การมีบ้าน จากฐานเศรษฐกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 1401
- ผู้ติดตาม: 0
การมีบ้าน จากฐานเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 1
อย่าส่งเสริมการมีบ้านเลยครับ
วันอังคารที่ 06 กันยายน 2011 เวลา 08:56 น. บทความโดย ดร.โสภณ พรโชคชัย ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ตามที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีความพยายามที่จะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในตอนหาเสียงนั้น แม้จะถือเป็นสปิริตที่จะพยายามทำตามสัญญา แต่ ผมขออนุญาตห้ามไว้สักหน่อย รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรักษาสัญญา หากสัญญาดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และไม่ได้เป็นคุณต่อประชาชนผู้ซื้อบ้าน ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน หรืออาจฟังความแต่พวกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่หวังจะได้รับงบประมาณสนับสนุน จึงใช้ตัวเลขที่ผิดไปจากความเป็นจริงมาเสนอ จนกลายเป็นร่างนโยบายไป
ผมขออนุญาตเสนอข้อมูลชัด ๆ ตรง ๆ ดังนี้ครับ
1. ครัวเรือนไทย มีสัดส่วน “ครัวเรือนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย” สูงถึง 82.4% เข้าไปแล้ว ทั้งนี้เป็นผลจากการสัมมโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลปี 2553 ยังไม่ออกผล แต่ก็คาดว่าจะสูงมากเช่นกัน) ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการมีบ้าน กลไกตลาดสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง โดยรัฐบาลไม่จำเป็นต้องสูญเสียงบประมาณที่ควรนำไปพัฒนาประเทศในทางอื่น
2. ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยก็ไม่มีปรากฏ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกและสำรวจภาคสนามอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2537 พบว่าการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี 2553 สูงถึงประมาณ 120,000 หน่วย ในปี 2554 ทั้งปีคาดว่าจะมีอีก 110,000 หน่วย และคาดว่าในปี 2555 น่าจะมีการเปิดตัวใหม่อีก 100,000 หน่วย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ยังมีที่อยู่อาศัยในโครงการที่อยู่อาศัยเอกชน รอผู้ซื้อยู่ประมาณ 136,000 หน่วย ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาที่ต้องเร่งสร้างที่อยู่อาศัยแต่อย่างใด
3. สถานการณ์ขณะนี้ไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล บริษัทพัฒนาที่ดินมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ยังได้กำไรงามจากการประกอบการ เศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตเพราะการส่งออกที่ดีขึ้นในช่วงปี 2552-2553 และปี 2553-2554 โดยเติบโตถึง 17% ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า แม้ปี 2553 ได้เกิดวิกฤติทางการเมือง อัตราดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้น และภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์และค่าธรรมเนียมโอนที่แทบไม่เสียในอดีตก็กลับเสียตามอัตราเดิม แต่ที่อยู่อาศัยกลับเปิดตัวใหม่ถึง 120,000 หน่วย เทียบกับ 60,000 หน่วย ในปี 2552
4. สถาบันการเงินยังอำนวยสินเชื่ออยู่เป็นปกติ และยังมีผู้มาขอสินเชื่ออย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้มีปัญหาดอกเบี้ยสูงเกินไป ไม่ได้มีปัญหาเงินดาวน์ที่สูงเกินไป โดยในปัจจุบันอำนวยสินเชื่อในสัดส่วนถึงประมาณ 90-100% ของมูลค่าบ้าน ทำให้ประชาชนสามารถมีบ้านของตนเองได้โดยง่าย แต่การนี้อาจเป็นการหละหลวมของวินัยทางการเงินที่จะสร้างปัญหาแก่ระบบที่อยู่อาศัยเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงปี 2540 และสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2551-2553
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการอุดหนุนดอกเบี้ย ลดภาษี ค่าธรรมเนียมโอน และค่าจดจำนอง แต่อย่างใด หากรัฐบาลจะช่วยเหลือ ก็พึงช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นสำคัญ โดยกำหนดให้
