ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโรป

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโรป

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การเตรียมการรับมือวิกฤติของสหภาพยุโรป

สำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิดจะพบว่า นับวันเหตุการณ์ยิ่งบานปลาย ล่าสุดเริ่มมีข่าวว่า แบงก์บางแห่งในสหภาพยุโรปเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) ต้องนำมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องหลายขนานที่เคยใช้ไปเมื่อปี 2008-2009 ออกมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการนำดอลลาร์จากธนาคารกลางสหรัฐ มาช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ผ่าน currency swap การออกมาตรการปล่อยสภาพคล่องเงินยูโร โดยการปล่อยกู้ยืมระยะยาวให้กับธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงการที่ ECB ต้องเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาจากตลาดที่ต้องนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง


ถ้าเราทำใจกลางๆ การที่ ECB นำมาตรการเหล่านี้ออกมาใช้อีกรอบ ทั้งๆ ที่ เคยหยุดใช้ไปแล้ว ตีความได้สถานเดียวว่า ปัญหาเริ่มกลับมาอีกครั้ง และปัญหารอบนี้ แรงกว่าเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา จนต้องเอาเครื่องช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจ ล้างไต ที่เคยใส่ให้กับคนไข้ ถอดออกไป แล้วต้องกลับมาใส่อีกครั้งเช่นนี้


สัญญาณเหล่านี้ จึงเป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนว่า วิกฤติหนี้ภาครัฐในยุโรปกำลังเข้าสู่ช่วงที่ 2 หรือ phase II ที่น่ากังวลใจจากเดิมมาก เพราะรอบนี้ ปัญหาไม่ใช่วิกฤติการคลัง ที่ค่อยๆ ใช้เวลาในการสุกงอม ปัญหารอบนี้คือวิกฤติสถาบันการเงิน ที่สามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว (แม้จะอยู่ในช่วงต้นๆ ของการเกิดวิกฤติสถาบันการเงิน) ซึ่งถ้าแก้ไม่ดี ปัญหาอาจจะลึกซึ้ง รุนแรง กระทบกว้างไกลกว่าที่หลายคนคาด

จะเตรียมการรองรับปัญหาอย่างไร

ณ จุดนี้ ถ้าถามว่า “ระดับความรุนแรงของปัญหาจะร้ายแรงแค่ไหน” คงต้องตอบว่า “ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ขึ้นกับมาตรการแก้ไขปัญหาในยุโรป” ว่าจะมีมาตรการที่ (1) ตรงจุด (2) ขนาดเพียงพอกับปัญหา (3) ลงมือทำอย่างรวดเร็วหรือไม่

ถ้าทางการยุโรปยังคงเลือกที่จะออกมาตรการแบบ “ขอไปที” ตามที่ได้ทำมาในช่วง 2 ปีที่แล้ว โดยไม่ยอมรับปัญหาตามที่เป็นจริง อาทิ ยอมรับว่า กรีซยังไงก็คืนหนี้ไม่ได้ และต้องตัดหนี้ออกไปอย่างน้อย 50% เงินกองทุนของหลายแบงก์ในยุโรปไม่พอ ต้องหาทางเพิ่ม หรือยึดมาเป็นของภาครัฐ และปัญหาครั้งนี้จะกำหนดความเป็นตายของสหภาพยุโรปโดยรวม ไม่มีเวลาสำหรับเกมการเมืองอีกต่อไป เป็นต้น การแก้ไขปัญหาก็จะไม่เริ่มขึ้น ยุโรปก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

และต่อให้พยายามแก้ การที่ไม่ยอมรับความจริงเช่นนี้ ก็จะทำให้แก้ผิดจุด ใช้ยาผิดขนาน เป๋ไปเป๋มา (ไม่น่าแปลกใจว่า ไม่ว่าจะพยายามพูดให้ตลาดเชื่อเท่าไร แต่ท้ายที่สุด ตลาดก็ไม่เคยเชื่อตามนั้น ทำตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลหวัง เก็งกำไรกันว่าเล่น) ซึ่งนับวัน ยิ่งทางการยุโรปช้าไป ความเสียหายก็ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที และยาที่ต้องใช้ ก็ต้องเป็นยาที่แรงขึ้นทุกที

