบเพลงนี้มากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 129
AFC ครับ
--
--
--
--
--
-----
----
---
--
-
รองบไตรมาส ล่าสุดที่กำลังจะประกาศ มาพร้อมกับ ลมบูรพา น่าจะมี 2 ลิ่ง
......ลอกการบ้านครับ....
--
--
--
--
--
-----
----
---
--
-
รองบไตรมาส ล่าสุดที่กำลังจะประกาศ มาพร้อมกับ ลมบูรพา น่าจะมี 2 ลิ่ง
......ลอกการบ้านครับ....
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 130
คุณ kong kang ลอกการบ้านใครครับ
Read Read Read
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 133
หุ้น Turnaround น่าลงทุน ยุคหุ้นผันผวน
จากนิตยสาร Business.Com เดือนมิถุนายน 2552
กลายเป็นหนังคนละม้วน สำหรับตลาดหุ้นทั่วโลก ที่วิ่งฉิวเกิน 40 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ที่ออกสตาร์ตจาก 380 จุดปลายปี 2551 ขึ้นมาสร้างจุดสูงที่ 579 จุด ปรับตัวสูงขึ้น 199 เปอร์เซ็นต์ เพียงช่วงเวลา 6 เดือน
ความร้อนแรงที่เกิดขึ้น หลายคนประเมินว่า ผ่านยุคตกสุดแล้ว แต่มุมมองส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ ทั้งไทยและต่างประเทศ เชื่อลึกๆ ว่า เป็นเพียงภาพลวงตา เพราะ 'เนื้อแท้' ของเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ ยังไม่ถูก 'กระเทาะ' ให้เห็นอัตราเติบโตอย่างแท้จริง ยกเว้น 'จีน'
ท่ามกลางการฟันธงของนักวิเคราะห์หลายแห่งว่า ตลาดหุ้นไทย อาจถึงเวลา "ขาลง" ไม่เกินไตรมาส 3 ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ (รายย่อย ซื้อสูงสุดระหว่างเดือนพฤษภาคม มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 64 เปอร์เซ็นต์) ต่างเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ตกเป็น 'เบี้ยล่าง' กองทุนต่างชาติ ที่อาจเทกระหน่ำขาย หลังสถิติชี้ชัดว่า การขึ้นลักษณะหุ้น W-Shape ตรงกับตลาดหุ้นไทย เมื่อถึงจุดพีค และเดินต่อไม่ได้ ก็จะเทขาย แล้วเดินหาของเล่นที่ใหม่เรื่อยๆ ไป
สำหรับหนทางแก้ในมุมมอง 'อดิพงษ์ ภัทรวิกรม' รองประธานอาวุโส บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ที่บอกว่า หุ้นขึ้นมารอบนี้เป็นปรากฏการณ์ "หุ้นรีบาวด์" ที่รับอานิสงค์จากเงินยุโรปและอเมริกาที่ไหลเข้าสู่เอเชีย จากการเก็งกำไรของบรรดากองทุนให้เกิดวอลุ่มขนาดใหญ่ หลังเศรษฐกิจที่ยุโรป และอเมริกา ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์
ทำให้ตลาดหุ้นในเอเชีย ร้อยละ 95 โตผกแผง ซึ่งนั่นไม่ได้เหนือการคาดการณ์ที่มองไว้ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งลักษณะการเทรดวอลุ่มช่วงครึ่งปีแรก มองว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเก็งกำไรที่ไหลเข้า ในตลาดกองทุนน้ำมัน ที่วันนี้เราจะเห็นราคาที่ปรับตัวจาก 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ขึ้นมาเกินกว่า 60 ดอลลาร์/บาร์เรล แล้ว และมีแนวโน้มจะเดินต่อ
ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมูนิตี้) กลายเป็นช่องทางเก็งกำไรอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว ส่วนตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ต้องพูดถึง โต 'ยกแผง’ สำหรับทองคำ ก็มีแนวโน้มจะเดินต่อ แนวต้าน 'จับตา' อาจจะได้เห็น 1000 ออนซ์ แต่ติดตรงที่น้ำมันช่วงนี้ ทะยานขึ้น ราคาทองจึงสวิงไม่มาก แต่ก็รอเวลาจะใกล้เส้นชัยที่มองไว้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเคลื่อนตัวของตลาดหุ้นไทย ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ ก็จะรับข่าวสารตลอดเวลา แต่ก็อดที่จะขอรู้ข่าววงในว่า เมื่อถึงเวลาขาลงจริงๆ จะเทขาย เพื่อรอฟันกำไร หรือหันไปลงทุนในพอร์ตตราสารหนี้ พันธบัตร และกองทุนต่างๆ ที่จะสนองผลตอบแทนสูงสุดได้อย่างไร
'อดิพงษ์' บอกว่า การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ภายใต้ความเสี่ยงต่ำยุคตลาดหุ้นผันผวน นอกจากนักลงทุนจะต้องฝึกฝนและเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งเขานิยามคนเหล่านี้เป็น ศิลปิน ที่ต้องใช้ศาสตร์ ศิลปะ เข้ามา mix & match จนเกิดเป็นความชำนาญ
ซึ่งคำตอบในใจที่ว่านั้นคือ หุ้นกลุ่ม Turnaround ถามว่า ทำไมต้องลงที่หุ้นกลุ่มนี้ 'อดิพงษ์' อธิบายว่า หุ้นกลุ่มนี้ เป็นของถูกที่ใครหลายคนมองข้าม หรือไม่สนใจ แต่อยากให้ดูว่า บางที ของถูก แต่ให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นเก็งกำไรที่ใครหลายคนนิยมเล่นในหุ้นเก็งกำไร ภายใต้สถานการณ์ที่ประเมินยากมาก เรียกว่า ลงทุนคุ้มค่ากว่าจะเล่นเสี่ยง
"มันไม่เป็นเพียง หุ้น Defensive Stock ที่ราคาถูก แต่ธรรมชาติของหุ้นพวกนี้ มักจะตอบแทนเจ้าของด้วยผลงานที่ดีซ่อนตัวอยู่ เรียกว่า บางคนมองข้ามไป เพราะจังหวะชีวิตของหุ้น พวกนี้ มักจะจะมีข่าวร้าย ก่อนจะออกมาดีในท้ายที่สุด" อดิพงษ์ กล่าว
ง่ายๆ คือ ลักษณะการโงหัวขึ้นหุ้มกลุ่มนี้ จะพอดีกับช่วงเวลาของตัวหุ้น (LiveCycle) ที่รอกลับมาดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก ควรเลือกหุ้นที่ทนทานต่อแรงเสียดทาน ของเศรษฐกิจขาลงได้ดี ไม่ว่าตลาดหุ้นจะสวิง หรือทรง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ เรียกว่า เกินคุ้ม!!!
บทบาทหุ้นพวกนี้ เรียกว่า พร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าตลาดหุ้นจะสวิง ขึ้น หรือลง เพราะวงจรชีวิตผ่านข่าวร้ายมาแล้ว มีแต่จะมีข่าวดี และถ้าหุ้นตัวไหนดีมากๆ นักลงทุนมองแล้ว ขานรับ ตัววิ่งคำสั่งซื้อจะมาจริงๆ เรียกว่า ถึงเวลาโกย ก็โกยจริงๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดสุด และ 'อดิพงษ์' แนะนำให้จับตาคือ CPF จัดอยู่ในกลุ่มอาหาร ที่แสดงกำไรสุทธิไตรมาสที่ 1 ปีนี้ เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2551 เป็นจำนวน 319 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 71
ทั้งหมดเกิดจากวิชันองค์กร และมีปัจจัยหลักมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจสัตว์น้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในภาพรวม
ส่วนอีกตัวกลุ่มพลังงาน ที่น่าจับตาคือ บางจาก กระทั่งหุ้น การบินไทย (THAI) ที่ไตรมาสแรก โชว์กำไรสุทธิ (Net Profit) สูงถึง 255 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มดีในอนาคต แม้ต้องเข้า แผนฟื้นฟู แต่ก็ประเมินว่า หุ้นตัวนี้ น่าเก็บไว้
หุ้นแบงก์บางตัว เช่น ทหารไทย ที่ 2 ปีก่อนขาดทุน แต่วันนี้ ที่เพิ่มทุนเข้าไป เชื่อว่า น่าจะดีเช่นกัน รวมถึงหุ้นสื่อสารบางตัว เช่น จัสมิน หรือ ทีทีแอนด์ที ก็มีแนวโน้มน่าจับตา เรียกว่า ซื้อถูก แต่ตอบแทนคุ้มค่า
เมื่อมองถึงอนาคต หุ้นกลุ่มนี้ ยังมี 'Story' ให้จับตาต่อ ทั้งผลการดำเนินงานที่เชื่อว่า อย่างน้อยไม่มีขาดทุน เพราะผ่านจุดต่ำสุดของชีวิตมาแล้ว เพียงแต่จะตอบแทนน้อยหรือมาก ก็เท่านั้น
คุณสมบัติที่ว่า "ทนทาน ไม่ว่าวัฏจักรตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง เพียงแต่ใครจะมองเห็นก็เท่านั้น" อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา : http://www.microsoft.com/business/smb/t ... quity.mspx
จากนิตยสาร Business.Com เดือนมิถุนายน 2552
กลายเป็นหนังคนละม้วน สำหรับตลาดหุ้นทั่วโลก ที่วิ่งฉิวเกิน 40 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ที่ออกสตาร์ตจาก 380 จุดปลายปี 2551 ขึ้นมาสร้างจุดสูงที่ 579 จุด ปรับตัวสูงขึ้น 199 เปอร์เซ็นต์ เพียงช่วงเวลา 6 เดือน
ความร้อนแรงที่เกิดขึ้น หลายคนประเมินว่า ผ่านยุคตกสุดแล้ว แต่มุมมองส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ ทั้งไทยและต่างประเทศ เชื่อลึกๆ ว่า เป็นเพียงภาพลวงตา เพราะ 'เนื้อแท้' ของเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ ยังไม่ถูก 'กระเทาะ' ให้เห็นอัตราเติบโตอย่างแท้จริง ยกเว้น 'จีน'
ท่ามกลางการฟันธงของนักวิเคราะห์หลายแห่งว่า ตลาดหุ้นไทย อาจถึงเวลา "ขาลง" ไม่เกินไตรมาส 3 ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ (รายย่อย ซื้อสูงสุดระหว่างเดือนพฤษภาคม มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 64 เปอร์เซ็นต์) ต่างเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ตกเป็น 'เบี้ยล่าง' กองทุนต่างชาติ ที่อาจเทกระหน่ำขาย หลังสถิติชี้ชัดว่า การขึ้นลักษณะหุ้น W-Shape ตรงกับตลาดหุ้นไทย เมื่อถึงจุดพีค และเดินต่อไม่ได้ ก็จะเทขาย แล้วเดินหาของเล่นที่ใหม่เรื่อยๆ ไป
สำหรับหนทางแก้ในมุมมอง 'อดิพงษ์ ภัทรวิกรม' รองประธานอาวุโส บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ที่บอกว่า หุ้นขึ้นมารอบนี้เป็นปรากฏการณ์ "หุ้นรีบาวด์" ที่รับอานิสงค์จากเงินยุโรปและอเมริกาที่ไหลเข้าสู่เอเชีย จากการเก็งกำไรของบรรดากองทุนให้เกิดวอลุ่มขนาดใหญ่ หลังเศรษฐกิจที่ยุโรป และอเมริกา ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์
ทำให้ตลาดหุ้นในเอเชีย ร้อยละ 95 โตผกแผง ซึ่งนั่นไม่ได้เหนือการคาดการณ์ที่มองไว้ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งลักษณะการเทรดวอลุ่มช่วงครึ่งปีแรก มองว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเก็งกำไรที่ไหลเข้า ในตลาดกองทุนน้ำมัน ที่วันนี้เราจะเห็นราคาที่ปรับตัวจาก 40 ดอลลาร์/บาร์เรล ขึ้นมาเกินกว่า 60 ดอลลาร์/บาร์เรล แล้ว และมีแนวโน้มจะเดินต่อ
ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมูนิตี้) กลายเป็นช่องทางเก็งกำไรอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว ส่วนตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ต้องพูดถึง โต 'ยกแผง’ สำหรับทองคำ ก็มีแนวโน้มจะเดินต่อ แนวต้าน 'จับตา' อาจจะได้เห็น 1000 ออนซ์ แต่ติดตรงที่น้ำมันช่วงนี้ ทะยานขึ้น ราคาทองจึงสวิงไม่มาก แต่ก็รอเวลาจะใกล้เส้นชัยที่มองไว้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเคลื่อนตัวของตลาดหุ้นไทย ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ ก็จะรับข่าวสารตลอดเวลา แต่ก็อดที่จะขอรู้ข่าววงในว่า เมื่อถึงเวลาขาลงจริงๆ จะเทขาย เพื่อรอฟันกำไร หรือหันไปลงทุนในพอร์ตตราสารหนี้ พันธบัตร และกองทุนต่างๆ ที่จะสนองผลตอบแทนสูงสุดได้อย่างไร
'อดิพงษ์' บอกว่า การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ภายใต้ความเสี่ยงต่ำยุคตลาดหุ้นผันผวน นอกจากนักลงทุนจะต้องฝึกฝนและเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งเขานิยามคนเหล่านี้เป็น ศิลปิน ที่ต้องใช้ศาสตร์ ศิลปะ เข้ามา mix & match จนเกิดเป็นความชำนาญ
ซึ่งคำตอบในใจที่ว่านั้นคือ หุ้นกลุ่ม Turnaround ถามว่า ทำไมต้องลงที่หุ้นกลุ่มนี้ 'อดิพงษ์' อธิบายว่า หุ้นกลุ่มนี้ เป็นของถูกที่ใครหลายคนมองข้าม หรือไม่สนใจ แต่อยากให้ดูว่า บางที ของถูก แต่ให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นเก็งกำไรที่ใครหลายคนนิยมเล่นในหุ้นเก็งกำไร ภายใต้สถานการณ์ที่ประเมินยากมาก เรียกว่า ลงทุนคุ้มค่ากว่าจะเล่นเสี่ยง
"มันไม่เป็นเพียง หุ้น Defensive Stock ที่ราคาถูก แต่ธรรมชาติของหุ้นพวกนี้ มักจะตอบแทนเจ้าของด้วยผลงานที่ดีซ่อนตัวอยู่ เรียกว่า บางคนมองข้ามไป เพราะจังหวะชีวิตของหุ้น พวกนี้ มักจะจะมีข่าวร้าย ก่อนจะออกมาดีในท้ายที่สุด" อดิพงษ์ กล่าว
ง่ายๆ คือ ลักษณะการโงหัวขึ้นหุ้มกลุ่มนี้ จะพอดีกับช่วงเวลาของตัวหุ้น (LiveCycle) ที่รอกลับมาดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก ควรเลือกหุ้นที่ทนทานต่อแรงเสียดทาน ของเศรษฐกิจขาลงได้ดี ไม่ว่าตลาดหุ้นจะสวิง หรือทรง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ เรียกว่า เกินคุ้ม!!!
