หลักการลงทุน
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 1
อยากรู้ว่าเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีหลักในการลงทุนกันอย่างไร
เช่นเลือกหุ้นจากไหน ศึกษาจากอะไร และตัดสินใจจากอะไร ทั้งนี้รวมเรื่องการขายด้วย
เอาทั้งการเก็งกำไรและลงทุน ไม่จำเป็นต้องแบบVIก็ได้
ช่วยๆตอบกันหน่อยนะ มีรางวัลอีกแล้วละ
เช่นเลือกหุ้นจากไหน ศึกษาจากอะไร และตัดสินใจจากอะไร ทั้งนี้รวมเรื่องการขายด้วย
เอาทั้งการเก็งกำไรและลงทุน ไม่จำเป็นต้องแบบVIก็ได้
ช่วยๆตอบกันหน่อยนะ มีรางวัลอีกแล้วละ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 3
ผมกำลังศึกษาVIอยู่ ยังไม่เก่งขอตอบแนวเก็งกำไรนะครับ
ซึ่งก็ไม่เก่งเช่นกัน ที่ผ่านมาพอรอดตัวมาได้ ตั้งใจคิดเลิกแต่สงสัยต้องเลิกที่ถ้ำกระบอก
ทุกวันนี้แบ่งพอร์ทเป็น 2ส่วน
1.ลงทุนแนวVI ถือหุ้นอยู่80% ไม่น่าเชื่อ รับปันผลมา2ปีแล้ว มีทั้งgainด้วย สบายใจ
(ตอนเริ่มๆเล่นหุ้น ลองซื้อดู เพื่อนบอก ยังไม่ได้ขายเลย ในห้องนี้ก็มีกันหลายคน)
2.แนวเก็งกำไร เกร็งจริงๆ พอร์ตไม่แน่นอน แดงๆเขียวๆ อาศัยเทคนิคอลเข้าซื้อเป็นหลัก อ่านข่าวบ้าง วิธีคือ เมื่อซื้อแล้วตั้งจุดขายทันที เช่นซื้อหุ้น xxที่ 10บาท ขายทิ้งถ้าลงถึง9.5 ขายทำกำไรครึ่งนึงถ้าขึ้นถึง11บาท อีกครึ่งนึงรอดู ถ้ายังดีถือต่อ ถ้าดูไม่ดีเท่าไหร่ก็ขาย 2ปีที่ผ่านมา พอร์ตนี้หวือหวามาก บางทีกำไรมากจนอยากเอาเงินมาซื้อรถ แต่ตอนนี้คืนให้ตลาดไปเกือบหมดแล้ว เลยซึ้งสัจธรรมว่า เล่นแบบนี้พอร์ตโตยากในระยะยาว เล่นหันเหใจมาฝักใฝ่แนวลงทุนVI เริ่มศึกษาปวดหัวจี๊ดเหมือนกัน เงื่อนไง ปัจจัยต่างจากเก็งกำไรมาก วิธีการเข้าซื้อด้วย
ซึ่งก็ไม่เก่งเช่นกัน ที่ผ่านมาพอรอดตัวมาได้ ตั้งใจคิดเลิกแต่สงสัยต้องเลิกที่ถ้ำกระบอก
ทุกวันนี้แบ่งพอร์ทเป็น 2ส่วน
1.ลงทุนแนวVI ถือหุ้นอยู่80% ไม่น่าเชื่อ รับปันผลมา2ปีแล้ว มีทั้งgainด้วย สบายใจ
(ตอนเริ่มๆเล่นหุ้น ลองซื้อดู เพื่อนบอก ยังไม่ได้ขายเลย ในห้องนี้ก็มีกันหลายคน)
2.แนวเก็งกำไร เกร็งจริงๆ พอร์ตไม่แน่นอน แดงๆเขียวๆ อาศัยเทคนิคอลเข้าซื้อเป็นหลัก อ่านข่าวบ้าง วิธีคือ เมื่อซื้อแล้วตั้งจุดขายทันที เช่นซื้อหุ้น xxที่ 10บาท ขายทิ้งถ้าลงถึง9.5 ขายทำกำไรครึ่งนึงถ้าขึ้นถึง11บาท อีกครึ่งนึงรอดู ถ้ายังดีถือต่อ ถ้าดูไม่ดีเท่าไหร่ก็ขาย 2ปีที่ผ่านมา พอร์ตนี้หวือหวามาก บางทีกำไรมากจนอยากเอาเงินมาซื้อรถ แต่ตอนนี้คืนให้ตลาดไปเกือบหมดแล้ว เลยซึ้งสัจธรรมว่า เล่นแบบนี้พอร์ตโตยากในระยะยาว เล่นหันเหใจมาฝักใฝ่แนวลงทุนVI เริ่มศึกษาปวดหัวจี๊ดเหมือนกัน เงื่อนไง ปัจจัยต่างจากเก็งกำไรมาก วิธีการเข้าซื้อด้วย
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 4
ตอนนี้ยอมรับเลยครับว่า เล่น (ซื้อ) หุ้นตาม VI บอก แต่ยังไม่ได้ซื้อตามทุกตัว เพราะติดเรื่องงบ และก็ไม่ได้คิดด้วยว่าจะต้องเหมือนทุกตัว เพียงแต่นำมาพิจารณาต่อเอาอีกทีหนึ่ง
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- Minesweeper
- Verified User
- โพสต์: 472
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 5
1. ไอเดียการลงทุนในหุ้นใหม่ๆ มักจะมาจากบทวิเคราะห์ และก็เวปบอร์ดหุ้นต่างๆ ครับ อันนี้เป็น แหล่งข้อมูลที่จะกระตุ้นให้มาดูรายละเอียดอีกที
2. ศึกษาก็ดูฟอร์ม 56-1, งบการเงินย้อนหลังสัก 1-2 ปี, อ่าน 100 คน 100 หุ้น, บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ เพื่อดูความคิดของตลาด
3. ตัดสินใจจาก หุ้นที่เราคิดว่าถูกกว่าความเป็นจริง ความเสี่ยงของการดำเนินงาน และการเงินไม่สูงจนเกินไป
4. ขายและเปลี่ยนตัว เมื่อเปรียบเทียบหุ้นที่มีอยู่ กับหุ้นที่เลือกมาใหม่ แล้ว ตัวที่เลือกมาใหม่ คุ้มกว่า 30-40 เปอร์เซนต์เป็นต้นไปครับ
2. ศึกษาก็ดูฟอร์ม 56-1, งบการเงินย้อนหลังสัก 1-2 ปี, อ่าน 100 คน 100 หุ้น, บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ เพื่อดูความคิดของตลาด
3. ตัดสินใจจาก หุ้นที่เราคิดว่าถูกกว่าความเป็นจริง ความเสี่ยงของการดำเนินงาน และการเงินไม่สูงจนเกินไป
4. ขายและเปลี่ยนตัว เมื่อเปรียบเทียบหุ้นที่มีอยู่ กับหุ้นที่เลือกมาใหม่ แล้ว ตัวที่เลือกมาใหม่ คุ้มกว่า 30-40 เปอร์เซนต์เป็นต้นไปครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 6
"หลักการลงทุน" ผมมีอยู่เล่มนึง โดย ศ.เพชรี ขุมทรัพย์ (ม.ธ.)
