Stock Valuation EP1

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 31

โพสต์

อธิบาย เข้าใจง่ายมากเลยครับ เลยทำให้เข้าใจสูตรง่ายไปด้วย
จะรออ่านต่อครับ
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 991
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ขอสม้ครรับฟังด้วยคนคราบบบ.....ขอบคุณครับ
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ต้องถามว่า
มันต่างจากสูตร

d/(r-g) ยังไงคับ
เพราะ ในสูตรของคุณ send คือปันผลปัจจุบันที่จ่ายไปแล้ว

แต่ สูตร d/(r-g) ใช้ปันผลที่คาดว่าจะได้ในปีถัดไป

เอาเข้าใจริงก็คือ d(1+g) ก็คือการคาดเดาเหมือนกัน

แต่สูตร d/(r-g) มีปํญหาอยู่ที่ ค่าสุตรนี้ใช้วัดผลกับ บ. ที่โตเต็มที่ มี growth เท่า gdp ระยะยาวเฉลี่ย
ดังนั่น ค่า g จะไม่เกิน 3.5 เสมอ
ผมดูสูตรมันคล้ายกัน เลยไม่แน่ใจนะคับว่า มันเป็น pit fall ที่ไม่ได้พูดถึงหรือเปล่า
เกรงว่าคนดูจะลืมนึกไป จะได้ไม่ต้องมานั่งตีความใหม่ เรื่อง g มากกว่า r คิดยังไง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในระยะยาว ซึ่งโมเดลนี้วัดผลระยะยาว แต่ของคุณ send ผมไม่ทราบคับ (ผมอาจดูเบา เพื่อนๆในบอร์ดเกินไป ว่าจะไม่รู้ ต้องขอโทษด้วยนะคับ)

ประเด็นอยู่้ที่ระยะยาว ใช้สูตรเดียวกัน หรือ ระยะสั้นก็ต้องใช้สูตรคุณ send


ขออนุญาติื แจมก่อนเลย r หรือ re น่าจะหมายถึง ต้นทุนของเงินของผถห หรือ cost of equity ใช่ไหมคับ
risk free rate + risk premium

ถ้าไม่เหมาะสมตรงไหน ต้องขอโทษคุณ send ด้วยนะคับ
show me money.
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 34

โพสต์

สูตรของคุณ nut776 ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนคือ D1/(Re-g)
(มักแทนเงินปันผลด้วยD ส่วน d มักหมายถึงdividend pay out ratio)

โดย D1=D0*(1+g)

ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้อดีข้อเสียของวิธีนี้รวมทั้งความเหมาะสมใน
การเอาไปใช้ผมจะเขียนเพิ่มเติมภายหลังครับ

ขอบคุณคุณnut776 ด้วยครับที่เข้ามาช่วยผม
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
chiraponge
Verified User
โพสต์: 803
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 35

โพสต์

Re คือ require return เปนผลตอบแทนที่ผู้ถิอหุ้นต้องการ ซึ่งวิธีคิดจากสมการ CAPM มี 3 วิธี เด๋ว คุง send คงบอก
ผมคงเสริมในเรื่อง assumption ของ CAPM ที่คนเส่วนใหญ่เอามาใช้ แต่อาจไม่ทราบ
1. นักลงทุนต้องมีการคาดการณ์ที่เหมอนกันในแง่ของความเสี่ยง
2. มี สินทรัพย์ที่ผตอบแทนไม่มีความเสี่ยงเลย
3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ = เงินฝาก (จาก assumption นี้ก็ใช้ไม่ได้แล้ว)
4. ตลาดเงินเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ คือ นักลงทุนได้ข่าวสารเท่าเทียมกันในเวลาทันที ข่าวสารสะท้อนราคาสินทรัพย์ทันที ไม่มีใครสามารทำกำไรพิเศษได้สม่ำเสมอ
5. นักลงทุน มีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล แลไม่ชอบความเสี่ยง
6. สินทรัพย์ีสภาพคล่องสูง
7. ไม่มีการเก็บภาษี และการซื้อหุ้นและสินทรัพย์ไม่มีค้าใช้จ่าย
ลองตัดสินใจกันเองนะครับ
chiraponge
Verified User
โพสต์: 803
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 36

โพสต์

send เขียน:สูตรของคุณ nut776 ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนคือ D1/(Re-g)
(มักแทนเงินปันผลด้วยD ส่วน d มักหมายถึงdividend pay out ratio)

โดย D1=D0*(1+g)

ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้อดีข้อเสียของวิธีนี้รวมทั้งความเหมาะสมใน
การเอาไปใช้ผมจะเขียนเพิ่มเติมภายหลังครับ

ขอบคุณคุณnut776 ด้วยครับที่เข้ามาช่วยผม
ช่วยเพิ่มเติมนะครับ สูตรนี้เปน constant growth model
จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ Re > g ครับ
ดังนั้น g จริงเป็น constant growth ส่วนตัวผมใช้คิด terminal value มากกว่า
โดยใช้ g = GDP ของประเทศ หรือ inflation
คิดว่า บ. โตตาม GDP และ inflation

อีกสูตรนึงที่เอามาใช้ได้ คือ H-model จะมีการแบ่ง growth เป็น stage เช่น
inital stage, maturity stage เป็นต้น
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ขอบคุณคุณ chiraponge มากเลยครับ สิ่งที่หลายคนมักมองข้าม
คือสมมติฐานของ CAPM ครับ ซึ่งถ้าคุณ chiraponge ไม่ช่วย
ผมคงลืมเขียนเช่นกันครับ พอพูดถึงCAPM แล้วรู้สึกทำให้อยากอธิบาย
ตั้งแต่Efficienct Frontier และก็ CML แต่คิดว่าเดี๋ยวจะออกนอกเรื่อง
ไปหน่อยเอาไว้โอกาสหน้าละกัน
ตอนนี้ผมกำลังเขียนเกี่ยวกับการหาRe อยู่ครับคิดว่าจะโพสพรุ่งนี้
ขอบคุณมากๆครับที่มาช่วยในหลายๆส่วน :)
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
untrataro25
Verified User
โพสต์: 1024
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ผมความรู้น้อย มารอติดตาม
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 39

