ข้อห้าม สำหรับ VI
- tom
- Verified User
- โพสต์: 691
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 4
จริงๆผมซื้อหุ้นมา 2-3 ปีแล้ว ผมว่าการซื้อหุ้นมันมีเรื่องให้พิจารณา 2-3 เรื่องนะครับ
-การเลือกหุ้นว่าเลือกจากอะไร
-เวลาหรือจังหวะการซื้อขาย
-ความถี่การซื้อขาย
-ความนานของการถือหุ้น
ผมไม่แน่ใจว่า เอาความแตกต่างของพวกนี้มาแบ่งเป็น VI VS หรือเปล่า
...ผมว่าศีลการลงทุนทั้ง VI และ VS คือ อย่าซื้อแพงขายถูก เพราะจะขาดทุน
-การเลือกหุ้นว่าเลือกจากอะไร
-เวลาหรือจังหวะการซื้อขาย
-ความถี่การซื้อขาย
-ความนานของการถือหุ้น
ผมไม่แน่ใจว่า เอาความแตกต่างของพวกนี้มาแบ่งเป็น VI VS หรือเปล่า
...ผมว่าศีลการลงทุนทั้ง VI และ VS คือ อย่าซื้อแพงขายถูก เพราะจะขาดทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 5
เฮีย คลายเครียดว่าไว้ครับ
"ห้ามโลภเกินความรู้ที่มี"
"ห้ามโลภเกินความรู้ที่มี"
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 9
ห้ามซื้อเพราะคิดแค่ว่าราคาจะขึ้นไป เพราะจะกลายเป็นการเก็งกำไร
ห้ามซื้อเพราะเห็นว่าราคาลงมาถูกมากแล้วโดยไม่ได้เปรียบเทียบกับ
มูลค่าที่แท้จริง :lol:
ซื้อแล้วไม่ขายกล้าซื้อรึเปล่า
ถ้าไม่กล้า ห้ามซื้อ :lol:
ห้ามซื้อเพราะเห็นว่าราคาลงมาถูกมากแล้วโดยไม่ได้เปรียบเทียบกับ
มูลค่าที่แท้จริง :lol:
ซื้อแล้วไม่ขายกล้าซื้อรึเปล่า
ถ้าไม่กล้า ห้ามซื้อ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 12
ดูกระดาน Trade Realtime
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 14
เป็นข้อนึง ที่ผมขอไม่เห็นด้วยกับลุงบัฟ ... ผมขอเป็นคนที่โง่ที่สุด ที่ได้กำไรแล้วกัน :lovl: :lovl: :lovl:ba_2l เขียน:"เหตุผลที่โง่ที่สุดในโลกคือ การซื้อหุ้นเพราะคิดว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้น" : Warren Buffett :lovl:
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 15
ข้อ 1. ห้ามหมดเงิน ไว้ซื้อหุ้น
:lovl: ข้อ 2. ห้ามโกหกตัวเอง โกหกคนอื่นไม่เป็นไร(เพื่อเอาตัวรอด)
ข้อ 3. ลุงบัฟมีหลักการง่ายเกินไป มีคนรู้ทัน (เลยต้องหาหลักการลุงลินซ์ มันลึกลับดี)
ข้อ 4. ซื้อหุ้น ขายหุ้น ขาดทุนห้ามบอกเมีย (กำไรตลอดได้ไง ว๊ะ 555)
ข้อ 5. ห้ามออกอาการให้เจ้ามือ เอ๊ย รายใหญ่รู้ ว่าเราติดหุ้น(อยู่ดอย)
อีกหลายๆข้อ ตามแต่เหตุการณ์บังคับ ให้หาเหตุผลมาปลอบใจตัวเองและบุคคลรอบข้าง
ข้อสุดท้าย เล่นได้มากกว่าเล่นเสีย รวย รวย รวย
:lovl: ข้อ 2. ห้ามโกหกตัวเอง โกหกคนอื่นไม่เป็นไร(เพื่อเอาตัวรอด)
ข้อ 3. ลุงบัฟมีหลักการง่ายเกินไป มีคนรู้ทัน (เลยต้องหาหลักการลุงลินซ์ มันลึกลับดี)
ข้อ 4. ซื้อหุ้น ขายหุ้น ขาดทุนห้ามบอกเมีย (กำไรตลอดได้ไง ว๊ะ 555)
ข้อ 5. ห้ามออกอาการให้เจ้ามือ เอ๊ย รายใหญ่รู้ ว่าเราติดหุ้น(อยู่ดอย)