สมัยก่อนเริ่มเล่นหุ้น..ผู้รู้บอกให้รีบๆไปซื้ออ่านก่อน
อย่าไปเชื่อพ๊อกเก๊ตบุ๊ค..พอหุ้นขึ้น...ใครก็ไม่รู้เขียนเต็มตลาดไปหมด
ได้ความรู้พื่นฐานดีมากครับ พันธบัตร หุ้นกู หุ้นกู๋ หุ้นกู้ วอร์แรนต์ ตั๋วเงิน ตั๋วบอล ..เอ้ย ตั๋วคลัง มีครบ
สมัยก่อนเริ่มเล่นหุ้น..ผู้รู้บอกให้รีบๆไปซื้ออ่านก่อน
อย่าไปเชื่อพ๊อกเก๊ตบุ๊ค..พอหุ้นขึ้น...ใครก็ไม่รู้เขียนเต็มตลาดไปหมด
ได้ความรู้พื่นฐานดีมากครับ พันธบัตร หุ้นกู หุ้นกู๋ หุ้นกู้ วอร์แรนต์ ตั๋วเงิน ตั๋วบอล ..เอ้ย ตั๋วคลัง มีครบ
- snizzer
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 7
สำหรับผมตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มซื้อเลยสักตัว กำลังศึกษาอยู่น่ะครับ เบิดบัญชีตอนนี้แค่เอาไว้ monitor หุ้นเฉยเท่านั้นเอง.....หวังว่าจะได้เริ่มซื้อเร็วๆนี้แหล่ะครับ
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 8
แก้ดีกว่า จริงๆผมมีหลายแนว เอาแนวที่ชอบตอนนี้
เลือกหุ้นที่คิดว่าเราอยากเป็นเจ้าของกิจการมากที่สุด แล้วค่อยมาวิเคราะห์ว่าฐานะการเงินเป็นอย่างไร
เหมือนดูว่าหญิงคนนี้เราอยากแต่งงานด้วยป่าว แล้วค่อยไปดูนิสัยใจคอ และก็อาชีพ การงาน
เลือกหุ้นที่คิดว่าเราอยากเป็นเจ้าของกิจการมากที่สุด แล้วค่อยมาวิเคราะห์ว่าฐานะการเงินเป็นอย่างไร
เหมือนดูว่าหญิงคนนี้เราอยากแต่งงานด้วยป่าว แล้วค่อยไปดูนิสัยใจคอ และก็อาชีพ การงาน
แก้ไขล่าสุดโดย harry เมื่อ พฤหัสฯ. พ.ค. 12, 2005 6:02 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Expecto Patronum!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 10
การเป็น VI นั้น ต้องเป็นการลงทุนระยะยาวหรือป่าวครับ
- Banchap
- Verified User
- โพสต์: 247
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 12
เริ่มแรกด้วยหุ้น IPO ที่บริษัทขายให้ลูกจ้างอย่างผม แถมไปขอซื้อสิทธิของคนอื่นมาด้วย เพราะเขาบอกกันมาว่า ถ้าเข้าตลาดแล้ว ราคาจะพุ่งขึ้นอย่างแรง แล้วมันก็จริง ถือไว้จนพอใจในราคาก็ขาย เอ...มันได้เงินง่าย ๆ แบบนี้เลย
จากนั้น(เมื่อความโลภเข้าสิง) ก็เปิดพอร์ตตามที่เพื่อนแนะนำ ซื้อขายตามที่แม่เพื่อนบอกมา(อีกที) ไม่ได้คิดเองเลยจริง ๆ ตัวเลขต่าง ๆก็ไม่สนใจ ซื้อขายเร็วมาก ๆ ด้วยความฟลุ๊ก(อีกที) ตอนที่ไฟแนนซ์ล้ม ผมไม่มีหุ้นอยู่เลย ก็เลยรอดตาย ผลรวมช่วงนี้ขาดทุนสองหมื่นกว่าบาท แต่วุ่นวายมาก ทุกเบรคต้องเดินไปถามเพื่อนว่า แม่ว่าไง (ตอนนี้แม่เลิกเล่นหุ้นแล้ว เพราะขาดทุนในช่วงนี้)
ในเวลาต่อมา ก็เริ่มหาหนังสือมาอ่าน จำพวกเทคนิคต่าง ๆ กราฟต่าง ๆ (ตอนนี้ก็ยังใช้ไม่เป็นอยู่ดี) เขาบอกว่า กราฟจะได้ผลกับหุ้นสภาพคล่องสูง ก็เลยคิดเอาเองว่า หุ้นต่ำสิบ มันต้องมีสภาพคล่องกว่าตัวใหญ่แน่ (เน้นนะครับ ว่าคิดเอาเอง) ช่วงนี้ก็เสียค่าวิชาไปอีกสองหมื่นกว่าบาท วุ่นวายมากเหมือนเดิม เหนื่อยมาก คุยกับมาร์บ่อยมาก สุดท้ายก็เลยเลิกเล่น คิดเองว่า สไตล์นี้ไม่เหมาะกับสภาพงานประจำ
และแล้ว การแสวงหาก็มาถึงจุดเปลี่ยน (เหมือนตอนที่แอนตี้ไมโครซอฟท์ แล้วหันไปใช้ลินุกส์) ได้อ่านหนังสือของอาจารย์นิเวศน์ ได้พบเวปไซต์นี้ ได้พบแนวทาง VI ก็เริ่มตลุยหาข้อมูลหุ้นใหม่ แล้วลองโทรไปคุยกับมาร์ 555 เรารู้เยอะกว่ามาร์อีก ถ้าหุ้นตัวที่ถามไม่มีรีเสิรช มาร์ตอบไม่ได้ บอกให้รอ... ความมั่นใจก็บังเกิด ก็ลุย เปิดพอร์ตแบบอินเตอร์เนตอีกพอร์ต เพราะไม่รู้จะพึ่งมาร์ได้ไหม สภาพตอนนี้ ไม่เหนื่อย เล่นมาประมาณ 10 ตัว ขาดทุน 4 ตัว (ขายทิ้งไปแล้ว 2 ตัว) แต่รวมทั้งหมดก็กำไรอยู่ ซาบซึ้งกับเรื่องการหาหุ้นหลายเด้งของปีเตอร์ ลินช์ ถ้าพอร์ตมีตัวหลายเด้งสักตัว กำไรมันจะครอบคลุมตัวที่ขาดทุนได้
กำลังรู้สึกว่า จะเข้าใจแนวคิดเรื่องการซื้อทั้งบริษัท ที่พี่ ๆเคยพูดไว้ในนี้ (ที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็เคยอ่านเจอ แต่ไม่เข้าใจ ซาบซึ้งจนทำได้แบบไม่ต้องคิดนะครับ ) คงต้องฝึกฝนต่อไป
โชคดีทุกท่านนะครับ
จากนั้น(เมื่อความโลภเข้าสิง) ก็เปิดพอร์ตตามที่เพื่อนแนะนำ ซื้อขายตามที่แม่เพื่อนบอกมา(อีกที) ไม่ได้คิดเองเลยจริง ๆ ตัวเลขต่าง ๆก็ไม่สนใจ ซื้อขายเร็วมาก ๆ ด้วยความฟลุ๊ก(อีกที) ตอนที่ไฟแนนซ์ล้ม ผมไม่มีหุ้นอยู่เลย ก็เลยรอดตาย ผลรวมช่วงนี้ขาดทุนสองหมื่นกว่าบาท แต่วุ่นวายมาก ทุกเบรคต้องเดินไปถามเพื่อนว่า แม่ว่าไง (ตอนนี้แม่เลิกเล่นหุ้นแล้ว เพราะขาดทุนในช่วงนี้)
ในเวลาต่อมา ก็เริ่มหาหนังสือมาอ่าน จำพวกเทคนิคต่าง ๆ กราฟต่าง ๆ (ตอนนี้ก็ยังใช้ไม่เป็นอยู่ดี) เขาบอกว่า กราฟจะได้ผลกับหุ้นสภาพคล่องสูง ก็เลยคิดเอาเองว่า หุ้นต่ำสิบ มันต้องมีสภาพคล่องกว่าตัวใหญ่แน่ (เน้นนะครับ ว่าคิดเอาเอง) ช่วงนี้ก็เสียค่าวิชาไปอีกสองหมื่นกว่าบาท วุ่นวายมากเหมือนเดิม เหนื่อยมาก คุยกับมาร์บ่อยมาก สุดท้ายก็เลยเลิกเล่น คิดเองว่า สไตล์นี้ไม่เหมาะกับสภาพงานประจำ
