กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 1
กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
วันนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูถึงกฎ 72 กฎข้อนี้บอกว่า ถ้าเราเอาเงินก้อนหนึ่งไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเป็น x% ต่อปีทบต้น เราจะใช้เวลาทั้งหมดเท่ากับ 72/x ปี ในการที่จะทำให้เงินที่เราลงไปนั้นโตเป็นสองเท่า เช่น
ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยทบต้น 2% ต่อปี (ประมาณจากดอกเบี้ยเงินฝากประจำตอนนี้) เงินทุนเราจะเป็นสองเท่าก็หลังจากที่เวลาผ่านไปเท่ากับ 72/2 = 36 ปี
แต่สมมติเราเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ย 6% ต่อปี เงินลงทุนของเราจะเป็นสองเท่าเมื่อเวลาผ่านไปเท่ากับ 72/6 = 12 ปี
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าแค่เราเพิ่มผลตอบแทนให้ได้จาก 2% เป็น 6% (หรือเพิ่มขึ้น 4%) ต่อปี เราก็สามารถย่นระยะเวลาในการทำให้เงินลงทุนโตขึ้นสองเท่าได้ถึง 24 ปี (36 – 12 = 24 ปี) ซึ่งถ้าคิดว่าคนเราแก่ตายที่อายุสัก 72 ปี เวลา 24 ปีที่ได้มานั้นมันเท่ากับช่วงเวลา 1 ใน 3 ของชีวิตเลยทีเดียว
กฎนี้ไม่ธรรมดาแฮะ... ผมจึงลองพร็อตกราฟ y = 72/x เมื่อ y เป็นจำนวนปีที่ใช้ในการทำให้เงินลงทุนโตเป็นสองเท่า และ x เป็นเปอร์เซ็นต์ของอัตราผลตอบแทนทบต้นที่เราทำได้ มาลองดูกัน
(หลายคนอาจสงสัยว่ากฎ 72 นี้ใช้คำนวณได้แม่นยำจริงๆ หรือเปล่า ใช่ครับ กฎ 72 นื้เป็นเพียงการประมาณค่า ใช้เพื่อความสะดวกในการคำนวณให้ง่ายขึ้น แต่เมื่อผมลองตรวจสอบดูด้วยการพร็อตกราฟของ y = (log(2)) / (log(1+x/100)) ซึ่งเป็นสูตรที่แท้จริงของการคำนวณ ก็ปรากฎว่ากราฟทั้งสองนั้นใกล้เคียงกันมากจนเราสามารถใช้แทนกันได้)
จากกราฟเส้นสีน้ำเงินจะเห็นว่ายิ่งตัวเปอร์เซ็นต์ของอัตราผลตอบแทนทบต้น (แกนนอน) มากขึ้นเท่าไหร่ ระยะเวลาที่ใช้เพื่อทำให้เงินลงทุนเป็นสองเท่า (แกนตั้ง) ก็จะลดน้อยลงเท่านั้น คือยิ่งเปอร์เซ็นต์เยอะก็ยิ่งเร่งผลตอบแทนได้เร็วขึ้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว แต่เมื่อสังเกตให้ดีๆ จะพบว่าเส้นกราฟนี้มันตกดิ่งลงมาอย่างรุนแรงเฉพาะในช่วงแรก แต่ในตอนท้ายๆ มันจะตกลงในอัตราที่ช้าลงเรื่อยๆ จนแถวๆ ที่อัตราผลตอบแทนประมาณ 20-30% เส้นกราฟนี้ก็เกือบจะเป็นแนวนอนอยู่แล้ว
ทีนี้มาลองดูเส้นประสีแดงกับเจ้าแท่งสีชมพูกันบ้าง (ดูกราฟไปด้วยนะครับ) ตัวเลขที่เขียนในแท่งสีชมพูนั้นหมายถึงจำนวนปีที่เราสามารถเร่งผลตอบแทนในการทำให้เงินเราโตเป็นสองเท่าได้ในแต่ละช่วงของเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทน โดยเริ่มจากที่อัตราผลตอบแทน 2% เพิ่มไปทุกๆ 4% เป็นที่ 6%, 10%, 14%, 18%, และ 22% ซึ่งสรุปได้ดังนี้ครับ
เมื่อเราเพิ่มอัตราผลตอบแทนจาก 2% ไปเป็น 6% เราสามารถลดเวลาในการทำเงินเป็นสองเท่าได้ 24 ปี
จาก 6% ไป 10% ลดได้ 5 ปี
จาก 10% ไป 14% ลดได้ 2 ปี
จาก 14% ไป 18% ลดได้ 1 ปี
และสุดท้ายจาก 18% ไป 22% ลดได้ 0.7 ปี
ถามว่าทำไมถึงหยุดที่ 22% ครับ ก็เพราะว่าค่านี้เป็นสถิติโลกนั่นเอง ซึ่งคนที่สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นได้ขนาดนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั่นเอง
ทีนี้มันหมายความว่ายังไง ? มันแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มอัตราผลตอบแทนในช่วงเปอร์เซ็นต์ต่ำๆ (ที่เราสามารถทำได้ง่าย) จะเร่งผลตอบแทนหรือลดระยะเวลาได้มาก ในขณะที่การฝืนเพิ่มอัตราผลตอบแทนในช่วงเปอร์เซ็นต์สูงๆ (ซึ่งเราทำได้ยาก) จะไม่ค่อยมีผลต่อการเร่งผลตอบแทนในรูปของการลดระยะเวลาได้อีกสักเท่าไหร่
ยกตัวอย่างนะครับ คนที่เคยฝากประจำอย่างเดียวที่เคยได้ 2% อยู่แล้วสามารถทำให้ผลตอบแทนตัวเองเพิ่มเป็น 6% ได้ไม่ยากและไม่เสี่ยงมาก เช่นเอาไปซื้อทอง ซื้อหุ้นกู้ แล้วทำให้ลดเวลาในการเร่งผลตอบแทนได้ถึง 24 ปี ในขณะที่คนที่เคยเล่นหุ้นได้อยู่ 18% ต่อปี จะเป็นเรื่องที่ยากและเสี่ยงขึ้นอย่างมากถ้าเขาพยายามจะทำให้มันเป็น 22% เพียงเพื่อที่จะเร่งผลตอบแทนให้เร็วขึ้นได้อีกแค่ 0.7 ปี
สังเกตตัวเลข 24 ปี (2% ไป 6%), 5 ปี (6% ไป 10%), 2 ปี (10% ไป 14%), 1 ปี (14% ไป 18%), และ 0.7 ปี (18% ไป 22%) สมมติเราพอใจตัดเอาที่ 10% ต่อปี จะเห็นว่าเราสามารถลดเวลาที่เงินเราจะโตเป็นสองเท่าได้ (มากกว่าการฝากประจำเฉยๆ ที่ 2%) เท่ากับ 24 + 5 = 29 ปี ในขณะที่ถ้าเราจะเอาให้เท่าสถิติโลกหรือที่ 22% เราจะลดเวลาได้เท่ากับ 24 + 5 + 2 + 1 + 0.7 = 32.7 ปี ซึ่ง 32.7 ปี กับ 29 ปี นั้นต่างกันไม่ถึง 4 ปี หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เราก็ห่างจากสถิติโลกแค่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
ผมถึงบางอ้อก็ตรงนี้ครับ เมื่อก่อนเคยคิดว่าการเล่นหุ้นทำไม่เราไม่ตั้งไว้สัก 40-50% ต่อปี นั่นบ้าไปแล้วครับ มันเหมือนกับการที่เราไปท้า ยูเซน โบลต์ (Usain Bolt – เจ้าของสถิติโลกวิ่ง 100 เมตร ที่ 9.58 วินาที) ให้มาวิ่งแข่งกับเรา แล้วบอกเขาว่า “โบลต์... ผมว่าผมวิ่งเร็วกว่าคุณ 5 วิ ไม่เชื่อมาพนันกันมั้ย!”
ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า “แรงที่มีกำลังมากที่สุดในโลก คือ ดอกเบี้ยทบต้น” (Compound interest is the most powerful force on Earth.) คำกล่าวนี้เป็นความจริงไม่เกินเลย แต่มันก็แฝงไปด้วยหลักธรรม...
ตัวเลข 2% ของการไม่ทำอะไรนอกจากการฝากเงินไว้เฉยๆ กับตัวเลข 22% ของนักลงทุนอันดับหนึ่งของโลกนั้น ค่าตรงกลางของมันก็อยู่แถวๆ 10% กว่าๆ นี่เอง ซึ่งการที่เราพอใจที่ 10% นั้นแม้ว่าเราจะแพ้ที่หนึ่งอยู่ 4 ปี แต่มันก็ทำให้เราชนะที่สุดท้ายได้ถึง 29 ปี คนที่ยังได้ 2% อยู่จึงควรพยายามทำให้ได้ 10% (หรือสัก 6% ก่อนก็ยังดี) ส่วนคนที่ได้เกิน 10% ไปแล้ว แค่รักษาผลตอบแทนขนาดนั้นเอาไว้อย่างสม่ำเสมอก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว การพยายามวิ่งไล่ 22% นอกจากจะเป็นเรื่องที่ยากและเสี่ยงแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้รับกลับมาอาจไม่คุ้มค่าแรงนัก
หลักธรรมที่ว่านั้นคืออะไรครับ... ใช่แล้ว! มันคือ “ทางสายกลาง” นั่นเอง ระหว่างการที่เราไม่ทำอะไรเลยกับการที่เราดิ้นรนมันเต็มที่ ของที่ดีและเหมาะสมที่สุดกลับมาอยู่ตรงกลาง ข้อคิดนี้ทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องวิ่งให้เร็วเท่า ยูเซน โบลต์ ก็ได้ เพราะตราบใดที่เราตื่นเช้าสักหน่อย เราก็ไปทำงานทัน (อิอิ...เกี่ยวกันมั้ยเนี่ย) กฎของ 72 บอกผมอยู่อย่างหนึ่งว่า “ในชีวิตจริงคุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้”
http://achikochi1234.blogspot.com/2011/09/72-1.html
วันนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูถึงกฎ 72 กฎข้อนี้บอกว่า ถ้าเราเอาเงินก้อนหนึ่งไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเป็น x% ต่อปีทบต้น เราจะใช้เวลาทั้งหมดเท่ากับ 72/x ปี ในการที่จะทำให้เงินที่เราลงไปนั้นโตเป็นสองเท่า เช่น
ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยทบต้น 2% ต่อปี (ประมาณจากดอกเบี้ยเงินฝากประจำตอนนี้) เงินทุนเราจะเป็นสองเท่าก็หลังจากที่เวลาผ่านไปเท่ากับ 72/2 = 36 ปี
แต่สมมติเราเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ย 6% ต่อปี เงินลงทุนของเราจะเป็นสองเท่าเมื่อเวลาผ่านไปเท่ากับ 72/6 = 12 ปี
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่าแค่เราเพิ่มผลตอบแทนให้ได้จาก 2% เป็น 6% (หรือเพิ่มขึ้น 4%) ต่อปี เราก็สามารถย่นระยะเวลาในการทำให้เงินลงทุนโตขึ้นสองเท่าได้ถึง 24 ปี (36 – 12 = 24 ปี) ซึ่งถ้าคิดว่าคนเราแก่ตายที่อายุสัก 72 ปี เวลา 24 ปีที่ได้มานั้นมันเท่ากับช่วงเวลา 1 ใน 3 ของชีวิตเลยทีเดียว
กฎนี้ไม่ธรรมดาแฮะ... ผมจึงลองพร็อตกราฟ y = 72/x เมื่อ y เป็นจำนวนปีที่ใช้ในการทำให้เงินลงทุนโตเป็นสองเท่า และ x เป็นเปอร์เซ็นต์ของอัตราผลตอบแทนทบต้นที่เราทำได้ มาลองดูกัน
(หลายคนอาจสงสัยว่ากฎ 72 นี้ใช้คำนวณได้แม่นยำจริงๆ หรือเปล่า ใช่ครับ กฎ 72 นื้เป็นเพียงการประมาณค่า ใช้เพื่อความสะดวกในการคำนวณให้ง่ายขึ้น แต่เมื่อผมลองตรวจสอบดูด้วยการพร็อตกราฟของ y = (log(2)) / (log(1+x/100)) ซึ่งเป็นสูตรที่แท้จริงของการคำนวณ ก็ปรากฎว่ากราฟทั้งสองนั้นใกล้เคียงกันมากจนเราสามารถใช้แทนกันได้)
จากกราฟเส้นสีน้ำเงินจะเห็นว่ายิ่งตัวเปอร์เซ็นต์ของอัตราผลตอบแทนทบต้น (แกนนอน) มากขึ้นเท่าไหร่ ระยะเวลาที่ใช้เพื่อทำให้เงินลงทุนเป็นสองเท่า (แกนตั้ง) ก็จะลดน้อยลงเท่านั้น คือยิ่งเปอร์เซ็นต์เยอะก็ยิ่งเร่งผลตอบแทนได้เร็วขึ้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว แต่เมื่อสังเกตให้ดีๆ จะพบว่าเส้นกราฟนี้มันตกดิ่งลงมาอย่างรุนแรงเฉพาะในช่วงแรก แต่ในตอนท้ายๆ มันจะตกลงในอัตราที่ช้าลงเรื่อยๆ จนแถวๆ ที่อัตราผลตอบแทนประมาณ 20-30% เส้นกราฟนี้ก็เกือบจะเป็นแนวนอนอยู่แล้ว
ทีนี้มาลองดูเส้นประสีแดงกับเจ้าแท่งสีชมพูกันบ้าง (ดูกราฟไปด้วยนะครับ) ตัวเลขที่เขียนในแท่งสีชมพูนั้นหมายถึงจำนวนปีที่เราสามารถเร่งผลตอบแทนในการทำให้เงินเราโตเป็นสองเท่าได้ในแต่ละช่วงของเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทน โดยเริ่มจากที่อัตราผลตอบแทน 2% เพิ่มไปทุกๆ 4% เป็นที่ 6%, 10%, 14%, 18%, และ 22% ซึ่งสรุปได้ดังนี้ครับ
