วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 211

โพสต์

ส่งออกก.พ. โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 อีก 31%

Posted on Friday, March 18, 2011
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 18,868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น ตัวเลขสองหลักเป็นเดือนที่ 16 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เพิ่มขึ้น 16.1%

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ไทยเกินดุลการค้าประมาณ 1,770 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังคงคาดการณ์ส่งออกปีนี้ว่า จะเติบโตประมาณ 10% โดยมองว่า ปัญหาความวุ่นวายในตะวันออกกลาง ไม่กระทบส่งออกของไทย เนื่องจากมีสัดส่วนเพียง 5% ส่วนเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น จะกระทบต่อการส่งออกไทย ในระยะสั้น เท่านั้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 212

โพสต์

“ทอง”ยังผันผวน ปรับขึ้น-ลง 14 รอบ รูปพรรณขายออกบาทละ25,800บาท


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554 18:52:23 น.
สมาคมค้าทองคำ รายงานราคาทองคำประจำวันนี้(11 ส.ค.) โดยพบว่าเมื่อเวลา 16.20 น. ราคาทองคำมีการปรับขึ้น-ลง รวม 14 รอบ ซึ่ง ณ เวลาดังกล่าว ราคาทองคำแท่ง รับซื้อบาทละ 25,300 บาท ขายออก บาทละ 25,400 บาท และทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 24,938.20 บาท ขายออก บาทละ 25,800 บาท(ดูตารางด้านบนประกอบ)
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 213

โพสต์

..

http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000103913
บริษัทจดทะเบียน โชว์ผลงานงวดครึ่งแรกปี 54 กำไรสุทธิรวม 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ปีก่อน 34.61%

และมียอดขายรวมสูงเกือบ 4.5 ล้านล้านบาท โดยมี ปตท. ครองแชมป์กำไรสูงสุด

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ผลการดำเนินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) จำนวน 472 บริษัท คิดเป็น 92.73% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 509 บริษัท (รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 34 กองทุน) ประจำงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ว่า บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรรวม 286,727 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 34.61% โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6 กลุ่ม

ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปี 2554 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 172,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.46 % จากงวดเดียวกันของปีก่อน

สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนนั้น บริษัทจดทะเบียนมียอดขายรวม 4,487,505 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6 กลุ่ม และมีบริษัทที่มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 402 บริษัท หรือคิดเป็น 85.17% ของบริษัทจดทะเบียนที่แจ้งผลประกอบการทั้งหมด

นายจรัมพร กล่าวว่า ผลดำเนินงานของบจ.ยังคงสะท้อนถึงแนวโน้มและอัตราการเติบโตของทั้งยอดขายและ กำไรรวมที่ปรับตัวเพิ่ม และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยมีสัญญาณการปรับตัวเพิ่มชัดเจนมาตั้งแต่งวด ปี 2553 และงวดไตรมาส 1 ของปี 2554 จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น

“พื้นฐานเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ รวมถึงศักยภาพของผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในการบริหารค่าใช้จ่ายและการ บริหารจัดการเพื่อสร้างกำไรแก่ธุรกิจภายใต้ภาวะต้นทุนการดำเนินงานที่สูง ขึ้น ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างโดดเด่น แม้จะมีผลกระทบจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในหุ้นขนาดใหญ่ (SET50) โดยเฉพาะหุ้นในหมวดพลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปีนี้ ” นายจรัมพรกล่าว

สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET100 มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนของปี 2554 รวม 330,769 ล้านบาท คิดเป็น 85.28% ของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งหมด คิดเป็นกำไรเพิ่มขึ้น 35.93% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดขายรวม 3,788,106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.43% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่มีการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 327 ล้านบาท มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 18.32% และต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 24.41 % ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 19.20% เป็น 19.22%

ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ. ปตท. (PTT) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

สำหรับหมวดธุรกิจที่มีกำไรรวมสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 จาก 27 หมวดธุรกิจ ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหมวดวัสดุก่อสร้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 214

โพสต์

'เบอร์นันกี' จ่อทำนลท.ทั่วโลกผิดหวัง

'เบอร์นันกี' จ่อทำนลท.ทั่วโลกผิดหวัง
วงการคาด 'เบอร์นันกี' จ่อทำนลท.ทั่วโลกผิดหวัง เชื่อจะไม่ส่งซิกออก QE3

รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า นักวิเคราะห์คาด 'เบน เบอร์นันกี' อาจทำนักลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนผิดหวัง เนื่องจากคาดว่า จะไม่มีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ หรือ QE3 เพราะในขณะนี้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัว ดังสะท้อนในตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

นายโรแบร์โต้ เพอร์ลีกรรมการผู้จัดการที่อินเตอร์เนชั่นแนลสเตรติจีแอนด์อินเวสท์เมนท์กรุ๊ปในวอชิงตันกล่าวว่า ราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้น 33% ในปีนี้ยังคงทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินยังคงอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมเขตชิคาโก้ของสหรัฐฯเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ทำให้เชื่อว่า เฟดไม่มีความจำเป็นจะต้องออกมาตรการ QE3

โดยในวันศุกร์นี้นายเบอร์นันกีมีกำหนดการแสดงสุนทรพจน์เกี่ยวกับมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะสั้นและระยะยาวที่เมืองแคนซัสซิตี้

นายเคธ เฮ็มเบรอดีตนักวิเคราะห์ของเฟดกล่าวว่า สถานการณ์ในขณะนี้กับในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการประกาศใช้มาตรการ QE2 นั้นแตกต่างกัน จึงไม่เชื่อว่า เฟดจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับการใช้มาตรการเดิมอีก

