ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 3
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 4
เคยมีการรวบรวม หุ้นที่ roa roe ไว้ด้วย
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... it=roe+roa
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... it=roe+roa
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 6
ROA คือดูว่าบริษัทมีการเอาสินทรัพย์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แค่ไหน มีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่มีกี่ %
โดยที่ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทนั้น เกิดจากของสองอย่างคือ ส่วนทุนที่เกิดจากการลงเงินของผู้ถือหุ้น(หรือที่สะสมๆ กันมาเนื่องจากมกำไรสะสม) และส่วนที่เกิดจากการกู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินระยะสั้น ระยะยาว หนี้สินหมุนเวียนเครดิตอะไรก็ตามที ตามสมการ
สินทรัพย์ (Asset) = ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) + หนี้สินสารพัด (Liability)
จะเห็นได้ว่า..
สิ่งที่ทำให้เกิดผลตอบแทนจริงๆ ของบริษัทนั้นคือ Asset นั่นแหละ
ลองนึกภาพดูว่า ถ้าบริษัทไม่มีหนี้เลย (สมมติว่ามีบริษัทประเภทนี้นะ) ซื้ออะไรมาก็จ่ายเป็นเงินสดหมด หนี้สินก็ไม่กู้ เรียกว่ารวยแล้วอะไรแบบนั้น เงินฉันเยอะ ไม่กู้ๆๆ จะเห็นได้ว่า สินทรัพย์จะ = ส่วนของผู้ถือหุ้น ลักษณะอย่างนี้จะทำให้ ROE พอๆ กันกับ ROA ครับ
แต่ถ้าบริษัทชอบที่จะดำเนินงานด้วยหนี้สิน คือ เพิ่มพลังของเงินตัวเอง โดยการกู้เพิ่มมาอีก เพื่อให้มีเงินรวมๆ(สินทรัพย์รวมๆ) เยอะขึ้น เช่นกู้หนึ่งเท่าตัวของส่วนของผู้ถือหุ้น จะทำให้ทรัพย์สินรวมมีค่าเป็นสองเท่าตัวของส่วนของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์ที่มากมายขึ้นปานนี้ จะทำให้:
ROA น่าจะประมาณๆ เท่าๆ กับของเดิมที่ไม่กู้ (ถ้าบริษัท ไม่ได้ใช้ความใหญ่ขึ้นให้เป็นประโยชน์ทางการค้า)
ROE มีค่าเพิ่มขึ้นมาก อาจะเกือบสองเท่า จริงๆ แล้วจะเป็นราวสองเท่าเลยถ้าไม่มีดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการกู้หนี้มาเพิ่มนั้น
ลองดูงบฯ ของ APRINT เทียบกับ SE-ED สิครับ จะเห็นภาพ
ธุรกิจเดียวๆ กัน ใกล้เคียงกันมาก อันหนึ่งมีหนี้น้อยมาก ROE จะต่ำ อีกอันหนึ่งดำเนินงานด้วยหนี้ (แต่โชคดีมากที่เป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยจ่ายน้อยมาก คงเป็นพวกเครดิตไม่มีดอกเบี้ย อันนี้เดาเอานะครับ) จะมี ROE สูงกว่ามาก
โดยที่ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทนั้น เกิดจากของสองอย่างคือ ส่วนทุนที่เกิดจากการลงเงินของผู้ถือหุ้น(หรือที่สะสมๆ กันมาเนื่องจากมกำไรสะสม) และส่วนที่เกิดจากการกู้หนี้ยืมสิน ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินระยะสั้น ระยะยาว หนี้สินหมุนเวียนเครดิตอะไรก็ตามที ตามสมการ
สินทรัพย์ (Asset) = ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) + หนี้สินสารพัด (Liability)
จะเห็นได้ว่า..
