กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 331
ฟันธงปีเถาะอุตฯปิโตรเคมีขาลง
"เอสซีจี เคมิคอลส์" ฟันธงปิโตรเคมีปีเถาะอยู่ในสถานภาพขาลง มีแรงกดดันจากกำลังผลิตใหม่ในตลาดโลก ฟันธงส่วนต่างราคา ระหว่างเม็ดพลาสติกเอชดีพีอีกับแนฟทาไปไม่ถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ดันสินค้ากลุ่มHVAโต 40% คาดการณ์รายได้โต แต่กำไรดูยาก สอดคล้องกับที่PTTCH พยากรณ์ Spread ปีหน้าเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน500ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เคมิคอลส์ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2554 ว่าเป็นปีที่อยู่ในสถานภาพขาลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรายังไม่นิ่ง บวกกับมีแรงกดดันจากตะวันออกกลางและจีนเพราะในปีหน้าจะมีกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนออกมาอีก 6 ล้านตัน จากที่ปี 2553 มีกำลังผลิตใหม่ออกมาแล้ว 8 ล้านตัน(เดิมคาดการณ์ว่าจะมี11ล้านตัน) ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปีหน้ายังตกอยู่ที่ท้องอ่าง โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกปี 2554 ตลาดจะไม่ค่อยดี และจะกลับไปสู่ทิศทางขาขึ้นอีกครึ่งเมื่อพ้นปี 2554 ไปแล้วที่มาร์จินจะดีขึ้น จะไม่มีซัพพลายใหม่เข้ามา
นอกจากนี้ยังมองว่าส่วนต่างราคาหรือ Spread ระหว่างเม็ดพลาสติกเอชดีพีอีกับแนฟทาตอนนี้น่าจะอยู่ในระดับ500ดอลลาร์สหรัฐฯบวก/ลบ พอปี 2554 ทั้งปีคาดว่า Spread ไปไม่ถึง 600-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ซึ่งตอนนี้ยังพูดยากอยู่ เพราะยังไม่รู้ว่าราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯจะเป็นอย่างไร และคิดว่าถ้า Spread ลงไปต่ำกว่า 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ถือว่าต่ำมากแครกเกอร์ ส่วนใหญ่ก็อยู่ยาก โดยเฉพาะแนฟทาแครกเกอร์จะอยู่ยาก ก็ต้องลดกำลังผลิตลง พอลดกำลังผลิตดีมานด์ก็กลับมา ตรงนี้ตัวมันเองจะแก้ไขตัวมันเองตลอดเวลา ฉะนั้นปี2554 รายได้ในกลุ่มปิโตรเคมีโตขึ้น แต่กำไรยังดูยากมากในขณะนี้
" ปีหน้าจะมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากที่ศาลปกครองฯได้มีคำพิพากษาออกมาแล้ว ก็มีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างของเอสซีจีก็ยังเหลืออีก 2 โครงการ ทั้ง 2 โครงการนี้น่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2554 เป็นต้นไป หลังจากที่ปี 2553 กำลังการผลิตของเราลดลงไปเนื่องจากปัญหามาบตาพุด และเราก็มีการหยุดซ่อมโรงงานโอเลฟินส์ 1 โรงงาน เราก็หวังว่าหลังจากที่เราหยุดซ่อมเสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะมีกำลังผลิตส่วนนี้เข้ามาสมทบ"
นอกจากนี้เอสซีจี เคมิคอลส์ มองว่าที่ผ่านมาได้ลงทุนเต็มที่มาแล้ว จากนี้ไปขอให้โรงงานที่มาบตาพุดเดินเครื่องให้เต็มที่ก่อน ฉะนั้นในปี2554 จะเป็นปีแห่งการปรับปรุงด้านดาวน์สตรีม แครกเกอร์ เป็นปีที่จะต้องดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน หลังจากที่ล่าช้าไปเพราะเผชิญปัญหามาบตาพุด และสินค้าในกลุ่มธุรกิจสินค้าพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง HVA ( High Value-Added Products) ที่จะเข้ามาเป็นตัวหลักที่ช่วยให้มาร์จินดีขึ้น โดยตั้งเป้าว่าในปี 2554 จะมีรายได้จากสินค้ากลุ่มHVA โตขึ้นจาก 33-34% ในปี 2553 เพิ่มเป็น 40%ของรายได้กลุ่มปิโตรเคมีทั้งหมด โดยปี 2554 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะมีการส่งออก 50% ไปยังทวีปเอเชียเป็นหลัก และ 50% ป้อนตลาดในประเทศ
กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เคมิคอลส์กล่าวถึงสถานการณ์สินค้าและตลาดปิโตรเคมี ตลอดปี 2553ว่า มีบางผลิตภัณฑ์ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดูเบาบางกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่น เม็ดพลาสติกสายโพลิเอทิลีน เนื่องจากมีกำลังการผลิตจากตะวันออกกลางออกมามาก ทำให้มีแรงกดดันด้านราคา ประกอบกับต้นทุนการผลิตเราสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 3และไตรมาส 4 บางผลิตภัณฑ์ที่เคยแย่ก็กลับมาดีขึ้น เช่น เม็ดพลาสติกพีทีเอ ก็ยังเป็นช่วงที่เอสซีจี เคมีคอลส์ยังไม่วางใจ ยังเป็นช่วงที่ต้องดูมาร์จินและสถานการณ์แบบนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2554 เพราะกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนจะมากขึ้น จากที่ปี 2553 มีการพูดว่าจะมีกำลังผลิตใหม่ของเอทิลีนจากตะวันออกกลางและจีนออกมา 11 ล้านตัน จะเป็นซัพพลายใหม่ที่ออกมา แต่ก็ออกมาจริงประมาณ 8 ล้านตัน ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านดีมานด์ด้วย ถ้าดีมานด์ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญก็จะช่วยดูดซับกำลังผลิตที่ออกมาใหม่ได้ แต่สมมติถ้าดีมานด์ไม่ดีก็จะทำให้มาร์จินลดลงได้ โดยดีมานด์ที่ว่านี้จะดูจีนเป็นหลัก ซึ่งจีนตอนนี้ก็มีการควบคุมเพราะเศรษฐกิจของจีนในเวลานี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะมีผลอย่างไรกับดีมานด์ ซึ่งเราก็ยังต้องติดตามไปเรื่อยๆ และหลายเรื่องก็ยังเป็นเรื่องที่ยากที่จะไปคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะไปในทิศทางไหน ทั้งเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันยังมีความไม่แน่นอนอยู่
สอดคล้องกับที่ก่อนหน้านี้นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)หรือ PTTCH กล่าวว่าปี 2554 จะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีแข่งขันกันดุเดือดไม่ต่างกับปี2553 และคิดว่า Spread เฉลี่ยทั้งปีจะวิ่งอยู่ที่ 450-500 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน คือไม่เกิน500 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันจะโดนแรงกดดันพอสมควรทั้งซัพพลายใหม่จากตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยน และหลังจากปี2554ไปถ้าดูจากแนวโน้มของดีมานด์และซัพพลายตลาดจะค่อยๆดีขึ้น
ฉะนั้นถ้าดูปี2554 ยังมีปัจจัยบวกอยู่ เนื่องจากตลาดยังมีการเติบโตโดยเฉพาะในเอเชีย ในอาเซียน ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก และการที่จะเป็นตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ตรงนี้ไทยต้องเตรียมรับมือ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นขอให้อย่าไปคิดว่าเป็นแค่การเคลื่อนย้ายสินค้า ซึ่งมันไม่ใช่ แต่มันคือการเคลื่อนย้ายของเงินทุน คน และการบริการ และโลจิสติกส์และการถือทรัพย์สิน ตรงนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปหมด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,590 9-11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=418
"เอสซีจี เคมิคอลส์" ฟันธงปิโตรเคมีปีเถาะอยู่ในสถานภาพขาลง มีแรงกดดันจากกำลังผลิตใหม่ในตลาดโลก ฟันธงส่วนต่างราคา ระหว่างเม็ดพลาสติกเอชดีพีอีกับแนฟทาไปไม่ถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ดันสินค้ากลุ่มHVAโต 40% คาดการณ์รายได้โต แต่กำไรดูยาก สอดคล้องกับที่PTTCH พยากรณ์ Spread ปีหน้าเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน500ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เคมิคอลส์ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2554 ว่าเป็นปีที่อยู่ในสถานภาพขาลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรายังไม่นิ่ง บวกกับมีแรงกดดันจากตะวันออกกลางและจีนเพราะในปีหน้าจะมีกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนออกมาอีก 6 ล้านตัน จากที่ปี 2553 มีกำลังผลิตใหม่ออกมาแล้ว 8 ล้านตัน(เดิมคาดการณ์ว่าจะมี11ล้านตัน) ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปีหน้ายังตกอยู่ที่ท้องอ่าง โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกปี 2554 ตลาดจะไม่ค่อยดี และจะกลับไปสู่ทิศทางขาขึ้นอีกครึ่งเมื่อพ้นปี 2554 ไปแล้วที่มาร์จินจะดีขึ้น จะไม่มีซัพพลายใหม่เข้ามา
นอกจากนี้ยังมองว่าส่วนต่างราคาหรือ Spread ระหว่างเม็ดพลาสติกเอชดีพีอีกับแนฟทาตอนนี้น่าจะอยู่ในระดับ500ดอลลาร์สหรัฐฯบวก/ลบ พอปี 2554 ทั้งปีคาดว่า Spread ไปไม่ถึง 600-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ซึ่งตอนนี้ยังพูดยากอยู่ เพราะยังไม่รู้ว่าราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯจะเป็นอย่างไร และคิดว่าถ้า Spread ลงไปต่ำกว่า 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ถือว่าต่ำมากแครกเกอร์ ส่วนใหญ่ก็อยู่ยาก โดยเฉพาะแนฟทาแครกเกอร์จะอยู่ยาก ก็ต้องลดกำลังผลิตลง พอลดกำลังผลิตดีมานด์ก็กลับมา ตรงนี้ตัวมันเองจะแก้ไขตัวมันเองตลอดเวลา ฉะนั้นปี2554 รายได้ในกลุ่มปิโตรเคมีโตขึ้น แต่กำไรยังดูยากมากในขณะนี้
" ปีหน้าจะมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากที่ศาลปกครองฯได้มีคำพิพากษาออกมาแล้ว ก็มีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างของเอสซีจีก็ยังเหลืออีก 2 โครงการ ทั้ง 2 โครงการนี้น่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2554 เป็นต้นไป หลังจากที่ปี 2553 กำลังการผลิตของเราลดลงไปเนื่องจากปัญหามาบตาพุด และเราก็มีการหยุดซ่อมโรงงานโอเลฟินส์ 1 โรงงาน เราก็หวังว่าหลังจากที่เราหยุดซ่อมเสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะมีกำลังผลิตส่วนนี้เข้ามาสมทบ"
