คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 31

โพสต์

งั้นเดี๋ยวผมโชว์โง่ สอนผมด้วยถ้าผิด
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 32

โพสต์

การตีมูลค่า bigc ผมว่าก่อนซื้อ คาร์ฟู พี่ๆก็ประเมินราคากันอยู่แล้วนี่ครับ พอมีคาร์ฟูรายได้เพิ่มเข้ามาพี่ๆก็ประเมินได้อยู่แล้วตามสัดส่วนรายได้ เพียงแต่กรณีนี้มีหนี้ติดมาด้วย พี่ก็เอาราคาที่ประเมินได้ใหม่ทั้ง บ. หลังจากที่ได้คาร์ฟูมาหักด้วยหนี้ พี่ก็จะรู้ว่ามีมูลค่าเท่าไรในใจแล้ว เพียงแต่จะรับได้ไหมกับราคาที่ประเมินได้ เพราะเมื่อบิ๊กซีได้คาร์ฟูมา มันมาพร้อมควาทคาดหวังว่าต้องโกรทให้ได้เท่านี้นเท่านี้ด้วย และจะทำได้หรือไม่ อนาคตเป็นตัวพิสูจน์ แต่ผมรู้สึกได้อย่างนึงว่าราคาทุกวันนี้เป็นราคาที่เต็มไปด้วยความคาดหวังในอนาคตของ บ. ผมก็อยากให้ บ.ทำได้อย่างที่ นลท คาดหวังกันครับ :D
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 33

โพสต์

jo7393 เขียน:การตีมูลค่า bigc ผมว่าก่อนซื้อ คาร์ฟู พี่ๆก็ประเมินราคากันอยู่แล้วนี่ครับ พอมีคาร์ฟูรายได้เพิ่มเข้ามาพี่ๆก็ประเมินได้อยู่แล้วตามสัดส่วนรายได้ เพียงแต่กรณีนี้มีหนี้ติดมาด้วย พี่ก็เอาราคาที่ประเมินได้ใหม่ทั้ง บ. หลังจากที่ได้คาร์ฟูมาหักด้วยหนี้ พี่ก็จะรู้ว่ามีมูลค่าเท่าไรในใจแล้ว เพียงแต่จะรับได้ไหมกับราคาที่ประเมินได้ เพราะเมื่อบิ๊กซีได้คาร์ฟูมา มันมาพร้อมควาทคาดหวังว่าต้องโกรทให้ได้เท่านี้นเท่านี้ด้วย และจะทำได้หรือไม่ อนาคตเป็นตัวพิสูจน์ แต่ผมรู้สึกได้อย่างนึงว่าราคาทุกวันนี้เป็นราคาที่เต็มไปด้วยความคาดหวังในอนาคตของ บ. ผมก็อยากให้ บ.ทำได้อย่างที่ นลท คาดหวังกันครับ :D
ครับ วิธีของ jo7393 คือ จับลบด้วยหนี้เลย

เดี่ยวลองฟังคนอื่นดู อาจจะมีวิธีคิดแบบอื่นก็ได้ครับ

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ถ้าเป็นค้าปลีก ที่ผมทราบ คือ เจ้าหนี้การค้าเยอะไม่เป็นไร เพราะธุรกิจแบบนี้รับเป็นเงินสด
เลยมีอำนาจต่อรองได้

แต่ผมไม่รู้ว่ารายได้ที่โตมาจากการเทคโอเวอร์ด้วย จะมากกว่ารายจ่ายของทั้งสองบริษัทและเงินกู้ที่ไปTake overหรือเปล่า

ใช้Economy of Scaleช่วยลดต้นทุนได้บ้าง ค่าOperationคงFix
อาจไปลุ้นSame Storeแทน เพราะตอนนี้คงอยากได้เงินสดเข้ามาช่วยให้Coverที่ไปTake Overก่อน

ถ้าให้คิดก็คงแยกคิดเหมือนพี่Jo ไปซื้อเขามาใช้เงินเท่าไหร่+หนี้ของเขาอีก และเราต้องทำให้ได้เท่าไหร่ เพื่อให้ชดเชยหนี้ที่ไปซื้อเขามาและบริษัทตัวเอง
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 35

โพสต์

แต่ตัวเลขที่ผมเห็นมันมีBiasเปล่าครับ
หนี้สิน6หมื่น5 ส่วนทุน 2หมื่น

มันจะทำให้สองประโยคนี้ยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า
"กระแสเงินสดจะช่วยให้ผ่านไปได้"
"หนี้สินมากในค้าปลีกถือเป็นเรื่องดี เพราะมีอำนาจต่อรอง"
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 36

โพสต์

jo7393 เขียน:ผมเลยมานั่งคิดต่อ หาก บ.ที่มีหนี้แล้วสามารถทำ EBIT ได้มากกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้เพียงแค่พอจ่าย ดบ แสดงว่า บ.ที่มีหนี้ ROA ต่ำกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้ด้วยนะครับ และ บ.ที่มี ROA ต่ำกว่า บนธุรกิจเดียวกัน (เพราะโจทย์ตั้งมาว่า บ.เหมือนกัน) แสดงว่า บ.ที่มีหนี้มี DCA ต่ำกว่าด้วยนะครับ
หากผิิดช่วยแย้งด้วยนะครับ แชร์มุมมองกันครับ