และแล้ว การแสวงหาก็มาถึงจุดเปลี่ยน (เหมือนตอนที่แอนตี้ไมโครซอฟท์ แล้วหันไปใช้ลินุกส์) ได้อ่านหนังสือของอาจารย์นิเวศน์ ได้พบเวปไซต์นี้ ได้พบแนวทาง VI ก็เริ่มตลุยหาข้อมูลหุ้นใหม่ แล้วลองโทรไปคุยกับมาร์ 555 เรารู้เยอะกว่ามาร์อีก ถ้าหุ้นตัวที่ถามไม่มีรีเสิรช มาร์ตอบไม่ได้ บอกให้รอ... ความมั่นใจก็บังเกิด ก็ลุย เปิดพอร์ตแบบอินเตอร์เนตอีกพอร์ต เพราะไม่รู้จะพึ่งมาร์ได้ไหม สภาพตอนนี้ ไม่เหนื่อย เล่นมาประมาณ 10 ตัว ขาดทุน 4 ตัว (ขายทิ้งไปแล้ว 2 ตัว) แต่รวมทั้งหมดก็กำไรอยู่ ซาบซึ้งกับเรื่องการหาหุ้นหลายเด้งของปีเตอร์ ลินช์ ถ้าพอร์ตมีตัวหลายเด้งสักตัว กำไรมันจะครอบคลุมตัวที่ขาดทุนได้
กำลังรู้สึกว่า จะเข้าใจแนวคิดเรื่องการซื้อทั้งบริษัท ที่พี่ ๆเคยพูดไว้ในนี้ (ที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็เคยอ่านเจอ แต่ไม่เข้าใจ ซาบซึ้งจนทำได้แบบไม่ต้องคิดนะครับ ) คงต้องฝึกฝนต่อไป
โชคดีทุกท่านนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 13
ลูกผสมที่ว่า คือ ทั้ง เก็งระยะสั้น ลงทุนระยะกลาง และยาว ด้วยใช่ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 14
เลือกซื้อหุ้น
1.ชอบ ดูมีเสน่ห์
2.มีแบรนด์ มีแฟรนไชน์ที่แข็งแกร่ง ผูกขาด
3.กระแสเงินสดเป็นบวก หนี้น้อย ลงทุนไม่มาก ปันผลพอสมควร
4.เงียบเหงา ไม่มีคนสนใจ คนมองว่าราคาแพง ไม่แตกพาร์ยิ่งดี
5.ราคาเหมาะสม (คำนวนว่าถ้าหากซื้อทั้งบริษัท น่าซื้อไหม แพงไปไหม)
ขายหุ้น
ขายหมด เมื่อตรงข้ามกับข้อ1 ข้างบน
ขายบ้าง เมื่อราคาขึ้นแรงและเร็ว คนสนใจมาก ราคาแพงไปมากๆ
1.ชอบ ดูมีเสน่ห์
2.มีแบรนด์ มีแฟรนไชน์ที่แข็งแกร่ง ผูกขาด
3.กระแสเงินสดเป็นบวก หนี้น้อย ลงทุนไม่มาก ปันผลพอสมควร
4.เงียบเหงา ไม่มีคนสนใจ คนมองว่าราคาแพง ไม่แตกพาร์ยิ่งดี
5.ราคาเหมาะสม (คำนวนว่าถ้าหากซื้อทั้งบริษัท น่าซื้อไหม แพงไปไหม)
ขายหุ้น
ขายหมด เมื่อตรงข้ามกับข้อ1 ข้างบน
ขายบ้าง เมื่อราคาขึ้นแรงและเร็ว คนสนใจมาก ราคาแพงไปมากๆ
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 15
สำหรับเรื่องการลงทุน ลงทุนในหุ้นอย่างเดียว ยังไม่มีความรู้พอจะไปลงทุนด้วยการเป็นเจ้าของกิจการเอง
ในเวลานี้กำลังศึกษาหลายแนว แต่ก็พอรู้ว่าผมต้องการหุ้นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับที่คาดหมาย หวังแค่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อบวกกับดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารก็พอใจแล้วครับ แค่5-7เปอร์เซ็นต์ก็เอาแล้วครับ
ผมเลือกหุ้นที่ให้ปันผลทุกปี แค่ปีละ 5-7%ก็เอาแล้วครับ
เลือกหุ้นโดยเอาผลตอบแทนตั้งก่อน พอคัดหุ้นได้แล้วก็มานั่งดูงบการเงิน ถ้างบการเงินผ่าน ผมก็ค่อยมานั่งอ่านรายงาน56-1 เพื่อดูลักษณะการประกอบกิจการ
ผมซื้อเมื่อดูแล้วว่าราคาตลาดต่ำกว่าราคาจากปัจจัยพื้นฐานและอัตราการให้ปันผลอยู่ในเกณฑ์ตั้งไว้ในใจ ขายเมื่อคิดว่าได้ปันผลลดลงและปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน
ในเวลานี้กำลังศึกษาหลายแนว แต่ก็พอรู้ว่าผมต้องการหุ้นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับที่คาดหมาย หวังแค่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อบวกกับดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารก็พอใจแล้วครับ แค่5-7เปอร์เซ็นต์ก็เอาแล้วครับ
ผมเลือกหุ้นที่ให้ปันผลทุกปี แค่ปีละ 5-7%ก็เอาแล้วครับ
เลือกหุ้นโดยเอาผลตอบแทนตั้งก่อน พอคัดหุ้นได้แล้วก็มานั่งดูงบการเงิน ถ้างบการเงินผ่าน ผมก็ค่อยมานั่งอ่านรายงาน56-1 เพื่อดูลักษณะการประกอบกิจการ
ผมซื้อเมื่อดูแล้วว่าราคาตลาดต่ำกว่าราคาจากปัจจัยพื้นฐานและอัตราการให้ปันผลอยู่ในเกณฑ์ตั้งไว้ในใจ ขายเมื่อคิดว่าได้ปันผลลดลงและปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 17
อยากรู้ว่าเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีหลักในการลงทุนกันอย่างไร
เป็น VI สายปีเตอร์ลินซ์ ไม่มีเกร็งกำไรเลย
เช่นเลือกหุ้นจากไหน ศึกษาจากอะไร และตัดสินใจจากอะไร ทั้งนี้รวมเรื่องการขายด้วย
เลือกหุ้นจากผลประกอบการ อ่าน report ไปเรื่อยๆ
เจอแล้วก็ไปดูสินค้าประกอบ (บางที่ก็หาจากสินค้าแล้วค่อยดูงบ)
เจอตัวดีๆก็เคาะเลย ไม่เกี่ยงราคา
ถ้ามีข่าวร้าย ก็ขาย
ถ้ากำไรมากๆก็ขาย
เป็น VI สายปีเตอร์ลินซ์ ไม่มีเกร็งกำไรเลย
เช่นเลือกหุ้นจากไหน ศึกษาจากอะไร และตัดสินใจจากอะไร ทั้งนี้รวมเรื่องการขายด้วย
เลือกหุ้นจากผลประกอบการ อ่าน report ไปเรื่อยๆ
เจอแล้วก็ไปดูสินค้าประกอบ (บางที่ก็หาจากสินค้าแล้วค่อยดูงบ)
เจอตัวดีๆก็เคาะเลย ไม่เกี่ยงราคา
ถ้ามีข่าวร้าย ก็ขาย
ถ้ากำไรมากๆก็ขาย
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 18
ในวงนักเล่นหุ้น เค้าบอกว่า เจ้ามือ หมายถึงใครหรอครับ
- tenkafubu
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 19
จากการซึมซับจากเฮียๆๆ ทั้งหลาย และจากหลายๆ เล่ม พบว่า หลักการลงทุน ของผมเป็นแบบระยะยาวครับ ต้องนานกว่า 1 ปี (ยาวจริงไหม??หว่า ) ส่วนจะออกมาเป็นเน้นคุณค่าหรือไม่นั้นฏ้ไม่อาจทราบได้..
ผมจะมีหุ้นในดวงใจ หรือที่พบเห็นได้ยิน ไม่กี่ตัวครับ..และก็จะหมายไว้เลย..รอให้ตลาดทิ้งมัน หรือราคาต่ำพอที่ผมจะกล้าซื้อครับ..
ในช่วงแบบนี้ ผมว่า เราไม่อาจหาซื้อหุ้นถูกๆ ดีๆ แบบเมื่อ 4 - 5 ปีก่อนได้ อาจจะมีบางจังหวะสั้นๆ เท่านั้นแหละครับ..
แต่ถึงยังไง เมื่อตังเก็บ มากพอในระดับนึง ก็จะเข้าซื้อครับ..อย่างน้อยก็ปันผลครับ..