โพสต์

Capital Asset Pricing Model (CAPM) มีที่มาจากแนวคิดในการประเมินสินทรัพย์ทางการเงินถึงความสัมพันธ์ระหว่างการคาดการณ์ผลตอบแทนกับ ความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนของผลตอบแทนนั้นเอง โดยในช่วงก่อนจะมีการสร้างแบบจำลอง CAPM นั้นในทางการเงินมีแบบจำลองต่างๆ ในการลงทุน และหาผลตอบแทนอยู่ก่อน และเชื่อว่าวิธีการกระจายความเสี่ยงเป็นวิธีการที่ทำให้เความเสี่ยงลดลงได้ ซึ่งการกระจายความเสี่ยงที่ดีนั้นสามารถทำได้โดยการคัดเลือกสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการคาดการณ์ผลตอบแทนที่ไม่ความสัมพันธ์กัน(Non Correlation)

และถ้าหากความสัมพันธ์มีลักษณะตรงข้ามกัน (Negative Correlation) จะยิ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาจัดสรรกลุ่มหลักทรัพย์ที่ดีที่สุด ซึ่งการหาความสัมพันธ์ของผลตอบแทนของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นสามารถหาได้จากสูตร Correlation นั่นเอง ซึ่งเป็นการยากในการคำนวณเมื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริง เนื่องจากสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ในยุคต่อมาได้มีการพัฒนาแบบจำลอง CAPM จากหลักการกระจายการลงทุนข้างต้นขึ้นมาโดยนักวิชาการ William F. Sharpe ในปี 1965 ซึ่งใช้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงจากการลงทุน ผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ และคำนวณหาต้นทุนทางการเงิน โดยมีแบบจำลอง CAPM ดังนี้



E(Ri) = Rf + Bi(E(Rm) - Rf)



E(Ri) คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับของสินทรัพย์ทางการเงิน i

Bi คือ Beta Coefficient ซึ่งวัดความเสี่ยงที่ไม่สามารถขจัดได้จากการกระจายความเสี่ยงของสินทรัพย์ i

E(Rm) คือ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับ หรือผลตอบแทนของตลาด (Market Return)

Rf คือ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง



แบบจำลอง CAPM จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับของสินทรัพย์ E(Ri) กับความเสี่ยงที่เป็นระบบของสินทรัพย์ Bi ซึ่งความเสี่ยงที่เป็นระบบ คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้ด้วยการกระจายการลงทุนที่ดี หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความเสี่ยงที่ไม่สามารถกระจายได้ (Non Diversified Risk) ซึ่งค่าเบต้าในแบบจำลอง CAPM นั้นจะมีเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นระบบส่วนความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ หรือ ความเสี่ยงเฉพาะตัว(Stand Alone Risk)ของหลักทรัพย์นั้นไม่มีเนื่องจากในแบบจำลองได้มีสมมติฐานที่ว่า นักลงทุนขจัดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบออกไปได้หมดจากการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน เมื่อความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบถูกขจัดออกไปก็จะเหลือเพียงความเสี่ยงที่เป็นระบบที่จะมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งแบบจำลองนี้สามารถกำหนดดุลยภาพของผลตอบแทนที่จะได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงบวกกับอัตราผลอบแทนส่วนเพิ่มจากการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง

ซึ่งสมมติฐานของแบบจำลอง CAPM มีดังนี้

1. Homogeneous Expectations นักลงทุนคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันในแง่ของผลตอบแทน และความเสี่ยงของสินทรัพย์

2. Risk Free Rate มีสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนจะไม่มีความเสี่ยงอยู่เลย

3. Equal Lending – Borrowing rates อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมและการฝากไม่แตกต่างกัน

4. Efficient Market ตลาดการเงินเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือนักลงทุนจะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกันและครบถ้วนในเวลาเดียวกัน ซึ่งข่าวสารทั้งหลายจะสามารถสะท้อนราคาสินทรัพย์ได้ทำให้ไม่มีใครสามารถทำกำไรส่วนเกินได้

5. นักลงทุนทุกคนมีลักษณะเป็น Risk Averter คือ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ณ.ผลตอบแทนระดับเดียวกันนักลงทุนจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า

6. Perfect Liquid Assets สินทรัพย์มีสภาพคล่องสูงสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ตลอดเวลาทันที

7. No tax ไม่มีการเก็บภาษี และ No Transaction Cost ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อขายสินทรัพย์



ในการคาดการณ์อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น เราจะใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อไปพยากรณ์ในอนาคตดังนั้น จะต้องมีการเก็บข้อมูลในอดีตเพื่อนำมาใช้เป็นตัวแทน (Proxy) ในแบบจำลอง ซึ่งการเก็บข้อมูลเหล่านี้จะนำหลักสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เข้าเกี่ยวข้องด้วย ในการหาค่าเบต้าเพื่อนำมาใช้แทนค่าในแบบจำลองนั้นเราต้องเก็บข้อมูลผลตอบแทนสินทรัพย์ที่เราต้องการคาดการณ์ผลตอบแทน กับผลตอบแทนของตลาด ส่วนใหญ่หากใช้ข้อมูลเป็นรายเดือนก็ใช้เวลาย้อนหลัง 5 ปี หากเก็บข้อมูลเป็นรายสัปดาห์ก็จะใช้ข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี หากเป็นรายวันอาจใช้ข้อมูล 2-3 เดือน แล้วนำมาเข้าสมการถดถอยดังนี้



Ri = a + bRm + e

ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร Rm หรือค่า b ที่ได้จากสมการถดถอยแสดงถึงความสัมพันธ์ของ Ri กับ Rm ซึ่งเราใช้เป็นตัวแทนของค่า เบต้าซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ b นี้อาจมีการปรับก่อนเพื่อนำไปเป็นตัวแทนของเบต้าในแบบจำลอง CAPM แล้วแต่วิธีหรือจะไม่ปรับเลยก็ได้