อ่านแล้วงงอ่ะครับ การคำนวณROA มันใช้ EBI ไม่ใช่เหรอครับ บริษัทที่มีหนี้ควรจะมีroa สูงกว่าสิครับ ระหว่าง 160 กับ 100 ถ้าไม่เสียภาษีทั้งคู่
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 37

โพสต์

cyber-shot เขียน:
jo7393 เขียน:ผมเลยมานั่งคิดต่อ หาก บ.ที่มีหนี้แล้วสามารถทำ EBIT ได้มากกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้เพียงแค่พอจ่าย ดบ แสดงว่า บ.ที่มีหนี้ ROA ต่ำกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้ด้วยนะครับ และ บ.ที่มี ROA ต่ำกว่า บนธุรกิจเดียวกัน (เพราะโจทย์ตั้งมาว่า บ.เหมือนกัน) แสดงว่า บ.ที่มีหนี้มี DCA ต่ำกว่าด้วยนะครับ
หากผิิดช่วยแย้งด้วยนะครับ แชร์มุมมองกันครับ

อ่านแล้วงงอ่ะครับ การคำนวณROA มันใช้ EBI ไม่ใช่เหรอครับ บริษัทที่มีหนี้ควรจะมีroa สูงกว่าสิครับ ระหว่าง 160 กับ 100 ถ้าไม่เสียภาษีทั้งคู่
อ้อ ครับผมเขียนไม่ละเอียดครับ
ที่บอกว่า roa ต่ำกว่า ที่ถูกหมายดถึง ความสามารถในการทำกำไรต่อทรัพย์สินหลังถอดหนี้ออก เพื่อเทียบกับ บ.ที่ไม่มีหนี้อ่ะคับ
คือ บ.2แห่งทำกำไรได้เท่ากัน โดยที่อีกบ.ต้องใช้เงินกู้(ทั้งที่ทุกอย่างเหมือนกัน Equity เท่ากัน) แสดงว่า บ.ที่มีหนี้ต้องการทรัพย์สินที่มากกว่าใรการทำกำไรที่เท่ากับอีก บ. ดังนั้นความสามารถในการทำกำไรต่ำกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้แน่นอนครับ
จริงๆ ผมใช้ roa ไม่ค่อยจะถูกนะครับ ต้องเรียกว่า ความสามารถในการทำกำไรของ บ. ถึงจะถูกอ่ะครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ที่ถูกต้องบอกว่า roe ต่ำกว่าถึงจะถูกใช่ไหมครับ
โชว์โง่เลยเรา :mrgreen:
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ต้องขอบคุณ คุณcyber-shot ที่ถามตรงจุด
พอคุณ cyber-shot ถามตรงนี้ผมเลยคิดไปอีก ได้ความรู้เพิ่มเลย
กรณี หุ้นที่มีหนี้ roa น้อยกว่าหุ้นที่ไม่มีหนี้ และ roe เท่ากันกับหุ้นไม่มีหนี้
เมื่อนำมาปรับแล้วจะได้ว่า หุ้นที่มีหนี้ ทั้ง roa และ roe น้อยกว่าหุ้นที่ไม่มีหนี้โดยปริยาย
ตัวอย่าง
หาก บ.ทั้งสองมี equity เท่ากันที่ 1000 ลบ คิดที่ตัวเลขนี้เพราะ d/e เท่ากับ 1 กำลังดีไม่มากไม่น้อยไป
บ.นึงไม่มีหนี้ อีก บ.มีหนี้ 1000 ลบ
นั่นหมาย บ.ที่ไม่มีหนี้มี asset 1000 ลบ และ บ.ที่มีหนี้มี asset 2000 ลบ
ได้กำไรสุทธิเ่ท่ากันที่ 100 ลบ ดังนั้น roa ของ บ.ที่ไม่มีหนี้จะเท่ากับ 100/1000=10% และ roe=100/1000=10%
และ roa ของ บ.ที่มีหนี้จะเท่ากับ 100/2000=5% และ roe = 100/1000=10%
ดังนั้นที่บอกว่า roa ของบ.ที่มีหนี้ต่ำกว่า ถูกแล้วคับ
และหากนำมาถอดหนี้ตามสัดส่วน คือ
บ.ที่มีหนี้มี asset 2000 ลบ มีกำไร 100ลบ สมมติลดหนี้ลงให้เป็นไม่มีหนี้ กำไรสุดธิก็ควรจะลดลงด้วย(สมมติว่าลดลงตามสัดส่วน) เท่ากับ บ.ที่มีหนี้ asset เหลือ 1000ลบ ดังนั้นควรกำไรสุทธิเหลือ 50 ลบ ลองหาก roa roe ดูนะคับ
roa จะได้ 50/1000=5% และ roe จะได้ 50/1000 = 5%
เท่ากับ ทั้ง roa roe ของ บ.ที่มีหนี้ น้อยกว่า บ.ที่ไม่มีหนี้ทั้งสองตัวเลขเลยครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 40

โพสต์

แอบงงอ่ะ ส่วนทุนต่างกัน อันนึงใช้ทุนน้อยกว่า ที่เหลือกู้
เท่ากับ กู้ 100 เงินตัวเอง 100 ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทน ก็คือ 200ต่อ100(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