ผมจะมีหุ้นในดวงใจ หรือที่พบเห็นได้ยิน ไม่กี่ตัวครับ..และก็จะหมายไว้เลย..รอให้ตลาดทิ้งมัน หรือราคาต่ำพอที่ผมจะกล้าซื้อครับ..
ในช่วงแบบนี้ ผมว่า เราไม่อาจหาซื้อหุ้นถูกๆ ดีๆ แบบเมื่อ 4 - 5 ปีก่อนได้ อาจจะมีบางจังหวะสั้นๆ เท่านั้นแหละครับ..
แต่ถึงยังไง เมื่อตังเก็บ มากพอในระดับนึง ก็จะเข้าซื้อครับ..อย่างน้อยก็ปันผลครับ..
3M Only...
Market Cap.
Market Cap.
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 20
ผมเริ่มจากการวิเคราะห์ตัวเองก่อนว่าต้องการลงทุนอย่างไรครับ ซึ่งสรุปได้ว่า
1. ตัดสินใจว่าเล่นแบบ VI (ที่จริงยังไม่ถึง VI หรอกครับ ยังโง่อยู่มาก) เพราะใกล้เรียนจบ หลังจบแล้วยังต้องทำงานอีก
2. เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ จึงเน้นปันผลเป็นหลัก โดยแบ่งเงินเดือนส่วนหนึ่งไปลงทุนทุกๆ เดือน
3. หุ้นที่เลือกส่วนมากได้จากเพื่อนๆ แนว VI แล้วก็ในเวปนี้ครับ จะเน้นตัวที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ กำไรเพิ่มทุกปี หนี้น้อยกว่าทุน พอเจอหุ้นที่เข้าข่ายนี้แล้ว ก็เน้นอ่านๆๆๆๆ อ่านทุกอย่างของหุ้นตัวนั้นครับ ทั้ง Form 56-1 งบการเงิน(ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง) ข่าวย้อนหลังในเวป set และค้นหาข่าวของบริษัทนั้นใน google ครับ แล้วตอบตัวเองว่าพอใจกับบริษัทนี้ป่าว
4. ผมจะค่อยๆ ซึ้อหุ้นทีละน้อยๆ ครับ แพงก็ซื้อ ถูกก็ซื้อ ซื้อทุกๆ เดือนคอยอ่านข่าวและผลประกอบการของบริษัทมาเรื่อยๆ ครับ
ตอนนี้ก็มีหุ้นที่ถืออยู่ 4 ตัวครับ (ลงจำนวนเงินเท่าๆ กัน) ซื้อแล้วถือเฉลี่ยมาจะครบ 2 ปี มันไม่ขึ้นหรือลงเท่าไรเลยครับ (สงสัยเป็นหุ้นเฉื่อย)
ถ้าถามว่าจะขายเมื่อไรเหรอ คงตอบว่าพยายามศึกษาวิธีการลงทุนแนว VI แบบพวกพี่ๆ ให้มากขึ้น เพื่อเจอข้อเสียของบริษัทที่ตัวเองถืออยู่จะได้ขายทิ้งแล้วหาตัวที่ดีกว่าแทน
มีเรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง
ที่จริงในตอนแรกมีผมกับเพื่อน 3 คน กะจะเริ่มลงทุนแบบ VI
ผ่านไปเกือบ 1 ปี... เพื่อน 2 คนทนไม่ไหว หันไปเล่นเก็งกำไรเพราะมัวแต่ดูราคา ส่วนผมกับเพื่อนยังทนได้เพราะไม่รู้ราคาหุ้นของตัวเองเลย (ตอนซื้อผมฝากให้พี่ซื้อให้แทนอะ กลัวทนไม่ได้เหมือนกัน)
ผ่านไปเกือบ 2 ปี... เพื่อน 2 คนนั้นขาดทุนทั้งคู่ เจอกันอีกทีคนหนึ่งบอกจะไป
ขาย Amway อีกคนกะจะซื้อทองคำแท่งเก็บ
ส่วนผมกะเพื่อนที่เหลืออยู่กะอยู่ในตลาดหุ้นต่อไป เอิ๊กๆ
1. ตัดสินใจว่าเล่นแบบ VI (ที่จริงยังไม่ถึง VI หรอกครับ ยังโง่อยู่มาก) เพราะใกล้เรียนจบ หลังจบแล้วยังต้องทำงานอีก
2. เนื่องจากผมไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ จึงเน้นปันผลเป็นหลัก โดยแบ่งเงินเดือนส่วนหนึ่งไปลงทุนทุกๆ เดือน
3. หุ้นที่เลือกส่วนมากได้จากเพื่อนๆ แนว VI แล้วก็ในเวปนี้ครับ จะเน้นตัวที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ กำไรเพิ่มทุกปี หนี้น้อยกว่าทุน พอเจอหุ้นที่เข้าข่ายนี้แล้ว ก็เน้นอ่านๆๆๆๆ อ่านทุกอย่างของหุ้นตัวนั้นครับ ทั้ง Form 56-1 งบการเงิน(ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง) ข่าวย้อนหลังในเวป set และค้นหาข่าวของบริษัทนั้นใน google ครับ แล้วตอบตัวเองว่าพอใจกับบริษัทนี้ป่าว
4. ผมจะค่อยๆ ซึ้อหุ้นทีละน้อยๆ ครับ แพงก็ซื้อ ถูกก็ซื้อ ซื้อทุกๆ เดือนคอยอ่านข่าวและผลประกอบการของบริษัทมาเรื่อยๆ ครับ
ตอนนี้ก็มีหุ้นที่ถืออยู่ 4 ตัวครับ (ลงจำนวนเงินเท่าๆ กัน) ซื้อแล้วถือเฉลี่ยมาจะครบ 2 ปี มันไม่ขึ้นหรือลงเท่าไรเลยครับ (สงสัยเป็นหุ้นเฉื่อย)
ถ้าถามว่าจะขายเมื่อไรเหรอ คงตอบว่าพยายามศึกษาวิธีการลงทุนแนว VI แบบพวกพี่ๆ ให้มากขึ้น เพื่อเจอข้อเสียของบริษัทที่ตัวเองถืออยู่จะได้ขายทิ้งแล้วหาตัวที่ดีกว่าแทน
มีเรื่องจริงที่จะเล่าให้ฟัง
ที่จริงในตอนแรกมีผมกับเพื่อน 3 คน กะจะเริ่มลงทุนแบบ VI
ผ่านไปเกือบ 1 ปี... เพื่อน 2 คนทนไม่ไหว หันไปเล่นเก็งกำไรเพราะมัวแต่ดูราคา ส่วนผมกับเพื่อนยังทนได้เพราะไม่รู้ราคาหุ้นของตัวเองเลย (ตอนซื้อผมฝากให้พี่ซื้อให้แทนอะ กลัวทนไม่ได้เหมือนกัน)
ผ่านไปเกือบ 2 ปี... เพื่อน 2 คนนั้นขาดทุนทั้งคู่ เจอกันอีกทีคนหนึ่งบอกจะไป
ขาย Amway อีกคนกะจะซื้อทองคำแท่งเก็บ
ส่วนผมกะเพื่อนที่เหลืออยู่กะอยู่ในตลาดหุ้นต่อไป เอิ๊กๆ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 21
สิ่งที่อยากเป็น คือเลือกการลงทุนที่มีเสถียรภาพพอสมควร และศึกษาปัจจัยในการเติบโตและเห็นว่าปัจจัยเหล่านั้นมีทอศทางเป็นบวก
แต่ในปัจจุบันยังใช้แค่ indicators ง่ายๆมากรองเช่น PE DY% อยู่เลยครับบางทีก็ยังดู story อยู่เลยกะว่าขอล้างไอ้ที่เป็นแนวอื่นๆ ให้หมดโดยให้เจ็บตัวน้อยที่สุดตามจังหวะเวลาที่มองไว้ให้ได้ก่อน
แล้วรอจังหวะเข้าลงทุนในธุรกิจที่กำลังศึกษา ปัจจัยการเติบโตของเค้าอยู่ครับ
ตรงประเด็นกับคำถามไหมนี่
เหมือนมาบ่นๆให้ฟังเลยเนอะ
แต่ในปัจจุบันยังใช้แค่ indicators ง่ายๆมากรองเช่น PE DY% อยู่เลยครับบางทีก็ยังดู story อยู่เลยกะว่าขอล้างไอ้ที่เป็นแนวอื่นๆ ให้หมดโดยให้เจ็บตัวน้อยที่สุดตามจังหวะเวลาที่มองไว้ให้ได้ก่อน