นอกจากนี้ นายเฮ็มเบร กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเงินฝืดมีอยู่ต่ำ เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานไม่รวมราคาอาหารและน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.8% ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม


แปลโดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2603
ผู้ติดตาม: 1

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 215

โพสต์

ขอบคุณครับ ขอตามอ่านด้วยครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 216

โพสต์

'American Jobs Act'

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ ได้เปิดเผยแผนกระตุ้นการสร้างงานฉบับใหม่ต่อสภาคองเกรสสหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีชื่อว่า "American Jobs Act" คิดเป็นมูลค่า 4.47 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศ

"ประเทศของเราอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งด่วน เรายังคงเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้ประชาชนหลายล้านคนไม่มีงานทำ และวิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเลวร้ายลงไปอีก คำถามก็คือว่า เราจะสามารถยุติ 'เกมการเมือง' และลงมือทำบางสิ่งบางอย่างจริงจังเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของเราได้หรือไม่ ในยามที่ประเทศชาติของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นนี้" โอบามากล่าวต่อสภาคองเกรส โดยมีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศสหรัฐ

"แผน 'American Jobs Act' มูลค่า 4.47 แสนล้านดอลลาร์ จะสร้างงานมากขึ้นให้กับคนงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ครูอาจารย์ สัตว์แพทย์ และจะสร้างงานมากขึ้นให้กับผู้ที่ตกงานมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ แผนดังกล่าวจะลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทต่างๆที่จ้างพนักงานใหม่ และจะลดภาษีเงินได้กับพนักงานชาวอเมริกันทุกคน และธุรกิจขนาดเล็กทุกแห่ง ผมจึงขอเรียกร้องให้พวกท่านลงมติผ่านแผนการสร้างงานฉบับนี้โดยเร็ว" โอบามากล่าว

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า แถลงการณ์ของโอบามามีขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ ขยายตัวเพียง 0.7% ซึ่งคาดว่าจีดีพีจะชะลอตัวลงอีกในระยะใกล้นี้ ขณะที่อัตราว่างงานของสหรัฐยังคงยืนอยู่ที่ระดับ 9.1% ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า อัตราว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับสูงไปจนถึงช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐในปี 2555

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 9 กันยายน 2554)
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 217

โพสต์

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (12 ก.ย.) หลังจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์รายงานว่า อิตาลีกำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่จีนเพื่อขอให้จีนเข้าซื้อพันธบัตรอิตาลี ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยพยุงตลาดให้ดีดตัวขึ้นในช่วงท้าย หลังจากที่ตลาดร่วงลงอย่างหนักเกือบตลอดทั้งวัน อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่ากรีซอาจจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 68.99 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 11,061.12 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 8.04 จุด หรือ 0.70% ปิดที่ 1,162.27 จุด และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 27.10 จุด หรือ 1.10% ปิดที่ 2,495.09 จุด

ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดตลาดร่วงลงหลังจากนายฟิลิป รอสเลอร์ รมว.เศรษฐกิจของกรีซกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่กรีซอาจจะ "ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน" ขณะที่นายฟิลิปปอส ซาชินิดิส รมช.คลังกรีซยอมรับว่า รัฐบาลกรีซมีเงินสดเพียงพอสำหรับการบริหารประเทศไปได้จนถึงเดือนหน้าเท่านั้น

ข่าวดังกล่าวได้สร้างความวิตกกังวลให้กับตลาดเนื่องจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรีซบ่งชี้ว่า กรีซมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และยังสะท้อนถึงความจำเป็นของกรีซที่จะต้องได้รับเงินช่วยเหลืองวดต่อไปจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่า มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในฝรั่งเศส เนื่องจากธนาคารเหล่านี้ได้ถือครองพันธบัตรของกรีซเป็นจำนวนมาก

แต่ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นในช่วงท้ายของการซื้อขาย หลังจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า รัฐบาลอิตาลีกำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่จีน เพื่อขอให้จีนเข้าซื้อพันธบัตรของอิตาลีเพื่อช่วยกู้วิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยหนุนตลาดดีดตัวขึ้นในทันที โดยหุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งสุด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง

อเล็กซ์ ยัง นักวิเคราะห์จากเอสแอนด์พี อิควิตี้ รีเสิร์ช กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า เขาไม่แปลกใจที่หุ้นกลุ่มการเงินดีดตัวขึ้น เพราะในช่วงที่ผ่านมานั้นหุ้นกลุ่มการเงินทั้งในตลาดหุ้นนิวยอร์กและยุโรปร่วงลงหนักสุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป ดังนั้นเมื่อนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลเรื่องหนี้ยุโรป หุ้นกลุ่มการเงินจึงดีดขึ้นขานรับอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ

หุ้นอินเทล คอร์ป และหุ้น 3M พุ่งขึ้นกว่า 2% ขณะที่หุ้นเน็ทลอจิก ไมโครซิสเต็มส์ พุ่งขึ้น 51% หลังจากบริษัทบรอดคอม ตกลงเข้าซื้อกิจการเน็ทลอจิกมูลค่า 3.7 พันล้านดอลลาร์

นักลงทุนจับตาดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร กระทรวงการคลังจะเปิดเผยงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนส.ค. วันพุธ กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค., กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนส.ค. และกระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค.

วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนส.ค. ส่วนวันศุกร์ รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นขั้นต้นเดือนก.ย.ของสหรัฐ

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (12 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรในช่วงท้าย หลังจากที่สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเมื่อวันศุกร์และปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงเช้าของการซื้อขายในวันจันทร์ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปิดบวกไม่มากนักเนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป และหลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปีนี้และปีหน้า

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนต.ค.ปรับตัวขึ้น 95 เซนต์ หรือ 1.09% ปิดที่ 88.19 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (12 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของปัญหาหนี้ยุโรป นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังร่วงลงหลังจากนักลงทุนเทขายทำกำไรในตลาดทองคำเพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดอื่นๆ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 46.2 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 1,813.3 ดอลลาร์/ออนซ์ 1813.3 -46.2

-- ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 ก.ย.) หลังจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า อิตาลีกำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่จีนเพื่อขอให้จีนให้เข้าซื้อพันธบัตรอิตาลี อย่างไรก็ตาม สกุลเงินยูโรยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป รวมถึงข่าวที่ว่ามูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในฝรั่งเศส เนื่องจากธนาคารเหล่านี้ถือครองพันธบัตรของกรีซอยู่เป็นจำนวนมาก

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้น 0.21% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3679 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3651 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.13% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5860 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5880 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.45% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 77.200 เยน จากระดับ 77.550 เยน และอ่อนตัวลง 0.35% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8804 ฟรังค์ จากระดับ 0.8835 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 1.23% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0340 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0469 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.11% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8221 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8212 ดอลลาร์สหรัฐ

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (12 ก.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่ากรีซอาจจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมมาตรการรับมือหากกรีซผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงการใช้มาตรการพยุงภาคธนาคารของกรีซ หากรัฐบาลกรีซไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลง

ดัชนี FTSE 100 ร่วงลง 85.03 จุด หรือ 1.6% ปิดที่ 5,129.62 จุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 218

โพสต์

10.00 น.ADB ปรับลดเป้า GDP ไทยปี 54 เหลือ 4%

Posted on Wednesday, September 14, 2011

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ของประเทศไทยในปี 54 ลงจาก 4.5% เหลือโต 4.0% หลังเศรษฐกิจในครึ่งแรกของปีโตชะลอกว่าคาดการณ์

โดยคาดว่า GDP ครึ่งปีแรกจะขยายตัว 2.9% ตามอุปทานที่ลดลงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวญี่ปุ่น, ความกังวลในการใช้จ่ายของผู้บริโภค และการหดตัวของการลงทุน แต่คาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะขยายตัวดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน

ADB ยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงต่อเนื่องไปถึงปี 55 ทำให้ ADB ปรับลดประมาณการ GDP ของไทยปี 55 จาก 4.8% เป็น 4.5%

ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังเผชิญการเร่งตัวของเงินเฟ้อ โดย ADB ได้มีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจาก 3.5% เป็น 3.8% ในปี 54 และ 3.0% เป็น 3.2% ในปี 55

ADB ยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ 45 ประเทศในกลุ่มที่กำลังพัฒนาในเอเชียลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% จากก่อนหน้านี้ที่ระดับ 7.8% และได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% จากเดิม 7.7% เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของประเทศคู่ค้ารายใหญ่ รวมถึงสหรัฐและยุโรป

ADB ระบุว่า การชะลอตัวของอุปสงค์ในสหรัฐและยุโรปยังคงส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการขยายตัวด้านการส่งออกที่ซบเซาลงในไตรมาส 2 นอกจากนี้ ภูมิภาคเอเชียยังได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อ โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) จะพุ่งขึ้นโดยเฉลี่ย 5.8% ในปีนี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 4.6% ในปีหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 219

โพสต์

"ฝรั่งเศส-เยอรมนี"ยันให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อ


"ฝรั่งเศส-เยอรมนี"ยันให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อพร้อมเรียกร้องปฏิรูปเศรษฐกิจ
ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนี ได้ประชุมทางโทรศัพท์กับนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ เมื่อคืนวันพุธ (14ก.ย.) และได้แจ้งต่อนายปาปันเดรอูว่า พวกเขายังคงตั้งใจให้กรีซ อยู่ในยูโรโซนต่อไป ขณะที่กรีซ จำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปและบรรลุเป้าหมายทางการคลัง ที่กำหนดไว้ภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่ตกลงกันไว้ในวันที่ 21 ก.ค.
ทั้งนี้ ประเทศเศรษฐกิจสำคัญในยูโรโซน กำลังจะหมดความอดทนกับกรีซ เนื่องจากกรีซ ประสบความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายในการปฏิรูปโครงสร้างและการคลังที่กำหนดไว้ภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในขณะที่ตลาดการเงินได้รับแรงกดดันอย่างรุนแรงจากความกังวลที่ว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ หรืออาจถอนตัวออกจากยูโรโซน
นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส และนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยระบุว่า ผู้นำกรีซควรดำเนินการตามเงื่อนไขของแผนให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และระบุว่า พวกเขายังคงตั้งใจที่จะให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป
ผู้นำฝรั่งเศส และเยอรมนี ระบุว่า "การดำเนินการตามภาระผูกพัน ในโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจกรีซ เพื่อที่จะได้หวนคืนสู่เส้นทางที่นำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน อีกทั้ง นายปาปันเดรอูยืนยันว่า รัฐบาลกรีซมุ่งมั่นที่จะดำเนินมาตรการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 220

โพสต์

สายเกินไปไหมที่กรีกจะออกจากยูโรโซน
ออก-ไม่ออก จะเกิดผลกระทบอย่างไรตามมา
ออกช้า - ออกเร็ว จะเกิดผลกระทบมากน้อยแค่ไหน
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 221