บทบาทหุ้นพวกนี้ เรียกว่า พร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าตลาดหุ้นจะสวิง ขึ้น หรือลง เพราะวงจรชีวิตผ่านข่าวร้ายมาแล้ว มีแต่จะมีข่าวดี และถ้าหุ้นตัวไหนดีมากๆ นักลงทุนมองแล้ว ขานรับ ตัววิ่งคำสั่งซื้อจะมาจริงๆ เรียกว่า ถึงเวลาโกย ก็โกยจริงๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดสุด และ 'อดิพงษ์' แนะนำให้จับตาคือ CPF จัดอยู่ในกลุ่มอาหาร ที่แสดงกำไรสุทธิไตรมาสที่ 1 ปีนี้ เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2551 เป็นจำนวน 319 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 71
ทั้งหมดเกิดจากวิชันองค์กร และมีปัจจัยหลักมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจสัตว์น้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนในภาพรวม
ส่วนอีกตัวกลุ่มพลังงาน ที่น่าจับตาคือ บางจาก กระทั่งหุ้น การบินไทย (THAI) ที่ไตรมาสแรก โชว์กำไรสุทธิ (Net Profit) สูงถึง 255 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มดีในอนาคต แม้ต้องเข้า แผนฟื้นฟู แต่ก็ประเมินว่า หุ้นตัวนี้ น่าเก็บไว้
หุ้นแบงก์บางตัว เช่น ทหารไทย ที่ 2 ปีก่อนขาดทุน แต่วันนี้ ที่เพิ่มทุนเข้าไป เชื่อว่า น่าจะดีเช่นกัน รวมถึงหุ้นสื่อสารบางตัว เช่น จัสมิน หรือ ทีทีแอนด์ที ก็มีแนวโน้มน่าจับตา เรียกว่า ซื้อถูก แต่ตอบแทนคุ้มค่า
เมื่อมองถึงอนาคต หุ้นกลุ่มนี้ ยังมี 'Story' ให้จับตาต่อ ทั้งผลการดำเนินงานที่เชื่อว่า อย่างน้อยไม่มีขาดทุน เพราะผ่านจุดต่ำสุดของชีวิตมาแล้ว เพียงแต่จะตอบแทนน้อยหรือมาก ก็เท่านั้น
คุณสมบัติที่ว่า "ทนทาน ไม่ว่าวัฏจักรตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง เพียงแต่ใครจะมองเห็นก็เท่านั้น" อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา : http://www.microsoft.com/business/smb/t ... quity.mspx
แนบไฟล์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 134
หุ้น Turnarounds
บทความโดยพี่ สุมาอี้
ปีเตอร์ลินซ์ บอกว่า มีหุ้นแค่สองประเภทเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจแก่นักลงทุนได้ คือ หุ้นเติบโต (Growth Stocks) และหุ้นพลิกฟื้น (Turnarounds)
ในบล็อคนี้ผมพูดถึงแต่หุ้นเติบโตอยู่ตลอดเวลาและแทบจะไม่เคยพูดถึงหุ้นแบบอื่นเลย รวมทั้งหุ้น Turnarounds ด้วย หุ้น Turnarounds เป็นหุ้นที่ผมไม่ถนัด ผมจึงไม่ค่อยให้ความสนใจพวกมันเท่าไรแม้ว่านักลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่น่าประทับใจจากพวกมันได้ไม่แพ้หุ้นเติบโตเลยก็ตาม ในตลาดหุ้น เราควรอยู่ให้ห่างไกลจากสิ่งที่เราไม่มีความถนัด (อย่าโลภ) นานๆ ผมจึงจะซื้อหุ้น Turnarounds สักครั้ง และไม่เคยถือพวกมันเกิน 10% ของพอร์ต
อย่างไรก็ตาม หุ้น Turnaround เป็นหุ้นที่มีนักลงทุนถามผมบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมก็ไม่รู้จะแนะนำอย่างไร เพราะผมไม่ค่อยได้ตามหุ้นพวกนี้ ผมว่าบ้านเรามีนักลงทุนที่นิยมเล่นหุ้น Turnaround มากกว่าหุ้นเติบโตมาก ซึ่งเป็นไปตามแนวความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปในตลาดว่า "บริษัทของไทยโตได้น้อย ถ้าไม่เล่นหุ้น Turnaround โอกาสจะได้กำไรมากๆ คงไม่มี" จากการสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนที่หลงไหลหุ้น Turnaround ผมมีข้อสังเกตบางอย่างที่อยากเอามาแชร์ให้ฟังดังนี้
- สาเหตุที่ "บาง" คนหลงใหลหุ้น Turnarounds มากนั้นอาจเกิดจากพวกเขาให้ความสำคัญกับ "ขนาด" ของ Upside มากเกินไปและให้ความสำคัญกับ "โอกาส" ที่ Upside นั้นจะเกิดขึ้นน้อยเกินไปก็ได้ หุ้น Turnarounds อาจให้ผลตอบแทนได้สูงถึง 100-200% แต่โอกาสเช่นนั้นไม่ได้สูงมากนัก ในขณะที่ Downside ซึ่งต่ำกว่า Upside นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่า เหมือนอย่างที่ วอเรน บัฟเฟต เคยพูดว่า "Turnarounds seldom turn." ที่จริงแล้ว ถ้าคำนึงทั้งขนาดและโอกาส (expected value) หุ้น Turnarounds กับ หุ้นเติบโต นั้นอาจมีความน่าสนใจที่ไม่ต่างกันมากนัก เพราะแม้หุ้นเติบโตส่วนใหญ่จะมี Upside ไม่สูงนักในระยะสั้นๆ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีมากกว่า
- เรามักเกิดความสนใจหุ้น Turnaround ขึ้นมาหลังจากเพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ราคาหุ้นของมันร่วงลงอย่างหนักใหม่ๆ และเข้าไปซื้อหุ้นเหล่านั้นด้วยตรรกที่ว่า ลงมาแรงๆ เดี๋ยวจะต้องเด้งแรงๆ หรือลงมาแล้ว 50% แปลว่าถูก แต่ความจริงแล้ว ไม่เคยมีกฏเกณฑ์พรรณนั้นอยู่ในตลาดหุ้นมาก่อน หุ้นที่ลงแรงๆ อาจนิ่งไปเลยหรือ sideway down ไปอีกหลายๆ ปีเลยก็เป็นไปได้บ่อย และเปอร์เซ็นต์ที่ร่วงลงมาจากจุดต่ำสุดมากๆ ก็ไม่สามารถบ่งบอกว่าหุ้นถูกหรือแพงได้เช่นเดียวกัน อย่างหุ้นสถานีโทรทัศน์ที่ร่วงลงมาจาก 30 บาทเหลือแค่ 6 บาทนั้น ยังสามารถลงต่อไปเหลือไม่ถึงบาทได้ หุ้นถังแก๊ส (มาจาก 17 บาท) หรือหุ้นอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร (มาจาก 12 บาท) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นเดียวกัน
ที่จริงแล้ว ถ้าเราอยาก bet กับหุ้น Turnaround ควรทำเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นเข้ามากระทบมากกว่า การซื้อหุ้นที่ตกแรงๆ เพื่อหวังให้มันเด้งแรงๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไรรองรับ ไม่ต่างกับการหวังล้มๆ แล้งๆ การเก็งเมื่อมีสัญญาณฟื้นตัวแล้วแม้ว่าอาจจะต้องซื้อสูงกว่าจุดต่ำสุดไปบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นแล้วว่า ก้นเหวอยู่ตรงไหนและยังมีโอกาสที่หุ้นจะวิ่งขึ้นได้มากกว่าหุ้นที่ยังคงทำ new low อยู่อย่างต่อเนื่อง
- หุ้นที่มีข่าวร้ายมากๆ บางตัวอาจจะยังไม่ถูกอย่างที่คิดก็ได้ เนื่องจากแนว Turnarounds เป็นแนวที่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่น ตลาดหุ้นไทยจึงมีนักลงทุนที่ยินดีเข้าไปรับของที่ถูกเทออกมามากกว่าปกติ ราคาหุ้นจึงไม่ลงไปมากกว่าจุด oversold ได้ง่ายๆ ถ้าต้องการตัดสินใจซื้อขายหุ้น Turnaround โดยอาศัยจิตวิทยา ไม่ควรซื้อหุ้นที่แค่มีข่าวร้ายธรรมดา หรือราคาหุ้นร่วงชั่วครั้งชั่วคราว เพราะจะยังไม่ปลอดภัยมากพอ ควรซื้อเมื่อมันเลวร้ายแล้วเลวร้ายอีกจนเหนือความคาดหมายของทุกคนจริงๆ ดังเช่นคติของ Sir John Templeton ยอดนักซื้อของถูกระดับตำนานที่บอกว่า The only time to buy is the time of "maximum" pessimism.
-หุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จแล้ว ควรขายออกไปเสีย ไม่ควรถือต่อไปในระยะยาว เพราะการที่มันเคยเกิดปัญหาถึงขั้นวิกฤตได้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะ พวกมันไม่ใช่หุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเท่าไรนัก (อันนี้ไม่เสมอไป แต่ส่วนใหญ่) นักลงทุนมักมีความรู้สึกที่ดีกับหุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จมากเพราะมันทำกำไรให้อย่างมากเลยเกิดความคิดไปว่ามันเป็นกิจการที่ยอดเยี่ยมและอยากถือมันตลอดไป ซึ่งจะนำไปสู่ความผิดหวังในอนาคต
ที่มา บทความโดยพี่ สุมาอี้
Source : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 5&gblog=22
บทความโดยพี่ สุมาอี้
ปีเตอร์ลินซ์ บอกว่า มีหุ้นแค่สองประเภทเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจแก่นักลงทุนได้ คือ หุ้นเติบโต (Growth Stocks) และหุ้นพลิกฟื้น (Turnarounds)
ในบล็อคนี้ผมพูดถึงแต่หุ้นเติบโตอยู่ตลอดเวลาและแทบจะไม่เคยพูดถึงหุ้นแบบอื่นเลย รวมทั้งหุ้น Turnarounds ด้วย หุ้น Turnarounds เป็นหุ้นที่ผมไม่ถนัด ผมจึงไม่ค่อยให้ความสนใจพวกมันเท่าไรแม้ว่านักลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่น่าประทับใจจากพวกมันได้ไม่แพ้หุ้นเติบโตเลยก็ตาม ในตลาดหุ้น เราควรอยู่ให้ห่างไกลจากสิ่งที่เราไม่มีความถนัด (อย่าโลภ) นานๆ ผมจึงจะซื้อหุ้น Turnarounds สักครั้ง และไม่เคยถือพวกมันเกิน 10% ของพอร์ต
อย่างไรก็ตาม หุ้น Turnaround เป็นหุ้นที่มีนักลงทุนถามผมบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมก็ไม่รู้จะแนะนำอย่างไร เพราะผมไม่ค่อยได้ตามหุ้นพวกนี้ ผมว่าบ้านเรามีนักลงทุนที่นิยมเล่นหุ้น Turnaround มากกว่าหุ้นเติบโตมาก ซึ่งเป็นไปตามแนวความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปในตลาดว่า "บริษัทของไทยโตได้น้อย ถ้าไม่เล่นหุ้น Turnaround โอกาสจะได้กำไรมากๆ คงไม่มี" จากการสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนที่หลงไหลหุ้น Turnaround ผมมีข้อสังเกตบางอย่างที่อยากเอามาแชร์ให้ฟังดังนี้
- สาเหตุที่ "บาง" คนหลงใหลหุ้น Turnarounds มากนั้นอาจเกิดจากพวกเขาให้ความสำคัญกับ "ขนาด" ของ Upside มากเกินไปและให้ความสำคัญกับ "โอกาส" ที่ Upside นั้นจะเกิดขึ้นน้อยเกินไปก็ได้ หุ้น Turnarounds อาจให้ผลตอบแทนได้สูงถึง 100-200% แต่โอกาสเช่นนั้นไม่ได้สูงมากนัก ในขณะที่ Downside ซึ่งต่ำกว่า Upside นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่า เหมือนอย่างที่ วอเรน บัฟเฟต เคยพูดว่า "Turnarounds seldom turn." ที่จริงแล้ว ถ้าคำนึงทั้งขนาดและโอกาส (expected value) หุ้น Turnarounds กับ หุ้นเติบโต นั้นอาจมีความน่าสนใจที่ไม่ต่างกันมากนัก เพราะแม้หุ้นเติบโตส่วนใหญ่จะมี Upside ไม่สูงนักในระยะสั้นๆ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีมากกว่า
- เรามักเกิดความสนใจหุ้น Turnaround ขึ้นมาหลังจากเพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ราคาหุ้นของมันร่วงลงอย่างหนักใหม่ๆ และเข้าไปซื้อหุ้นเหล่านั้นด้วยตรรกที่ว่า ลงมาแรงๆ เดี๋ยวจะต้องเด้งแรงๆ หรือลงมาแล้ว 50% แปลว่าถูก แต่ความจริงแล้ว ไม่เคยมีกฏเกณฑ์พรรณนั้นอยู่ในตลาดหุ้นมาก่อน หุ้นที่ลงแรงๆ อาจนิ่งไปเลยหรือ sideway down ไปอีกหลายๆ ปีเลยก็เป็นไปได้บ่อย และเปอร์เซ็นต์ที่ร่วงลงมาจากจุดต่ำสุดมากๆ ก็ไม่สามารถบ่งบอกว่าหุ้นถูกหรือแพงได้เช่นเดียวกัน อย่างหุ้นสถานีโทรทัศน์ที่ร่วงลงมาจาก 30 บาทเหลือแค่ 6 บาทนั้น ยังสามารถลงต่อไปเหลือไม่ถึงบาทได้ หุ้นถังแก๊ส (มาจาก 17 บาท) หรือหุ้นอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร (มาจาก 12 บาท) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นเดียวกัน
ที่จริงแล้ว ถ้าเราอยาก bet กับหุ้น Turnaround ควรทำเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นเข้ามากระทบมากกว่า การซื้อหุ้นที่ตกแรงๆ เพื่อหวังให้มันเด้งแรงๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไรรองรับ ไม่ต่างกับการหวังล้มๆ แล้งๆ การเก็งเมื่อมีสัญญาณฟื้นตัวแล้วแม้ว่าอาจจะต้องซื้อสูงกว่าจุดต่ำสุดไปบ้าง แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นแล้วว่า ก้นเหวอยู่ตรงไหนและยังมีโอกาสที่หุ้นจะวิ่งขึ้นได้มากกว่าหุ้นที่ยังคงทำ new low อยู่อย่างต่อเนื่อง
- หุ้นที่มีข่าวร้ายมากๆ บางตัวอาจจะยังไม่ถูกอย่างที่คิดก็ได้ เนื่องจากแนว Turnarounds เป็นแนวที่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่น ตลาดหุ้นไทยจึงมีนักลงทุนที่ยินดีเข้าไปรับของที่ถูกเทออกมามากกว่าปกติ ราคาหุ้นจึงไม่ลงไปมากกว่าจุด oversold ได้ง่ายๆ ถ้าต้องการตัดสินใจซื้อขายหุ้น Turnaround โดยอาศัยจิตวิทยา ไม่ควรซื้อหุ้นที่แค่มีข่าวร้ายธรรมดา หรือราคาหุ้นร่วงชั่วครั้งชั่วคราว เพราะจะยังไม่ปลอดภัยมากพอ ควรซื้อเมื่อมันเลวร้ายแล้วเลวร้ายอีกจนเหนือความคาดหมายของทุกคนจริงๆ ดังเช่นคติของ Sir John Templeton ยอดนักซื้อของถูกระดับตำนานที่บอกว่า The only time to buy is the time of "maximum" pessimism.
-หุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จแล้ว ควรขายออกไปเสีย ไม่ควรถือต่อไปในระยะยาว เพราะการที่มันเคยเกิดปัญหาถึงขั้นวิกฤตได้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะ พวกมันไม่ใช่หุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเท่าไรนัก (อันนี้ไม่เสมอไป แต่ส่วนใหญ่) นักลงทุนมักมีความรู้สึกที่ดีกับหุ้น Turnaround ที่กลับตัวได้สำเร็จมากเพราะมันทำกำไรให้อย่างมากเลยเกิดความคิดไปว่ามันเป็นกิจการที่ยอดเยี่ยมและอยากถือมันตลอดไป ซึ่งจะนำไปสู่ความผิดหวังในอนาคต
ที่มา บทความโดยพี่ สุมาอี้
Source : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 5&gblog=22
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 135
ลงทุนก่อนใครกับหุ้น Turnaround
บทความโดย คุณเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ , Friday, 5 October 2007
คำถาม “พื้นๆ” ที่ขาดไม่ได้ของนักลงทุนมือใหม่เมื่อพบ Guru หุ้นคงจะหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “หุ้นตัวไหนดีที่เหมาะจะลงทุน” ซึ่ง Guru หุ้นแต่ละท่านก็คงจะมีคำตอบที่หลากหลายกันไปตามแต่กลยุทธ์การลงทุนของแต่ละคน วันนี้จึงอยากนำวิธีการลงทุนที่น่าสนใจอีกหนึ่งวิธีมาให้ทุกท่านได้พินิจพิเคราะห์กัน...นั่นก็คือการลงทุนในหุ้น Turnaround
หุ้นก็เหมือนสรรพสิ่งอื่นๆในโลกนี้ที่ไม่จีรังยั่งยืนมีขึ้นมีลงตามแต่ละช่วงเวลา โดยปัจจัยหลักๆที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นก็คือ สภาวะตลาดหุ้นโดยรวม สภาวะอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้น ผลประกอบการของบริษัทนั้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่มี Cycle ในตัวของมันเอง เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น Turnaround ซึ่งคือการลงทุนแต่เนิ่นๆในหุ้นที่คาดว่าจะกลับมาทำกำไรได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จากการหาจุดวกกลับของราคา หุ้นตัวนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากขาลงไปเป็นขาขึ้น ซึ่งต้องคำนึงว่า Cycle ของอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้นต้องมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับความสามารถในการเติบโตของบริษัทนั้นๆ ที่จะส่งผลผลักดันให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
ส่วนใหญ่นักลงทุนในลักษณะนี้จะเล็งเห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่ซ่อนอยู่ โดยส่วนใหญ่หุ้น Turnaround จะเป็นหุ้นที่มีราคาหุ้นที่ต่ำกว่าราคาหุ้นที่แท้จริง Intrinsic value) มากๆ ประกอบกับเป็นหุ้นลักษณะที่บริษัทมีหนี้สินหรือภาระผูกพันสูง ซึ่งทำให้หุ้นกลุ่มนี้ไม่เป็นที่น่าสนใจของคนหมู่มาก แต่พอบริษัทได้มีการลดหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ได้ ก็จะกลายเป็นหุ้นที่น่าสนใจไปเลยทีเดียว
นักลงทุนบางคนก็อาจจะลงทุนในหุ้น Turnaround ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้ตกต่ำมาหลายปีแล้ว และมองว่าสภาวะดังกล่าวน่าที่จะมีโอกาสฟื้นตัวสูง โดยมักจะเลือกหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่มีผลประกอบการขาดทุน ค่า P/BV ต่ำ มีเงินสดมาก และมีทรัพย์สินมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลสอดคล้องกับการสนับสนุนของอุตสาหกรรมที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
อย่างไรก็ตามใช่ว่านักลงทุนทุกคนจะเห็นด้วยกับการลงทุนในลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น Warren Buffet ซึ่งเป็น Guru หุ้นระดับโลกได้เคยพูดไว้ว่า “Turnaround mostly never true.” ซึ่งอันนี้คงจะต้องขอทิ้งท้ายไว้ให้เป็นการตัดสินใจตามวิจารณญาณของนักลงทุนหุ้นแต่ละบุคคล...