อีกหลายๆข้อ ตามแต่เหตุการณ์บังคับ ให้หาเหตุผลมาปลอบใจตัวเองและบุคคลรอบข้าง
ข้อสุดท้าย เล่นได้มากกว่าเล่นเสีย รวย รวย รวย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 17
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ผมว่าข้อ 4. ต้องบอกเมียว่า ขาดทุนนะ เพราะเด๋วกำไรจะมาให้ถอนเงินออกไปชอปปิ้ง 55
ยังไม่รู้ 8)
-
- Verified User
- โพสต์: 359
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 18
**ข้อนี้ ถ้าไม่ออกอาการมากมาก คงไม่รู้จิงจิงด้วย 55555 **ข้อ 4. ซื้อหุ้น ขายหุ้น ขาดทุนห้ามบอกเมีย (กำไรตลอดได้ไง ว๊ะ 555)
**ส่วนข้อนี้มันก้อรู้รู้อยู่แก่ใจ ถ้าห้ามออกอาการคงทำตัวลำบากง่ะ **ข้อ 5. ห้ามออกอาการให้เจ้ามือ เอ๊ย รายใหญ่รู้ ว่าเราติดหุ้น(อยู่ดอย)
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 20
:lol: :lol: :lol: :lol:
พอดีผมเซฟบทความของดร.นิเวศน์ไว้ และมีประเด็นที่เพื่อนๆกำลังพูดคุยกันอยู่พอดี ลองอ่านดูนะครับ
บททดสอบ VI
นักลงทุนหลายคนในตลาดหลักทรัพย์ชอบพูดว่าตนเองไม่ใช่ Value Investor แต่ทุกครั้งที่จะซื้อหุ้นเขาจะวิเคราะห์เจาะลึกดูว่ากิจการทำธุรกิจอะไร กำไรดีไหม ราคาหุ้นสูงหรือต่ำ เหตุผลในการซื้อหุ้นคืออะไร ที่สำคัญหุ้นที่ซื้อส่วนมากมีราคาค่อนข้างต่ำวัดโดยค่า PE และ PB ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมหรือค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ค่า DP หรือปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเองก็สูงกว่าปกติ ถ้าเป็นแบบนี้เขาก็คือ Value Investor คนหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม คนที่บอกว่าอยากเป็น Value Investor แต่เวลาซื้อหุ้นกลับไม่รู้ว่าหุ้นมีค่า PE และ PB เท่าไร และราคาที่ซื้อนั้นถูกหรือแพงแค่ไหน รู้เพียงแต่ว่าเป็นหุ้นที่กำลังวิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง คนกำลังกล่าวขวัญถึง โบรกเกอร์กำลังแนะนำ และเขาเองก็ คิดว่า หุ้นที่ซื้อเป็นของบริษัทที่ดี ถ้าเป็นแบบนี้อย่าเพิ่งเรียกว่าเขาเป็น Value Investor
การกระทำ หรือ พฤติกรรมส่วนใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นสิ่งแบ่งแยกว่าใครเป็น Value Investor หรือใครไม่ใช่ คำว่าส่วนใหญ่นั้นผมคิดว่าน่าจะไม่น้อยกว่า 70% - 80% ของการซื้อขายหุ้นจะต้องอิงอยู่กับหลักการของ Value Investment ถึงจะบอกได้ว่าเขาเป็น Value Investor แต่ถ้าการซื้อขายส่วนมากไม่สอดคล้องกับหัวใจของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าแล้ว ไม่ว่าจะพูดอย่างไรเขาก็ไม่ใช่ Value Investor