อีกอัน เงินตัวเองทั้งหมด 200 แต่ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทนก็คือ 200ต่อ200(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

ตีAssetเท่ากับ 200เท่ากันทั้งคู่

ทำไมROE คนกู้ได้น้อยกว่าคนไม่กู้อ่ะ

ผมลองแทนค่าในDupont
ROE=R/A *A/E

ROEของทุนตัวเอง100และใช้กู้100 กำไร 200 Asset 200
200/200*200/100=2

ส่วนROEของคนที่ใช้ทุนตัวเองทั้งหมดไม่ได้กู้เลย 200 กำไร200 Asset200
200/200*200/200 = 1

จะเห็นว่าROEแบบกู้ได้มากกว่าROEคนใช้ทุนตัวเองทั้งหมด

แล้วROA กรณีมีสินทรัพย์เท่ากันผมลองเอาค่าที่ได้จากข้างบนมาใส่
-แบบกู้มา
ROE=R/A *A/E
=ROA*2
-แบบเงินตัวเองทั้งหมด
ROE=R/A *A/E=ROA
=ROA*1
ฉะนั้น แบบกู้มาROA ก็ได้มากกว่าแบบไม่กู้ ถ้ายังรักษาระดับการหาเงินได้
แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็Destroyให้ต่ำกว่าปกติ

ผมเข้าใจถูกไหม ผิดถูกชี้แนะด้วย
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 41

โพสต์

อย่าพูดอย่างงั้นเลยครับ คุณjo7393 ผิดถูกก็ช่วยกันแก้ไขได้ครับ ผมเองก็ไม่เก่งหรอกครับ ก็ค่อยอ่านcomment ท่านอยู่เรื่อยๆนี้ละครับ เพื่อจะได้ความรู้ใหม่ๆครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ส่วนผมมารอฟังเซียนถกกันอ่ะครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 43

โพสต์

^^ เขียน:แอบงงอ่ะ ส่วนทุนต่างกัน อันนึงใช้ทุนน้อยกว่า ที่เหลือกู้
เท่ากับ กู้ 100 เงินตัวเอง 100 ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทน ก็คือ 200ต่อ100(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

อีกอัน เงินตัวเองทั้งหมด 200 แต่ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทนก็คือ 200ต่อ200(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

ตีAssetเท่ากับ 200เท่ากันทั้งคู่

ทำไมROE คนกู้ได้น้อยกว่าคนไม่กู้อ่ะ

ผมลองแทนค่าในDupont
ROE=R/A *A/E

ROEของทุนตัวเอง100และใช้กู้100 กำไร 200 Asset 200
200/200*200/100=2

ส่วนROEของคนที่ใช้ทุนตัวเองทั้งหมดไม่ได้กู้เลย 200 กำไร200 Asset200
200/200*200/200 = 1

จะเห็นว่าROEแบบกู้ได้มากกว่าROEคนใช้ทุนตัวเองทั้งหมด

แล้วROA กรณีมีสินทรัพย์เท่ากันผมลองเอาค่าที่ได้จากข้างบนมาใส่
-แบบกู้มา
ROE=R/A *A/E
=ROA*2
-แบบเงินตัวเองทั้งหมด
ROE=R/A *A/E=ROA
=ROA*1
ฉะนั้น แบบกู้มาROA ก็ได้มากกว่าแบบไม่กู้ ถ้ายังรักษาระดับการหาเงินได้
แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็Destroyให้ต่ำกว่าปกติ

ผมเข้าใจถูกไหม ผิดถูกชี้แนะด้วย
^^ เขียน:แอบงงอ่ะ ส่วนทุนต่างกัน อันนึงใช้ทุนน้อยกว่า ที่เหลือกู้
เท่ากับ กู้ 100 เงินตัวเอง 100 ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทน ก็คือ 200ต่อ100(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

อีกอัน เงินตัวเองทั้งหมด 200 แต่ถ้าทำได้ 200 ผลตอบแทนก็คือ 200ต่อ200(เงินตัวเอง)
มีโรงงานอยู่แล้ว

ตีAssetเท่ากับ 200เท่ากันทั้งคู่

ทำไมROE คนกู้ได้น้อยกว่าคนไม่กู้อ่ะ

ผมลองแทนค่าในDupont
ROE=R/A *A/E

ROEของทุนตัวเอง100และใช้กู้100 กำไร 200 Asset 200
200/200*200/100=2

ส่วนROEของคนที่ใช้ทุนตัวเองทั้งหมดไม่ได้กู้เลย 200 กำไร200 Asset200
200/200*200/200 = 1

จะเห็นว่าROEแบบกู้ได้มากกว่าROEคนใช้ทุนตัวเองทั้งหมด

แล้วROA กรณีมีสินทรัพย์เท่ากันผมลองเอาค่าที่ได้จากข้างบนมาใส่
-แบบกู้มา
ROE=R/A *A/E
=ROA*2
-แบบเงินตัวเองทั้งหมด
ROE=R/A *A/E=ROA
=ROA*1
ฉะนั้น แบบกู้มาROA ก็ได้มากกว่าแบบไม่กู้ ถ้ายังรักษาระดับการหาเงินได้
แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็Destroyให้ต่ำกว่าปกติ