1. สนับสนุนผู้ที่จะซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ปรากฏ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่ายังมีบ้านที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ขายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึง 22,130 หน่วย แยกเป็น บ้านเดี่ยว 267 หน่วย บ้านแฝด 46 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 7,837 หน่วย ห้องชุด 13,750 และที่ดินจัดสรร 230 หน่วย ยิ่งหากนับรวมบ้านมือสองก็คงมีที่อยู่อาศัยอีกรวม 50,000 หน่วย หากรัฐบาลสนับสนุนก็จะสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงประมาณ 200,000 คน
2. สนับสนุนผู้ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 20,000-25,000 บาท เพื่อจำกัดวงเฉพาะผู้ที่มีความต้องการจำเป็นเท่านั้น
3. สนับสนุนให้ซื้อบ้านมือสองโดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษี ดอกเบี้ย เช่นเดียวกับบ้านมือหนึ่ง เพราะราคาถูกกว่า อีกทั้งเมื่อซื้อบ้านมือสองแล้ว ยังต้องต่อเติม ซื้อเครื่องเรือน ประกันภัยบื้น กู้เงิน ฯลฯ เช่นเดียวกับซื้อบ้านมือหนึ่ง และโดยที่บ้านมือสองถูกกว่า ผู้ซื้อยังมีเงินเหลือไว้ฉลอง ต่างจากการซื้อบ้านมือหนึ่งที่แม้จะต้องก่อสร้างทั้งหลัง แต่การซื้อบ้านมือสองที่ถูกกว่าและต้องซ่อมแซมเช่นเดียวกัน ก็ช่วยกระตุ้นกิจการวัสดุก่อสร้างได้ไม่แพ้กัน ดังนั้นไม่ว่าจะซื้อบ้านมือหนึ่งหรือบ้านมือสองก็มีส่วนช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่แพ้กัน
ผมว่าเอาไว้ประเทศชาติเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติทางการเงิน รัฐบาลค่อยยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือก็ยังไม่สาย และในฐานะที่ผมบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส อยู่ ผมจึงมองเห็นภาวะต่าง ๆ ได้ล่วงหน้าในระดับหนึ่ง หากมีแนวโน้มว่าอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ผมจะเป็นคนแรกที่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการ เพราะหากพวกเขาอยู่รอด สถาบันการเงินก็อยู่ดี ระบบเศรษฐกิจก็ไม่เสียหาย
แต่ตอนนี้รัฐบาลไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้ เช่น เร่งสร้างรถไฟฟ้า พัฒนาสาธารณูปโภค หรือทำการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนของประเทศชาติในทางอื่น น่าจะดีกว่าครับ
จากน.ส.พ. ล้วนๆครับ ไม่มีความคิดเห็นส่วนตัว
วันอังคารที่ 06 กันยายน 2011 เวลา 08:56 น. บทความโดย ดร.โสภณ พรโชคชัย ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ตามที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีความพยายามที่จะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในตอนหาเสียงนั้น แม้จะถือเป็นสปิริตที่จะพยายามทำตามสัญญา แต่ ผมขออนุญาตห้ามไว้สักหน่อย รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรักษาสัญญา หากสัญญาดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และไม่ได้เป็นคุณต่อประชาชนผู้ซื้อบ้าน ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน หรืออาจฟังความแต่พวกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่หวังจะได้รับงบประมาณสนับสนุน จึงใช้ตัวเลขที่ผิดไปจากความเป็นจริงมาเสนอ จนกลายเป็นร่างนโยบายไป
ผมขออนุญาตเสนอข้อมูลชัด ๆ ตรง ๆ ดังนี้ครับ
1. ครัวเรือนไทย มีสัดส่วน “ครัวเรือนที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย” สูงถึง 82.4% เข้าไปแล้ว ทั้งนี้เป็นผลจากการสัมมโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543 (ข้อมูลปี 2553 ยังไม่ออกผล แต่ก็คาดว่าจะสูงมากเช่นกัน) ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องส่งเสริมการมีบ้าน กลไกตลาดสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง โดยรัฐบาลไม่จำเป็นต้องสูญเสียงบประมาณที่ควรนำไปพัฒนาประเทศในทางอื่น
2. ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยก็ไม่มีปรากฏ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกและสำรวจภาคสนามอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2537 พบว่าการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี 2553 สูงถึงประมาณ 120,000 หน่วย ในปี 2554 ทั้งปีคาดว่าจะมีอีก 110,000 หน่วย และคาดว่าในปี 2555 น่าจะมีการเปิดตัวใหม่อีก 100,000 หน่วย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ยังมีที่อยู่อาศัยในโครงการที่อยู่อาศัยเอกชน รอผู้ซื้อยู่ประมาณ 136,000 หน่วย ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาที่ต้องเร่งสร้างที่อยู่อาศัยแต่อย่างใด
3. สถานการณ์ขณะนี้ไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล บริษัทพัฒนาที่ดินมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ยังได้กำไรงามจากการประกอบการ เศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตเพราะการส่งออกที่ดีขึ้นในช่วงปี 2552-2553 และปี 2553-2554 โดยเติบโตถึง 17% ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า แม้ปี 2553 ได้เกิดวิกฤติทางการเมือง อัตราดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้น และภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์และค่าธรรมเนียมโอนที่แทบไม่เสียในอดีตก็กลับเสียตามอัตราเดิม แต่ที่อยู่อาศัยกลับเปิดตัวใหม่ถึง 120,000 หน่วย เทียบกับ 60,000 หน่วย ในปี 2552
4. สถาบันการเงินยังอำนวยสินเชื่ออยู่เป็นปกติ และยังมีผู้มาขอสินเชื่ออย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้มีปัญหาดอกเบี้ยสูงเกินไป ไม่ได้มีปัญหาเงินดาวน์ที่สูงเกินไป โดยในปัจจุบันอำนวยสินเชื่อในสัดส่วนถึงประมาณ 90-100% ของมูลค่าบ้าน ทำให้ประชาชนสามารถมีบ้านของตนเองได้โดยง่าย แต่การนี้อาจเป็นการหละหลวมของวินัยทางการเงินที่จะสร้างปัญหาแก่ระบบที่อยู่อาศัยเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงปี 2540 และสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2551-2553
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการอุดหนุนดอกเบี้ย ลดภาษี ค่าธรรมเนียมโอน และค่าจดจำนอง แต่อย่างใด หากรัฐบาลจะช่วยเหลือ ก็พึงช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นสำคัญ โดยกำหนดให้
1. สนับสนุนผู้ที่จะซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2554 ปรากฏ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่ายังมีบ้านที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ขายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึง 22,130 หน่วย แยกเป็น บ้านเดี่ยว 267 หน่วย บ้านแฝด 46 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 7,837 หน่วย ห้องชุด 13,750 และที่ดินจัดสรร 230 หน่วย ยิ่งหากนับรวมบ้านมือสองก็คงมีที่อยู่อาศัยอีกรวม 50,000 หน่วย หากรัฐบาลสนับสนุนก็จะสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยถึงประมาณ 200,000 คน
2. สนับสนุนผู้ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 20,000-25,000 บาท เพื่อจำกัดวงเฉพาะผู้ที่มีความต้องการจำเป็นเท่านั้น
3. สนับสนุนให้ซื้อบ้านมือสองโดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษี ดอกเบี้ย เช่นเดียวกับบ้านมือหนึ่ง เพราะราคาถูกกว่า อีกทั้งเมื่อซื้อบ้านมือสองแล้ว ยังต้องต่อเติม ซื้อเครื่องเรือน ประกันภัยบื้น กู้เงิน ฯลฯ เช่นเดียวกับซื้อบ้านมือหนึ่ง และโดยที่บ้านมือสองถูกกว่า ผู้ซื้อยังมีเงินเหลือไว้ฉลอง ต่างจากการซื้อบ้านมือหนึ่งที่แม้จะต้องก่อสร้างทั้งหลัง แต่การซื้อบ้านมือสองที่ถูกกว่าและต้องซ่อมแซมเช่นเดียวกัน ก็ช่วยกระตุ้นกิจการวัสดุก่อสร้างได้ไม่แพ้กัน ดังนั้นไม่ว่าจะซื้อบ้านมือหนึ่งหรือบ้านมือสองก็มีส่วนช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่แพ้กัน
ผมว่าเอาไว้ประเทศชาติเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติทางการเงิน รัฐบาลค่อยยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือก็ยังไม่สาย และในฐานะที่ผมบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส อยู่ ผมจึงมองเห็นภาวะต่าง ๆ ได้ล่วงหน้าในระดับหนึ่ง หากมีแนวโน้มว่าอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ผมจะเป็นคนแรกที่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการ เพราะหากพวกเขาอยู่รอด สถาบันการเงินก็อยู่ดี ระบบเศรษฐกิจก็ไม่เสียหาย