Posted by kriengchai at 7:41 PM in Uncategorized
Source : http://api.settrade.com/blog/kriengchai/2007/10/05/165
บทความโดย คุณเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ , Friday, 5 October 2007
คำถาม “พื้นๆ” ที่ขาดไม่ได้ของนักลงทุนมือใหม่เมื่อพบ Guru หุ้นคงจะหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “หุ้นตัวไหนดีที่เหมาะจะลงทุน” ซึ่ง Guru หุ้นแต่ละท่านก็คงจะมีคำตอบที่หลากหลายกันไปตามแต่กลยุทธ์การลงทุนของแต่ละคน วันนี้จึงอยากนำวิธีการลงทุนที่น่าสนใจอีกหนึ่งวิธีมาให้ทุกท่านได้พินิจพิเคราะห์กัน...นั่นก็คือการลงทุนในหุ้น Turnaround
หุ้นก็เหมือนสรรพสิ่งอื่นๆในโลกนี้ที่ไม่จีรังยั่งยืนมีขึ้นมีลงตามแต่ละช่วงเวลา โดยปัจจัยหลักๆที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นก็คือ สภาวะตลาดหุ้นโดยรวม สภาวะอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้น ผลประกอบการของบริษัทนั้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่มี Cycle ในตัวของมันเอง เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น Turnaround ซึ่งคือการลงทุนแต่เนิ่นๆในหุ้นที่คาดว่าจะกลับมาทำกำไรได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด จากการหาจุดวกกลับของราคา หุ้นตัวนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากขาลงไปเป็นขาขึ้น ซึ่งต้องคำนึงว่า Cycle ของอุตสาหกรรมของหุ้นตัวนั้นต้องมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับความสามารถในการเติบโตของบริษัทนั้นๆ ที่จะส่งผลผลักดันให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
ส่วนใหญ่นักลงทุนในลักษณะนี้จะเล็งเห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่ซ่อนอยู่ โดยส่วนใหญ่หุ้น Turnaround จะเป็นหุ้นที่มีราคาหุ้นที่ต่ำกว่าราคาหุ้นที่แท้จริง Intrinsic value) มากๆ ประกอบกับเป็นหุ้นลักษณะที่บริษัทมีหนี้สินหรือภาระผูกพันสูง ซึ่งทำให้หุ้นกลุ่มนี้ไม่เป็นที่น่าสนใจของคนหมู่มาก แต่พอบริษัทได้มีการลดหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ได้ ก็จะกลายเป็นหุ้นที่น่าสนใจไปเลยทีเดียว
นักลงทุนบางคนก็อาจจะลงทุนในหุ้น Turnaround ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้ตกต่ำมาหลายปีแล้ว และมองว่าสภาวะดังกล่าวน่าที่จะมีโอกาสฟื้นตัวสูง โดยมักจะเลือกหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่มีผลประกอบการขาดทุน ค่า P/BV ต่ำ มีเงินสดมาก และมีทรัพย์สินมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นจะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลสอดคล้องกับการสนับสนุนของอุตสาหกรรมที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
อย่างไรก็ตามใช่ว่านักลงทุนทุกคนจะเห็นด้วยกับการลงทุนในลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น Warren Buffet ซึ่งเป็น Guru หุ้นระดับโลกได้เคยพูดไว้ว่า “Turnaround mostly never true.” ซึ่งอันนี้คงจะต้องขอทิ้งท้ายไว้ให้เป็นการตัดสินใจตามวิจารณญาณของนักลงทุนหุ้นแต่ละบุคคล...
Posted by kriengchai at 7:41 PM in Uncategorized
Source : http://api.settrade.com/blog/kriengchai/2007/10/05/165
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 136
'เผดิมภพ สงเคราะห์' โหรหุ้นสอน 'เล่นหุ้น'
ทุกเช้าเรามักจะได้ยินเสียงนุ่มๆ ของผู้ชายตัวโตที่ชื่อ "เผดิมภพ สงเคราะห์" คาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้น แนะนำหุ้นเด็ด และตอบคำถามนักลงทุน ผ่านสื่อวิทยุหลายคลื่น และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เป็นประจำ เขายังได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในงานสัมมนาเรื่องหุ้นอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นกิจวัตรปกติ
ความน่าเชื่อถือของเผดิมภพ เกิดมาจากเขา "รู้ลึก" และ "รู้จริง" ความน่าเชื่อถือตรงนี้แลกมาด้วยความ "มุมานะ" อย่างแท้จริง ปัจจุบัน เผดิมภพ สงเคราะห์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง เขาเป็นโหรหุ้นที่ฮอตที่สุดของยุคนี้ก็ว่าได้ ความรู้ที่แตกฉานของเผดิมภพ มีรากฐานมาจากการ "อ่าน" หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ และบทวิเคราะห์หุ้นของทุกโบรกเกอร์
.......ชนิดที่เรียกว่า "เสพติด" ข้อมูลเลยทีเดียว
เมื่อมีโอกาสจับเข่าคุยกับเผดิมภพ ถามเขาถึงวิธีการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ....เคล็ดลับการลงทุนของเผดิมภพคืออะไร เขาตอบสั้นๆ ว่า "การลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องใช้วิธีลงทุนแบบคิดไปข้างหน้า ไม่อยากให้คิดไปข้างหลัง"
สิ่งแรกที่โหรหุ้นชื่อดังผู้นี้แนะนำ นักลงทุนต้องดูความพร้อมของตัวเอง เรื่องแรก คือ การยอมรับ "ความเสี่ยง" และเรื่องของ "เวลา" ถ้าวันๆ นั่งอยู่บนโต๊ะทำงานไม่มีเวลาดูหุ้นก็ควรจะหาหุ้นที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป
ถ้าคุณมีเวลา และยอมรับความเสี่ยงได้ การลงทุนหุ้น "ผันผวน" ก็น่าสนใจแต่ต้องเป็น "เงินเย็น" เท่านั้น
"ประเด็นการเลือกหุ้นผมมองว่าขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนว่าชอบหุ้นเสี่ยงมาก หรือเสี่ยงน้อย จากนั้นก็ต้องมาดูกลุ่มหุ้นที่จะลงทุน เวลาเลือกหุ้นให้หาหุ้นที่เติบโตมากกว่าเศรษฐกิจ หรือแย่น้อยกว่าเศรษฐกิจ"
เผดิมภพ บอกว่า ถ้าซื้อหุ้นแบงก์ สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ 3 กลุ่มนี้ต้องซื้อตอนที่เศรษฐกิจ "กำลังจะฟื้นตัว" หุ้นพวกนี้จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นค่อนข้างมาก กลุ่มที่สองประเภทหุ้น "บลูชิพ" มักเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ ในกลุ่มนำตลาดที่มีสภาพคล่องการซื้อขายสูง
หุ้น "บลูชิพ" ต้องซื้อขายตาม "กองทุน" ถ้าเศรษฐกิจดีราคาหุ้นก็จะดีเท่าๆ กัน
"แต่ถ้าเล่นหุ้นตอนที่เศรษฐกิจขาลงต้องซื้อหุ้น "Defensive Stock" เป็นหุ้นที่ผันผวนน้อยกว่าตลาด ผลประกอบการดี และยังให้เงินปันผลในอัตราที่ดีกว่าฝากแบงก์ จะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ "ปัจจัย 4" เช่น อาหาร พลังงาน โรงพยาบาล หุ้นพวกนี้เหมาะกับช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี"
ส่วนหุ้นประเภท "Cyclical Stock" หรือ "หุ้นวงจร" ลักษณะธุรกิจจะขึ้นๆลงๆ ตามภาวะอุตสาหกรรม หรือราคาสินค้าในตลาดโลก เช่น กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มน้ำมัน หุ้นประเภทนี้ เผดิมภพ แนะนำว่า ต้องจับจังหวะลงทุนให้ดี หุ้นพวกนี้จะต้องเล่น "เป็นรอบ" ไม่เหมาะถือยาวๆ
ส่วนประเภท "หุ้นปันผล" จะเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ค่อยชอบเสี่ยง ถ้าเป็นประเภทหุ้นเก็งกำไร "ตามข่าว" นักลงทุนจะต้องเร็ว ถ้าเข้าจังหวะผิดจะต้อง "ทิ้ง" ทันที
"นักลงทุนต้องมองให้ออกว่าข้างหน้าจะมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่มากระทบตลาดหุ้น เมื่อมีหุ้นได้รับผลกระทบ ก็ต้องมีหุ้นที่ได้ประโยชน์ อย่างช่วงที่ราคาน้ำมันแพง กลุ่มขนส่ง กลุ่มวัสดุก่อสร้างได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจโรงกลั่นได้ประโยชน์ หรือช่วงที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น คนได้ประโยชน์มากที่สุดคือ "แบงก์" ส่วนต่างกำไรจะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นในเชิงกลยุทธ์กลุ่มแบงก์ และกลุ่มพลังงาน น่าสนใจที่สุด"
วิธีการเล่นหุ้นให้ได้กำไร โหรหุ้นชื่อดัง บอกว่า อย่างแรกเลยนักลงทุนต้องรู้ว่าตัวเองกำลังเล่นหุ้นแบบไหน จากนั้นค่อยไปดูเรื่องการประเมิน "มูลค่า" ของหุ้น
"อย่าไปประเมินมูลค่าหุ้นก่อน โดยไม่รู้ว่ากำลังเล่นหุ้นประเภทไหน แล้วมันเหมาะกับสไตล์ตัวเองรึเปล่า" ส่วนเรื่อง Timing หรือ "จังหวะ" ในการเข้าซื้อขาย สำคัญที่สุดต้องอ่านแนวโน้มตลาดให้ออก ถ้าตลาดหุ้นกำลังอยู่ในแนวโน้ม "ขาขึ้น" ต้องลงทุนหุ้นประเภท "Growth Stock" แต่ในสถานการณ์ที่อึมครึม ภาพตลาดไม่ชัดเจนต้องหาหุ้นที่ "เสี่ยงต่ำ" ไว้ก่อน เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน
เคล็ดลับลงทุนเมื่อยามที่ตลาดหุ้นไร้ทิศทาง เผดิมภพ ชี้แนะว่า ควรเลือกหุ้นที่เป็น Value Stock ประเภท "จ่ายปันผลสูง" ต้องไม่ใช่ธุรกิจที่ผันผวนมากเกินไป ให้มองหาหุ้นที่มีรายได้มั่นคง แล้วทยอยสะสมเข้าพอร์ตในช่วงที่หุ้นตกเยอะๆ
หุ้นอีกประเภทหนึ่งที่โหรหุ้นชื่อดังแนะนำ ก็คือหุ้นประเภท "Turnaround Stock" แต่เน้นว่าต้องเป็นประเภท "ปรับโครงสร้างหนี้จบ" ปลดล็อกเรื่องภาระอัตราดอกเบี้ยจ่าย หุ้นกลุ่มนี้จะฟื้นตัวเร็วถ้าตลาดหุ้นกลับมาบูมอีกครั้ง
เมื่อเลือกหุ้นได้แล้วประเด็นต่อมาต้องมาดูว่าหุ้นที่เราจะซื้อราคา "ถูก" หรือ "แพง"
"ผมชอบดูค่า P/E เรโชเป็นหลักอยู่แล้ว แต่จะดูลึกกว่านั้นจะดู P/EG(Growth)เป็นหลัก คือ จะดู Growth ของกำไรในอนาคต(เติบโตขึ้นกี่เปอร์เซนต์หาได้จากรายงานของนักวิเคราะห์) บางตัว P/E ต่ำมากแต่หุ้นไม่ขึ้นเพราะมันไม่มี Growth ขณะที่หุ้นบางตัวทำไมซื้อขายกันที่ P/E แพงเพราะธุรกิจมันมี Growth สูง"
เพราะฉะนั้นสูตรเด็ดของเผดิมภพเขาจะเปรียบเทียบโดยนำค่า "P/E" มาหารด้วย"G"(การเติบโตของกำไร)ถ้ายิ่งมันต่ำกว่า 1 เท่าลงมาแสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีความน่าสนใจ เพราะการเติบโตของกำไรในอนาคตสูงกว่าพี/อี แต่ถ้าสูงกว่า 1 แสดงว่าพี/อีในปัจจุบันสูงกว่าการเติบโตของกำไรในอนาคต ความน่าสนใจหุ้นตัวนั้นจะน้อย
จากสถิติที่เผดิมภพเก็บรวบรวมเอาไว้นานนับสิบปีค่า P/EG(Growth)ตามทฤษฎีของ SET เคยต่ำที่สุด 0.35 เท่า(ดัชนีจะดีดกลับ)เมื่อปี 2541 ตอนนั้นดัชนีอยู่ที่ประมาณ 200 จุด ถือว่าเป็นราคาถูกมากที่สุดในประวัติการณ์ และสูงที่สุดของ SET อยู่ที่ 0.70 เท่า(หุ้นจะไปต่อไม่ไหว)
ปัจจุบันค่าพี/อี ตลาดอยู่ที่ประมาณ 9-10 เท่า ค่าพี/อีจี อยู่ที่ประมาณ 0.45 เท่า ณ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ถือว่า "ไม่ถูก" และ"ไม่แพง"
"ถ้าคำนวณตามทฤษฎี P/EG ในกรณีตลาดหุ้นแย่ที่สุดปีนี้(2547)พี/อีจีของ SET ไม่น่าจะต่ำกว่า 0.40 เท่า ค่าพี/อีประมาณ 9 เท่า หุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 550 จุด ในกรณีที่ดีที่สุดพี/อีจี ไม่น่าจะสูงกว่า 0.50 เท่า ค่าพี/อี จะประมาณ 12.50 เท่า ดัชนีจะอยู่ที่ประมาณ 760 จุด"
นอกจากดู พี/อีแล้ว เบสิคต่อมาก็ดู P/BV(ราคาปิดต่อมูลค่าหุ้น) แต่ตัว P/BV เผดิมภพ บอกว่าไม่อยากให้ดู Book Value(มูลค่าหุ้นตามบัญชี)อย่างเดียว อยากให้ดู Adjust Book(มูลค่ากิจการที่นักวิเคราะห์ปรับค่าให้เหมาะสม) มากกว่าว่าเป็นอย่างไร เพราะตัวนี้มักจะหลอกตานักเล่นหุ้น
เรโชอีกตัวหนึ่งที่ต้องดูประกอบ คือ ค่า D/E เรโช หรือ "สัดส่วนหนี้สินต่อทุน" ตัวนี้เผดิมภพ ชี้ว่าถ้าหุ้นตัวไหนที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมาก(หนี้สูง) แสดงว่า"หน้าตักเขาน้อย" แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดตัดสินว่าหุ้นตัวนั้นไม่น่าสนใจเลยทีเดียว เพราะหุ้นที่มี D/E เรโช"สูง"ถ้าธุรกิจเขามี Growth สูง มาร์จินสูง ธุรกิจเขาดี....."ผมก็ถือว่าหุ้นตัวนั้นน่าสนใจ แต่ก็เสี่ยงตรงที่ถ้าดอกเบี้ยขึ้น หุ้นพวกนี้จะได้รับผลกระทบก่อนคนอื่น"
เผดิมภพมีวิธีคิดในการตั้งเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุน ถ้าจะซื้อ"Dividend Stock"(หุ้นปันผล) การคาดหวังเรื่องผลตอบแทนจาก "เงินปันผล" ควรจะไปผูกกับ "ดอกเบี้ยเงินฝาก"
"ถ้า Yield จากดอกเบี้ย 2% ความคาดหวังจากเงินปันผลควรจะ 4-5% ขึ้นไป เพราะถ้าแนวโน้มดอกเบี้ยขึ้นต้องหาหุ้นที่จ่ายปันผลสูง ขณะที่ในสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นไม่ค่อยดีการลงทุนเพื่อหวัง Capital Gain หวังผลตอบแทนจากการหาจังหวะเข้าทำกำไร 10% ก็เยอะแล้ว"
เขาย้ำว่าเป้าหมายการทำกำไรของแต่ละคนต่างกัน และไม่มีจุดสมดุลที่ตายตัวหรอก แต่สิ่งที่ต้องดูนั้นควรเทียบกับ"ราคาที่เหมาะสม" หรือ ราคาตามปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาใกล้กับราคาเป้าหมายก็ควรจะขายออกไปก่อน
"ผมคิดว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด หนึ่ง ต้องซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน สอง ไม่ควรซื้อหุ้นเยอะตัวเกินไป สาม ถ้าราคาหุ้นสูงกว่าราคาเป้าหมาย "ควรขาย" สี่ ถ้าหุ้นตกลงมามากกว่าพื้นฐาน พิจารณาแล้วไม่ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเปลี่ยน "ควรซื้อ" ห้า ถ้าปัจจัยพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนต้องขายทิ้ง "ทุกราคา" ไม่จำเป็นต้องดูว่าหุ้นลงมากี่เปอร์เซนต์"
สัญญาณที่บอกว่าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยน เผดิมภพยกตัวอย่าง บริษัท " ก." ไปทำสัญญารับงานจากบริษัท " ข." 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลต่อกำไรของบริษัทมาก แต่จู่ๆ มาบอกยกเลิก ผู้ถือหุ้นบริษัท "ก" ได้ข่าวนี้ ขาดทุนเท่าไรก็ต้องขายทิ้ง เพราะถือว่าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว
เผดิมภพยังให้แง่คิดถึงวิธีกระจายความเสี่ยงว่า ตามทฤษฎีเขาบอกว่าต้องลงทุนหุ้นมากๆ จะช่วยลดความเสี่ยง
"เนื่องจากผมใกล้ชิดกับนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าเลือกตัวที่เจ๋งๆ 4-5 ตัวก็พอแล้ว แต่ให้หมุนตามจังหวะตลาด ช่วงที่ตลาดหุ้นดีต้องเล่น "Growth Stock" ช่วงที่ตลาดหุ้นไม่ดีให้เล่น "Dividend Stock" คนที่เล่นหุ้นเก่งเขาจะรู้ว่าแต่ละช่วงต้องเล่นหุ้นแบบไหน"
ในโลกการลงทุนส่วนตัวของเผดิมภพ ช่วงที่ตลาดหุ้นอึมครึม เขาบอกว่าส่วนตัวไม่มีเงินลงทุนในตลาดหุ้น จะถือ Cash มากกว่า เงินที่มีอยู่จะเอาไปซื้อหุ้นปันผลก็ไม่มากพอ จะซื้อกองทุนก็ไม่ค่อยชอบ ช่วงที่ตลาดหุ้นดีก็มีเงินลงทุนอยู่บ้าง
โหรหุ้นชื่อดังมีคติที่ใช้เตือนนักลงทุนอยู่เสมอว่า "เวลาซื้อหุ้นเราอย่าหลอกตัวเอง ถ้าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เรายังหลอกตัวเองว่าหุ้นจะกลับมาอีก ผมคิดว่าเป็นวิธีการที่ผิด ในทางกลับกันเวลาหุ้นตกต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมากๆ ในใจเรายังคิดเลยว่าถูกมากๆ แต่หลอกตัวเองว่าเรากลัว ไม่กล้าซื้อ สุดท้ายก็เสียโอกาส"
.....การซื้อหุ้นอย่าใช้ "อารมณ์" หรือ "จิตวิทยา" ของตัวเองมาตัดสิน ให้ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสิน
Source : http://www.taladhoon.com/taladhoon/boar ... c=8210.450
ทุกเช้าเรามักจะได้ยินเสียงนุ่มๆ ของผู้ชายตัวโตที่ชื่อ "เผดิมภพ สงเคราะห์" คาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้น แนะนำหุ้นเด็ด และตอบคำถามนักลงทุน ผ่านสื่อวิทยุหลายคลื่น และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เป็นประจำ เขายังได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในงานสัมมนาเรื่องหุ้นอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นกิจวัตรปกติ
ความน่าเชื่อถือของเผดิมภพ เกิดมาจากเขา "รู้ลึก" และ "รู้จริง" ความน่าเชื่อถือตรงนี้แลกมาด้วยความ "มุมานะ" อย่างแท้จริง ปัจจุบัน เผดิมภพ สงเคราะห์ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง เขาเป็นโหรหุ้นที่ฮอตที่สุดของยุคนี้ก็ว่าได้ ความรู้ที่แตกฉานของเผดิมภพ มีรากฐานมาจากการ "อ่าน" หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ และบทวิเคราะห์หุ้นของทุกโบรกเกอร์
.......ชนิดที่เรียกว่า "เสพติด" ข้อมูลเลยทีเดียว
เมื่อมีโอกาสจับเข่าคุยกับเผดิมภพ ถามเขาถึงวิธีการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ....เคล็ดลับการลงทุนของเผดิมภพคืออะไร เขาตอบสั้นๆ ว่า "การลงทุนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องใช้วิธีลงทุนแบบคิดไปข้างหน้า ไม่อยากให้คิดไปข้างหลัง"
สิ่งแรกที่โหรหุ้นชื่อดังผู้นี้แนะนำ นักลงทุนต้องดูความพร้อมของตัวเอง เรื่องแรก คือ การยอมรับ "ความเสี่ยง" และเรื่องของ "เวลา" ถ้าวันๆ นั่งอยู่บนโต๊ะทำงานไม่มีเวลาดูหุ้นก็ควรจะหาหุ้นที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป
ถ้าคุณมีเวลา และยอมรับความเสี่ยงได้ การลงทุนหุ้น "ผันผวน" ก็น่าสนใจแต่ต้องเป็น "เงินเย็น" เท่านั้น
"ประเด็นการเลือกหุ้นผมมองว่าขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนว่าชอบหุ้นเสี่ยงมาก หรือเสี่ยงน้อย จากนั้นก็ต้องมาดูกลุ่มหุ้นที่จะลงทุน เวลาเลือกหุ้นให้หาหุ้นที่เติบโตมากกว่าเศรษฐกิจ หรือแย่น้อยกว่าเศรษฐกิจ"
เผดิมภพ บอกว่า ถ้าซื้อหุ้นแบงก์ สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ 3 กลุ่มนี้ต้องซื้อตอนที่เศรษฐกิจ "กำลังจะฟื้นตัว" หุ้นพวกนี้จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นค่อนข้างมาก กลุ่มที่สองประเภทหุ้น "บลูชิพ" มักเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ ในกลุ่มนำตลาดที่มีสภาพคล่องการซื้อขายสูง
หุ้น "บลูชิพ" ต้องซื้อขายตาม "กองทุน" ถ้าเศรษฐกิจดีราคาหุ้นก็จะดีเท่าๆ กัน
"แต่ถ้าเล่นหุ้นตอนที่เศรษฐกิจขาลงต้องซื้อหุ้น "Defensive Stock" เป็นหุ้นที่ผันผวนน้อยกว่าตลาด ผลประกอบการดี และยังให้เงินปันผลในอัตราที่ดีกว่าฝากแบงก์ จะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ "ปัจจัย 4" เช่น อาหาร พลังงาน โรงพยาบาล หุ้นพวกนี้เหมาะกับช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี"
ส่วนหุ้นประเภท "Cyclical Stock" หรือ "หุ้นวงจร" ลักษณะธุรกิจจะขึ้นๆลงๆ ตามภาวะอุตสาหกรรม หรือราคาสินค้าในตลาดโลก เช่น กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มน้ำมัน หุ้นประเภทนี้ เผดิมภพ แนะนำว่า ต้องจับจังหวะลงทุนให้ดี หุ้นพวกนี้จะต้องเล่น "เป็นรอบ" ไม่เหมาะถือยาวๆ
ส่วนประเภท "หุ้นปันผล" จะเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ค่อยชอบเสี่ยง ถ้าเป็นประเภทหุ้นเก็งกำไร "ตามข่าว" นักลงทุนจะต้องเร็ว ถ้าเข้าจังหวะผิดจะต้อง "ทิ้ง" ทันที
"นักลงทุนต้องมองให้ออกว่าข้างหน้าจะมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่มากระทบตลาดหุ้น เมื่อมีหุ้นได้รับผลกระทบ ก็ต้องมีหุ้นที่ได้ประโยชน์ อย่างช่วงที่ราคาน้ำมันแพง กลุ่มขนส่ง กลุ่มวัสดุก่อสร้างได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจโรงกลั่นได้ประโยชน์ หรือช่วงที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น คนได้ประโยชน์มากที่สุดคือ "แบงก์" ส่วนต่างกำไรจะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นในเชิงกลยุทธ์กลุ่มแบงก์ และกลุ่มพลังงาน น่าสนใจที่สุด"
วิธีการเล่นหุ้นให้ได้กำไร โหรหุ้นชื่อดัง บอกว่า อย่างแรกเลยนักลงทุนต้องรู้ว่าตัวเองกำลังเล่นหุ้นแบบไหน จากนั้นค่อยไปดูเรื่องการประเมิน "มูลค่า" ของหุ้น
"อย่าไปประเมินมูลค่าหุ้นก่อน โดยไม่รู้ว่ากำลังเล่นหุ้นประเภทไหน แล้วมันเหมาะกับสไตล์ตัวเองรึเปล่า" ส่วนเรื่อง Timing หรือ "จังหวะ" ในการเข้าซื้อขาย สำคัญที่สุดต้องอ่านแนวโน้มตลาดให้ออก ถ้าตลาดหุ้นกำลังอยู่ในแนวโน้ม "ขาขึ้น" ต้องลงทุนหุ้นประเภท "Growth Stock" แต่ในสถานการณ์ที่อึมครึม ภาพตลาดไม่ชัดเจนต้องหาหุ้นที่ "เสี่ยงต่ำ" ไว้ก่อน เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน
เคล็ดลับลงทุนเมื่อยามที่ตลาดหุ้นไร้ทิศทาง เผดิมภพ ชี้แนะว่า ควรเลือกหุ้นที่เป็น Value Stock ประเภท "จ่ายปันผลสูง" ต้องไม่ใช่ธุรกิจที่ผันผวนมากเกินไป ให้มองหาหุ้นที่มีรายได้มั่นคง แล้วทยอยสะสมเข้าพอร์ตในช่วงที่หุ้นตกเยอะๆ
หุ้นอีกประเภทหนึ่งที่โหรหุ้นชื่อดังแนะนำ ก็คือหุ้นประเภท "Turnaround Stock" แต่เน้นว่าต้องเป็นประเภท "ปรับโครงสร้างหนี้จบ" ปลดล็อกเรื่องภาระอัตราดอกเบี้ยจ่าย หุ้นกลุ่มนี้จะฟื้นตัวเร็วถ้าตลาดหุ้นกลับมาบูมอีกครั้ง
เมื่อเลือกหุ้นได้แล้วประเด็นต่อมาต้องมาดูว่าหุ้นที่เราจะซื้อราคา "ถูก" หรือ "แพง"
"ผมชอบดูค่า P/E เรโชเป็นหลักอยู่แล้ว แต่จะดูลึกกว่านั้นจะดู P/EG(Growth)เป็นหลัก คือ จะดู Growth ของกำไรในอนาคต(เติบโตขึ้นกี่เปอร์เซนต์หาได้จากรายงานของนักวิเคราะห์) บางตัว P/E ต่ำมากแต่หุ้นไม่ขึ้นเพราะมันไม่มี Growth ขณะที่หุ้นบางตัวทำไมซื้อขายกันที่ P/E แพงเพราะธุรกิจมันมี Growth สูง"
เพราะฉะนั้นสูตรเด็ดของเผดิมภพเขาจะเปรียบเทียบโดยนำค่า "P/E" มาหารด้วย"G"(การเติบโตของกำไร)ถ้ายิ่งมันต่ำกว่า 1 เท่าลงมาแสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีความน่าสนใจ เพราะการเติบโตของกำไรในอนาคตสูงกว่าพี/อี แต่ถ้าสูงกว่า 1 แสดงว่าพี/อีในปัจจุบันสูงกว่าการเติบโตของกำไรในอนาคต ความน่าสนใจหุ้นตัวนั้นจะน้อย
จากสถิติที่เผดิมภพเก็บรวบรวมเอาไว้นานนับสิบปีค่า P/EG(Growth)ตามทฤษฎีของ SET เคยต่ำที่สุด 0.35 เท่า(ดัชนีจะดีดกลับ)เมื่อปี 2541 ตอนนั้นดัชนีอยู่ที่ประมาณ 200 จุด ถือว่าเป็นราคาถูกมากที่สุดในประวัติการณ์ และสูงที่สุดของ SET อยู่ที่ 0.70 เท่า(หุ้นจะไปต่อไม่ไหว)
ปัจจุบันค่าพี/อี ตลาดอยู่ที่ประมาณ 9-10 เท่า ค่าพี/อีจี อยู่ที่ประมาณ 0.45 เท่า ณ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ถือว่า "ไม่ถูก" และ"ไม่แพง"
"ถ้าคำนวณตามทฤษฎี P/EG ในกรณีตลาดหุ้นแย่ที่สุดปีนี้(2547)พี/อีจีของ SET ไม่น่าจะต่ำกว่า 0.40 เท่า ค่าพี/อีประมาณ 9 เท่า หุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 550 จุด ในกรณีที่ดีที่สุดพี/อีจี ไม่น่าจะสูงกว่า 0.50 เท่า ค่าพี/อี จะประมาณ 12.50 เท่า ดัชนีจะอยู่ที่ประมาณ 760 จุด"
นอกจากดู พี/อีแล้ว เบสิคต่อมาก็ดู P/BV(ราคาปิดต่อมูลค่าหุ้น) แต่ตัว P/BV เผดิมภพ บอกว่าไม่อยากให้ดู Book Value(มูลค่าหุ้นตามบัญชี)อย่างเดียว อยากให้ดู Adjust Book(มูลค่ากิจการที่นักวิเคราะห์ปรับค่าให้เหมาะสม) มากกว่าว่าเป็นอย่างไร เพราะตัวนี้มักจะหลอกตานักเล่นหุ้น
เรโชอีกตัวหนึ่งที่ต้องดูประกอบ คือ ค่า D/E เรโช หรือ "สัดส่วนหนี้สินต่อทุน" ตัวนี้เผดิมภพ ชี้ว่าถ้าหุ้นตัวไหนที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมาก(หนี้สูง) แสดงว่า"หน้าตักเขาน้อย" แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดตัดสินว่าหุ้นตัวนั้นไม่น่าสนใจเลยทีเดียว เพราะหุ้นที่มี D/E เรโช"สูง"ถ้าธุรกิจเขามี Growth สูง มาร์จินสูง ธุรกิจเขาดี....."ผมก็ถือว่าหุ้นตัวนั้นน่าสนใจ แต่ก็เสี่ยงตรงที่ถ้าดอกเบี้ยขึ้น หุ้นพวกนี้จะได้รับผลกระทบก่อนคนอื่น"
เผดิมภพมีวิธีคิดในการตั้งเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุน ถ้าจะซื้อ"Dividend Stock"(หุ้นปันผล) การคาดหวังเรื่องผลตอบแทนจาก "เงินปันผล" ควรจะไปผูกกับ "ดอกเบี้ยเงินฝาก"
"ถ้า Yield จากดอกเบี้ย 2% ความคาดหวังจากเงินปันผลควรจะ 4-5% ขึ้นไป เพราะถ้าแนวโน้มดอกเบี้ยขึ้นต้องหาหุ้นที่จ่ายปันผลสูง ขณะที่ในสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นไม่ค่อยดีการลงทุนเพื่อหวัง Capital Gain หวังผลตอบแทนจากการหาจังหวะเข้าทำกำไร 10% ก็เยอะแล้ว"
เขาย้ำว่าเป้าหมายการทำกำไรของแต่ละคนต่างกัน และไม่มีจุดสมดุลที่ตายตัวหรอก แต่สิ่งที่ต้องดูนั้นควรเทียบกับ"ราคาที่เหมาะสม" หรือ ราคาตามปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ถ้าราคาหุ้นขึ้นมาใกล้กับราคาเป้าหมายก็ควรจะขายออกไปก่อน
"ผมคิดว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด หนึ่ง ต้องซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน สอง ไม่ควรซื้อหุ้นเยอะตัวเกินไป สาม ถ้าราคาหุ้นสูงกว่าราคาเป้าหมาย "ควรขาย" สี่ ถ้าหุ้นตกลงมามากกว่าพื้นฐาน พิจารณาแล้วไม่ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเปลี่ยน "ควรซื้อ" ห้า ถ้าปัจจัยพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนต้องขายทิ้ง "ทุกราคา" ไม่จำเป็นต้องดูว่าหุ้นลงมากี่เปอร์เซนต์"
สัญญาณที่บอกว่าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยน เผดิมภพยกตัวอย่าง บริษัท " ก." ไปทำสัญญารับงานจากบริษัท " ข." 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลต่อกำไรของบริษัทมาก แต่จู่ๆ มาบอกยกเลิก ผู้ถือหุ้นบริษัท "ก" ได้ข่าวนี้ ขาดทุนเท่าไรก็ต้องขายทิ้ง เพราะถือว่าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว
เผดิมภพยังให้แง่คิดถึงวิธีกระจายความเสี่ยงว่า ตามทฤษฎีเขาบอกว่าต้องลงทุนหุ้นมากๆ จะช่วยลดความเสี่ยง
"เนื่องจากผมใกล้ชิดกับนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าเลือกตัวที่เจ๋งๆ 4-5 ตัวก็พอแล้ว แต่ให้หมุนตามจังหวะตลาด ช่วงที่ตลาดหุ้นดีต้องเล่น "Growth Stock" ช่วงที่ตลาดหุ้นไม่ดีให้เล่น "Dividend Stock" คนที่เล่นหุ้นเก่งเขาจะรู้ว่าแต่ละช่วงต้องเล่นหุ้นแบบไหน"
ในโลกการลงทุนส่วนตัวของเผดิมภพ ช่วงที่ตลาดหุ้นอึมครึม เขาบอกว่าส่วนตัวไม่มีเงินลงทุนในตลาดหุ้น จะถือ Cash มากกว่า เงินที่มีอยู่จะเอาไปซื้อหุ้นปันผลก็ไม่มากพอ จะซื้อกองทุนก็ไม่ค่อยชอบ ช่วงที่ตลาดหุ้นดีก็มีเงินลงทุนอยู่บ้าง
โหรหุ้นชื่อดังมีคติที่ใช้เตือนนักลงทุนอยู่เสมอว่า "เวลาซื้อหุ้นเราอย่าหลอกตัวเอง ถ้าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว เรายังหลอกตัวเองว่าหุ้นจะกลับมาอีก ผมคิดว่าเป็นวิธีการที่ผิด ในทางกลับกันเวลาหุ้นตกต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมากๆ ในใจเรายังคิดเลยว่าถูกมากๆ แต่หลอกตัวเองว่าเรากลัว ไม่กล้าซื้อ สุดท้ายก็เสียโอกาส"
.....การซื้อหุ้นอย่าใช้ "อารมณ์" หรือ "จิตวิทยา" ของตัวเองมาตัดสิน ให้ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสิน
Source : http://www.taladhoon.com/taladhoon/boar ... c=8210.450
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 137
พักสายตากับคลิปเรื่อง "Turnaround เชื่อมั๊ย คุณไม่รู้มาก่อน"
"The simpliest is the most efficient."