ผมเข้าใจถูกไหม ผิดถูกชี้แนะด้วย
ถูกตามหลักวิชาการครับ แต่หากเราต้องการรู้ลึกว่านั้นหล่ะครับ เช่นเราต้องการรู้ความสามารถในการทำกำไรต่อ equity ในกรณีที่เกิดวิกฤติ ไม่สามารถหาเงินกู้ได้ เราจะเทียบยังไงครับและ บ.จะมีความแข็งแกร่งในการหาเงินได้เท่าเดิมไม่ตกในยามไม่มีเงินกู้ครับ
หากใช่ตามหลักวิชาการดู roa ธรรมดา มันไม่ได้เปรียบเทียบบนค่าความเสี่ยงของหนี้เข้ามาด้วยอ่ะครับ แต่ที่ผมตอบตามโจทย์เขาว่าบนพื้นฐานที่เหมือนกันทุกอย่างผมเลย ลดให้ บ.ที่มีหนี้กลายเป็นไม่มีหนี้จะได้ไม่มีความเสี่ยงเรื่องหนี้เหหมือนกัน แล้วเอามาเปรียบเทียบกันด้วยค่า roe roa อีกครั้ง ซึ่งมันเป็น roa roe เพื่อการเปรียบเทียบเท่านั้น ไม่ใช่ roa roe ที่แท้จริงที่ใช้กันทั่วไปอ่ะคับ :D
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 44

โพสต์

มูลค่าของบริษัทที่มีหนี้ = มูลค่าของบริษัทที่ไม่มีหนี้ + สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการก่อหนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
epsonpower2
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 45

โพสต์

jo7393 เขียน:
Jeng เขียน:อืมคิดได้ลึกดี

อิอิ แสดงว่า ตั้งโจทย์กำกวม

อย่างไรก็ตาม ขออนุญาติ ยืนยันว่า

บริษัทเดียวกัน ถ้าทำกำไรได้ 100 ล้านบาท หมายถึงกำไรสุทธิ และกำไรโต 30 % เราจะซื้อบริษัทนี้ที่เท่าไร

คำตอบที่บอกคือ pe 21 ซื้อ 2100 ล้านบาท

ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นบริษัทเดียวกันนี่แหละ

แต่มีหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย และเมื่อหักดอกเบี้ยไปแล้ว หักภาษีไปแล้ว

ก็ยังกำไร 100 ล้านบาท แต่มีหนี้ 1000 ล้านบาท

บริษัทนี้ ในสภาพแวดล้อม ที่คุณ jo7393 บอกว่า แสดงว่ากำไรได้มากกว่า 100 ล้าน

เพราะหักดอกเบี้ยแล้วยังเหลือ 100 ล้านนั้น

ควรจะตีราคาที่เท่าไรครับ
ถ้าพี่ ยืนยันว่าทุกอย่างเหมือนกันหมด รวมทั้ง DCA ROA คำตอบสำหรับเรื่องนี้ง่ายนิดเดียวครับ บ.ที่ไม่มีหนี้คำนวนได้ที่เท่าไร ก็ซื้อ บ.ที่มีหนี้น้อยกว่าตามจำนวนหนี้เท่านั้นเองครับ
เช่น บ.ที่ไม่มีหนี้ ตีมูลค่าที่จะซื้อได้ 2100 ลบ
บ.ที่มีหนี้ก็ซื้อได้ด้วย มูลค่า 2100-1000=1100 ลบ แ้ล้วเอาเงิน ที่ซื้อถูกไป 1000 ลบ ไปจ่ายหนี้ ก็จะได้ บ.ที่มีมูลค่าเท่ากันทุกด้าน ง่ายออกครับ :mrgreen:
ขอแสดงความเห็นนิดนึงน่ะครับ
คือ ถ้าซื้อบ.ที่ไม่มีหนี้ 2100 ก็จะได้บ.ที่มีกำไรสุทธิ 100 ลบ ใช่มั้ยครับ
แต่ถ้าเอา 1100 ไปซื้อ บ. ที่มีหนี้+ เอา 1000 ไปจ่ายหนี้ บริษัทนี้ควรมีกำไรสุทธิมากกว่า 100 รึป่าวครับ เพราะตะก่อนมีการเอากำไรบางส่วนไปจ่ายดอกเบี้ย ทำให้เหลือกำไรแค่ 100 ดังนั้นถ้าไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยแล้วน่าจะได้มากกว่า 100 ลบ รึป่าวครับ

ถ้าคิดตามแบบนี้ บ.ที่น่าลงทุนก็น่าจะเป็น บ.ที่มีหนี้รึป่าวครับ
อันนี้ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอ่าครับ แต่ลองคิดเล่นๆดู ยังไงรบกวนด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 46

โพสต์

ถ้าใช้ DCF ของ free cash flow ที่ชอบใช้กันในการคิดมูลค่าของกิจการ ซึ่งเจ้า free cash flow มันเอากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หักออกจากการลงทุนเพิ่ม จากสูตรของ free cash flow คือ กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย x (1-tax rate) + ค่าเสื่อม - การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์เพื่อการดำเนินการ - ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่ม