แล้วรอจังหวะเข้าลงทุนในธุรกิจที่กำลังศึกษา ปัจจัยการเติบโตของเค้าอยู่ครับ
ตรงประเด็นกับคำถามไหมนี่
เหมือนมาบ่นๆให้ฟังเลยเนอะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 22
แอบหา material ไปเขียนบทความกันง่ายๆ แบบนี้เลย คุณมน :lol:
เอาของผมมั่ง
ตอนนี้ยังไม่ตกผลึกครับ แต่น่าจะประมาณคล้ายๆ เล่นหมากรุก
1. กำหนดเป้าหมาย ระยะสั้นและระยะยาว
2. ศึกษาสภาพแวดล้อม เช่น ความสามารถคู่ต่อสู้ ศักยภาพของหมากแต่ละตัว ฯลฯ
3. วางแผนกำหนดยุทธวิธีและกลยุทธเพื่อบรรลุเป้าหมาย
4. เดินหมาก
5. รอคู่ต่อสู้เดินหมาก
6. ประเมินสถานการณ์หากคู่ต่อสู้ไม่ได้เดินในแนวทางที่เราคาด
7. ปรับยุทธวิธีและกลยุทธ์หากจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดิม
8. กลับไปข้อ 4 ใหม่ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
เอาของผมมั่ง
ตอนนี้ยังไม่ตกผลึกครับ แต่น่าจะประมาณคล้ายๆ เล่นหมากรุก
1. กำหนดเป้าหมาย ระยะสั้นและระยะยาว
2. ศึกษาสภาพแวดล้อม เช่น ความสามารถคู่ต่อสู้ ศักยภาพของหมากแต่ละตัว ฯลฯ
3. วางแผนกำหนดยุทธวิธีและกลยุทธเพื่อบรรลุเป้าหมาย
4. เดินหมาก
5. รอคู่ต่อสู้เดินหมาก
6. ประเมินสถานการณ์หากคู่ต่อสู้ไม่ได้เดินในแนวทางที่เราคาด
7. ปรับยุทธวิธีและกลยุทธ์หากจำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดิม
8. กลับไปข้อ 4 ใหม่ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 24
ของพี่ CK นี่ขอเรียกว่า CK-Iterative Strategy for Investment ได้ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 25
เลือกหุ้นที่จะลงทุนจากการอ่านรายงานประจำปี 56_1 และบทวิเคราะห์ (ไม่ได้อ่านเพื่อเชื่อทุกเรื่อง แต่อ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ)
ในส่วนของการดำเนินธุรกิจ : หุ้นที่เลือกจะต้องเข้าข่าย เป็นผู้นำตลาด หรือไม่ก็ต้องมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ (อาจวิเคราะห์ตาม 5-forces ก็ได้) จากนั้นลองหาข้อมูลว่าลักษณะการดำเนินธุรกิจมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง และแนวทางการแก้ไขสามารถรับมือปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ และที่สำคัญคือธุรกิจจะต้องมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคตอย่างน้อยก็ 1-2 ปี (ไม่จำเป็นต้องมองถึง 5 ปี เพราะเดี๋ยวนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคาดการณ์ยาวไกลถึง 5 ปีจะมีโอกาสผิดพลาดสูงมาก)
ในส่วนของโครงสร้างการเงิน : วิเคราะห์แหล่งที่มาของเงินทุน (หนี้สินและทุน) ในกรณีของการก่อหนี้ให้ดูความสอดคล้องของระยะเวลาของกระแสเงินที่ได้มาและที่ต้องชำระคืนหนี้ ดูปริมาณกระแสเงินสดโดยประมาณว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างพอเพียงหรือไม่ มีโอกาสที่ขาดเงินหมุนเวียนมากน้อยเพียงไร (มีหนี้ได้ แต่ต้องมีปัญญาใช้คืนได้โดยไม่ต้องคอยกังวล)
เงินปันผลไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ถ้ามีกระแสเงินสดแล้วไม่ปันผล ต้องมีเหตุผลอธิบายที่ฟังขึ้นและไม่ได้นำไปใช้ในทางที่คุ้มค่าน้อยกว่าการนำออกมาคืนกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น
จะดีมากๆ ถ้าผู้บริหารโปร่งใสและคอยรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานให้รู้ทั่วกันโดยสม่ำเสมอ
เมื่อผ่านขั้นตอนของการเลือกผู้เข้าประกวดแล้ว ต่อไปก็คือ การตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นๆ
คัดเลือกขั้นที่ 1 กำหนดด้วย margin of safety (อันนี้แล้วแต่ลักษณะธุรกิจของหุ้นนั้นๆ อาจใช้ p/e p/bv กระแสเงินสดต่อหุ้น หรือแม้แต่ความพอใจส่วนตัว) ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ราคาถูกจนเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
คัดเลือกขั้นที่ 2 หลังจากผ่านขั้นที่ 1 แล้ว จะได้ range ช่วงราคาที่รับได้ ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของกราฟเทคนิคในการหาจังหวะซื้อขั้นสุดท้าย (อันนี้แล้วแต่สไตล์ใครสไตล์มัน) ขั้นนี้จริงๆ ก็อาจไม่สำคัญเท่าไหร่แค่ช่วยให้รู้สึกดีเพราะซื้อแล้วส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะมีแนวโน้มขยับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องรอนาน
ส่วนการตัดสินใจขายหุ้น
ขั้นที่ 1 เมื่อรู้สึกว่าหุ้นที่ถืออยู่นั้นมีราคา "ไม่ถูก" แล้ว ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลได้ 2 อย่าง คือ 1. กำไรของบริษัทต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อย่างมีนัยสำคัญ หรือ 2. ราคาหุ้นที่ถือไว้ได้ขยับขึ้นสูงมากจนไม่เหลือ margin of safety มากพอ
ขั้นที่ 2 หลังจากที่ตัดสินใจแล้วว่าจะขายหุ้นที่พิจารณาจากขั้นที่ 1 ทิ้งแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของกราฟเทคนิคในการหาจังหวะขายขั้นสุดท้าย (อันนี้แล้วแต่สไตล์ใครสไตล์มัน) ขั้นนี้จริงๆ ก็อาจไม่สำคัญเท่าไหร่แค่ช่วยให้รู้สึกดีเพราะเมื่อขายแล้วส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะมีแนวโน้มขยับลงได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องรอนาน