สิ่งที่ทำให้เกิดผลตอบแทนจริงๆ ของบริษัทนั้นคือ Asset นั่นแหละ
ลองนึกภาพดูว่า ถ้าบริษัทไม่มีหนี้เลย (สมมติว่ามีบริษัทประเภทนี้นะ) ซื้ออะไรมาก็จ่ายเป็นเงินสดหมด หนี้สินก็ไม่กู้ เรียกว่ารวยแล้วอะไรแบบนั้น เงินฉันเยอะ ไม่กู้ๆๆ จะเห็นได้ว่า สินทรัพย์จะ = ส่วนของผู้ถือหุ้น ลักษณะอย่างนี้จะทำให้ ROE พอๆ กันกับ ROA ครับ
แต่ถ้าบริษัทชอบที่จะดำเนินงานด้วยหนี้สิน คือ เพิ่มพลังของเงินตัวเอง โดยการกู้เพิ่มมาอีก เพื่อให้มีเงินรวมๆ(สินทรัพย์รวมๆ) เยอะขึ้น เช่นกู้หนึ่งเท่าตัวของส่วนของผู้ถือหุ้น จะทำให้ทรัพย์สินรวมมีค่าเป็นสองเท่าตัวของส่วนของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์ที่มากมายขึ้นปานนี้ จะทำให้:
ROA น่าจะประมาณๆ เท่าๆ กับของเดิมที่ไม่กู้ (ถ้าบริษัท ไม่ได้ใช้ความใหญ่ขึ้นให้เป็นประโยชน์ทางการค้า)
ROE มีค่าเพิ่มขึ้นมาก อาจะเกือบสองเท่า จริงๆ แล้วจะเป็นราวสองเท่าเลยถ้าไม่มีดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงินจากการกู้หนี้มาเพิ่มนั้น
ลองดูงบฯ ของ APRINT เทียบกับ SE-ED สิครับ จะเห็นภาพ
ธุรกิจเดียวๆ กัน ใกล้เคียงกันมาก อันหนึ่งมีหนี้น้อยมาก ROE จะต่ำ อีกอันหนึ่งดำเนินงานด้วยหนี้ (แต่โชคดีมากที่เป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยจ่ายน้อยมาก คงเป็นพวกเครดิตไม่มีดอกเบี้ย อันนี้เดาเอานะครับ) จะมี ROE สูงกว่ามาก
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 7
การ Finance ด้วย Debt ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือถ้าบริษัททำกำไรได้ ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับก็จะสูงกว่าการ Finance แบบไม่ใช้หนี้ แต่ข้อเสียคือจะมีความเสี่ยงมากกว่า และหนี้จะเป็น fix cost ที่บริษัทต้องจ่ายไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน
ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท A - โครงสร้างเงินทุนมาจาก Debt 60, Equity 40 (Int=10%)
บริษัท B - โครงสร้างเงินทุนมาจาก Debt 0, Equity 100
ถ้าทั้ง 2 บริษัทสามารถทำ EBIT ได้เท่ากัน คือ 200 ล้านบาท
บริษัท A จะมี NI = EBIT - Int - Tax
NI = 200 - 6 - 194*(0.3) = 135.8
จะมี EPS = 135.8/40 = 3.395
บริษัท B จะมี NI = EBIT - Int - Tax
NI = 200 - 0 - 200*(0.3) = 140
จะมี EPS = 140/100 = 1.4
จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ใช้หนี้จะทำกำไรต่อหุ้นได้เยอะกว่า (ในกรณีที่มีกำไร) และ Interest สามารถช่วยลดภาษีได้ (Tax Deductible)
การมีหนี้ทำให้ ROE สูงขึ้นได้ แต่การก่อหนี้มากๆก็มีความเสี่ยงด้าน Financial Risk ดังนั้นต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านอื่นๆของบริษัทควบคู่กันไปด้วย เช่น Operational risk ดู Biz Model ดูประเภทธุรกิจ เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท A - โครงสร้างเงินทุนมาจาก Debt 60, Equity 40 (Int=10%)
บริษัท B - โครงสร้างเงินทุนมาจาก Debt 0, Equity 100
ถ้าทั้ง 2 บริษัทสามารถทำ EBIT ได้เท่ากัน คือ 200 ล้านบาท
บริษัท A จะมี NI = EBIT - Int - Tax
NI = 200 - 6 - 194*(0.3) = 135.8
จะมี EPS = 135.8/40 = 3.395
บริษัท B จะมี NI = EBIT - Int - Tax
NI = 200 - 0 - 200*(0.3) = 140
จะมี EPS = 140/100 = 1.4
จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ใช้หนี้จะทำกำไรต่อหุ้นได้เยอะกว่า (ในกรณีที่มีกำไร) และ Interest สามารถช่วยลดภาษีได้ (Tax Deductible)
