บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 91
S&P ประกาศลดอันดับเครดิตธนาคารเครือ"เด็กเซีย"
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 14:27:02 น.
ผู้เข้าชม : 51 คน
รอยเตอร์รายงานว่าสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารหลักในเครือเด็กเซียลง 1 ขั้นโดยระบุถึงความยากลำบากในการระดมทุนผ่านตลาดทุน และความต้องการหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเด็กเซีย เครดิต โลคัล,เด็กเซีย แบงก์ และเด็กเซีย บองก์ อินเตอร์นาซิอองนาล อา ลักเซมเบิร์กลง 1 ขั้น อยู่ที่ A-/A-2 โดยธนาคารทั้ง 3 แห่งมีสัดส่วนมูลค่ารวมกันกว่า 90%จากสินทรัพย์รวมในเครือเด็กเซีย โดย S&P ยังประกาศเครดิตพินิจอันดับความน่าเชื่อถือโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ
อย่างไรก็ดี S&P ระบุว่าอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความสนับสนุนอย่างมากที่เด็กเซียได้รับจากรัฐบาลเบลเยียมและฝรั่งเศส
S&P ยังระบุว่า อาจดำเนินการเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก หรืออาจปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในข้อเสนอปรับโครงสร้างธนาคาร
บอร์ดบริหารของเด็กเซียจะประชุมกันที่กรุงปารีสในวันพรุ่งนี้เพื่อลงมติต่อแผนการแยกกิจการ ขณะที่รัฐบาลเบลเยียมและฝรั่งเศสประกาศว่าจะให้การค้ำประกันการให้เงินทุนสนับสนุนธนาคาร หลังจากที่ราคาดิ่งลงอย่างหนักซึ่งขณะนี้หุ้นเด็กเซียถูกขึ้นเครื่องหมาย SP แล้ว
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 14:27:02 น.
ผู้เข้าชม : 51 คน
รอยเตอร์รายงานว่าสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารหลักในเครือเด็กเซียลง 1 ขั้นโดยระบุถึงความยากลำบากในการระดมทุนผ่านตลาดทุน และความต้องการหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเด็กเซีย เครดิต โลคัล,เด็กเซีย แบงก์ และเด็กเซีย บองก์ อินเตอร์นาซิอองนาล อา ลักเซมเบิร์กลง 1 ขั้น อยู่ที่ A-/A-2 โดยธนาคารทั้ง 3 แห่งมีสัดส่วนมูลค่ารวมกันกว่า 90%จากสินทรัพย์รวมในเครือเด็กเซีย โดย S&P ยังประกาศเครดิตพินิจอันดับความน่าเชื่อถือโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ
อย่างไรก็ดี S&P ระบุว่าอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความสนับสนุนอย่างมากที่เด็กเซียได้รับจากรัฐบาลเบลเยียมและฝรั่งเศส
S&P ยังระบุว่า อาจดำเนินการเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก หรืออาจปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในข้อเสนอปรับโครงสร้างธนาคาร
บอร์ดบริหารของเด็กเซียจะประชุมกันที่กรุงปารีสในวันพรุ่งนี้เพื่อลงมติต่อแผนการแยกกิจการ ขณะที่รัฐบาลเบลเยียมและฝรั่งเศสประกาศว่าจะให้การค้ำประกันการให้เงินทุนสนับสนุนธนาคาร หลังจากที่ราคาดิ่งลงอย่างหนักซึ่งขณะนี้หุ้นเด็กเซียถูกขึ้นเครื่องหมาย SP แล้ว
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 92
คลัง’อังกฤษโต้"มูดี้ส์"ธนาคารมีเงินทุนมากพอหลังถูกหั่นเครดิต
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 15:22:42 น.
