เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 21 พฤษภาคม
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การลงทุนหรือเล่นหุ้นในตลาดนั้น ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เหนื่อยและเครียด โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น “ขาลง” อย่างไรก็ตาม แต่ละคนน่าจะมีอาการดังกล่าวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการและเป้าหมายในการลงทุน ลองมาดูกันว่าการลงทุนหรือเล่นหุ้นแบบไหนจะทำให้เหนื่อยและเครียดกว่าปกติ
เรื่องแรกที่ผมเห็นว่าเป็นตัวทำให้รู้สึกเหนื่อยและเครียดมากก็คือ การพยายามทำ “ผลตอบแทนสูงสุด” นั่นก็คือ เขาพยายามทำผลตอบแทนสูงสุดในเวลาอันสั้น คนที่คิดและทำแบบนี้มักจะเหนื่อยหนักและเครียดจัด เพราะในบางช่วงบางตอนของชีวิตสิ่งต่าง ๆ อาจไม่เป็นไปตามที่คาด ตัวอย่างของเซียนระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์นี้คนแรกก็คือ เจสซี ลิเวอร์มอร์ นักเก็งกำไรระดับโลก ซึ่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีระดับของความผันผวนของราคาสูงมากเช่นพวกสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้มาร์จินหรือการกู้เต็มที่และทุ่มเงินทั้งหมดลงในการลงทุนเพียงตัวเดียวไม่มีการกระจายความเสี่ยง ผลก็คือ ในบางช่วงบางตอนเขาสร้างกำไรหรือผลตอบแทนน่าจะเป็นพัน ๆ เปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้นและทำให้เขาเป็นมหาเศรษฐี เป็น “เซเลบ” ระดับชาติในเวลาข้ามคืน แต่ในบางช่วงที่เขาคาดผิดหรือเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวย เขาก็ขาดทุนอย่างหนักจนล้มละลายภายในเวลาอันสั้นเช่นเดียวกัน ผลก็คือ เขาเหนื่อยและเครียดจัด และหลังจากการร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีและการเป็นคนล้มละลายประมาณ 3 รอบ เขาก็ฆ่าตัวตาย ทิ้งไว้แต่ตำนานของการเป็น “นักเก็งกำไรสุดยอด” ของโลกคนหนึ่ง
ในแวดวงของเซียนหุ้นแบบ VI ระดับโลกนั้น ชื่อของ ปีเตอร์ ลินช์ เป็นตำนานของผู้บริหารกองทุนรวมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคนหนึ่ง ผลงานการลงทุนของเขาก็คือ เขาทำได้ปีละประมาณ 30% แบบทบต้นเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 13 ปี นี่เป็นผลตอบแทนที่สูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อ แต่ ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่าเขาต้องแลกมาด้วยชีวิตส่วนตัวที่เหนื่อยหนักแทบไม่มีเวลาพัก ไม่มีเวลาให้กับลูก ๆ ที่กำลังโต และเขากลัวว่าเขาอาจจะต้องตาย “ก่อนวัยอันควร” เนื่องจากการทำงานที่หนักเกินไป ซึ่งทำให้เขาตัดสินใจ “เกษียณก่อนกำหนด” และกลายเป็นตำนานที่ยืนยงต่อมาจนถึงทุกวันนี้
บิล มิลเลอร์ ผู้บริหารกองทุนอีกคนหนึ่งที่เน้นการลงทุนในหุ้นไฮเท็คที่มีราคาหวือหวาและเป็นหุ้นที่ “เก็งกำไรสุด ๆ” โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ของทศวรรษ 1990 นี่ก็เป็นกลยุทธ์ที่ “เหนื่อยหนัก” เพราะหุ้นไฮเท็คนั้นเวลาที่ดีอาจจะดีสุดยอด แต่เวลาตกนั้นก็จะตกแบบน่าใจหาย ผลก็คือ ในช่วงที่ดีนับเป็นเวลาน่าจะเป็นสิบปี บิล มิลเลอร์ สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้สูงมากยิ่งกว่าของ ปีเตอร์ ลินช์ และกำลังจะกลายเป็นตำนานในระดับเดียวกัน โชคไม่ดี ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คแตกเสียก่อน ทำให้ชื่อเสียงของมิลเลอร์ ตกต่ำลงไปและอาจจะทำให้เขาเป็นเพียงคนที่ “เคยเป็นเซียน”
กลับมาที่นักลงทุนธรรมดาในบ้านเรา ผมคิดว่าคนที่หวังรวยเร็วและอาจได้เห็นตัวอย่างของเพื่อนหรือ “เซียน” หุ้นที่มีชื่อเสียงที่สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้มโหฬารอย่างไม่น่าเชื่อในเวลาอันสั้น จึงหาทางเพิ่มผลตอบแทนของตนโดยการซื้อขายหุ้นที่เป็นหุ้นเก็งกำไรที่มีความผันผวนของราคาสูง ในเวลาเดียวกันก็ใช้มาร์จินในการลงทุนเต็มที่ และในเวลาเดียวกันไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่เพียงพอ ทุ่มเงินซื้อหุ้นเพียงตัวสองตัว การลงทุนแบบนี้ ในภาวะที่ตนเองคาดการณ์ถูกและสถานการณ์เอื้ออำนวย ผลตอบแทนก็จะสูงลิ่วและอาจจะทำให้ “รวยไปเลย” อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ตรงกันข้าม เขาก็อาจจะ “แย่ไปเลย” แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความเหนื่อยและความเครียดน่าจะมีอยู่ตลอดเวลา จิตใจและอารมณ์อาจจะผูกพันอยู่กับการขึ้นลงของราคาหุ้น ผมเองไม่แน่ใจว่าความสุขที่ได้จากการขึ้นของราคาหุ้นจะสามารถชดเชยกับความกังวลและความเครียดที่หุ้นตกลงมาจะคุ้มไหมโดยเฉพาะถ้าผลตอบแทนก็ไม่ได้สูงกว่าปกติไปมากมายนัก
คนที่ตั้งความหวังการลงทุนสูงกว่า 10-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น เช่นหวังถึงปีละ 25-30 หรือแม้แต่ 40-50% ต่อปี คนที่หวังจะมีเงินที่ได้จากการลงทุนเป็น 10 100 หรือ 1000 ล้านบาท หรือตั้งเป้าจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” ภายในเวลา 5-10 ปี หรือเมื่อตนเองอายุเพียง 30-40 ปี ทั้ง ๆ ที่เป้าหมายแบบนั้นโดยอัตราผลตอบแทนปกตินั้นเขาไม่สามารถจะบรรลุได้ อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าด้วยผลตอบแทนที่เขาทำได้ในช่วงเวลานี้ที่เขาทำได้สูงมาก เขาคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากที่เขาจะทำได้ต่อไป และถ้าเป็นอย่างนั้น ความฝันของเขาก็จะเป็นจริง แต่นี่ก็จะเป็น “เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก” ที่เขาสร้างให้กับตัวเอง และเขาอาจจะรู้สึกเหนื่อยและเครียดเมื่อสถานการณ์การลงทุนเริ่มพลิกผัน กลยุทธ์ที่ทำกำไรได้อย่างรวดเร็วไม่เป็นไปตามที่เคย บางทีเขากลับขาดทุนอย่างหนัก โดยรวมแล้ว การตั้งเป้าและใช้วิธีหรือกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้อาจจะยังอยู่ในระดับน่าพอใจแต่ก็ไม่เข้าใกล้เป้าหมายที่เคยฝัน แต่คำถามก็คือ “คุ้มไหม” กับการเหนื่อยหนักและความเครียดที่เกิดขึ้น
การลงทุนโดยคอยเปรียบเทียบผลงานกับเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก เป้าหมายก็คือ สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าหรือมีเงินมากกว่าหรือมีพอร์ตใหญ่กว่า มีคนยอมรับมากกว่า หวังมีชื่อเป็น “เซียน” คนหนึ่งในแวดวงการลงทุน เหล่านี้ทำให้กลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนอาจจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด นี่เป็นความคิดที่ทำให้ “เหนื่อยหนักและเครียด” บางทีแม้ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจมาก แต่เมื่อไปเทียบกับอีกคนหนึ่งที่บางทีก็ไม่ “เก่งกว่า” แต่เรากลับ “แพ้เขา” ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ธรรมชาติของคนก็มักชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่เหนือกว่าแล้วก็ต้องการเอาชนะ ดังนั้น การเปรียบเทียบนั้น ส่วนใหญ่ก็มักจะนำความเหนื่อยและความเครียดมาให้เสมอ
ผมเองผ่านชีวิตการลงทุนมายาวพอสมควร ผ่านสถานการณ์ตลาดหุ้นมาทุกรูปแบบทั้งที่ดี ดีเยี่ยม เลว เลวร้ายจนเป็นวิกฤติ เป็นแบบนี้มาหลายครั้ง ผมพยายามทบทวนความรู้สึกย้อนหลังไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ในอดีตแล้วก็พบว่า ความเหนื่อยและความเครียดนั้น บ่อยครั้งไม่ได้สัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ช่วงที่ลงทุนแล้วมีความสุขที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงที่ “ลงทุนอยู่คนเดียว” ตลาดเหงาหงอย ไม่มีเวบไซ้ต์การลงทุน ข่าวเกี่ยวกับหุ้นแทบไม่มี ราคาหุ้นขึ้นลงน้อยมากในแต่ละวัน แต่ผลตอบแทนที่ได้ในรอบปีก็ “น่าประทับใจ” ที่ 20% ที่สำคัญ บริษัทที่เราลงทุนก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เอาชนะคู่แข่งได้และเติบอย่างมั่นคง อนาคตระยะยาวสดใส บางทีเราอาจจะส่งต่อให้ลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ ราคาหุ้นก็ขึ้นมาบ้างตามฐานะของกิจการ ดัชนีหรือผลตอบแทนของตลาดเป็นเท่าไรหรือ? เออ นึกไม่ออก! ใครแคร์? เพื่อนคนนั้นทำได้กี่เปอร์เซ็นต์? ไม่รู้ ไม่ได้คุยกัน เรามีพอร์ตเท่าไรแล้ว? โอ้ว์ มากขึ้นทีเดียว ดีใจ! ถ้าเป็นแบบนี้อีกหน่อยก็สบาย ไม่ต้องทำงานก็ได้ แต่ตอนนี้ก็ทำไปก่อน ไม่ทำแล้วจะไปบอกญาติพี่น้องยังไง ทำงานยังไงก็ได้เงินเดือนใช้จ่าย ไม่ต้องไปกินพอร์ต พอร์ตจะได้โตไปเรื่อย ๆ ฯ ล ฯ บางทีผมคิดว่า การที่จะมีความสุขและไม่เหนื่อยจากการลงทุนก็เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การลงทุนหรือเล่นหุ้นในตลาดนั้น ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เหนื่อยและเครียด โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น “ขาลง” อย่างไรก็ตาม แต่ละคนน่าจะมีอาการดังกล่าวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการและเป้าหมายในการลงทุน ลองมาดูกันว่าการลงทุนหรือเล่นหุ้นแบบไหนจะทำให้เหนื่อยและเครียดกว่าปกติ
เรื่องแรกที่ผมเห็นว่าเป็นตัวทำให้รู้สึกเหนื่อยและเครียดมากก็คือ การพยายามทำ “ผลตอบแทนสูงสุด” นั่นก็คือ เขาพยายามทำผลตอบแทนสูงสุดในเวลาอันสั้น คนที่คิดและทำแบบนี้มักจะเหนื่อยหนักและเครียดจัด เพราะในบางช่วงบางตอนของชีวิตสิ่งต่าง ๆ อาจไม่เป็นไปตามที่คาด ตัวอย่างของเซียนระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์นี้คนแรกก็คือ เจสซี ลิเวอร์มอร์ นักเก็งกำไรระดับโลก ซึ่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีระดับของความผันผวนของราคาสูงมากเช่นพวกสินค้าโภคภัณฑ์โดยใช้มาร์จินหรือการกู้เต็มที่และทุ่มเงินทั้งหมดลงในการลงทุนเพียงตัวเดียวไม่มีการกระจายความเสี่ยง ผลก็คือ ในบางช่วงบางตอนเขาสร้างกำไรหรือผลตอบแทนน่าจะเป็นพัน ๆ เปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้นและทำให้เขาเป็นมหาเศรษฐี เป็น “เซเลบ” ระดับชาติในเวลาข้ามคืน แต่ในบางช่วงที่เขาคาดผิดหรือเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวย เขาก็ขาดทุนอย่างหนักจนล้มละลายภายในเวลาอันสั้นเช่นเดียวกัน ผลก็คือ เขาเหนื่อยและเครียดจัด และหลังจากการร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีและการเป็นคนล้มละลายประมาณ 3 รอบ เขาก็ฆ่าตัวตาย ทิ้งไว้แต่ตำนานของการเป็น “นักเก็งกำไรสุดยอด” ของโลกคนหนึ่ง
ในแวดวงของเซียนหุ้นแบบ VI ระดับโลกนั้น ชื่อของ ปีเตอร์ ลินช์ เป็นตำนานของผู้บริหารกองทุนรวมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคนหนึ่ง ผลงานการลงทุนของเขาก็คือ เขาทำได้ปีละประมาณ 30% แบบทบต้นเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 13 ปี นี่เป็นผลตอบแทนที่สูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อ แต่ ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่าเขาต้องแลกมาด้วยชีวิตส่วนตัวที่เหนื่อยหนักแทบไม่มีเวลาพัก ไม่มีเวลาให้กับลูก ๆ ที่กำลังโต และเขากลัวว่าเขาอาจจะต้องตาย “ก่อนวัยอันควร” เนื่องจากการทำงานที่หนักเกินไป ซึ่งทำให้เขาตัดสินใจ “เกษียณก่อนกำหนด” และกลายเป็นตำนานที่ยืนยงต่อมาจนถึงทุกวันนี้
บิล มิลเลอร์ ผู้บริหารกองทุนอีกคนหนึ่งที่เน้นการลงทุนในหุ้นไฮเท็คที่มีราคาหวือหวาและเป็นหุ้นที่ “เก็งกำไรสุด ๆ” โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ของทศวรรษ 1990 นี่ก็เป็นกลยุทธ์ที่ “เหนื่อยหนัก” เพราะหุ้นไฮเท็คนั้นเวลาที่ดีอาจจะดีสุดยอด แต่เวลาตกนั้นก็จะตกแบบน่าใจหาย ผลก็คือ ในช่วงที่ดีนับเป็นเวลาน่าจะเป็นสิบปี บิล มิลเลอร์ สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้สูงมากยิ่งกว่าของ ปีเตอร์ ลินช์ และกำลังจะกลายเป็นตำนานในระดับเดียวกัน โชคไม่ดี ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คแตกเสียก่อน ทำให้ชื่อเสียงของมิลเลอร์ ตกต่ำลงไปและอาจจะทำให้เขาเป็นเพียงคนที่ “เคยเป็นเซียน”
กลับมาที่นักลงทุนธรรมดาในบ้านเรา ผมคิดว่าคนที่หวังรวยเร็วและอาจได้เห็นตัวอย่างของเพื่อนหรือ “เซียน” หุ้นที่มีชื่อเสียงที่สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้มโหฬารอย่างไม่น่าเชื่อในเวลาอันสั้น จึงหาทางเพิ่มผลตอบแทนของตนโดยการซื้อขายหุ้นที่เป็นหุ้นเก็งกำไรที่มีความผันผวนของราคาสูง ในเวลาเดียวกันก็ใช้มาร์จินในการลงทุนเต็มที่ และในเวลาเดียวกันไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่เพียงพอ ทุ่มเงินซื้อหุ้นเพียงตัวสองตัว การลงทุนแบบนี้ ในภาวะที่ตนเองคาดการณ์ถูกและสถานการณ์เอื้ออำนวย ผลตอบแทนก็จะสูงลิ่วและอาจจะทำให้ “รวยไปเลย” อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ตรงกันข้าม เขาก็อาจจะ “แย่ไปเลย” แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความเหนื่อยและความเครียดน่าจะมีอยู่ตลอดเวลา จิตใจและอารมณ์อาจจะผูกพันอยู่กับการขึ้นลงของราคาหุ้น ผมเองไม่แน่ใจว่าความสุขที่ได้จากการขึ้นของราคาหุ้นจะสามารถชดเชยกับความกังวลและความเครียดที่หุ้นตกลงมาจะคุ้มไหมโดยเฉพาะถ้าผลตอบแทนก็ไม่ได้สูงกว่าปกติไปมากมายนัก
คนที่ตั้งความหวังการลงทุนสูงกว่า 10-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น เช่นหวังถึงปีละ 25-30 หรือแม้แต่ 40-50% ต่อปี คนที่หวังจะมีเงินที่ได้จากการลงทุนเป็น 10 100 หรือ 1000 ล้านบาท หรือตั้งเป้าจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” ภายในเวลา 5-10 ปี หรือเมื่อตนเองอายุเพียง 30-40 ปี ทั้ง ๆ ที่เป้าหมายแบบนั้นโดยอัตราผลตอบแทนปกตินั้นเขาไม่สามารถจะบรรลุได้ อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าด้วยผลตอบแทนที่เขาทำได้ในช่วงเวลานี้ที่เขาทำได้สูงมาก เขาคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากที่เขาจะทำได้ต่อไป และถ้าเป็นอย่างนั้น ความฝันของเขาก็จะเป็นจริง แต่นี่ก็จะเป็น “เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก” ที่เขาสร้างให้กับตัวเอง และเขาอาจจะรู้สึกเหนื่อยและเครียดเมื่อสถานการณ์การลงทุนเริ่มพลิกผัน กลยุทธ์ที่ทำกำไรได้อย่างรวดเร็วไม่เป็นไปตามที่เคย บางทีเขากลับขาดทุนอย่างหนัก โดยรวมแล้ว การตั้งเป้าและใช้วิธีหรือกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้อาจจะยังอยู่ในระดับน่าพอใจแต่ก็ไม่เข้าใกล้เป้าหมายที่เคยฝัน แต่คำถามก็คือ “คุ้มไหม” กับการเหนื่อยหนักและความเครียดที่เกิดขึ้น
การลงทุนโดยคอยเปรียบเทียบผลงานกับเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก เป้าหมายก็คือ สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าหรือมีเงินมากกว่าหรือมีพอร์ตใหญ่กว่า มีคนยอมรับมากกว่า หวังมีชื่อเป็น “เซียน” คนหนึ่งในแวดวงการลงทุน เหล่านี้ทำให้กลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนอาจจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด นี่เป็นความคิดที่ทำให้ “เหนื่อยหนักและเครียด” บางทีแม้ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจมาก แต่เมื่อไปเทียบกับอีกคนหนึ่งที่บางทีก็ไม่ “เก่งกว่า” แต่เรากลับ “แพ้เขา” ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ธรรมชาติของคนก็มักชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่เหนือกว่าแล้วก็ต้องการเอาชนะ ดังนั้น การเปรียบเทียบนั้น ส่วนใหญ่ก็มักจะนำความเหนื่อยและความเครียดมาให้เสมอ
ผมเองผ่านชีวิตการลงทุนมายาวพอสมควร ผ่านสถานการณ์ตลาดหุ้นมาทุกรูปแบบทั้งที่ดี ดีเยี่ยม เลว เลวร้ายจนเป็นวิกฤติ เป็นแบบนี้มาหลายครั้ง ผมพยายามทบทวนความรู้สึกย้อนหลังไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ในอดีตแล้วก็พบว่า ความเหนื่อยและความเครียดนั้น บ่อยครั้งไม่ได้สัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ช่วงที่ลงทุนแล้วมีความสุขที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงที่ “ลงทุนอยู่คนเดียว” ตลาดเหงาหงอย ไม่มีเวบไซ้ต์การลงทุน ข่าวเกี่ยวกับหุ้นแทบไม่มี ราคาหุ้นขึ้นลงน้อยมากในแต่ละวัน แต่ผลตอบแทนที่ได้ในรอบปีก็ “น่าประทับใจ” ที่ 20% ที่สำคัญ บริษัทที่เราลงทุนก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เอาชนะคู่แข่งได้และเติบอย่างมั่นคง อนาคตระยะยาวสดใส บางทีเราอาจจะส่งต่อให้ลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ ราคาหุ้นก็ขึ้นมาบ้างตามฐานะของกิจการ ดัชนีหรือผลตอบแทนของตลาดเป็นเท่าไรหรือ? เออ นึกไม่ออก! ใครแคร์? เพื่อนคนนั้นทำได้กี่เปอร์เซ็นต์? ไม่รู้ ไม่ได้คุยกัน เรามีพอร์ตเท่าไรแล้ว? โอ้ว์ มากขึ้นทีเดียว ดีใจ! ถ้าเป็นแบบนี้อีกหน่อยก็สบาย ไม่ต้องทำงานก็ได้ แต่ตอนนี้ก็ทำไปก่อน ไม่ทำแล้วจะไปบอกญาติพี่น้องยังไง ทำงานยังไงก็ได้เงินเดือนใช้จ่าย ไม่ต้องไปกินพอร์ต พอร์ตจะได้โตไปเรื่อย ๆ ฯ ล ฯ บางทีผมคิดว่า การที่จะมีความสุขและไม่เหนื่อยจากการลงทุนก็เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 201
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ผมรักอาจารย์มากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 50
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
นับถืออาจารย์จริงๆครับ เป้าหมายของผมก็ขึ้นกับความพอเพียงของชีวิตและความสมดุลย์
- SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ
ทุกๆ วันนี้ ผมก็ไม่ทุกข์ร้อนเพราะไม่ได้เอาผลตอบแทนของพอร์ตไปเทียบกับใคร
ไม่งั้นเครีบดแย่เลย
ทุกๆ วันนี้ ผมก็ไม่ทุกข์ร้อนเพราะไม่ได้เอาผลตอบแทนของพอร์ตไปเทียบกับใคร
ไม่งั้นเครีบดแย่เลย
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
คำสอนของอาจารย์มีค่ามากเลยครับ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
อ่านบทความจองอาจารย์แล้วรู้สึก....
เครียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
^
^
น้อยลง
ขอบคุณมากๆครับ
เครียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
^
^
น้อยลง
ขอบคุณมากๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
บทความนี้ เป็นบทความที่ดีมาก ๆ และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
หลุมพรางข้อหนึ่งที่ทำให้การลงทุนแบบ VI ไม่ก้าวหน้า ก็คือ เดิมเราเป็นเต่าที่ค่อย ๆ เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ซึ่งเป็นจุดแข็งของการลงทุนแบบ VI ที่มองผลตอบแทนระยะยาวที่ค่อย ๆ ก้าวอย่างยั่งยืน มากกว่าผลประโยชน์ระยะสั้น ๆ ที่ไม่ยั่งยืน เพราะการลงทุนนั้นไม่ใช่เกมการแข่งขันที่จะต้องเอาแพ้เอาชนะด้วยไหวพริบ ปฏิพาน ของคน แต่เป็นเรื่องการพัฒนาวินัยการลงทุนที่ดีด้วยวิธีคิดที่ถูกต้อง
แต่บัดนี้เรากำลังพยายามที่จะเร่งความเร็ว เร่งความรวย และพยายามลงทุนอะไรที่เสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อกระโจนไปข้างหน้า เพื่อแข่งขันเปรียบเทียบกับผู้อื่น ๆ และพยายามเอาชนะให้ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีหนึ่งก็คือการตั้งความหวังเป้าหมายให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ เทียบเท่ากับนักลงทุนระดับโลก ซึ่งบางครั้งก็เกินกว่าการก้าวหน้าตามธรรมชาติที่เป็นจริง ซึ่งน้อยคนจะสามารถได้ลิ้มรสชาดสิ่งที่เกินกว่าธรรมชาตินั้นได้ บางครั้งก็ต้องแลกกับบางอย่าง เช่น ความสุขในชีวิต เพราะสุดท้ายก็คงต้องตั้งคำถามว่า เราลงทุนเพื่ออะไร ไม่ใช่เพราะเราอยากให้มีผลตอบแทนระดับหนึ่งเพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบสุขตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าใช่หรือไม่
การเร่งความรวยที่เกินธรรมชาติมาก ๆ สุดท้ายคนส่วนใหญ่ก็คงจะล้มเหลวในที่สุด เพราะต้องมีคนส่วนน้อยที่ได้และคนส่วนใหญ่ที่เสีย และในระยะยาวแม้เราจะเป็นคนส่วนน้อยที่ได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายเราก็อาจต้องนำผลตอบแทนที่ทำได้ทั้งหมดในชีวิตคืนกลับไปที่ตลาดจนได้ เหมือนนักลงทุนที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาบ้างแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น เจสซี ลิเวอร์มอร์ ซึงผมก็ได้อ่านประวัติของเขาเช่นกัน เป็นนักลงทุนประเภทกล้าได้กล้าเสีย เคย Short หุ้นจำนวนมโหฬารและได้กำไรมากมาย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถฝืนธรรมชาติการลงทุนได้ จนสุดท้ายล้มละลายไม่เหลือเงินสักบาท และฆ่าตัวตายในที่สุด ลูกเมียก็มีปัญหาตามมาอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ๆ และเป็นบทเรียนให้กับนักลงทุนเป็นอย่างดี
หรือการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Dot com ที่เคยซื่อขายกันจน PE ขี้นไปเกิน 1000 เท่าขึ้นไปในยุดที่บูมมาก ๆ หรือการซื้อดอกทิวลิปที่ปั่นราคาขึ้นไปมากมาย และสุดท้ายเมื่อเกินธรรมชาติไปมาก ๆ ทุกอย่างก็กลับไปสู่สามัญเช่นเดิม
ขอบคุณสำหรับคำเตือนของอาจารย์ที่เมตตากับนักลงทุนแห่งนี้ ที่คอยเตือนให้เรากลับเข้ามาสู่เส้นทางหลักของการลงทุนที่เป็นจุดแข็งของเรา ที่ไม่คาดหวังผลตอบแทนที่สูง ๆ เกินธรรมชาติ แต่ให้หวังผลตอบแทนในระดับความรู้ของเรา ไม่โลภเกินพอดี และมีความระมัดระวังการลงทุนที่ดี คาดหวังผลตอบแทนแบบเต่าที่ก้าวไปข้างหน้า ระวังภัยรอบด้านก่อนจะก้าวไปแต่ละก้าว แต่เต่าก็มีอายุยืนยาวที่จะเห็นความสำเร็จในระยะยาวที่จะตามมา และเดินไปบนเส้นทางการใช้ชีวิต และการลงทุนอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
หลุมพรางข้อหนึ่งที่ทำให้การลงทุนแบบ VI ไม่ก้าวหน้า ก็คือ เดิมเราเป็นเต่าที่ค่อย ๆ เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ซึ่งเป็นจุดแข็งของการลงทุนแบบ VI ที่มองผลตอบแทนระยะยาวที่ค่อย ๆ ก้าวอย่างยั่งยืน มากกว่าผลประโยชน์ระยะสั้น ๆ ที่ไม่ยั่งยืน เพราะการลงทุนนั้นไม่ใช่เกมการแข่งขันที่จะต้องเอาแพ้เอาชนะด้วยไหวพริบ ปฏิพาน ของคน แต่เป็นเรื่องการพัฒนาวินัยการลงทุนที่ดีด้วยวิธีคิดที่ถูกต้อง
แต่บัดนี้เรากำลังพยายามที่จะเร่งความเร็ว เร่งความรวย และพยายามลงทุนอะไรที่เสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อกระโจนไปข้างหน้า เพื่อแข่งขันเปรียบเทียบกับผู้อื่น ๆ และพยายามเอาชนะให้ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีหนึ่งก็คือการตั้งความหวังเป้าหมายให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ เทียบเท่ากับนักลงทุนระดับโลก ซึ่งบางครั้งก็เกินกว่าการก้าวหน้าตามธรรมชาติที่เป็นจริง ซึ่งน้อยคนจะสามารถได้ลิ้มรสชาดสิ่งที่เกินกว่าธรรมชาตินั้นได้ บางครั้งก็ต้องแลกกับบางอย่าง เช่น ความสุขในชีวิต เพราะสุดท้ายก็คงต้องตั้งคำถามว่า เราลงทุนเพื่ออะไร ไม่ใช่เพราะเราอยากให้มีผลตอบแทนระดับหนึ่งเพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบสุขตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าใช่หรือไม่
การเร่งความรวยที่เกินธรรมชาติมาก ๆ สุดท้ายคนส่วนใหญ่ก็คงจะล้มเหลวในที่สุด เพราะต้องมีคนส่วนน้อยที่ได้และคนส่วนใหญ่ที่เสีย และในระยะยาวแม้เราจะเป็นคนส่วนน้อยที่ได้ในระยะสั้น แต่สุดท้ายเราก็อาจต้องนำผลตอบแทนที่ทำได้ทั้งหมดในชีวิตคืนกลับไปที่ตลาดจนได้ เหมือนนักลงทุนที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างมาบ้างแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น เจสซี ลิเวอร์มอร์ ซึงผมก็ได้อ่านประวัติของเขาเช่นกัน เป็นนักลงทุนประเภทกล้าได้กล้าเสีย เคย Short หุ้นจำนวนมโหฬารและได้กำไรมากมาย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถฝืนธรรมชาติการลงทุนได้ จนสุดท้ายล้มละลายไม่เหลือเงินสักบาท และฆ่าตัวตายในที่สุด ลูกเมียก็มีปัญหาตามมาอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ๆ และเป็นบทเรียนให้กับนักลงทุนเป็นอย่างดี
หรือการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Dot com ที่เคยซื่อขายกันจน PE ขี้นไปเกิน 1000 เท่าขึ้นไปในยุดที่บูมมาก ๆ หรือการซื้อดอกทิวลิปที่ปั่นราคาขึ้นไปมากมาย และสุดท้ายเมื่อเกินธรรมชาติไปมาก ๆ ทุกอย่างก็กลับไปสู่สามัญเช่นเดิม
ขอบคุณสำหรับคำเตือนของอาจารย์ที่เมตตากับนักลงทุนแห่งนี้ ที่คอยเตือนให้เรากลับเข้ามาสู่เส้นทางหลักของการลงทุนที่เป็นจุดแข็งของเรา ที่ไม่คาดหวังผลตอบแทนที่สูง ๆ เกินธรรมชาติ แต่ให้หวังผลตอบแทนในระดับความรู้ของเรา ไม่โลภเกินพอดี และมีความระมัดระวังการลงทุนที่ดี คาดหวังผลตอบแทนแบบเต่าที่ก้าวไปข้างหน้า ระวังภัยรอบด้านก่อนจะก้าวไปแต่ละก้าว แต่เต่าก็มีอายุยืนยาวที่จะเห็นความสำเร็จในระยะยาวที่จะตามมา และเดินไปบนเส้นทางการใช้ชีวิต และการลงทุนอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
เป้าหมายที่สูงมากเกิน แล้วกดดันตัวเองมากเกิน แล้วเครียด ก้อต้องปรับ .............
เป้าหมายที่ตํ่าเกิน มันก้อไม่ท้าทาย ไม่มีแรงกระตุ้นให้ต้องพยายาม ก้อต้องปรับ ..........
พออ่านบทความนี้แล้วนึกย้อนหลังไป 9 ปีของตัวเอง เหมือนเป็นคนไร้เป้าหมาย ..............
ไม่เคยตั้งเป้าเลยว่าปีนี้จะต้องได้ 50% ปีหน้าจะต้องได้100% ปีนู้นจะต้องได้ 200% ไม่เคยตั้งเป้า.............
รู้แต่ว่า เราต้องศึกษา ต้องทําการบ้าน ให้หนัก กว้าง ลึก ไว กว่าคนอื่นเท่าที่จะทําได้ ............
พอมาดูผลงาน performance return ของตัวเองย้อนหลังกลับไปที่จุดเริ่มต้น เรามาไกลขนาดนี้แล้วเหรอ ไม่คาดคิดมาก่อน...............
บางที "การไม่ตั้งเป้า" แต่ศึกษา ทําการบ้าน หนัก กว้าง ลึก ไวกว่าคนที่ตั้งเป้าสูง ก้อนําไปสู่อะไรดีดี โดยไม่ต้องกดดันตัวเองแล้วเครียดก้อได้ครับ .............
เป้าหมายที่ตํ่าเกิน มันก้อไม่ท้าทาย ไม่มีแรงกระตุ้นให้ต้องพยายาม ก้อต้องปรับ ..........
พออ่านบทความนี้แล้วนึกย้อนหลังไป 9 ปีของตัวเอง เหมือนเป็นคนไร้เป้าหมาย ..............
ไม่เคยตั้งเป้าเลยว่าปีนี้จะต้องได้ 50% ปีหน้าจะต้องได้100% ปีนู้นจะต้องได้ 200% ไม่เคยตั้งเป้า.............
รู้แต่ว่า เราต้องศึกษา ต้องทําการบ้าน ให้หนัก กว้าง ลึก ไว กว่าคนอื่นเท่าที่จะทําได้ ............
พอมาดูผลงาน performance return ของตัวเองย้อนหลังกลับไปที่จุดเริ่มต้น เรามาไกลขนาดนี้แล้วเหรอ ไม่คาดคิดมาก่อน...............
บางที "การไม่ตั้งเป้า" แต่ศึกษา ทําการบ้าน หนัก กว้าง ลึก ไวกว่าคนที่ตั้งเป้าสูง ก้อนําไปสู่อะไรดีดี โดยไม่ต้องกดดันตัวเองแล้วเครียดก้อได้ครับ .............
Free your life , Fly your love
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
อย่าให้ความพยายามศึกษา ทําการบ้าน แปรผันตาม เป้าหมาย ................
เป้าหมายสูง ขยัน ฟิตจัด ...............
เป้าหมายตํ่า ขยันน้อย ฟิตน้อย ..........
ไม่มีเป้าหมาย ไม่ขยัน ไม่ฟิต ..............
เป้าหมายจะตํ่า จะสูง จะมี จะไม่มีเป้าหมาย ความพยายามศึกษา ทําการบ้าน ความขยัน ความฟิตต้องสูงทั้งนั้นครับ ..................
เป้าหมายสูง ขยัน ฟิตจัด ...............
เป้าหมายตํ่า ขยันน้อย ฟิตน้อย ..........
ไม่มีเป้าหมาย ไม่ขยัน ไม่ฟิต ..............
เป้าหมายจะตํ่า จะสูง จะมี จะไม่มีเป้าหมาย ความพยายามศึกษา ทําการบ้าน ความขยัน ความฟิตต้องสูงทั้งนั้นครับ ..................
Free your life , Fly your love
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
ขอบคุณมากครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- maoinvestor
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
ขอถามคำถามอ่อนด้อยหน่อยนะคะ
เราจะมีโอกาสได้เจอตลาดหุ้นช่วง "ลงทุนอยู่คนเดียว" อีกไหมอ่ะคะ เข้าใจว่าเป็นช่วงตลาดหุ้นแย่สุดๆ หุ้นตกทุกวี่วันจนไม่มีใครอยากเอาเงินมาจมใช่ไหมคะ ?
เพราะตอนนี้รู้สึกว่าการลงทุนในหุ้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเหมือนเมื่อ 10-20 ปีก่อนอีกแล้ว ยิ่งในช่วงไม่กี่ปีหลังนี่เทคโนโลยีก้าวไกล เทรดหุ้นผ่านเน็ตได้แล้ว ความรู้ก็มีให้อ่านให้ศึกษาฟรีๆตั้งมากมาย เด็กๆมหาลัยก็มีความรู้ด้านการลงทุนแล้ว รวมถึงคนทำงานส่วนมากก็นิยมเก็บเงินไว้ในหุ้น นักลงทุนรายย่อยของไทยน่าจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่าคะ? ยิ่งหุ้นตกอาจจะแห่กันเข้าไปช้อนซื้อ เพราะถ้าดูตามสถิติเดิมสักวันมันก็ต้องกลับไปอยู่ในจุดที่เหมาะสม จะมีโอกาสไหมคะที่อนาคตตลาดกลับไปเป็นช่วงขาลงแบบตลาดร้างอีก
เราจะมีโอกาสได้เจอตลาดหุ้นช่วง "ลงทุนอยู่คนเดียว" อีกไหมอ่ะคะ เข้าใจว่าเป็นช่วงตลาดหุ้นแย่สุดๆ หุ้นตกทุกวี่วันจนไม่มีใครอยากเอาเงินมาจมใช่ไหมคะ ?
เพราะตอนนี้รู้สึกว่าการลงทุนในหุ้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเหมือนเมื่อ 10-20 ปีก่อนอีกแล้ว ยิ่งในช่วงไม่กี่ปีหลังนี่เทคโนโลยีก้าวไกล เทรดหุ้นผ่านเน็ตได้แล้ว ความรู้ก็มีให้อ่านให้ศึกษาฟรีๆตั้งมากมาย เด็กๆมหาลัยก็มีความรู้ด้านการลงทุนแล้ว รวมถึงคนทำงานส่วนมากก็นิยมเก็บเงินไว้ในหุ้น นักลงทุนรายย่อยของไทยน่าจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่าคะ? ยิ่งหุ้นตกอาจจะแห่กันเข้าไปช้อนซื้อ เพราะถ้าดูตามสถิติเดิมสักวันมันก็ต้องกลับไปอยู่ในจุดที่เหมาะสม จะมีโอกาสไหมคะที่อนาคตตลาดกลับไปเป็นช่วงขาลงแบบตลาดร้างอีก
ติดตามอ่านการ์ตูนหุ้น สารคดีชีวิตสัตว์โลก::แมลงเม่า ได้ตามลิงค์ข้างล่างจ้ะ
http://www.maoinvestor.com
http://www.facebook.com/maoinvestor
http://www.maoinvestor.com
http://www.facebook.com/maoinvestor
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ชอบ..ผมเองผ่านชีวิตการลงทุนมายาวพอสมควร ผ่านสถานการณ์ตลาดหุ้นมาทุกรูปแบบทั้งที่ดี ดีเยี่ยม เลว เลวร้ายจนเป็นวิกฤติ เป็นแบบนี้มาหลายครั้ง ผมพยายามทบทวนความรู้สึกย้อนหลังไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ในอดีตแล้วก็พบว่า ความเหนื่อยและความเครียดนั้น บ่อยครั้งไม่ได้สัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ช่วงที่ลงทุนแล้วมีความสุขที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงที่ “ลงทุนอยู่คนเดียว” ตลาดเหงาหงอย ไม่มีเวบไซ้ต์การลงทุน ข่าวเกี่ยวกับหุ้นแทบไม่มี ราคาหุ้นขึ้นลงน้อยมากในแต่ละวัน แต่ผลตอบแทนที่ได้ในรอบปีก็ “น่าประทับใจ” ที่ 20% ที่สำคัญ บริษัทที่เราลงทุนก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เอาชนะคู่แข่งได้และเติบอย่างมั่นคง อนาคตระยะยาวสดใส บางทีเราอาจจะส่งต่อให้ลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ ราคาหุ้นก็ขึ้นมาบ้างตามฐานะของกิจการ ดัชนีหรือผลตอบแทนของตลาดเป็นเท่าไรหรือ? เออ นึกไม่ออก! ใครแคร์? เพื่อนคนนั้นทำได้กี่เปอร์เซ็นต์? ไม่รู้ ไม่ได้คุยกัน เรามีพอร์ตเท่าไรแล้ว? โอ้ว์ มากขึ้นทีเดียว ดีใจ! ถ้าเป็นแบบนี้อีกหน่อยก็สบาย ไม่ต้องทำงานก็ได้ แต่ตอนนี้ก็ทำไปก่อน ไม่ทำแล้วจะไปบอกญาติพี่น้องยังไง ทำงานยังไงก็ได้เงินเดือนใช้จ่าย ไม่ต้องไปกินพอร์ต พอร์ตจะได้โตไปเรื่อย ๆ ฯ ล ฯ บางทีผมคิดว่า การที่จะมีความสุขและไม่เหนื่อยจากการลงทุนก็เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ด้วย เหมือนกัน
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
maoinvestor เขียน:ขอถามคำถามอ่อนด้อยหน่อยนะคะ
เราจะมีโอกาสได้เจอตลาดหุ้นช่วง "ลงทุนอยู่คนเดียว" อีกไหมอ่ะคะ เข้าใจว่าเป็นช่วงตลาดหุ้นแย่สุดๆ หุ้นตกทุกวี่วันจนไม่มีใครอยากเอาเงินมาจมใช่ไหมคะ ?
เพราะตอนนี้รู้สึกว่าการลงทุนในหุ้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเหมือนเมื่อ 10-20 ปีก่อนอีกแล้ว ยิ่งในช่วงไม่กี่ปีหลังนี่เทคโนโลยีก้าวไกล เทรดหุ้นผ่านเน็ตได้แล้ว ความรู้ก็มีให้อ่านให้ศึกษาฟรีๆตั้งมากมาย เด็กๆมหาลัยก็มีความรู้ด้านการลงทุนแล้ว รวมถึงคนทำงานส่วนมากก็นิยมเก็บเงินไว้ในหุ้น นักลงทุนรายย่อยของไทยน่าจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่าคะ? ยิ่งหุ้นตกอาจจะแห่กันเข้าไปช้อนซื้อ เพราะถ้าดูตามสถิติเดิมสักวันมันก็ต้องกลับไปอยู่ในจุดที่เหมาะสม จะมีโอกาสไหมคะที่อนาคตตลาดกลับไปเป็นช่วงขาลงแบบตลาดร้างอีก
มีแน่นอนครับ เอาง่ายๆ ยกตัวอย่างตลาดหุ้นในเมกา หรือยุโรป หรือ ฮ่องกง กับ สิงค์โปร์
ที่เค้าพัฒนาไปมากกว่าเราเยอะ คนส่วนใหญ่ลงทุนในหุ้น หรือกองทุนรวม
ประเทศเหล่านี้ มีเทคโนโลยี และมีระบบตลาดทุนที่พัฒนาไปมากกว่าเรา
แต่สุดท้าย ก็ไม่พ้นความเป็นวัฎจักรของตลาด ที่มีขึ้น ก็ต้องมีลง
เพียงแต่ ประเทศเหล่านั้นเค้าจะมีความผันผวนน้อยกว่าเรา ถ้าวัดกันยาวๆ
อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ครับ
สำหรับสถานที่ ที่เรียกว่าตลาดหุ้น
เชื่อมั้ยมั้ยครับว่า หลายๆคน รู้ทั้งรู้ว่า สุดท้ายราคาต้องกลับไปสู่จุดสมดุลในที่สุด
แต่ถามว่า ตอนวิกฤติ ที่เพิ่งผ่าน ใครบ้าง ที่กล้า ที่จะเค้าไปซื้อ
ท่ามกลางภาวะการณ์ที่มีแต่ ข่าวร้ายเต็มตลาด และท่ามกลางช่วงเวลาที่ราคาหุ้น มีแต่ปรับตัวลดลงทุกๆวัน
ยิ่งซื้อ ราคาหุ้นที่เราถือ ยิ่งลงๆๆๆๆ
โดยที่ไม่รู้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ตรงไหน
คนส่วนใหญ่ ก็เอาแต่ขาย ใครขายก่อน รอดก่อน
ในภาวะการณ์เช่นนั้น ....
กล้าที่จะซื้อหรือเปล่าครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10548
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
ปกติตอนนี้ผมก็คงนอนแล้วครับ
แต่เหลือบไปเห๋นบทความของ ดร.
อ่านแล้วโดนจริงๆ รู้ได้เลยว่า ท่านเตือนพวกเราในที่นี้หลายๆคน รวมทั้งเก่า ทั้งใหม่ไปพร้อมกัน
อ่านแล้วรู้เลยว่าเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีจริงๆ
ผมเคยได้รับ pm มาถามว่าทำอย่างไรจะโตแบบ เท่าตัว 2 เท่าตัว 3 เท่าตัว ในระยะเวลาอีันสั้นมากๆ ผมตอบไปว่า ทำไม่เป็น และไม่คิดจะทำ
เพื่อนท่านนั้นยังขอถามว่าแล้วให้ถามใคร ผมก็เพียงตอบไปว่า อย่าไปเร่งเลย เราลงทุนแนน VI เพื่ออะไร เราเอาผลตอบแทนมากมายไปเพื่ออะไร เราลงทุนเพื่อเกิดความมั่งคั่งเพื่อวันนึงเราจะได้ชีวิตที่มีทั้งอิรรภาพทางการเงิน เวลา และเพียบพร้อมด้วยความสุข
แล้วทำไม ไม่ลงทุนแบบมีความสุขณ ตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงวันข้างหน้า ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนพอประมาณ ไม่กดดันตัวเองเกินไป
ที่พูดเช่นนี้ ไม่ใช่พวก องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวานนะครับ
พูดจากใจจริงๆ
แต่เหลือบไปเห๋นบทความของ ดร.
อ่านแล้วโดนจริงๆ รู้ได้เลยว่า ท่านเตือนพวกเราในที่นี้หลายๆคน รวมทั้งเก่า ทั้งใหม่ไปพร้อมกัน
อ่านแล้วรู้เลยว่าเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีจริงๆ
ผมเคยได้รับ pm มาถามว่าทำอย่างไรจะโตแบบ เท่าตัว 2 เท่าตัว 3 เท่าตัว ในระยะเวลาอีันสั้นมากๆ ผมตอบไปว่า ทำไม่เป็น และไม่คิดจะทำ
เพื่อนท่านนั้นยังขอถามว่าแล้วให้ถามใคร ผมก็เพียงตอบไปว่า อย่าไปเร่งเลย เราลงทุนแนน VI เพื่ออะไร เราเอาผลตอบแทนมากมายไปเพื่ออะไร เราลงทุนเพื่อเกิดความมั่งคั่งเพื่อวันนึงเราจะได้ชีวิตที่มีทั้งอิรรภาพทางการเงิน เวลา และเพียบพร้อมด้วยความสุข
แล้วทำไม ไม่ลงทุนแบบมีความสุขณ ตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงวันข้างหน้า ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนพอประมาณ ไม่กดดันตัวเองเกินไป
ที่พูดเช่นนี้ ไม่ใช่พวก องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวานนะครับ
พูดจากใจจริงๆ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 24
ตอบพี่หมอนิวตามตรงนะครับ
กลัวคราบๆๆๆ 555
เพราะช้อนหักไปนานแล้วๆๆ
เพราะโดยส่วนตัว มีนิสัยชอบช้อนเร็วไปทุกที T_T
สุดท้ายเลยไม่รู้จะเครียดไปใยๆๆ
ได้แค่ทำใจ หาทางคลายเครียดไปเรื่อยเปื่อย
บางทีๆถ้าเราช้อนหักบ่อยๆ ก็เคยชินไปเอง 555
กลัวคราบๆๆๆ 555
เพราะช้อนหักไปนานแล้วๆๆ
เพราะโดยส่วนตัว มีนิสัยชอบช้อนเร็วไปทุกที T_T
สุดท้ายเลยไม่รู้จะเครียดไปใยๆๆ
ได้แค่ทำใจ หาทางคลายเครียดไปเรื่อยเปื่อย
บางทีๆถ้าเราช้อนหักบ่อยๆ ก็เคยชินไปเอง 555
-
- Verified User
- โพสต์: 1246
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
leaderinshadow เขียน: เพราะช้อนหักไปนานแล้วๆๆ
เพราะโดยส่วนตัว มีนิสัยชอบช้อนเร็วไปทุกที T_T
บางทีๆถ้าเราช้อนหักบ่อยๆ ก็เคยชินไปเอง 555
คงมีซักคนที่ช้อนหักเหมือนเรา ^^"...Somebody Upstairs Like Me....
ปล.จำมาจากสัมนาวันนี้
ร้อยลี้ ต้องมีก้าวแรก....
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
อ่านแล้วเครียดหนักกว่าเดิม สงสัยต้องไปเทียว ตจว บ้างแล้วหละ
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 28
เป็นบทความที่ดีมากครับ
เมื่อกี้พิมพ์ไปเยอะเลยแล้วส่งมันค้าง หายไปเลยพิมพ์ใหม่
ผมเห็นด้วยนะครับเพราะจริงๆมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของเราเช่น ภาวะตลาดหุ้น การเมือง Fundflow หรือสิ่งต่างๆที่เราควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตามผมก็พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพัฒนาฝีมือครับ
ปัจจุบันผมได้ลองทํา Investment Diary ซึ่งเห็นว่าช่วยวัดฝีมือได้ในระดับ1 ครับ Investment Diary แบ่งเป็นดังนี้ครับ
1 Right for the Right Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้นเพราะ เราคาดการณ์ ผลการดําเนินงานถูก ธุรกิจเติบโตตามคาด
แบบนี้ถือว่าดีครับ
2 Right for the Wrong Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้นแต่เหตุผลในการซื้อของเราไม่ถูกเช่น ยอดขาย ผลการดําเนินงานไม่เป็นไปตามคาด มีคู่แข่งเกิดมาใหม่ แต่หุ้นขึ้นเพราะ ภาวะตลาดเอื้ออํานวยต่อการเก็งกําไร นักลงทุนรายใหญ่เข้ามาทําราคา Fundflow อื่นๆ
3 Wrong for the Right Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นตกเพราะเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้เช่น ภาวะการณ์ตลาดหุ้นไม่ดี
มีเหตุการการเมือง Recession กองทุนขายเพื่อรับรู้กําไรทําให้หุ้นตก เป็นต้น
4 Wrong for the Wrong Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นตกเพราะมองธุรกิจผิด มองผลการดําเนินงานไม่ถูกแบบนี้ก็ตามชื่อครับ วิเคราะห์ผิดเอง
ส่วนตัวผมเจอ ทั้งเหตุล 1-4 ครับ แต่ที่เจอบ่อยคือ 1 3 4 ครับ ถ้าเป็น 4 ก็จะ Cut Loss ทันที ส่วนเหตุผล 2 นี่ถ้าเจอถือว่าโชคดีครับ ก็จะขายทิ้ง เพราะเรามองผิดแต่หุ้นขึ้น เพราะปัจจัยภายนอก ถึงมันจะขึ้นต่อไปแต่ถ้า ผลการดําเนินงานไม่ดีก็ไม่สบายใจจะถือ
เหตุผลที่ทําให้เครียดบ่อยสุดคือ ข้อ 2 ครับ คือเวลาประกาศ งบการเงิน เราก็ดูก็เป็นไปตามคาดนี่ ราคาก็ยังไม่สะท้อน
กลับลงด้วย เพราะSET ลง หรือ มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อตลาด หรือ ข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้นะ
แต่ก็หาวิธีลดความเครียดโดยการ พยายามหาข้อมูลให้มากขึ้น และทบทวนดู ศักยภาพของ ธุรกิจเทียบกับ Market Capว่ายังไม่แพงไปใช่มั้ย แนวโน้มยอดขาย ROE ROA Growth Sales Cashflow ต่างๆดูว่าผลการดําเนินงานยังดีอยู่ ก็กล้าถือต่อ เพราะคิดซะว่าลงทุนในกิจการ และพอถือไปนานๆปรากฎว่า เมื่อ สภาพตลาดเอื้ออํานวย ราคาหุ้นก็มาจริงๆครับแต่จะได้มากหรือน้อยอีกเรื่องนะครับ แต่อย่างน้อยก็เข้าหา Intrinsic Value
เมื่อกี้พิมพ์ไปเยอะเลยแล้วส่งมันค้าง หายไปเลยพิมพ์ใหม่
ผมเห็นด้วยนะครับเพราะจริงๆมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของเราเช่น ภาวะตลาดหุ้น การเมือง Fundflow หรือสิ่งต่างๆที่เราควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตามผมก็พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพัฒนาฝีมือครับ
ปัจจุบันผมได้ลองทํา Investment Diary ซึ่งเห็นว่าช่วยวัดฝีมือได้ในระดับ1 ครับ Investment Diary แบ่งเป็นดังนี้ครับ
1 Right for the Right Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้นเพราะ เราคาดการณ์ ผลการดําเนินงานถูก ธุรกิจเติบโตตามคาด
แบบนี้ถือว่าดีครับ
2 Right for the Wrong Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้นแต่เหตุผลในการซื้อของเราไม่ถูกเช่น ยอดขาย ผลการดําเนินงานไม่เป็นไปตามคาด มีคู่แข่งเกิดมาใหม่ แต่หุ้นขึ้นเพราะ ภาวะตลาดเอื้ออํานวยต่อการเก็งกําไร นักลงทุนรายใหญ่เข้ามาทําราคา Fundflow อื่นๆ
3 Wrong for the Right Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นตกเพราะเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้เช่น ภาวะการณ์ตลาดหุ้นไม่ดี
มีเหตุการการเมือง Recession กองทุนขายเพื่อรับรู้กําไรทําให้หุ้นตก เป็นต้น
4 Wrong for the Wrong Reasons ซื้อหุ้นแล้วหุ้นตกเพราะมองธุรกิจผิด มองผลการดําเนินงานไม่ถูกแบบนี้ก็ตามชื่อครับ วิเคราะห์ผิดเอง
ส่วนตัวผมเจอ ทั้งเหตุล 1-4 ครับ แต่ที่เจอบ่อยคือ 1 3 4 ครับ ถ้าเป็น 4 ก็จะ Cut Loss ทันที ส่วนเหตุผล 2 นี่ถ้าเจอถือว่าโชคดีครับ ก็จะขายทิ้ง เพราะเรามองผิดแต่หุ้นขึ้น เพราะปัจจัยภายนอก ถึงมันจะขึ้นต่อไปแต่ถ้า ผลการดําเนินงานไม่ดีก็ไม่สบายใจจะถือ
เหตุผลที่ทําให้เครียดบ่อยสุดคือ ข้อ 2 ครับ คือเวลาประกาศ งบการเงิน เราก็ดูก็เป็นไปตามคาดนี่ ราคาก็ยังไม่สะท้อน
กลับลงด้วย เพราะSET ลง หรือ มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อตลาด หรือ ข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้นะ
แต่ก็หาวิธีลดความเครียดโดยการ พยายามหาข้อมูลให้มากขึ้น และทบทวนดู ศักยภาพของ ธุรกิจเทียบกับ Market Capว่ายังไม่แพงไปใช่มั้ย แนวโน้มยอดขาย ROE ROA Growth Sales Cashflow ต่างๆดูว่าผลการดําเนินงานยังดีอยู่ ก็กล้าถือต่อ เพราะคิดซะว่าลงทุนในกิจการ และพอถือไปนานๆปรากฎว่า เมื่อ สภาพตลาดเอื้ออํานวย ราคาหุ้นก็มาจริงๆครับแต่จะได้มากหรือน้อยอีกเรื่องนะครับ แต่อย่างน้อยก็เข้าหา Intrinsic Value
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
สุดยอดครับ อ่านแล้วขนลุก
ผมรู้สึกและได้ตระหนักถึงทุกข์ภัยดังกล่าวมาสักระยะแล้วเหมือนกันครับ ตอนนี้เลยเลิกเล่น Facebook MSN และที่กำลังพยายามอยู่ก็คือเลิกเล่น thaivi แต่ยังมีความจำเป็นบางประการที่จำเป็นต้องเล่นอยู่ ซึ่งก็เห็นความทุกข์ความเครียดที่เกิดจากการเล่น thaivi ชัดขึ้นๆ หวังว่าอนาคตอันใกล้ ผมคงจะเลิกโพสต์ใน thaivi ได้สำเร็จครับ
ผมรู้สึกและได้ตระหนักถึงทุกข์ภัยดังกล่าวมาสักระยะแล้วเหมือนกันครับ ตอนนี้เลยเลิกเล่น Facebook MSN และที่กำลังพยายามอยู่ก็คือเลิกเล่น thaivi แต่ยังมีความจำเป็นบางประการที่จำเป็นต้องเล่นอยู่ ซึ่งก็เห็นความทุกข์ความเครียดที่เกิดจากการเล่น thaivi ชัดขึ้นๆ หวังว่าอนาคตอันใกล้ ผมคงจะเลิกโพสต์ใน thaivi ได้สำเร็จครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?