พฤติกรรมที่ขัดแย้งกับการลงทุนแบบ Value Investment อย่างเด่นชัดที่ผมอยากชี้ให้เห็นมีหลายเรื่อง และคนที่ทำอย่างนั้นมาก ๆ และทำเป็นนิจสินก็คงไม่ใช่ Value Investor เริ่มตั้งแต่การซื้อขายหุ้นแบบ Net Settlement หรือการซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้หุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน เพราะการทำแบบนี้เป็นเรื่องของการเก็งกำไรล้วน ๆ จากการขึ้นลงของราคาหุ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของกิจการน้อยมาก
ถ้าการลงทุนแบบ Value Investment เป็นลัทธิศาสนาหนึ่ง การเล่นแบบ Net Settlement ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการทำผิดศีลข้อที่หนึ่ง ซึ่งเป็นบาปขั้นรุนแรงที่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง
การลงทุนในหุ้นที่ร้อนแรงเนื่องจากการ ปั่น หรือการเก็งกำไรอย่าง ไร้เหตุผล เช่นการซื้อหุ้นของบริษัทที่มีค่า PE สูงเป็น 70 80 เท่า ค่า PB เป็น 10 เท่า และมูลค่าของกิจการสูงเป็นหมื่นล้านบาทโดยที่บริษัทมิได้มีสถานะที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งขันหรือมีอำนาจผูกขาดในธุรกิจที่กำลังเติบโตเร็วมาก แบบนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่แย้งกับ Value Investment และก็น่าจะถือเป็นบาปที่หนักหนาอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าได้ยินข่าวลือว่าจะมีการแตกพาร์หรือมีการแจกวอแรนต์ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมแล้ว คุณเข้าไปซื้อหุ้นโดยไม่ได้ดูคุณภาพหรือราคาหุ้นเลย พฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การลงทุนแบบเน้นคุณค่า แต่เป็นพฤติกรรมการเก็งกำไรล้วน ๆ เพราะการแตกพาร์กับการแจกวอแรนต์ให้ผู้ถือหุ้นเดิมนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ตัวธุรกิจ แต่เรื่องนี้ก็คงเป็น บาป ที่ไม่รุนแรงนัก
พฤติกรรมการซื้อขายหุ้นเป็นประจำเช่น ซื้อขายเกือบทุกวันหรือเกือบทุกสัปดาห์ แม้ว่าหุ้นที่ซื้อขายจะเน้นไปที่หุ้น Value ก็เป็นพฤติกรรม นอกรีต เพราะการซื้อแล้วขายภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น ผลกำไร-ขาดทุนจะมาจากความผันผวนของราคาหุ้นมากกว่าที่จะมาจากพื้นฐานของกิจการซึ่งเป็นหลักในการลงทุนของ Value Investment แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การซื้อ ๆ ขาย ๆ มากขนาดนั้นจะทำให้ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นมากเสียจนผลตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนไม่เพียงพอที่จะมาชดเชยได้ ดังนั้นคนที่ทำเป็นประจำในที่สุดก็จะขาดทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักลงทุนที่ไม่กล้าซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเป็น 100 บาทขึ้นไป แต่ชอบซื้อหุ้นราคา 2 3 บาทเพราะคิดว่าเป็นหุ้นที่มีราคาถูกและราคาจะไม่ตกลงมามากนั้นคงจะเป็น Value Investor ได้ยาก เพราะแสดงให้เห็นว่ายังไม่เข้าใจความหมายของความถูกความแพงของหุ้นซึ่งต้องวัดด้วยค่า PE ค่า PB และอื่น ๆ ไม่ใช่ราคาหุ้นที่ซื้อขายกัน การไม่รู้ว่าอะไรคือความถูกหรือแพงนั้นถือว่าเป็นเรื่องของความไม่รู้ที่ร้ายแรงมาก เพราะในหลักการของ Value Investment นั้น หุ้นอะไรก็ไม่น่าซื้อ ถ้าราคาไม่จูงใจ ดังนั้นคนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องความถูกความแพงของหุ้น คงไม่สามารถเป็น Value Investor ได้