ผู้เข้าชม : 14 คน
นายจอร์จ ออสบอร์น รมว.คลังอังกฤษ เปิดเผยว่า ธนาคารของอังกฤษมีเงินทุนมากเพียงพอ และมีสภาพคล่อง และการตัดสินใจของมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสที่ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินของอังกฤษ 12 แห่งนั้น ก็เป็นเพียงแค่สะท้อนความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่หลีกเลี่ยงการต้องเข้าช่วยเหลือสถาบันเหล่านี้อีกครั้ง
นอกจากนี้ การตัดสินใจของธนาคารกลางอังกฤษที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจมากขึ้น และแผนการลดยอดขาดดุลของรัฐบาลจะช่วยปกป้องอังกฤษจากวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ทั้งนี้ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและเงินฝากของสถาบันการเงิน 12 แห่งของอังกฤษ และคงอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบัน 1 แห่ง
การดำเนินการครั้งนี้เป็นการสรุปการทบทวนคาดการณ์การสนับสนุนเชิงระบบจากรัฐบาลอังกฤษสำหรับสถาบันการเงินเหล่านี้ ซึ่งมูดี้ส์ได้เริ่มทบทวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา
มูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 ขั้นสำหรับธนาคาร Lloyds TSB Bank(สู่ A1 จาก Aa3), Santander UK (สู่ A1 จาก Aa3) และ Co-Operative Bank(สู่ A3 จาก A2) และลดอันดับความน่าเชื่อถือ 2 ขั้นสำหรับธนาคาร RBS (สู่ A2 จากAa3) และ Nationwide Building Society (สู่ A2 จาก A3) รวมทั้งลดอันดับความน่าเชื่อถือ 1-5 ขั้นสำหรับธนาคารขนาดเล็กอีก 7 แห่ง
มูดี้ส์ระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการประเมินของมูดี้ส์ต่อสภาวะการสนับสนุนภาคการเงินในอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้มีการถอนการสนับสนุนเชิงระบบต่อสถาบันการเงินขนาดเล็ก 7 แห่ง และการลดการสนับสนุนเชิงระบบลง 1-3 ขั้นสำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งที่มีความสำคัญเชิงระบบมากกว่า
มูดี้ส์ระบุว่า แถลงการณ์ รวมทั้งการดำเนินการของทางการอังกฤษทำให้การคาดคะเนต่อการสนับสนุนในระยะกลางถึงระยะยาว ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
มูดี้ส์เชื่อว่า รัฐบาลอาจจะให้ความสนับสนุนในระดับหนึ่งแก่สถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ และมีความเป็นไปได้มากขึ้นในขณะนี้ที่รัฐบาลจะปล่อยให้ธนาคารขนาดเล็กล้มละลาย ถ้าหากมีปัญหาทางการเงิน
อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้ไม่ได้สะท้อนถึงภาวะเสื่อมถอยลงของความแข็งแกร่งทางการเงินของระบบธนาคาร หรือของรัฐบาลแต่อย่างใด
นอกจากนี้มูดี้ส์ยังให้แนวโน้มเชิงลบแก่อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและเงินฝากของธนาคารเหล่านี้ เพื่อสะท้อนความเป็นไปได้ที่การให้ความสนับสนุนเชิงระบบในระยะกลางถึงระยะยาวจะลดลง
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21750/‘คล ... ครดิต-.htm
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 15:22:42 น.
