ผลตอบแทนการลงทุนหุ้นต่างประเทศVS ลงทุนหุ้นไทย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
ผลตอบแทนการลงทุนหุ้นต่างประเทศVS ลงทุนหุ้นไทย
โพสต์ที่ 1
ผลตอบหุ้นนอกของเพื่อนๆ เป็นอย่างบ้างครับ คืออยากรู้ ถ้าดีจะได้เข้ามาศึกษาให้มากๆขึ้น และเมื่อเทียบการลงทุนหุ้นไทยแล้วเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร อยากให้เพื่อนที่มีประสพการณ์มาช่วยเเชร์
-
- Verified User
- โพสต์: 534
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผลตอบแทนการลงทุนหุ้นต่างประเทศVS ลงทุนหุ้นไทย
โพสต์ที่ 2
ในช่วง ปี 2009-2010 หุ้นไทย ขึ้นแรงมาก เข้าใจว่าติด TOP5 ของโลก แต่ตลาดหุ้นใหญ่ๆ อื่นของประเทศอื่นเช่น ที่ USA,UK ,Hong Kong จะขึ้นไม่เท่าไทยครับ ดังนั้น ผลตอบแทน ในช่วงปี 2009-2010 โดยเฉลี่ยแล้วคนอยู่กับตลาดหุ้นไทยน่าจะทำได้สูงกว่า แต่ว่า ช่วง ต้นปีนี้ 2011 หุ้นนอกหลายๆตัวราคาค่อนข้างถูกว่าโดนขายทำกำไรกันมา และแต่ละตัวเป็นกิจการระดับโลก เช่น Microsoft CISCO HP เป็นต้น หุ้นสามตัวนี้ Trade กันในบางช่วงของครึ่งปีแรก PE < 10 ซะด้วยซ้ำ ดังนั้นปี 2011 มาถึง วันนี้ผมว่า หุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ดูจาก Dow Jone ที่ขึ้นมา 8% กว่าๆ ตั้งแต่ต้นปี (YTD) และ S&P ขึ้นมา 5% NASDAQ ขึ้นมา 6%
ผลตอบแทนของผม ตั้งแต่เปิด พอรต์ ปี 2009 ถึง 2010 ผลตอบแทน เฉลยๆครับ ชนะตลาดนิดหน่อย แต่ว่าปี 2011 YTD นี้ผลตอบแทนทำได้ค่อนข้างดี คือประมาณ 70% (แต่จริงๆ ได้เยอะเพราะ Take Excessive Risk ครับ)
ช่วงปีแรกๆ 2009-2010 เป็นปีที่ต้องฝึกฝน การวิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์กิจการ ทำความเข้าใจกับตลาดก่อน เพราะผมว่า ตลาดหุ้น US ต่างกับ ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก (ผมอยู่กับตลาดหุ้นไทยมาประมาณ 5ปีก่้อน Switch Port ไปUS) ซึ่ง ตลาดของ US นั้น หุ้นจะเปิด แบบกระโดดลง หรือกระโดดขึ้นบ่อยมาก เวลาที่มี ข่าวดี ข่าวร้ายมากระทบ หรือว่าเวลาที่ ผู้บริหารออกมาให้ Guidance ดีๆ แย่ หรือว่า นักวิเคราะห์ออกมา Upgrade Rating เป็น Buy/Outperform หุ้นจะปิดมากระโดดเลย คือตลาดนั้น ค่อนข้างจะ ตอบกับข่าวต่างๆ เร็ว ถึงเร็วมากที่สุด คือ Nature ของตลาดหุ้น US การซื้อขายหุ้น เกิดโดยกองทุนเป็นส่วนมาก ทำให้การตอบสนองกับข่าวเร็วมาก เพราะการตามข่าวสารข้อมูลคืออาชีพของกองทุน แต่ตลาดหุ้นไทย กองทุนยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่ ทำให้ตลาดไม่ Efficient เท่าตลาด US