นักลงทุนหลายคนมองหาหุ้นถูกที่มีค่า PE ต่ำ PB ต่ำ เป็นกิจการที่ดูแล้วดีพอใช้ มีการจ่ายปันผลดี เขาก็ซื้อหุ้น และคิดว่าเขาทำตามหลักการของ Value Investment แต่ซื้อแล้วหุ้นก็ไม่ไปไหนเป็นเวลานาน บางตัวกลับขาดทุนทั้ง ๆ ที่ตลาดหุ้นก็กำลังปรับตัวขึ้น เขาค้นหาเหตุผลก็พบว่ากำไรของบริษัทลดลง รายได้ก็ไม่ประทับใจ แบบนี้จะเรียกว่าเขาเป็น Value Investor ไหม?
ความเห็นผมก็คือ เขาน่าจะเป็น Value Investor ได้ ปัญหาของเขาก็คือเขาอาจจะศึกษาและเข้าใจธุรกิจที่ลงทุนไม่ลึกซึ้งพอ ประสบการณ์ของเขาอาจจะน้อยเกินไป เขาอาจจะวิเคราะห์ผิด แต่สิ่งสำคัญก็คือเขามีความคิด จิตใจ และวิธีการลงทุนที่ยึดแนว Value Investment การขาดทุนหรือกำไรเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดไม่ใช่สาระสำคัญ
บททดสอบของการเป็น Value Investor นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนแต่เป็นเรื่องที่อยู่ในใจซึ่งสะท้อนออกมาทางพฤติกรรมในการลงทุนซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็น Value Investment แม้ว่า Value Investor ส่วนใหญ่ก็ยังเล่นเก็งกำไรอยู่ บ่อยครั้งก็ หลับหู หลับตา ซื้อขายหุ้น เรื่องของการ ผิดศีล หรือ ทำบาป นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นพฤติกรรมหลักที่เกิดขึ้นมากมาย และที่สำคัญก็คือ เขารู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
:lol: :lol: :lol: :lol:
พอดีผมเซฟบทความของดร.นิเวศน์ไว้ และมีประเด็นที่เพื่อนๆกำลังพูดคุยกันอยู่พอดี ลองอ่านดูนะครับ
บททดสอบ VI
นักลงทุนหลายคนในตลาดหลักทรัพย์ชอบพูดว่าตนเองไม่ใช่ Value Investor แต่ทุกครั้งที่จะซื้อหุ้นเขาจะวิเคราะห์เจาะลึกดูว่ากิจการทำธุรกิจอะไร กำไรดีไหม ราคาหุ้นสูงหรือต่ำ เหตุผลในการซื้อหุ้นคืออะไร ที่สำคัญหุ้นที่ซื้อส่วนมากมีราคาค่อนข้างต่ำวัดโดยค่า PE และ PB ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมหรือค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ค่า DP หรือปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเองก็สูงกว่าปกติ ถ้าเป็นแบบนี้เขาก็คือ Value Investor คนหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม คนที่บอกว่าอยากเป็น Value Investor แต่เวลาซื้อหุ้นกลับไม่รู้ว่าหุ้นมีค่า PE และ PB เท่าไร และราคาที่ซื้อนั้นถูกหรือแพงแค่ไหน รู้เพียงแต่ว่าเป็นหุ้นที่กำลังวิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง คนกำลังกล่าวขวัญถึง โบรกเกอร์กำลังแนะนำ และเขาเองก็ คิดว่า หุ้นที่ซื้อเป็นของบริษัทที่ดี ถ้าเป็นแบบนี้อย่าเพิ่งเรียกว่าเขาเป็น Value Investor