การมีหนี้ทำให้ ROE สูงขึ้นได้ แต่การก่อหนี้มากๆก็มีความเสี่ยงด้าน Financial Risk ดังนั้นต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านอื่นๆของบริษัทควบคู่กันไปด้วย เช่น Operational risk ดู Biz Model ดูประเภทธุรกิจ เป็นต้น
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 10
มันมีความสัมพันธ์กันอย่างนี้คับ
roe=opp roa + [(opp roa-ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังภาษี) x D/E]
จริงๆแล้วสองตัวนี้ พูกจริงล่ะก้อยาวมากคับ
เอาเปนว่า หลักเลยการที่ roa มีค่าต่างจาก roe มากๆ หมายความว่าบริษัมมีหนี้มาก
roe มีค่าน้อยกว่า roa หมายความว่า d/eมีค่าเปน ลบ ก้อคือ บริษัทมีเงินสดเยอะมากกว่าหนี้
roe บริษัทปกติจะมีค่ามากกว่า roa เพราะ d/e เปนบวก เนื่องจาก มีหนี้มากกว่าเงินสด
ในมุมมองปกติการมีเงินสดเยอะเปนเรื่องดี แต่ความเปนจริงแล้วการที่บริษัทมีเงินสดเก็บไว้มากเกินไปแสดงว่า บริษัทไม่รุจะลงทุนเพิ่มยังไง
ถ้ามีกรณีแบบนี้ควรเอาเงินไปลดหนี้ หรือไม่ก้อปันผลออกมาดีกว่า เพราะเงินสดมีต้นทุนของมันอยู่ คือเงินเฟ้อ
การดองเงินไปเยอะๆ จะทำให้มูลค่ามันลดลง
เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อนครับ เดวจะยาว
roe=opp roa + [(opp roa-ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังภาษี) x D/E]
จริงๆแล้วสองตัวนี้ พูกจริงล่ะก้อยาวมากคับ
เอาเปนว่า หลักเลยการที่ roa มีค่าต่างจาก roe มากๆ หมายความว่าบริษัมมีหนี้มาก
roe มีค่าน้อยกว่า roa หมายความว่า d/eมีค่าเปน ลบ ก้อคือ บริษัทมีเงินสดเยอะมากกว่าหนี้
roe บริษัทปกติจะมีค่ามากกว่า roa เพราะ d/e เปนบวก เนื่องจาก มีหนี้มากกว่าเงินสด
ในมุมมองปกติการมีเงินสดเยอะเปนเรื่องดี แต่ความเปนจริงแล้วการที่บริษัทมีเงินสดเก็บไว้มากเกินไปแสดงว่า บริษัทไม่รุจะลงทุนเพิ่มยังไง
ถ้ามีกรณีแบบนี้ควรเอาเงินไปลดหนี้ หรือไม่ก้อปันผลออกมาดีกว่า เพราะเงินสดมีต้นทุนของมันอยู่ คือเงินเฟ้อ
การดองเงินไปเยอะๆ จะทำให้มูลค่ามันลดลง
เอาคร่าวๆเท่านี้ก่อนครับ เดวจะยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 11
คุณAegiszero ช่วยขยายความและสอนต่อได้ไหมครับ สนใจมาก ขอบคุณล่วงหน้าครับ
opp roa มันคืออะไรครับ
opp roa มันคืออะไรครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ROE ต่างจาก ROA อย่างไรครับ
โพสต์ที่ 12
คุณAegiszero ช่วยขยายความและสอนต่อได้ไหมครับ สนใจมาก ขอบคุณล่วงหน้าครับ
opp roa มันคืออะไรครับ
ขอบคุณที่สนใจ เปนคำถามที่ดีมากคับ และขอโทษที่ผมลืมกล่าวถึงเอง
อาจจะยาวแต่ค่อยๆอ่านดูนะครับ สงสัยก้อ เมลล์มาถามได้ คือผมไม่ค่อยได้เข้ามาดูใน ThaiVI นานๆจะเข้ามาดูที
ติดต่อผมได้ที่ aegiszero.blogspot.com
[email protected]
สูตร ROA ใน set.or.th อ้างอิง http://www.set.or.th/th/market/files/SE ... ossary.pdf
สําหรบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ (Form 7)
[กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้/รวมสินทรัพย์(เฉลี่ย)] * 100
สําหรับธุรกิจอื่นๆ (Form 1-6 และ Form 8)
[กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้/รวมสินทรัพย์ (เฉลี่ย)] * 100
สูตร ROE ใน set.or.th อ้างอิงจากแหล่งเดียวกัน
[กำไร (ขาดทุน) สุทธิ/รวมส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่(เฉลี่ย)] * 100
จากสูตรทั้งสองขั้นต้น เราจะทราบว่า ROA และ ROE ใน web set.or.th นั้น สามารถนำมาใช้ได้แค่คราวๆเท่านั้น
เพราะจากสูตร Returnทั้งสองสมการไม่ได้มีค่าเท่ากัน(นักลงทุนหลายท่านที่นำไปใช้เปรียบเทียบกันโดยไม่เข้าใจ)
ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่วิเคราะห์งบมักจะหาค่า
ROA และ ROE เอง ซึ่งผมเองก้อใช้วิธีหาเองครับ โดยจะหาออกมาในรูป opp roa(ROAจากการดำเนินงาน)
โดยหาได้จาก Opp ROA ของ ศาสตราจารย์ Krishna G. Palepu - Harvard Business School
Opp ROA=Net operating profit after taxes/Total net capital
(NOPAT=Net income+Net Interest Expense After Tax)
(Total net capital=Short-term debt+Long-term debt-cash+Equity)
อธิบายที่ละอย่างนะครับ
ผมใช้NOPAT เพราะว่าเป็นรายได้จากการดำเนินงานจริงๆของบริษัทจากนั้นมาหารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้นจริงๆ
ในขณะที่ ROE =opp roa + [(opp roa-ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังภาษี) x D/E] ของ ศาสตราจารย์Palepuเช่นกัน
เปนการถอดความสัมพันธ์ระหว่างROEและ ROA ซึ่งความสัมพันธ์มันก้อคือหนี้แหละครับ
จากงบดุลฝั่งซ้าย(สินทรัพย์)=ฝั่งขวา(หนี้สิน+ทุน) เพราะฉะนั้นเมื่อ A=Asset, E=Equity
ส่วนที่มันหายไปก้อคือ L=Liability(หนี้)
opp roa มันคืออะไรครับ
ขอบคุณที่สนใจ เปนคำถามที่ดีมากคับ และขอโทษที่ผมลืมกล่าวถึงเอง
อาจจะยาวแต่ค่อยๆอ่านดูนะครับ สงสัยก้อ เมลล์มาถามได้ คือผมไม่ค่อยได้เข้ามาดูใน ThaiVI นานๆจะเข้ามาดูที
ติดต่อผมได้ที่ aegiszero.blogspot.com
[email protected]
สูตร ROA ใน set.or.th อ้างอิง http://www.set.or.th/th/market/files/SE ... ossary.pdf
สําหรบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ (Form 7)
[กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้/รวมสินทรัพย์(เฉลี่ย)] * 100
สําหรับธุรกิจอื่นๆ (Form 1-6 และ Form 8)
[กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้/รวมสินทรัพย์ (เฉลี่ย)] * 100
สูตร ROE ใน set.or.th อ้างอิงจากแหล่งเดียวกัน
[กำไร (ขาดทุน) สุทธิ/รวมส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่(เฉลี่ย)] * 100
จากสูตรทั้งสองขั้นต้น เราจะทราบว่า ROA และ ROE ใน web set.or.th นั้น สามารถนำมาใช้ได้แค่คราวๆเท่านั้น
เพราะจากสูตร Returnทั้งสองสมการไม่ได้มีค่าเท่ากัน(นักลงทุนหลายท่านที่นำไปใช้เปรียบเทียบกันโดยไม่เข้าใจ)
ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่วิเคราะห์งบมักจะหาค่า
ROA และ ROE เอง ซึ่งผมเองก้อใช้วิธีหาเองครับ โดยจะหาออกมาในรูป opp roa(ROAจากการดำเนินงาน)
โดยหาได้จาก Opp ROA ของ ศาสตราจารย์ Krishna G. Palepu - Harvard Business School
Opp ROA=Net operating profit after taxes/Total net capital
(NOPAT=Net income+Net Interest Expense After Tax)
(Total net capital=Short-term debt+Long-term debt-cash+Equity)
อธิบายที่ละอย่างนะครับ
ผมใช้NOPAT เพราะว่าเป็นรายได้จากการดำเนินงานจริงๆของบริษัทจากนั้นมาหารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้นจริงๆ
ในขณะที่ ROE =opp roa + [(opp roa-ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังภาษี) x D/E] ของ ศาสตราจารย์Palepuเช่นกัน
เปนการถอดความสัมพันธ์ระหว่างROEและ ROA ซึ่งความสัมพันธ์มันก้อคือหนี้แหละครับ
จากงบดุลฝั่งซ้าย(สินทรัพย์)=ฝั่งขวา(หนี้สิน+ทุน) เพราะฉะนั้นเมื่อ A=Asset, E=Equity
ส่วนที่มันหายไปก้อคือ L=Liability(หนี้)