การวิเคราะห์กิจการโดย ใช้ P/E เลือกซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำ นั้นไม่ค่อยจะได้ผล เพราะว่า ส่วนใหญ่ หุ้นที่ P/E ต่ำ จะต่ำแบบ Cheap for a reason เช่น พวกหุ้นจีน ที่ P/E ถูกติดดิน แต่ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะพอ เป็น Fraud หุ้นถูก ให้หยุด Trade เป็นต้น หนังสือ ของ David Einhorn (ผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงมากที่ US) เขียนประโยคนึง โดนใจผมมาก คือว่า การที่เราจะ ซื้อหุ้นตัวใด ตัวนึง เราต้องมองให้ถ้วนถี่ และต้องจำไว้ตลอดว่า คนที่ขายหุ้นให้เรา โดยมาก จะเป็นคนที่ซื้อหุ้นมา และุืถือมาก่อน ดังนั้นผู้ขาย อยู่กับหุ้นมานานกว่าเรา ที่เค้าไปเป็นผู้ซื้อหุ้นใหม่ ดังนั้นเค้าอาจจะรู้อะไรที่เราไม่รู้ ดังนั้น(ผมสรุปเอง) การซื้อโดยดูแต่ Matrix ทางการเงิน คร่าวๆ เช่้น PE หรือว่า Dividend Yield นั้นค่อนข้างจะ อันตรายมาก และถ้ามีข่าวอะไรมากระทบหุ้น เราจะขายตัดขาดทุนแทบไม่ทัน เพราะว่าหุ้นขึ้นลง เป็นแบบกระโดด ผมลองสรุปข้อเสียของตลาดหุ้น US คร่าวๆ นอกเหนือจากที่เขียนไปข้างบน เป็นข้อๆดังนี้ครับ
1. เราอยู่ห่างไกลกับกิจการ ทำให้การวิเคราะห์แบบเจาะลึก โดยเยี่ยมชมกิจการหรือคุยสัมภาษณ์ทำได้ยากส์
2. มีความเสี่ยงที่จะเป็น Fraud แล้วโดน เปิดโปงได้ตลอด เพราะตลาดเค้ามี Shortseller เยอะ (โดยกองทุนนั้นแหละ)
3. กฎการเป็นบริษัทจดทะเบียน ค่อนข้างยืดหยุ่น ทำให้หุ้นเน่าๆ หุ้น Fraud ก็เข้ามากัน ผมเข้าใจว่าทาง อเมริกา ถือว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนต้องดูแลตัวเอง
4. ข้อมูลบริษัท เช่นจำนวนหุ้น หรืออะไรต่างๆ ในเว็บพวก Google Finance หรือ Yahoo Finance อาจจะผิด
5. แหล่งข้อมูลเช่น Webboard ที่มีคุณภาพในเรื่องหุ้น บางทีก็ต้องเสียเงินเพื่อใช้งาน Webboard นั้นๆ หรือว่า ต้องเสนอ Stock Idea เพื่อได้รับการ Approve เข้าใช้่งาน
6. หุ้นบางตัว มี Structure ทางการเงิน ที่ Complex เช่น มีหุ้น บุริมมุสิทธิ์ หุ้น กู้แปลงสภาพ หยิบหย่อยไปหมด ดังนั้นการดูแค่คร่าวๆ ก็เป็นอันตราย
7. โดยทั่วไป หุ้น US จะมีอัตราการปันผลที่ต่ำ (ไม่นับพวก ที่เป็น Yield Arbitrage เช่น Mortgage REIT)
มาดูข้อดีกันบ้าง และเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมยังลงทุนกับตลาดหุ้น US ต่อ ก็คือ
1. ตลาดหุ้นมีหุ้นให้เลือก เป็น เกือบหมื่น ตัวทำให้ เรามี Universe ในการลงทุนที่กว้างขวาง มากๆ อยู่ที่จะตามข้อมูลไหว หรือเปล่า