การกระทำ หรือ พฤติกรรมส่วนใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นสิ่งแบ่งแยกว่าใครเป็น Value Investor หรือใครไม่ใช่ คำว่าส่วนใหญ่นั้นผมคิดว่าน่าจะไม่น้อยกว่า 70% - 80% ของการซื้อขายหุ้นจะต้องอิงอยู่กับหลักการของ Value Investment ถึงจะบอกได้ว่าเขาเป็น Value Investor แต่ถ้าการซื้อขายส่วนมากไม่สอดคล้องกับหัวใจของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าแล้ว ไม่ว่าจะพูดอย่างไรเขาก็ไม่ใช่ Value Investor
พฤติกรรมที่ขัดแย้งกับการลงทุนแบบ Value Investment อย่างเด่นชัดที่ผมอยากชี้ให้เห็นมีหลายเรื่อง และคนที่ทำอย่างนั้นมาก ๆ และทำเป็นนิจสินก็คงไม่ใช่ Value Investor เริ่มตั้งแต่การซื้อขายหุ้นแบบ Net Settlement หรือการซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้หุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน เพราะการทำแบบนี้เป็นเรื่องของการเก็งกำไรล้วน ๆ จากการขึ้นลงของราคาหุ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของกิจการน้อยมาก
ถ้าการลงทุนแบบ Value Investment เป็นลัทธิศาสนาหนึ่ง การเล่นแบบ Net Settlement ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการทำผิดศีลข้อที่หนึ่ง ซึ่งเป็นบาปขั้นรุนแรงที่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง
การลงทุนในหุ้นที่ร้อนแรงเนื่องจากการ ปั่น หรือการเก็งกำไรอย่าง ไร้เหตุผล เช่นการซื้อหุ้นของบริษัทที่มีค่า PE สูงเป็น 70 80 เท่า ค่า PB เป็น 10 เท่า และมูลค่าของกิจการสูงเป็นหมื่นล้านบาทโดยที่บริษัทมิได้มีสถานะที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งขันหรือมีอำนาจผูกขาดในธุรกิจที่กำลังเติบโตเร็วมาก แบบนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่แย้งกับ Value Investment และก็น่าจะถือเป็นบาปที่หนักหนาอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าได้ยินข่าวลือว่าจะมีการแตกพาร์หรือมีการแจกวอแรนต์ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมแล้ว คุณเข้าไปซื้อหุ้นโดยไม่ได้ดูคุณภาพหรือราคาหุ้นเลย พฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การลงทุนแบบเน้นคุณค่า แต่เป็นพฤติกรรมการเก็งกำไรล้วน ๆ เพราะการแตกพาร์กับการแจกวอแรนต์ให้ผู้ถือหุ้นเดิมนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ตัวธุรกิจ แต่เรื่องนี้ก็คงเป็น บาป ที่ไม่รุนแรงนัก