จากสูตรเห็นได้ว่า เอา กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยมาคิด ดังนั้น ถ้า 2 บริษัทได้กำไรสุทธิเท่าๆ กัน บริษัทที่มีหนี้ น่าจะมีกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยมากกว่า ค่าของ free cash flow ก็จะมากกว่าตามไปด้วย (เพราะได้ประโยชน์จากการที่ได้ลดภาษีจากดอกเบี้ยจ่าย)

แต่พอได้มูลค่าของกิจการมาแล้ว บริษัทที่มีหนี้ต้องเอาส่วนของหนี้มาหักออกก่อน (เฉพาะหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย หนี้ที่เป็นหนี้เพื่อการลงบัญชีให้ถูกต้องไม่คิด) เพื่อให้ได้ส่วนของผู้ถือหุ้นจริงๆ

ในตัวอย่างของพี่เจ๋ง สมมติเพิ่มว่ามีดอกเบี้ยจ่าย 50 ในบ. a และไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเลยใน บ. b และสมมติอัตราภาษีอยู่ที่ 30% ของกำไรหลังดอกเบี้ย

กำไรสุทธิ 100 บาทใน a จะได้ tax saving จากดอกเบี้ยจ่าย 35 (50 * (1-30%) เพราะงั้น EBIT x (1-tax rate) ในส่วนของ A เป็น 135 และ B เป็น 100 เท่าเดิม

ขอคิดง่ายๆ ไม่ซับซ้อนว่าไม่มีการลงทุนเพิ่มเลย FCF ของ A เป็น 135 และ B เป็น 100 คิดง่ายๆ ไม่ต้องไกลมาก เอาปีเดียว (จริงๆ ต้องทำ fcf ไปข้างหน้าแล้ว discounted ด้วยสูตร net present value ด้วย ต้นทุนทางการเงิน) จะได้ value ของกิจการที่เพิ่มขึ้นในปีนี้เป็น 135 ใน a และ 100 ใน b

ทีนี้เราต้องแบ่งเจ้า FCF ของ A ให้ส่วนของเจ้าหนี้ ก่อนจะมาถึงมือของผู้ถือหุ้น สมมติว่าดอกเบี้ย 50 นี้มาจากหนี้ (เน้นอีกครั้งรวมเฉพาะหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย) เป็นเงิน 300 และมีส่วนของทุนอีก 700 ในขณะที่ b ใช้เงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นเงิน 1000 บาท

แสดงว่า 135 บาทของบ. a เป็นของผู้ถือหุ้นแค่ 85 เพราะหัก 50 บาทให้เจ้าหนี้ แต่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า คือ 700 คิดเป็นผลตอบแทน 12.1% ในขณะที่ บ.b เป็นของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ก็จะได้ผลตอบแทน 10%

ดูเหมือนจะขัดแย้งกันว่า หนี้เยอะจะดีเพราะทำให้มี FCF มากขึ้น แต่การมีหนี้เยอะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลประกอบการมาก และผลตอบแทนเป็น 0 ได้เช่นทั้ง a และ b ได้กำไรสุทธิแค่ 30 ส่วนของ fcf จะ เหลือแค่ 65 (30 net income + tax saving 35 = 65) เมื่อหักดอกเบี้ยจ่ายแล้วจะทำให้ผลตอบแทนของ fcf ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือแค่ 15/700 = 2% ในขณะที่ถ้าไม่มีหนี้ จะได้ 30 จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า=3%

สรุปว่า กิจการเสี่ยงน้อยกู้ได้เยอะ ผลตอบแทนดีกว่าไม่กู้ กิจการเสี่ยงมากกู้ได้บ้างแต่ห้ามกู้เยอะจนเพิ่มความเสี่ยงที่มากเกินไปให้ผู้ถือหุ้น

ในส่วนที่พูดถึงเจ้าหนี้การค้า ในการคำนวณ fcf เป็นขาบวกด้วยซ้ำครับถ้ามีหนี้การค้าเพิ่มขึ้น เพราะ การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ดำเนินงานที่เป็นขาลบในสมการ free cash flow (เรียกง่ายๆ ว่าเงินหมุนละกัน) ได้มาจาก เอา พวก cash ที่ใช้ในการดำเนินงาน + ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงคลัง - เจ้าหนี้การค้า - เจ้าหนี้หมุนเวียนอื่นๆ เห็นได้ว่าถ้า เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น แต่ลูกหนี้การค้าน้อยลง เงินหมุนดีขึ้นก็จะทำให้ fcf มีมากขึ้นตามไปด้วยครับ

ผิดๆ ถูกๆ ไงก็ติติงได้นะครับ ไม่ใช่เซียนหรอก แต่ลองพยายามอธิบายให้เซียนท่านอื่นตรวจความเข้าใจของผม

เรียกว่ากลัวปล่อยไก่ไม่ได้วิชา :wink:
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว ต้องไปอ่านเรื่องTaxเพิ่ม - -

อยากสอบถามเพิ่มเติมครับ DEของBigcแบบนี้
ตอนนี้BigC สามารถไปTake overหรือทำการขยายสาขาได้อีกไหม

หรือว่าต้องรอให้กระแสเงินสดดีก่อนจากการเพิ่งไปTake over
กลยุทธคือ โดยไม่ขยายสาขาเพิ่ม โดยเอาสาขาBigc+คารฟูร์ที่มีอยู่ก็พอ
ไม่เช่นนั้นภาระจะมากกว่านี้