เมื่อเราเพิ่มอัตราผลตอบแทนจาก 2% ไปเป็น 6% เราสามารถลดเวลาในการทำเงินเป็นสองเท่าได้ 24 ปี
จาก 6% ไป 10% ลดได้ 5 ปี
จาก 10% ไป 14% ลดได้ 2 ปี
จาก 14% ไป 18% ลดได้ 1 ปี
และสุดท้ายจาก 18% ไป 22% ลดได้ 0.7 ปี
ถามว่าทำไมถึงหยุดที่ 22% ครับ ก็เพราะว่าค่านี้เป็นสถิติโลกนั่นเอง ซึ่งคนที่สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นได้ขนาดนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั่นเอง
ทีนี้มันหมายความว่ายังไง ? มันแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มอัตราผลตอบแทนในช่วงเปอร์เซ็นต์ต่ำๆ (ที่เราสามารถทำได้ง่าย) จะเร่งผลตอบแทนหรือลดระยะเวลาได้มาก ในขณะที่การฝืนเพิ่มอัตราผลตอบแทนในช่วงเปอร์เซ็นต์สูงๆ (ซึ่งเราทำได้ยาก) จะไม่ค่อยมีผลต่อการเร่งผลตอบแทนในรูปของการลดระยะเวลาได้อีกสักเท่าไหร่
ยกตัวอย่างนะครับ คนที่เคยฝากประจำอย่างเดียวที่เคยได้ 2% อยู่แล้วสามารถทำให้ผลตอบแทนตัวเองเพิ่มเป็น 6% ได้ไม่ยากและไม่เสี่ยงมาก เช่นเอาไปซื้อทอง ซื้อหุ้นกู้ แล้วทำให้ลดเวลาในการเร่งผลตอบแทนได้ถึง 24 ปี ในขณะที่คนที่เคยเล่นหุ้นได้อยู่ 18% ต่อปี จะเป็นเรื่องที่ยากและเสี่ยงขึ้นอย่างมากถ้าเขาพยายามจะทำให้มันเป็น 22% เพียงเพื่อที่จะเร่งผลตอบแทนให้เร็วขึ้นได้อีกแค่ 0.7 ปี
สังเกตตัวเลข 24 ปี (2% ไป 6%), 5 ปี (6% ไป 10%), 2 ปี (10% ไป 14%), 1 ปี (14% ไป 18%), และ 0.7 ปี (18% ไป 22%) สมมติเราพอใจตัดเอาที่ 10% ต่อปี จะเห็นว่าเราสามารถลดเวลาที่เงินเราจะโตเป็นสองเท่าได้ (มากกว่าการฝากประจำเฉยๆ ที่ 2%) เท่ากับ 24 + 5 = 29 ปี ในขณะที่ถ้าเราจะเอาให้เท่าสถิติโลกหรือที่ 22% เราจะลดเวลาได้เท่ากับ 24 + 5 + 2 + 1 + 0.7 = 32.7 ปี ซึ่ง 32.7 ปี กับ 29 ปี นั้นต่างกันไม่ถึง 4 ปี หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เราก็ห่างจากสถิติโลกแค่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
ผมถึงบางอ้อก็ตรงนี้ครับ เมื่อก่อนเคยคิดว่าการเล่นหุ้นทำไม่เราไม่ตั้งไว้สัก 40-50% ต่อปี นั่นบ้าไปแล้วครับ มันเหมือนกับการที่เราไปท้า ยูเซน โบลต์ (Usain Bolt – เจ้าของสถิติโลกวิ่ง 100 เมตร ที่ 9.58 วินาที) ให้มาวิ่งแข่งกับเรา แล้วบอกเขาว่า “โบลต์... ผมว่าผมวิ่งเร็วกว่าคุณ 5 วิ ไม่เชื่อมาพนันกันมั้ย!”
ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า “แรงที่มีกำลังมากที่สุดในโลก คือ ดอกเบี้ยทบต้น” (Compound interest is the most powerful force on Earth.) คำกล่าวนี้เป็นความจริงไม่เกินเลย แต่มันก็แฝงไปด้วยหลักธรรม...
ตัวเลข 2% ของการไม่ทำอะไรนอกจากการฝากเงินไว้เฉยๆ กับตัวเลข 22% ของนักลงทุนอันดับหนึ่งของโลกนั้น ค่าตรงกลางของมันก็อยู่แถวๆ 10% กว่าๆ นี่เอง ซึ่งการที่เราพอใจที่ 10% นั้นแม้ว่าเราจะแพ้ที่หนึ่งอยู่ 4 ปี แต่มันก็ทำให้เราชนะที่สุดท้ายได้ถึง 29 ปี คนที่ยังได้ 2% อยู่จึงควรพยายามทำให้ได้ 10% (หรือสัก 6% ก่อนก็ยังดี) ส่วนคนที่ได้เกิน 10% ไปแล้ว แค่รักษาผลตอบแทนขนาดนั้นเอาไว้อย่างสม่ำเสมอก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว การพยายามวิ่งไล่ 22% นอกจากจะเป็นเรื่องที่ยากและเสี่ยงแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้รับกลับมาอาจไม่คุ้มค่าแรงนัก
หลักธรรมที่ว่านั้นคืออะไรครับ... ใช่แล้ว! มันคือ “ทางสายกลาง” นั่นเอง ระหว่างการที่เราไม่ทำอะไรเลยกับการที่เราดิ้นรนมันเต็มที่ ของที่ดีและเหมาะสมที่สุดกลับมาอยู่ตรงกลาง ข้อคิดนี้ทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องวิ่งให้เร็วเท่า ยูเซน โบลต์ ก็ได้ เพราะตราบใดที่เราตื่นเช้าสักหน่อย เราก็ไปทำงานทัน (อิอิ...เกี่ยวกันมั้ยเนี่ย) กฎของ 72 บอกผมอยู่อย่างหนึ่งว่า “ในชีวิตจริงคุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้”
http://achikochi1234.blogspot.com/2011/09/72-1.html
You are never better than anyone. The only one you must compare yourself with is You.
http://achikochi1234.blogspot.com/
http://achikochi1234.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1317
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 2
เตือนสติได้ดีทีเดียวครับสำหรับคนที่กำลังโลภ(เช่นตัวผมเอง) หรือท่านอื่นๆกำลังกลัว???