2. มีหุ้นให้เลือก หลากหลายประเภท ที่ตลาดหุ้นไทยไม่มี เช่น หุ้น Internet หุ้น Technology เป็นต้น
3. หุ้นตอบสนองกับข่าวเร็ว ดังนั้น บางทีถ้าบังเิอิญ เจอหุ้น Undervalue มันจะไม่ Undervalue นานนัก ไม่ค่อยจะมี"หุ้นถูกเรื้อรัง" มีแต่หุ้นถูก เพราะว่า Guidance ในอนาคตไม่ค่อยสดใส
4. มีการ ซื้อกิจการ ค่อนข้างบ่อย เป็นการ Unlock Value ได้เร็วด้วย รวมถึง การมี Activist Shareholder ช่วยด้วย
5. หุ้นที่มี Governance ดี จะมีการ Disclose ข้อมูลที่สูงมาก ในเว็บของ บริษัทในส่วนของ IR มีข้อมูลเยอะ ช่วยในการทำความเข้าใจกิจการได้ดี และทุกๆ ไตรมาส ผู้บริหารจะมี Conference Call ตลอด ทำให้เราคอย Update ได้ ไม่ยากนัก ถ้าขยัน
6. กองทุนนั้น มีข้อเสียอย่างนึงคือ การบริหารงานของเค้า จะเน้นที่ ผลตอบแทน รายไตรมาส หรือไกลสุดคือรายปี เพราะถ้าผลตอบแทน ที่ต้องสรุปทุกๆ ไตรมาส ไม่ดี นักลงทุนจะไถ่ถอนเงินคืน ดังนั้น ถ้า Time Frame ในการลงทุนของเรา ยาวกว่านั้น เราก็จะทำประโยชน์จากมุมมองระยะสั้นของกองทุนได้
7. สภาพคล่อง ของหุ้นตัวนึง มีสูง หุ้น Small Capt ของตลาด US นี่ ก็คือ Size ต่ำกว่า $1 Billion พวก Micro Cap ต่ำกว่า $200 Million เทียบแล้วเป็นหุ้นขนาดกลางบ้านเรา ดังนั้น "ซื้อขาย ขายคล่อง"
8. การใช้ Google ช่วยให้เราหาข่าวของหุ้นที่ US ได้ง่ายมาก เพราะ Internet เป็นสื่อสำคัญในบ้านเค้า สำหรับหุ้นไทย ตัวเล็กๆ บางตัว หาข่าวในเน็ต ไม่ค่อยจะเจอนัก
ประมาณนี้ครับ ข้อดีข้อเสีย ของตลาดหุ้น US สำหรับ ตลาดหุ้น อื่นๆ ผมคิดว่า ข้อมูลหาได้ค่อนข้างยาก เลยไม่ค่อยได้เข้าไปแตะเท่าไหร่ เช่น ตลาดหุ้น HK ข้อมูลของบริษัทมีเ้ป็น ภาษาอังกฤษก็จริง แต่มีน้อย และบริษัทต้องส่งงบ รายครึ่งปี เท่านั้นเอง ทำให้ Update ยากครับ หรือตลาดหุ้น Tokyo ผมก็หาข้อมูลภาษาอังกฤษ เจอได้น้อยมาก
เวลานี้ ถ้าเป็น นักลงทุนที่ไม่ Aggressive มาก หุ้นต่างประเทศก็น่าสนใจ สำหรับตัวที่เป็น Big Cap เพราะว่า ราคาไม่ค่อยแพง หุ้นหลายๆตัว Guidance ในอนาคตไม่ค่อยดี แต่จริงๆ แล้วไม่ดี ของเค้านี่คือ ไม่มี Growth แต่ความที่ตัวบริษัทนั้นแข็งแกร่งอยู่แล้ว ต่อให้ไม่มี Growth ถ้าถือยาว ก็โอกาสขาดทุนน่าจะน้อย เช่น Cisco เป็นต้นครับ อ่านหนังสือ Investing Against the Tide ของ Anthony Bolton เล่มสีแดง ที่คุณ WEB แปล จะเห็นภาพตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้วครับ