ปล.ไม่มีหุ้นนะ แต่อยากรู้ว่า ธุรกิจความเสี่ยงน้อย DEสุดๆจะควรเท่าไหร่
ถามเพื่อนบอกว่า บางธนาคารปล่อยDE 4 เท่าก็มี
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ayethebing เขียน:ถ้าใช้ DCF ของ free cash flow ที่ชอบใช้กันในการคิดมูลค่าของกิจการ ซึ่งเจ้า free cash flow มันเอากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หักออกจากการลงทุนเพิ่ม จากสูตรของ free cash flow คือ กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย x (1-tax rate) + ค่าเสื่อม - การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์เพื่อการดำเนินการ - ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่ม

จากสูตรเห็นได้ว่า เอา กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยมาคิด ดังนั้น ถ้า 2 บริษัทได้กำไรสุทธิเท่าๆ กัน บริษัทที่มีหนี้ น่าจะมีกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยมากกว่า ค่าของ free cash flow ก็จะมากกว่าตามไปด้วย (เพราะได้ประโยชน์จากการที่ได้ลดภาษีจากดอกเบี้ยจ่าย)

แต่พอได้มูลค่าของกิจการมาแล้ว บริษัทที่มีหนี้ต้องเอาส่วนของหนี้มาหักออกก่อน (เฉพาะหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย หนี้ที่เป็นหนี้เพื่อการลงบัญชีให้ถูกต้องไม่คิด) เพื่อให้ได้ส่วนของผู้ถือหุ้นจริงๆ

ในตัวอย่างของพี่เจ๋ง สมมติเพิ่มว่ามีดอกเบี้ยจ่าย 50 ในบ. a และไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเลยใน บ. b และสมมติอัตราภาษีอยู่ที่ 30% ของกำไรหลังดอกเบี้ย

กำไรสุทธิ 100 บาทใน a จะได้ tax saving จากดอกเบี้ยจ่าย 35 (50 * (1-30%) เพราะงั้น EBIT x (1-tax rate) ในส่วนของ A เป็น 135 และ B เป็น 100 เท่าเดิม

ขอคิดง่ายๆ ไม่ซับซ้อนว่าไม่มีการลงทุนเพิ่มเลย FCF ของ A เป็น 135 และ B เป็น 100 คิดง่ายๆ ไม่ต้องไกลมาก เอาปีเดียว (จริงๆ ต้องทำ fcf ไปข้างหน้าแล้ว discounted ด้วยสูตร net present value ด้วย ต้นทุนทางการเงิน) จะได้ value ของกิจการที่เพิ่มขึ้นในปีนี้เป็น 135 ใน a และ 100 ใน b

ทีนี้เราต้องแบ่งเจ้า FCF ของ A ให้ส่วนของเจ้าหนี้ ก่อนจะมาถึงมือของผู้ถือหุ้น สมมติว่าดอกเบี้ย 50 นี้มาจากหนี้ (เน้นอีกครั้งรวมเฉพาะหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย) เป็นเงิน 300 และมีส่วนของทุนอีก 700 ในขณะที่ b ใช้เงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดเป็นเงิน 1000 บาท

แสดงว่า 135 บาทของบ. a เป็นของผู้ถือหุ้นแค่ 85 เพราะหัก 50 บาทให้เจ้าหนี้ แต่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า คือ 700 คิดเป็นผลตอบแทน 12.1% ในขณะที่ บ.b เป็นของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ก็จะได้ผลตอบแทน 10%

ดูเหมือนจะขัดแย้งกันว่า หนี้เยอะจะดีเพราะทำให้มี FCF มากขึ้น แต่การมีหนี้เยอะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลประกอบการมาก และผลตอบแทนเป็น 0 ได้เช่นทั้ง a และ b ได้กำไรสุทธิแค่ 30 ส่วนของ fcf จะ เหลือแค่ 65 (30 net income + tax saving 35 = 65) เมื่อหักดอกเบี้ยจ่ายแล้วจะทำให้ผลตอบแทนของ fcf ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือแค่ 15/700 = 2% ในขณะที่ถ้าไม่มีหนี้ จะได้ 30 จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า=3%

สรุปว่า กิจการเสี่ยงน้อยกู้ได้เยอะ ผลตอบแทนดีกว่าไม่กู้ กิจการเสี่ยงมากกู้ได้บ้างแต่ห้ามกู้เยอะจนเพิ่มความเสี่ยงที่มากเกินไปให้ผู้ถือหุ้น

ในส่วนที่พูดถึงเจ้าหนี้การค้า ในการคำนวณ fcf เป็นขาบวกด้วยซ้ำครับถ้ามีหนี้การค้าเพิ่มขึ้น เพราะ การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ดำเนินงานที่เป็นขาลบในสมการ free cash flow (เรียกง่ายๆ ว่าเงินหมุนละกัน) ได้มาจาก เอา พวก cash ที่ใช้ในการดำเนินงาน + ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงคลัง - เจ้าหนี้การค้า - เจ้าหนี้หมุนเวียนอื่นๆ เห็นได้ว่าถ้า เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น แต่ลูกหนี้การค้าน้อยลง เงินหมุนดีขึ้นก็จะทำให้ fcf มีมากขึ้นตามไปด้วยครับ