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ประเทศไทยควรทำ ณ จุดนี้ ก็คือ “prepare for the worst and hope for the best” ซึ่งถ้าสถานการณ์ไม่ร้ายแรงขนาดนั้น เราก็จะสบาย ถ้าแย่ตามที่คาด ก็จะสบายเช่นกัน เพราะได้เตรียมการไว้หมดแล้ว โดยสิ่งที่เราควรเตรียมไว้นั้น ควรเริ่มจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา

ขอให้ทุกคนย้อนความจำไป 3 ปีว่า เมื่อตอนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เราทำอะไร ปรับตัวอย่างไร ลงทุนอย่างไร ไม่ว่าท่านจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน หรือรัฐบาล อะไรที่ทำถูกครั้งที่แล้ว ขอให้ทำอีกครั้ง อะไรที่พลาดไป ขอให้ใช้เป็นบทเรียน เพื่อครั้งนี้จะได้ไม่ผิดซ้ำอีกรอบ

โดยส่วนตัวคิดว่า วิกฤติครั้งนี้จะเบากว่าวิกฤติรอบที่แล้ว โดยปัญหาจะอยู่ในยุโรปเป็นสำคัญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อเทียบกับปี 2008 ทุกคนรู้ถึงปัญหา ได้ระวัง เตรียมการไว้แล้วในระดับหนึ่ง สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และการที่วิกฤติรอบนี้ไม่ได้ surprise ทุกคน ผลต่อสภาพคล่อง และความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวก็จะมีน้อยกว่าครั้งที่แล้ว

แต่ก็ขออย่าได้ตายใจ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็ยังจะมีความรุนแรงพอสมควร ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

ช่วงต่อไปจะเป็นช่วงของความผันผวน (ใครที่ขึ้นเครื่องบินบ่อย คงเคยได้ยินที่กัปตันประกาศว่า กำลังเข้าสู่ช่วงอากาศแปรปรวน ให้กรุณารัดเข็มขัด) เริ่มจากความผันผวนในตลาดหุ้นที่ได้ตกกันมามากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ ลงมาอยู่ที่ 869.31 จุด โดยความผันผวนในตลาดหุ้นจะยังไม่จบลงง่าย ต้องรอจนกระทั่งปัญหาในยุโรปได้รับการแก้ไข ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง (ก็ขอให้นักลงทุน ลงทุนโดยมีภาพนี้อยู่ในใจ)

ในอีกด้าน ความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จากการที่ค่าเงินดอลลาร์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยความผันผวนได้ลามไปถึงตลาดอื่นๆ เช่น ทองคำ เงิน ราคาสินค้า commodities ซึ่งปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินในยุโรป การขาดทุนของกองทุนต่างๆ จากการปรับตัวลดลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก กำลังทำให้เงินไหลออกจากตลาดที่เสี่ยง และย้อนกลับไปที่ดอลลาร์อีกครั้งหนึ่ง นำมาสู่การปรับลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็ขอให้ทุกคนทำใจว่า ความผันผวนเหล่านี้จะอยู่กับเราอีกระยะ เตรียมการเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากค่าเงินและราคาวัตถุดิบเหล่านี้ ไว้แต่เนิ่นๆ