ในส่วนของการดำเนินธุรกิจ : หุ้นที่เลือกจะต้องเข้าข่าย เป็นผู้นำตลาด หรือไม่ก็ต้องมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นๆ (อาจวิเคราะห์ตาม 5-forces ก็ได้) จากนั้นลองหาข้อมูลว่าลักษณะการดำเนินธุรกิจมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง และแนวทางการแก้ไขสามารถรับมือปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้หรือไม่ และที่สำคัญคือธุรกิจจะต้องมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคตอย่างน้อยก็ 1-2 ปี (ไม่จำเป็นต้องมองถึง 5 ปี เพราะเดี๋ยวนี้อะไรก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคาดการณ์ยาวไกลถึง 5 ปีจะมีโอกาสผิดพลาดสูงมาก)
ในส่วนของโครงสร้างการเงิน : วิเคราะห์แหล่งที่มาของเงินทุน (หนี้สินและทุน) ในกรณีของการก่อหนี้ให้ดูความสอดคล้องของระยะเวลาของกระแสเงินที่ได้มาและที่ต้องชำระคืนหนี้ ดูปริมาณกระแสเงินสดโดยประมาณว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างพอเพียงหรือไม่ มีโอกาสที่ขาดเงินหมุนเวียนมากน้อยเพียงไร (มีหนี้ได้ แต่ต้องมีปัญญาใช้คืนได้โดยไม่ต้องคอยกังวล)
เงินปันผลไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ถ้ามีกระแสเงินสดแล้วไม่ปันผล ต้องมีเหตุผลอธิบายที่ฟังขึ้นและไม่ได้นำไปใช้ในทางที่คุ้มค่าน้อยกว่าการนำออกมาคืนกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น
จะดีมากๆ ถ้าผู้บริหารโปร่งใสและคอยรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานให้รู้ทั่วกันโดยสม่ำเสมอ
เมื่อผ่านขั้นตอนของการเลือกผู้เข้าประกวดแล้ว ต่อไปก็คือ การตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นๆ
คัดเลือกขั้นที่ 1 กำหนดด้วย margin of safety (อันนี้แล้วแต่ลักษณะธุรกิจของหุ้นนั้นๆ อาจใช้ p/e p/bv กระแสเงินสดต่อหุ้น หรือแม้แต่ความพอใจส่วนตัว) ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ราคาถูกจนเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
คัดเลือกขั้นที่ 2 หลังจากผ่านขั้นที่ 1 แล้ว จะได้ range ช่วงราคาที่รับได้ ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของกราฟเทคนิคในการหาจังหวะซื้อขั้นสุดท้าย (อันนี้แล้วแต่สไตล์ใครสไตล์มัน) ขั้นนี้จริงๆ ก็อาจไม่สำคัญเท่าไหร่แค่ช่วยให้รู้สึกดีเพราะซื้อแล้วส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะมีแนวโน้มขยับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องรอนาน
ส่วนการตัดสินใจขายหุ้น
ขั้นที่ 1 เมื่อรู้สึกว่าหุ้นที่ถืออยู่นั้นมีราคา "ไม่ถูก" แล้ว ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลได้ 2 อย่าง คือ 1. กำไรของบริษัทต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อย่างมีนัยสำคัญ หรือ 2. ราคาหุ้นที่ถือไว้ได้ขยับขึ้นสูงมากจนไม่เหลือ margin of safety มากพอ
ขั้นที่ 2 หลังจากที่ตัดสินใจแล้วว่าจะขายหุ้นที่พิจารณาจากขั้นที่ 1 ทิ้งแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของกราฟเทคนิคในการหาจังหวะขายขั้นสุดท้าย (อันนี้แล้วแต่สไตล์ใครสไตล์มัน) ขั้นนี้จริงๆ ก็อาจไม่สำคัญเท่าไหร่แค่ช่วยให้รู้สึกดีเพราะเมื่อขายแล้วส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะมีแนวโน้มขยับลงได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องรอนาน
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการลงทุน
โพสต์ที่ 26
แนวทางในการลงทุนหุ้น แบบ Dividend Investor ของผม
1. เน้นหุ้นปันผลดี (เช่น ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป) และต่อเนื่อง (เช่น อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป)
2. ราคาหุ้นต้องไม่แพงจนเกินไป (เช่น P/E < 10 , P/BV <2 ) และมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share, EPS) สม่ำเสมอ
3. บริษัทมี brand ที่แข็งแกร่ง มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม
4. บริษัทมีหนี้น้อยมาก มีกระแสเงินสดต่อหุ้นในอัตราที่สูง (เช่น มีหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 250 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิต่อปี 300 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถล้างหนี้สินให้หมดได้ภายในระยะเวลาเพียง 250/300 = 0.83 ปี)
5. เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ กองทุนต่างชาติหรือกองทุนในประเทศไม่สนใจ ยกเว้นซื้อเพื่อถือยาวเพื่อรับเงินปันผล ควรเป็นหุ้นที่นักเก็งกำไรไม่รู้จัก หรือเมินหน้าหนีเพราะไม่ค่อยมีข่าวและราคาหุ้นไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวทำให้เก็งกำไรได้ยาก ถ้านักวิเคราะห์ไม่ค่อยออกบทวิเคราะห์ก็จะดีมาก
6. เน้นการซื้อหุ้นที่เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของกิจการได้ดีพอสมควร เป็นหุ้นที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง เพราะอาจมีราคาที่สูงเกินพื้นฐาน ในทางตรงข้าม กลับสนใจหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ฟังดูแล้วน่าเบื่อและไม่ค่อยมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามา
7. เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลดี ผู้บริหารมีประวัติที่ดีและโปร่งใส ซื้อหุ้นแล้วนอนหลับสบาย ไม่กังวล
8. ผู้ถือหุ้นใหญ่เน้นการถือยาวจนแทบจะไม่มีการขายหุ้นออกมา
9. ตั้งใจซื้อและถือยาวโดยมองอนาคตของกิจการไปข้างหน้าอย่างน้อย 5-10 ปี
10. ถ้าซื้อแล้วหุ้นตก โดยที่ผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงก็จะชอบมาก และจะยิ่งซื้อเพิ่ม ถ้าซื้อแล้วหุ้นขึ้นก็ไม่เสียหาย แต่จะไม่ค่อยชอบเพราะต้องซื้อหุ้นในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่คาดหวังส่วนต่างจากการซื้อขาย (capital gain) แต่ต้องการทยอยซื้อหุ้นให้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับเงินปันผลมากกว่า
11. ไม่คิดที่จะขายเพราะราคาหุ้นพุ่งสูงจนน่าขายทำกำไร หรือราคาหุ้นลงต่ำจนน่ากลัวจนน่าตัดขาดทุน แต่จะขายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสและบริษัทไม่มีศักยภาพที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ผลประกอบการของบริษัทย่อมต้องมีขึ้นมีลง เป็นธรรมดา แต่บริษัทที่แข็งแกร่งจะผ่านพ้นวิกฤตการไปได้
12. กระจายการลงทุนหุ้นในหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของเงินปันผล
13. ค่อยๆทยอยซื้อหุ้นทีละน้อยไปเรื่อยๆ และนำปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่ม การมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นหัวใจของการลงทุนแบบนี้ เพราะเสมือนว่าเราจะมีจำนวนเครื่องปั๊มเงิน (cash machine) เพิ่มขึ้น
14. ยึดมั่นในการลงทุนระยะยาว (10 ปี 20 ปี หรือนานกว่านั้น) เพื่อสะสมความมั่งคั่งอย่างช้าๆ คิดเสียว่าซื้อหุ้นแล้วถือยาวให้เป็นมรดกกับลูกหลาน ไม่เชื่อในเทคนิค กลวิธี ทางลัด หรือข่าวลือใดๆที่จะทำเงินจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น โดยปล่อยให้ความโลภมาครอบงำวิจารณญาณในการตัดสินใจ การซื้อขายหุ้นบ่อยๆจะทำให้ขาดทุนง่ายเสมือนนักพนันในบ่อน ซึ่งในระยะยาวแล้วจะขาดทุน ในทางตรงข้ามเราต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือนายบ่อนที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว นักเก็งกำไรระยะสั้นจนร่ำรวยนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะประกาศตนเฉพาะเวลาได้กำไร ผู้คนจะยกย่องเขาให้เป็นเซียนหุ้น แต่พอขาดทุนหนักๆก็จะเงียบหายไปในที่สุด นักลงทุนระยะยาวที่ถือหุ้นนานๆจนมั่งคั่งนั้นมีมาก เพียงแต่นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ชอบเป็นข่าว
15. รู้จักแยกแยะข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ ว่าส่วนใดคือข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดคือความคิดเห็น (opinion)
หรือส่วนใดคือการคาดการณ์ (forecast) โดยให้น้ำหนักกับข้อเท็จจริงมากที่สุด ไม่หูเบาไปกับ marketing หรือบทวิเคราะห์ที่คอยแนะนำให้ซื้อ-ขายบ่อยๆ เพราะถ้าเขาสามารถรู้ล่วงหน้าว่าหุ้นตัวใดจะมีราคาสูงขึ้นแล้ว เขาก็คงเล่นหุ้นเองไม่ต้องมาทำงานเพื่อหาค่า commission ไปวันๆ (ในความเป็นจริงนั้น port การลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์เองก็ยังขาดทุนเช่นกันในช่วงที่ตลาดไม่ดี และหลายบริษัทก็ยังขาดทุนในสัดส่วนที่มากกว่าการลดลงของดัชนีของตลาดอีกด้วย)
16. เชื่อมั่นและมีจุดยืนของตนเอง ลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมีวินัย
17. นักลงทุนที่ดีควรฝึกการใช้สติยั้งคิด ไตร่ตรองหาเหตุผล ฝึกนิสัยการใช้จ่ายอย่างมัธยัสถ์ กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ รู้จักอดออม ไม่หลงไปตามกระแสความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ของสังคม ส่วนผู้ที่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเกินตัว เคยชินกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต ชอบความโก้หรู อยากมีวัตถุสิ่งของเพื่อให้ทัดเทียมชาวบ้านตามกระแสบริโภคนิยม ลุ่มหลงในอบายมุข เช่น สุรา นารี ยาเสพติด และการพนัน หลงระเริงอยู่ในความสุขสนุกสบาย ไม่อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ขยันทำมาหากิน บุคคลเหล่านี้ถือว่าดำรงตนอยู่ในความประมาท สุดท้ายแล้วจะประสบแต่ความยากลำบากในบั้นปลาย
1. เน้นหุ้นปันผลดี (เช่น ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป) และต่อเนื่อง (เช่น อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป)
2. ราคาหุ้นต้องไม่แพงจนเกินไป (เช่น P/E < 10 , P/BV <2 ) และมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share, EPS) สม่ำเสมอ
3. บริษัทมี brand ที่แข็งแกร่ง มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม
4. บริษัทมีหนี้น้อยมาก มีกระแสเงินสดต่อหุ้นในอัตราที่สูง (เช่น มีหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 250 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิต่อปี 300 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถล้างหนี้สินให้หมดได้ภายในระยะเวลาเพียง 250/300 = 0.83 ปี)
5. เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ กองทุนต่างชาติหรือกองทุนในประเทศไม่สนใจ ยกเว้นซื้อเพื่อถือยาวเพื่อรับเงินปันผล ควรเป็นหุ้นที่นักเก็งกำไรไม่รู้จัก หรือเมินหน้าหนีเพราะไม่ค่อยมีข่าวและราคาหุ้นไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวทำให้เก็งกำไรได้ยาก ถ้านักวิเคราะห์ไม่ค่อยออกบทวิเคราะห์ก็จะดีมาก
6. เน้นการซื้อหุ้นที่เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของกิจการได้ดีพอสมควร เป็นหุ้นที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง เพราะอาจมีราคาที่สูงเกินพื้นฐาน ในทางตรงข้าม กลับสนใจหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ฟังดูแล้วน่าเบื่อและไม่ค่อยมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามา
7. เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลดี ผู้บริหารมีประวัติที่ดีและโปร่งใส ซื้อหุ้นแล้วนอนหลับสบาย ไม่กังวล
8. ผู้ถือหุ้นใหญ่เน้นการถือยาวจนแทบจะไม่มีการขายหุ้นออกมา
9. ตั้งใจซื้อและถือยาวโดยมองอนาคตของกิจการไปข้างหน้าอย่างน้อย 5-10 ปี
10. ถ้าซื้อแล้วหุ้นตก โดยที่ผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงก็จะชอบมาก และจะยิ่งซื้อเพิ่ม ถ้าซื้อแล้วหุ้นขึ้นก็ไม่เสียหาย แต่จะไม่ค่อยชอบเพราะต้องซื้อหุ้นในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่คาดหวังส่วนต่างจากการซื้อขาย (capital gain) แต่ต้องการทยอยซื้อหุ้นให้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับเงินปันผลมากกว่า
11. ไม่คิดที่จะขายเพราะราคาหุ้นพุ่งสูงจนน่าขายทำกำไร หรือราคาหุ้นลงต่ำจนน่ากลัวจนน่าตัดขาดทุน แต่จะขายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสและบริษัทไม่มีศักยภาพที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ผลประกอบการของบริษัทย่อมต้องมีขึ้นมีลง เป็นธรรมดา แต่บริษัทที่แข็งแกร่งจะผ่านพ้นวิกฤตการไปได้
12. กระจายการลงทุนหุ้นในหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของเงินปันผล
13. ค่อยๆทยอยซื้อหุ้นทีละน้อยไปเรื่อยๆ และนำปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่ม การมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นหัวใจของการลงทุนแบบนี้ เพราะเสมือนว่าเราจะมีจำนวนเครื่องปั๊มเงิน (cash machine) เพิ่มขึ้น
14. ยึดมั่นในการลงทุนระยะยาว (10 ปี 20 ปี หรือนานกว่านั้น) เพื่อสะสมความมั่งคั่งอย่างช้าๆ คิดเสียว่าซื้อหุ้นแล้วถือยาวให้เป็นมรดกกับลูกหลาน ไม่เชื่อในเทคนิค กลวิธี ทางลัด หรือข่าวลือใดๆที่จะทำเงินจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น โดยปล่อยให้ความโลภมาครอบงำวิจารณญาณในการตัดสินใจ การซื้อขายหุ้นบ่อยๆจะทำให้ขาดทุนง่ายเสมือนนักพนันในบ่อน ซึ่งในระยะยาวแล้วจะขาดทุน ในทางตรงข้ามเราต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือนายบ่อนที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว นักเก็งกำไรระยะสั้นจนร่ำรวยนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะประกาศตนเฉพาะเวลาได้กำไร ผู้คนจะยกย่องเขาให้เป็นเซียนหุ้น แต่พอขาดทุนหนักๆก็จะเงียบหายไปในที่สุด นักลงทุนระยะยาวที่ถือหุ้นนานๆจนมั่งคั่งนั้นมีมาก เพียงแต่นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ชอบเป็นข่าว
15. รู้จักแยกแยะข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ ว่าส่วนใดคือข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดคือความคิดเห็น (opinion)
หรือส่วนใดคือการคาดการณ์ (forecast) โดยให้น้ำหนักกับข้อเท็จจริงมากที่สุด ไม่หูเบาไปกับ marketing หรือบทวิเคราะห์ที่คอยแนะนำให้ซื้อ-ขายบ่อยๆ เพราะถ้าเขาสามารถรู้ล่วงหน้าว่าหุ้นตัวใดจะมีราคาสูงขึ้นแล้ว เขาก็คงเล่นหุ้นเองไม่ต้องมาทำงานเพื่อหาค่า commission ไปวันๆ (ในความเป็นจริงนั้น port การลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์เองก็ยังขาดทุนเช่นกันในช่วงที่ตลาดไม่ดี และหลายบริษัทก็ยังขาดทุนในสัดส่วนที่มากกว่าการลดลงของดัชนีของตลาดอีกด้วย)
16. เชื่อมั่นและมีจุดยืนของตนเอง ลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมีวินัย
17. นักลงทุนที่ดีควรฝึกการใช้สติยั้งคิด ไตร่ตรองหาเหตุผล ฝึกนิสัยการใช้จ่ายอย่างมัธยัสถ์ กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ รู้จักอดออม ไม่หลงไปตามกระแสความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ของสังคม ส่วนผู้ที่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเกินตัว เคยชินกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต ชอบความโก้หรู อยากมีวัตถุสิ่งของเพื่อให้ทัดเทียมชาวบ้านตามกระแสบริโภคนิยม ลุ่มหลงในอบายมุข เช่น สุรา นารี ยาเสพติด และการพนัน หลงระเริงอยู่ในความสุขสนุกสบาย ไม่อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ขยันทำมาหากิน บุคคลเหล่านี้ถือว่าดำรงตนอยู่ในความประมาท สุดท้ายแล้วจะประสบแต่ความยากลำบากในบั้นปลาย