พฤติกรรมการซื้อขายหุ้นเป็นประจำเช่น ซื้อขายเกือบทุกวันหรือเกือบทุกสัปดาห์ แม้ว่าหุ้นที่ซื้อขายจะเน้นไปที่หุ้น Value ก็เป็นพฤติกรรม นอกรีต เพราะการซื้อแล้วขายภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น ผลกำไร-ขาดทุนจะมาจากความผันผวนของราคาหุ้นมากกว่าที่จะมาจากพื้นฐานของกิจการซึ่งเป็นหลักในการลงทุนของ Value Investment แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การซื้อ ๆ ขาย ๆ มากขนาดนั้นจะทำให้ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นมากเสียจนผลตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนไม่เพียงพอที่จะมาชดเชยได้ ดังนั้นคนที่ทำเป็นประจำในที่สุดก็จะขาดทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักลงทุนที่ไม่กล้าซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเป็น 100 บาทขึ้นไป แต่ชอบซื้อหุ้นราคา 2 3 บาทเพราะคิดว่าเป็นหุ้นที่มีราคาถูกและราคาจะไม่ตกลงมามากนั้นคงจะเป็น Value Investor ได้ยาก เพราะแสดงให้เห็นว่ายังไม่เข้าใจความหมายของความถูกความแพงของหุ้นซึ่งต้องวัดด้วยค่า PE ค่า PB และอื่น ๆ ไม่ใช่ราคาหุ้นที่ซื้อขายกัน การไม่รู้ว่าอะไรคือความถูกหรือแพงนั้นถือว่าเป็นเรื่องของความไม่รู้ที่ร้ายแรงมาก เพราะในหลักการของ Value Investment นั้น หุ้นอะไรก็ไม่น่าซื้อ ถ้าราคาไม่จูงใจ ดังนั้นคนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องความถูกความแพงของหุ้น คงไม่สามารถเป็น Value Investor ได้
นักลงทุนหลายคนมองหาหุ้นถูกที่มีค่า PE ต่ำ PB ต่ำ เป็นกิจการที่ดูแล้วดีพอใช้ มีการจ่ายปันผลดี เขาก็ซื้อหุ้น และคิดว่าเขาทำตามหลักการของ Value Investment แต่ซื้อแล้วหุ้นก็ไม่ไปไหนเป็นเวลานาน บางตัวกลับขาดทุนทั้ง ๆ ที่ตลาดหุ้นก็กำลังปรับตัวขึ้น เขาค้นหาเหตุผลก็พบว่ากำไรของบริษัทลดลง รายได้ก็ไม่ประทับใจ แบบนี้จะเรียกว่าเขาเป็น Value Investor ไหม?
ความเห็นผมก็คือ เขาน่าจะเป็น Value Investor ได้ ปัญหาของเขาก็คือเขาอาจจะศึกษาและเข้าใจธุรกิจที่ลงทุนไม่ลึกซึ้งพอ ประสบการณ์ของเขาอาจจะน้อยเกินไป เขาอาจจะวิเคราะห์ผิด แต่สิ่งสำคัญก็คือเขามีความคิด จิตใจ และวิธีการลงทุนที่ยึดแนว Value Investment การขาดทุนหรือกำไรเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดไม่ใช่สาระสำคัญ
บททดสอบของการเป็น Value Investor นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนแต่เป็นเรื่องที่อยู่ในใจซึ่งสะท้อนออกมาทางพฤติกรรมในการลงทุนซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็น Value Investment แม้ว่า Value Investor ส่วนใหญ่ก็ยังเล่นเก็งกำไรอยู่ บ่อยครั้งก็ หลับหู หลับตา ซื้อขายหุ้น เรื่องของการ ผิดศีล หรือ ทำบาป นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นพฤติกรรมหลักที่เกิดขึ้นมากมาย และที่สำคัญก็คือ เขารู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
:lol: :lol: :lol: :lol:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 21
แวะเข้ามาอุดหนุนเรตติ้งคุณหมู
ก่อนจะไปเดินศูนย์สิริกิต
เท่าที่ผมจำได้
น่าจะเป็นกระทู้แรกของคุณหมู
สำหรับเรื่องแสตมป์พระยอดขุนพล
ผมถามจากพนักงานฝ่ายขายแสตมป์ที่ ปณ.สำเหร่
คงต้องรอปลายเดือนหน้าครับ
ก่อนจะไปเดินศูนย์สิริกิต
เท่าที่ผมจำได้
น่าจะเป็นกระทู้แรกของคุณหมู
สำหรับเรื่องแสตมป์พระยอดขุนพล
ผมถามจากพนักงานฝ่ายขายแสตมป์ที่ ปณ.สำเหร่
คงต้องรอปลายเดือนหน้าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 23
สิ่งที่สำคัญในการลงทุนแนว VI คือการซื้อลงทุนเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าของบริษัท
ดังนั้นสิ่งที่ควรจะห้าม แต่หลายคนก็ยังคงทำคือ
การลงทุนโดยไม่ได้คำนวณมูลค่าของบริษัท
ถ้าเราไม่รู้มูลค่าของบริษัท แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ราคาไหนควรจะลงทุน ราคาไหนควรที่จะขาย อย่าหลงไปกับชื่อเสียงและภาพพจน์ที่สวยงามของบริษัทครับ
ดังนั้นสิ่งที่ควรจะห้าม แต่หลายคนก็ยังคงทำคือ
การลงทุนโดยไม่ได้คำนวณมูลค่าของบริษัท
ถ้าเราไม่รู้มูลค่าของบริษัท แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ราคาไหนควรจะลงทุน ราคาไหนควรที่จะขาย อย่าหลงไปกับชื่อเสียงและภาพพจน์ที่สวยงามของบริษัทครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- moo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1150
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 24
ขอบพระคุณเฮียคลายเครียดมากครับ
อื่ม..แล้วเฮียจะไม่แนะนำอะำไรเพิ่มเติมบ้างเหรอครับ
ชอบที่คุณเต่าหยวนเปียวโพสไว้ที่ห้องพันทิพครับว่า
วิ ไม่ใช่แค่ตัวหุ้น สำคัญคือ ใจต้อง วิ ด้วย
เชื่อว่านี่คือหัวใจการลงทุนครับ
มันยากตรงที่การคำนวณนี่ละครับ
อื่ม..แล้วเฮียจะไม่แนะนำอะำไรเพิ่มเติมบ้างเหรอครับ
อิ อิ แล้วถ้าขาดทุน ทำไงละครับพี่ CK1. ห้ามขาดทุน
2. ห้ามลืมข้อหนึ่ง
ทำทุกข้อเลยครับเฮียปรัชญาข้อ 1. ห้ามหมดเงิน ไว้ซื้อหุ้น
ข้อ 2. ห้ามโกหกตัวเอง โกหกคนอื่นไม่เป็นไร(เพื่อเอาตัวรอด)
ข้อ 3. ลุงบัฟมีหลักการง่ายเกินไป มีคนรู้ทัน (เลยต้องหาหลักการลุงลินซ์ มันลึกลับดี)
ข้อ 4. ซื้อหุ้น ขายหุ้น ขาดทุนห้ามบอกเมีย (กำไรตลอดได้ไง ว๊ะ 555)
ข้อ 5. ห้ามออกอาการให้เจ้ามือ เอ๊ย รายใหญ่รู้ ว่าเราติดหุ้น(อยู่ดอย)
อีกหลายๆข้อ ตามแต่เหตุการณ์บังคับ ให้หาเหตุผลมาปลอบใจตัวเองและบุคคลรอบข้าง
ชอบที่คุณเต่าหยวนเปียวโพสไว้ที่ห้องพันทิพครับว่า
วิ ไม่ใช่แค่ตัวหุ้น สำคัญคือ ใจต้อง วิ ด้วย
ขอบพระคุณพี่ฉัตรชัยมากครับดังนั้นสิ่งที่ควรจะห้าม แต่หลายคนก็ยังคงทำคือ
การลงทุนโดยไม่ได้คำนวณมูลค่าของบริษัท
เชื่อว่านี่คือหัวใจการลงทุนครับ
มันยากตรงที่การคำนวณนี่ละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ข้อห้าม สำหรับ VI
โพสต์ที่ 28
ห้ามใช้ข้อมูลภายในด้วยหรือเปล่า? ผมก็ศีลขาดไปแล้วละ
I do not sleep. I dream.