ส่วนภาคการผลิต ในช่วง 1 ปีข้างหน้า หลังจากวิกฤติการเงินได้สุกงอมเต็มที่ สภาพคล่องในเศรษฐกิจจริงจะถูกกระทบ และมีนัยต่อภาคส่งออกและภาคการผลิตเหมือนครั้งที่แล้ว เพียงแต่รอบนี้ ปัญหาจะหนักหน่วงเป็นพิเศษที่ยุโรป มีปัญหาบ้างที่สหรัฐ และเอเชียจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของปัญหา ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกควรพยายามลดการพึ่งพิงตลาดยุโรปแต่เนิ่นๆ พยายามหันมาตลาดในเอเชียให้มากขึ้น ใช้เงินสกุลท้องถิ่น พร้อมกันนั้น พยายามลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพราะท้ายที่สุดแล้ว การส่งออกไปเอเชีย ก็คงพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยบ้าง

สิ่งที่จะแตกต่างไปอย่างมีนัยสำคัญในรอบนี้ก็คือ รัฐบาลในสหรัฐและยุโรป ไม่มีเงินมากนักที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นจะใช้เวลานานกว่าจะออกจากวิกฤติได้ ด้วยเหตุนี้ เราคงต้องพยายามหันธุรกิจเรามาที่เอเชีย ที่น่าจะยังไปได้ หลังจากฝุ่นหายตลบลง เพราะพื้นฐานเราดี ฐานะการเงินของทุกส่วนของเราเข้มแข็ง และเมื่อเวลาผ่านไป เอเชียก็จะยิ่งดูดีมากๆ เมื่อเทียบกับทุกภูมิภาค ที่อยู่ในภาวะซึมหลังจากเกิดวิกฤติ ซึ่งจะช่วยดึงดูดทุกธุรกิจให้มุ่งหน้ามาที่เอเชีย

ท้ายสุดสำหรับภาคทางการ ถ้าจำเป็น ไม่มีทางเลี่ยง การกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ยังจะเป็นตัวช่วยสำคัญในสถานการณ์เช่นนี้ รวมไปถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินตามที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ เอเชียได้เปรียบสหรัฐและยุโรปมาก เพราะเราอยู่ในฐานะที่ทำได้ และไม่ได้มีปัญหาการคลังเหมือนยุโรป และจะเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจของเอเชียอีกทาง

ในเวลาเช่นนี้ ก็ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ช่วยให้เราผ่านวิกฤติเมื่อ 3 ปีที่แล้วมาได้ และพยายามเตรียมการแต่เนิ่นๆ ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ เราก็น่าจะผ่านวิกฤติรอบนี้ไปได้เช่นกัน ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ
http://bit.ly/p7IsA7

ดร.กอบศักดิ์เป็นผู้ที่รู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาคดีระดับต้นๆของประเทศไทย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอขอบคุณพี่ฉัตรชัยมากครับ..ที่นำบทความนี้มาให้อ่าน :D
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณพี่ฉัตรชัยมากครับ
sky111
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 22
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล
ohmmairoo
Verified User
โพสต์: 37
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับพี่ฉัตรชัย ต้องรีบปั้มกระสุนรอแล้ว :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สุดยอด วิเคาระห์ได้เห็นภาพดีมากครับ


ขอบคุณครับ

:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
kukkom
Verified User
โพสต์: 8
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณพี่ฉัตร ที่ดูแลและแบ่งปันให้เสมอๆ
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ

The rise of Asia คงได้เห็นในชั่วอายุเรา
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
harlembeats
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

“prepare for the worst and hope for the best”

ขอบคุณทั้งดร.กอบศักดิ์และพี่ chatchai ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
simpleBE
Verified User
โพสต์: 2335
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

"ขอให้ทุกคนย้อนความจำไป 3 ปีว่า เมื่อตอนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
เราทำอะไร ปรับตัวอย่างไร ลงทุนอย่างไร ไม่ว่าท่านจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน หรือรัฐบาล
อะไรที่ทำถูกครั้งที่แล้ว ขอให้ทำอีกครั้ง
อะไรที่พลาดไป ขอให้ใช้เป็นบทเรียน เพื่อครั้งนี้จะได้ไม่ผิดซ้ำอีกรอบ"