นอกจากนี้เอสซีจี เคมิคอลส์ มองว่าที่ผ่านมาได้ลงทุนเต็มที่มาแล้ว จากนี้ไปขอให้โรงงานที่มาบตาพุดเดินเครื่องให้เต็มที่ก่อน ฉะนั้นในปี2554 จะเป็นปีแห่งการปรับปรุงด้านดาวน์สตรีม แครกเกอร์ เป็นปีที่จะต้องดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน หลังจากที่ล่าช้าไปเพราะเผชิญปัญหามาบตาพุด และสินค้าในกลุ่มธุรกิจสินค้าพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง HVA ( High Value-Added Products) ที่จะเข้ามาเป็นตัวหลักที่ช่วยให้มาร์จินดีขึ้น โดยตั้งเป้าว่าในปี 2554 จะมีรายได้จากสินค้ากลุ่มHVA โตขึ้นจาก 33-34% ในปี 2553 เพิ่มเป็น 40%ของรายได้กลุ่มปิโตรเคมีทั้งหมด โดยปี 2554 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะมีการส่งออก 50% ไปยังทวีปเอเชียเป็นหลัก และ 50% ป้อนตลาดในประเทศ
กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี เคมิคอลส์กล่าวถึงสถานการณ์สินค้าและตลาดปิโตรเคมี ตลอดปี 2553ว่า มีบางผลิตภัณฑ์ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดูเบาบางกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่น เม็ดพลาสติกสายโพลิเอทิลีน เนื่องจากมีกำลังการผลิตจากตะวันออกกลางออกมามาก ทำให้มีแรงกดดันด้านราคา ประกอบกับต้นทุนการผลิตเราสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 3และไตรมาส 4 บางผลิตภัณฑ์ที่เคยแย่ก็กลับมาดีขึ้น เช่น เม็ดพลาสติกพีทีเอ ก็ยังเป็นช่วงที่เอสซีจี เคมีคอลส์ยังไม่วางใจ ยังเป็นช่วงที่ต้องดูมาร์จินและสถานการณ์แบบนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2554 เพราะกำลังการผลิตใหม่จากตะวันออกกลางและจีนจะมากขึ้น จากที่ปี 2553 มีการพูดว่าจะมีกำลังผลิตใหม่ของเอทิลีนจากตะวันออกกลางและจีนออกมา 11 ล้านตัน จะเป็นซัพพลายใหม่ที่ออกมา แต่ก็ออกมาจริงประมาณ 8 ล้านตัน ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านดีมานด์ด้วย ถ้าดีมานด์ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญก็จะช่วยดูดซับกำลังผลิตที่ออกมาใหม่ได้ แต่สมมติถ้าดีมานด์ไม่ดีก็จะทำให้มาร์จินลดลงได้ โดยดีมานด์ที่ว่านี้จะดูจีนเป็นหลัก ซึ่งจีนตอนนี้ก็มีการควบคุมเพราะเศรษฐกิจของจีนในเวลานี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะมีผลอย่างไรกับดีมานด์ ซึ่งเราก็ยังต้องติดตามไปเรื่อยๆ และหลายเรื่องก็ยังเป็นเรื่องที่ยากที่จะไปคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะไปในทิศทางไหน ทั้งเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันยังมีความไม่แน่นอนอยู่
สอดคล้องกับที่ก่อนหน้านี้นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)หรือ PTTCH กล่าวว่าปี 2554 จะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีแข่งขันกันดุเดือดไม่ต่างกับปี2553 และคิดว่า Spread เฉลี่ยทั้งปีจะวิ่งอยู่ที่ 450-500 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน คือไม่เกิน500 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันจะโดนแรงกดดันพอสมควรทั้งซัพพลายใหม่จากตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยน และหลังจากปี2554ไปถ้าดูจากแนวโน้มของดีมานด์และซัพพลายตลาดจะค่อยๆดีขึ้น
ฉะนั้นถ้าดูปี2554 ยังมีปัจจัยบวกอยู่ เนื่องจากตลาดยังมีการเติบโตโดยเฉพาะในเอเชีย ในอาเซียน ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก และการที่จะเป็นตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ตรงนี้ไทยต้องเตรียมรับมือ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นขอให้อย่าไปคิดว่าเป็นแค่การเคลื่อนย้ายสินค้า ซึ่งมันไม่ใช่ แต่มันคือการเคลื่อนย้ายของเงินทุน คน และการบริการ และโลจิสติกส์และการถือทรัพย์สิน ตรงนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปหมด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,590 9-11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=418
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 332
INDUSTRY UPDATE : กลุ่มปิโตรเคมี
: บมจ.หลักทรัพย์เอเชียพลัส
16 ธ.ค.--บมจ.หลักทรัพย์ เอเชีย พลัส Distributor - Bisnews AFE
กลุ่มปิโตรเคมี คำแนะนำการลงทุน มากกว่าตลาด
โพรพิลีน, MEG, Px และ PTA โดดเด่นมาก ซื้อ PTTCH PTTAR และ IVL ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรฯ ยังแข็งแกร่ง...เอทิลีน, Px, PTA และ MEG โดดเด่นสุด สถานการณ์ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลักๆ ล่าสุดยังแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะกลุ่มโอเลฟินส์ (เอทิลีน โพรพิลีน และ MEG) และอะโรเมติกส์ (Px และ Bz) ยกเว้นเพียงกลุ่ม PVC ที่ราคาและ Spread อ่อนตัวลงมาเล็กน้อย โดยสรุปได้ดังนี้
1) กลุ่มปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ (PTTCH, IRPC) - ยังครองความโดดเด่นมากในเรื่องของราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคา โพรพิลีน เอทิลีน และ MEG (ยกเว้นเพียง HDPE ที่อ่อนตัวลง) โดยราคาโพรพิลีนถือว่าโดดเด่นสุดในขณะนี้ เห็นได้จากการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาที่ 1.30 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา (PTTCH และ IRPC มีสัดส่วนการผลิตโพรพิลีนเท่ากับ 17.7% และ 4% ของปริมาณการผลิตรวม) ขณะที่ราคาเอทิลีนยังกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาโดยอยู่ที่ 1.08 เหรียญฯ/ตัน ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานระยองโอเลฟินส์ของกลุ่ม SCG เป็นเวลา 1.5 เดือน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ย.53 สำหรับราคา MEG ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ PTTCH (สัดส่วน.15% ของปริมาณการผลิตรวม) พบว่าปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ 1.02 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของ PTTCH ใน 4Q53 และต่อเนื่องถึงใน 1Q54 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของ IRPC ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติก Specialty หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย PP (สัดส่วน 15% ของผลิตภัณฑ์รวม) ราคาล่าสุดเท่ากับ 1.45 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือน และ ABS (สัดส่วน 4%) พบว่าระดับราคาทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องถึง 2.21 พันเหรียญฯ/ตัน และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มา ซึ่งจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของ IRPC ใน 4Q53 และต่อเนื่องถึง 1Q54 อย่างมากเช่นกัน
2) กลุ่ม กลุ่มปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ (PTTAR, TOP, ESSO) - โดดเด่นจากแนวโน้มส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ระดับสูงมาก: ราคาพาราไซลีน (Px) ล่าสุดอยู่ที่ 1.34 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือน แต่ Spread ของราคา Px-แนฟทา สูงมากถึง 518 เหรียญฯ/ตัน เช่นเดียวกับราคาเบนซีน (Bz) ที่ปรับตัวขึ้นมาที่ 990 เหรียญฯ/ตัน ทำให้ Spread ของราคา Bz-แนฟทา เฉลี่ยเท่ากับ 163 เหรียญฯ/ตัน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกมากต่อแนวโน้ม Spread ของกลุ่มอะโรเมติกส์ใน 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 เนื่องจากแนวโน้มความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในช่วง peak สุดของปี อีกทั้งการขาดแคลน Supply ของ PTA ซึ่งเป็นสารขั้นกลาง (ล่าสุดราคา PTA ปรับตัวขึ้นมาที่ 1.19 พัน เหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา) จะยิ่งผลักดันให้ราคา Px ซึ่งเป็นสารขั้นต้นนั้น ยังคงทรงตัวระดับสูงต่อเนื่องได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 ของทั้ง TOP, PTTAR แล ESSO ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มฯ ขณะที่ IVL จะได้รับผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิใน 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 จากการปรับตัวขึ้นของราคา PTA ด้วยเช่นกัน คงน้ำหนักมากกว่าตลาด ซื้อ PTTCH, PTTAR และ IVL ที่มี upside ให้ลงทุน ฝ่ายวิจัยยังคงเลือก PTTCH, PTTAR และ IVL เป็นหุ้น Top picks ในกลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งจะได้รับผลบวกจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ฟื้นตัวและการขยายกำลังการผลิตอย่างมีนัยฯ ในปี 2554 (PTTCH, IVL) และทำให้ EPS ปี 2554 เติบโตอย่างมีนัยฯ
: บมจ.หลักทรัพย์เอเชียพลัส
16 ธ.ค.--บมจ.หลักทรัพย์ เอเชีย พลัส Distributor - Bisnews AFE
กลุ่มปิโตรเคมี คำแนะนำการลงทุน มากกว่าตลาด
โพรพิลีน, MEG, Px และ PTA โดดเด่นมาก ซื้อ PTTCH PTTAR และ IVL ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรฯ ยังแข็งแกร่ง...เอทิลีน, Px, PTA และ MEG โดดเด่นสุด สถานการณ์ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลักๆ ล่าสุดยังแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะกลุ่มโอเลฟินส์ (เอทิลีน โพรพิลีน และ MEG) และอะโรเมติกส์ (Px และ Bz) ยกเว้นเพียงกลุ่ม PVC ที่ราคาและ Spread อ่อนตัวลงมาเล็กน้อย โดยสรุปได้ดังนี้
1) กลุ่มปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ (PTTCH, IRPC) - ยังครองความโดดเด่นมากในเรื่องของราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งราคา โพรพิลีน เอทิลีน และ MEG (ยกเว้นเพียง HDPE ที่อ่อนตัวลง) โดยราคาโพรพิลีนถือว่าโดดเด่นสุดในขณะนี้ เห็นได้จากการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาที่ 1.30 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา (PTTCH และ IRPC มีสัดส่วนการผลิตโพรพิลีนเท่ากับ 17.7% และ 4% ของปริมาณการผลิตรวม) ขณะที่ราคาเอทิลีนยังกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาโดยอยู่ที่ 1.08 เหรียญฯ/ตัน ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานระยองโอเลฟินส์ของกลุ่ม SCG เป็นเวลา 1.5 เดือน เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ย.53 สำหรับราคา MEG ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ PTTCH (สัดส่วน.15% ของปริมาณการผลิตรวม) พบว่าปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ 1.02 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของ PTTCH ใน 4Q53 และต่อเนื่องถึงใน 1Q54 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของ IRPC ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติก Specialty หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย PP (สัดส่วน 15% ของผลิตภัณฑ์รวม) ราคาล่าสุดเท่ากับ 1.45 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือน และ ABS (สัดส่วน 4%) พบว่าระดับราคาทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องถึง 2.21 พันเหรียญฯ/ตัน และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มา ซึ่งจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของ IRPC ใน 4Q53 และต่อเนื่องถึง 1Q54 อย่างมากเช่นกัน
2) กลุ่ม กลุ่มปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ (PTTAR, TOP, ESSO) - โดดเด่นจากแนวโน้มส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ระดับสูงมาก: ราคาพาราไซลีน (Px) ล่าสุดอยู่ที่ 1.34 พันเหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือน แต่ Spread ของราคา Px-แนฟทา สูงมากถึง 518 เหรียญฯ/ตัน เช่นเดียวกับราคาเบนซีน (Bz) ที่ปรับตัวขึ้นมาที่ 990 เหรียญฯ/ตัน ทำให้ Spread ของราคา Bz-แนฟทา เฉลี่ยเท่ากับ 163 เหรียญฯ/ตัน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกมากต่อแนวโน้ม Spread ของกลุ่มอะโรเมติกส์ใน 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 เนื่องจากแนวโน้มความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในช่วง peak สุดของปี อีกทั้งการขาดแคลน Supply ของ PTA ซึ่งเป็นสารขั้นกลาง (ล่าสุดราคา PTA ปรับตัวขึ้นมาที่ 1.19 พัน เหรียญฯ/ตัน สูงสุดในรอบ 2 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา) จะยิ่งผลักดันให้ราคา Px ซึ่งเป็นสารขั้นต้นนั้น ยังคงทรงตัวระดับสูงต่อเนื่องได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 ของทั้ง TOP, PTTAR แล ESSO ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มฯ ขณะที่ IVL จะได้รับผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิใน 4Q53 ต่อเนื่องถึง 1Q54 จากการปรับตัวขึ้นของราคา PTA ด้วยเช่นกัน คงน้ำหนักมากกว่าตลาด ซื้อ PTTCH, PTTAR และ IVL ที่มี upside ให้ลงทุน ฝ่ายวิจัยยังคงเลือก PTTCH, PTTAR และ IVL เป็นหุ้น Top picks ในกลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งจะได้รับผลบวกจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ฟื้นตัวและการขยายกำลังการผลิตอย่างมีนัยฯ ในปี 2554 (PTTCH, IVL) และทำให้ EPS ปี 2554 เติบโตอย่างมีนัยฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 333
นักวิเคราะห์ชี้ราคาน้ำมันพุ่งแตะ $100 ในปี 2554
ความต้องการใช้น้ำมันที่พุ่งขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปริมาณอุปทานของน้ำมันเป็นปัจจัยที่เร่งให้ราคาน้ำมันในปี 2554 ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง แซนฟอร์ด ซี เบิร์นสไตน์ คาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2554 จะอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ ขณะที่การคาดการณ์ของบางสำนักประเมินราคาเฉลี่ยไว้ถึง 100 ดอลลาร์ หรือ เพิ่มขึ้น 26% จากราคาเฉลี่ยในปี 2553 (กรอบการแกว่งตัวให้เอาไว้ที่ประมาณ 75-120 ดอลลาร์)
ทั้งนี้ คาดการณความต้องการใช้น้ำมันขยับขึ้น 1.7% สู่ระดับ 87.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ ขณะที่อุปทาน หรือปริมาณน้ำมันในตลาดจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เท่านั้น โดยความต้องการใช้พลังงานจากจีนจะยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในปีนี้ก็ตามแต่ก็ยังเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งกว่าสหรัฐฯและยุโรปอยู่ดี
อย่างไรก็ดี จากการสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กนั้นพบว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันในปีนี้จะอยู่ที่ 87 ดอลลาร์ จากปีที่แล้วเฉลี่ยที่ 62.09 ดอลลาร์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ความต้องการใช้น้ำมันที่พุ่งขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปริมาณอุปทานของน้ำมันเป็นปัจจัยที่เร่งให้ราคาน้ำมันในปี 2554 ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง แซนฟอร์ด ซี เบิร์นสไตน์ คาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยในปี 2554 จะอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ ขณะที่การคาดการณ์ของบางสำนักประเมินราคาเฉลี่ยไว้ถึง 100 ดอลลาร์ หรือ เพิ่มขึ้น 26% จากราคาเฉลี่ยในปี 2553 (กรอบการแกว่งตัวให้เอาไว้ที่ประมาณ 75-120 ดอลลาร์)
ทั้งนี้ คาดการณความต้องการใช้น้ำมันขยับขึ้น 1.7% สู่ระดับ 87.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ ขณะที่อุปทาน หรือปริมาณน้ำมันในตลาดจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เท่านั้น โดยความต้องการใช้พลังงานจากจีนจะยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในปีนี้ก็ตามแต่ก็ยังเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งกว่าสหรัฐฯและยุโรปอยู่ดี
อย่างไรก็ดี จากการสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กนั้นพบว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันในปีนี้จะอยู่ที่ 87 ดอลลาร์ จากปีที่แล้วเฉลี่ยที่ 62.09 ดอลลาร์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 334
ราคาน้ำมันดิบหลุด 100 เหรียญก่อนกลับมาปิดบวก หลังทหารซาอุฯ บุกเข้าบาร์เรน
Posted on Tuesday, March 15, 2011
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 0.17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 113.67 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 101.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อราคาน้ำมัน
+ ซาอุดิอาราเบียส่งทหารกว่า 1,000 คน ไปยังบาร์เรน ตามการเรียกร้องของผู้ปกครองประเทศ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของกลุ่มความร่วมมือในอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Cooperation Council - GCC - Bahrain, Oman, Qatar, Kuwait, Saudi Arabia, UAE) ที่จะเข้าช่วยเหลือดูแลทรัพย์สินของภาครัฐฯ โดยผู้ประท้วงนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ประกาศว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นสงครามกับผู้ปกครองประเทศนิกายซุนหนี่ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าปัญหาในประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ จะยังคงยืดเยื้อ และอาจส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมอีก
+ ความรุนแรงในลิเบียยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทหารลิเบียใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าใส่ผู้ประท้วงอีกครั้ง เพื่อเป็นการตอบโต้การเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกใช้มาตรการห้ามบิน (No-Fly zone) กับรัฐบาลกัดดาฟี่
+ การชุมนุมประท้วงที่เยเมนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ซึ่งล่าสุดเกิดเหตุการณ์ปะทะกันในหลายพื้นที่ โดยมีทหารเสียชีวิต 3 นาย และเหตุระเบิดท่อขนส่งน้ำมันดิบในเขตจังหวัด Maarib โดยเยเมนเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายเล็กที่มีกำลังการผลิตเพียง 300,000 บาร์เรลต่อวัน
+ นักลงทุนคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะมีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มเติมอีกอย่างต่ำ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อชดเชยกำลังการผลิตจากโรงกลั่น 6 โรง รวม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่ง รวม 12.5 กิกะวัตต์ ที่ยังปิดดำเนินการอยู่ ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล อากาศยาน และน้ำมันเตา ที่สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนได้ ปรับตัวสูงขึ้น และช่วยดันราคาน้ำมันดิบเช่นกัน
ราคาน้ำมันดิบดูไบ ตลาดสิงคโปร์ ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 2.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 106.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซินสำเร็จรูป ตลาดสิงคโปร์ ปรับลดลง 1.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 119.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่งในญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กำลังการผลิตรวม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 31% ของกำลังการกลั่นทั้งประเทศ ซึ่งจะทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของญี่ปุ่นมายังตลาดสิงคโปร์ปรับลดลง
ราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูป ตลาดสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 129.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากผลกระทบจากโรงกลั่น และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปิดดำเนินการอยู่เช่นกัน โดยตลาดคาดว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลในประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้าชดเชยบางส่วน และทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากญี่ปุ่น
- สนับสนุนข้อมูลโดยบมจ. ไทยออยล์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Tuesday, March 15, 2011
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 0.17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 113.67 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 101.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อราคาน้ำมัน
+ ซาอุดิอาราเบียส่งทหารกว่า 1,000 คน ไปยังบาร์เรน ตามการเรียกร้องของผู้ปกครองประเทศ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของกลุ่มความร่วมมือในอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Cooperation Council - GCC - Bahrain, Oman, Qatar, Kuwait, Saudi Arabia, UAE) ที่จะเข้าช่วยเหลือดูแลทรัพย์สินของภาครัฐฯ โดยผู้ประท้วงนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ประกาศว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นสงครามกับผู้ปกครองประเทศนิกายซุนหนี่ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าปัญหาในประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ จะยังคงยืดเยื้อ และอาจส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมอีก
+ ความรุนแรงในลิเบียยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทหารลิเบียใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าใส่ผู้ประท้วงอีกครั้ง เพื่อเป็นการตอบโต้การเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกใช้มาตรการห้ามบิน (No-Fly zone) กับรัฐบาลกัดดาฟี่
+ การชุมนุมประท้วงที่เยเมนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ซึ่งล่าสุดเกิดเหตุการณ์ปะทะกันในหลายพื้นที่ โดยมีทหารเสียชีวิต 3 นาย และเหตุระเบิดท่อขนส่งน้ำมันดิบในเขตจังหวัด Maarib โดยเยเมนเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายเล็กที่มีกำลังการผลิตเพียง 300,000 บาร์เรลต่อวัน
+ นักลงทุนคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะมีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มเติมอีกอย่างต่ำ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อชดเชยกำลังการผลิตจากโรงกลั่น 6 โรง รวม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 แห่ง รวม 12.5 กิกะวัตต์ ที่ยังปิดดำเนินการอยู่ ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล อากาศยาน และน้ำมันเตา ที่สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนได้ ปรับตัวสูงขึ้น และช่วยดันราคาน้ำมันดิบเช่นกัน
ราคาน้ำมันดิบดูไบ ตลาดสิงคโปร์ ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 2.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 106.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซินสำเร็จรูป ตลาดสิงคโปร์ ปรับลดลง 1.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 119.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน 6 แห่งในญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กำลังการผลิตรวม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 31% ของกำลังการกลั่นทั้งประเทศ ซึ่งจะทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของญี่ปุ่นมายังตลาดสิงคโปร์ปรับลดลง
ราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูป ตลาดสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 129.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากผลกระทบจากโรงกลั่น และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปิดดำเนินการอยู่เช่นกัน โดยตลาดคาดว่าญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลในประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้าชดเชยบางส่วน และทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากญี่ปุ่น
- สนับสนุนข้อมูลโดยบมจ. ไทยออยล์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 335
การประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางด้านพลังงานทดแทนในประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจใหม่
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้กำหนดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางด้านพลังงานทดแทนในประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจใหม่ ขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรม เจ บี หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยภายในงานสัมมนาครั้งนี้ ยังมีการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2554และ การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณครั้งที่ 21 ประจำปี 2554 อีกด้วย นับเป็นโอกาสอันดีในการได้รับความรู้และข้อมูลด้านงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาระบบอุดมศึกษา
http://www.pt.tsu.ac.th/rdi/conference2011/
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ได้กำหนดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางด้านพลังงานทดแทนในประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจใหม่ ขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรม เจ บี หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยภายในงานสัมมนาครั้งนี้ ยังมีการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2554และ การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณครั้งที่ 21 ประจำปี 2554 อีกด้วย นับเป็นโอกาสอันดีในการได้รับความรู้และข้อมูลด้านงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาระบบอุดมศึกษา
http://www.pt.tsu.ac.th/rdi/conference2011/
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 336
ตรงที่ผมระบายสีแดงไว้ มันน่าเสียดายนะครับ
เฮ้อ...แย่จัง!!!
==============================================================
Malaysia remains third leading offshoring destination [ Monday February 7, 2011 ]
NEW YORK: Malaysia continues to rank third, after India and China, in the list of the world's leading offshoring destinations, according to global management consulting firm A.T. Kearney's latest Global Services Location Index.
Malaysia also remains a force to be reckoned with among Asean member countries fiercely competing for a slice of the global offshoring pie, the index showed.
While Indonesia continues to rank fifth, Thailand has slipped from fourth to seventh ranking while the Philippines from seventh to ninth.
Within Asean, Vietnam inches its way up to No. 8 from No. 10 previously.
Asian countries dominate the top 10 positions in the index. A combination of human resources and low costs have, once again, placed India, China and Malaysia in the top three spots they have held since the inauguration of the index in 2003.
According to the index, the Middle East and North Africa have become increasingly attractive because of their proximity to Europe and their vast talent.
Egypt is the leader in the region and fourth worldwide, directly behind Malaysia.
However, the rankings were compiled before the current political unrest erupted. Consequently, the political uncertainty and the country risk associated with Egypt had “dramatically increased and the situation needs to be closely monitored to gauge whether the long-term risk profile will change,” the report said - Bernama
ที่มา : http://biz.thestar.com.my/news/story.as ... c=business
เฮ้อ...แย่จัง!!!
==============================================================
Malaysia remains third leading offshoring destination [ Monday February 7, 2011 ]
NEW YORK: Malaysia continues to rank third, after India and China, in the list of the world's leading offshoring destinations, according to global management consulting firm A.T. Kearney's latest Global Services Location Index.
Malaysia also remains a force to be reckoned with among Asean member countries fiercely competing for a slice of the global offshoring pie, the index showed.
While Indonesia continues to rank fifth, Thailand has slipped from fourth to seventh ranking while the Philippines from seventh to ninth.
Within Asean, Vietnam inches its way up to No. 8 from No. 10 previously.
Asian countries dominate the top 10 positions in the index. A combination of human resources and low costs have, once again, placed India, China and Malaysia in the top three spots they have held since the inauguration of the index in 2003.
According to the index, the Middle East and North Africa have become increasingly attractive because of their proximity to Europe and their vast talent.
Egypt is the leader in the region and fourth worldwide, directly behind Malaysia.
However, the rankings were compiled before the current political unrest erupted. Consequently, the political uncertainty and the country risk associated with Egypt had “dramatically increased and the situation needs to be closely monitored to gauge whether the long-term risk profile will change,” the report said - Bernama
ที่มา : http://biz.thestar.com.my/news/story.as ... c=business
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 337
The Attractiveness of Offshore Locations in 50 countries
Full Article >> http://www.atkearney.com/index.php/Publ ... -2010.html
Full Article >> http://www.atkearney.com/index.php/Publ ... -2010.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 338
ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยมีใช้อีก18ปี ปตท.เร่งรับซื้อหันนำเข้าแอลเอ็นจี ก.พลังงานห่วงเพิ่มความเสี่ยงพึ่งพา
วันที่ : 01/06/2011
แหล่งข่าว : มติชน
ตัวเลขใช้ก๊าซธรรมชาติเดือน พ.ค.ทะลุ 4.6 พันลูกบาศก์ฟุตต่อวันสูงสุดในรอบ 30 ปี เหตุราคาน้ำมันพุ่ง คนแห่มาใช้รถเอ็นจีวี แถมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สะดุด ปตท. เร่งรับซื้อประเทศเพื่อนบ้าน ดีเดย์3 มิ.ย.นัดถกปรับแผนพีดีพีใหม่
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า อัตราการใช้ก๊าซธรรมชาติเดือนพฤษภาคม 2554 มีการใช้สูงสุดในรอบ 30 ปี อยู่ที่ 4.5-4.6 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เทียบกับ ปี 2553 มีการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 4.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์มีปริมาณการใช้สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6 พันตันต่อวัน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูง ประชาชนสนใจใช้ก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี) ในรถยนต์มากขึ้น
"ขณะนี้กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอมากยิ่งขึ้น เพราะหากเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้น ความต้องการย่อมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ไทยมีแผนชะลอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5,000 เมกะวัตต์อย่างน้อย 3 ปี จากแผนเดิมจะเริ่มผลิตได้ปี2563 และมีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซทดแทนจึงจำเป็นต้องหาก๊าซให้เพียงพอ"
นายคุรุจิตกล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และโครงการในพื้นที่ ไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) มีปริมาณรวม 23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หากคำนวณจากการใช้ปริมาณก๊าซในปัจจุบันประมาณ 4,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ ประมาณ 1.25 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี จะมีปริมาณสำรองก๊าซใช้ได้ประมาณ 18 ปี ก๊าซในอ่าวไทยก็จะหมดลง หากปี 2555 เศรษฐกิจมีการขยายตัวจะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้นเป็น5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 1.55 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ก๊าซในอ่าวไทย จะหมดลงภายใน 15 ปีเท่านั้น
"ขณะนี้ทาง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ได้เร่งจัดหาก๊าซทั้งการรับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) แต่ก็น่าเป็นห่วง เพราะหากยิ่งพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นและราคาปรับตัวสูงขึ้นแล้วจะมีผลทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงในการพึ่งพาก๊าซมากขึ้น" นายคุรุจิตกล่าว
นายคุรุจิตกล่าวถึงกรณีรัฐบาลเยอรมนีแถลงยุติการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในปีค.ศ.2022 ว่า ในเรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลแต่ละประเทศ ในส่วนของประเทศจีนยังไม่ยุติการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะมีการก่อสร้างโรงใหม่ 20 โรง ทำให้มีกำลังการผลิตรวม 30 โรง ทำให้ลดต้นทุน เนื่องจากจีนมีประชากรสูง 1,300 ล้านคน การใช้ไฟฟ้าสูงมาก
นายนที ทับมณี รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ใหม่ โดยเริ่มจากการประเมินค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ ภายใต้คณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ ที่มีนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)เป็นประธาน เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เลื่อนออกไปตามแผนเดิมอีก 3 ปีและคาดว่าจะต้องมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากเดิมกำหนดจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้น 5 โรงกำลังผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
วันที่ : 01/06/2011
แหล่งข่าว : มติชน
ตัวเลขใช้ก๊าซธรรมชาติเดือน พ.ค.ทะลุ 4.6 พันลูกบาศก์ฟุตต่อวันสูงสุดในรอบ 30 ปี เหตุราคาน้ำมันพุ่ง คนแห่มาใช้รถเอ็นจีวี แถมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สะดุด ปตท. เร่งรับซื้อประเทศเพื่อนบ้าน ดีเดย์3 มิ.ย.นัดถกปรับแผนพีดีพีใหม่
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า อัตราการใช้ก๊าซธรรมชาติเดือนพฤษภาคม 2554 มีการใช้สูงสุดในรอบ 30 ปี อยู่ที่ 4.5-4.6 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เทียบกับ ปี 2553 มีการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 4.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์มีปริมาณการใช้สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6 พันตันต่อวัน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูง ประชาชนสนใจใช้ก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี) ในรถยนต์มากขึ้น
"ขณะนี้กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญต่อการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอมากยิ่งขึ้น เพราะหากเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้น ความต้องการย่อมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ไทยมีแผนชะลอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5,000 เมกะวัตต์อย่างน้อย 3 ปี จากแผนเดิมจะเริ่มผลิตได้ปี2563 และมีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซทดแทนจึงจำเป็นต้องหาก๊าซให้เพียงพอ"
นายคุรุจิตกล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และโครงการในพื้นที่ ไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) มีปริมาณรวม 23 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หากคำนวณจากการใช้ปริมาณก๊าซในปัจจุบันประมาณ 4,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ ประมาณ 1.25 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี จะมีปริมาณสำรองก๊าซใช้ได้ประมาณ 18 ปี ก๊าซในอ่าวไทยก็จะหมดลง หากปี 2555 เศรษฐกิจมีการขยายตัวจะส่งผลให้ความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้นเป็น5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 1.55 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ก๊าซในอ่าวไทย จะหมดลงภายใน 15 ปีเท่านั้น
"ขณะนี้ทาง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ได้เร่งจัดหาก๊าซทั้งการรับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) แต่ก็น่าเป็นห่วง เพราะหากยิ่งพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นและราคาปรับตัวสูงขึ้นแล้วจะมีผลทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงในการพึ่งพาก๊าซมากขึ้น" นายคุรุจิตกล่าว
นายคุรุจิตกล่าวถึงกรณีรัฐบาลเยอรมนีแถลงยุติการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในปีค.ศ.2022 ว่า ในเรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลแต่ละประเทศ ในส่วนของประเทศจีนยังไม่ยุติการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะมีการก่อสร้างโรงใหม่ 20 โรง ทำให้มีกำลังการผลิตรวม 30 โรง ทำให้ลดต้นทุน เนื่องจากจีนมีประชากรสูง 1,300 ล้านคน การใช้ไฟฟ้าสูงมาก
นายนที ทับมณี รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือเพื่อปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ใหม่ โดยเริ่มจากการประเมินค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ ภายใต้คณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ ที่มีนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)เป็นประธาน เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เลื่อนออกไปตามแผนเดิมอีก 3 ปีและคาดว่าจะต้องมีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากเดิมกำหนดจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้น 5 โรงกำลังผลิตโรงละ 1,000 เมกะวัตต์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 339
May 26, 2011 | 03:46 Logistics2day.com
น้ำมันครึ่งปีหลังยืนเหนือ100$ Shareอนุสรณ์ประเมินราคาน้ำมันครึ่งปีหลังยืนเหนือ100ดอลล์/บาร์เรล
บางจากประเมินราคาน้ำมันโลกครึ่งปีหลังยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คาดการกลั่นไตรมาส 2เฉลี่ย 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จะยังคงอยู่ที่ระดับสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากยังมีปัจจัยความเสี่ยงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในลิเบียที่ผลิตน้ำมันอยู่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยุติลงเมื่อใด รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจหนี้สาธารณะในยุโรป ที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน
นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจจีน (GDP growth) ที่ประมาณ 9% ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้น้ำมันเพิ่มในจีนอีกถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันจะไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ทั่วโลกใกล้เคียงกับปริมาณการใช้ทำให้เกิดภาวะอุปสงค์อุปทานตึงตัว
ทั้งนี้บางจากได้ปรับประมาณการราคาน้ำมันในปีนี้ จากเดิมประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลมาอยู่ที่ 105 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า แม้แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ จะปรับตัวลดลงแต่โดยรวมแล้วค่าการกลั่นเฉลี่ยทั้งไตรมาส จะอยู่ที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาสที่1ของปีนี้
Reference
http://www.logistics2day.com/App_Websit ... spx?id=853
น้ำมันครึ่งปีหลังยืนเหนือ100$ Shareอนุสรณ์ประเมินราคาน้ำมันครึ่งปีหลังยืนเหนือ100ดอลล์/บาร์เรล
บางจากประเมินราคาน้ำมันโลกครึ่งปีหลังยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คาดการกลั่นไตรมาส 2เฉลี่ย 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันโลกในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จะยังคงอยู่ที่ระดับสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากยังมีปัจจัยความเสี่ยงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในลิเบียที่ผลิตน้ำมันอยู่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยุติลงเมื่อใด รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจหนี้สาธารณะในยุโรป ที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน
นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจจีน (GDP growth) ที่ประมาณ 9% ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้น้ำมันเพิ่มในจีนอีกถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันจะไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ทั่วโลกใกล้เคียงกับปริมาณการใช้ทำให้เกิดภาวะอุปสงค์อุปทานตึงตัว
ทั้งนี้บางจากได้ปรับประมาณการราคาน้ำมันในปีนี้ จากเดิมประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลมาอยู่ที่ 105 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า แม้แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ จะปรับตัวลดลงแต่โดยรวมแล้วค่าการกลั่นเฉลี่ยทั้งไตรมาส จะอยู่ที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาสที่1ของปีนี้
Reference
http://www.logistics2day.com/App_Websit ... spx?id=853
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 340
ออสซี่แห้วไม่พบน้ำมันที่พิจิตร
วันที่ : 03/06/2011
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)
พิจิตร - วานนี้ (2 มิ.ย.) นายวรชาติ พวงเงิน ผอ.สำนักงานพลังงานจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่ากรณีที่บริษัทคาร์นาร์วอน ประเทศไทย จำกัด เข้ามาสำรวจหาปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบในเขตจ.พิจิตร จากนั้นได้ตั้งแท่นขุดเจาะเพื่อหาน้ำมันดิบใต้ดินจำนวน 2 หลุม คือ บ่อน้ำมัน CVN 5 หรือบ่อตะเภาแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านหนองหวายหมู่ 7 ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร และบ่อน้ำมัน CVN 3 หรือบ่อไกรทอง ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.ท่าขมิ้น อ.โพทะเล จ.พิจิตร และเมื่อวันที่22 ม.ค. 2554 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ พร้อมกับ Mr.James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ตลอดจนผู้ร่วมทุนชาวออสเตรเลีย ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่
ผลจากการสำรวจขุดเจาะโดยนักวิชาการชาวต่างชาติที่ใช้เงินลงทุนไปกว่า 100 ล้านบาทอีกทั้งยังเป็นความฝันของชาวพิจิตร ว่า จะร่ำรวยหากได้พบเจอน้ำมันดิบใต้ดินใน 2 หลุมดังกล่าว ล่าสุดบริษัท คาร์นาร์วอน ได้ทำรายงานว่า ในเขตพื้นที่ดังกล่าวสำรวจแล้วไม่พบน้ำมันดิบใต้ดิน จึงเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้านบริษัท ปตท. ก็ได้เข้ามาสำรวจและจะขอตั้งแท่นขุดเจาะที่ ต.วังโมกข์อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร อีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งจะพบปริมาณน้ำมันสำรองใต้ดินเพียงพอ หรือคุ้มต่อการลงทุนหรือไม่นั้นก็คงต้องดูกันต่อไป--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
วันที่ : 03/06/2011
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)
พิจิตร - วานนี้ (2 มิ.ย.) นายวรชาติ พวงเงิน ผอ.สำนักงานพลังงานจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่ากรณีที่บริษัทคาร์นาร์วอน ประเทศไทย จำกัด เข้ามาสำรวจหาปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบในเขตจ.พิจิตร จากนั้นได้ตั้งแท่นขุดเจาะเพื่อหาน้ำมันดิบใต้ดินจำนวน 2 หลุม คือ บ่อน้ำมัน CVN 5 หรือบ่อตะเภาแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านหนองหวายหมู่ 7 ต.ห้วยแก้ว อ.บึงนาราง จ.พิจิตร และบ่อน้ำมัน CVN 3 หรือบ่อไกรทอง ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.ท่าขมิ้น อ.โพทะเล จ.พิจิตร และเมื่อวันที่22 ม.ค. 2554 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ พร้อมกับ Mr.James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ตลอดจนผู้ร่วมทุนชาวออสเตรเลีย ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่
ผลจากการสำรวจขุดเจาะโดยนักวิชาการชาวต่างชาติที่ใช้เงินลงทุนไปกว่า 100 ล้านบาทอีกทั้งยังเป็นความฝันของชาวพิจิตร ว่า จะร่ำรวยหากได้พบเจอน้ำมันดิบใต้ดินใน 2 หลุมดังกล่าว ล่าสุดบริษัท คาร์นาร์วอน ได้ทำรายงานว่า ในเขตพื้นที่ดังกล่าวสำรวจแล้วไม่พบน้ำมันดิบใต้ดิน จึงเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้านบริษัท ปตท. ก็ได้เข้ามาสำรวจและจะขอตั้งแท่นขุดเจาะที่ ต.วังโมกข์อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร อีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งจะพบปริมาณน้ำมันสำรองใต้ดินเพียงพอ หรือคุ้มต่อการลงทุนหรือไม่นั้นก็คงต้องดูกันต่อไป--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 341
ก.พลังงานเร่งโละแท่นผลิตอ่าวไทยเปิดทางเลือก'เชฟรอน-เพิร์ลออยล์'ย้ายแหล่งเจาะ
วันที่ : 04/06/2011
แหล่งข่าว : ประชาชาติธุรกิจ
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งแผนรับมือโละแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย 5 ปีข้างหน้าของยักษ์ใหญ่ "เชฟรอนเพิร์ลออยล์" เผยมี 2 ทางเลือก แปลงสภาพเป็นแหล่งปลูกปะการังเทียมกับลากเข้าฝั่ง แอบมีหวังรัฐเจรจาใช้พื้นที่ทับซ้อนไทย-เขมร พร้อมตั้งกองทุนหนุนการรื้อถอนมูลค่าสูงลิบ
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยในพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทยของผู้ประกอบการอาจต้องรื้อถอน 2 บริษัท คือ บริษัทเชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด และบริษัท เพิร์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งอาจรื้อถอนบางแท่น โดยมี 2 แนวทางที่เหมาะสม คือ 1.นำแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ต้องรื้อถอนมาทำเป็นปะการังเทียม ด้วยวิธีล้มแท่นผลิตในพื้นที่เหมาะสม 2.ลากแท่นปิโตรเลียมกลับเข้าฝั่ง และแยกชิ้นส่วนนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป แต่ละแนวทางมีต้นทุนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการลากแท่นผลิตกลับเข้าฝั่งต้นทุนเกือบ 50%ของมูลค่าแท่นผลิต
รวมทั้งยังเตรียมร่างรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนเพื่อรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม เบื้องต้นจะกำหนดกลุ่มผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ดำเนินการผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งพบมีปริมาณสำรองในพื้นที่แปลงสัมปทานลดเหลือน้อยกว่า20% จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการรื้อถอนดังกล่าว ขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการกำหนดวงเงินส่งเข้ากองทุนควรจะเป็นเท่าไร ส่วนวิธีการจะต้องประกาศเป็นกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
"ตอนนี้ทุกฝ่ายร่วมกับกรมเชื้อเพลิงจะดูตัวเลขปริมาณสำรองเป็นเงื่อนไขหลัก โดยได้ติดตามความเคลื่อนไหวตัวเลขปริมาณสำรองไปพร้อมกับผู้รับสัมปทานในพื้นที่ ความจริงไม่ได้ดูกันที่อายุของแท่นผลิตว่าเกินกว่า 30 ปีแล้วจะต้องทิ้งเท่านั้น เช่น แท่นผลิตเอราวัณของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) อายุการใช้งานค่อนข้างมาก แต่มีการบำรุงรักษาที่ดีมาก ยังสามารถใช้งานได้ต่อ รวมถึงยังคงผลิตได้อีกนาน และปริมาณสำรองตลอดช่วง 5 ปี โดยไม่น่าจะเหลือต่ำกว่า 20%"
นายทรงภพกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าต้นทุนในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมสูงมาก ตัวอย่าง มูลค่าแท่น 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องเสียค่ารื้อถอน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมและเงื่อนไขให้ผู้รับสัมปทานต้องดำเนินการกฎหมายกำหนดไว้ แต่กรมเชื้อเพลิงฯพยายามหาทางเลือกที่ดีโดยผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่จำเป็นต้องรื้อถอนแท่นผลิตทิ้ง คือ หากการเจรจาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาสำเร็จสามารถเคลื่อนย้ายแท่นผลิตปิโตรเลียมจากอ่าวไทยไปยังพื้นที่ทับซ้อนต่อได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 มิ.ย. 2554
วันที่ : 04/06/2011
แหล่งข่าว : ประชาชาติธุรกิจ
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งแผนรับมือโละแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย 5 ปีข้างหน้าของยักษ์ใหญ่ "เชฟรอนเพิร์ลออยล์" เผยมี 2 ทางเลือก แปลงสภาพเป็นแหล่งปลูกปะการังเทียมกับลากเข้าฝั่ง แอบมีหวังรัฐเจรจาใช้พื้นที่ทับซ้อนไทย-เขมร พร้อมตั้งกองทุนหนุนการรื้อถอนมูลค่าสูงลิบ
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยในพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมบริเวณอ่าวไทยของผู้ประกอบการอาจต้องรื้อถอน 2 บริษัท คือ บริษัทเชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด และบริษัท เพิร์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งอาจรื้อถอนบางแท่น โดยมี 2 แนวทางที่เหมาะสม คือ 1.นำแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ต้องรื้อถอนมาทำเป็นปะการังเทียม ด้วยวิธีล้มแท่นผลิตในพื้นที่เหมาะสม 2.ลากแท่นปิโตรเลียมกลับเข้าฝั่ง และแยกชิ้นส่วนนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป แต่ละแนวทางมีต้นทุนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการลากแท่นผลิตกลับเข้าฝั่งต้นทุนเกือบ 50%ของมูลค่าแท่นผลิต
รวมทั้งยังเตรียมร่างรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนเพื่อรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม เบื้องต้นจะกำหนดกลุ่มผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ดำเนินการผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งพบมีปริมาณสำรองในพื้นที่แปลงสัมปทานลดเหลือน้อยกว่า20% จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการรื้อถอนดังกล่าว ขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการกำหนดวงเงินส่งเข้ากองทุนควรจะเป็นเท่าไร ส่วนวิธีการจะต้องประกาศเป็นกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม
"ตอนนี้ทุกฝ่ายร่วมกับกรมเชื้อเพลิงจะดูตัวเลขปริมาณสำรองเป็นเงื่อนไขหลัก โดยได้ติดตามความเคลื่อนไหวตัวเลขปริมาณสำรองไปพร้อมกับผู้รับสัมปทานในพื้นที่ ความจริงไม่ได้ดูกันที่อายุของแท่นผลิตว่าเกินกว่า 30 ปีแล้วจะต้องทิ้งเท่านั้น เช่น แท่นผลิตเอราวัณของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) อายุการใช้งานค่อนข้างมาก แต่มีการบำรุงรักษาที่ดีมาก ยังสามารถใช้งานได้ต่อ รวมถึงยังคงผลิตได้อีกนาน และปริมาณสำรองตลอดช่วง 5 ปี โดยไม่น่าจะเหลือต่ำกว่า 20%"
นายทรงภพกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าต้นทุนในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมสูงมาก ตัวอย่าง มูลค่าแท่น 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้องเสียค่ารื้อถอน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมและเงื่อนไขให้ผู้รับสัมปทานต้องดำเนินการกฎหมายกำหนดไว้ แต่กรมเชื้อเพลิงฯพยายามหาทางเลือกที่ดีโดยผู้ประกอบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่จำเป็นต้องรื้อถอนแท่นผลิตทิ้ง คือ หากการเจรจาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาสำเร็จสามารถเคลื่อนย้ายแท่นผลิตปิโตรเลียมจากอ่าวไทยไปยังพื้นที่ทับซ้อนต่อได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 มิ.ย. 2554
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 342
ปรับแผนพัฒนาพีดีพีฉบับใหมหลังเลื่อนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [ วันที่ : 13/06/2011 ]
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ากระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(พีดีพี) ฉบับใหม่ (2011-2030) โดยจะประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ หลังจากเลื่อนแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี จากเดิมจะมีโรงแรกเข้าระบบในปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นรวมทั้งความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2554 นี้ไม่สูงอย่างที่คาดว่าไว้ เพราะสภาพอากาศที่เย็นและเร็ว ขณะที่พีดีพีฉบับใหม่มีแนวคิดจะนำแผนอนุรักษ์พลังงานบรรจุในการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีการเติบโตในอัตราที่ลดต่ำลง
นอกจากนี้ จะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าดังกล่าวให้แล้วเสร็จประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2554 นี้ ก่อนที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศให้การพิจารณาต่อไป
"หลังการศึกษาค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเสร็จคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนว่าในแต่ละปีกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่จะมาจากเชื้อเพลิงใด และรวมกำลังการผลิต ติดตั้งตลอดทั้งแผนงานจะเป็นอย่างไร" แหล่งข่าวกล่าว
นายเทียนไชย จงพีร์เพียร นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ในฐานะคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า กล่าวว่าคณะทำงานได้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า
โดยอิงการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ที่ 4% คาดว่าจะทำให้การใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่1,300 เมกะวัตต์ต่อปี หากมีการนำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี มาพิจารณาด้วย จะทำให้ค่าประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงมากยิ่งขึ้น จากเดิมผลการศึกษาคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยจะต่ำกว่า 1,300 เมกะวัตต์ต่อปี และช่วยลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลงได้
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้การจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าซึ่งจะต้องคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะหากลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงได้แล้ว จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่เท่าใด เพื่อให้กฟผ.นำไปพิจารณาว่าจะเลือกเชื้อเพลิงชนิดใดในการผลิตไฟฟ้าที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด โดยเฉพาะการพิจารณาจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
นายพิบูลย์ บัวแช่ม ผู้ช่วยผู้ว่าการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในเดือนมิถุนายน 2554 มีแนวโน้มดีขึ้น จากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอาคารพาณิชย์ไม่สูงมากนัก ทั้งที่เป็นช่วงหน้าร้อนโดยคาดว่าปี 2554 ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศจะขยายตัว 2% ลดลงจากช่วงต้นปีที่ประเมินไว้ว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 1.6 แสนหน่วย ขยายตัว 4%--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ากระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(พีดีพี) ฉบับใหม่ (2011-2030) โดยจะประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ หลังจากเลื่อนแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี จากเดิมจะมีโรงแรกเข้าระบบในปี 2563 ซึ่งคาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นรวมทั้งความต้องการใช้ไฟฟ้าในปี 2554 นี้ไม่สูงอย่างที่คาดว่าไว้ เพราะสภาพอากาศที่เย็นและเร็ว ขณะที่พีดีพีฉบับใหม่มีแนวคิดจะนำแผนอนุรักษ์พลังงานบรรจุในการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีการเติบโตในอัตราที่ลดต่ำลง
นอกจากนี้ จะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าดังกล่าวให้แล้วเสร็จประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2554 นี้ ก่อนที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศให้การพิจารณาต่อไป
"หลังการศึกษาค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเสร็จคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนว่าในแต่ละปีกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่จะมาจากเชื้อเพลิงใด และรวมกำลังการผลิต ติดตั้งตลอดทั้งแผนงานจะเป็นอย่างไร" แหล่งข่าวกล่าว
นายเทียนไชย จงพีร์เพียร นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ในฐานะคณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า กล่าวว่าคณะทำงานได้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า
โดยอิงการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ที่ 4% คาดว่าจะทำให้การใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่1,300 เมกะวัตต์ต่อปี หากมีการนำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี มาพิจารณาด้วย จะทำให้ค่าประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงมากยิ่งขึ้น จากเดิมผลการศึกษาคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยจะต่ำกว่า 1,300 เมกะวัตต์ต่อปี และช่วยลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลงได้
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้การจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าซึ่งจะต้องคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะหากลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงได้แล้ว จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่เท่าใด เพื่อให้กฟผ.นำไปพิจารณาว่าจะเลือกเชื้อเพลิงชนิดใดในการผลิตไฟฟ้าที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด โดยเฉพาะการพิจารณาจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
นายพิบูลย์ บัวแช่ม ผู้ช่วยผู้ว่าการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในเดือนมิถุนายน 2554 มีแนวโน้มดีขึ้น จากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอาคารพาณิชย์ไม่สูงมากนัก ทั้งที่เป็นช่วงหน้าร้อนโดยคาดว่าปี 2554 ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศจะขยายตัว 2% ลดลงจากช่วงต้นปีที่ประเมินไว้ว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 1.6 แสนหน่วย ขยายตัว 4%--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 343
LNG plan on track [ Bangkok today, 11/06/2011 ]
ENERGY:Thailand’s first liquefied natural gas (LNG) receiving terminal is on schedule to begin commercial operations in July after the first test run went well, according to PTT Plc.
PTT received 60,000 tonnes of LNG from Qatar in the spot market on May 31 for the test run at the $880-million terminal, the first in Southeast Asia, said Wichai Pornkeratiwat, senior executive vicepresident for the gas business.
The company plans to import another lot of LNG for further testing before the commercial run starts.
The terminal can handle up to 5 million tonnes per year of LNG.
Source: Bangkok Post
ENERGY:Thailand’s first liquefied natural gas (LNG) receiving terminal is on schedule to begin commercial operations in July after the first test run went well, according to PTT Plc.
PTT received 60,000 tonnes of LNG from Qatar in the spot market on May 31 for the test run at the $880-million terminal, the first in Southeast Asia, said Wichai Pornkeratiwat, senior executive vicepresident for the gas business.
The company plans to import another lot of LNG for further testing before the commercial run starts.
The terminal can handle up to 5 million tonnes per year of LNG.
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 344
กฟภ. เผยไทยจะมีพลังงานแสงอาทิตย์เข้าระบบ 600 MW ในอีก 2 ปีข้างหน้า
นายณรงศักดิ์ กำมเลศ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบของ กฟภ. ไม่ต่ำกว่า 600 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีบริษัทเอกชนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วประมาณ 400 เมกะวัตต์ โดยได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. รวม 3,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้แม้ขณะนี้อัตราการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อค่าไฟฟ้า (แอดเดอร์) ที่ภาครัฐให้มีอัตราลดลงเหลือ 6.50 บาทต่อหน่วย ทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุนช่วงที่ผ่านมา แต่แนวโน้มภายใน 3 -5 ปีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 50 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ เนื่องจากทิศทางต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้มีราคาลดลง ส่งผลให้ภาคเอกชนไทยหันมาสนใจการลงทุนเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ทิศทางของอัตราการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อค่าไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ จะเป็นการเสนออัตราการสนับสนุนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าระบบ Feed In Tariff สำหรับไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้รัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบเพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
นายณรงศักดิ์ กำมเลศ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบของ กฟภ. ไม่ต่ำกว่า 600 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีบริษัทเอกชนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วประมาณ 400 เมกะวัตต์ โดยได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. รวม 3,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้แม้ขณะนี้อัตราการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อค่าไฟฟ้า (แอดเดอร์) ที่ภาครัฐให้มีอัตราลดลงเหลือ 6.50 บาทต่อหน่วย ทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุนช่วงที่ผ่านมา แต่แนวโน้มภายใน 3 -5 ปีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 50 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ เนื่องจากทิศทางต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้มีราคาลดลง ส่งผลให้ภาคเอกชนไทยหันมาสนใจการลงทุนเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ทิศทางของอัตราการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อค่าไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ จะเป็นการเสนออัตราการสนับสนุนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่าระบบ Feed In Tariff สำหรับไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้รัฐบาลใหม่พิจารณาเห็นชอบเพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
โพสต์ที่ 345
มาดูข้อมูล ของ Shale Gas ว่าที่พลังงานหลักของโลกที่จะเข้ามาแทนน้ำมัน
เหรียญ2ด้าน
Shale Gas
ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน(shale Gas)คืออะไร?
ความหมายตรงตัวของคำว่า "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" คือ ก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการหมักหมมของซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันมาเป็นเวลาล้าน ๆ ปี และถูกกักอยู่ภายในชั้นหินดินดาน โดยหินดินดานจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งกำเนิดของก๊าซ และเป็นแหล่งเก็บของมันโดยธรรมชาติด้วย
ล่าสุด ตัวเลขของสำนักงานข่าวสารพลังงานสหรัฐ (US EIA) ระบุว่า ทั่วโลกเท่าที่ค้นพบ ณ ขณะนี้ น่าจะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติในเบื้องต้นประมาณ 170 tcm หรือ 170 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขกว่า 40% ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน และนี่เป็นเพียงการค้นพบเบื้องต้นเท่านั้น ในอนาคตเชื่อว่าน่าจะพบได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า
แน่นอนว่าตัวเลขดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดการไหวกระเพื่อมในวงการอย่างรุนแรง และที่รุนแรงที่สุดก็คงหนีไม่พ้น "สหรัฐอเมริกา" เพราะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก และเมื่อต้นปีก็เพิ่งเจอวิกฤติแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลระเบิดมีคนตายไปสิบกว่าคน และสร้างปัญหามลภาวะแก่อ่าวเม็กซิโกอย่างยาก จะประเมินความเสียหายได้ ส่วนจะหวนกลับไปบุกสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็ดันมาเจอปัญหาวิกฤติฟุกุชิมะในประเทศญี่ปุ่นอีก "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" จึงดูเป็นคำตอบที่น่าสนใจที่สุด ณ ขณะนี้
ใครมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุด และใครมีเทคโนโลยี?
คำตอบก็คือ จากผลสำรวจปัจจุบัน ประเทศจีนมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุดคือประมาณ 36 tcm หรือประมาณ 21% ส่วนสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณ 20+tcm หรือประมาณ 12% สหภาพยุโรป (โดยเฉพาะที่ประเทศโปแลนด์) มีอยู่ไล่เลี่ยกันคือประมาณ 10% พูดง่ายๆ ก็คือ สามเจ้านี้รวมกันครอบครองแหล่งก๊าซชนิดนี้ไปประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งโลกนั่นเอง
สำหรับสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นก็คือ เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการขุดเจาะที่เรียกกันในขณะนี้ว่า Hydraulic Fracturing และ Horizontal Drilling และในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา สหรัฐก็ได้ทำการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมาหลายรูปหลายแบบด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใด เพราะนอกจากจะแพงที่ต้นทุนแล้ว กรรมวิธียังก่อให้เกิดมลภาวะค่อนข้างสูงด้วย จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บรรดา Wildcatters ของสหรัฐก็ได้เฮ เมื่อกรรมวิธีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จ เมื่อผนวกเข้ากับวิธีขุดเจาะตามแนวนอนที่เรียกว่า Horizontal Drilling
แม้สหรัฐจะเริ่มฝันหวานถึงอนาคตที่โชติช่วงชัชวาลไปด้วย Shale Gas แต่ต้นทุนการขุดเจาะก็ยังสูงอยู่ และที่สำคัญ "ต้นทุนทางสังคม" (Social Costs) กำลังเริ่มถูกนำมาตีแผ่มากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสียที่แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ปัญหาก๊าซมีเทน และการระเบิด หรือประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ ฯลฯ
ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ทำอย่างไร?
เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันก็คือ Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ในวงการว่า Fracking ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling โดยจะเจาะหินให้ร้าว ยากาวให้พอดี เพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการที่อันตรายมาก!!
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ที่วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิมมากกว่า $10 ต่อหนึ่งล้านบีทียู มาเหลือเพียง $3-5 ต่อหนึ่งล้านบีทียู ซึ่งเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปกติแล้ว
เทคนิคดังกล่าวอาศัยหลักที่ว่า แรงดันน้ำสามารถทะลุทะลวงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ฉะนั้นหากต้องการจะขุดเจาะเอาก๊าซออกมาจากหินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตร วิธีที่ง่ายและถูกที่สุดคือ "ใช้น้ำ" แต่จะทำให้หินที่แข็งขนาดนั้น "ร้าว" (Fractured) ก็ต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัย "สารเคมี" หลายชนิด และต้องอาศัย "ทราย"
ประการแรก สารเคมีที่ใช้ในการ "สร้างรอยร้าว" ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยังไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี "สารพิษ" ปะปนด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อมีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซออกมาจากชั้นหินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี "ก๊าซมีเทน" เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ (Greenhouse Gas Footprint) ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อย และยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำ และดำรงอยู่อีกหลายสิบปี ส่วนก๊าซมีเทนนั้นก็มีปริมาณมาก ถึงขนาดที่ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานจะเป็นอย่างไร? (อันตรายเพียงใดก็จะทำอยู่ดี)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะ Meldown ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่างอภิมหาอำนาจรัสเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมากขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญสามประการ
ประการแรก ก๊าซชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป มีอยู่มากในอาณาเขตของตน ซึ่งถ้าใช้แสลงอเมริกันก็คือ In the Backyard แปลไทย ๆ ก็คืออยู่หลังบ้านนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ หากขุดก๊าซพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้ ทั้งสามพี่เบิ้มก็ไม่ต้องพึ่งใครอีกแล้ว โดยเฉพาะรัสเซียกับตะวันออกกลาง
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ในทางการเมืองจะมีนักการเมืองคนไหนไม่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพงขึ้นเรื่อย ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซชนิดนี้มาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและจีน
ข้อมูลจากไทยโพสต์
เหรียญ2ด้าน
Shale Gas
ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน(shale Gas)คืออะไร?
ความหมายตรงตัวของคำว่า "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" คือ ก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการหมักหมมของซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันมาเป็นเวลาล้าน ๆ ปี และถูกกักอยู่ภายในชั้นหินดินดาน โดยหินดินดานจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งกำเนิดของก๊าซ และเป็นแหล่งเก็บของมันโดยธรรมชาติด้วย
ล่าสุด ตัวเลขของสำนักงานข่าวสารพลังงานสหรัฐ (US EIA) ระบุว่า ทั่วโลกเท่าที่ค้นพบ ณ ขณะนี้ น่าจะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติในเบื้องต้นประมาณ 170 tcm หรือ 170 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขกว่า 40% ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน และนี่เป็นเพียงการค้นพบเบื้องต้นเท่านั้น ในอนาคตเชื่อว่าน่าจะพบได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า
แน่นอนว่าตัวเลขดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดการไหวกระเพื่อมในวงการอย่างรุนแรง และที่รุนแรงที่สุดก็คงหนีไม่พ้น "สหรัฐอเมริกา" เพราะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก และเมื่อต้นปีก็เพิ่งเจอวิกฤติแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลระเบิดมีคนตายไปสิบกว่าคน และสร้างปัญหามลภาวะแก่อ่าวเม็กซิโกอย่างยาก จะประเมินความเสียหายได้ ส่วนจะหวนกลับไปบุกสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็ดันมาเจอปัญหาวิกฤติฟุกุชิมะในประเทศญี่ปุ่นอีก "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" จึงดูเป็นคำตอบที่น่าสนใจที่สุด ณ ขณะนี้
ใครมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุด และใครมีเทคโนโลยี?
คำตอบก็คือ จากผลสำรวจปัจจุบัน ประเทศจีนมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุดคือประมาณ 36 tcm หรือประมาณ 21% ส่วนสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณ 20+tcm หรือประมาณ 12% สหภาพยุโรป (โดยเฉพาะที่ประเทศโปแลนด์) มีอยู่ไล่เลี่ยกันคือประมาณ 10% พูดง่ายๆ ก็คือ สามเจ้านี้รวมกันครอบครองแหล่งก๊าซชนิดนี้ไปประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งโลกนั่นเอง
สำหรับสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นก็คือ เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการขุดเจาะที่เรียกกันในขณะนี้ว่า Hydraulic Fracturing และ Horizontal Drilling และในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา สหรัฐก็ได้ทำการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมาหลายรูปหลายแบบด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใด เพราะนอกจากจะแพงที่ต้นทุนแล้ว กรรมวิธียังก่อให้เกิดมลภาวะค่อนข้างสูงด้วย จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บรรดา Wildcatters ของสหรัฐก็ได้เฮ เมื่อกรรมวิธีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จ เมื่อผนวกเข้ากับวิธีขุดเจาะตามแนวนอนที่เรียกว่า Horizontal Drilling
แม้สหรัฐจะเริ่มฝันหวานถึงอนาคตที่โชติช่วงชัชวาลไปด้วย Shale Gas แต่ต้นทุนการขุดเจาะก็ยังสูงอยู่ และที่สำคัญ "ต้นทุนทางสังคม" (Social Costs) กำลังเริ่มถูกนำมาตีแผ่มากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสียที่แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ปัญหาก๊าซมีเทน และการระเบิด หรือประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ ฯลฯ
ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ทำอย่างไร?
เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันก็คือ Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ในวงการว่า Fracking ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling โดยจะเจาะหินให้ร้าว ยากาวให้พอดี เพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการที่อันตรายมาก!!
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ที่วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิมมากกว่า $10 ต่อหนึ่งล้านบีทียู มาเหลือเพียง $3-5 ต่อหนึ่งล้านบีทียู ซึ่งเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปกติแล้ว
เทคนิคดังกล่าวอาศัยหลักที่ว่า แรงดันน้ำสามารถทะลุทะลวงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ฉะนั้นหากต้องการจะขุดเจาะเอาก๊าซออกมาจากหินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตร วิธีที่ง่ายและถูกที่สุดคือ "ใช้น้ำ" แต่จะทำให้หินที่แข็งขนาดนั้น "ร้าว" (Fractured) ก็ต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัย "สารเคมี" หลายชนิด และต้องอาศัย "ทราย"
ประการแรก สารเคมีที่ใช้ในการ "สร้างรอยร้าว" ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยังไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี "สารพิษ" ปะปนด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อมีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซออกมาจากชั้นหินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี "ก๊าซมีเทน" เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ (Greenhouse Gas Footprint) ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อย และยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำ และดำรงอยู่อีกหลายสิบปี ส่วนก๊าซมีเทนนั้นก็มีปริมาณมาก ถึงขนาดที่ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานจะเป็นอย่างไร? (อันตรายเพียงใดก็จะทำอยู่ดี)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะ Meldown ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่างอภิมหาอำนาจรัสเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมากขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญสามประการ
ประการแรก ก๊าซชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป มีอยู่มากในอาณาเขตของตน ซึ่งถ้าใช้แสลงอเมริกันก็คือ In the Backyard แปลไทย ๆ ก็คืออยู่หลังบ้านนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ หากขุดก๊าซพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้ ทั้งสามพี่เบิ้มก็ไม่ต้องพึ่งใครอีกแล้ว โดยเฉพาะรัสเซียกับตะวันออกกลาง
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ในทางการเมืองจะมีนักการเมืองคนไหนไม่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพงขึ้นเรื่อย ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซชนิดนี้มาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและจีน
ข้อมูลจากไทยโพสต์