บางทีที่ผลตอบแทนเราดี เราก็อยากให้มันได้ดีกว่า ก็เป็นทุกข์
บางทีผลตอบแทนเราปกติ เราก็รู้สึกว่ามันน้อย คนอื่นเขาไปไหนแล้ว ก็เป็นทุกข์
บางทีผลตอนแทนเราแย่ เราก็นึกโทษนั่นโทษนี่ ก็เป็นทุกข์
ใจความน่าจะอยู่ที่ความพอเพียงมากกว่า เฉลี่ย 10% ในการลงทุนในหุ้น ผมว่าทุกคนทำได้ถ้าใจเป็นกลางพอ สาธุ
บางทีที่ผลตอบแทนเราดี เราก็อยากให้มันได้ดีกว่า ก็เป็นทุกข์
บางทีผลตอบแทนเราปกติ เราก็รู้สึกว่ามันน้อย คนอื่นเขาไปไหนแล้ว ก็เป็นทุกข์
บางทีผลตอนแทนเราแย่ เราก็นึกโทษนั่นโทษนี่ ก็เป็นทุกข์
ใจความน่าจะอยู่ที่ความพอเพียงมากกว่า เฉลี่ย 10% ในการลงทุนในหุ้น ผมว่าทุกคนทำได้ถ้าใจเป็นกลางพอ สาธุ
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 3
การเร่งผมตอบแทนมากๆ บางทีมันทำให้เราเครียดกับการลงทุน มันอาจทำให้เราเสียสุขภาพ
สุขภาพผมรวมอยู่ในพอร์ตการลงทุนด้วย บางทีได้ผลตอบแทนมากๆแลกกับที่เราต้องเครียด
สุขภาพจิตเสีย สุดท้ายต้องมาถามตัวเองว่าหาเงินมาเพื่ออะไรถ้าไม่ใช่ความสุข
ผมว่าเวลาลงทุนให้ชั่งน้ำหนัก พอร์ตเงิน พอร์ตสุขภาพ เอาแบบไม่ให้เราเครียดหรือกังวลในพอร์ตเงิน มากเกินไปให้มีความพอดี
พอร์ตเงินโต พอร์ตสุขภาพโต แล้วการลงทุนจะมีความสุขมากเลยครับ
สุขภาพผมรวมอยู่ในพอร์ตการลงทุนด้วย บางทีได้ผลตอบแทนมากๆแลกกับที่เราต้องเครียด
สุขภาพจิตเสีย สุดท้ายต้องมาถามตัวเองว่าหาเงินมาเพื่ออะไรถ้าไม่ใช่ความสุข
ผมว่าเวลาลงทุนให้ชั่งน้ำหนัก พอร์ตเงิน พอร์ตสุขภาพ เอาแบบไม่ให้เราเครียดหรือกังวลในพอร์ตเงิน มากเกินไปให้มีความพอดี
พอร์ตเงินโต พอร์ตสุขภาพโต แล้วการลงทุนจะมีความสุขมากเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณมาก ๆ ครับ
เป็นกระทู้ที่ให้คำแนะนำที่ดีทีเดียวครับ ในการคำนวณหาผลตอบแทน
บวก 1 ให้ครับ
เป็นกระทู้ที่ให้คำแนะนำที่ดีทีเดียวครับ ในการคำนวณหาผลตอบแทน
บวก 1 ให้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 6
เยี่ยมยอดเลยครับ Y = P (1+x/100)^n เมื่อ Y = จำนวนเงินรวมที่ได้จากเงินต้นที่ลงทุน P และผลตอบแทนที่ได้ x % ในเวลา n ปี จากนั้น ทำการ take log ก็จะทำให้ได้
n = log(Y/P)/log(1+x/100) ซึ่งการได้ 2 เท่าก็หมายถึง Y = 2P หรือ Y/P = 2 นั่นคือที่มาของสูตรข้างต้นครับ เผื่อจะมีใครลองไปเล่นกับมันต่อ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับที่คอยเตือนสติ ผมเองก็ลืมนึกถึงประเด็นนี้ไปว่าการเพิ่มผลตอบแทนให้ได้มากๆเกิน 22% มันก็ไม่ได้ significant ในเชิงของจำนวนปีที่สามารถทำให้เงินเป็น 2 เท่าได้เมื่อเทียบกับ 10-15% เยี่ยมมากครับ ให้ +1111111-----inf.
n = log(Y/P)/log(1+x/100) ซึ่งการได้ 2 เท่าก็หมายถึง Y = 2P หรือ Y/P = 2 นั่นคือที่มาของสูตรข้างต้นครับ เผื่อจะมีใครลองไปเล่นกับมันต่อ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับที่คอยเตือนสติ ผมเองก็ลืมนึกถึงประเด็นนี้ไปว่าการเพิ่มผลตอบแทนให้ได้มากๆเกิน 22% มันก็ไม่ได้ significant ในเชิงของจำนวนปีที่สามารถทำให้เงินเป็น 2 เท่าได้เมื่อเทียบกับ 10-15% เยี่ยมมากครับ ให้ +1111111-----inf.
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 8
เยี่ยมยอด แต่ผมคิดว่า WB ไม่น่าจะใช่อันดับ 1 ด้านผลตอบแทนนะ
น่าจะมีบางคนได้มากกว่าแต่ระยะเวลาการลงทะนไม่ได้นานแบบ WB เท่านั้น
น่าจะมีบางคนได้มากกว่าแต่ระยะเวลาการลงทะนไม่ได้นานแบบ WB เท่านั้น
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 9
ยอดเยี่ยมมากครับ เตือนสติได้ดีทีเดียว การที่ตั้งเป้าไว้สูงเกินไปอาจทำให้เราผิดพลาดได้ เดินสายกลางแค่ 10-15% ก็ไม่ได้เสียเวลามากมายกว่าที่1มากนัก ช้าแต่มั่นคงน่าจะดีกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณมากครับ เป็นการคิดที่แยบคายจริงๆ เตือนสติว่าเราไม่จำเป็น ต้องทำผลตอบแทนให้มากๆ แต่เพียงอย่างเดียว ถ้าเรามีความพอเพียงและรุ้จักพอ ใช้ชีวิตให้ช้าลงนิดหน่อย (ผลตอบแทนจะน้อยไปบ้าง) แต่เรามีความสุข ก็เพียงพอแล้วครับ
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความสงบเย็น เป็นสุขอย่างยิ่ง
ความสงบเย็น เป็นสุขอย่างยิ่ง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณมากครับ คุณ taratantara
จากการคำนวณนี้ สรุปได้ว่า
การทำกำไรเพิ่มขึ้น จะย่นระยะเวลาในการเพิ่มขึ้นของเงิน 1 เท่าตัว ได้น้อยลง ไปเรื่อยๆ
เพราะตอนแรก กำไรเพิ่ม 4 % ย่นระยะเวลาได้ ตั้ง 5 ปี
แต่ตอนหลังๆ กำไรเพิ่ม 4 % ย่นระยะเวลาได้แค่ .70 ปี
แสดงว่า ต้องเก็บเงินให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มเงินต้นในการลงทุน
และไม่ต้องทำกำไรมากก็ได้ ได้ซัก 10 % - 15 % ก็โอเคแล้ว
ใช่หรือไม่ครับ
จากการคำนวณนี้ สรุปได้ว่า
การทำกำไรเพิ่มขึ้น จะย่นระยะเวลาในการเพิ่มขึ้นของเงิน 1 เท่าตัว ได้น้อยลง ไปเรื่อยๆ
เพราะตอนแรก กำไรเพิ่ม 4 % ย่นระยะเวลาได้ ตั้ง 5 ปี
แต่ตอนหลังๆ กำไรเพิ่ม 4 % ย่นระยะเวลาได้แค่ .70 ปี
แสดงว่า ต้องเก็บเงินให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มเงินต้นในการลงทุน
และไม่ต้องทำกำไรมากก็ได้ ได้ซัก 10 % - 15 % ก็โอเคแล้ว
ใช่หรือไม่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับ ที่แชร์เรื่องนี้ให้ฟัง ความจริงก็พอรู้อยู่แล้ว แต่คราวนี้เข้าใจ+เห็นภาพชัดเจนมาก ๆ เลย
บางทีลงทุนไปนาน ๆ ก็อาจลืมเรื่องที่สำคัญที่สุดไป มัวแต่คิดถึงการพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงที่สุด..สุดท้าย ก็ทางสายกลางนี่เอง คือคำตอบของทุกสิ่ง
บางทีลงทุนไปนาน ๆ ก็อาจลืมเรื่องที่สำคัญที่สุดไป มัวแต่คิดถึงการพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงที่สุด..สุดท้าย ก็ทางสายกลางนี่เอง คือคำตอบของทุกสิ่ง
- << New >>
- Verified User
- โพสต์: 1147
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 15
สงสัยเรื่องกฏ 72 นี้มานานครับ ถามครูไฟแนนซ์หลายๆคน บางคนก็ตอบไม่ได้ บางคนก็บอกว่าเป็นประมาณ เลยลองถามดูเผื่อใครมีคำตอบอื่นหรือป่าว
คือถ้าเอา72มาหารด้วยผลตอบแทนแล้วจะเป็นจำนวนปีที่เงินเบิ้ล
อย่างงั้นแปลว่าถ้าคนนึง ทำได้ 72% เงินก็จะเบิ้ลใน 1 ปี
ถ้าทำได้มากกว่า 72% เงินก็จะเบิ้ลในน้อยกว่า 1 ปี
จริงๆเงินจะเบิ้ลใน 1 ปีได้ก็คือต้องทำผลตอบแทนให้ได้ 100 %
แต่ถ้าได้ 100% เงินก็จะเบิ้ลใน 0.72 ปี ไม่ใช่หนึ่งปีในสูตร
งงๆกันมั้ยครับ
คือถ้าเอา72มาหารด้วยผลตอบแทนแล้วจะเป็นจำนวนปีที่เงินเบิ้ล
อย่างงั้นแปลว่าถ้าคนนึง ทำได้ 72% เงินก็จะเบิ้ลใน 1 ปี
ถ้าทำได้มากกว่า 72% เงินก็จะเบิ้ลในน้อยกว่า 1 ปี
จริงๆเงินจะเบิ้ลใน 1 ปีได้ก็คือต้องทำผลตอบแทนให้ได้ 100 %
แต่ถ้าได้ 100% เงินก็จะเบิ้ลใน 0.72 ปี ไม่ใช่หนึ่งปีในสูตร
งงๆกันมั้ยครับ
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
-
- Verified User
- โพสต์: 872
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 17
เอ่อ
ที่บอกว่าย่นระยะเวลาได้น้อยลงๆ
ลองพิจารณาดูนะครับ
100 --> ไป 50 : โอ้โห ย่นได้ตั้ง 50 ปีแน่ะ
2 --> 1 : อะไรว้า ย่นเวลาได้แค่ปีเดียวเอง
หรือเอาตัวอย่างที่ว่ามาก็ได้
ระหว่าง IRR 10% ต่อปี double time เป็น 7.2 ปี
กับ IRR 22% doublt time เป็น 3.5 ปี
ถามว่าต่างกัน 3.7 ปี จริงมั้ย .. จริง
แต่ relative ลดได้เกินครึ่งนึงเลยนะครับ
เวลาที่นาย 10% ไม่สนใจ บอกว่า"แค่" 3.7 ปี
ในระยะเวลาเดียวกัน(7.2ปี) นาย 22% จะทำผลงานได้มากกว่านาย 10% "ถึง" 2.14 เท่า
ที่บอกว่าย่นระยะเวลาได้น้อยลงๆ
ลองพิจารณาดูนะครับ
100 --> ไป 50 : โอ้โห ย่นได้ตั้ง 50 ปีแน่ะ
2 --> 1 : อะไรว้า ย่นเวลาได้แค่ปีเดียวเอง
หรือเอาตัวอย่างที่ว่ามาก็ได้
ระหว่าง IRR 10% ต่อปี double time เป็น 7.2 ปี
กับ IRR 22% doublt time เป็น 3.5 ปี
ถามว่าต่างกัน 3.7 ปี จริงมั้ย .. จริง
แต่ relative ลดได้เกินครึ่งนึงเลยนะครับ
เวลาที่นาย 10% ไม่สนใจ บอกว่า"แค่" 3.7 ปี
ในระยะเวลาเดียวกัน(7.2ปี) นาย 22% จะทำผลงานได้มากกว่านาย 10% "ถึง" 2.14 เท่า
- nonation
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 19
เคยคุยกับน้อง ๆ ในที่ทำงานว่า เราทำงานก็เพื่อหาเลี้ยงตัวและครอบครัว ถ้าเราทุ่มเทมากเกินไปอยู่ค่ำ อยู่ดึก ตื่นเช้า ทำ ๆ ๆ ๆ ๆ แต่งาน ผลปรากฏว่าสุขภาพจิต สุขภาพกายย่ำแย่ ครอบครัวก็ไม่มีความสุข อาจถึงกับต้องแตกแยก เพียงเพื่อจะทำให้เจ้านาย ( คน - เงิน ) เห็นว่าเราทุ่มเทเพื่อผลตอบแทนที่อาจจะได้มากว่าคนอื่น ( บ้าง ) มันคุ้มกันใหมกับเป้าหมายในการทำงาน แต่ก็ต้องระวังหากเราไม่ตั้งใจทำงานเราก็อาจถุกเจ้านาย ( คน - เงิน ) เฉดหัวออกจากงานได้ จุดสุดท้ายของความพอดีก็คือสายกลาง และ ความพอเพียงอย่างเพียงพอเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 21
ผมชอบเล่นกับตารางดอกเบี้ยทบต้นมากกว่าครับ ว่า ตอนนี้มีเท่านี้ กี่ % กี ปี มีเท่าไหร่
สร้างฝันให้กับตัวเองเล่นๆ ไม่ได้คิดว่าต้องได้เท่าตัวภายในกี่ปี แต่คิดว่า เท่าไหร่พอสำหรับปันผลเลี้ยงชีพ
แล้วจะมีเท่านั้น เมื่อไหร่ และต้องทำอย่างไร
อีกอย่าง ผลตอบแทนไม่แปรผันตามความเครียดครับ
เร่งมากไม่ได้แปลว่าเครียดมากครับ เพราะมันเร่งไม่ได้ และผมว่าไม่ควรเครียดนะ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
เสี่ยงมากไม่ใช่ได้มากครับ แต่ต้องไม่เสี่ยงถึงได้มาก
(คือเรารู้ทุกมุมทุกจุดอย่างชัดเจนแล้ว ราคาห่างจากทีควรจะเป็นสูงมากๆ มันจะไม่เสี่ยงเลย แถมได้มากอีกต่างหาก)
เห็นด้วยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ครับ พอร์ตเรา แข่งกับความอยากของเราแค่นั้นเอง
ลงทุนในหุ้น ทำไปเรื่อยๆครับ เห็นโอกาส และไม่เสี่ยงก็ลงทุนครับ
สร้างฝันให้กับตัวเองเล่นๆ ไม่ได้คิดว่าต้องได้เท่าตัวภายในกี่ปี แต่คิดว่า เท่าไหร่พอสำหรับปันผลเลี้ยงชีพ
แล้วจะมีเท่านั้น เมื่อไหร่ และต้องทำอย่างไร
อีกอย่าง ผลตอบแทนไม่แปรผันตามความเครียดครับ
เร่งมากไม่ได้แปลว่าเครียดมากครับ เพราะมันเร่งไม่ได้ และผมว่าไม่ควรเครียดนะ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
เสี่ยงมากไม่ใช่ได้มากครับ แต่ต้องไม่เสี่ยงถึงได้มาก
(คือเรารู้ทุกมุมทุกจุดอย่างชัดเจนแล้ว ราคาห่างจากทีควรจะเป็นสูงมากๆ มันจะไม่เสี่ยงเลย แถมได้มากอีกต่างหาก)
เห็นด้วยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ครับ พอร์ตเรา แข่งกับความอยากของเราแค่นั้นเอง
ลงทุนในหุ้น ทำไปเรื่อยๆครับ เห็นโอกาส และไม่เสี่ยงก็ลงทุนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 22
ก็ไม่แปลกนะ
การเพิ่มจาก 2% ไป 4% ผลตอบแทนไม่ได้เพิ่ม 2% นิ
มันเพิ่ม 100% ต่างหาก
ดังนั้นมันถึงทุ่นเวลาทบต้นได้เร็วกว่า การเพิ่มจาก 18% ไป 20%
การเพิ่มจาก 2% ไป 4% ผลตอบแทนไม่ได้เพิ่ม 2% นิ
มันเพิ่ม 100% ต่างหาก
ดังนั้นมันถึงทุ่นเวลาทบต้นได้เร็วกว่า การเพิ่มจาก 18% ไป 20%
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 23
ไม่รุสิครับ
เพียงแต่การลงทุน
สำหรับผมแล้วไม่ใช่การแข่งขัน
แต่เป็นการเดินทาง
และทำในสิ่งที่เราถนัด
เพียงแต่การลงทุน
สำหรับผมแล้วไม่ใช่การแข่งขัน
แต่เป็นการเดินทาง
และทำในสิ่งที่เราถนัด
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณครับ ที่สำคัญเป็นPostเเรกของคุณtaratantaraด้วย เยี่ยมยุทธจริงๆครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 26
ถ้าการเร่งทำกำไร โดยให้ได้ผลตอบแทนมากๆ ใช้เวลาให้น้อยที่สุด
แล้วมีความสุข น่าทำครับ
แต่คงทำไม่ได้ทุกคน
ให้เงินทำงาน เราต้องมีความสุขและสนุกเหมือน wb
แต่ถ้าเครียด ทุกข์ มันก็น่าคิดน่ะครับ ว่าเราจะมีเงินไปทำไมเยอะๆ
แล้วมีความสุข น่าทำครับ
แต่คงทำไม่ได้ทุกคน
ให้เงินทำงาน เราต้องมีความสุขและสนุกเหมือน wb
แต่ถ้าเครียด ทุกข์ มันก็น่าคิดน่ะครับ ว่าเราจะมีเงินไปทำไมเยอะๆ
สงบสยบการเคลื่อนไหว
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 27
ขอขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะครับ
เดิมทีผมตั้งใจเขียนบทความนี้ให้กับเพื่อนๆ ในเฟสบุ๊ก เพื่อชักชวนให้หลายๆ คนเริ่มต้นลงทุนกัน โดยที่ไม่อยากให้ใครก็ตามที่ตัดสินใจจะกระโจนเข้ามาก็เริ่มตั้งหลักที่ผลตอบแทนเปอร์เซ็นต์สูงๆ
ผมจึงทำการเปรียบเทียบ worst case scenario และ base case scenario ที่มีโอกาสเป็นไปได้ และลองวิเคราะห์ดูว่าแม้เราจะตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับกลางๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้
คำว่า “แพ้” นี่สำคัญมากครับ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นหุ้นใหม่ๆ เพราะถ้าเขาแพ้ตั้งแต่ตาแรกๆ เขาอาจจะเลิกเล่นมันไปตลอดชีวิตเลย
มองผิวเผิน เจ้าตัวเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนที่เราทำได้ ดูเหมือนจะเป็นการวัดว่าเราแพ้หรือชนะ หลังจากนั้นมันก็เริ่มมีที่ 1 และที่โหล่ และก็มีแพ้ตลาดชนะตลาด มีกำไรมากกับกำไรน้อยใช่มั้ยครับ
นั่นแหละ คือสาเหตุของความผิดพลาดในการลงทุนช่วงแรกของผม
ความจริงผมเป็น day trade มาก่อนครับ จะเรียกว่า hour trade หรือ minute trade ก็ยังได้เลย เป็น pure technical ล้วนๆ วันๆ ผมไม่ทำอะไรนอกจากเปิดดู most swing ดูกราฟ อ่านข่าว แล้วเข้าซื้อขายเลย ผมไม่สนใจจริงๆ ว่าหุ้นตัวนั้นทำกิจการอะไร ที่ผ่านมามันเคยได้กำไรหรือขาดทุน เอาแค่ไม่ให้คีย์ชื่อหุ้นผิดก็พอ ชั่วโมงเดียวผมเคยซื้อแล้วโดนเกือบ floor และเคยได้ ceiling ในข้ามคืนเดียว
ชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามกราฟของผมแบบนี้ เรียกได้ว่าเข้าขั้นโคม่า บางวันยืนยิ้มได้เหมือนคนบ้าทั้งวัน บางวันก็นั่งหน้าซีดเงียบๆ คนเดียวหลังจอคอมฯ
หลังจากนั้น อย่างที่ทุกคนพอจะเดาออก ผมเริ่มกลัว และเริ่มหาข้อมูลมากขึ้น
ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มเทรดผมเชื่อว่าตัวเองเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี อ่านทั้งหลักการ VI ทั้ง day trade และก็ตัดสินใจเลือก day trade ผมเลือกข้างที่มีโอกาสได้เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนสูงๆ ครับ
ในตอนนั้น ผมตะลุยอ่านอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในตัวหนังสือกับตัวเลข ผมทำแม้กระทั่งนั่งวาดกราฟ SET ทุกวันด้วยมือตัวเอง เพราะคอมฯ มันโชว์แค่แท่งเทียน ใครขายใครซื้อมีวอลุ่มครบทุกวัน ติดรอบห้องเต็มไปหมด
ผมทำอย่างนั้นอยู่ 9 เดือนเต็มๆ เงยหน้าขึ้นมาอีกทีผมเหมือนคนบ้าคนหนึ่ง หายใจเข้าออกเป็นแต่เรื่องหุ้น
วันนั้นผมได้เรียนรู้ ณ ตอนนั้นว่า สิ่งที่ผมกำลังทำเป็นสิ่งที่ฝืนกับความเป็นตัวเอง ประโยคนี้สำคัญกับผมมากครับ “สิ่งที่ผมทำไม่ใช่ตัวผมเอง”
การพยายามจะเป็นที่ 1 ของผม คือการพยายามจะเป็นที่ 1 ของคนทั้งหลาย ผมไม่เคยย้อนถามตัวเองเลยว่า “ผมลงทุนเพื่ออะไร? จะเอาเท่าไหร่? และไปถึงไหน?”
ผมเปลี่ยนแนวทางมาเป็น VI ได้เกือบ 2 ปีแล้ว คราวนี้เป็น lifetime invest สุดโต่งอีกฟากหนึ่งเลยก็ว่าได้ (อาจผิดคอนเซ็ปต์เรื่องทางสายกลาง) แต่ไม่ใช่เพราะมันดูเท่ห์ ไม่ใช่เพราะมันทำกำไรได้มากกว่า แต่เป็นเพราะมันเป็นแนวทางที่ผมอยู่กับมันได้ดีและยั่งยืนกว่า ผมตอบคำถามตัวเองด้วยการเปลี่ยนแนวทาง จากการลงทุนเพื่อเป็นที่ 1 เป็นการลงทุนเพื่อความสุขและความมั่นคงของจิตใจ
และผมอยากให้ทุกคนตระหนักในเรื่องนี้ เราแพ้ตลาดไม่ได้แปลว่าเราแพ้ หุ้นเพื่อนขึ้นหุ้นเราไม่ขึ้นก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้ เปอร์เซ็นต์เราน้อยกว่าบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้ ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราเลือกมอง เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชนะในเกมแห่งจิตใจนี้
เมื่อคนที่ชนะคือคนที่ไปถึงเส้นชัยได้ก่อน แต่เส้นชัยนั้นคุณกำหนดเอง ไม่ใช่ให้ใครคนอื่นมากำหนด
ถ้าคุณวิ่งช้ากว่า ยูเซน โบลต์ ขอให้คุณออกวิ่งก่อน ยูเซน โบลต์...
ถ้าคุณทำได้แล้ว 10-15% ขอให้คุณอย่าลังเลที่จะลงทุนก่อน และอึดพอที่จะใช้เวลาในการลงทุนให้ยาวนานที่สุด...
คนอื่นอาจจะมองว่าคุณแพ้ แถมยังใช้กลยุทธ์แบบผู้แพ้ แต่คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะตัดสินว่าตัวเองแพ้หรือชนะ
ขอให้มีความสุขจากการลงทุนนะครับ
เดิมทีผมตั้งใจเขียนบทความนี้ให้กับเพื่อนๆ ในเฟสบุ๊ก เพื่อชักชวนให้หลายๆ คนเริ่มต้นลงทุนกัน โดยที่ไม่อยากให้ใครก็ตามที่ตัดสินใจจะกระโจนเข้ามาก็เริ่มตั้งหลักที่ผลตอบแทนเปอร์เซ็นต์สูงๆ
ผมจึงทำการเปรียบเทียบ worst case scenario และ base case scenario ที่มีโอกาสเป็นไปได้ และลองวิเคราะห์ดูว่าแม้เราจะตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับกลางๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้
คำว่า “แพ้” นี่สำคัญมากครับ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นหุ้นใหม่ๆ เพราะถ้าเขาแพ้ตั้งแต่ตาแรกๆ เขาอาจจะเลิกเล่นมันไปตลอดชีวิตเลย
มองผิวเผิน เจ้าตัวเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนที่เราทำได้ ดูเหมือนจะเป็นการวัดว่าเราแพ้หรือชนะ หลังจากนั้นมันก็เริ่มมีที่ 1 และที่โหล่ และก็มีแพ้ตลาดชนะตลาด มีกำไรมากกับกำไรน้อยใช่มั้ยครับ
นั่นแหละ คือสาเหตุของความผิดพลาดในการลงทุนช่วงแรกของผม
ความจริงผมเป็น day trade มาก่อนครับ จะเรียกว่า hour trade หรือ minute trade ก็ยังได้เลย เป็น pure technical ล้วนๆ วันๆ ผมไม่ทำอะไรนอกจากเปิดดู most swing ดูกราฟ อ่านข่าว แล้วเข้าซื้อขายเลย ผมไม่สนใจจริงๆ ว่าหุ้นตัวนั้นทำกิจการอะไร ที่ผ่านมามันเคยได้กำไรหรือขาดทุน เอาแค่ไม่ให้คีย์ชื่อหุ้นผิดก็พอ ชั่วโมงเดียวผมเคยซื้อแล้วโดนเกือบ floor และเคยได้ ceiling ในข้ามคืนเดียว
ชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ไปตามกราฟของผมแบบนี้ เรียกได้ว่าเข้าขั้นโคม่า บางวันยืนยิ้มได้เหมือนคนบ้าทั้งวัน บางวันก็นั่งหน้าซีดเงียบๆ คนเดียวหลังจอคอมฯ
หลังจากนั้น อย่างที่ทุกคนพอจะเดาออก ผมเริ่มกลัว และเริ่มหาข้อมูลมากขึ้น
ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มเทรดผมเชื่อว่าตัวเองเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี อ่านทั้งหลักการ VI ทั้ง day trade และก็ตัดสินใจเลือก day trade ผมเลือกข้างที่มีโอกาสได้เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนสูงๆ ครับ
ในตอนนั้น ผมตะลุยอ่านอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในตัวหนังสือกับตัวเลข ผมทำแม้กระทั่งนั่งวาดกราฟ SET ทุกวันด้วยมือตัวเอง เพราะคอมฯ มันโชว์แค่แท่งเทียน ใครขายใครซื้อมีวอลุ่มครบทุกวัน ติดรอบห้องเต็มไปหมด
ผมทำอย่างนั้นอยู่ 9 เดือนเต็มๆ เงยหน้าขึ้นมาอีกทีผมเหมือนคนบ้าคนหนึ่ง หายใจเข้าออกเป็นแต่เรื่องหุ้น
วันนั้นผมได้เรียนรู้ ณ ตอนนั้นว่า สิ่งที่ผมกำลังทำเป็นสิ่งที่ฝืนกับความเป็นตัวเอง ประโยคนี้สำคัญกับผมมากครับ “สิ่งที่ผมทำไม่ใช่ตัวผมเอง”
การพยายามจะเป็นที่ 1 ของผม คือการพยายามจะเป็นที่ 1 ของคนทั้งหลาย ผมไม่เคยย้อนถามตัวเองเลยว่า “ผมลงทุนเพื่ออะไร? จะเอาเท่าไหร่? และไปถึงไหน?”
ผมเปลี่ยนแนวทางมาเป็น VI ได้เกือบ 2 ปีแล้ว คราวนี้เป็น lifetime invest สุดโต่งอีกฟากหนึ่งเลยก็ว่าได้ (อาจผิดคอนเซ็ปต์เรื่องทางสายกลาง) แต่ไม่ใช่เพราะมันดูเท่ห์ ไม่ใช่เพราะมันทำกำไรได้มากกว่า แต่เป็นเพราะมันเป็นแนวทางที่ผมอยู่กับมันได้ดีและยั่งยืนกว่า ผมตอบคำถามตัวเองด้วยการเปลี่ยนแนวทาง จากการลงทุนเพื่อเป็นที่ 1 เป็นการลงทุนเพื่อความสุขและความมั่นคงของจิตใจ
และผมอยากให้ทุกคนตระหนักในเรื่องนี้ เราแพ้ตลาดไม่ได้แปลว่าเราแพ้ หุ้นเพื่อนขึ้นหุ้นเราไม่ขึ้นก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้ เปอร์เซ็นต์เราน้อยกว่าบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้แปลว่าเราแพ้ ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราเลือกมอง เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชนะในเกมแห่งจิตใจนี้
เมื่อคนที่ชนะคือคนที่ไปถึงเส้นชัยได้ก่อน แต่เส้นชัยนั้นคุณกำหนดเอง ไม่ใช่ให้ใครคนอื่นมากำหนด
ถ้าคุณวิ่งช้ากว่า ยูเซน โบลต์ ขอให้คุณออกวิ่งก่อน ยูเซน โบลต์...
ถ้าคุณทำได้แล้ว 10-15% ขอให้คุณอย่าลังเลที่จะลงทุนก่อน และอึดพอที่จะใช้เวลาในการลงทุนให้ยาวนานที่สุด...
คนอื่นอาจจะมองว่าคุณแพ้ แถมยังใช้กลยุทธ์แบบผู้แพ้ แต่คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะตัดสินว่าตัวเองแพ้หรือชนะ
ขอให้มีความสุขจากการลงทุนนะครับ
You are never better than anyone. The only one you must compare yourself with is You.
http://achikochi1234.blogspot.com/
http://achikochi1234.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 28
เป็นตัวเลขประมาณครับ ถ้าใช้สูตรจริงๆแล้วจะได้ค่าเป็น 1 ปีครับ<< New >> เขียน:สงสัยเรื่องกฏ 72 นี้มานานครับ ถามครูไฟแนนซ์หลายๆคน บางคนก็ตอบไม่ได้ บางคนก็บอกว่าเป็นประมาณ เลยลองถามดูเผื่อใครมีคำตอบอื่นหรือป่าว
คือถ้าเอา72มาหารด้วยผลตอบแทนแล้วจะเป็นจำนวนปีที่เงินเบิ้ล
อย่างงั้นแปลว่าถ้าคนนึง ทำได้ 72% เงินก็จะเบิ้ลใน 1 ปี
ถ้าทำได้มากกว่า 72% เงินก็จะเบิ้ลในน้อยกว่า 1 ปี
จริงๆเงินจะเบิ้ลใน 1 ปีได้ก็คือต้องทำผลตอบแทนให้ได้ 100 %
แต่ถ้าได้ 100% เงินก็จะเบิ้ลใน 0.72 ปี ไม่ใช่หนึ่งปีในสูตร
งงๆกันมั้ยครับ
ln(2)/ln(1+100%)=1ปี
-
- Verified User
- โพสต์: 872
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กฎของ 72 คุณไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 ก็ได้
โพสต์ที่ 30
เป็นกำลังใจให้ครับ
เห็นด้วยครับ ที่ว่าเราไม่ต้องไปแข่งกับใคร
แข่งกับใจตัวเองก็พอแล้ว ไม่ว่าในด้านผลตอบแทนหรือว่าอารมณ์
เรื่องผลตอบแทน ผมคิดว่าคงไม่จำเป็นที่จะบอกว่าเท่านี้ก็พอ
การบอกกับตัวเองว่า ทำให้เต็มที่ แต่มีความสุขกับมันและไม่เครียดเกินไป
น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า
เห็นด้วยครับ ที่ว่าเราไม่ต้องไปแข่งกับใคร
แข่งกับใจตัวเองก็พอแล้ว ไม่ว่าในด้านผลตอบแทนหรือว่าอารมณ์
เรื่องผลตอบแทน ผมคิดว่าคงไม่จำเป็นที่จะบอกว่าเท่านี้ก็พอ
การบอกกับตัวเองว่า ทำให้เต็มที่ แต่มีความสุขกับมันและไม่เครียดเกินไป
น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า