แต่ตอนนี้รัฐบาลไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้ เช่น เร่งสร้างรถไฟฟ้า พัฒนาสาธารณูปโภค หรือทำการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนของประเทศชาติในทางอื่น น่าจะดีกว่าครับ
จากน.ส.พ. ล้วนๆครับ ไม่มีความคิดเห็นส่วนตัว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การมีบ้าน จากฐานเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 2
เห็นด้วยครับว่าอย่าส่งเสริมการมีบ้าน แต่ควรกันงบส่งเสริม การวิจัยและพัฒนา
โดยเฉพาะการต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก หรือ การต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ
ดูอย่าง เถ้าแก่น้อยซิ ถ้าขายไปทั่วโลก เงินก็เข้าประเทศ
ประเทศไทย ปลูกอะไรได้ตั้งเยอะ
สินค้าเกษตร และการต่อยอด มี R&D วิจัยกันออกมาซิ ว่าในนั้นมีอะไร
อาหารเสริม ก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้เยอะ เมืองไทยก็ไม่เห็นมีวิจัยอะไร หรือว่า ต่างประเทศ มาซื้อหัวเผือกหัวมัน บ้านเรา แล้วไปสกัดอะไรออกมา แล้วเอามาขายบ้านเรา
เม็ดเงิน ลงไปผิดทาง ในที่สุด เดี่ยวจะเหมือน ต่างประเทศ ที่ราคาบ้านลดลง เกิดโดมิโน่ ล้มไปเรื่อยๆ
โดยเฉพาะการต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก หรือ การต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ
ดูอย่าง เถ้าแก่น้อยซิ ถ้าขายไปทั่วโลก เงินก็เข้าประเทศ
ประเทศไทย ปลูกอะไรได้ตั้งเยอะ
สินค้าเกษตร และการต่อยอด มี R&D วิจัยกันออกมาซิ ว่าในนั้นมีอะไร
อาหารเสริม ก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้เยอะ เมืองไทยก็ไม่เห็นมีวิจัยอะไร หรือว่า ต่างประเทศ มาซื้อหัวเผือกหัวมัน บ้านเรา แล้วไปสกัดอะไรออกมา แล้วเอามาขายบ้านเรา
เม็ดเงิน ลงไปผิดทาง ในที่สุด เดี่ยวจะเหมือน ต่างประเทศ ที่ราคาบ้านลดลง เกิดโดมิโน่ ล้มไปเรื่อยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมีบ้าน จากฐานเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 4
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ซื้อบ้านมือ 2 เหมือนกัน และค่าต่อเติมและตกแต่งนั้นก็แพงเหมือนกันครับ แต่ราคา
ถูกกว่าบ้านใหม่มาก... แต่ก็ไม่เห็นมีใครสนับสนุนบ้านมือ 2 บ้างเลย แอบเคืองเล็กน้อย
ถูกกว่าบ้านใหม่มาก... แต่ก็ไม่เห็นมีใครสนับสนุนบ้านมือ 2 บ้างเลย แอบเคืองเล็กน้อย
มงคลชีวิต 38 ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1841
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมีบ้าน จากฐานเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 5
ช่วยตอนไหนก็ได้ประโยชน์เพื่อคะแนนเสียงและเงินเข้ากระเป๋าบอสัดใหญ่ๆ
เงินภาษีของคนเสียภาษี รัฐ นักการเมืองเอาไปเกลี่ย ก็อยู่ที่ว่าใครเข้าใจและรู้ทัน
ตอนต้นระยะสั้นต่างแฮปปี้
ตอนท้าย ศก.ทรุดช่วยใหม่อีกรอบ
ได้คะแนนเสียงอีก บอสัดใหญ่ๆนักการเมืองได้2รอบ
คนซื้อได้บ้างเสียบ้างแล้วแต่Financial Literacyและความสามารถ
คนเสียภาษีซวยตลอด แต่เสียภาษีมากกลับมีคะแนนเสียงน้อย
นักการเมืองและกลุ่มCorporationได้คะแนน ได้ตังค์ ได้อำนาจตลอดจากฐานเสียงใหญ่ที่อ่อนแอ ไร้เดียงสา
นักการเมืองและรัฐบาลทั่วโลกเค้าทำกันแบบนี้
QE1 QE2 มันมีมาก่อนหลายรอบ และจะมีอีกตลอดไป ขอสัญญา จากลุงๆ ป้าๆ ที่รักประชาชนที่สุด
เงินภาษีของคนเสียภาษี รัฐ นักการเมืองเอาไปเกลี่ย ก็อยู่ที่ว่าใครเข้าใจและรู้ทัน
ตอนต้นระยะสั้นต่างแฮปปี้
ตอนท้าย ศก.ทรุดช่วยใหม่อีกรอบ
ได้คะแนนเสียงอีก บอสัดใหญ่ๆนักการเมืองได้2รอบ
คนซื้อได้บ้างเสียบ้างแล้วแต่Financial Literacyและความสามารถ
คนเสียภาษีซวยตลอด แต่เสียภาษีมากกลับมีคะแนนเสียงน้อย
นักการเมืองและกลุ่มCorporationได้คะแนน ได้ตังค์ ได้อำนาจตลอดจากฐานเสียงใหญ่ที่อ่อนแอ ไร้เดียงสา
นักการเมืองและรัฐบาลทั่วโลกเค้าทำกันแบบนี้
QE1 QE2 มันมีมาก่อนหลายรอบ และจะมีอีกตลอดไป ขอสัญญา จากลุงๆ ป้าๆ ที่รักประชาชนที่สุด
Rabbit VS. Turtle