จะเห็นได้ว่าตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลองนี้ทุกตัวนั้นไม่ว่า จะเป็น Bi E(Ri) E(Rm) เป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์ในอนาคตทั้งสิ้น ซึ่งจะไม่คงที่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิดของสินทรัพย์ แล้วแต่ปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ากระทบ และในการคาดการณ์อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้นนักลงทุนก็มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นระบบเท่านั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ผลทางจิตวิทยาก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย หรือในการศึกษาของ Fama and French ได้ทำการทดสอบแบบจำลอง CAPM ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1992 แล้วพบว่าแบบจำลอง CAPM ไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์อเมริกาได้ ทั้งสองเชื่อว่ามีปัจจัยอื่น ๆ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์อีก จากการทดสอบทั้งสองพบว่าปัจจัยขนาด แลปัจจัยมูลค่าสามารถอธิบายผลตอบแทนได้ดีที่สุดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่พวกเขาทดสอบ ซึ่งได้กลายเป็นรูปแบบของ Fama French Three Factors Model ซึ่งประกอบไปด้วยแบบจำลอง CAPM เพิ่มปัจจัยขนาด และปัจจัยมูลค่าบัญชีต่อมูลค่าตลาดเข้าไปด้วย นอกจากปัญหาข้างต้นนี้แล้ว ในด้านของสมมติฐานก็เป็นข้อจำกัดในการใช้แบบจำลองนี้ด้วย ดังเช่นประเทศไทยมีตลาดทุนที่เล็ก และมีการพัฒนามาไม่ยาวนานมากนักทำให้ลักษณะของตลาดทุนไทยยังไม่อยุ่ในลักษณะที่เรียกว่า ตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency Market) ได้ซึ่งสมมติฐานของแบบจำลอง CAPM นั้นตลาดจะต้องเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดทุนไทยทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่สามารถสะท้อนราคาสินทรัพย์ออกมาได้ ส่งผลต่อเนื่องถึงการคาดการณ์ผลตอบแทน และความเสี่ยงของนักลงทุนจะไม่เหมือนกัน คือไม่มีลักษณะของ Homogenous Expectation และสินทรัพย์ก็ไม่ใช้สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงด้วยจะมีสินทรัพย์บางชนิดเท่านั้นที่มีลักษณะของ Perfectly Liquid Assets ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากเท่านั้น ในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ ในปัจจุบันนั้นก็มีช่วงที่มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรทำให้สมมติฐานที่ว่าไม่มีความแตกต่างกันของอัตราดอกเบี้ยก็ไม่สามารถเป็นไปได้ ในส่วนอื่น ๆ ของตลาดทุนไทยนั้นการที่เรามีนักลงทุนรายย่อยมากมีความรุ้ความเข้าใจที่แตกต่างกันทำให้การตัดสินใจลงทุนมีความแตกต่างกันรวมถึงไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับนักลงทุนประเภทสถาบันซึ่งก็ขัดต่อสมมติฐานของแบบจำลอง CAPM ด้วย

จากข้างต้นจะเห็นว่าแบบจำลอง CAPM นั้นค่อนข้างมีปัญหาในการเอาไปใช้อยู่มากทีเดียวแต่ปัจจุบันตัวแบบจำลอง CAPM นี้ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางแพร่หลายเนื่องจากในปัจจุบันแบบจำลอง CAPM นั้นก็ยังเป็นที่ยอมรับอยู่นั่นเอง ปัจจุบัน แบบจำลองนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อ การบริหารการเงินของกิจการ การคำนวณต้นทุนทางการเงิน นำไปใช้เพื่อประเมินโครงการลงทุนของกิจการ ใช้ในการบริหารความเสี่ยง ใช้ในการจัดการการลงทุนเพื่อหา มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และยังมีอีกมากสำหรับการนำแบบจำลองนี้ไปใช้ CAPM เป็นแบบจำลองทางการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันการนำไปใช้อาจจะต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับความเป็นจริงบ้าง ประกอบด้วยกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานด้วยเพื่อที่จะสามารถใช้คาดการณ์อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ได้ใกล้เคียงกับอนาคตมากที่สุด ดังเช่น ค่าเบต้าเป็นค่าที่ได้จากการคำนวณข้อมูลในอดีตซึ่งแต่ละคนก็จะเก็บข้อมูลมาคำนวณไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา เช่น 2 ปี บ้าง 5 ปีบ้าง ทำให้ค่าเบต้าที่ออกมานั้นไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกันได้ และไม่สามารถบอกได้วาค่าเบต้าใดเป็นต้วแทนทีดีกว่ากัน ในประเด็นนี้ตามความเข้าใจของผม ผมเสนอว่าการเก็บข้อมูลผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่เราต้องการคาดการณ์กับผลตอบแทนของตลาดเพื่อใช้ในการคำนวณค่าเบต้านั้นจะเก็บนานเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับการลงทุนของเรา ผมแนะนำว่าให้เราพิจารณาถึงการลงทุนที่เราจะลงทุนด้วย ว่าต้องการลงทุนเป็นระยะสั้น หรือระยะยาวเป็นเวลาเท่าใด เมื่อเราประมาณระยะเวลาที่เราต้องการจะลงทุนได้แล้วราก็เก็บข้อมูลเหล่านี้ให้เท่ากับระยะเวลาที่เราต้องการจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนก็ตาม หากเราต้องการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดนี้ป็นระยะเวลาสั้น ๆ เราก็อาจต้องเลือกเก็บข้อมูลเป็นรายวันระยะเวลาประมาณเท่ากับระยะที่เราคาดคะเนการลงทุนของเรา แต่ไม่ควรน้อยกว่า 60-90 วัน หากเราประมาณการลงทุนเป็นระยะยาวข้อมูลที่เราเก็บย้อนหลังอาจเป็นรายสัปดาห์หรือ รายเดือนเป็นต้น และถ้าจะดียิ่งขึ้นหากข้อมูลของเราเก็บมาจากสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายกันมากและต่อเนื่องจะทำให้ค่าเบต้าของเราสามารถนำมาใช้คาดการณ์อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ได้ดีขึ้น


แจมก่อนเลยละกันนะคับ เครดิต ใครก็ไม่รุ้ในgoogle

ว่าแต่ บทสรุป น่าจะมี รุ่น made easy อีกทีก็ดีนะคับ
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 40

โพสต์

รวมด้วยครับ ชอบมาก :D
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Skyforever
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1221
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ขอบคุณสำหรับความรู้จากทุกๆท่านนะครับที่ร่วมด้วยช่วยกันอธิบาย แต่ผมอยากจะเสนอความเห็นที่แตกต่างนิดนึงครับ คือผมลองอ่านในฐานะคนที่ไม่เคยเรียนมาทางด้านนี้เลยนะครับ พบว่าคุณ send ถ่ายทอดจากภาพใหญ่ให้เห็นภาพทั้งหมดก่อน แล้วแตกลงมากิ่งย่อย ทีละกิ่งทำให้คนใหม่ๆเห็นภาพและเข้าใจง่ายครับ แต่พอเริ่มแตกออกไป หลายๆคนเห็นว่ามีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้องก็เลยช่วยกันเติมเข้ามาใหญ่เลยโดยที่มีศัพท์แปลกๆเพิ่มขึ้นมามากมาย ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้จะเริ่มเข้าใจยากขึ้นแล้ว

ผมอยากจะเสนอให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปจากกิ่งใหญ่ก่อนครับ ไม่ต้องช่วยกันเสนอรายละเอียดมากมายก็ได้ มีศัพท์เพิ่มมาทีละตัวสองตัวก็พอ แล้วอธิบายศัพท์ที่เพิ่มมาทีละตัวอย่างเข้าใจครับ น่าจะทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องเลยเข้าใจง่ายขึ้น
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 42

โพสต์

Stock valuation EP2 DDM part3 (เผลอรับปากไปแล้ว ต้องรีบมาเขียนให้จบแต่เช้า :8) )
ใน part 3 นี้เราจะพูดเรื่อง Required rate of return on equity (Re)

ก่อนเข้าสู่เนื้อหาส่วนนี้ เพื่อให้หลายๆคนที่เคยศึกษาเรื่ิองนี้มาบ้างได้เข้าใจตรงกัน
ผมจะขออธิบายคำว่า ต้นทุนส่วนของเจ้าของ(Cost of Equity มักย่อด้วยKe) กับ
อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการจากการลงทุนในส่วนของเจ้าของ(Required rate of return equity ย่อด้วยRe)

แท้จริงแล้วKe และReนั้นเท่ากัน เพียงแต่ Ke นั้นมองในมุนของเจ้าของ(ผู้ออกEquity)
สังเกตได้ว่ามันใช้คำว่าCost แต่Re มองในมุมผู้ลงทุนในส่วนของเจ้าของ นั่นคือผลตอบแทน
ขั้นต่ำที่ผู้ลงทุนต้องการนั่นเอง

การคำนวณ Re
การ หา Re นั้นค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับการหาต้นทุนของตราสารหนี้เพราะตราสารหนี้มี
กำหนดไว้แล้วว่ามีต้นทุนเท่าไหร่ แต่สำหรับRe นั้นไม่มีกำหนดไว้ โดยวิธีส่วนใหญ่ใน
การหา Re นั้นจะมองในรูปของต้นทุนค่าเสียโอกาส เช่น หากบริษัท A ให้ผลตอบแทน
10% แต่บริษัทส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงเท่ากับบริษัท A ให้ผลตอบแทน 15% ดังนั้น
หากนักลงทุนจะลงทุนในบริษัทA นั้นก็น่าที่จะต้องการผลตอบแทนขั้นต่ำที่15%
(ถ้าAให้แค่10%ก็ไปลงทุนบริษัทอื่นที่มีความเสี่ยงเท่ากันแต่ให้15%ดีกว่า)

วิธีการคำนวณหา Re ซึ่งแบ่งได้หลัก 3 วิธี

1.CAPM (ขอข้ามเรื่องทฤษฎีของ CAPM เพราะยาวมากๆและคุณ nut776 ก็เข้ามาช่วยโพสไว้แล้ว) สูตรคือ
Re=Rf+(Rm-Rf)beta
โดย Rf = Risk Free Rate
(มีการถกเถียงกันว่าควรใช้ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาลแ้ต่หนังสือส่วนใหญ่แนะนำว่าให้ใช้ พันธบัตรอายุ 10 ปี)
Rm = ในที่นี้คือ Expected Return of Market (ต้องเป็นผลตอบแทนที่คาดในอนาคต)
Rm-Rf = Maket Risk Premium (หนังสือบางเล่มแทน Rm-Rf ด้วย MRP)
Beta = ในที่นี้คือ beta ของหุ้นที่เราต้องการจะหา Re ซึ่ง Beta ที่เราใช้นั้นต้องเป็น beta ในอนาคตเช่นกัน

การหา beta
การหา beta นั้นหลักๆผมคิดว่ามีสองวิธี แต่ในที่นี้จะพูดถึงวิธีเดียวคือ
การใช้สมการเส้นตรงโดยข้อมูล Rm ในอดีต เป็นตัวแปรอิสระ และให้ผลตอบแทนของหุ้นเป็นตัวแปรตาม
จากนั้น เราจะได้ว่า beta ของหุ้นเท่ากับ Slop ของเส้นตรง
(พอดีรู้สึกจะพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างยากผมจะลองหาวิธีเขียนสูตรอีกวิธีที่ไม่ได้อธิบาย)

จากวิธีการหา beta ข้างต้นจะเห็นได้ว่า bate ที่เราหานั้นให้ข้อมูลในอดีตในการคำนวณ
ทำให้ beta ที่เราได้เป็น beta ในอดีต โดยวิธีการ ปรับให้เป็น beta ในปัจจุบันคือ การปรับเข้าหา 1
(โดยการถ่วงน้ำหนัก เช่น beta ที่ได้จากสมการเส้นตรง เท่ากับ 2 อาจถ่วงน้ำหนักโดย 0.6*2+0.4*1)

การปรับเข้าหา 1 นั้นมีพื้นฐานมากจากการมองว่า beta ควรจะมีแนวโน้มวิ่งเข้าสู่ beta เฉลี่ย
ซึ่ง beta เฉลี่ยนั่นก็คือ beta ของตลาด ซึ่งเท่ากับหนึ่งนั่นเอง

อย่างไรก็ตามสำหรับหุ้นบางตัวที่เรานำมาหาสมการเส้นตรงแล้วพบว่า Rm กับ Re นั้นไม่ค่อยที่จะ
มีความสัมพันธ์กัน (R Square ต่ำ) ก็จะทำให้เราได้ beta ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ Re ที่ได้ไม่เหมาะสมเช่นกัน

ในการหา Re เชิงปฎิบัติแบบอย่างง่ายนั้นผมเคยเขียนไว้ที่นี่ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... hilit=CAPM

2.ใช้สูตร Gordon
P=D0*(1+g)/(Re-g) โดยเรากลับสมการจะได้
Re=(D0*(1+g)/P)+g แต่เนื่องจาก D0*(1+g) = D1 ดังนั้นหนังสือบางเล่มจึงใช้สูตร Re=(D1/P)+g
(D0 คือปันผลปีล่าสุดที่พึ่งจ่ายไป D1 คือปันผลที่คาดในอนาคต)

โดยสูตรนี้จะสมมติว่า ราคาปัจจุบันของหุ้นเป็นราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้สูตรจะเหมาะกับหุ้นที่มีการเติบโตคงที่ไปตลอดในอนาคต กล่าวคือเหมาะกับหุ้นที่เข้าสู่ช่วงโตเต็มที่ (Matuarity)

3.ใช้สูตร Bond Yield + Risk Premium
โดย Bond Yield ในที่นี้คือ ผลตอบแทนของหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท
Risk Premium โดยปกติในอเมริกาจะอยู่ที่ประมาณ 3%-5%

จากการพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ได้แนะนำว่าวิธีที่ 3 เป็นวิธีที่เรียบง่ายและใช้ได้ดีที่สุด
อย่างไรก็ตามผมมองว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Risk Premium ควรเป็นเท่าไหร่ยิ่งสำหรับหุ้นบางบริษัททีมี
ขนาดเล็ก ผมจึงปรึกษาอาจารย์อีกครั้งและได้คำตอบว่า เราไม่จำเป็นต้องหา Re ที่ถูกต้องแน่นอน
แต่เราสามารถหาเป็นช่วงได้(ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นที่เหมาะสมทีี่เราคำนวณได้จะเป็นช่วงเช่นกัน)
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 43

โพสต์

Part ต่อไปคงเป็นตัวอย่างการคำนวณสูตร Gordon เพื่อหาราคาที่เหมาะสม
ที่เขียนไปตั้งแต่ EP2 part1 รวมทั้งข้อดีข้อเสียและความเหมาะสมของวิธีนี้
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ไม่แน่ใจว่ามีส่วนไหนผิดบ้างรึป่าว ฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ช่วยตรวจสอบด้วยนะครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 45

โพสต์

คือผมยังงงอยู่นิดหน่อยอะครับ

คือต้นทุนทางการเงินนี้เราควรใช้
ebit(1-T) หรือ net profit

อันไหนมัน ถูกต้องกว่ากันครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 46

โพสต์

financeseed เขียน:คือผมยังงงอยู่นิดหน่อยอะครับ

คือต้นทุนทางการเงินนี้เราควรใช้
ebit(1-T) หรือ net profit

อันไหนมัน ถูกต้องกว่ากันครับ
ผมงงคำถามครับ????

ปกติต้นทุนทางการเงิน มาจาก ต้นทุนของหนี้ และต้นทุนของส่วนของเจ้าของ
ซึ่งจะอยู่ในรูป อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมหลังภาษี และ Re ดังที่กล่าวไปข้างต้นครับ
ซึ่งมันไม่จะน่าเกี่ยวข้องกับ EBIT(1-T) หรือ Net Profit
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 47

โพสต์

Skyforever เขียน:ขอบคุณสำหรับความรู้จากทุกๆท่านนะครับที่ร่วมด้วยช่วยกันอธิบาย แต่ผมอยากจะเสนอความเห็นที่แตกต่างนิดนึงครับ คือผมลองอ่านในฐานะคนที่ไม่เคยเรียนมาทางด้านนี้เลยนะครับ พบว่าคุณ send ถ่ายทอดจากภาพใหญ่ให้เห็นภาพทั้งหมดก่อน แล้วแตกลงมากิ่งย่อย ทีละกิ่งทำให้คนใหม่ๆเห็นภาพและเข้าใจง่ายครับ แต่พอเริ่มแตกออกไป หลายๆคนเห็นว่ามีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้องก็เลยช่วยกันเติมเข้ามาใหญ่เลยโดยที่มีศัพท์แปลกๆเพิ่มขึ้นมามากมาย ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้จะเริ่มเข้าใจยากขึ้นแล้ว

ผมอยากจะเสนอให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปจากกิ่งใหญ่ก่อนครับ ไม่ต้องช่วยกันเสนอรายละเอียดมากมายก็ได้ มีศัพท์เพิ่มมาทีละตัวสองตัวก็พอ แล้วอธิบายศัพท์ที่เพิ่มมาทีละตัวอย่างเข้าใจครับ น่าจะทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องเลยเข้าใจง่ายขึ้น
ผมก็อยากจะเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุดเช่นกันครับ
แต่เริ่มเขียนก็พบว่าเรื่องstock valuation นั้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเงินมาบ้าง
และให้ผมเขียนเกี่ยวกับพื้นฐานทางการเงินทั้งหมดนั้นอาจผิดหัวข้อที่จะเขียน
ผมจึงเขียนบนสมมติฐานว่าผู้อ่านมีความรู้มาบ้างเช่นกัน ดังนั้นผมคิดว่า
เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากที่สุด ให้ถามเพิ่มเติมในจุดที่ตนเองสนใจ สงสัย
หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Skyforever
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1221
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 48

โพสต์

send เขียน:
Skyforever เขียน:ขอบคุณสำหรับความรู้จากทุกๆท่านนะครับที่ร่วมด้วยช่วยกันอธิบาย แต่ผมอยากจะเสนอความเห็นที่แตกต่างนิดนึงครับ คือผมลองอ่านในฐานะคนที่ไม่เคยเรียนมาทางด้านนี้เลยนะครับ พบว่าคุณ send ถ่ายทอดจากภาพใหญ่ให้เห็นภาพทั้งหมดก่อน แล้วแตกลงมากิ่งย่อย ทีละกิ่งทำให้คนใหม่ๆเห็นภาพและเข้าใจง่ายครับ แต่พอเริ่มแตกออกไป หลายๆคนเห็นว่ามีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้องก็เลยช่วยกันเติมเข้ามาใหญ่เลยโดยที่มีศัพท์แปลกๆเพิ่มขึ้นมามากมาย ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้จะเริ่มเข้าใจยากขึ้นแล้ว

ผมอยากจะเสนอให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปจากกิ่งใหญ่ก่อนครับ ไม่ต้องช่วยกันเสนอรายละเอียดมากมายก็ได้ มีศัพท์เพิ่มมาทีละตัวสองตัวก็พอ แล้วอธิบายศัพท์ที่เพิ่มมาทีละตัวอย่างเข้าใจครับ น่าจะทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องเลยเข้าใจง่ายขึ้น
ผมก็อยากจะเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุดเช่นกันครับ
แต่เริ่มเขียนก็พบว่าเรื่องstock valuation นั้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานการเงินมาบ้าง
และให้ผมเขียนเกี่ยวกับพื้นฐานทางการเงินทั้งหมดนั้นอาจผิดหัวข้อที่จะเขียน
ผมจึงเขียนบนสมมติฐานว่าผู้อ่านมีความรู้มาบ้างเช่นกัน ดังนั้นผมคิดว่า
เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากที่สุด ให้ถามเพิ่มเติมในจุดที่ตนเองสนใจ สงสัย
หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
เห็นด้วยครับ และขอบคุณที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้ครับ
คุณ send เขียนได้เข้าใจง่ายแล้วครับ เพราะเวลามีตัวแปรใหม่ๆ หรือศัพท์ใหม่ๆโผล่ขึ้นมา ผมสังเกตว่าคุณ send จะพยายามอธิบายหรือพูดถึงให้เข้าใจง่ายๆว่ามันคืออะไร อยู่ตำแหน่งไหนของภาพรวม ไม่ได้ยกศัพท์ใหม่ๆขึ้นมาลอยๆหลายๆตัวโดยไม่อธิบาย ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องยากพอสมควรเลยครับ ยิ่งอธิบายละเอียดไปก็จะไปพัวพันกับศัพท์ใหม่ๆอีกหลายตัว ไม่สิ้นสุด ผมชอบรูปแบบที่คุณ send อธิบายอยู่นี่ครับ ไม่ต้องลงรายละเอียดมากนัก เน้นการใช้งานและความเข้าใจมากกว่า

ขอบคุณอีกครั้งครับ
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 49

โพสต์

send เขียน:
financeseed เขียน:คือผมยังงงอยู่นิดหน่อยอะครับ

คือต้นทุนทางการเงินนี้เราควรใช้
ebit(1-T) หรือ net profit

อันไหนมัน ถูกต้องกว่ากันครับ
ผมงงคำถามครับ????

ปกติต้นทุนทางการเงิน มาจาก ต้นทุนของหนี้ และต้นทุนของส่วนของเจ้าของ
ซึ่งจะอยู่ในรูป อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมหลังภาษี และ Re ดังที่กล่าวไปข้างต้นครับ
ซึ่งมันไม่จะน่าเกี่ยวข้องกับ EBIT(1-T) หรือ Net Profit

ผมต้องขอโทษ ผมถามผิดกระทู้ครับ แต่ไม่เป็นไร ถามในกระทู้นี้แล้วกัน ในการคำนวณ

FCF เราควรใช้ EBIT( 1 - T ) หรือใช้ Net profit คิดครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 50

โพสต์

เพิ่มเติมในส่วน EP2 Part3 ครับ
ในส่วนของการคำนวณ beta (ดูสูตรจากภาพด้สนล่างก่อนนะครับ)

COV(x,m) คือ ความแปรปรวมร่วมของ หุ้น x กับ ตลาด โดยมีสูตรคือ Σ(Rxi-E(Rx))(Rmi-E(Rm))Pi
โดย Rxi คือ ผลตอบแทนของหุ้น x ในสถานการณ์(เช่นเศรษฐกิจดี ปานกลาง แย่) i
Rmi คือ ผลตอบของตลาดในสถานการณ์ i
Pi คือ ความน่าจะเป็นในสถานการณ์ i
E(Rx) คือ ผลตอบแทนคาดหวังจากหุ้น x ซึ่งคำนวณโดยใช้ผลรวมของความน่าจะเป็น
ในแต่ละสถานการณ์ * ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ในแต่ละสถานการณ์ซึ่งสามารถ
เขียนเป็นสูตรได้ว่า Σ(Pi*Rxi)
E(Rm) คือ ผลตอบแทนคาดหวังจากตลาด Σ(Pi*Rmi)

Variance ของ ตลาด = Σ(Rmi-E(Rm))Pi

ต้องขอโทษด้วยครับ การใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์บนคอมนั้นค่อยข้างลำบากสำหรับผมจริงๆ
ทำให้ตัวแปรต่างๆมีหน้าตาแปลกๆไปบ้างสำหรับผู้ที่เคยศึกษามาแล้ว(จริงๆผมอยากให้ตัวแปรที่เป็นสากลที่สุด)
แนบไฟล์

การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 51

โพสต์

financeseed เขียน:
send เขียน:
financeseed เขียน:คือผมยังงงอยู่นิดหน่อยอะครับ

คือต้นทุนทางการเงินนี้เราควรใช้
ebit(1-T) หรือ net profit

อันไหนมัน ถูกต้องกว่ากันครับ
ผมงงคำถามครับ????

ปกติต้นทุนทางการเงิน มาจาก ต้นทุนของหนี้ และต้นทุนของส่วนของเจ้าของ
ซึ่งจะอยู่ในรูป อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมหลังภาษี และ Re ดังที่กล่าวไปข้างต้นครับ
ซึ่งมันไม่จะน่าเกี่ยวข้องกับ EBIT(1-T) หรือ Net Profit

ผมต้องขอโทษ ผมถามผิดกระทู้ครับ แต่ไม่เป็นไร ถามในกระทู้นี้แล้วกัน ในการคำนวณ

FCF เราควรใช้ EBIT( 1 - T ) หรือใช้ Net profit คิดครับ
จริงๆแล้ว FCF มีสองแบบนัครับ แต่แบบที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้ผลคิดว่าคือ FCFF (free cash flow to the firm)

โดยสูตรจะเขียนได้ดังนี้ครับ
FCFF = EBIT(1-T)+NCC-WCInv-FCInv
หรือ
FCFF = NI+i(1-T)+NCC-WCInv-FCInv

ส่วนคำถามข้างต้น ถ้าจะอธิบายง่ายก็คือ EBIT(1-T) นั้นเท่ากับ NI+i(1-T) ครับ

สำหรับตัวแปรอื่นๆผมไว้อธิบายในเรื่อง FCF นะครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 52

โพสต์

financeseed เขียน:
send เขียน:
financeseed เขียน:คือผมยังงงอยู่นิดหน่อยอะครับ

คือต้นทุนทางการเงินนี้เราควรใช้
ebit(1-T) หรือ net profit

อันไหนมัน ถูกต้องกว่ากันครับ
ผมงงคำถามครับ????

ปกติต้นทุนทางการเงิน มาจาก ต้นทุนของหนี้ และต้นทุนของส่วนของเจ้าของ
ซึ่งจะอยู่ในรูป อัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมหลังภาษี และ Re ดังที่กล่าวไปข้างต้นครับ
ซึ่งมันไม่จะน่าเกี่ยวข้องกับ EBIT(1-T) หรือ Net Profit

ผมต้องขอโทษ ผมถามผิดกระทู้ครับ แต่ไม่เป็นไร ถามในกระทู้นี้แล้วกัน ในการคำนวณ

FCF เราควรใช้ EBIT( 1 - T ) หรือใช้ Net profit คิดครับ
ผมเขียนผิดเยอะมากครับลืมตรวจสอบ ขอ Post ใหม่นะครับ

จริงๆแล้ว FCF มีสองแบบนะครับ แต่แบบที่พูดถึงผมคิดว่าคือ FCFF (free cash flow to the firm)

โดยสูตรจะเขียนได้ดังนี้ครับ
FCFF = EBIT(1-T)+NCC-WCInv-FCInv
หรือ
FCFF = NI+i(1-T)+NCC-WCInv-FCInv

ส่วนคำถามข้างต้น ถ้าจะอธิบายแบบง่ายๆก็คือ EBIT(1-T) นั้นเท่ากับ NI+i(1-T) ครับ

สำหรับตัวแปรอื่นๆผมไว้อธิบายในเรื่อง FCF นะครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
chiraponge
Verified User
โพสต์: 803
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 53

โพสต์

เพิ่มเติม beta หน่อยครับ
หากหาจาก web ให้ดูด้วยนะครับว่าเปงข้อมูลที่เก็บที่ระยะเวลาไหน
เช่น trinity เก็บที่ราคาปิด ด้วยระยะเวลา 52 week
หรือหากเป็น bloomberg เป็นระยะเวลา 2 ปี
ซึ่งหุ้นบางตัว ราคาอาจไม่ขยับมาตลอด และเพิ่งมีการขยับของราคาทำให้ค่า beta อาจไม่สมเหตุผล
ในกรณีนั้น ผมจะเอา beta มาหาเอง ตามวิธีที่ท่าน send ใช้ excel หา slope

แต่ด้วย beta เป็นค่าที่หามาจากราคา ที่มีการเคลื่อนไหวทุกวัน
ราคามาจากการคาดหวังของนักลงทุน ผมเลยเอาค่า beta ที่ได้มาปรับค่า beta
ด้วย unleverage beta, bu = b/(1+(1-T)*(D/S))
ของ HAMADA
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 54

โพสต์

chiraponge เขียน:เพิ่มเติม beta หน่อยครับ
หากหาจาก web ให้ดูด้วยนะครับว่าเปงข้อมูลที่เก็บที่ระยะเวลาไหน
เช่น trinity เก็บที่ราคาปิด ด้วยระยะเวลา 52 week
หรือหากเป็น bloomberg เป็นระยะเวลา 2 ปี
ซึ่งหุ้นบางตัว ราคาอาจไม่ขยับมาตลอด และเพิ่งมีการขยับของราคาทำให้ค่า beta อาจไม่สมเหตุผล
ในกรณีนั้น ผมจะเอา beta มาหาเอง ตามวิธีที่ท่าน send ใช้ excel หา slope

แต่ด้วย beta เป็นค่าที่หามาจากราคา ที่มีการเคลื่อนไหวทุกวัน
ราคามาจากการคาดหวังของนักลงทุน ผมเลยเอาค่า beta ที่ได้มาปรับค่า beta
ด้วย unleverage beta, bu = b/(1+(1-T)*(D/S))
ของ HAMADA

ขอบคุณมากเลยครับ มาช่วยลงลึกจะได้รู้ว่าจะเอาไปใช้จริงๆได้ยังไง(แต่ทฤษฎี HAMADA เป็นทฤษฎีที่ผมไม่ค่อยรู้เรื่อง
จริงๆสงสัยต้องลองทบทวนอีกที)
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 55

โพสต์

Stock Valuation EP2 DDM Part4

ตัวอย่างการหามูลค่าหุ้น ด้วย Gordon Model

สมมติว่าบริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตเต็มที่ นั้นพึ่งปันผลของปีล่าสุดออกไป 2 บาทต่อหุ้น และเมื่อเราได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้วคาดการณ์ว่าบริษัทนี้จะเติบโตคงที่ 4% ในอนาคต นอกจากนี้เราได้คำนวณ Re พบว่าเท่ากับ 12% ดังนั้นเราจะได้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นเท่ากับ
(2(1+0.04))/0.12-0.04 = 26
ดังนั้นราคาหุ้นที่เหมาะสมคือ 26 บาทต่อหุ้น

ข้อดีข้อเสียและสถานการณ์ที่เหมาะสมในการนำ DDM ไปใช้ (จริงๆเนื้อหานี้ควรอยู่ใน Part แรกของ DDM ดูเหมือนผมจัดเนื้อหาไม่ดีเท่าไหร่ เอาไว้ EP3 จะพยายามจัดให้ดีกว่านี้ครับ)
ในส่วนนนี้เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ผมขอคัดลอกเนื้อหาจาก Study Note Schweser 2009 CFA Level2 และเนื่องจากผมไม่มั่นใจในการแปลของตนเองมากนักจึงขอคัดลอกมาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (หากมีคนมาช่วยแปลคงดีไม่น้อย)

Primary Advantage
1. It is theoretically justified. The shareholder’s investment today is worth the present value of the future cash flow he expects to receive, and ultimately he will be repaid for his investment in the form of dividends. Even if the investor sells the stock at any time prior to the buyer of the company, before all the dividends are paid, he will receive from the buyer of the share the present value of the expected future dividends.
2. Dividend are less volatile than other measure (earning of free cash flow), and therefore the value estimates derived from dividend discount models are less volatile and reflect the long term earning potential of the company.

Primary Disadvantage
1. It’s difficult to implement for firms that don’t currently pay dividends. It is possible to estimate expected future dividends by forecasting the point in the future when the firm is expected to begin paying dividends. The problem with this approach in practice is the uncertainty associated with forecasting the fundamental variables that influence stock price (earning, dividend payout rate, growth rate, and required return) so far into the future.
2. It takes the perspective of an investor who owns a minority stake in the firm and cannot control the dividend policy. If the dividend policy dictated by the controlling interests bears a meaningful relationship to the firm’s underlying profitability, then dividends are appropriate. However, if the dividend policy is not related to the firm’s ability to create value, then dividends are not an appropriate measure of expected future cash flow to shareholders.

Dividends are appropriate as a measure of cash flow in the following cases:
1. The company has a history of dividend payments.
2. The dividend policy is clear and related to the earnings of the firm.
3. The perspective is that of a minority shareholder.

สมมติฐาน ข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสม ในการนำ Gordon Growth Model ไปใช้


Assumption of Gordon growth model
1. The firm expects to pay a dividend, D1, in one year.
2. Dividends grow indefinitely at a constant rate, g (which may be less than zero)
3. The growth rate, g, is less than the required return, r.

Gordon Growth Model: Strengths AND Limitations

Strength, The model:
1. Is applicable to stable, mature, dividend-paying firms.
2. Is appropriate for valuing market indexes.
3. Is easily communicated and explained because of its straightforward approach.
4. Can be used to determine price-implied growth rates, required rates of return, and value of growth opportunities.
5. Can be used to supplement other, more complex valuation methods.

Limitations

1. Valuations are very sensitive to estimates of growth rates and required rates of return, both of which are difficult to estimates with precision.
2. The model cannot be easily applied to non-dividend-paying stocks.
3. Unpredictable growth patterns of some firms would make using the model difficult and the resulting valuations unreliable.

จะเห็นได้ว่าสมมติฐานสำคัญของ Gordon Growth Model (GGM) นั้น คือการให้ g คงที่ส่งผลให้ GGM เหมาะที่จะใช้กับบริษัทที่อยู่ในช่วง Mature เท่านั้น ดังนั้นเราจะแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิธี Multistage Growth Models ซึ่งจะพูดถึงใน Part ต่อไปครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
blue house
Verified User
โพสต์: 86
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ขออนุญาต แสดงความอ่อนด้อยเลยนะคะ เพิ่งอ่านการคำนวณมูลค่าหุ้น เป็นครั้งแรก

จากตัวอย่างบริษัท A ตามไม่ทันค่ะ...ลองถอยไปดู หมายความว่า
สมมติว่าบริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตเต็มที่ นั้นพึ่งปันผลของปีล่าสุดออกไป 2 บาทต่อหุ้น และเมื่อเราได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้วคาดการณ์ว่าบริษัทนี้จะเติบโตคงที่ 4% ในอนาคต นอกจากนี้เราได้คำนวณ Re พบว่าเท่ากับ 12%
นั่นหมายความว่า D1=D0x(1+g) = 2x1.04 = 2.08 บาท
ซึ่งตัวที่ไม่รู้ คือ P เพราะไม่รู้ Aนี้คืออะไร...ถ้าให้ได้ Re = 12%
จากสูตร Re=(D1/P)+g >>> 12% =(2.08/P)+4% นั่นคือ P= 26บาท
ดังนั้นเราจะได้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นเท่ากับ
P0 =D0(1+g)/(Re-g) = 2(1+0.04)/ (0.12-0.04) = 26
ดังนั้นราคาหุ้นที่เหมาะสมคือ 26 บาทต่อหุ้น
หมายความว่า หุ้นตอนนี้ 26บาท..และเป็นราคาเหมาะสมแล้ว 26บาทนั่นเอง ...ใช่ไหมคะ???

ขอบคุณมากนะคะ ที่สละเวลามาเขียนให้ความรู้ แบบปฎิบัติตามได้ (ไม่ใช่ทฤษฎี)
แต่ขอบอกว่า ยากจังค่ะ ....สงสัยเป็น VI ไม่ได้

ปล. ทั้งๆที่ดิฉันเป็นวิศวกร และจบโทการเงินมาแล้ว แต่วัย 38 ความรู้ลงหม้อหมด ยังอ่านยากมากค่ะ
BLUE HOUSE IN THE BLUE SKY.
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 57

โพสต์

การนำแบบจำลองการคิดลดเงินปันผลมาใช้จะมีความเหมาะสมในเงื่อนไข
1. ธุรกิจนั้นมีการจ่ายเงินปันผลในปัจจุบันอยู่แล้ว และมีข้อมูลของการจ่ายเงินปันผลในอดีตที่ผ่านมา
2. นโยบายการจ่ายเงินปันผลที่คณะกรรมการบริหารบริษัทกำหนดมีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการหรือผลประกอบการของบริษัท
3. นักลงทุนถือว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้มีส่วนในการควบคุมกิจการอย่างเด็ดขาด
ก็อปมาจาก หนังสืออ่านประกอบวิชาการวิเคราะห์การลงทุนในตราสารทุน ส่วนที่ 2 แบบจำลองในการประเมินมูลค่า CISA level 2 ครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
babyboom
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 59

โพสต์

blue house เขียน:ขออนุญาต แสดงความอ่อนด้อยเลยนะคะ เพิ่งอ่านการคำนวณมูลค่าหุ้น เป็นครั้งแรก

จากตัวอย่างบริษัท A ตามไม่ทันค่ะ...ลองถอยไปดู หมายความว่า
สมมติว่าบริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโตเต็มที่ นั้นพึ่งปันผลของปีล่าสุดออกไป 2 บาทต่อหุ้น และเมื่อเราได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้วคาดการณ์ว่าบริษัทนี้จะเติบโตคงที่ 4% ในอนาคต นอกจากนี้เราได้คำนวณ Re พบว่าเท่ากับ 12%
นั่นหมายความว่า D1=D0x(1+g) = 2x1.04 = 2.08 บาท
ซึ่งตัวที่ไม่รู้ คือ P เพราะไม่รู้ Aนี้คืออะไร...ถ้าให้ได้ Re = 12%
จากสูตร Re=(D1/P)+g >>> 12% =(2.08/P)+4% นั่นคือ P= 26บาท
ดังนั้นเราจะได้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นเท่ากับ
P0 =D0(1+g)/(Re-g) = 2(1+0.04)/ (0.12-0.04) = 26
ดังนั้นราคาหุ้นที่เหมาะสมคือ 26 บาทต่อหุ้น
ข้อนี้สูตรที่ใช้คือสูตรจาก EP2 Part1 ครับ ซึ่งจริงๆมันก็สูตรเดียวกันแค่กลับสมการครับ



หมายความว่า หุ้นตอนนี้ 26บาท..และเป็นราคาเหมาะสมแล้ว 26บาทนั่นเอง ...ใช่ไหมคะ???

ขอบคุณมากนะคะ ที่สละเวลามาเขียนให้ความรู้ แบบปฎิบัติตามได้ (ไม่ใช่ทฤษฎี)
แต่ขอบอกว่า ยากจังค่ะ ....สงสัยเป็น VI ไม่ได้

ปล. ทั้งๆที่ดิฉันเป็นวิศวกร และจบโทการเงินมาแล้ว แต่วัย 38 ความรู้ลงหม้อหมด ยังอ่านยากมากค่ะ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
pranol
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

Re: Stock Valuation EP1

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ขอบคุณมากๆ ครับ ที่สละเวลา เอาใจช่วยและขอติดตามตอนต่อไปนะครับ