Link : http://www.ceemeagain.com/tv/watch/22/41/
^
^
ฟังกันแบบเพลินๆนะขอรับ...
"The simpliest is the most efficient."
Link : http://www.ceemeagain.com/tv/watch/22/41/
^
^
ฟังกันแบบเพลินๆนะขอรับ...
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 138
มองเรื่องการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเปรียบกับเกมฟุตบอล
03/09/2010
ที่มา : http://www.saadpralard.com/?cat=3
ฟุตบอลกับการเคลื่อนไหวของราคา มีหลายสิ่งคล้ายกันมากทีเดียว เพียงแต่ฟุตบอลเล่นกััน90นาที(อาจมีช่วงทดเจ็บ) กับ ราคาของสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเล่นกันไปจนกว่า คนออกกฏตลาดสั่งไม่ให้เล่น หรือ ไม่มีใครสนใจจะ speculate มันอีกแล้ว ข้างล่างนี้จากหนังสือของ Stan Weinstein ซึ่งมีออกมาเพียงเล่มเดียว หน้า 108
ลองคิดว่า ถ้ามนุดโลกไม่รู้จักฟุตบอลเลย แต่ีรู้แต่ผลลัพธ์ของเกมนั้นๆโดยตลอด โดยมีค่า stat คร่าวๆของผลรวมทั้งตลาด แต่ไม่มี stat ลึกลงไปถึงนักบอล ในแมตซ์นั้นๆ ผมว่าก้อมีโอกาสเหมือนกันที่ระดับ professor จะคิดว่าเกมฟุตบอลต่างดาวเป็นเรื่องของแรนดอมว๊อกก้อได้
ผมเห็นตำราเมกาชอบเอากีฬาอย่างอเมริกันฟุตบอลกับเบสบอล มาเชื่อมโยงกับตลาดมาก เลยขอเอาฟุตบอลมาลิ้งบ้างละกัน
ฟุตบอลคือเกมที่พอเวลามีฝ่ายนึงรุก อีกฝ่ายนึงต้องรับ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ีรุก ก็ยังต้องมีกองหลัง มีโกลอยู่ คือ ในการรุก จิตใจของทั้งทีมในขณะนั้นก้ออาจจะไม่ได้เป็นฝ่ายรุกหมด โดยธรรมชาติ โกล และกองหลังจะต้องอย่างไรก้อต้องมี defensive mind ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร // เช่นเดียวกับ ฝ่ายตั้งรับ บางทีก็อาจจะมีหน้าเป้า ทิ้งไว้คนนึงไปป่วนกองหลังฝ่ายตรงข้าม
เอาแค่ง่ายๆเรื่องการจ่ายบอล ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายหลักของเกมฟุตบอล คือจ่ายกันทั้งเกม คุณก้อไม่ชนะฝ่ายตรงข้าม คุณจะต้องยิงประตูเท่านั้น ถ้าเราเก็บเป็น stat ratio การจ่ายบอล กับการทำประตู แล้ว quant มันออกมาได้ ว่า คือคนที่ไม่ได้ดูฟุตบอล ก็จะแยก คุณภาพของการจ่ายบอล ในแต่ละครั้งไม่ได้ หรือคนที่ดูฟุตบอลไม่เป็น ก้อจะแยกไม่ออก แต่ถ้าถามคนที่ดูฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจแล้ว วิธีการยิงการจ่าย ทักษะ จังหวะ คนดูเป็นจะแยกแยะ quality ได้ทุก action เลยทีเดียว
ในเกมฟุตบอล นานๆครั้งจะเกิดลูกฟลุ๊คได้ แต่ืุทุกคนเลี้ยงอาชีพด้วยทักษะกันเท่านั้น ไม่มีทีมในเอาคนฟลุ๊คเก่งแต่ไม่ค่อยมีทักษะ ลงบ่อยๆ ยกเว้นตอนไม่มีอะไรจะเสียแล้ว บางทีโกลระดับโลกก้อทำอะไรเปิ่นๆ หรือกองหน้าตัวเทพแปบอลโล่งๆกลับไม่เข้า ซึ่งสิ่งพวกนี้ในทาง stat จะคิดอีกอย่าง แต่คนดูฟุตบอลจริงๆจะคิดอีกอย่าง
ผมมองว่าการ breakout คล้ายๆกับจังหวะจ่าย killer pass+จังหวะยิงประตู โดยช่วง sideway คือช่วงที่เคาะบอลกันไปมา หุ้นนี่บางทีมันแปลก มันเคาะบอลกันเป็นชาติ คนดูออกนอกสนามไปเกือบหมดแล้ว มันมายิงประตูในช่วงท้ายๆได้ก้อมีเยอะไป
หรือเรื่องการ break out แล้วทำไมถึงเป็นการเบรกไม่จริง หรือกลายเป็น bull&bear trap นั้น ลองกลับมามองที่เกมฟุตบอล ถึงแม้จะมีการจ่ายบอลเข้าไปในเขตโทษ แล้วนักยิงก้อมีทักษะสุดยอดได้ยิงด้วย แต่อย่าลืมว่า ในเกมก็มีฝ่ายคอยตั้งรับอยู่เช่นกัน กองหลังอาจจะสกิดบอลได้นิดหน่อย บอลเปลี่ยนทาง หรือส่วนใหญ่โกลก็รับได้ ยังไม่นับรวมถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเช่น ชนคานล่างคานบนไม่เข้า กรรมการบอกล้ำหน้าหรือเป่าให้ลูกไม่เข้าเส้นก็มีถมไป
เรื่องอารมณ์ของผู้ชม
ลองคิดดูว่าถ้าเรากำลังดูเกมฟุตบอลเตะสดอยู่ทั้งหมด 20จอ เราอาจจะไม่เลือกดูจอที่มันเคาะบอลกันไปมาน่าเบื่อ ไม่เลือกดูบอลดิวิชั่น3 (ยกเว้นแมวมองจะไปหาเด็กwonderkidที่พอdevelopมาเล่นชั้นใหญ่ได้) คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะดูบิ๊กแมตซ์ ถ้ามีเกมในที่มีซูเปอร์สตาร์ลง คนก็จะยิ่งจับจ้องเป็นพิเศษ ยิ่งซุปเปอร์สตาร์คนนั้นอยู่ในช่วงท๊อปฟอร์ม แถมลากเลื้อยหลบฝ่ายตั้งรับได้เรื่อยๆ(breakoutอย่างรวดเร็ว) อารมณ์ร่วมของคนดูก็จะัยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างเรื่องหุ้นก้นบุหรี่ ก็เหมือนการไปเอานักเตะหมดอายุแล้ว แต่ฝีเท้าทักษะยังดีอยู่ จ้างมาในราคาถูกๆ แต่ก็ยังพอเล่นได้อีกซักปีหรือสองปี
ถ้าหุ้น turnaround อาจเหมือนการซื้อนักเตะัค่าตัวถูกที่ขาหัก หรือซูเปอร์สตาร์ที่ฟอร์มตกในเวลายาวนาน บาดเจ็บเรื้อรัง หรือนักเตะที่สภาพจิตใจย่ำแย่มากๆ มาลองปั้นดูใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักเตะพวกนี้ ก็จะกลับมาไม่ได้ดีเหมือนเดิม แต่ถ้านักบอลคนไหนสามารถเล่นได้ดีกว่าสภาพตอน peak เดิม ส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นระดับที่มีคนกล่าวขวัญถึง
หรือแม้กระทั่งเด็กปั้นวันเด้อคิด ถ้าเราเก็บสถิติ โดยเปรียบเทีัยบระหว่างเด็กสองคน ทั้งสองคนนี้อาจจะมี ratio ใกล้เคียงกันมาก แต่ทำไมในอุตสาหกรรมฟุตบอลถึงไม่มีใครใช้ quant ในการหาเด็ก wonderkid แต่กลับเลือกส่งแมวมองไปดูพัฒนาการของเด็กคนนั้นบ่อยๆ และเชื่อว่า ความเป็นจริง สไตล์ของเด็ก2คนนั้นก็คงจะแตกต่างกัน ในระดับที่แมวมองดูออก
บทความนี้คงมี fallacy อยู่มาก เป็นไอเดียภาพกว้างๆเจ๋ย เจ๋ย ฉึก ฉึก
Source : http://www.saadpralard.com/?cat=3
03/09/2010
ที่มา : http://www.saadpralard.com/?cat=3
ฟุตบอลกับการเคลื่อนไหวของราคา มีหลายสิ่งคล้ายกันมากทีเดียว เพียงแต่ฟุตบอลเล่นกััน90นาที(อาจมีช่วงทดเจ็บ) กับ ราคาของสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเล่นกันไปจนกว่า คนออกกฏตลาดสั่งไม่ให้เล่น หรือ ไม่มีใครสนใจจะ speculate มันอีกแล้ว ข้างล่างนี้จากหนังสือของ Stan Weinstein ซึ่งมีออกมาเพียงเล่มเดียว หน้า 108
ลองคิดว่า ถ้ามนุดโลกไม่รู้จักฟุตบอลเลย แต่ีรู้แต่ผลลัพธ์ของเกมนั้นๆโดยตลอด โดยมีค่า stat คร่าวๆของผลรวมทั้งตลาด แต่ไม่มี stat ลึกลงไปถึงนักบอล ในแมตซ์นั้นๆ ผมว่าก้อมีโอกาสเหมือนกันที่ระดับ professor จะคิดว่าเกมฟุตบอลต่างดาวเป็นเรื่องของแรนดอมว๊อกก้อได้
ผมเห็นตำราเมกาชอบเอากีฬาอย่างอเมริกันฟุตบอลกับเบสบอล มาเชื่อมโยงกับตลาดมาก เลยขอเอาฟุตบอลมาลิ้งบ้างละกัน
ฟุตบอลคือเกมที่พอเวลามีฝ่ายนึงรุก อีกฝ่ายนึงต้องรับ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ีรุก ก็ยังต้องมีกองหลัง มีโกลอยู่ คือ ในการรุก จิตใจของทั้งทีมในขณะนั้นก้ออาจจะไม่ได้เป็นฝ่ายรุกหมด โดยธรรมชาติ โกล และกองหลังจะต้องอย่างไรก้อต้องมี defensive mind ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร // เช่นเดียวกับ ฝ่ายตั้งรับ บางทีก็อาจจะมีหน้าเป้า ทิ้งไว้คนนึงไปป่วนกองหลังฝ่ายตรงข้าม
เอาแค่ง่ายๆเรื่องการจ่ายบอล ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายหลักของเกมฟุตบอล คือจ่ายกันทั้งเกม คุณก้อไม่ชนะฝ่ายตรงข้าม คุณจะต้องยิงประตูเท่านั้น ถ้าเราเก็บเป็น stat ratio การจ่ายบอล กับการทำประตู แล้ว quant มันออกมาได้ ว่า คือคนที่ไม่ได้ดูฟุตบอล ก็จะแยก คุณภาพของการจ่ายบอล ในแต่ละครั้งไม่ได้ หรือคนที่ดูฟุตบอลไม่เป็น ก้อจะแยกไม่ออก แต่ถ้าถามคนที่ดูฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจแล้ว วิธีการยิงการจ่าย ทักษะ จังหวะ คนดูเป็นจะแยกแยะ quality ได้ทุก action เลยทีเดียว
ในเกมฟุตบอล นานๆครั้งจะเกิดลูกฟลุ๊คได้ แต่ืุทุกคนเลี้ยงอาชีพด้วยทักษะกันเท่านั้น ไม่มีทีมในเอาคนฟลุ๊คเก่งแต่ไม่ค่อยมีทักษะ ลงบ่อยๆ ยกเว้นตอนไม่มีอะไรจะเสียแล้ว บางทีโกลระดับโลกก้อทำอะไรเปิ่นๆ หรือกองหน้าตัวเทพแปบอลโล่งๆกลับไม่เข้า ซึ่งสิ่งพวกนี้ในทาง stat จะคิดอีกอย่าง แต่คนดูฟุตบอลจริงๆจะคิดอีกอย่าง
ผมมองว่าการ breakout คล้ายๆกับจังหวะจ่าย killer pass+จังหวะยิงประตู โดยช่วง sideway คือช่วงที่เคาะบอลกันไปมา หุ้นนี่บางทีมันแปลก มันเคาะบอลกันเป็นชาติ คนดูออกนอกสนามไปเกือบหมดแล้ว มันมายิงประตูในช่วงท้ายๆได้ก้อมีเยอะไป
หรือเรื่องการ break out แล้วทำไมถึงเป็นการเบรกไม่จริง หรือกลายเป็น bull&bear trap นั้น ลองกลับมามองที่เกมฟุตบอล ถึงแม้จะมีการจ่ายบอลเข้าไปในเขตโทษ แล้วนักยิงก้อมีทักษะสุดยอดได้ยิงด้วย แต่อย่าลืมว่า ในเกมก็มีฝ่ายคอยตั้งรับอยู่เช่นกัน กองหลังอาจจะสกิดบอลได้นิดหน่อย บอลเปลี่ยนทาง หรือส่วนใหญ่โกลก็รับได้ ยังไม่นับรวมถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเช่น ชนคานล่างคานบนไม่เข้า กรรมการบอกล้ำหน้าหรือเป่าให้ลูกไม่เข้าเส้นก็มีถมไป
เรื่องอารมณ์ของผู้ชม
ลองคิดดูว่าถ้าเรากำลังดูเกมฟุตบอลเตะสดอยู่ทั้งหมด 20จอ เราอาจจะไม่เลือกดูจอที่มันเคาะบอลกันไปมาน่าเบื่อ ไม่เลือกดูบอลดิวิชั่น3 (ยกเว้นแมวมองจะไปหาเด็กwonderkidที่พอdevelopมาเล่นชั้นใหญ่ได้) คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะดูบิ๊กแมตซ์ ถ้ามีเกมในที่มีซูเปอร์สตาร์ลง คนก็จะยิ่งจับจ้องเป็นพิเศษ ยิ่งซุปเปอร์สตาร์คนนั้นอยู่ในช่วงท๊อปฟอร์ม แถมลากเลื้อยหลบฝ่ายตั้งรับได้เรื่อยๆ(breakoutอย่างรวดเร็ว) อารมณ์ร่วมของคนดูก็จะัยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างเรื่องหุ้นก้นบุหรี่ ก็เหมือนการไปเอานักเตะหมดอายุแล้ว แต่ฝีเท้าทักษะยังดีอยู่ จ้างมาในราคาถูกๆ แต่ก็ยังพอเล่นได้อีกซักปีหรือสองปี
ถ้าหุ้น turnaround อาจเหมือนการซื้อนักเตะัค่าตัวถูกที่ขาหัก หรือซูเปอร์สตาร์ที่ฟอร์มตกในเวลายาวนาน บาดเจ็บเรื้อรัง หรือนักเตะที่สภาพจิตใจย่ำแย่มากๆ มาลองปั้นดูใหม่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักเตะพวกนี้ ก็จะกลับมาไม่ได้ดีเหมือนเดิม แต่ถ้านักบอลคนไหนสามารถเล่นได้ดีกว่าสภาพตอน peak เดิม ส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นระดับที่มีคนกล่าวขวัญถึง
หรือแม้กระทั่งเด็กปั้นวันเด้อคิด ถ้าเราเก็บสถิติ โดยเปรียบเทีัยบระหว่างเด็กสองคน ทั้งสองคนนี้อาจจะมี ratio ใกล้เคียงกันมาก แต่ทำไมในอุตสาหกรรมฟุตบอลถึงไม่มีใครใช้ quant ในการหาเด็ก wonderkid แต่กลับเลือกส่งแมวมองไปดูพัฒนาการของเด็กคนนั้นบ่อยๆ และเชื่อว่า ความเป็นจริง สไตล์ของเด็ก2คนนั้นก็คงจะแตกต่างกัน ในระดับที่แมวมองดูออก
บทความนี้คงมี fallacy อยู่มาก เป็นไอเดียภาพกว้างๆเจ๋ย เจ๋ย ฉึก ฉึก
Source : http://www.saadpralard.com/?cat=3
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 139
ลงทุนแบบ ปีเตอร์ ลินซ์
Monday, August 24th, 2009
ข้อมูลจาก thaihoon
นักลงทุนในยุคหลังๆ
อาจจะลืมชื่อนี้ไปบ้างแต่ถ้าใครติดตามความเคลื่อนไหวในวงการหุ้น
โดยเฉพาะที่สหรัฐ ในช่วง 10 ปีก่อนโดยประมาณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
คนคนนี้ดังมากๆ
และได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่ทำเงินในตลาดหุ้นได้มากที่
สุดคนหนึ่ง โดยในช่วงหลังๆ
ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกจะล้างมือในอ่างทองคำ (เลิกบริหารกองทุน)
และไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ
ปีเตอร์ ลินซ์ นับว่าเป็นคนที่ทำงานหนักมาก และจริงๆ จังๆ
คนหนึ่งใบหน้าและลักษณะท่าทางของเขามักจะแก่เกินอายุจริง
ผมที่หงอกสะท้อนถึงการใช้ความคิดที่มากกว่าบุคคลทั่วไป
และไม่แปลกอะไรการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเขา
ต้องเข้าไปรู้ให้ซึ้งถึงกิจการนั้นๆ ด้วยตัวเขาเอง
ปีเตอร์ ลินซ์ ได้แต่งหนังสือหลายเล่ม
แต่เล่มที่ขายดีและโด่งดังเล่มหนึ่งชื่อ ONE UP ON WALL STREET
ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้แบ่งกลยุทธ์ในการลงหุ้นไว้อยู่ 6 วิธีใหญ่ๆ
โดยมีการคัดเลือกตามกลุ่มหุ้น
และในส่วนตัวของผมคิดว่าน่าสนใจและมีแนวคิดที่น่าจะเอาอย่าง
1. The Slow Growers หรือ น่าจะเรียกคำจำกัดความง่ายๆ
เป็นภาษาไทยได้ว่า “หุ้นค่อยๆ โต” หรือ “หุ้นโตช้า”
ท่านผู้อ่านถ้าใครนึกถึงวัฏจักรธุรกิจได้ที่มีอยู่ 4 ระดับ คือ
เริ่มต้น, เติบโต, คงที่ และถดถอย ก็ต้องบอกว่าหุ้น The Slow
Growers อยู่ในขั้นตอนการคงที่ ซึ่งโดยลักษณะก็คือ
บริษัทเรานี้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย
แต่อาจจะมีปันผลที่อยู่ในขั้นที่ค่อนข้างสูง
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินไปขยายกิจการแล้ ว
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า
หุ้นเหล่านี้ไม่มีอะไรที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะจุดเด่นของกิจการหมดไปแล้ว
2. The Stalwarts ค่อนข้างใกล้เคียงกับ The Slow Growers
แต่จะแตกต่างเล็กน้อยว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่
แต่การเจริญเติบโตค่อนข้างคงที่ คือ เฉลี่ยต่อปีประมาณ 10%
โดยการเคลื่อนไหวราคาหุ้นในกลุ่มนี้มักจะไม่แบนราบเสียทีเดียว
แต่ก็จะไม่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเช่นนี้
ควรเข้าซื้อในช่วงหุ้นตกหรือเกิดวิกฤตการณ์
เนื่องจากบริษัทแบบนี้จะไม่ล้มหายตายไปไหน ผมคิดๆ ดูแล้ว
ค่อนข้างเหมาะสมในภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันที่ยังอยู่ภาวะที่ไม่ค่อยดี
ซึ่งในกลยุทธ์เพิ่มเติมของ ปีเตอร์ ลินซ์
ก็บอกว่านี้คือโอกาสในการเข้าซื้อ
และค่อยขายเมื่อเห็นว่ากำไรพอสมควร
3. The Fast Growers คำจำกัดความง่ายๆ ภาษาไทยก็คือ
หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่ขนาดไม่ใหญ่นัก
เนื่องจากเป็นบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่
โดยถ้านับตามวัฏจักรธุรกิจ ก็คือ อยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือ
ท่านผู้อ่านคงคิดง่ายๆ ถึงบรรดาหุ้น ดอทคอม ทั้งหลาย
ซึ่งถ้าย้อนถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันเราคงนึกถึงหุ้นในตลาดหุ้น
nasdaq ของสหรัฐ เราคงจะเห็นว่าในช่วงหลายปีก่อน
มีการปรับตัวขึ้นจากหุ้นละ 10$ ไปสู่ 100$ กว่าๆ อย่างสบาย
และในที่สุดเมื่อผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดความล้มสลายก็
เกิดขึ้นแ ละมีการย้อนกลับมา ที่ระดับราคาเดิม
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำบอกว่า
การซื้อหุ้นเหล่านี้เขาแนะนำให้ซื้อเก็บเข้าไว้
แต่ต้องคอยดูงบการเงินของบริษัทเหล่านี้อยู่เสมอ เนื่องจากหุ้น
The Slow Growers
จะมีการปรับตัวขึ้นก่อนหน้าผลการดำเนินงานและเมื่อไรผมการดำเนิน
งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง
ขยายความง่ายๆ
สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็คือ
สมมติเราซื้อหุ้นด้วยวิธีการดู P/E (ราคาหารด้วยผลกำไร)
ซึ่งยิ่งน้อยจะยิ่งดี แต่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
แต่กำไรจะไม่แสดง (P/D ราคาหารด้วยความฝัน)
เมื่อกำไรที่เกิดขึ้นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง
แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง
แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ราคา ราคาหุ้นจะลงแรง
4. The Cyclicals
ชื่อนี้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้วคงจะคุ้นเคย
แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะต้องทำความเข้าใจหน่อย
เพราะว่าหุ้นนี้ก็คือเป็นหุ้นวัฏจักร ก็คือมีขึ้นมีลง
สังเกตได้ชัดเจนในหุ้นกลุ่มที่มีการขึ้นลงตามราคาวัตถุดิบ
เช่นหุ้นกลุ่มกระดาษ หรือ หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี
โดยราคาหุ้นเหล่านี้ จะมีการขึ้นลงตามวัตถุดิบไปเรื่อยๆ
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้
อยู่ที่จังหวะและโอกาส
คือต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าจังหวะไหนจะเป็นวัฏจักรขาขึ้น
และควรซื้อหุ้นดักหน้า แต่ถ้าไม่ดีก็ควรขายออกทันที
5. Turnaround Stock เป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว
จากภาวะตกต่ำและเป็นหุ้นประเภทเดียวจาก 6 กลุ่มที่ ปีเตอร์ ลินซ์