ยังไม่เคยผ่านวิกฤติ แต่ก็พยายามเตรียมตัวเตรียมใจให้ดีที่สุดครับ
:mrgreen: :B :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
O_CHAY
Verified User
โพสต์: 436
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

พี่ฉัตร มักทำอะไรๆให้ฟังเข้าใจง่ายต่อน้องๆในนี้เสมอ ^^
คนที่ไม่เคยผิดพลาด คือคนที่ไม่เคยลงมือทำ
chod29
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

chatchai เขียน:
การเตรียมการรับมือวิกฤติของสหภาพยุโรป

สำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิดจะพบว่า นับวันเหตุการณ์ยิ่งบานปลาย ล่าสุดเริ่มมีข่าวว่า แบงก์บางแห่งในสหภาพยุโรปเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) ต้องนำมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องหลายขนานที่เคยใช้ไปเมื่อปี 2008-2009 ออกมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการนำดอลลาร์จากธนาคารกลางสหรัฐ มาช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ผ่าน currency swap การออกมาตรการปล่อยสภาพคล่องเงินยูโร โดยการปล่อยกู้ยืมระยะยาวให้กับธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงการที่ ECB ต้องเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาจากตลาดที่ต้องนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง


ถ้าเราทำใจกลางๆ การที่ ECB นำมาตรการเหล่านี้ออกมาใช้อีกรอบ ทั้งๆ ที่ เคยหยุดใช้ไปแล้ว ตีความได้สถานเดียวว่า ปัญหาเริ่มกลับมาอีกครั้ง และปัญหารอบนี้ แรงกว่าเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา จนต้องเอาเครื่องช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจ ล้างไต ที่เคยใส่ให้กับคนไข้ ถอดออกไป แล้วต้องกลับมาใส่อีกครั้งเช่นนี้


สัญญาณเหล่านี้ จึงเป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนว่า วิกฤติหนี้ภาครัฐในยุโรปกำลังเข้าสู่ช่วงที่ 2 หรือ phase II ที่น่ากังวลใจจากเดิมมาก เพราะรอบนี้ ปัญหาไม่ใช่วิกฤติการคลัง ที่ค่อยๆ ใช้เวลาในการสุกงอม ปัญหารอบนี้คือวิกฤติสถาบันการเงิน ที่สามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว (แม้จะอยู่ในช่วงต้นๆ ของการเกิดวิกฤติสถาบันการเงิน) ซึ่งถ้าแก้ไม่ดี ปัญหาอาจจะลึกซึ้ง รุนแรง กระทบกว้างไกลกว่าที่หลายคนคาด

จะเตรียมการรองรับปัญหาอย่างไร

ณ จุดนี้ ถ้าถามว่า “ระดับความรุนแรงของปัญหาจะร้ายแรงแค่ไหน” คงต้องตอบว่า “ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ขึ้นกับมาตรการแก้ไขปัญหาในยุโรป” ว่าจะมีมาตรการที่ (1) ตรงจุด (2) ขนาดเพียงพอกับปัญหา (3) ลงมือทำอย่างรวดเร็วหรือไม่

ถ้าทางการยุโรปยังคงเลือกที่จะออกมาตรการแบบ “ขอไปที” ตามที่ได้ทำมาในช่วง 2 ปีที่แล้ว โดยไม่ยอมรับปัญหาตามที่เป็นจริง อาทิ ยอมรับว่า กรีซยังไงก็คืนหนี้ไม่ได้ และต้องตัดหนี้ออกไปอย่างน้อย 50% เงินกองทุนของหลายแบงก์ในยุโรปไม่พอ ต้องหาทางเพิ่ม หรือยึดมาเป็นของภาครัฐ และปัญหาครั้งนี้จะกำหนดความเป็นตายของสหภาพยุโรปโดยรวม ไม่มีเวลาสำหรับเกมการเมืองอีกต่อไป เป็นต้น การแก้ไขปัญหาก็จะไม่เริ่มขึ้น ยุโรปก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

และต่อให้พยายามแก้ การที่ไม่ยอมรับความจริงเช่นนี้ ก็จะทำให้แก้ผิดจุด ใช้ยาผิดขนาน เป๋ไปเป๋มา (ไม่น่าแปลกใจว่า ไม่ว่าจะพยายามพูดให้ตลาดเชื่อเท่าไร แต่ท้ายที่สุด ตลาดก็ไม่เคยเชื่อตามนั้น ทำตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลหวัง เก็งกำไรกันว่าเล่น) ซึ่งนับวัน ยิ่งทางการยุโรปช้าไป ความเสียหายก็ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที และยาที่ต้องใช้ ก็ต้องเป็นยาที่แรงขึ้นทุกที

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ประเทศไทยควรทำ ณ จุดนี้ ก็คือ “prepare for the worst and hope for the best” ซึ่งถ้าสถานการณ์ไม่ร้ายแรงขนาดนั้น เราก็จะสบาย ถ้าแย่ตามที่คาด ก็จะสบายเช่นกัน เพราะได้เตรียมการไว้หมดแล้ว โดยสิ่งที่เราควรเตรียมไว้นั้น ควรเริ่มจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา

ขอให้ทุกคนย้อนความจำไป 3 ปีว่า เมื่อตอนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เราทำอะไร ปรับตัวอย่างไร ลงทุนอย่างไร ไม่ว่าท่านจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน หรือรัฐบาล อะไรที่ทำถูกครั้งที่แล้ว ขอให้ทำอีกครั้ง อะไรที่พลาดไป ขอให้ใช้เป็นบทเรียน เพื่อครั้งนี้จะได้ไม่ผิดซ้ำอีกรอบ

โดยส่วนตัวคิดว่า วิกฤติครั้งนี้จะเบากว่าวิกฤติรอบที่แล้ว โดยปัญหาจะอยู่ในยุโรปเป็นสำคัญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อเทียบกับปี 2008 ทุกคนรู้ถึงปัญหา ได้ระวัง เตรียมการไว้แล้วในระดับหนึ่ง สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และการที่วิกฤติรอบนี้ไม่ได้ surprise ทุกคน ผลต่อสภาพคล่อง และความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวก็จะมีน้อยกว่าครั้งที่แล้ว

แต่ก็ขออย่าได้ตายใจ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็ยังจะมีความรุนแรงพอสมควร ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

ช่วงต่อไปจะเป็นช่วงของความผันผวน (ใครที่ขึ้นเครื่องบินบ่อย คงเคยได้ยินที่กัปตันประกาศว่า กำลังเข้าสู่ช่วงอากาศแปรปรวน ให้กรุณารัดเข็มขัด) เริ่มจากความผันผวนในตลาดหุ้นที่ได้ตกกันมามากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ ลงมาอยู่ที่ 869.31 จุด โดยความผันผวนในตลาดหุ้นจะยังไม่จบลงง่าย ต้องรอจนกระทั่งปัญหาในยุโรปได้รับการแก้ไข ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง (ก็ขอให้นักลงทุน ลงทุนโดยมีภาพนี้อยู่ในใจ)

ในอีกด้าน ความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จากการที่ค่าเงินดอลลาร์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยความผันผวนได้ลามไปถึงตลาดอื่นๆ เช่น ทองคำ เงิน ราคาสินค้า commodities ซึ่งปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินในยุโรป การขาดทุนของกองทุนต่างๆ จากการปรับตัวลดลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก กำลังทำให้เงินไหลออกจากตลาดที่เสี่ยง และย้อนกลับไปที่ดอลลาร์อีกครั้งหนึ่ง นำมาสู่การปรับลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็ขอให้ทุกคนทำใจว่า ความผันผวนเหล่านี้จะอยู่กับเราอีกระยะ เตรียมการเพื่อปกป้องความเสี่ยงจากค่าเงินและราคาวัตถุดิบเหล่านี้ ไว้แต่เนิ่นๆ

ส่วนภาคการผลิต ในช่วง 1 ปีข้างหน้า หลังจากวิกฤติการเงินได้สุกงอมเต็มที่ สภาพคล่องในเศรษฐกิจจริงจะถูกกระทบ และมีนัยต่อภาคส่งออกและภาคการผลิตเหมือนครั้งที่แล้ว เพียงแต่รอบนี้ ปัญหาจะหนักหน่วงเป็นพิเศษที่ยุโรป มีปัญหาบ้างที่สหรัฐ และเอเชียจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของปัญหา ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกควรพยายามลดการพึ่งพิงตลาดยุโรปแต่เนิ่นๆ พยายามหันมาตลาดในเอเชียให้มากขึ้น ใช้เงินสกุลท้องถิ่น พร้อมกันนั้น พยายามลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพราะท้ายที่สุดแล้ว การส่งออกไปเอเชีย ก็คงพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยบ้าง

สิ่งที่จะแตกต่างไปอย่างมีนัยสำคัญในรอบนี้ก็คือ รัฐบาลในสหรัฐและยุโรป ไม่มีเงินมากนักที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นจะใช้เวลานานกว่าจะออกจากวิกฤติได้ ด้วยเหตุนี้ เราคงต้องพยายามหันธุรกิจเรามาที่เอเชีย ที่น่าจะยังไปได้ หลังจากฝุ่นหายตลบลง เพราะพื้นฐานเราดี ฐานะการเงินของทุกส่วนของเราเข้มแข็ง และเมื่อเวลาผ่านไป เอเชียก็จะยิ่งดูดีมากๆ เมื่อเทียบกับทุกภูมิภาค ที่อยู่ในภาวะซึมหลังจากเกิดวิกฤติ ซึ่งจะช่วยดึงดูดทุกธุรกิจให้มุ่งหน้ามาที่เอเชีย

ท้ายสุดสำหรับภาคทางการ ถ้าจำเป็น ไม่มีทางเลี่ยง การกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ยังจะเป็นตัวช่วยสำคัญในสถานการณ์เช่นนี้ รวมไปถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินตามที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ เอเชียได้เปรียบสหรัฐและยุโรปมาก เพราะเราอยู่ในฐานะที่ทำได้ และไม่ได้มีปัญหาการคลังเหมือนยุโรป และจะเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจของเอเชียอีกทาง

ในเวลาเช่นนี้ ก็ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ช่วยให้เราผ่านวิกฤติเมื่อ 3 ปีที่แล้วมาได้ และพยายามเตรียมการแต่เนิ่นๆ ซึ่งถ้าทำได้เช่นนี้ เราก็น่าจะผ่านวิกฤติรอบนี้ไปได้เช่นกัน ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ
http://bit.ly/p7IsA7

ดร.กอบศักดิ์เป็นผู้ที่รู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาคดีระดับต้นๆของประเทศไทย
นอกจากท่านจะรู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาคดีระดับต้นๆของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นคนที่อธิบายเรื่องยากๆ และสรุปใจความสำคัญให้คนธรรมดารู้เรื่องได้ดีอีกด้วยครับ
WorriedInvestor
Verified User
โพสต์: 262
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณพี่ฉัตรชัยมากครับผม
montkrua
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สุดยอดครับ ด้วยจิตคาราวะ
Kittikarns
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณพี่ฉัตรชัยมากครับ เป็นเรื่องเศรษฐกิจมหภาค ที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
lengmanutd
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทัศนคติของ ดร.กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล ที่มีต่อปัญหาวิกฤตยุโร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอบคุณครับผม :)
ลงทุนในบริษัทที่ดี ราคาหุ้นมี MOS (Downside = Limited) และแนวโน้มกำไรมี Growth (Upside = Infinity)
โพสต์โพสต์