อยากทราบวิธีประเมินราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นเเต่ละตัวครับ มีวิ
- ronnachai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบวิธีประเมินราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นเเต่ละตัวครับ
โพสต์ที่ 2
ลองใช้วิธีดู P/E ดีมั้ยครับ ต้องมี P/E ต่ำกว่าตลาด ข้อมูล หาได้จาก Set.or.th ครับ
แล้วก็ลองมาดูที่ตัวธุรกิจแต่สำหรับเรื่องนี้คงต้องใช้ความคิดเห็นส่วนตัว แต่ผมมีค่าอีกตัว
คือ ROA และ ROE ที่ควรจะมีมากกว่า 15% ขึ้นไปแต่ไม่โดยเสมอไปนะครับแล้วต่อธุรกิจ
พยายามหาข้อมูลและความรู้เพิ่มเรื่อย ๆ แล้วลองมาพูดคุยกันใน Board ดูนะครับ
แล้วก็ลองมาดูที่ตัวธุรกิจแต่สำหรับเรื่องนี้คงต้องใช้ความคิดเห็นส่วนตัว แต่ผมมีค่าอีกตัว
คือ ROA และ ROE ที่ควรจะมีมากกว่า 15% ขึ้นไปแต่ไม่โดยเสมอไปนะครับแล้วต่อธุรกิจ
พยายามหาข้อมูลและความรู้เพิ่มเรื่อย ๆ แล้วลองมาพูดคุยกันใน Board ดูนะครับ
ความรู้สำคัญ แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า
- ronnachai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบวิธีประเมินราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นเเต่ละตัวครับ
โพสต์ที่ 4
เข้าเว็บไซด์ Set.or.th แล้วคลิกแท็บ ข้อมูลการซื้อขายแล้วเลือกตราสารทุนแล้วเลือกสรุปภาพรวมตลาด
ก็จะพบข้อมูลที่เราต้องการ การฝึกหาข้อมูลและประมวลผลเป็นเรื่องสำคัญนะครับ
คำถามที่ผมชอบใช้ถามตนเองคือ กำลังทำอะไร ทำเพื่ออะไร แล้วความคิดต่อมันจะตามมาเอง
ก็จะพบข้อมูลที่เราต้องการ การฝึกหาข้อมูลและประมวลผลเป็นเรื่องสำคัญนะครับ
คำถามที่ผมชอบใช้ถามตนเองคือ กำลังทำอะไร ทำเพื่ออะไร แล้วความคิดต่อมันจะตามมาเอง
ความรู้สำคัญ แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบวิธีประเมินราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นเเต่ละตัวครับ
โพสต์ที่ 5
1) Reproduction Cost of Asset
เหมาะสำหรับหามูลค่าของกิจการที่ไม่ค่อยมีการเติบโต เช่น โรงพยาบาล โรงแรม หรือ บริษัทที่มีทรัพย์สินเยอะๆ เช่น เหมืองแร่ โรงไฟฟ้า แต่บางครั้งก็สามารถนำมาหามูลค่าของกิจการที่แข็งแกร่งได้ เช่น ตอนที่ Buffet ซื้อโคคาโคล่านั้น บริษัทมีมูลค่าตลาด 10,000 ล้านเหรียญ (ถ้าผมจำไม่ผิด) Buffet บอกว่าถ้ามีคนมาให้เงินแก 10,000 ล้านเหรียญ เพื่อตั้งบริษัทแข่งกับโคคาโคล่า แกคงรับไว้ไม่ได้ ต้องคืนครับเพราะมันเป็นไปไม่ได้ แสดงว่า Buffet ใช้ logic นี้ในการหามูลค่ากิจการด้วย
ข้อดี: Asset มีการเปลี่ยนแปลงน้อยถ้าเทียบกับ Earning ตัวเลขทรัพย์สินค่อนข้างมีเสถียรภาพ เหมาะสำหรับ Liquiditor ที่เลือกซื้อกิจการที่ขายทอดตลาด
ข้อเสีย: ไม่ได้คิดการเติบโตของบริษัท และต้องเข้าใจธุรกิจมากเพื่อหามูลค่าของทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
2) Earning Power Value ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม
ข้อดี: ไม่ต้องเข้าใจธุรกิจเลยก็หามูลค่าได้
ข้อเสีย: ไม่ได้คิดการเติบโตของบริษัทหรือถ้าคิดก็ต้องคิดการเติบโตได้อัตราเดียวซึ่งไม่ค่อย Realistic และ การใช้กำไรมาคำนวณมักจะไม่ค่อยมีเสถียรภาพเพราะกำไรจะขึ้นๆลงๆไม่แน่นอน
3) Discount Cashflow Model ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม เป็นการหามูลค่าที่แท้จริงตามหลักการของ Buffet
ข้อดี: คิดการเติบโตของบริษัทได้หลายอัตรา และมูลค่าใกล้เคียงความเป็นจริงในโลกธุรกิจ
ข้อเสีย: ต้องเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดีถึงจะหามูลค่าของกิจการได้ใกล้เคียงความจริงได้ การคาดหมายและประมาณการเงินสดต้องใกล้เคียงความจริง
สำหรับหนังสือที่อธิบายรายละเอียดของการหามูลค่ากิจการที่ผมเห็นมีสองเล่มครับ
1) ราคาหุ้นและการปรับโครงสร้างทางการเงิน ของ FPM Consultant หาซื้อได้ที่ SE-ED ของคุณธันวา
2) Value Investing, From Graham to Buffet and beyond ของ Bruce N Greenwald หาซื้อได้ที่ Kinokuniya
ตัดมาจากกระทู้ตะแกรงร่อน
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=1250
เหมาะสำหรับหามูลค่าของกิจการที่ไม่ค่อยมีการเติบโต เช่น โรงพยาบาล โรงแรม หรือ บริษัทที่มีทรัพย์สินเยอะๆ เช่น เหมืองแร่ โรงไฟฟ้า แต่บางครั้งก็สามารถนำมาหามูลค่าของกิจการที่แข็งแกร่งได้ เช่น ตอนที่ Buffet ซื้อโคคาโคล่านั้น บริษัทมีมูลค่าตลาด 10,000 ล้านเหรียญ (ถ้าผมจำไม่ผิด) Buffet บอกว่าถ้ามีคนมาให้เงินแก 10,000 ล้านเหรียญ เพื่อตั้งบริษัทแข่งกับโคคาโคล่า แกคงรับไว้ไม่ได้ ต้องคืนครับเพราะมันเป็นไปไม่ได้ แสดงว่า Buffet ใช้ logic นี้ในการหามูลค่ากิจการด้วย
ข้อดี: Asset มีการเปลี่ยนแปลงน้อยถ้าเทียบกับ Earning ตัวเลขทรัพย์สินค่อนข้างมีเสถียรภาพ เหมาะสำหรับ Liquiditor ที่เลือกซื้อกิจการที่ขายทอดตลาด
ข้อเสีย: ไม่ได้คิดการเติบโตของบริษัท และต้องเข้าใจธุรกิจมากเพื่อหามูลค่าของทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
2) Earning Power Value ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม
ข้อดี: ไม่ต้องเข้าใจธุรกิจเลยก็หามูลค่าได้
ข้อเสีย: ไม่ได้คิดการเติบโตของบริษัทหรือถ้าคิดก็ต้องคิดการเติบโตได้อัตราเดียวซึ่งไม่ค่อย Realistic และ การใช้กำไรมาคำนวณมักจะไม่ค่อยมีเสถียรภาพเพราะกำไรจะขึ้นๆลงๆไม่แน่นอน
3) Discount Cashflow Model ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม เป็นการหามูลค่าที่แท้จริงตามหลักการของ Buffet
ข้อดี: คิดการเติบโตของบริษัทได้หลายอัตรา และมูลค่าใกล้เคียงความเป็นจริงในโลกธุรกิจ
ข้อเสีย: ต้องเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดีถึงจะหามูลค่าของกิจการได้ใกล้เคียงความจริงได้ การคาดหมายและประมาณการเงินสดต้องใกล้เคียงความจริง
สำหรับหนังสือที่อธิบายรายละเอียดของการหามูลค่ากิจการที่ผมเห็นมีสองเล่มครับ
1) ราคาหุ้นและการปรับโครงสร้างทางการเงิน ของ FPM Consultant หาซื้อได้ที่ SE-ED ของคุณธันวา
2) Value Investing, From Graham to Buffet and beyond ของ Bruce N Greenwald หาซื้อได้ที่ Kinokuniya
ตัดมาจากกระทู้ตะแกรงร่อน
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=1250
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากทราบวิธีประเมินราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นเเต่ละตัวครับ
โพสต์ที่ 6
1) Reproduction Cost of Asset คือการหามูลค่าของบริษัทที่เราจะต้องตั้งขึ้นใหม่เพื่อแข่งขันกับบริษัทที่เราสนใจจะหามูลค่าที่แท้จริง เช่น ถ้าเราจะตั้งบริษัทแข่งกับ Boeing เพื่อผลิตเครื่องบิน เราต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ นั่นคือ เราต้องมีทรัพย์สินที่ Boeing มี (ถ้าให้ดีควรใช้ Adjusted Book Value) บวกกับค่าการตลาด บวกค่า R&D บวกค่าสร้างแบรนด์ บวกฯลฯ เราก็จะได้ค่า Intrinsic Value ของBoeing
2) Earning Power Value คือการหามูลค่าบริษัทจากผลตอบแทนของเงินลงทุนในรูปผลการดำเนินงาน เช่นบริษัทหนึ่งมีกำไร 100 ล้านบาท สมมุติเรามีเงินหนึ่งก้อนและเราสามารถทำผลตอบแทนจากเงินก้อนนี้ได้ 7% ต่อปี ดังนั้นมูลค่าของเงินลงทุนของเราที่ต้องใช้ซื้อบริษัทนี้ คือ 100/.07 เท่ากับ 1429 ล้านบาท นั่นคือมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้น (จะสังเกตเห็นว่า %ผลตอบแทนนี้คือส่วนกลับของ P/E)
3) Discount Cash Flow Model (DCF) คือการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดตลอดอายุของบริษัทโดยการใช้ส่วนลด (Discount Rate) ที่เหมาะสม
จากกระทู้ตะแกรงร่อนครับ
2) Earning Power Value คือการหามูลค่าบริษัทจากผลตอบแทนของเงินลงทุนในรูปผลการดำเนินงาน เช่นบริษัทหนึ่งมีกำไร 100 ล้านบาท สมมุติเรามีเงินหนึ่งก้อนและเราสามารถทำผลตอบแทนจากเงินก้อนนี้ได้ 7% ต่อปี ดังนั้นมูลค่าของเงินลงทุนของเราที่ต้องใช้ซื้อบริษัทนี้ คือ 100/.07 เท่ากับ 1429 ล้านบาท นั่นคือมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้น (จะสังเกตเห็นว่า %ผลตอบแทนนี้คือส่วนกลับของ P/E)
3) Discount Cash Flow Model (DCF) คือการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดตลอดอายุของบริษัทโดยการใช้ส่วนลด (Discount Rate) ที่เหมาะสม
จากกระทู้ตะแกรงร่อนครับ