มีการย่ำเป็นพิเศษว่า “ต้องซื้อ”
สาเหตุสำคัญก็เนื่องจากว่าหุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างกำไรให้ผู้ซื้ออย่างเป็นกอบเป็นกำ
ปีเตอร์ ลินซ์ ยังแนะนำต่อไปว่า
การเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ควรช้อนซื้อโดยไม่สนใจคำเตือนของใครๆ
และต้องใจเย็นเมื่อซื้อเข้าไปแล้ว
และในที่สุดท่านจะได้กำไรอย่างมหาศาล
6. The Asset Play
เป็นหุ้นที่อยู่ในรูปของบริษัทที่มีสินทรัพย์แฝงอยู่
แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยออกมา โดยอาจจะเป็นในรูปที่ดิน, เงินสด
หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ก็ได้
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า
ถ้าค้นพบบริษัทไหนมีสินทรัพย์แฝงอยู่ให้ซื้อเก็บไว้และอดทนรอระยะหนึ่ง
และก็จะได้กำไรอย่างคุ้มค่าเหนื่อย
——————————-
วิธีการและแนวทางในการลงทุน
อันดับแรก เปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อรับฟังแนวคิดใหม่ๆ
แนวคิดหลักของลินซ์คือ เราสามารถเลือกลงทุนได้จากสิ่งรอบตัวเรา
เช่นถ้าเราเลือกที่จะสนใจในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจอยู่แล้ว
อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า
หรือแม้แต่การสังเกตเพื่อนบ้านที่กำลังถอยรถใหม่ออกมา
หรือเห็นโรงงานข้างทางกำลังขยายโรงงาน
สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้เราเลือกลงทุนกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
แหล่งข้อมูลที่คุณสามารถหาได้ดีที่สุด :
งานของคุณ ซึ่งมันทำให้คุณคุ้นเคยกับธุรกิจ
และคุณสามารถเข้าใจลูกค้า และผู้ขายวัตถุดิบอยู่แล้ว
เช่นหากคุณเป็นแพทย์ คุณจะเข้าใจโรงพยาบาล เข้าใจผู้ป่วย
และบริษัทเวชภัณฑ์ ว่าเขาทั้งหมดต้องการอะไร และโรงพยาบาล
และบริษัทเวชภัณฑ์สามารถสนองความต้องการของผู้ป่วยได้หรือไม่
งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น
ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ
และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกันครอบครัวของคุณและของเพื่อนฝูง
พวกเขาก็จะมีงานและงานอดิเรกของเขาซึ่งคุณสอบถามข้อมูลจากเขาได ้
การสังเกต และประสบการณ์ของคุณที่มีต่อบริษัทที่คุณรู้จัก
อันดับที่สอง จัดหมวดหมู่ความคิดของคุณ
บริษัทต่างๆสามารถจัดประเภทได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers)
การเติบโตของกำไรจะสุงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย
ประมาณ 2-4% ต่อปี
ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts)
บริษัทที่ดีมีอัตราการเติบโตประมาณ 10-20% ต่อปี
ประเภทโตเร็ว (Fast growers)
บริษัทเล็กๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี
ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals)
บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds)
บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน
ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays)
บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์
หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ
เช่นที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าสูงมาก
ในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ
ใช้ความพยายามที่มีอยู่ในการหาหุ้นประเภทโตเร็ว
เพราะหากซื้อที่ราคาที่เหมาะสมอาจทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงถึง
สิบเท่าตัว นอกจากนั้นให้มองหาหุ้นประเภทกำลังฟื้นตัว
และบางครั้งควรเป็นประเภทมีสินทรัพย์แฝง.
อย่าถือเงินสด
ทางที่ดีคือนำเงินสดที่เหลืออยู่ไปลงทุนในหุ้นประเภทที่แข็งแกร่ง(Stalwarts)
เพราะคุณจะไม่พลาดเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
หลีกเลี่ยง หุ้นประเภทอุ้ยอ้าย(กำไรน้อยเกินไป)
กับหุ้นประเภทขึ้นลงตามวัฎจักรที่กำลังแย่ลง
อันดับที่สาม สรุปเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัทที่เลือกได้
เหตุผลที่สนใจในบริษัทนี้
อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จ
อุปสรรคที่จะทำให้บริษัทล้มเหลวได้
ต้องแน่ใจว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทนั้น
ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถูกต้อง เชื่อถือได้
และสามารถจัดลงในประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว
ตัวอย่างคำถามง่ายๆที่ควรจะถามตัวเองเสมอเช่น”ถ้าบริษัทนี้จัดเป็นประเภทโตเร็ว
แล้วสิ่งใดเป็นตัวที่ทำให้มันเติบโตอย่างต่อเนื่อง?
อันดับที่สี่ ตรวจสอบตัวเลขที่สำคัญ Fourthly, check the key numbers.
ถ้าคุณสนใจในสินค้าและบริการใดในบริษัท
ให้ตรวจสอบว่ายอดขายต้องมากเท่าไรจึงจะสามารถมีกำไรในจำนวนมากได้ (ตรวจสอบ Profit Margin)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่อัตราส่วน P/E
ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้น (ให้ตรวจสอบ PEG)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเงินสดจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง
ให้ระวังบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง(D/E หรือ Gearing สูง)
โดยเฉพาะหนี้ที่มาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี
ซึ่งจะต้องจ่ายเมื่อถูกทวงถาม
ซึ่งไม่เหมือนกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน(ถ้าเป็นหนี้ช
นิดหุ้นกู้จะดีกว่าเพราะตราบใดที่ยังจ่ายดอกเบี้ยได้
เจ้าหนี้จะเอาเงินคืนก่อนกำหนดไม่ได้)
หากเป็นบริษัทประเภทแข็งแกร่งหรือโตเร็ว
ให้เลือกบริษัทที่มีกำไรก่อนภาษีสูงๆ
หากเป็นบริษัทประเภทเริ่มฟื้นตัว
ให้เลือกบริษัทที่ราคาต่ำแต่มีศักยภาพที่จะกลับมาสูง.
อันดับที่ห้า ไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด
ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น จำไว้เสมอว่า
กำไรขาดทุนที่จะได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่
ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น .
ซื้อหุ้นเมื่อแน่ใจในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ที่ราคาที่เหมาะสม
ลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา
ขายหุ้นประเภทแข็งแกร่ง เมื่อ PEG สูงประมาณ 1.2 – 1.4
หรือเห็นแนวโน้มว่าการเติบโตเริ่มลดลง
ขายหุ้นประเภทโตเร็ว
เมื่อเห็นสัญญาณว่าจะไม่มีทางขยายการลงทุนได้อีกแล้ว
หรือการขยายกิจการนั้นเริ่มทำให้การขยายตัวลดลง หรือเมื่อ PEG
สูงประมาณ 1.5 – 2.0
ขายหุ้นประเภทมีสินทรัพย์แฝง เมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น
หรือเมื่อกิจการขายสินทรัพย์ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
———————————–
ข้อมูลจาก thaihoon
Source : http://www.freedom.holidaytours.in.th/b ... y/history/
Monday, August 24th, 2009
ข้อมูลจาก thaihoon
นักลงทุนในยุคหลังๆ
อาจจะลืมชื่อนี้ไปบ้างแต่ถ้าใครติดตามความเคลื่อนไหวในวงการหุ้น
โดยเฉพาะที่สหรัฐ ในช่วง 10 ปีก่อนโดยประมาณ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
คนคนนี้ดังมากๆ
และได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่ทำเงินในตลาดหุ้นได้มากที่
สุดคนหนึ่ง โดยในช่วงหลังๆ
ถ้าผมจำไม่ผิดรู้สึกจะล้างมือในอ่างทองคำ (เลิกบริหารกองทุน)
และไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ
ปีเตอร์ ลินซ์ นับว่าเป็นคนที่ทำงานหนักมาก และจริงๆ จังๆ
คนหนึ่งใบหน้าและลักษณะท่าทางของเขามักจะแก่เกินอายุจริง
ผมที่หงอกสะท้อนถึงการใช้ความคิดที่มากกว่าบุคคลทั่วไป
และไม่แปลกอะไรการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเขา
ต้องเข้าไปรู้ให้ซึ้งถึงกิจการนั้นๆ ด้วยตัวเขาเอง
ปีเตอร์ ลินซ์ ได้แต่งหนังสือหลายเล่ม
แต่เล่มที่ขายดีและโด่งดังเล่มหนึ่งชื่อ ONE UP ON WALL STREET
ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้แบ่งกลยุทธ์ในการลงหุ้นไว้อยู่ 6 วิธีใหญ่ๆ
โดยมีการคัดเลือกตามกลุ่มหุ้น
และในส่วนตัวของผมคิดว่าน่าสนใจและมีแนวคิดที่น่าจะเอาอย่าง
1. The Slow Growers หรือ น่าจะเรียกคำจำกัดความง่ายๆ
เป็นภาษาไทยได้ว่า “หุ้นค่อยๆ โต” หรือ “หุ้นโตช้า”
ท่านผู้อ่านถ้าใครนึกถึงวัฏจักรธุรกิจได้ที่มีอยู่ 4 ระดับ คือ
เริ่มต้น, เติบโต, คงที่ และถดถอย ก็ต้องบอกว่าหุ้น The Slow
Growers อยู่ในขั้นตอนการคงที่ ซึ่งโดยลักษณะก็คือ
บริษัทเรานี้จะเติบโตเพียงเล็กน้อย
แต่อาจจะมีปันผลที่อยู่ในขั้นที่ค่อนข้างสูง
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินไปขยายกิจการแล้ ว
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า
หุ้นเหล่านี้ไม่มีอะไรที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะจุดเด่นของกิจการหมดไปแล้ว
2. The Stalwarts ค่อนข้างใกล้เคียงกับ The Slow Growers
แต่จะแตกต่างเล็กน้อยว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่
แต่การเจริญเติบโตค่อนข้างคงที่ คือ เฉลี่ยต่อปีประมาณ 10%
โดยการเคลื่อนไหวราคาหุ้นในกลุ่มนี้มักจะไม่แบนราบเสียทีเดียว
แต่ก็จะไม่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเช่นนี้
ควรเข้าซื้อในช่วงหุ้นตกหรือเกิดวิกฤตการณ์
เนื่องจากบริษัทแบบนี้จะไม่ล้มหายตายไปไหน ผมคิดๆ ดูแล้ว
ค่อนข้างเหมาะสมในภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันที่ยังอยู่ภาวะที่ไม่ค่อยดี
ซึ่งในกลยุทธ์เพิ่มเติมของ ปีเตอร์ ลินซ์
ก็บอกว่านี้คือโอกาสในการเข้าซื้อ
และค่อยขายเมื่อเห็นว่ากำไรพอสมควร
3. The Fast Growers คำจำกัดความง่ายๆ ภาษาไทยก็คือ
หุ้นที่เจริญเติบโตเร็ว
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่ขนาดไม่ใหญ่นัก
เนื่องจากเป็นบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่
โดยถ้านับตามวัฏจักรธุรกิจ ก็คือ อยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือ
ท่านผู้อ่านคงคิดง่ายๆ ถึงบรรดาหุ้น ดอทคอม ทั้งหลาย
ซึ่งถ้าย้อนถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันเราคงนึกถึงหุ้นในตลาดหุ้น
nasdaq ของสหรัฐ เราคงจะเห็นว่าในช่วงหลายปีก่อน
มีการปรับตัวขึ้นจากหุ้นละ 10$ ไปสู่ 100$ กว่าๆ อย่างสบาย
และในที่สุดเมื่อผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดความล้มสลายก็
เกิดขึ้นแ ละมีการย้อนกลับมา ที่ระดับราคาเดิม
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำบอกว่า
การซื้อหุ้นเหล่านี้เขาแนะนำให้ซื้อเก็บเข้าไว้
แต่ต้องคอยดูงบการเงินของบริษัทเหล่านี้อยู่เสมอ เนื่องจากหุ้น
The Slow Growers
จะมีการปรับตัวขึ้นก่อนหน้าผลการดำเนินงานและเมื่อไรผมการดำเนิน
งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง
ขยายความง่ายๆ
สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็คือ
สมมติเราซื้อหุ้นด้วยวิธีการดู P/E (ราคาหารด้วยผลกำไร)
ซึ่งยิ่งน้อยจะยิ่งดี แต่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
แต่กำไรจะไม่แสดง (P/D ราคาหารด้วยความฝัน)
เมื่อกำไรที่เกิดขึ้นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง
แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดราคาหุ้นจะขึ้นต่อและค่อนข้างแรง
แต่ถ้ากำไรที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ราคา ราคาหุ้นจะลงแรง
4. The Cyclicals
ชื่อนี้สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นอยู่แล้วคงจะคุ้นเคย
แต่สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะต้องทำความเข้าใจหน่อย
เพราะว่าหุ้นนี้ก็คือเป็นหุ้นวัฏจักร ก็คือมีขึ้นมีลง
สังเกตได้ชัดเจนในหุ้นกลุ่มที่มีการขึ้นลงตามราคาวัตถุดิบ
เช่นหุ้นกลุ่มกระดาษ หรือ หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี
โดยราคาหุ้นเหล่านี้ จะมีการขึ้นลงตามวัตถุดิบไปเรื่อยๆ
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้
อยู่ที่จังหวะและโอกาส
คือต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าจังหวะไหนจะเป็นวัฏจักรขาขึ้น
และควรซื้อหุ้นดักหน้า แต่ถ้าไม่ดีก็ควรขายออกทันที
5. Turnaround Stock เป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว
จากภาวะตกต่ำและเป็นหุ้นประเภทเดียวจาก 6 กลุ่มที่ ปีเตอร์ ลินซ์
มีการย่ำเป็นพิเศษว่า “ต้องซื้อ”
สาเหตุสำคัญก็เนื่องจากว่าหุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างกำไรให้ผู้ซื้ออย่างเป็นกอบเป็นกำ
ปีเตอร์ ลินซ์ ยังแนะนำต่อไปว่า
การเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ควรช้อนซื้อโดยไม่สนใจคำเตือนของใครๆ
และต้องใจเย็นเมื่อซื้อเข้าไปแล้ว
และในที่สุดท่านจะได้กำไรอย่างมหาศาล
6. The Asset Play
เป็นหุ้นที่อยู่ในรูปของบริษัทที่มีสินทรัพย์แฝงอยู่
แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยออกมา โดยอาจจะเป็นในรูปที่ดิน, เงินสด
หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ก็ได้
ปีเตอร์ ลินซ์ แนะนำว่า
ถ้าค้นพบบริษัทไหนมีสินทรัพย์แฝงอยู่ให้ซื้อเก็บไว้และอดทนรอระยะหนึ่ง
และก็จะได้กำไรอย่างคุ้มค่าเหนื่อย
——————————-
วิธีการและแนวทางในการลงทุน
อันดับแรก เปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อรับฟังแนวคิดใหม่ๆ
แนวคิดหลักของลินซ์คือ เราสามารถเลือกลงทุนได้จากสิ่งรอบตัวเรา
เช่นถ้าเราเลือกที่จะสนใจในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจอยู่แล้ว
อาจจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า
หรือแม้แต่การสังเกตเพื่อนบ้านที่กำลังถอยรถใหม่ออกมา
หรือเห็นโรงงานข้างทางกำลังขยายโรงงาน
สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้เราเลือกลงทุนกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
แหล่งข้อมูลที่คุณสามารถหาได้ดีที่สุด :
งานของคุณ ซึ่งมันทำให้คุณคุ้นเคยกับธุรกิจ
และคุณสามารถเข้าใจลูกค้า และผู้ขายวัตถุดิบอยู่แล้ว
เช่นหากคุณเป็นแพทย์ คุณจะเข้าใจโรงพยาบาล เข้าใจผู้ป่วย
และบริษัทเวชภัณฑ์ ว่าเขาทั้งหมดต้องการอะไร และโรงพยาบาล
และบริษัทเวชภัณฑ์สามารถสนองความต้องการของผู้ป่วยได้หรือไม่
งานอดิเรกและ การพักผ่อนของคุณ เช่นกีฬาที่เล่น สถานที่ที่เล่น
ห้างสรรพสินค้าและสินค้าที่คุณ
และเพื่อนๆของคุณนิยมซื้อกันครอบครัวของคุณและของเพื่อนฝูง
พวกเขาก็จะมีงานและงานอดิเรกของเขาซึ่งคุณสอบถามข้อมูลจากเขาได ้
การสังเกต และประสบการณ์ของคุณที่มีต่อบริษัทที่คุณรู้จัก
อันดับที่สอง จัดหมวดหมู่ความคิดของคุณ
บริษัทต่างๆสามารถจัดประเภทได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers)
การเติบโตของกำไรจะสุงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย
ประมาณ 2-4% ต่อปี
ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts)
บริษัทที่ดีมีอัตราการเติบโตประมาณ 10-20% ต่อปี
ประเภทโตเร็ว (Fast growers)
บริษัทเล็กๆที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี
ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals)
บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds)
บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน
ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays)
บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์
หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ
เช่นที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าสูงมาก
ในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ
ใช้ความพยายามที่มีอยู่ในการหาหุ้นประเภทโตเร็ว
เพราะหากซื้อที่ราคาที่เหมาะสมอาจทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงถึง
สิบเท่าตัว นอกจากนั้นให้มองหาหุ้นประเภทกำลังฟื้นตัว
และบางครั้งควรเป็นประเภทมีสินทรัพย์แฝง.
อย่าถือเงินสด
ทางที่ดีคือนำเงินสดที่เหลืออยู่ไปลงทุนในหุ้นประเภทที่แข็งแกร่ง(Stalwarts)
เพราะคุณจะไม่พลาดเมื่อตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
หลีกเลี่ยง หุ้นประเภทอุ้ยอ้าย(กำไรน้อยเกินไป)
กับหุ้นประเภทขึ้นลงตามวัฎจักรที่กำลังแย่ลง
อันดับที่สาม สรุปเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับบริษัทที่เลือกได้
เหตุผลที่สนใจในบริษัทนี้
อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จ
อุปสรรคที่จะทำให้บริษัทล้มเหลวได้
ต้องแน่ใจว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทนั้น
ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถูกต้อง เชื่อถือได้
และสามารถจัดลงในประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว
ตัวอย่างคำถามง่ายๆที่ควรจะถามตัวเองเสมอเช่น”ถ้าบริษัทนี้จัดเป็นประเภทโตเร็ว
แล้วสิ่งใดเป็นตัวที่ทำให้มันเติบโตอย่างต่อเนื่อง?
อันดับที่สี่ ตรวจสอบตัวเลขที่สำคัญ Fourthly, check the key numbers.
ถ้าคุณสนใจในสินค้าและบริการใดในบริษัท
ให้ตรวจสอบว่ายอดขายต้องมากเท่าไรจึงจะสามารถมีกำไรในจำนวนมากได้ (ตรวจสอบ Profit Margin)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่อัตราส่วน P/E
ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของกำไรต่อหุ้น (ให้ตรวจสอบ PEG)
ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีเงินสดจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง
ให้ระวังบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนสูง(D/E หรือ Gearing สูง)
โดยเฉพาะหนี้ที่มาจากวงเงินเบิกเกินบัญชี
ซึ่งจะต้องจ่ายเมื่อถูกทวงถาม
ซึ่งไม่เหมือนกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอน(ถ้าเป็นหนี้ช
นิดหุ้นกู้จะดีกว่าเพราะตราบใดที่ยังจ่ายดอกเบี้ยได้
เจ้าหนี้จะเอาเงินคืนก่อนกำหนดไม่ได้)
หากเป็นบริษัทประเภทแข็งแกร่งหรือโตเร็ว
ให้เลือกบริษัทที่มีกำไรก่อนภาษีสูงๆ
หากเป็นบริษัทประเภทเริ่มฟื้นตัว
ให้เลือกบริษัทที่ราคาต่ำแต่มีศักยภาพที่จะกลับมาสูง.
อันดับที่ห้า ไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาด
ให้ใช้เหตุผลในการซื้อขายเท่านั้น จำไว้เสมอว่า
กำไรขาดทุนที่จะได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของธุรกิจที่บริษัทดำเนินการอยู่
ดังนั้นไม่ต้องไปสนใจการขึ้นลงของตลาดหุ้น .
ซื้อหุ้นเมื่อแน่ใจในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ที่ราคาที่เหมาะสม
ลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา
ขายหุ้นประเภทแข็งแกร่ง เมื่อ PEG สูงประมาณ 1.2 – 1.4
หรือเห็นแนวโน้มว่าการเติบโตเริ่มลดลง
ขายหุ้นประเภทโตเร็ว
เมื่อเห็นสัญญาณว่าจะไม่มีทางขยายการลงทุนได้อีกแล้ว
หรือการขยายกิจการนั้นเริ่มทำให้การขยายตัวลดลง หรือเมื่อ PEG
สูงประมาณ 1.5 – 2.0
ขายหุ้นประเภทมีสินทรัพย์แฝง เมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น
หรือเมื่อกิจการขายสินทรัพย์ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
———————————–
ข้อมูลจาก thaihoon
Source : http://www.freedom.holidaytours.in.th/b ... y/history/
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 140
Stock Image
05/02/2552
ในบางครั้ง เวลาที่ท่านนักลงทุนจะตัดสินใจลงทุน สิ่งหนึ่งที่ท่านนักลงทุนอาจจะใช้ร่วมประกอบการตัดสินใจโดยที่ท่านอาจไม่รู้ตัว ก็คือ ภาพลักษณ์ (image) ของบริษัท เช่น โบรกเกอร์ของท่านอาจจะแนะนำให้ซื้อหุ้นบริษัท A เพราะกำลังจะมีข่าวดี และราคาในปัจจุบันต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน แต่ท่านก็อาจจะปฏิเสธที่จะซื้อ เพราะท่านอาจมองว่าบริษัท A เป็นบริษัทที่มีประวัติเคยขาดทุนเป็นจำนวนมาก และผู้บริหารไม่โปร่งใส หรือท่านอาจจะมองว่าหุ้นของบริษัท A เป็นหุ้นที่น่าเบื่อ ราคาไม่ค่อยขยับไปไหน ซื้อไปก็อาจจะเสียเวลาเปล่า เป็นต้น
ภาพลักษณ์ของบริษัท อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะกินเวลานานหลายปีกว่าที่จะเปลี่ยนความคิดนักลงทุนส่วนใหญ่ได้ หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาไม่นาน หากพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือเกิดจากการปรับปรุงภาพลักษณ์ของทางบริษัท
Peter Greenfinch ได้จัดกลุ่มภาพลักษณ์ของหุ้นของบริษัทเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) The sky-high images (glamour stocks) stratosphere หรือ กลุ่มหุ้นที่มีภาพลักษณ์ดีเยี่ยม และมีความน่าสนใจมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย
- กลุ่มที่มีประวัติการเติบโตทางธุรกิจดี และมีชื่อเสียงดี โดยหุ้นที่อยู่ในกลุ่มนี้ มีการเติบโตของผลประกอบการของบริษัทสูง อย่างต่อเนื่องและยาวนาน และสามารถทนต่อความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดี
- กลุ่มบริษัทดาวรุ่ง หรือกลุ่มบริษัทที่กำลังเปล่งประกาย บริษัทเหล่านี้อาจมีผลประกอบการที่ดีในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยอาจเป็นบริษัทที่ turnaround บริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการ รวมถึงบริษัทที่อาจมีผลประกอบการดีอันเนื่องมาจากการตบแต่งบัญชี ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้มีความไม่แน่นอนว่าบริษัทจะสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีต่อไปได้อีกยาวนานเพียงใด โดยราคาของหุ้นในกลุ่มนี้อาจมีการแกว่งตัวแรงๆบ้างในบางครั้ง อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มดาวรุ่งนี้ มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก เพราะมักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้นๆได้
2) The cellar of low images (ill-loved stocks) หรือกลุ่มหุ้นที่ไม่น่าสนใจ หุ้นที่น่าเบื่อ รวมถึงหุ้นอันตราย ซึ่งอาจจะเป็นการชั่วคราว หรือเป็นการถาวรก็ได้ ซึ่งแบ่งย่อยได้ดังนี้
- กลุ่มหุ้นที่อยู่ในช่วงขาลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ธุรกิจหลักของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาลง หรืออาจจะเกิดจากการที่นักลงทุนคาดหวังกับหุ้นตัวนั้นๆไว้สูง แต่ผลตอบแทนกลับไม่เป็นไปตามที่คาด
- กลุ่มหุ้นที่ถูกลืม หรือกลุ่มหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากมีหุ้นจำนวนมากถูกซื้อขายอยู่ในตลาด ทำให้หุ้นบางตัวที่ไม่โดดเด่นอาจถูกลืมไป หรือนักลงทุนอาจหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กเพราะกลัวเรื่องปัญหาสภาพคล่องของตัวหุ้น อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มนี้มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เป็น value investor เพราะในบางครั้ง ราคาของหุ้นในกลุ่มนี้อาจจะต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
- กลุ่มหุ้นที่มีชื่อเสียงไม่ดี ซึ่งอาจจะเกิดจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ ความไม่โปร่งใสของผู้บริหาร การเอาเปรียบผู้บริโภคของบริษัท ขาดความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น
- กลุ่มหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวตามวงรอบ ซึ่งจะมีราคาขึ้นๆลงๆเป็นช่วงๆ โดยในบางวงรอบอาจมีการเคลื่อนไหวของราคามากเกินไป และอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าที่จะเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น
- กลุ่มหุ้นที่มีภาพลักษณ์ผิดไปจากที่คาด โดยหุ้นในกลุ่มนี้อาจจะถูกมองว่าเป็นหุ้นกลุ่มบริษัทดาวรุ่งในบางช่วง เพราะมีข่าว (ลือ) ว่าจะได้งานใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่สร้างผลประกอบการที่ดีในระยะแรกๆ แต่ในระยะต่อมาผลประกอบการอาจย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับหุ้นตัวนั้น
3) The ocean of mitigated images หรือกลุ่มที่มีภาพลักษณ์มั่นคง ได้แก่
- กลุ่มหุ้นบลูชิพ ซึ่งเป็นกลุ่มของหุ้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นผู้นำในธุรกิจด้านต่างๆ มีการบริหารและจัดการที่ดี มีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม ราคาไม่ผันผวนมากนัก และสามารถยืนหยัดในภาวะเศรษฐกิจขาลงได้เป็นอย่างดี หุ้นในกลุ่มนี้ มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่ว่าจะต้องมีอยู่ในพอร์ตการลงทุนตลอดเวลา เพราะโอกาสในการทำกำไรน้อย เนื่องจากราคามักจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ
- กลุ่มหุ้นขนาดกลางที่สามารถต้านทานความผันผวนของเศรษฐกิจได้ โดยหุ้นในกลุ่มนี้มักเป็นที่รู้จักของนักลงทุน และผลประกอบการของบริษัทมักเติบโตไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง บริษัทก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้โดยไม่มีปัญหามากนัก
- กลุ่มหุ้น defensive หรือกลุ่มหุ้นที่มีโครงสร้างของธุรกิจและผลประกอบการที่สามารถต้านทานกระแสของช่วงเศรษฐกิจขาลงได้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะเติบโตในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว
จะเห็นได้ว่า การจัดกลุ่มภาพลักษณ์ของ Greenfinch เป็นการจัดกลุ่มโดยพิจารณาจากความน่าสนใจ และระดับความเสี่ยงเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ภาพลักษณ์ของบริษัทที่ท่านนักลงทุนใช้ในการพิจารณาอาจมีมากกว่านี้ เช่น นักลงทุนบางท่านอาจสนใจในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (เช่น รักษาสิ่งแวดล้อม มอบทุนการศึกษา) นักลงทุนบางท่านอาจจะตัดสินใจลงทุนจากประเภทธุรกิจที่ท่านคิดว่าเป็นธุรกิจหลักของบริษัท (เช่น ลงทุนในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมัน แต่รายได้หลักของบริษัท อาจไม่ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในโลกของการลงทุน ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัยที่ท่านนักลงทุนควรพิจารณา ดังนั้น ท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
จากคอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง บลจ.อยุธยาจำกัด
ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
ที่มา : http://www.ayfunds.com/ArticleDetail.aspx?id=856&lang=T
05/02/2552
ในบางครั้ง เวลาที่ท่านนักลงทุนจะตัดสินใจลงทุน สิ่งหนึ่งที่ท่านนักลงทุนอาจจะใช้ร่วมประกอบการตัดสินใจโดยที่ท่านอาจไม่รู้ตัว ก็คือ ภาพลักษณ์ (image) ของบริษัท เช่น โบรกเกอร์ของท่านอาจจะแนะนำให้ซื้อหุ้นบริษัท A เพราะกำลังจะมีข่าวดี และราคาในปัจจุบันต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน แต่ท่านก็อาจจะปฏิเสธที่จะซื้อ เพราะท่านอาจมองว่าบริษัท A เป็นบริษัทที่มีประวัติเคยขาดทุนเป็นจำนวนมาก และผู้บริหารไม่โปร่งใส หรือท่านอาจจะมองว่าหุ้นของบริษัท A เป็นหุ้นที่น่าเบื่อ ราคาไม่ค่อยขยับไปไหน ซื้อไปก็อาจจะเสียเวลาเปล่า เป็นต้น
ภาพลักษณ์ของบริษัท อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจจะกินเวลานานหลายปีกว่าที่จะเปลี่ยนความคิดนักลงทุนส่วนใหญ่ได้ หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาไม่นาน หากพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือเกิดจากการปรับปรุงภาพลักษณ์ของทางบริษัท
Peter Greenfinch ได้จัดกลุ่มภาพลักษณ์ของหุ้นของบริษัทเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) The sky-high images (glamour stocks) stratosphere หรือ กลุ่มหุ้นที่มีภาพลักษณ์ดีเยี่ยม และมีความน่าสนใจมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย
- กลุ่มที่มีประวัติการเติบโตทางธุรกิจดี และมีชื่อเสียงดี โดยหุ้นที่อยู่ในกลุ่มนี้ มีการเติบโตของผลประกอบการของบริษัทสูง อย่างต่อเนื่องและยาวนาน และสามารถทนต่อความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดี
- กลุ่มบริษัทดาวรุ่ง หรือกลุ่มบริษัทที่กำลังเปล่งประกาย บริษัทเหล่านี้อาจมีผลประกอบการที่ดีในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยอาจเป็นบริษัทที่ turnaround บริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการ รวมถึงบริษัทที่อาจมีผลประกอบการดีอันเนื่องมาจากการตบแต่งบัญชี ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้มีความไม่แน่นอนว่าบริษัทจะสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีต่อไปได้อีกยาวนานเพียงใด โดยราคาของหุ้นในกลุ่มนี้อาจมีการแกว่งตัวแรงๆบ้างในบางครั้ง อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มดาวรุ่งนี้ มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก เพราะมักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้นๆได้
2) The cellar of low images (ill-loved stocks) หรือกลุ่มหุ้นที่ไม่น่าสนใจ หุ้นที่น่าเบื่อ รวมถึงหุ้นอันตราย ซึ่งอาจจะเป็นการชั่วคราว หรือเป็นการถาวรก็ได้ ซึ่งแบ่งย่อยได้ดังนี้
- กลุ่มหุ้นที่อยู่ในช่วงขาลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ธุรกิจหลักของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาลง หรืออาจจะเกิดจากการที่นักลงทุนคาดหวังกับหุ้นตัวนั้นๆไว้สูง แต่ผลตอบแทนกลับไม่เป็นไปตามที่คาด
- กลุ่มหุ้นที่ถูกลืม หรือกลุ่มหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากมีหุ้นจำนวนมากถูกซื้อขายอยู่ในตลาด ทำให้หุ้นบางตัวที่ไม่โดดเด่นอาจถูกลืมไป หรือนักลงทุนอาจหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กเพราะกลัวเรื่องปัญหาสภาพคล่องของตัวหุ้น อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มนี้มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เป็น value investor เพราะในบางครั้ง ราคาของหุ้นในกลุ่มนี้อาจจะต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
- กลุ่มหุ้นที่มีชื่อเสียงไม่ดี ซึ่งอาจจะเกิดจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ ความไม่โปร่งใสของผู้บริหาร การเอาเปรียบผู้บริโภคของบริษัท ขาดความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น
- กลุ่มหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวตามวงรอบ ซึ่งจะมีราคาขึ้นๆลงๆเป็นช่วงๆ โดยในบางวงรอบอาจมีการเคลื่อนไหวของราคามากเกินไป และอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าที่จะเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น
- กลุ่มหุ้นที่มีภาพลักษณ์ผิดไปจากที่คาด โดยหุ้นในกลุ่มนี้อาจจะถูกมองว่าเป็นหุ้นกลุ่มบริษัทดาวรุ่งในบางช่วง เพราะมีข่าว (ลือ) ว่าจะได้งานใหญ่ หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่สร้างผลประกอบการที่ดีในระยะแรกๆ แต่ในระยะต่อมาผลประกอบการอาจย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับหุ้นตัวนั้น
3) The ocean of mitigated images หรือกลุ่มที่มีภาพลักษณ์มั่นคง ได้แก่
- กลุ่มหุ้นบลูชิพ ซึ่งเป็นกลุ่มของหุ้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นผู้นำในธุรกิจด้านต่างๆ มีการบริหารและจัดการที่ดี มีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม ราคาไม่ผันผวนมากนัก และสามารถยืนหยัดในภาวะเศรษฐกิจขาลงได้เป็นอย่างดี หุ้นในกลุ่มนี้ มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่ว่าจะต้องมีอยู่ในพอร์ตการลงทุนตลอดเวลา เพราะโอกาสในการทำกำไรน้อย เนื่องจากราคามักจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ
- กลุ่มหุ้นขนาดกลางที่สามารถต้านทานความผันผวนของเศรษฐกิจได้ โดยหุ้นในกลุ่มนี้มักเป็นที่รู้จักของนักลงทุน และผลประกอบการของบริษัทมักเติบโตไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง บริษัทก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้โดยไม่มีปัญหามากนัก
- กลุ่มหุ้น defensive หรือกลุ่มหุ้นที่มีโครงสร้างของธุรกิจและผลประกอบการที่สามารถต้านทานกระแสของช่วงเศรษฐกิจขาลงได้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะเติบโตในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว
จะเห็นได้ว่า การจัดกลุ่มภาพลักษณ์ของ Greenfinch เป็นการจัดกลุ่มโดยพิจารณาจากความน่าสนใจ และระดับความเสี่ยงเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ภาพลักษณ์ของบริษัทที่ท่านนักลงทุนใช้ในการพิจารณาอาจมีมากกว่านี้ เช่น นักลงทุนบางท่านอาจสนใจในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (เช่น รักษาสิ่งแวดล้อม มอบทุนการศึกษา) นักลงทุนบางท่านอาจจะตัดสินใจลงทุนจากประเภทธุรกิจที่ท่านคิดว่าเป็นธุรกิจหลักของบริษัท (เช่น ลงทุนในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมัน แต่รายได้หลักของบริษัท อาจไม่ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในโลกของการลงทุน ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายปัจจัยที่ท่านนักลงทุนควรพิจารณา ดังนั้น ท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
จากคอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง บลจ.อยุธยาจำกัด
ตีพิมพ์ในนสพ.ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
ที่มา : http://www.ayfunds.com/ArticleDetail.aspx?id=856&lang=T
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1220
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 143
ดูท่าทางพี่ pak จะสนใจน้องซีมากกว่ามั้งครับ อิอิ แซวเล่นครับpak เขียน:พักสายตากับคลิปเรื่อง "Turnaround เชื่อมั๊ย คุณไม่รู้มาก่อน"
เสน่ห์ของหุ้น turn around น่าจะอยู่ตรงไม่ทราบว่าแน่นอนนักของกิจการแต่มีสัญญาณบ่งว่าคงไม่แย่ไปกว่านี้อีกแล้ว
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 146
ตามมาอ่านบทความดีดีของคุณ Pak ครับ
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
- yoyoeffect
- Verified User
- โพสต์: 364
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 147
ไม่ทราบว่าน้องC ใช่คนที่เห็นในรูปpresenter ในbank SCB รึเปล่าครับ
วานผู้ช่วยรู้บอกด้วย เห็นหน้าคล้ายๆกัน
วานผู้ช่วยรู้บอกด้วย เห็นหน้าคล้ายๆกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 148
"ทุกอย่างพร้อมพรัก ขาดแต่ลมบูรพา..."
สุภาษิตบทนี้อุปมาถึง "การประกอบภารกิจใดภารกิจหนึ่ง
องค์ประกอบต่างๆ ได้ตระเตรียมจนพร้อมหมดแล้ว
ยังขาดก็แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด"
ว่าแต่...คุณจะ "อดทนรอคอย" กับสิ่งที่เรียกว่า "ลมบูรพา" ของคุณได้แค่ไหน?
และนี่คืออีกหัวใจสำคัญหนึ่งของ "หุ้น Turnaround" ครับผม
(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 150
บทความ เรื่อง "ความรู้สึกของผมก่อนงบออก และมุมมองต่อการเคลื่อนไหวของราคา"
By pak , 12 พ.ค. 54
หลายคนมักจะพูดกันว่า "เราควรปล่อยให้เงินทำงาน!!!"
ซึ่งอาจจะเป็นความจริงครับ
แต่ผมมองว่า...
ประโยคดังกล่าว มันละเลย "การให้เกียรติซึ่งกันและกัน" ไปซักหน่อยอ่ะนะขอรับ
แท้จริงแล้ว "เงิน" หรือ "บริษัท" ต่างก็เป็นสิ่งไม่มีชีวิต
และไม่สามารถที่จะทำงานด้วยตัวเองได้
ทุกๆ Activity หรือทุกๆกิจกรรมที่เกิดขึ้น ล้วนมาจาก "คน" ทั้งสิ้น!!!
"Human Resource" หรือ "บุคคลากร" คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ความรู้ และประสบการณ์ของ CEO , ผู้บริหาร และพนักงานทุกๆท่าน ถูกหล่อหลอมกันขึ้นมา จนเป็นบริษัทฯ
เราในฐานะของนักลงทุน ผมเองมักจะเปรียบเทียบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ไว้ว่า...
"นักลงทุน" ก็เปรียบเสมือนคนตาบอด และ "CEO หรือผู้บริหาร" ก็เปรียบเสมือน คนที่ลากจูงพาเราเดิน
ดังนั้น ในการลงทุนในบริษัทฯใดบริษัทฯหนึ่ง คุณต้องถามตัวเองให้ชัดๆก่อนว่า...
คุณมั่นใจใน "คนที่จะมาลากจูงและพาคุณเดินไปข้างหน้า" แล้วหรือยัง?
มาถึงเรื่อง "ราคา" และ "ลักษณะการซื้อขาย(แบบรายวัน)"
บอร์ด THAIVI แห่งนี้ เราถือว่าเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง!!!
แต่ก็เป็นเรื่องไม่ผิดครับ ถ้าเราจะหยิบยกกันขึ้นมาคุยกันบ้างพอเป็นกระสาย
สำหรับหุ้นจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
หลายๆส่วนอยู่ร่วมกันมา และก็จะอยู่ร่วมกันไปอย่างนี้ตลอดไป
ทั้งผู้บริหาร, พนักงาน, นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนรายใหญ่(หรือใครจะเรียกว่า "เจ้าฮ่ะ" ก็ตามแต่)
นี่เป็นที่สาธารณะ จึงเป็นสิทธิเสรีในการซื้อขาย และหวังกำไรจากที่แห่งนี้
สำหรับผมแล้ว "การเคลืื่อนไหวของราคาหุ้น" ก็ไม่ต่างอะไรไปจาก "การตัดค่าเสื่อม"
เพราะรายใหญ่...ย่อมมี "เป้าหมายราคา" ในใจ
การตัดค่าเสื่อมเอง ก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น แบบเส้นตรง (Straight Line Method) หรือแบบอัตราเร่ง (Accelerated Method)
การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ก็เช่นกัน
มันไม่มี Pattern ที่แน่นอนและตายตัว เราไม่สามารถรู้หรอกครับว่า เค้าจะใช้วิธีใด?
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "เป้าหมายราคาในใจของเราเอง" ต่างหาก!!!
ไม่ว่าผลประกอบการของ "หุ้น Turnaround" หลายๆตัวที่ผมลงทุนอยู่ จะออกมาเป็นเช่นไร
ผมพร้อมแล้วครับที่จะรับฟังไม่ว่าจะเป็น "ข่าวดี" หรือ "ข่าวร้าย"
เพราะผู้บริหารเหล่านี้ คือ "คนที่ผมเลือกที่จะเชื่อ, เลือกที่จะไว้ใจ และเลือกที่จะให้จูงพาผมเดินไปข้างหน้า"
ในห้วงเวลานี้ คงมีแต่ "กำลังใจ" และ "คำขอบคุณ" ที่ควรจะมอบให้แก่กัน
บทความนี้จะไม่สมบูรณ์ถ้าขาดซึ่ง มุมมองและถ้อยคำดีๆและมีค่าของคนสองคน คือ คุณ chukieat30 และ คุณ thairdwave
นั่นก็คือ...
คุณเท่านั้น!!!...ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ
pak, 12 พ.ค. 54
By pak , 12 พ.ค. 54
หลายคนมักจะพูดกันว่า "เราควรปล่อยให้เงินทำงาน!!!"
ซึ่งอาจจะเป็นความจริงครับ
แต่ผมมองว่า...
ประโยคดังกล่าว มันละเลย "การให้เกียรติซึ่งกันและกัน" ไปซักหน่อยอ่ะนะขอรับ
แท้จริงแล้ว "เงิน" หรือ "บริษัท" ต่างก็เป็นสิ่งไม่มีชีวิต
และไม่สามารถที่จะทำงานด้วยตัวเองได้
ทุกๆ Activity หรือทุกๆกิจกรรมที่เกิดขึ้น ล้วนมาจาก "คน" ทั้งสิ้น!!!
"Human Resource" หรือ "บุคคลากร" คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ความรู้ และประสบการณ์ของ CEO , ผู้บริหาร และพนักงานทุกๆท่าน ถูกหล่อหลอมกันขึ้นมา จนเป็นบริษัทฯ
เราในฐานะของนักลงทุน ผมเองมักจะเปรียบเทียบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ไว้ว่า...
"นักลงทุน" ก็เปรียบเสมือนคนตาบอด และ "CEO หรือผู้บริหาร" ก็เปรียบเสมือน คนที่ลากจูงพาเราเดิน
ดังนั้น ในการลงทุนในบริษัทฯใดบริษัทฯหนึ่ง คุณต้องถามตัวเองให้ชัดๆก่อนว่า...
คุณมั่นใจใน "คนที่จะมาลากจูงและพาคุณเดินไปข้างหน้า" แล้วหรือยัง?
มาถึงเรื่อง "ราคา" และ "ลักษณะการซื้อขาย(แบบรายวัน)"
บอร์ด THAIVI แห่งนี้ เราถือว่าเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง!!!
แต่ก็เป็นเรื่องไม่ผิดครับ ถ้าเราจะหยิบยกกันขึ้นมาคุยกันบ้างพอเป็นกระสาย
สำหรับหุ้นจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
หลายๆส่วนอยู่ร่วมกันมา และก็จะอยู่ร่วมกันไปอย่างนี้ตลอดไป
ทั้งผู้บริหาร, พนักงาน, นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนรายใหญ่(หรือใครจะเรียกว่า "เจ้าฮ่ะ" ก็ตามแต่)
นี่เป็นที่สาธารณะ จึงเป็นสิทธิเสรีในการซื้อขาย และหวังกำไรจากที่แห่งนี้
สำหรับผมแล้ว "การเคลืื่อนไหวของราคาหุ้น" ก็ไม่ต่างอะไรไปจาก "การตัดค่าเสื่อม"
เพราะรายใหญ่...ย่อมมี "เป้าหมายราคา" ในใจ
การตัดค่าเสื่อมเอง ก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น แบบเส้นตรง (Straight Line Method) หรือแบบอัตราเร่ง (Accelerated Method)
การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ก็เช่นกัน
มันไม่มี Pattern ที่แน่นอนและตายตัว เราไม่สามารถรู้หรอกครับว่า เค้าจะใช้วิธีใด?
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "เป้าหมายราคาในใจของเราเอง" ต่างหาก!!!
ไม่ว่าผลประกอบการของ "หุ้น Turnaround" หลายๆตัวที่ผมลงทุนอยู่ จะออกมาเป็นเช่นไร
ผมพร้อมแล้วครับที่จะรับฟังไม่ว่าจะเป็น "ข่าวดี" หรือ "ข่าวร้าย"
เพราะผู้บริหารเหล่านี้ คือ "คนที่ผมเลือกที่จะเชื่อ, เลือกที่จะไว้ใจ และเลือกที่จะให้จูงพาผมเดินไปข้างหน้า"
ในห้วงเวลานี้ คงมีแต่ "กำลังใจ" และ "คำขอบคุณ" ที่ควรจะมอบให้แก่กัน
บทความนี้จะไม่สมบูรณ์ถ้าขาดซึ่ง มุมมองและถ้อยคำดีๆและมีค่าของคนสองคน คือ คุณ chukieat30 และ คุณ thairdwave
นั่นก็คือ...
chukieat30 เขียน:ของที่หมดคุณค่า กับของที่ยังไม่แสดงคุณค่า
คุณจะเลือกของชิ้นไหน สำหรับผมถ้ากิจการใดๆ ที่มันแสดงคุณค่าออกมาถึงที่สุดแล้ว
ผม ขาย เพราะสำหรับผม มันจะไร้คุณค่าในอนาคต
อยากให้หลายๆท่านมองที่เนื้อแท้ของกิจการหลัก อย่ามองว่ามีเจ้ามือ เจ้าที่อย่างเดียว
ราคาไปไหนไม่ได้ ถ้าเราไม่ไปไล่ซื้อมัน
ถ้าเราเป็นนักลงทุนคุณค่า เราต้องมองออกว่า กิจการที่ซื้อไว้ ถูกหรือแพง ในอนาคต
และคงไม่มีคำสรุปจบบทความที่ดีไปกว่าคำพูดของคุณ thirdwave ที่กล่าวไว้อย่างน่าฟังมากๆว่า...chukieat30 เขียน:ยามคนอื่นเห็นว่าดี ให้ถือ ยามคนอื่นเห็นว่าดีมาก ให้ขาย
"ตลาดเพิ่งจะตีห้า หรือตลาดกำลังจะวาย"thirdwave เขียน:รถไฟทุกขบวนก็ต่างวิ่งบนรางของมัน ผู้คนก็ขึ้นลงชานชลาที่เป็นเป้าหมายของตน มันเป็นอย่างนี้มานานแล้วครับ และจะยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป ไม่ว่ารถไฟขบวนนี้จะมีคุณ หรือไม่ก็ตาม...
คุณเท่านั้น!!!...ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ
pak, 12 พ.ค. 54
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."