ผิดๆ ถูกๆ ไงก็ติติงได้นะครับ ไม่ใช่เซียนหรอก แต่ลองพยายามอธิบายให้เซียนท่านอื่นตรวจความเข้าใจของผม

เรียกว่ากลัวปล่อยไก่ไม่ได้วิชา :wink:
มรึน

สรุป บริษัทไม่มีหนี้ ราคาเท่าไร บริษัทมีหนี้ ราคาเท่าไรครับผม
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 49

โพสต์

มรึน

สรุป บริษัทไม่มีหนี้ ราคาเท่าไร บริษัทมีหนี้ ราคาเท่าไรครับผม
พี่เจ๋งเนี่ย ถามตรงใจผมเลย นึกว่าผมมึนคนเดียว อิอิ :mrgreen:
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 50

โพสต์

1400 ไม่มีหนี้
คิดจาก เงินลงทุนน่าจะหวังผล10%จากเงินลงทุน
ฉะนั้นต้องมีเงินคือ 1000
1000+100ที่เป็นกำไรปีที่แล้วไปรวมในส่วนทุน เป็น1100
ปีหน้าคาดว่าจะโต30%
1100*30% = 330
รวมทั้งหมดเป็น1430ไม่มีหนี้ให้ลบแล้ว

-----------------------------------------
แบบมีหนี้
คิดจาก เงินลงทุนน่าจะหวังผล10%จากเงินลงทุน
ฉะนั้นต้องมีเงินลงทุน 1000
เอากำไรปีที่แล้วเข้าส่วนทุน คิดเป็น
100+500ทุนตัวเอง(เดาว่ากู้500 เงินตัวเอง500)

บวกกับฐานที่จะโตปีนี้ 30% ให้คงDEเท่าเดิม
600ทุนเรา 600เงินกู้
กำไรโต 30% คือ 1200*30%=360
กลับไปรวมส่วนทุนเป็น
600ทุนเรา+360กำไรสุทธิ รวมเป็น 960

สรุปมูลค่าคือ บริษัทไม่มีหนี้1430 บริษัทที่มีหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ย 960 (แบบเอาเงินตัวเองReinvest อีก)

แต่ถ้าแบบFixเงินลงทุน1000
บริษัทไม่มีหนี้ ก็คือ
1000+130(โตจากกำไรสุทธิเดิมคือ100+100*30%)
=1130

ถ้าบริษัทมีหนี้จะเป็น
600+130(กำไรจากเงินลงทุนเท่าเดิมไม่เพิ่มการกู้และโต30%)
=730

ฉะนั้นแบบFixจะได้คือ ไม่มีหนี้ 1130 มีหนี้730
แบบReinvestจะได้คือ ไม่มีหนี้1430 มีหนี้960
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ขอมั่วแบบโง่ๆ บวกลบคูณหารนี่แหละ
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
suwicha
Verified User
โพสต์: 309
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ผมว่าไม่สามารถประเมินราคาได้นะครับ
เพราะไม่รู้ว่าบ.ทำธุรกิจอะไร มีความได้เปรียบการแข่งขันแค่ไหน
กำไร100ลบ.ของบ.ที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ย่อมมีคุณค่ามากกว่ากำไร100ลบ.ของบ.ที่เป็นโรงงานรับจ้างผลิตตามออร์เดอร์ครับผม
:) :) :)
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 53

โพสต์

suwicha เขียน:ผมว่าไม่สามารถประเมินราคาได้นะครับ
เพราะไม่รู้ว่าบ.ทำธุรกิจอะไร มีความได้เปรียบการแข่งขันแค่ไหน
กำไร100ลบ.ของบ.ที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ย่อมมีคุณค่ามากกว่ากำไร100ลบ.ของบ.ที่เป็นโรงงานรับจ้างผลิตตามออร์เดอร์ครับผม
:) :) :)
ตามโจทย์ คือบริษัทเดียวกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกประการ ยกเว้น มีหนี้ กับไม่มีหนี้ครับผม
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 54

โพสต์

Jeng เขียน:
suwicha เขียน:ผมว่าไม่สามารถประเมินราคาได้นะครับ
เพราะไม่รู้ว่าบ.ทำธุรกิจอะไร มีความได้เปรียบการแข่งขันแค่ไหน
กำไร100ลบ.ของบ.ที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ย่อมมีคุณค่ามากกว่ากำไร100ลบ.ของบ.ที่เป็นโรงงานรับจ้างผลิตตามออร์เดอร์ครับผม
:) :) :)
ตามโจทย์ คือบริษัทเดียวกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกประการ ยกเว้น มีหนี้ กับไม่มีหนี้ครับผม
ยกตัวอย่างเช่น เราจะตีราคา bigc ตอนไม่มีหนี้ อย่างไร กับ ตอนที่มีหนี้เยอะๆ อย่างไร

เพราะทุกอย่างก็เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ต่างกันที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