ผลตอบแทนของผม ตั้งแต่เปิด พอรต์ ปี 2009 ถึง 2010 ผลตอบแทน เฉลยๆครับ ชนะตลาดนิดหน่อย แต่ว่าปี 2011 YTD นี้ผลตอบแทนทำได้ค่อนข้างดี คือประมาณ 70% (แต่จริงๆ ได้เยอะเพราะ Take Excessive Risk ครับ)
ช่วงปีแรกๆ 2009-2010 เป็นปีที่ต้องฝึกฝน การวิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์กิจการ ทำความเข้าใจกับตลาดก่อน เพราะผมว่า ตลาดหุ้น US ต่างกับ ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก (ผมอยู่กับตลาดหุ้นไทยมาประมาณ 5ปีก่้อน Switch Port ไปUS) ซึ่ง ตลาดของ US นั้น หุ้นจะเปิด แบบกระโดดลง หรือกระโดดขึ้นบ่อยมาก เวลาที่มี ข่าวดี ข่าวร้ายมากระทบ หรือว่าเวลาที่ ผู้บริหารออกมาให้ Guidance ดีๆ แย่ หรือว่า นักวิเคราะห์ออกมา Upgrade Rating เป็น Buy/Outperform หุ้นจะปิดมากระโดดเลย คือตลาดนั้น ค่อนข้างจะ ตอบกับข่าวต่างๆ เร็ว ถึงเร็วมากที่สุด คือ Nature ของตลาดหุ้น US การซื้อขายหุ้น เกิดโดยกองทุนเป็นส่วนมาก ทำให้การตอบสนองกับข่าวเร็วมาก เพราะการตามข่าวสารข้อมูลคืออาชีพของกองทุน แต่ตลาดหุ้นไทย กองทุนยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่ ทำให้ตลาดไม่ Efficient เท่าตลาด US
การวิเคราะห์กิจการโดย ใช้ P/E เลือกซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำ นั้นไม่ค่อยจะได้ผล เพราะว่า ส่วนใหญ่ หุ้นที่ P/E ต่ำ จะต่ำแบบ Cheap for a reason เช่น พวกหุ้นจีน ที่ P/E ถูกติดดิน แต่ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะพอ เป็น Fraud หุ้นถูก ให้หยุด Trade เป็นต้น หนังสือ ของ David Einhorn (ผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงมากที่ US) เขียนประโยคนึง โดนใจผมมาก คือว่า การที่เราจะ ซื้อหุ้นตัวใด ตัวนึง เราต้องมองให้ถ้วนถี่ และต้องจำไว้ตลอดว่า คนที่ขายหุ้นให้เรา โดยมาก จะเป็นคนที่ซื้อหุ้นมา และุืถือมาก่อน ดังนั้นผู้ขาย อยู่กับหุ้นมานานกว่าเรา ที่เค้าไปเป็นผู้ซื้อหุ้นใหม่ ดังนั้นเค้าอาจจะรู้อะไรที่เราไม่รู้ ดังนั้น(ผมสรุปเอง) การซื้อโดยดูแต่ Matrix ทางการเงิน คร่าวๆ เช่้น PE หรือว่า Dividend Yield นั้นค่อนข้างจะ อันตรายมาก และถ้ามีข่าวอะไรมากระทบหุ้น เราจะขายตัดขาดทุนแทบไม่ทัน เพราะว่าหุ้นขึ้นลง เป็นแบบกระโดด ผมลองสรุปข้อเสียของตลาดหุ้น US คร่าวๆ นอกเหนือจากที่เขียนไปข้างบน เป็นข้อๆดังนี้ครับ
1. เราอยู่ห่างไกลกับกิจการ ทำให้การวิเคราะห์แบบเจาะลึก โดยเยี่ยมชมกิจการหรือคุยสัมภาษณ์ทำได้ยากส์