โพสต์

กรีซเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาในยูโรโซน ซึ่งส่งผลกระทบให้ประเทศอื่นพลอยมีปัญหาตามไป
ด้วย ทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้คือให้กรีซออกจากกลุ่มยูโร
ANDREPETER
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 222

โพสต์

ติดตามข่าว
IMF ไปที่กรีซ แล้ว กลับเนื่องจากกรีซไม่ทำอะไรเลยครับ

ใครช่วยคอมเฟริม ข่าวนี้ได้ไหมครับ
Read Read Read
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 223

โพสต์

พฤติกรรมของชาวกรีซตอนนี้ไม่น่าเห็นใจเลย
ยังไม่รู้สถานการณ์ของตัวเองซะบ้างเลย :)
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
bank115
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 166
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 224

โพสต์

thaloengsak เขียน:พฤติกรรมของชาวกรีซตอนนี้ไม่น่าเห็นใจเลย
ยังไม่รู้สถานการณ์ของตัวเองซะบ้างเลย :)
เห็นด้วยครับ
ประชาชนน่าจะรู้ตัวมั่ง ว่าควรจะช่วยกันลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
แต่ยังจะประท้วงกันอีก ไม่ให้รัฐลดสวัสดิการตัวเอง

น่าสงสารพี่ใหญ่ ที่ต้องคอยช่วยคนไม่เจียมตัว
จงตื่นเถิด เปิดตา หาความรู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 225

โพสต์

'Operation Twist'
ทางเลือกที่ต้องรอดของเศรษฐกิจมะกัน

...นับเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง
กับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20–21 ก.ย.นี้

เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่อีกครั้ง
หลังจากที่สภาพเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้กระเตื้องขึ้นแม้แต่น้อย

ยืนยันได้ชัดจากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 9%
และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แทบไม่ขยับเขยื้อนใดๆ

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาสมาชิกเฟดเริ่มตระหนักแล้วว่า
ไม่อาจจะขอประวิงเวลารอดูเหตุการณ์เหมือนที่แล้วมาได้อีกต่อไป
และจำเป็นต้องหาทางนำเงินใส่เข้าไปในระบบเพื่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นอีกครั้ง
อันจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
ภายใต้การผลักดันอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (เอฟโอเอ็มซี)

อย่างไรก็ตาม สมาชิกเฟดอีกส่วนหนึ่งกลับคัดค้านที่จะให้เฟดเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ
เพราะหวั่นใจกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐได้เพิ่มจาก 3.6% ในเดือน ก.ค.
มาอยู่ที่ 3.8% ในเดือน ส.ค. ซึ่งเกินเพดานที่เฟดตั้งไว้ที่ 2%

อีกทั้งยังมีแนวโน้มจะขยับขึ้นเรื่อยๆ
อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่ขยับพุ่งขึ้นทั่วโลก
และเป็นช่วงที่เฟดใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี)
ด้วยการทุ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ


เฟด จึงได้รับเสียงตำหนิมากมายจากเหล่าสมาชิกสภาคองเกรส
ที่เป็นตัวการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ
จนทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่ต้องการลงมือกระทำการใดๆ
ที่จะไปกระตุ้นกระแสต่อต้านเฟดภายในสภาคองเกรสให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ปัญหาเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจที่เดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย
จึงกลายเป็นความขัดแย้งภายในของบรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟด
ที่นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักต่างลุ้นระทึกว่า

เฟดจะเลือกทางไหน
ระหว่างกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป หรือ ชะงักไว้ก่อนเพื่อชะลอเงินเฟ้อ

ทว่า เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า
หน้าที่หลักของเฟดในตอนนี้ก็คือ การแก้ปัญหาตัวเลขการว่างงาน

ความเป็นไปได้ที่ว่าเฟดจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
จึงมีมากกว่า

ทั้งนี้ หากเฟดเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
ท่ามกลางเงินเฟ้อขาขึ้น

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เฟดพอจะรอมชอมให้ประกาศใช้ออกมาได้
ก็คือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการ “Operation Twist” มากกว่าที่จะใช้มาตรการคิวอี

เนื่องจากมาตรการพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ให้ผลไม่ตรงตามประโยชน์ที่วาดหวังกันไว้

การกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวทางของ Operation Twist
ก็คือการปรับสัดส่วนการถือครองพันธบัตรของเฟดให้เป็นตราสารระยะยาวมากขึ้น
และลดการถือครองตราสารระยะสั้น หรือก็คือการยืดอายุการชำระหนี้ออกไป

โดยมีเป้าหมาย
เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

เลี่ยงการเก็งกำไร และ กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

พูดให้ง่ายว่า
วิธีการดังกล่าวก็คือการที่เฟดจะออกพันธบัตรระยะสั้น
มาเปลี่ยนกับพันธบัตรระยะยาว

โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินเพิ่มเติม
เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ

ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงวิธีการแบบเดิม
ที่ต้องทุ่มเงินเข้าระบบการเงินแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม
จนทำให้เกิดเงินเฟ้อเหมือนที่เป็นมา

ทั้งนี้ สหรัฐเคยนำแนวทาง Operation Twist มาใช้แล้วครั้งหนึ่ง
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 หรือระหว่างปี 2504-2508
ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว
และขายตั๋วเงินคลังระยะสั้น

โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน
ผ่านจากจัดการปริมาณเงินในระบบ

ก่อนที่จะประกาศใช้อีกครั้งในเดือน มี.ค. 2552
แต่มีเป้าหมายที่ต่างออกไปก็คือ

เพื่อทำให้ปัจจัยแวดล้อมในระบบการเงินที่ตึงตัวอยู่
ผ่อนคลายลง

Operation Twist
จึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด และเหมาะสมที่สุด
หลังจากที่เฟดเพิ่งจะผ่านพ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่
อย่าง คิวอี มาแล้วสองรอบ

เพราะคิวอี
ทำให้เฟดต้องเข้าถือพันธบัตรระยะสั้นในมือมากขึ้น

ขณะที่ Operation Twist
จะช่วยเปลี่ยนพันธบัตรระยะสั้นเหล่านั้นให้เป็นระยะยาว
ซึ่งจะลดดอกเบี้ยในระยะยาว จนทำให้ธนาคารยอมปล่อยกู้
ให้กับบรรดาบริษัทห้างร้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
นอกเหนือไปจากการยืดระยะเวลาการคงอัตราดอกเบี้ย
ให้อยู่ในระดับใกล้ศูนย์เพิ่มออกไปอีก 2 ปี
ที่หลายฝ่ายในเฟดมองว่า อาจเป็นช่องทางให้บริษัทห้างร้านต่างๆ
ฉวยโอกาสเก็บเงินสดไว้ แทนที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและการจ้างงาน

สำหรับความเป็นไปได้อีกทาง
ที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าเฟดอาจจะเลือกลงมือทำ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์
สำหรับทุนสำรองส่วนเกินที่นำมาฝากไว้ที่เฟด ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับ
ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้มากยิ่งขึ้นเพื่อแลกกับอัตราผลตอบแทน
ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

ทว่า ปัญหาที่ตามมาก็คือ
ธนาคารพาณิชย์ไม่อาจกำหนดดอกเบี้ยให้สูงได้ในช่วงที่เจ้าของกิจการ
หรือประชาชนคนธรรมดาต่างแสวงหาหนทางปรับลดต้นทุนกู้ยืม
ของตนเองลง

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า
เครื่องมือทั้งหมดที่พอจะให้เฟดใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ขณะนี้
ล้วนส่งผลเสียต่อเฟดแทบทั้งสิ้น

แต่เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้
เพื่อให้เกิดการจ้างงาน บรรดานักเศรษฐศาสตร์จึงเห็นตรงกันว่า

Operation Twist

ดูจะเป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยที่สุดสำหรับเฟด
ในเวลานี้แล้ว

---

Ref : Posttoday 20 กันยายน 2554
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 226

โพสต์

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25 % ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (21 ก.ย.) และประกาศใช้มาตรการ Operation Twist ด้วยการใช้เงินมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอายุการไถ่ถอน 6-30 ปี พร้อมกับขายพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือต่ำกว่า ในวงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์เท่ากัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิ.ย. 2555 โดยมีเป้าหมายที่จะฉุดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม



คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) มีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 3 ให้ใช้มาตรการ Operation Twist ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เฟดเชื่อมั่นว่ามีประสิทธิภาพ พร้อมกับยืนยันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงกลางปี 2556

แถลงการณ์ภายหลังการประชุมของเฟดระบุว่า "มาตรการ Operation Twist จะฉุดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง และจะช่วยให้สภาวะด้านการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยคณะกรรมการเฟดจะดำเนินทบทวนทั้งในเรื่องของขนาดและองค์ประกอบของการถือครองพันธบัตรเป็นระยะๆ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม"

เฟดระบุว่า "จากข้อมูลที่รวบรวมได้นับตั้งแต่การประชุมครั้งก่อนในเดือนส.ค.พบว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวอย่างเชื่องช้า แลมีความเสี่ยงหลายด้านที่จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจเผชิญกับภาวะขาลง ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวนั้นรวมถึงภาวะตึงตัวในตลาดการเงินทั่วโลก ส่วนตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ และอัตราว่างงานอยู่ในระดับที่สูงมาก ทั้งนี้ แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นบ้างในช่วงหลายไตรมาสข้างหน้า แต่คาดว่าอัตราว่างงานจะปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"

ส่วนตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนนั้น เฟดระบุว่า "ขยายตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น" ด้านตลาดที่อยู่อาศัย "ยังคงทรุดตัวลง" อย่างไรก็ตาม ยอดขายยานยนต์เริ่มฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากภาวะสดุดของห่วงโซ่อุปทานอันเนื่องมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นนั้น เริ่มทุเลาลง สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 227

โพสต์

เมื่อวิกฤตหนี้ยุโรปกลายพันธุ์ หวั่นซ้ำรอยเลห์แมน บราเธอร์ส

ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปที่เริ่มระบาดเมื่อ 18 เดือนก่อน ในรูปของวิกฤตหนี้สาธารณะกำลังกลายพันธุ์ เป็นมรสุมภาคการธนาคารที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ขณะที่กรีซใกล้จะผิดนัดชำระหนี้ทางพฤตินัย ธนาคารที่อ่อนแอในยุโรปก็มีแนวโน้มจะล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะนักลงทุนและคู่ค้าพากันถอนเงินทุนระยะสั้นจนเกิดภาวะขาดสภาพคล่อง

แม้ธนาคารกลางสองฟากฝั่งแอตแลนติกจะจับมือกันป้อนดอลลาร์ให้กับสถาบันการเงินที่ขาดแคลนสกุลเงินสหรัฐ แต่ถูกมองว่าเป็นเพียงมาตรการเฉพาะหน้า และไม่อาจดับความวิตกว่าธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งในยูโรโซนอาจลงเอยเหมือนเลห์แมน บราเธอร์สในปี 2551

ซีเอ็นเอ็น ระบุว่า แม้ขณะนี้สถาบันการเงินที่ถูกนักลงทุนทุบกล่องดวงใจจะจำกัดอยู่เฉพาะในฝรั่งเศส แต่ธนาคารในอิตาลี สเปน เยอรมนี และอังกฤษ ต่างก็เผชิญกับปัญหาแหล่งเงินทุนเช่นกัน การออกมาตรการเร่งด่วนมารับมือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคการธนาคารที่ทรง ๆ ทรุด ๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนให้กล้ากลับมาพักเงินที่แบงก์ยุโรปอีกครั้ง

บลูมเบิร์ก รายงานว่า ความกังวลว่าบรรดาสถาบันการเงินในยูโรโซนจะได้รับผลกระทบหนักจากการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ ส่งผลให้หุ้นของวาณิชธนกิจยุโรปรูดลงรุนแรง โดยเฉพาะโซซิเอเต้ เจเนอรอล, เครดิต อะกริโคล และบีเอ็นพี พาริบาส์ 3 ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งเมืองน้ำหอม และ 2 แห่งแรก ยังโดนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อมูดี้ส์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 อันดับ ส่วนรายที่ 3 ก็อยู่ในสถานะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด

ทว่า นักวิเคราะห์มองว่า ราคาหุ้นนั้นดิ่งลงหนักเกินกว่าปัจจัยด้านการถือ พันธบัตรรัฐบาลเอเธนส์ หรือการโดนหั่นเครดิต อาทิ โซซิเอเต้ เจเนอรอลมีส่วนเกี่ยวข้องในหนี้สาธารณะของกรีซราว 5 พันล้านยูโร ซึ่งเท่ากับ 1% ของสินทรัพย์ในงบดุลของธนาคาร

การเข้าไปลงทุนในพันธบัตรของกรีซ ส่งผลให้มูลค่าตลาดของวาณิชธนกิจ ดังกล่าวหายไป 56% ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็น 3.5 เท่าของตราสารหนี้กรีซที่โซซิเอเต้ เจเนอรอล ถือไว้ นับว่าเป็นการลงโทษที่เกินกว่าเหตุไปมาก แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการส่งสัญญาณว่าสิ่งที่ตลาดกังวลไม่ใช่แค่ปัญหาหนี้ของทางการเอเธนส์ แต่ไปไกลถึงประเด็นที่ว่าบรรดาวาณิชธนกิจของฝรั่งเศสมีเงินทุนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมากจนอาจพังครืนลงมาเมื่อไรก็ได้

ฟอร์จูน ชี้ว่า ตามปกติธนาคารจะหาเงินมาหมุนเวียนใช้จ่ายจากหลายแหล่งในรูปนานาสกุลเงิน แหล่งเงินทุนน่าพึ่งพาที่สุดสำหรับธนาคารคือเงินกองทุนที่เป็นหุ้นสามัญและกำไรสะสม รองลงมาคือเงินที่ได้จากผู้ฝากเช็คและเปิดบัญชีออมทรัพย์ แต่ในยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศส เงินทุนส่วนใหญ่มาใน รูปของสินเชื่อระยะสั้นจากกองทุนรวมตลาดเงินและธนาคารด้วยกันเอง เงินกู้ระยะสั้นจากบางแหล่งต้องใช้คืนใน ชั่วข้ามคืน ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่น่าไว้วางใจและมีความผันผวนสูง

และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนประเมินว่า โซซิเอเต้ เจเนอรอลมีโอกาสเจอแรงสะเทือนหนักหน่วงคือ 73% ของหนี้ที่วาณิชธนกิจดังกล่าวแบกภาระอยู่ มีระยะเวลาครบกำหนดใช้คืนน้อยกว่า 1 ปี นับเป็นสัดส่วนสูงสุดในหมู่ธนาคารยุโรปขนาดใหญ่

การล้มละลายของเลห์แมนฯ สะท้อนให้เห็นอันตรายของการพึ่งพิงเงินทุนระยะสั้น ทันทีที่เกิดข่าวลือว่าธนาคารแห่งนี้ใกล้พังครืน ดีลเลอร์ก็แห่กันถอนเงินกู้คืน ภายในไม่กี่วันเลห์แมนฯ ก็อยู่ในภาวะไม่มีปัญญาชำระหนี้

สถานการณ์คล้ายคลึงกันกำลังเกิดขึ้นในยุโรปแต่ในจังหวะที่ช้ากว่า จากรายงานของดอยช์แบงก์ระบุว่า กองทุนรวมตลาดเงินจากสหรัฐลดการปล่อยกู้ในธนาคารยุโรปลง 40% ในระยะ 3 เดือนนับถึงวันที่ 11 สิงหาคม จนต้องหันไปยืมเงินดอลลาร์จากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง

แม้การผนึกกำลังระหว่างเฟดกับอีซีบี ขยายเวลาครบกำหนดส่งคืนดอลลาร์ที่กู้ยืมไปจาก 7 วันเป็น 3 เดือนจะช่วยบรรเทาการเทขายหุ้นธนาคารยุโรปแต่ก็เป็นแค่มาตรการชั่วคราวเท่านั้น ไม่อาจช่วยป้องกันแบงก์จากการล้มละลายได้ ถ้าสถาบันการเงินไม่สามารถเพิ่มเงินกองทุนให้แข็งแกร่งพร้อมรับทุกสถานการณ์

นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ภาคการธนาคารพากันเพิ่มความหนาของกันชน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เงินกองทุนขั้นที่ 1 แต่การดำเนินการของสถาบันการเงินเมืองน้ำหอมเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่งผลให้มีความเปราะบางต่อการถูกถอนเงินกู้ระยะสั้น

โดยเครดิต อะกริโคลเป็นผู้มีผลงานในเรื่องนี้ย่ำแย่ที่สุดในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ในยุโรปกล่าวคือ เงินกองทุนขั้นที่ 1 เพิ่มจาก 8.1% ในครึ่งแรกของ ปี 2550 เป็น 8.9% ใน 6 เดือนแรกของปีนี้ ส่วนโซซิเอเต้เพิ่มจาก 6.4% เป็น 9.3% ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ยังถือว่าอยู่ในกลุ่มล่าง ๆ อยู่ดี ต่างกับยูบีเอส ที่เงินกองทุนประเภทนี้พุ่งจาก 10.8% เป็น 16.1%

นอกจากปัญหากันชนหนาไม่พอแล้ว วาณิชธนกิจในยุโรปยังมีสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากสูงอีกด้วย อาทิ โซซิเอเต้ เจเนอรอล อยู่ที่ 130% แต่ก็ยังต่ำกว่า คู่แข่งจากอิตาลีอย่างอินเนสซ่า ซานเปาโลที่ 160% และยูนิเครดิตที่ 149% ส่วนลอยด์ของอังกฤษอยู่ที่ 149% เช่นกัน ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะเท่ากับว่า การปล่อยกู้ของธนาคาร 3 แห่งหลังสูงกว่ายอดเงินฝากราว 1.39 แสนล้านยูโร 1.85 แสนล้านยูโร และ 2.14 แสนล้าน ยูโรตามลำดับ ทำให้จำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากตลาดทุนซึ่งมีความผันผวนสูง

แม้ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าสถาบันการเงินแต่ละแห่งควรมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 มากแค่ไหน แต่อย่างน้อยก็ต้องสูงพอที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าธนาคารสามารถต้านทานความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ยุโรปยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยูโรโซนเพื่อป้องกันวิกฤตหนี้สาธารณะครั้งต่อไป ด้วยการปรับนโยบายการเงิน-การคลังของประเทศสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขั้นตอนที่ยากลำบากเช่นนี้ต้องอาศัยเจตจำนงอันมุ่งมั่นของผู้ใช้เงินยูโร 17 ชาติ แต่ถ้ากระบวนการข้างต้นล้มเหลว ทวีปนี้อาจถอยกลับไปยัง จุดเริ่มต้นภายในเวลาไม่กี่ปี

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 228

โพสต์

10.00 น.เยอรมัน ช่วยกรีซไม่ได้


Posted on Wednesday, September 28, 2011
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ให้สัมภาษณ์ Money Channel มองว่า
การประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติของเยอรมนีที่จะลงมติเรื่องการเพิ่มขนาดกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป หรือ EFSF ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ ผลที่ออกมาน่าจะเป็นภาพลบ เพราะตามสัดส่วนเยอรมันจะต้องเพิ่มทุนใน EFSF สูงถึง 1.2 แสนล้านยูโร ซึ่งสร้างความลำบากใจให้เยอรมันมากทีเดียว

ผู้บริหารงานวิจัยและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ยังเชื่อว่า กรีซ ต้องผิดนัดชำระหนี้แน่นอน เพราะแม้ผู้นำกรีซจะยืนยันว่า จะปฏิบัติตามมาตรการัดเข็มขัดอย่างเคร่งครัด แต่ในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ท่ามกลางการประท้วงคัดค้านของชาวกรีซเอง

นายกอบสิทธิ์ บอกด้วยว่า โอกาสที่ค่าเงินยูโรจะล่มสลาย มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โลกอาจกลับมาง้อค่าดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง จากที่ผ่านมาประเทศต่างๆ มีการเพิ่มสัดส่วนเงินยูโรในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น จาก 11 ปีก่อนที่ประมาณ 17-18% มาเป็น 26-28% นั้นหมายถึงค่าเงินดอลลาร์ก็จะกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ยูโรก็จะอ่อนค่าลง
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 229

โพสต์

กรีซ : สส.เยอรมนีชี้กรีซอยู่ในภาวะล้มละลายแล้ว เล็งขอลดหนี้ 50%
เบอร์ลิน--3 ต.ค.--รอยเตอร์

นายไมเคิล ฟุคส์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นแกนนำของฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ของเยอรมนี กล่าวในวันนี้ว่า กรีซอยู่ในภาวะล้มละลายแล้ว และมีแนวโน้มสูงมาก
ที่กรีซอาจจำเป็นต้องขอปรับลดหนี้ลงอย่างน้อย 50 %
นายฟุคส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคคริสเตียน
เดโมแครต (CDU) ของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคล และเป็นประธานกลุ่ม
ธุรกิจขนาดย่อมของ CDU ในรัฐสภา กล่าวต่อหนังสือพิมพ์ Rheinische Post ว่า
กรีซอยู่ในภาวะล้มละลายถึงแม้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป
(อียู)
นายฟุคส์กล่าวว่า "กรีซอยู่ในภาวะล้มละลายแล้ว และบางทีเราอาจจะ
ไม่มีหนทางอื่นอีกนอกจากการยอมยกหนี้ให้กรีซอย่างน้อย 50 %"--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 230

โพสต์

มูดีส์หั่นอันดันความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี

เอเอฟพี/บีบีซี - มูดีส์ บริษัทเครดิตเรตติ้งรายใหญ่ของโลก ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีจาก Aa2 เหลือ A2 จากแนวโน้มทางลบที่อ้างถึงความเสี่ยงในความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เอื่อยเฉื่อย

"มุมมองในทางลบสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในเวลานี้และความเสี่ยงทางการเงินในอิตาลี รวมถึงพื้นที่ยูโรด้วย" บริษัทเครดิตเรตติ้งแห่งนี้ระบุในถ้อยแถลง พร้อมเตือนว่าด้วยสภาพแวดล้อมของตลาดที่ไร้ความแน่นอนและความกังวลที่หนักหน่วงขึ้นของนักลงทุนอาจเป็นตัวบังคับให้ประเทศแห่งนี้ต้องเข้าสู่ตลาดหนี้สาธารณะ

"ถ้าความเสี่ยงเหล่านั้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และแหล่งเงินทุนสนับสนุนสภาพคล่องจากภายนอกที่สามารถหยิบหาได้ในระยะยาวยังคงไม่มีความแน่นอน อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอาจถูกปรับลดลงต่ำลงไปกว่านี้อีก" มูดีส์ระบุ

อย่างไรก็ตาม ซิลวิลโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลีเปิดเผยว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นไปตามที่คาดหมายไว้แล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นที่คาดเดากันว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารต่างๆของอิตาลีในอนาคตตามมา ซึ่งนั้นจะก่อแรงกดดดันอย่างหนักหน่วงต่อความสามารถในการกู้ยืมของพวกเขา

"การลดอันดับความน่าเชื่อถือนี้จะทำให้อิตาลีกู้ยืมได้ยากขึ้น" โรเบิร์ต เปสตัน บรรณาธิการฝ่ายข่าวธุรกิจของบีบีซีกล่าว "อย่างไรก็ตามนี่ยังไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายที่สุด และเมื่ออิตาลี ดูเหมือนเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการให้ยืม ธนาคารของพวกเขาจะประสบกับปัญหายุ่งยากกว่าในการขอกู้ยืม และวิกฤตภาคธนาคารยูโรโซนจะถูกซ้ำเติมให้เลวร้ายหนักลงไปอีก"

กระนั้นก็ดีทาง มูดีส์ ระบุว่าความเสี่ยงที่อิตาลีจะผิดนัดชำระหนี้ยังคงห่างไกลและคงอันดับเครดิตระยะสั้นอยู่ที่ Prime-1

ทั้งนี้แบร์ลุสโคนี เปิดเผยเมื่อวันจันทร์(3) ว่ารัฐบาลอิตาลีจะเปิดตัวมาตรการรัดเข็มขัดใหม่ๆในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าที่ยังจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้และป้องกันประเทศจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน


ที่มา manager
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000126543
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 231

โพสต์

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนัก นักลงทุนเริ่มวิตกกังวลว่าวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกและปัญหาหนี้ยุโรป



สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 41.7 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 1,616 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,613.00-1,658.40 ดอลลาร์

สัญญาทองคำร่วงลงอย่างหนักหลังจากเบอร์นันเก้แถลงต่อคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจของสภาคองเกรสเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทยว่า "การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังใกล้ถึงจุดสะดุด" และยังกล่าวด้วยว่านโยบายการเงินไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ เบอร์นันเก้ระบุว่า สถานการณ์ว่างงานในสหรัฐถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากกว่าเงินเฟ้อ หลังจากมีรายงานว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก และภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานในระยะใกล้

เทรดเดอร์มองว่า แถลงการณ์ของเบอร์นันเก้ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยังไม่ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) ในระยะนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดทองคำ นอกจากนี้ การที่เบอร์นันเก้ไม่ได้แสดงความกังวลเรื่องปัญหาเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำลงอีก เพราะโดยปกติแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าทองคำเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัยเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ

นักวิเคราะห์จากเครดิตสวิสมองว่า ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มเข้าสู่ระยะพักฐานแล้ว หลังจากที่สัญญาทองคำและสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 232

โพสต์

นักวิเคราะห์ชี้สถานการณ์ในยูเครน,อิรักทดสอบความเปราะบางของเศรษฐกิจยุโรป

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2557 16:36:04 น.

นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ING ชี้ นักลงทุนจะมีข้อมูลที่ชัดเจนในสัปดาห์นี้ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนมีความเปราะบางมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย็งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในยูเครนและอิรักที่สร้างบรรยากาศอึมครึมไปทั่วตลาดโลก

เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจสหรัฐและอังกฤษที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนกลับมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสสิ้นสุดเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคได้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ในขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 233

โพสต์

pavilion เขียน:นักวิเคราะห์ชี้สถานการณ์ในยูเครน,อิรักทดสอบความเปราะบางของเศรษฐกิจยุโรป

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2557 16:36:04 น.

นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ING ชี้ นักลงทุนจะมีข้อมูลที่ชัดเจนในสัปดาห์นี้ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนมีความเปราะบางมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย็งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในยูเครนและอิรักที่สร้างบรรยากาศอึมครึมไปทั่วตลาดโลก

เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจสหรัฐและอังกฤษที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนกลับมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสสิ้นสุดเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคได้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ในขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย
รายงานของ ING ระบุว่า “สหรัฐและอังกฤษมีแนวโน้มจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วที่สุดทั้งในปีนี้และปีหน้า ในขณะที่สถานการณ์ในยุโรปมีทิศทางที่ตรงกันข้าม"

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีกำหนดจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำหรับ 18 ประเทศในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. ในวันพฤหัสบดีนี้ และเยอรมนีมีกำหนดจะเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศในช่วงเวลาเดียวกัน

นักวิเคราะห์คาดว่า ทั้งเยอรมนีและสหภาพยุโรปจะไม่เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วงดังกล่าว เนื่องจากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการบุกรุกยูเครนได้บั่นทอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้