ผมเห็นตอนตีราคาซื้อ ตอนมีหนี้ กับไม่มีหนี้ มักจะไม่นำหนี้มาคิด คำนวณราคาซื้อทั้งบริษัท ก็เลยตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ตามตัวอย่างของผม (สงสัยไม่ตรงกับโจทย์) สมมติว่า fcf ของ a และ b เป็น 135 กับ 100 และมี growth 30% ไปอีก 5 ปีจากนั้น growth จะเป็นแบบอิ่มตัวตามเงินเฟ้อที่ 3% มีต้นทุนการเงินของส่วนของผู้ถือหุ้น (ใช้แทนความเสี่ยงในการทำธุรกิจ) ที่ 10% เท่ากัน

ทีนี้ ลองมาดู ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ย (wacc - weighte average cost of capital) ของ a กับ b ใน b ง่ายกว่าเพราะมีแต่ทุน ดังนั้นจาก wacc ของ b เท่ากับ 10% ได้เลย หา npv ของ fcf ของ b ออกมา

ปี 1 2 3 4 5 terminal value
100 130 169 219 286 4080
หา NPV ได้ 2955 สมมติ par 1 มี 100หุ้น หุ้นละ 29.55 บาท นี่เป็นราคาหุ้นแบบไม่มีหนี้
(สูตรหา terminal value ที่ปีที่เราเดาอะไรไม่ได้ลองไปหาดูครับในกระทู้เก่าๆ เคยเขียนอธิบายไว้เยอะ)

แบบมีหนี้ wacc จะไม่เหมือนกับแบบแรก เพราะโครงสร้างเงินทุนไม่เหมือนกัน ไว้คุยต่อตอนหน้าละกัน
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ในกรณีของ a บ้าง a มีหนี้ในสัดส่วน 700/300 ต่อเงินทุนทั้งหมด cost of debt อยู่ที่ 6% (จ่ายดอกเบี้ยปีละ 50)

เมื่อมีหนี้เพิ่มขึ้น ต้นทุนของส่วนของผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากความผันผวนของกำไรในส่วนที่ผู้ถือหุ้นจะได้เพราะต้องแบ่งส่วนนึงให้กับเจ้าหนี้

สูตร cost of equity แบบมีหนี้ = cost of equity แบบไม่มีหนี้ + (ผลต่างระหว่าง cost of equity แบบไม่มีหนี้กับอัตราดอกเบี้ย) * (1 - อัตราภาษี) * D/E ratio

ke แบบมีหนี้ ของ a = 10% + (10%-6%) * (1-30%) * 300/700 = 11.2%

wacc แบบมีหนี้ = 11.2% * 700 /1000 + 6% (1-30% tax rate) * 300/1000 = 9.1%

หา fcf เหมือนกัน
ปี 1 2 3 4 5 Terminal value
135 165 204 254 320 4580

คิด npv ได้ 3522 บาท มูลค่าตลาดของหนี้สินคิดสูตรตาม terminal value = ดอกเบี้ยจ่าย 50 บาท / cost of debt 6% = 833 บาท เหลือให้ผู้ถือหุ้น 2689 บาท

สมมติ par 10 บาทมี 70 หุ้น จะได้ หุ้นละ 38.4 บาท (เมื่อกี้ ของ b ก็ par 10 บาทเหมือนกันนะ ขอโทษเขียนเยอะมันเบลอ)

ดูเหมือนยิ่งหนี้เยอะ ยิ่งดี เพราะประหยัดภาษี แต่เห็นได้ว่าในแง่ของผู้ถือหุ้น จะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงเพิ่มขึ้น เช่นถ้าเป็นหนี้ 700 ทุน 300 ke จะเป็น 16.5% เลยทีเดียวซึ่งก็ต้องดูว่านักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนเรื่องความเสี่ยงถ้ามีหนี้เยอะเรื่องวิกฤตคงไม่ต้องพูดถึง ทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว

ไม่รู้งงกันมั้ยเนี่ย
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
suwicha
Verified User
โพสต์: 309
ผู้ติดตาม: 0

Re: คำถาม การตีราคาบริษัทที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

โพสต์ที่ 57

โพสต์

Jeng เขียน:
Jeng เขียน:
suwicha เขียน:ผมว่าไม่สามารถประเมินราคาได้นะครับ
เพราะไม่รู้ว่าบ.ทำธุรกิจอะไร มีความได้เปรียบการแข่งขันแค่ไหน
กำไร100ลบ.ของบ.ที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ย่อมมีคุณค่ามากกว่ากำไร100ลบ.ของบ.ที่เป็นโรงงานรับจ้างผลิตตามออร์เดอร์ครับผม
:) :) :)
ตามโจทย์ คือบริษัทเดียวกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดทุกประการ ยกเว้น มีหนี้ กับไม่มีหนี้ครับผม
ยกตัวอย่างเช่น เราจะตีราคา bigc ตอนไม่มีหนี้ อย่างไร กับ ตอนที่มีหนี้เยอะๆ อย่างไร

เพราะทุกอย่างก็เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ต่างกันที่มีหนี้ กับไม่มีหนี้

ผมเห็นตอนตีราคาซื้อ ตอนมีหนี้ กับไม่มีหนี้ มักจะไม่นำหนี้มาคิด คำนวณราคาซื้อทั้งบริษัท ก็เลยตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาครับ
เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณพี่เจ๋งที่ชี้แนะครับ :oops: :oops: