เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 พฤษภาคม 54
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การเลือกตั้งที่กำลังมาถึงในเร็ว ๆ นี้ เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนของคนจำนวนไม่น้อย เพราะรัฐบาลที่จะตามมานั้น ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร เข้ามาแล้วจะมีนโยบายอย่างไรชัดเจนแม้ว่าจะมีการประกาศนโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองออกมาแล้ว นอกจากเรื่องของนโยบายแล้ว แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองของแต่ละพรรคก็เป็นประเด็นสำคัญไม่น้อยกว่าหรือน่าจะพูดว่าสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของนโยบายที่เขียนไว้ เพราะแนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองนั้น มักจะเป็นตัวกำหนดว่า พรรคนั้นจะทำอย่างไรหรือตัดสินใจอย่างไรต่อแนวทางในการบริหารประเทศโดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ จะเอื้อหรือขัดขวางการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองหลัก ๆ ที่ผมคิดว่าสามารถอธิบายได้ชัดเจนในโลกนี้น่าจะแบ่งได้เป็นสองค่ายหรือสองกลุ่มนั่นก็คือ ฝ่ายที่เรียกว่า “ทุนนิยม” กับฝ่าย “สังคมนิยม” แต่นี่ก็เป็นเพียงเรื่องของแนวความคิดทางเศรษฐกิจที่สองฝ่ายมีความเห็นไม่เหมือนกันหรือตรงกันข้าม ที่จริงยังมีเรื่องหรือประเด็นอื่น ๆ อีกมากที่แต่ละฝ่ายมองไม่เหมือนกันและดังนั้นเวลาแบ่งค่ายจึงมีการใช้คำที่ครอบคลุมความหมายที่กว้างกว่าโดยเรียกว่าเป็น ฝ่าย “ขวา” กับฝ่าย “ซ้าย” โดยที่ฝ่ายขวานั้นเชื่อในระบอบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมและฝ่ายซ้ายเน้นที่สังคมนิยม
ถ้าจะให้มองภาพที่ชัดเจนว่าฝ่ายขวาคิดอย่างไรและฝ่ายซ้ายคิดอย่างไรในประเด็นเรื่องต่าง ๆ นั้น ผมคิดว่าถ้ามองในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นประเทศคงมองได้ไม่ชัดเจนนัก เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงหลัง ๆ การแตกแยกหรือแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น “เบลอ” มากขึ้นทุกที หาประเทศที่เป็นขวา “ตกขอบ” หรือซ้าย “สุดโต่ง” ได้ยาก ประเทศที่เคยเป็นสังคมนิยมหลายแห่งก็ “กอดรัด” ทุนนิยมเข้าไปเต็มที่ ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนเป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่เคยเป็นทุนนิยมจัด ๆ เช่นในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมากก็หันมาเน้นนโยบายแบบสังคมนิยมมาก ๆ กลายเป็น “รัฐสวัสดิการ” ไปเลยก็มี ดังนั้น เพื่อที่จะอธิบายความคิดแบบซ้าย-ขวาให้เห็นภาพได้ชัดเจน ผมจึงอยากที่จะใช้ตัวอย่างของสองประเทศในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เหตุผลก็คือ นั่นเป็นช่วงเวลาที่อุดมการณ์ทางการเมืองกำลังมาแรงเป็นกระแสระดับโลกที่ “เชี่ยวกราก” สองประเทศที่ว่าก็คือ เยอรมัน ตัวแทนของฝ่ายขวา กับ สหภาพโซเวียตรัสเซีย ตัวแทนของฝ่ายซ้าย
ความคิดแบบขวานั้น ประเด็นแรกก็คือ มองว่าคนเรานั้น ไม่เท่าเทียมกัน มีคนที่เหนือกว่าคนอื่นในสังคม คนที่เหนือกว่าก็ควรต้องมีสิทธิมีเสียงมากกว่า เป็นผู้นำ เป็นผู้ที่จะกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนที่ด้อยกว่าทำตาม พูดง่าย ๆ คนที่ปกครองต้องเป็นคนที่เหนือกว่าหรือดีกว่า นั่นคือสิ่งที่ฮิตเลอร์คิดและทำ เขาคิดว่าคนเยอรมันหรือพูดให้ถูกต้องก็คือคนเชื้อชาติ “อารยัน” นั้นเป็นคนที่เหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะคนรัสเซียที่เป็นชนเผ่า “สลาฟ” และดังนั้น เยอรมันจะต้องปกครองรัสเซียและประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะที่เป็นพวกสลาฟ ฮิตเลอร์ยังคิดว่าพวกยิวนั้นเป็นชนชาติที่ด้อยและเลวร้ายจะต้องกำจัดให้หมดไป ดังนั้น เขาจึงสังหารคนยิวนับล้าน ๆ คน ส่วนความคิดแบบซ้ายสุดนั้นมองว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น ดังนั้น จึงต้องกำจัดชนชั้นให้หมดไปโดยเฉพาะนายทุนที่ “กดขี่ขูดรีด” ชน “ผู้ใช้แรงงาน” ที่เป็นกลุ่มชนชั้นล่างของสังคม
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นความเป็น “ชาตินิยม” เรื่องของดินแดนหรืออาณาเขตประเทศเป็นสิ่งที่ต้องรักษาและถ้าเป็นไปได้ต้องขยายออกไปให้ยิ่งใหญ่ การได้อาณาเขตเพิ่มเติมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความมั่นคงยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง นั่นทำให้ฮิตเลอร์ยกทัพเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านและรัสเซีย ตรงกันข้าม ฝ่ายซ้ายนั้นไม่เน้นความเป็นชาตินิยมแต่เน้นความเป็นสากล พวกเขาเชื่อว่าโลกหรือคนนั้นไม่ได้แบ่งกันที่อาณาเขตของประเทศ แต่แบ่งที่ว่าคุณเป็นคนชั้นไหน “ผู้กดขี่” หรือผู้ที่ “ถูกกดขี่” สำหรับพวกเขาแล้ว เขาเน้นการ “ส่งออก” ความคิดแบบ “ปฏิวัติ” และสนับสนุนให้คนที่ถูกกดขี่โดยเฉพาะกรรมกรและชาวนาต่อสู้เพื่อสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นในประเทศของตนเอง ไอดอลของฝ่ายซ้ายอย่าง เช กูวารา นั้น เขาไปช่วยรบกับฝ่ายซ้ายในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะในละตินอเมริกา
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นการเป็น “วีรบุรุษ” พวกเขาจะเชิดชูผู้นำที่โดดเด่น ฮิตเลอร์ใช้สื่อทุกชนิดและกลุ่มคนต่าง ๆ รวมถึงเยาวชนในการสร้างให้ตนเองเป็นวีรบุรุษและผู้นำของเยอรมัน ฝ่ายซ้ายนั้นมักเน้นการปกครองหรือการนำเป็นกลุ่ม หรือก็คือกลุ่มผู้นำของพรรคการเมืองเช่นพรรคคอมมิวนิสต์
การเป็นขวาจัดของเยอรมัน นั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือคนเยอรมันอยากจะเป็น สถานการณ์มักจะเป็นตัวกำหนด นั่นก็คือ เยอรมันเองถูกบีบจากสันนิบาตชาติหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้และทำให้ต้องถูกยึดครองดินแดนและเสียค่าปฏิกรณ์สงครามรวมถึงต้องเสียศักดิ์ศรีในอีกหลาย ๆ เรื่อง ดังนั้น อุดมการณ์ขวาจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและแรง รัสเซียเองนั้นกลายเป็นประเทศซ้ายจัดก็เกิดจากสถานการณ์ในประเทศเช่นเดียวกันแต่เป็นเรื่องของปากท้องและความเป็นธรรมที่คนรัสเซียต้องประสบซึ่งอาจจะรวมถึงการ “กดขี่” ของผู้ปกครองจากระบอบการปกครองของซาร์ที่ไม่ยอมผ่อนตามความต้องการของคนโดยเฉพาะกรรมกรในเมือง ดังนั้น เมื่อเกิดการปฏิวัติประชาชน ระบอบการปกครองหลังจากนั้นจึงเป็นซ้ายจัด ซึ่งแน่นอน ต้องกลายเป็นระบอบเผด็จการเช่นเดียวกับเยอรมันที่ก็ต้องเป็นเผด็จการไม่น้อยไปกว่ากัน
การเมืองไทยเองนั้น ความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ขวา-ซ้าย ผมคิดว่ามีมาหลายสิบปีตั้งแต่สมัยที่จีนเป็นประเทศสังคมนิยมใหม่ ๆ และ “ส่งออก” แนวความคิดมาที่ประเทศไทยผ่านพรรคคอมมูนิสต์ไทย แต่แนวความคิดแบบ ซ้าย-ขวา ที่มีการเผยแพร่และแสดงออกอย่างกว้างขวางนั้นน่าจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ที่นักศึกษาเป็น “หัวหอก” ในการเสนอแนวความคิดนี้ และเมื่อความคิดแบบซ้ายเปิดตัวออกมา โดยธรรมชาติ ความคิดแบบขวาก็ออกมาตอบโต้ สุดท้ายอย่างที่เราทราบกัน ประกอบกับเหตุผลทางสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมระดับโลกที่เริ่มไม่เน้นในเรื่องของอุดมการณ์แต่สนใจเรื่องการ “ทำมาหากิน” มากกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนไทยก็ “เลือน” หายไป การเมืองไทยหลังจากนั้นก็เดินไป “ทางสายกลาง” เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก
ผมไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลใดแน่ชัด อาจจะเป็นเรื่องของ “อุบัติเหตุทางการเมือง” การเมืองไทยกลับเข้าไปอยู่ใน “ความขัดแย้ง” ที่อาจจะมีกลิ่นอายของการเป็น ขวา-ซ้าย อีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในยุคนี้จะไม่มีใครเรียกแบบนั้น ความแตกต่างในครั้งนี้ก็คือ จำนวนคนที่เกี่ยวข้องดูเหมือนจะมากกว่าอดีตมาก อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ทางการเมืองดูเหมือนจะไม่สุดโต่งเท่า ว่าที่จริง อาจจะไม่มีแนวคิดอะไรที่จะเป็นเรื่องในระดับที่เรียกว่า “ปฏิวัติ” อะไรเลย ผมก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะไม่เลยเถิดจนคุกคามชีวิตและการลงทุนของนักลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าลึก ๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า การเมืองไทยในช่วงนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการลงทุนที่ต้องจับตามอง เป็นความเสี่ยงที่ว่า การเมืองอาจจะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งทั้ง ๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การเลือกตั้งที่กำลังมาถึงในเร็ว ๆ นี้ เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนของคนจำนวนไม่น้อย เพราะรัฐบาลที่จะตามมานั้น ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร เข้ามาแล้วจะมีนโยบายอย่างไรชัดเจนแม้ว่าจะมีการประกาศนโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองออกมาแล้ว นอกจากเรื่องของนโยบายแล้ว แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองของแต่ละพรรคก็เป็นประเด็นสำคัญไม่น้อยกว่าหรือน่าจะพูดว่าสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของนโยบายที่เขียนไว้ เพราะแนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองนั้น มักจะเป็นตัวกำหนดว่า พรรคนั้นจะทำอย่างไรหรือตัดสินใจอย่างไรต่อแนวทางในการบริหารประเทศโดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ จะเอื้อหรือขัดขวางการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองหลัก ๆ ที่ผมคิดว่าสามารถอธิบายได้ชัดเจนในโลกนี้น่าจะแบ่งได้เป็นสองค่ายหรือสองกลุ่มนั่นก็คือ ฝ่ายที่เรียกว่า “ทุนนิยม” กับฝ่าย “สังคมนิยม” แต่นี่ก็เป็นเพียงเรื่องของแนวความคิดทางเศรษฐกิจที่สองฝ่ายมีความเห็นไม่เหมือนกันหรือตรงกันข้าม ที่จริงยังมีเรื่องหรือประเด็นอื่น ๆ อีกมากที่แต่ละฝ่ายมองไม่เหมือนกันและดังนั้นเวลาแบ่งค่ายจึงมีการใช้คำที่ครอบคลุมความหมายที่กว้างกว่าโดยเรียกว่าเป็น ฝ่าย “ขวา” กับฝ่าย “ซ้าย” โดยที่ฝ่ายขวานั้นเชื่อในระบอบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมและฝ่ายซ้ายเน้นที่สังคมนิยม
ถ้าจะให้มองภาพที่ชัดเจนว่าฝ่ายขวาคิดอย่างไรและฝ่ายซ้ายคิดอย่างไรในประเด็นเรื่องต่าง ๆ นั้น ผมคิดว่าถ้ามองในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นประเทศคงมองได้ไม่ชัดเจนนัก เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงหลัง ๆ การแตกแยกหรือแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น “เบลอ” มากขึ้นทุกที หาประเทศที่เป็นขวา “ตกขอบ” หรือซ้าย “สุดโต่ง” ได้ยาก ประเทศที่เคยเป็นสังคมนิยมหลายแห่งก็ “กอดรัด” ทุนนิยมเข้าไปเต็มที่ ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนเป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่เคยเป็นทุนนิยมจัด ๆ เช่นในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมากก็หันมาเน้นนโยบายแบบสังคมนิยมมาก ๆ กลายเป็น “รัฐสวัสดิการ” ไปเลยก็มี ดังนั้น เพื่อที่จะอธิบายความคิดแบบซ้าย-ขวาให้เห็นภาพได้ชัดเจน ผมจึงอยากที่จะใช้ตัวอย่างของสองประเทศในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เหตุผลก็คือ นั่นเป็นช่วงเวลาที่อุดมการณ์ทางการเมืองกำลังมาแรงเป็นกระแสระดับโลกที่ “เชี่ยวกราก” สองประเทศที่ว่าก็คือ เยอรมัน ตัวแทนของฝ่ายขวา กับ สหภาพโซเวียตรัสเซีย ตัวแทนของฝ่ายซ้าย
ความคิดแบบขวานั้น ประเด็นแรกก็คือ มองว่าคนเรานั้น ไม่เท่าเทียมกัน มีคนที่เหนือกว่าคนอื่นในสังคม คนที่เหนือกว่าก็ควรต้องมีสิทธิมีเสียงมากกว่า เป็นผู้นำ เป็นผู้ที่จะกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนที่ด้อยกว่าทำตาม พูดง่าย ๆ คนที่ปกครองต้องเป็นคนที่เหนือกว่าหรือดีกว่า นั่นคือสิ่งที่ฮิตเลอร์คิดและทำ เขาคิดว่าคนเยอรมันหรือพูดให้ถูกต้องก็คือคนเชื้อชาติ “อารยัน” นั้นเป็นคนที่เหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะคนรัสเซียที่เป็นชนเผ่า “สลาฟ” และดังนั้น เยอรมันจะต้องปกครองรัสเซียและประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะที่เป็นพวกสลาฟ ฮิตเลอร์ยังคิดว่าพวกยิวนั้นเป็นชนชาติที่ด้อยและเลวร้ายจะต้องกำจัดให้หมดไป ดังนั้น เขาจึงสังหารคนยิวนับล้าน ๆ คน ส่วนความคิดแบบซ้ายสุดนั้นมองว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น ดังนั้น จึงต้องกำจัดชนชั้นให้หมดไปโดยเฉพาะนายทุนที่ “กดขี่ขูดรีด” ชน “ผู้ใช้แรงงาน” ที่เป็นกลุ่มชนชั้นล่างของสังคม
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นความเป็น “ชาตินิยม” เรื่องของดินแดนหรืออาณาเขตประเทศเป็นสิ่งที่ต้องรักษาและถ้าเป็นไปได้ต้องขยายออกไปให้ยิ่งใหญ่ การได้อาณาเขตเพิ่มเติมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความมั่นคงยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง นั่นทำให้ฮิตเลอร์ยกทัพเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านและรัสเซีย ตรงกันข้าม ฝ่ายซ้ายนั้นไม่เน้นความเป็นชาตินิยมแต่เน้นความเป็นสากล พวกเขาเชื่อว่าโลกหรือคนนั้นไม่ได้แบ่งกันที่อาณาเขตของประเทศ แต่แบ่งที่ว่าคุณเป็นคนชั้นไหน “ผู้กดขี่” หรือผู้ที่ “ถูกกดขี่” สำหรับพวกเขาแล้ว เขาเน้นการ “ส่งออก” ความคิดแบบ “ปฏิวัติ” และสนับสนุนให้คนที่ถูกกดขี่โดยเฉพาะกรรมกรและชาวนาต่อสู้เพื่อสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นในประเทศของตนเอง ไอดอลของฝ่ายซ้ายอย่าง เช กูวารา นั้น เขาไปช่วยรบกับฝ่ายซ้ายในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะในละตินอเมริกา
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นการเป็น “วีรบุรุษ” พวกเขาจะเชิดชูผู้นำที่โดดเด่น ฮิตเลอร์ใช้สื่อทุกชนิดและกลุ่มคนต่าง ๆ รวมถึงเยาวชนในการสร้างให้ตนเองเป็นวีรบุรุษและผู้นำของเยอรมัน ฝ่ายซ้ายนั้นมักเน้นการปกครองหรือการนำเป็นกลุ่ม หรือก็คือกลุ่มผู้นำของพรรคการเมืองเช่นพรรคคอมมิวนิสต์
การเป็นขวาจัดของเยอรมัน นั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือคนเยอรมันอยากจะเป็น สถานการณ์มักจะเป็นตัวกำหนด นั่นก็คือ เยอรมันเองถูกบีบจากสันนิบาตชาติหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้และทำให้ต้องถูกยึดครองดินแดนและเสียค่าปฏิกรณ์สงครามรวมถึงต้องเสียศักดิ์ศรีในอีกหลาย ๆ เรื่อง ดังนั้น อุดมการณ์ขวาจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและแรง รัสเซียเองนั้นกลายเป็นประเทศซ้ายจัดก็เกิดจากสถานการณ์ในประเทศเช่นเดียวกันแต่เป็นเรื่องของปากท้องและความเป็นธรรมที่คนรัสเซียต้องประสบซึ่งอาจจะรวมถึงการ “กดขี่” ของผู้ปกครองจากระบอบการปกครองของซาร์ที่ไม่ยอมผ่อนตามความต้องการของคนโดยเฉพาะกรรมกรในเมือง ดังนั้น เมื่อเกิดการปฏิวัติประชาชน ระบอบการปกครองหลังจากนั้นจึงเป็นซ้ายจัด ซึ่งแน่นอน ต้องกลายเป็นระบอบเผด็จการเช่นเดียวกับเยอรมันที่ก็ต้องเป็นเผด็จการไม่น้อยไปกว่ากัน
การเมืองไทยเองนั้น ความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ขวา-ซ้าย ผมคิดว่ามีมาหลายสิบปีตั้งแต่สมัยที่จีนเป็นประเทศสังคมนิยมใหม่ ๆ และ “ส่งออก” แนวความคิดมาที่ประเทศไทยผ่านพรรคคอมมูนิสต์ไทย แต่แนวความคิดแบบ ซ้าย-ขวา ที่มีการเผยแพร่และแสดงออกอย่างกว้างขวางนั้นน่าจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ที่นักศึกษาเป็น “หัวหอก” ในการเสนอแนวความคิดนี้ และเมื่อความคิดแบบซ้ายเปิดตัวออกมา โดยธรรมชาติ ความคิดแบบขวาก็ออกมาตอบโต้ สุดท้ายอย่างที่เราทราบกัน ประกอบกับเหตุผลทางสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมระดับโลกที่เริ่มไม่เน้นในเรื่องของอุดมการณ์แต่สนใจเรื่องการ “ทำมาหากิน” มากกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนไทยก็ “เลือน” หายไป การเมืองไทยหลังจากนั้นก็เดินไป “ทางสายกลาง” เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก
ผมไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลใดแน่ชัด อาจจะเป็นเรื่องของ “อุบัติเหตุทางการเมือง” การเมืองไทยกลับเข้าไปอยู่ใน “ความขัดแย้ง” ที่อาจจะมีกลิ่นอายของการเป็น ขวา-ซ้าย อีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในยุคนี้จะไม่มีใครเรียกแบบนั้น ความแตกต่างในครั้งนี้ก็คือ จำนวนคนที่เกี่ยวข้องดูเหมือนจะมากกว่าอดีตมาก อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ทางการเมืองดูเหมือนจะไม่สุดโต่งเท่า ว่าที่จริง อาจจะไม่มีแนวคิดอะไรที่จะเป็นเรื่องในระดับที่เรียกว่า “ปฏิวัติ” อะไรเลย ผมก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะไม่เลยเถิดจนคุกคามชีวิตและการลงทุนของนักลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าลึก ๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า การเมืองไทยในช่วงนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการลงทุนที่ต้องจับตามอง เป็นความเสี่ยงที่ว่า การเมืองอาจจะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งทั้ง ๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ผมมีหุ้นบางตัวที่เกี่ยวกับการเมืองเสียด้วย รอลุ้นต่อไป สู้ๆนะ น้าแอ็ด แต่เกลียดตัวกินไข่จัง