2. มีความเสี่ยงที่จะเป็น Fraud แล้วโดน เปิดโปงได้ตลอด เพราะตลาดเค้ามี Shortseller เยอะ (โดยกองทุนนั้นแหละ)
3. กฎการเป็นบริษัทจดทะเบียน ค่อนข้างยืดหยุ่น ทำให้หุ้นเน่าๆ หุ้น Fraud ก็เข้ามากัน ผมเข้าใจว่าทาง อเมริกา ถือว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนต้องดูแลตัวเอง
4. ข้อมูลบริษัท เช่นจำนวนหุ้น หรืออะไรต่างๆ ในเว็บพวก Google Finance หรือ Yahoo Finance อาจจะผิด
5. แหล่งข้อมูลเช่น Webboard ที่มีคุณภาพในเรื่องหุ้น บางทีก็ต้องเสียเงินเพื่อใช้งาน Webboard นั้นๆ หรือว่า ต้องเสนอ Stock Idea เพื่อได้รับการ Approve เข้าใช้่งาน
6. หุ้นบางตัว มี Structure ทางการเงิน ที่ Complex เช่น มีหุ้น บุริมมุสิทธิ์ หุ้น กู้แปลงสภาพ หยิบหย่อยไปหมด ดังนั้นการดูแค่คร่าวๆ ก็เป็นอันตราย
7. โดยทั่วไป หุ้น US จะมีอัตราการปันผลที่ต่ำ (ไม่นับพวก ที่เป็น Yield Arbitrage เช่น Mortgage REIT)
มาดูข้อดีกันบ้าง และเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมยังลงทุนกับตลาดหุ้น US ต่อ ก็คือ
1. ตลาดหุ้นมีหุ้นให้เลือก เป็น เกือบหมื่น ตัวทำให้ เรามี Universe ในการลงทุนที่กว้างขวาง มากๆ อยู่ที่จะตามข้อมูลไหว หรือเปล่า
2. มีหุ้นให้เลือก หลากหลายประเภท ที่ตลาดหุ้นไทยไม่มี เช่น หุ้น Internet หุ้น Technology เป็นต้น
3. หุ้นตอบสนองกับข่าวเร็ว ดังนั้น บางทีถ้าบังเิอิญ เจอหุ้น Undervalue มันจะไม่ Undervalue นานนัก ไม่ค่อยจะมี"หุ้นถูกเรื้อรัง" มีแต่หุ้นถูก เพราะว่า Guidance ในอนาคตไม่ค่อยสดใส
4. มีการ ซื้อกิจการ ค่อนข้างบ่อย เป็นการ Unlock Value ได้เร็วด้วย รวมถึง การมี Activist Shareholder ช่วยด้วย
5. หุ้นที่มี Governance ดี จะมีการ Disclose ข้อมูลที่สูงมาก ในเว็บของ บริษัทในส่วนของ IR มีข้อมูลเยอะ ช่วยในการทำความเข้าใจกิจการได้ดี และทุกๆ ไตรมาส ผู้บริหารจะมี Conference Call ตลอด ทำให้เราคอย Update ได้ ไม่ยากนัก ถ้าขยัน
6. กองทุนนั้น มีข้อเสียอย่างนึงคือ การบริหารงานของเค้า จะเน้นที่ ผลตอบแทน รายไตรมาส หรือไกลสุดคือรายปี เพราะถ้าผลตอบแทน ที่ต้องสรุปทุกๆ ไตรมาส ไม่ดี นักลงทุนจะไถ่ถอนเงินคืน ดังนั้น ถ้า Time Frame ในการลงทุนของเรา ยาวกว่านั้น เราก็จะทำประโยชน์จากมุมมองระยะสั้นของกองทุนได้
7. สภาพคล่อง ของหุ้นตัวนึง มีสูง หุ้น Small Capt ของตลาด US นี่ ก็คือ Size ต่ำกว่า $1 Billion พวก Micro Cap ต่ำกว่า $200 Million เทียบแล้วเป็นหุ้นขนาดกลางบ้านเรา ดังนั้น "ซื้อขาย ขายคล่อง"