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
PE THAILAND ถูก discount มาตลอดเพราะการเมืองไม่นิ่ง
เมื่อไหรหนอ ประเทศเราจะมีภาคการเมืองที่เข้มแข็ง และมีสเถียรภาพทางการเมืองแบบประเทศที่พัฒนาแล้วเสียที
เมื่อไหรหนอ ประเทศเราจะมีภาคการเมืองที่เข้มแข็ง และมีสเถียรภาพทางการเมืองแบบประเทศที่พัฒนาแล้วเสียที
- shadow_attack
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ส่วนตัวผมมองว่า
1. คุณภาพนักการเมืองตอนนี้ถือว่าสอดคล้องกับคุณภาพคนไทยโดยเฉลี่ย เอาง่ายๆคือปัญหานักการเมืองโกงเนี่ย ผมดูๆแล้วคุณภาพประชากรระดับนี้ก็เลือกผู้แทนออกมาได้คุณภาพแค่นี้แหละ แต่ปัญหาผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาลแบบนี้ก็ต้องปล่อยให้ผู้ถือหุ้นเขา self learning กันเอง อาจจะนานหน่อยแต่ระยะยาวแล้วคงไม่มีใครอยากขาดทุน
2. ความขัดแย้งครั้งนี้มีแนวคิดระดับ "ปฏิวัติ" เกิดขึ้นมาอย่างหนึ่ง จริงๆแนวคิดนี้หายไปหลายสิบปีแล้วแต่เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องปล่อยให้ "อารมณ์" อยู่เหนือ "เหตุผล" ไปชั่ววูบทำให้มันถูกจุดติดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรื่องนี้ผมบอกได้อย่างเดียวว่าใครทำอะไรไว้ก็ไปแก้กันเอาเอง ผมยังไงก็ได้
1. คุณภาพนักการเมืองตอนนี้ถือว่าสอดคล้องกับคุณภาพคนไทยโดยเฉลี่ย เอาง่ายๆคือปัญหานักการเมืองโกงเนี่ย ผมดูๆแล้วคุณภาพประชากรระดับนี้ก็เลือกผู้แทนออกมาได้คุณภาพแค่นี้แหละ แต่ปัญหาผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาลแบบนี้ก็ต้องปล่อยให้ผู้ถือหุ้นเขา self learning กันเอง อาจจะนานหน่อยแต่ระยะยาวแล้วคงไม่มีใครอยากขาดทุน
2. ความขัดแย้งครั้งนี้มีแนวคิดระดับ "ปฏิวัติ" เกิดขึ้นมาอย่างหนึ่ง จริงๆแนวคิดนี้หายไปหลายสิบปีแล้วแต่เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องปล่อยให้ "อารมณ์" อยู่เหนือ "เหตุผล" ไปชั่ววูบทำให้มันถูกจุดติดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเรื่องนี้ผมบอกได้อย่างเดียวว่าใครทำอะไรไว้ก็ไปแก้กันเอาเอง ผมยังไงก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ขอดูแลครอบครัวให้ดีพอครับ ปัญญาผมน้อย
Read Read Read
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับคำว่า คุณภาพนักการเมือง ก็เปรียบเหมือน คุณภาพคนไทย ยิ่งปัจจุบันมีการใช้การตลาด การโฆษณา การใช้ความเท็จมาบิดเบือนข้อเท็จจริง เอาผลมาเป็นเหตุ ยิ่งทำให้ การเมืองบ้านเราจึงปัญหา
หลายประเทศ คนเขาเลือก เอาคนที่คิดว่าเป็นคนดีที่สุด เก่งที่สุด เพื่อมาเป็นผู้นำ แต่บ้านเรา เชื่อหรือไม่ครับ ว่าเราต้องเลือก คนที่แย่น้อยกว่า มาเป็นผู้นำ
หลายประเทศ เอาเป็นเอาตายกับ การทำผิดกฏหมายของเหล่าผู้บริหารฯ แต่ประเทศเรา เต็มใจรับเรื่องการทำผิดกฏหมายของเหล่าผู้บริหารฯ(อ้างได้หน้าตาเฉยเลยครับ โกงบ้างดีกว่าไม่ทำงาน)
ผมว่า คนไทยนิสัยที่ไม่ดีมากที่สุด คือยอมรับเรื่องที่ผิดให้เป็นเรื่องที่ถูก เพียงแค่ความชอบ แยกไม่ออกระหว่างข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของคน(สิ่งที่เป็นการจินตนการของคนเหล่านั้น)
เชื่อไหมครับ ผมชอบที่นายกฯยุบสภา เพราะผมก็อยากเห็นว่าคนไทยในปัจจุบันอยากจะเลือกอนาคตของประเทศอย่างไรจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะถ้าเราไม่คิดถึงเรื่องอดีต ที่ก่อให้เกิดปัจจุบัน และจะเป็นแบบอย่างต่อไปของอนาคต เลือกที่จะฟัง เลือกที่จะชอบ โดยไม่คิดถึงข้อเท็จจริง (ไม่ใช่เรื่องที่จินตนาการจากการฟังคนอื่น เช่น ในห้องค้า ที่ผมสัมผัส ตอนหุ้นขึ้นก็จินตนาการว่า กรณ์ปั่น พอหุ้นลงก็จินตนาการว่า กรณ์ทุบ พอsusco ขึ้นก็บอกว่า ปั่นเพื่อใช้เลือกตั้ง พอsusco ลงก็บอกว่า กำลังจะโดนตรวจสอบ ข้อเท็จจริงคือ หุ้นขึ้นหุ้นลง หุ้น susco ขึ้น หุ้น susco ลง แต่เหตุผลที่ใช้ประกอบข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจินตนการของคนพูดทั้งสิ้น เชื่อไหมครับ คนเราแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริงกับอะไรเป็นจินตนการ พยักหน้าจนเหมือนกับทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง--)
ผมว่า หลายคนก็ต้องทำใจกับอนาคตที่จะต้องเกิดกับตัวเอง และครอบครัวของเขา เมื่อเขาตัดสินใจเลือกนักการเมืองจากจินตนาการ มากกว่าข้อเท็จจริง และอาจเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งสำหรับอนาคตของประเทศนี้ครับ
หลายประเทศ คนเขาเลือก เอาคนที่คิดว่าเป็นคนดีที่สุด เก่งที่สุด เพื่อมาเป็นผู้นำ แต่บ้านเรา เชื่อหรือไม่ครับ ว่าเราต้องเลือก คนที่แย่น้อยกว่า มาเป็นผู้นำ
หลายประเทศ เอาเป็นเอาตายกับ การทำผิดกฏหมายของเหล่าผู้บริหารฯ แต่ประเทศเรา เต็มใจรับเรื่องการทำผิดกฏหมายของเหล่าผู้บริหารฯ(อ้างได้หน้าตาเฉยเลยครับ โกงบ้างดีกว่าไม่ทำงาน)
ผมว่า คนไทยนิสัยที่ไม่ดีมากที่สุด คือยอมรับเรื่องที่ผิดให้เป็นเรื่องที่ถูก เพียงแค่ความชอบ แยกไม่ออกระหว่างข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของคน(สิ่งที่เป็นการจินตนการของคนเหล่านั้น)
เชื่อไหมครับ ผมชอบที่นายกฯยุบสภา เพราะผมก็อยากเห็นว่าคนไทยในปัจจุบันอยากจะเลือกอนาคตของประเทศอย่างไรจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะถ้าเราไม่คิดถึงเรื่องอดีต ที่ก่อให้เกิดปัจจุบัน และจะเป็นแบบอย่างต่อไปของอนาคต เลือกที่จะฟัง เลือกที่จะชอบ โดยไม่คิดถึงข้อเท็จจริง (ไม่ใช่เรื่องที่จินตนาการจากการฟังคนอื่น เช่น ในห้องค้า ที่ผมสัมผัส ตอนหุ้นขึ้นก็จินตนาการว่า กรณ์ปั่น พอหุ้นลงก็จินตนาการว่า กรณ์ทุบ พอsusco ขึ้นก็บอกว่า ปั่นเพื่อใช้เลือกตั้ง พอsusco ลงก็บอกว่า กำลังจะโดนตรวจสอบ ข้อเท็จจริงคือ หุ้นขึ้นหุ้นลง หุ้น susco ขึ้น หุ้น susco ลง แต่เหตุผลที่ใช้ประกอบข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจินตนการของคนพูดทั้งสิ้น เชื่อไหมครับ คนเราแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริงกับอะไรเป็นจินตนการ พยักหน้าจนเหมือนกับทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริง--)
ผมว่า หลายคนก็ต้องทำใจกับอนาคตที่จะต้องเกิดกับตัวเอง และครอบครัวของเขา เมื่อเขาตัดสินใจเลือกนักการเมืองจากจินตนาการ มากกว่าข้อเท็จจริง และอาจเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งสำหรับอนาคตของประเทศนี้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
สำหรับผม การเมืองไทยจะเสื่อมขึ้นเรื่อยๆ
คนมีอำนาจจะทำได้ทุกอย่าง
คนไทยส่วนมากและสื่อจะไม่สนใจถือว่าธุระไม่ใช่
ข้าราชการไทยทุกตำแหน่งจะใช้แต่เส้นสายพวกใครพวกมัน
ความยุติธรรมจะหมดไป ซึ่งคือหายนะของประเทศ
ตำรวจและอัยการที่เป็นต้นธารของความยุติธรรม
มีแต่เส้นสายไม่มีความยุติธรรมให้สังคม
พวกของนัการเมืองที่มีอำนาจเท่านั้นที่เจริญก้าวหน้า
เมื่อประชาชนมีปัญหาสิ่งที่ต้องทำคือวิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจ
ใครไม่มีเส้นสายก็จะถูกความอยุติธรรมเล่นงาน
คนมีอำนาจจะทำได้ทุกอย่าง
คนไทยส่วนมากและสื่อจะไม่สนใจถือว่าธุระไม่ใช่
ข้าราชการไทยทุกตำแหน่งจะใช้แต่เส้นสายพวกใครพวกมัน
ความยุติธรรมจะหมดไป ซึ่งคือหายนะของประเทศ
ตำรวจและอัยการที่เป็นต้นธารของความยุติธรรม
มีแต่เส้นสายไม่มีความยุติธรรมให้สังคม
พวกของนัการเมืองที่มีอำนาจเท่านั้นที่เจริญก้าวหน้า
เมื่อประชาชนมีปัญหาสิ่งที่ต้องทำคือวิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจ
ใครไม่มีเส้นสายก็จะถูกความอยุติธรรมเล่นงาน
Blueplanet
- สิบพัน
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้ได้แต่ติว่าคนโน้นไม่ดียังไง คนนี้ไม่ดียังไง แต่ก็ไม่มีขอเสนอแนะว่าจะแก้ไขหรือหาวิธีทำให้ดีขึ้นอย่างจริงจังอย่างไร ความเหลื่มล้ำของรายได้ที่นับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ "คนมี" ก็มีโอกาสในการมีเพิ่ม ส่วน "คนไม่มี" ก็ไม่มีโอกาสอยู่อย่างนั้น ที่สำคัญคือไม่มีความรู้ในการหาโอกาสให้กับตัวเอง ทั้งหมดคงทำให้ประเทศเราเดินไปข้างหน้ายากขึ้น นี่คงเป็นการมองโลกในแง่ไม่ค่อยดีนัก
แต่ถ้าเราพยายามคิดดีเข้าไว้ ซักวันมันต้องดีขึ้น ขอแค่พวกเราทุกคนช่วยกันเต็มกำลังที่จะทำได้ ส่งมอบ "โอกาส" ไปให้กับคนที่ไม่มี มองให้เห็นคนอื่นในสังคม เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆของเรา นอกจากเวลาจะเป็นเพื่อนกับการลงทุนแล้ว เวลาก็ยังเป็นเพื่อนกับความดีอีกด้วย อย่ามัวแต่หาเงินอย่างเดียวนะคะ คืนสิ่งดีๆให้กับแผ่นดินที่ให้เงินกับคุณด้วย
แต่ถ้าเราพยายามคิดดีเข้าไว้ ซักวันมันต้องดีขึ้น ขอแค่พวกเราทุกคนช่วยกันเต็มกำลังที่จะทำได้ ส่งมอบ "โอกาส" ไปให้กับคนที่ไม่มี มองให้เห็นคนอื่นในสังคม เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆของเรา นอกจากเวลาจะเป็นเพื่อนกับการลงทุนแล้ว เวลาก็ยังเป็นเพื่อนกับความดีอีกด้วย อย่ามัวแต่หาเงินอย่างเดียวนะคะ คืนสิ่งดีๆให้กับแผ่นดินที่ให้เงินกับคุณด้วย
- vutchara_s
- Verified User
- โพสต์: 221
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
สิ่งที่นักการเมืองพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ "ความหน้าด้าน" ยิ่งประชาชนรู้ทันมากขึ้น นักการเมืองก็ต้องพัฒนาความหน้าด้านขึ้น
โทษทีที่ใช้คำแรงไปหน่อย อาจจะรู้สึกท้อแท้กับนักการเมืองเมืองไทย ช่วงหลังๆ เลยไม่สนใจการเมืองไทยเลย
มานั่งสนใจกับหุ้นที่เรารักดีกว่า
โทษทีที่ใช้คำแรงไปหน่อย อาจจะรู้สึกท้อแท้กับนักการเมืองเมืองไทย ช่วงหลังๆ เลยไม่สนใจการเมืองไทยเลย
มานั่งสนใจกับหุ้นที่เรารักดีกว่า
ถ้าอยากได้ตัง ซื้อแล้วกรุณาอยู่นิ่งๆ...เตือนตัวเองจ๊า
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ต้องล้างบางครับ อาจจะมีน้ำดีปนๆอยู่บ้าง แต่ผสมน้ำเสียไปแล้ว
วิธีเดียวคือเททิ้ง หาน้ำใหม่ๆมากรอก
อีกวิธีคือให้น้ำไหลเร็วๆ หานักการเมืองใหม่ๆมาเติมเสมอๆ คนที่จะไม่เขี้ยวลากดิน
คนเก่าที่แก่วัดบังคับให้อยู่ได้ไม่ได้ ต้องหยุดเล่นการเมืองในเวลาที่กำหนดเช่น 8-10ปี
สุดท้ายน้ำที่ไหนเรื่อยๆ ก็จะไม่เป็นน้ำเสีย
วิธีเดียวคือเททิ้ง หาน้ำใหม่ๆมากรอก
อีกวิธีคือให้น้ำไหลเร็วๆ หานักการเมืองใหม่ๆมาเติมเสมอๆ คนที่จะไม่เขี้ยวลากดิน
คนเก่าที่แก่วัดบังคับให้อยู่ได้ไม่ได้ ต้องหยุดเล่นการเมืองในเวลาที่กำหนดเช่น 8-10ปี
สุดท้ายน้ำที่ไหนเรื่อยๆ ก็จะไม่เป็นน้ำเสีย
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 1187
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
เมื่อมีนักการเมืองก็ต้องมีนายทุนอุปถัม
เมื่อมีนายทุนอุปถัมก็ทำให้มีนักการเมือง
ต่างฝ่ายย่อมเกรงใจกัน..จะทำอะไรก็..พี่
เค้าช่วยเรามา..เป็นอย่างนี้อยู่วันยังค่ำ
สุดท้ายเราก็มาร่วมแบ่งเค้กกันเถอะ...
บุญคุณทางการเมืองเห็นแล้วน่าเบื่อหน่าย...
เมื่อมีนายทุนอุปถัมก็ทำให้มีนักการเมือง
ต่างฝ่ายย่อมเกรงใจกัน..จะทำอะไรก็..พี่
เค้าช่วยเรามา..เป็นอย่างนี้อยู่วันยังค่ำ
สุดท้ายเราก็มาร่วมแบ่งเค้กกันเถอะ...
บุญคุณทางการเมืองเห็นแล้วน่าเบื่อหน่าย...
ควรทุ่มเทเจริญให้มาก..ในงานที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง..
-
- Verified User
- โพสต์: 495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
ผมเชื่อว่า มันคงจะต้องไปถึงจุดต่ำสุดและกลับตัวมาดีขึ้นจนดีสุดๆ และก็แย่ลง
เป็นวัฏจักร เมื่อกันแหละครับ
ตราบเท่าที่จิตใจของคนเรายัง เรรวน มีขึ้นมีลง การเมือง และตลาดหุ้นก็เช่นกัน
เป็นวัฏจักร เมื่อกันแหละครับ
ตราบเท่าที่จิตใจของคนเรายัง เรรวน มีขึ้นมีลง การเมือง และตลาดหุ้นก็เช่นกัน
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
+1 ครับyoko เขียน:ผมคิดว่าเมืองไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆเพราะคนไทยอ่านหนังสือมากขึ้นครับ
โลกสวยได้ด้วยมือเรา...
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
การศึกษาอย่างเดียว ไม่พอ Wall street คนเรียนสูงๆทั้งนั้น จริยธรรมต่ำๆเยอะเเยะPeacefull เขียน:การศึกษาเท่านั้นครับ ที่จะทําให้การเมืองเปลี่ยนได้ คงต้องรอให้คนรุ่นใหม่การศึกษาโดยเฉลี่ยดีขึ้นทันเกมมากขึ้น แต่คงอีกนาน
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
นึกถึงบทความนี้เลยterati20 เขียน:การศึกษาอย่างเดียว ไม่พอ Wall street คนเรียนสูงๆทั้งนั้น จริยธรรมต่ำๆเยอะเเยะPeacefull เขียน:การศึกษาเท่านั้นครับ ที่จะทําให้การเมืองเปลี่ยนได้ คงต้องรอให้คนรุ่นใหม่การศึกษาโดยเฉลี่ยดีขึ้นทันเกมมากขึ้น แต่คงอีกนาน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
การเงิน-การลงทุน : Guru Forum
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
เจ้าของคอลัมภ์นิสต์ BUSINESS&SOCIETY
จำนวนคนอ่าน 4519 คน
ซูเปอร์สตาร์ 'ฮาร์วาร์ด' กับ ชีวิตที่พลิกผัน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เมื่อปี พ.ศ.2540 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับนักศึกษาอเมริกันคนหนึ่ง เข้าเรียนในหลักสูตร MBA ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีชื่อเสียงลือลั่นไปทั่วโลก
เขาเป็นชายหนุ่มอเมริกันเชื้อชาติอินเดีย ผู้มีชื่อว่า ซาเมอร์ บาไร (Samir Barai)
ซาเมอร์ เป็นบุคคลพิเศษ และเป็นนักศึกษาที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง เหตุเพราะเขามีความพิการทางหูตั้งแต่กำเนิด โดยหูของเขาหนวกเกือบสนิท ความสามารถในการรับฟังหายไปถึง 96% แต่ด้วยความมุ่งมั่นของเขาเอง และด้วยสังคมอเมริกันเปิดโอกาสให้แก่คนพิการ เขาจึงได้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้โดยตลอด จนได้เข้าเรียนและสำเร็จระดับปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
สำหรับการเรียนในหลักสูตรเอ็ม บี เอ ที่ฮาร์วาร์ด นั้น ใครๆ ก็ทราบว่านักศึกษาจะต้อง อภิปรายถกเถียงปัญหากันในชั้นเรียนอย่างหนัก และมีคะแนนการอภิปรายปัญหา สูงถึง 50% ดังนั้นการที่ซาเมอร์หูพิการ แล้วเขาจะเรียนได้อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นที่กังวลของฮาร์วาร์ด เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนเขาเข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด นั้น ซาเมอร์ ได้เข้าทำการผ่าตัดโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งช่วยให้เขาได้ยินเสียงเพิ่มขึ้นบ้าง และในห้องเรียน เขาก็พยายามทำความเข้าใจคำสอนของอาจารย์ รวมทั้งคำอภิปรายของเพื่อนๆ โดยดูการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก และยังมีผู้ช่วยอีกคนหนึ่งนั่งเคียงข้างเขา ตลอดเวลา เพื่อคอยอธิบายให้เขาเข้าใจอย่างถูกต้อง
เมื่อเป็นนักศึกษาพิการ และต้องต่อสู้ถึงเพียงนี้ ผู้คนและเพื่อนฝูงรอบข้าง จึงให้ความสนใจและเอาใจใส่เขาเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าเขาเป็น ซูเปอร์สตาร์ คนหนึ่งของรุ่น นั่นแหละ และอีกสองปีต่อมา ในปี พ.ศ.2542 ซาเมอร์ก็สำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาโท เอ็ม บี เอ จากฮาร์วาร์ด จึงกล่าวได้ว่า เขาเป็นสุดยอดของตัวอย่างการต่อสู้ชีวิตจนประสบความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจ และจากนั้นเขาก็เติบโตอย่างต่อเนื่องในการทำงานจนได้ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ ที่ซิตี้แบงก์ ก่อนที่จะลาออกมา ตั้งบริษัทจัดการลงทุนเป็นของตนเองที่นครนิวยอร์ก โดยให้ชื่อว่า “Barai Capital”
ชีวิตของซาเมอร์ เหมือนฝันที่เป็นจริง และชีวิตของเขาก็น่าที่จะดำเนินต่อไปอย่างน่าประทับใจ ถ้าหากไม่เกิดเหตุพลิกผันเสียก่อน คือเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 หนุ่มใหญ่วัย 39 ปี ซาเมอร์ ซูเปอร์สตาร์ จากฮาร์วาร์ด ได้ถูกจับดำเนินคดี ที่นครนิวยอร์ก ในข้อหาลงทุนโดยใช้ข้อมูลภายใน
ซาเมอร์ จึงเป็น ฮาร์วาร์ด เอ็มบีเอ คนล่าสุด ที่เข้าไปมีรายชื่อร่วมกับรุ่นพี่ ซึ่งเป็นซูเปอร์สตาร์ ฮาร์วาร์ด อีกจำนวนหนึ่ง ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาต่างๆ เช่น เจฟฟรี่ สกิลลิ่ง อดีตซีอีโอ ของเอนรอน บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ล่มสลายไปแล้ว เป็นต้น แต่ถ้าจะให้เป็นการยุติธรรม กับฮาร์วาร์ดแล้ว ผมก็ต้องกล่าวไว้ ณ ที่นี้ ด้วยว่า ซูเปอร์สตาร์ เอ็มบีเอ จากสถาบันอื่นที่โด่งดัง เช่น Kellogg หรือ Wharton ฯลฯ ก็มีผู้ถูกจับดำเนินคดีเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มาแล้ว เช่นกัน
คนเราเวลาเก่งมากๆ ถ้าหากนำความเก่งไปใช้ในทางที่ผิด ก็นับว่าเป็นอันตราย และสร้างความเสียหายต่อสังคมได้มาก เรื่องราวของ ซูเปอร์สตาร์เหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ดังนั้น มหาวิทยาลัยที่สอนวิชาบริหารธุรกิจจึงมีความวิตกกังวลกันอย่างยิ่งว่า ทำอย่างไร จึงจะสอนคนให้ออกมาเป็นนักบริหารที่ทั้งเก่ง และดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่าง ฮาร์วาร์ด เคลล็อก วาร์ตัน สแตนฟอร์ด ฯลฯ ซึ่งรับนักศึกษาที่ “เก่งมากๆ” จากทั่วโลก ก็ถูกจับตามองว่าสถาบันเหล่านี้ จะเผชิญกับความท้าทายนี้ อย่างไร
วิชาจริยธรรมธุรกิจ กลายเป็นวิชาหลัก ซึ่งทุกสถาบัน ต่างบรรจุไว้ในหลักสูตร แต่ก็ไม่มีใครคาดหวังได้ว่าจะได้ผลเต็มที่ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ทุกสังคม ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ปะปนกันไป ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเข้าเรียน ปีละเป็นพันคน จึงไม่น่าประหลาดใจอะไร ถ้าหากจะมีสักคนหรือสองคน ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่ มหาวิทยาลัยระดับสุดยอด เอ็มบีเอ ของอเมริกา ประกาศรายชื่อผู้ที่ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเป็น นักศึกษาใหม่ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการ “ลุ้น” ของผู้สมัครจากทั่วโลก (ซึ่งทุกคนต่างมีคะแนนการเรียนและการสอบที่ สูงมากๆ ทั้งนั้น) สำหรับคนที่ผ่านเข้าไปในรอบสอบสัมภาษณ์ ก็ดีใจกันทั่วหน้า แต่เมื่อผลการสอบสัมภาษณ์ ออกมา ปรากฏเป็นข่าวว่า ผู้สมัครซึ่งมีคะแนนสอบข้อเขียนดี และมีประสบการณ์ รวมทั้งผลการทำงาน ในระดับสุดยอด จากบริษัทลงทุน และ บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่วอลล์สตรีท นั้น ฮาร์วาร์ด รับเข้าเรียนในสัดส่วนที่น้อยกว่าปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก กล่าวคือมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติระดับซูเปอร์สตาร์ ที่ได้รับจดหมายปฏิเสธ หรือ แจ้งว่ารับเป็นตัวสำรอง เท่านั้น จำนวนสูงขึ้นอย่างชัดเจน นับว่าเป็นที่ฮือฮากันในวงการทีเดียว และต่างถามกันให้แซดว่า ฮาร์วาร์ด กำลังคิดอะไรอยู่?
ผู้เชี่ยวชาญหลายคน คาดว่าคงเป็นเพราะ ฮาร์วาร์ด เพิ่งจะได้คณบดีคนใหม่ ซึ่งเน้นย้ำในเรื่องจริยธรรมธุรกิจ และมีนโยบายส่งเสริมให้มีนักบริหารเก่งๆ เพิ่มมากขึ้นในวงการอื่นๆ นอกเหนือจาก วอลล์สตรีท เช่น ในวงการสุขภาพ หรือ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือองค์กรพัฒนาสังคม และสถาบันทหาร เป็นต้น ดังนั้นปีนี้ จึงเริ่มเห็น การรับนักศึกษาที่มาจากบริษัทลงทุน หรือบริษัทที่ปรึกษาขนาดใหญ่ มีสัดส่วนน้อยลงจากเดิม
การที่ซูเปอร์สตาร์ ประพฤติผิดนั้น ผมว่าเราจะไปโทษสถาบันการศึกษาเสียทั้งหมด ก็คงไม่ได้ เพราะนักศึกษา เข้าไปใช้ชีวิตที่นั่นเพียงสองปีเท่านั้น ต่อให้มีอาจารย์ระดับโลกสักกี่คน ก็คงไม่สามารถขัดเกลา พวกเขาให้เป็นคนดี ได้ทุกคน นอกจากนั้นทุกวงการ ก็ย่อมมีคนไม่ดี แทรกอยู่เสมอ ดังนั้น ซาเมอร์ จึงเป็นเพียงซูเปอร์สตาร์ อีกคนหนึ่ง ที่ผ่านมา และ ก็จะผ่านไป เพื่อรอวันเวลาที่ ซูเปอร์สตาร์ คนใหม่ ที่จะตกเป็นข่าวในทำนองเดียวกันอีก เท่านั้น
ก่อนจบ ก็อยากจะบอกคุณผู้อ่านไว้อีกสักนิดว่า ความจริงแล้ว นอกจาก ฮาร์วาร์ด จะมี เอ็ม บี เอ ซูเปอร์สตาร์ ที่ชีวิตพลิกผันจนถูกจับดำเนินคดี อย่าง เจฟ สกิลลิ่ง หรือ ซาเมอร์ บาร์ไร แล้ว ฮาร์วาร์ด ก็ยังเคยมีนักศึกษาอีกสองคน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่มีปัญหา ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ จนทำให้เรียนไม่สำเร็จ ต้องลาออกจากฮาร์วาร์ด กลางคัน เป็นพวก “ดร็อปเอาท์” นั่นแหละครับ
คนแรกมีชื่อว่า บิล เกตส์ และอีกคนชื่อ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก
เห็นชื่อแล้ว ใครอยากเป็นนักศึกษาฮาร์วาร์ด ที่เรียนไม่จบ บ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรียนรู้การเมือง/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
โฉมหน้าว่าที่รมต.ใหม่
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, January 18, 2012
กระทรวงอุตสาหกรรม
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตคณบดีคณะนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ เคยดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อดีตคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ถือเป็นผู้ที่มีความสนิทสนมกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนามาอย่างยาวนาน ที่ผ่านมา ก็เข้ามาช่วยเหลืองานด้านวิชาการมาตลอด ถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถคนหนึ่ง และมีความเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนหนึ่ง กระทั่งนายสุวัจน์ ระบุว่า คนนี้เหมาะกับตำแหน่งรัฐมนตรีหน้าตาดีคนหนึ่ง
ส่วนประวัติการศึกษา ปี 2525 ปริญญาตรี COMPUTER SCIENCE SOUTHEAST MISSOURI STATE UNIVERSITY ปี 2528 ปริญญาโท INDUSTRIAL MANAGEMENT UNIVERSITY OF CENTRAL MISSOURI ปี 2535 ปริญญาโท PUBLIC POLICY & MANAGEMENT HARVARD UNIVERSITY
กระทรวงพลังงาน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ อดีตกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้ามานั่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเพื่อนร่วมรุ่น 11 กับนายบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตผู้บริหารชิน คอร์ป
นายอารักษ์ เคยเป็นอดีตกรรมการ บมจ.ชิน คอร์ป ประธานกรรมการบริหารสายธุรกิจ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจอื่น บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการและประธานกรรมการบริหาร สายธุรกิจใหม่ และสื่อโฆษณา บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการบริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ
กระทรวงคมนาคม
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย คาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ต่อมาได้โอนย้ายไปเป็นปลัดอำเภอ และเป็นนายอำเภอเสิงสาง นายอำเภอดอนเจดีย์ นายอำเภอพล นายอำเภอบ้านโป่ง ผู้อำนวยการเขตบางบอน รองผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม. ผู้ช่วยปลัด กทม. กระทั่งได้เป็นรองปลัด กทม.
ต่อมาในปี 2545 ได้โอนย้ายมารับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงานในเวลาต่อมา
ด้านการเมืองได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งได้รับตำแหน่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เมื่อ 3 พ.ค. 2554
รมต.ประจำสำนักนายกฯ
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จบการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) เริ่มทำงานเป็นพนักงานขาย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2517 ตำแหน่งสุดท้าย ผู้จัดการฝ่ายการเงินและวางแผน ปี 2533
ก่อนจะลาออกไปรับตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และดูแล บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี) บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด บริษัท มูฟวิ่งซาวน์ด จำกัด บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด บริษัท เอสซี แมทช์บ็อกซ์ จำกัด และได้รับตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น
หลังจาก ชิน คอร์ปอเรชั่น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ไอทีวี ในเดือน พ.ย.2544 นายนิวัฒน์ธำรง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี
ต่อมาเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นชินคอร์ป ของนายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ นายนิวัฒน์ธำรง ได้ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการ บมจ.ชินคอร์ป และเขาได้ขายหุ้นของตนเองทั้งหมด ช่วงปลายปี 2548
ด้านการเมือง ในการเลือกตั้งปี 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
รมต.ประจำสำนักนายกฯ
นางนลินี ทวีสิน ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.กทม. ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 แต่ต้องถูกยกเลิกเนื่องจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549
ต่อได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง ปี 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นในการเลือกตั้งปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 125 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รมช.เกษตรและสหกรณ์
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2518 ปัจจุบันอายุ 37 ปี เป็นชาว อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า
นายณัฐวุฒิ เปิดตัวสู่สังคมด้วยการเป็นนักโต้วาทีดีกรีแชมป์รายการโต้คารมมัธยมศึกษา จากนั้นจึงเริ่มอาชีพนักพูดและเป็นดารารายการสภาโจ๊ก ก่อนจะหันเหเข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการเป็นแกนนำ คนเสื้อแดง แจ้งเกิดบนเวทีปราศรัยขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยลีลาการปราศรัยที่ดุเด็ดเผ็ดมัน พร้อมวาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ กระทั่งก้าวเข้าสู่สภาจริงในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, January 18, 2012
กระทรวงอุตสาหกรรม
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตคณบดีคณะนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ เคยดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อดีตคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ถือเป็นผู้ที่มีความสนิทสนมกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนามาอย่างยาวนาน ที่ผ่านมา ก็เข้ามาช่วยเหลืองานด้านวิชาการมาตลอด ถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถคนหนึ่ง และมีความเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนหนึ่ง กระทั่งนายสุวัจน์ ระบุว่า คนนี้เหมาะกับตำแหน่งรัฐมนตรีหน้าตาดีคนหนึ่ง
ส่วนประวัติการศึกษา ปี 2525 ปริญญาตรี COMPUTER SCIENCE SOUTHEAST MISSOURI STATE UNIVERSITY ปี 2528 ปริญญาโท INDUSTRIAL MANAGEMENT UNIVERSITY OF CENTRAL MISSOURI ปี 2535 ปริญญาโท PUBLIC POLICY & MANAGEMENT HARVARD UNIVERSITY
กระทรวงพลังงาน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ อดีตกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้ามานั่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเพื่อนร่วมรุ่น 11 กับนายบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตผู้บริหารชิน คอร์ป
นายอารักษ์ เคยเป็นอดีตกรรมการ บมจ.ชิน คอร์ป ประธานกรรมการบริหารสายธุรกิจ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจอื่น บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการและประธานกรรมการบริหาร สายธุรกิจใหม่ และสื่อโฆษณา บมจ.ชิน คอร์ป กรรมการบริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ
กระทรวงคมนาคม
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย คาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ จบปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ต่อมาได้โอนย้ายไปเป็นปลัดอำเภอ และเป็นนายอำเภอเสิงสาง นายอำเภอดอนเจดีย์ นายอำเภอพล นายอำเภอบ้านโป่ง ผู้อำนวยการเขตบางบอน รองผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด กทม. ผู้ช่วยปลัด กทม. กระทั่งได้เป็นรองปลัด กทม.
ต่อมาในปี 2545 ได้โอนย้ายมารับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงานในเวลาต่อมา
ด้านการเมืองได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งได้รับตำแหน่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เมื่อ 3 พ.ค. 2554
รมต.ประจำสำนักนายกฯ
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จบการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) เริ่มทำงานเป็นพนักงานขาย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2517 ตำแหน่งสุดท้าย ผู้จัดการฝ่ายการเงินและวางแผน ปี 2533
ก่อนจะลาออกไปรับตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และดูแล บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี) บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด บริษัท มูฟวิ่งซาวน์ด จำกัด บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด บริษัท เอสซี แมทช์บ็อกซ์ จำกัด และได้รับตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น
หลังจาก ชิน คอร์ปอเรชั่น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ไอทีวี ในเดือน พ.ย.2544 นายนิวัฒน์ธำรง ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี
ต่อมาเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นชินคอร์ป ของนายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ นายนิวัฒน์ธำรง ได้ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการ บมจ.ชินคอร์ป และเขาได้ขายหุ้นของตนเองทั้งหมด ช่วงปลายปี 2548
ด้านการเมือง ในการเลือกตั้งปี 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
รมต.ประจำสำนักนายกฯ
นางนลินี ทวีสิน ซึ่งคาดหมายว่าจะเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.กทม. ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 แต่ต้องถูกยกเลิกเนื่องจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549
ต่อได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง ปี 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นในการเลือกตั้งปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 125 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รมช.เกษตรและสหกรณ์
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2518 ปัจจุบันอายุ 37 ปี เป็นชาว อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า
นายณัฐวุฒิ เปิดตัวสู่สังคมด้วยการเป็นนักโต้วาทีดีกรีแชมป์รายการโต้คารมมัธยมศึกษา จากนั้นจึงเริ่มอาชีพนักพูดและเป็นดารารายการสภาโจ๊ก ก่อนจะหันเหเข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการเป็นแกนนำ คนเสื้อแดง แจ้งเกิดบนเวทีปราศรัยขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยลีลาการปราศรัยที่ดุเด็ดเผ็ดมัน พร้อมวาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ กระทั่งก้าวเข้าสู่สภาจริงในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."