8. การใช้ Google ช่วยให้เราหาข่าวของหุ้นที่ US ได้ง่ายมาก เพราะ Internet เป็นสื่อสำคัญในบ้านเค้า สำหรับหุ้นไทย ตัวเล็กๆ บางตัว หาข่าวในเน็ต ไม่ค่อยจะเจอนัก
ประมาณนี้ครับ ข้อดีข้อเสีย ของตลาดหุ้น US สำหรับ ตลาดหุ้น อื่นๆ ผมคิดว่า ข้อมูลหาได้ค่อนข้างยาก เลยไม่ค่อยได้เข้าไปแตะเท่าไหร่ เช่น ตลาดหุ้น HK ข้อมูลของบริษัทมีเ้ป็น ภาษาอังกฤษก็จริง แต่มีน้อย และบริษัทต้องส่งงบ รายครึ่งปี เท่านั้นเอง ทำให้ Update ยากครับ หรือตลาดหุ้น Tokyo ผมก็หาข้อมูลภาษาอังกฤษ เจอได้น้อยมาก
เวลานี้ ถ้าเป็น นักลงทุนที่ไม่ Aggressive มาก หุ้นต่างประเทศก็น่าสนใจ สำหรับตัวที่เป็น Big Cap เพราะว่า ราคาไม่ค่อยแพง หุ้นหลายๆตัว Guidance ในอนาคตไม่ค่อยดี แต่จริงๆ แล้วไม่ดี ของเค้านี่คือ ไม่มี Growth แต่ความที่ตัวบริษัทนั้นแข็งแกร่งอยู่แล้ว ต่อให้ไม่มี Growth ถ้าถือยาว ก็โอกาสขาดทุนน่าจะน้อย เช่น Cisco เป็นต้นครับ อ่านหนังสือ Investing Against the Tide ของ Anthony Bolton เล่มสีแดง ที่คุณ WEB แปล จะเห็นภาพตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้วครับ
- TBJTBT
- Verified User
- โพสต์: 404
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผลตอบแทนการลงทุนหุ้นต่างประเทศVS ลงทุนหุ้นไทย
โพสต์ที่ 3
port ในไทยของผม บวกอยู่ในอัตราที่ผมพอใจ
แต่ port ที่ฝรั่งเศส ผมมีตัวเดียว
ติดลบแบบว่าเอ่อออออออ
ช่วงต้นปี 2008 ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดเกือบร้อยยูโรต่อหุ้น ที่อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 48 บาท/ยูโร
ตอนนี้ 39 ยูโรต่อหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน 42 บาท
ขาดทุนทั้งราคาหุ้น ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ไม่กล้าขายทิ้งกันเลยทีเดียว 55555
ปล. ยังโชคดีที่ port ที่ฝรั่งเศสของผมเล็กกว่าในไทยอยู่หลายสิบเท่า ไม่งั้นคงยิ้มไม่ออกแบบนี้
แต่ port ที่ฝรั่งเศส ผมมีตัวเดียว
ติดลบแบบว่าเอ่อออออออ
ช่วงต้นปี 2008 ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดเกือบร้อยยูโรต่อหุ้น ที่อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 48 บาท/ยูโร
ตอนนี้ 39 ยูโรต่อหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน 42 บาท
ขาดทุนทั้งราคาหุ้น ทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ไม่กล้าขายทิ้งกันเลยทีเดียว 55555
ปล. ยังโชคดีที่ port ที่ฝรั่งเศสของผมเล็กกว่าในไทยอยู่หลายสิบเท่า ไม่งั้นคงยิ้มไม่ออกแบบนี้