ผู้เข้าชม : 14 คน
นายจอร์จ ออสบอร์น รมว.คลังอังกฤษ เปิดเผยว่า ธนาคารของอังกฤษมีเงินทุนมากเพียงพอ และมีสภาพคล่อง และการตัดสินใจของมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสที่ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินของอังกฤษ 12 แห่งนั้น ก็เป็นเพียงแค่สะท้อนความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่หลีกเลี่ยงการต้องเข้าช่วยเหลือสถาบันเหล่านี้อีกครั้ง
นอกจากนี้ การตัดสินใจของธนาคารกลางอังกฤษที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจมากขึ้น และแผนการลดยอดขาดดุลของรัฐบาลจะช่วยปกป้องอังกฤษจากวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ทั้งนี้ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและเงินฝากของสถาบันการเงิน 12 แห่งของอังกฤษ และคงอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบัน 1 แห่ง
การดำเนินการครั้งนี้เป็นการสรุปการทบทวนคาดการณ์การสนับสนุนเชิงระบบจากรัฐบาลอังกฤษสำหรับสถาบันการเงินเหล่านี้ ซึ่งมูดี้ส์ได้เริ่มทบทวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา
มูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 ขั้นสำหรับธนาคาร Lloyds TSB Bank(สู่ A1 จาก Aa3), Santander UK (สู่ A1 จาก Aa3) และ Co-Operative Bank(สู่ A3 จาก A2) และลดอันดับความน่าเชื่อถือ 2 ขั้นสำหรับธนาคาร RBS (สู่ A2 จากAa3) และ Nationwide Building Society (สู่ A2 จาก A3) รวมทั้งลดอันดับความน่าเชื่อถือ 1-5 ขั้นสำหรับธนาคารขนาดเล็กอีก 7 แห่ง
มูดี้ส์ระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการประเมินของมูดี้ส์ต่อสภาวะการสนับสนุนภาคการเงินในอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้มีการถอนการสนับสนุนเชิงระบบต่อสถาบันการเงินขนาดเล็ก 7 แห่ง และการลดการสนับสนุนเชิงระบบลง 1-3 ขั้นสำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่งที่มีความสำคัญเชิงระบบมากกว่า
มูดี้ส์ระบุว่า แถลงการณ์ รวมทั้งการดำเนินการของทางการอังกฤษทำให้การคาดคะเนต่อการสนับสนุนในระยะกลางถึงระยะยาว ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
มูดี้ส์เชื่อว่า รัฐบาลอาจจะให้ความสนับสนุนในระดับหนึ่งแก่สถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ และมีความเป็นไปได้มากขึ้นในขณะนี้ที่รัฐบาลจะปล่อยให้ธนาคารขนาดเล็กล้มละลาย ถ้าหากมีปัญหาทางการเงิน
อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้ไม่ได้สะท้อนถึงภาวะเสื่อมถอยลงของความแข็งแกร่งทางการเงินของระบบธนาคาร หรือของรัฐบาลแต่อย่างใด
นอกจากนี้มูดี้ส์ยังให้แนวโน้มเชิงลบแก่อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและเงินฝากของธนาคารเหล่านี้ เพื่อสะท้อนความเป็นไปได้ที่การให้ความสนับสนุนเชิงระบบในระยะกลางถึงระยะยาวจะลดลง
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21750/‘คล ... ครดิต-.htm
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 93
บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับยุโรป(ทางอีเมลล์)
Professor Steven Rosefielde: University of North Carolina at Chapel Hill
http://settalk.blogspot.com/2011/10/blog-post_06.html
Oct 6, 2011
เขียนโดย Risk Taker ที่ 11:45 PM
ที่ผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งบทสนทนาผ่านอีเมลล์ระหว่างผมกับอาจารย์ Steven Rosefielde เมื่อวันที่4ตุลาคมที่ผ่านมานี้เองครับ
อาจารย์Rosefieldeจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งปัจจุบันสอนวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจของยุโรปภาคพื้นทวีป อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย จีนและ เกาหลี
SETTALK: What would be the impact of the Greece's default? Specifically, will others of the PIIGS follow? Is it likely to be a global crisis! or is it just a crisis that can be contained within the Euro zone/Europe?
แปลคำถาม: ถ้าหนี้ของรัฐบาลกรีซกลายเป็นหนี้เสีย จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง? หรือถ้าถามให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มPIIGSจะล้มไปตามๆกันหรือไม่? สิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นวิกฤตที่ลุกลามไปทั่วโลกหรือไม่? หรือว่าวิกฤตครั้งนี้จะอยู่ในวงจำกัด ที่ส่งผลกระทบกับประเทศในยุโรปเท่านั้นครับ?
ROSEFIELDE: The danger posed by a Greek default is a run on the bank in other PIIGS. This could have catastrophic consequences.The ECB is trying to diminish this risk by creating emergency financial intervention fund. The outcome will depend on whether markets find the arrangement credible.
แปลคำตอบ: ความอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการที่กรีซผิดนัดการจ่ายหนี้ก็คือ คนพากันถอนเงิน หรือหยุดให้กู้ยืมเงินกับธนาคารอื่นๆในกลุ่มประเทศPIIGS ("bank run") เหตุการณ์เช่นนี้สามารถให้ผลหายนะอย่างใหญ่หลวงได้ ธนาคารกลางของยุโรป (ECB) กำลังพยายามที่จะลดความเสี่ยงนี้โดยการสร้างกองทุนฉุกเฉินขึ้นมา ผลลัพธ์ว่ากองทุนนี้จะได้ผลหรือไม่จะขึ้นอยู่กับว่าตลาดคิดว่า ข้อตกลงดังกล่าวน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
SETTALK: s it safe to say that the arrangement will not be credible? And I believe so because 1.) one of the opposition party's leaders in Germany said this would be the last time that his party would help the government vote for a extension of the bail-out fund for Greece, [and] 2.) most economists suggest that the current amount of fund is sufficient for Greece only; if Italy or Spain fall as well, much more money have to be raised. One option for fund raising that I heard quite a bit is to borrow money from ECB; however, ECB seems reluctant to lend.
What's your personal thought? Can they come up with sufficient amount of funds to save the troubled ones?
แปลคำถาม: ถ้าอย่างนั้น จะถูกต้องมั้ยครับ ถ้าเราจะพูดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะออกมาไม่น่าเชื่อถือ และผมเชื่ออย่างนั้นเพราะว่า 1.) หนึ่งในผู้นำพรรคฝ่ายค้านของเยอรมันได้กล่าวกับสื่อว่า นี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่พรรคของเขาจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนให้มีการขยายกองทุนสำหรับช่วยเหลือสำหรับกรีซ 2.) นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกองทุนช่วยเหลือ ณ ปัจจุบัน ในเพียงพอสำหรับกรีซเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าอิตาลี หรือ สเปนล้มตาม ผู้นำในยุโรปจะต้องหาเงินอีกมากมายมหาศาลมาเพิ่มในกองทุนช่วยเหลือ หนึ่งในทางออก ที่ผมได้ยินบ่อยๆก็คือการยืมเงินจากธนาคารกลางของยุโรป อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าธนาคารกลางนั้นไม่ยอมให้กู้
อาจารย์มีความคิดเห็นว่าอย่างไรครับ? ผู้นำยุโรปจะสามารถหาเงินมาช่วยประเทศต่างๆที่มีปัญหาได้หรือไม่ครับ?
ROSEFIELDE: A sound technical solution is not difficult, and an orderly Greek bankruptcy can be orchestrated.The issue is political will.
Contrary to “rational expectations,” politicians learn more slowly than they should.The market already sees this.Thus the question is when bulls decide to look beyond the problem. Some sort of stock market resolution(climax) is imminent, certainly before the new year.
แปลคำตอบ: การหาทางออกที่มีความมั่นคงนั้นทำได้ไม่ยาก การให้กรีซล้มอย่างเป็นระบบระเบียบนั้นก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ปัญหาคือ เจตจำนงทางการเมือง
ตรงกันข้ามกับแนวความคิด "rational expectation" (ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่า คนในระบบเศรษฐกิจแต่ละคน คาดหวังหรือคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต โดยใช้การเรียนรู้อย่างมีเหตุผล) นักการเมืองนั้นเรียนรู้เหตุการณ์ช้ากว่าที่พวกควรจะทำ ตลาดก็ได้เห็นสิ่งนี้แล้ว เพราะฉะนั้น คำถามก็คือ เมื่อไรละ ที่นักลงทุนจะมองข้ามปัญหานี้ไปได้? ความชัดเจนของทิศทางตลาด หรือจุดสำคัญสูงสุดของเหตุการณ์ในตลาดหุ้นนั้นใกล้เข้ามาเต็มที และจะเกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน
Professor Steven Rosefielde: University of North Carolina at Chapel Hill
http://settalk.blogspot.com/2011/10/blog-post_06.html
Oct 6, 2011
เขียนโดย Risk Taker ที่ 11:45 PM
ที่ผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งบทสนทนาผ่านอีเมลล์ระหว่างผมกับอาจารย์ Steven Rosefielde เมื่อวันที่4ตุลาคมที่ผ่านมานี้เองครับ
อาจารย์Rosefieldeจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งปัจจุบันสอนวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจของยุโรปภาคพื้นทวีป อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย จีนและ เกาหลี
SETTALK: What would be the impact of the Greece's default? Specifically, will others of the PIIGS follow? Is it likely to be a global crisis! or is it just a crisis that can be contained within the Euro zone/Europe?
แปลคำถาม: ถ้าหนี้ของรัฐบาลกรีซกลายเป็นหนี้เสีย จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง? หรือถ้าถามให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มPIIGSจะล้มไปตามๆกันหรือไม่? สิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นวิกฤตที่ลุกลามไปทั่วโลกหรือไม่? หรือว่าวิกฤตครั้งนี้จะอยู่ในวงจำกัด ที่ส่งผลกระทบกับประเทศในยุโรปเท่านั้นครับ?
ROSEFIELDE: The danger posed by a Greek default is a run on the bank in other PIIGS. This could have catastrophic consequences.The ECB is trying to diminish this risk by creating emergency financial intervention fund. The outcome will depend on whether markets find the arrangement credible.
แปลคำตอบ: ความอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการที่กรีซผิดนัดการจ่ายหนี้ก็คือ คนพากันถอนเงิน หรือหยุดให้กู้ยืมเงินกับธนาคารอื่นๆในกลุ่มประเทศPIIGS ("bank run") เหตุการณ์เช่นนี้สามารถให้ผลหายนะอย่างใหญ่หลวงได้ ธนาคารกลางของยุโรป (ECB) กำลังพยายามที่จะลดความเสี่ยงนี้โดยการสร้างกองทุนฉุกเฉินขึ้นมา ผลลัพธ์ว่ากองทุนนี้จะได้ผลหรือไม่จะขึ้นอยู่กับว่าตลาดคิดว่า ข้อตกลงดังกล่าวน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
SETTALK: s it safe to say that the arrangement will not be credible? And I believe so because 1.) one of the opposition party's leaders in Germany said this would be the last time that his party would help the government vote for a extension of the bail-out fund for Greece, [and] 2.) most economists suggest that the current amount of fund is sufficient for Greece only; if Italy or Spain fall as well, much more money have to be raised. One option for fund raising that I heard quite a bit is to borrow money from ECB; however, ECB seems reluctant to lend.
What's your personal thought? Can they come up with sufficient amount of funds to save the troubled ones?
แปลคำถาม: ถ้าอย่างนั้น จะถูกต้องมั้ยครับ ถ้าเราจะพูดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะออกมาไม่น่าเชื่อถือ และผมเชื่ออย่างนั้นเพราะว่า 1.) หนึ่งในผู้นำพรรคฝ่ายค้านของเยอรมันได้กล่าวกับสื่อว่า นี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่พรรคของเขาจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนให้มีการขยายกองทุนสำหรับช่วยเหลือสำหรับกรีซ 2.) นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกองทุนช่วยเหลือ ณ ปัจจุบัน ในเพียงพอสำหรับกรีซเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าอิตาลี หรือ สเปนล้มตาม ผู้นำในยุโรปจะต้องหาเงินอีกมากมายมหาศาลมาเพิ่มในกองทุนช่วยเหลือ หนึ่งในทางออก ที่ผมได้ยินบ่อยๆก็คือการยืมเงินจากธนาคารกลางของยุโรป อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าธนาคารกลางนั้นไม่ยอมให้กู้
อาจารย์มีความคิดเห็นว่าอย่างไรครับ? ผู้นำยุโรปจะสามารถหาเงินมาช่วยประเทศต่างๆที่มีปัญหาได้หรือไม่ครับ?
ROSEFIELDE: A sound technical solution is not difficult, and an orderly Greek bankruptcy can be orchestrated.The issue is political will.
Contrary to “rational expectations,” politicians learn more slowly than they should.The market already sees this.Thus the question is when bulls decide to look beyond the problem. Some sort of stock market resolution(climax) is imminent, certainly before the new year.
แปลคำตอบ: การหาทางออกที่มีความมั่นคงนั้นทำได้ไม่ยาก การให้กรีซล้มอย่างเป็นระบบระเบียบนั้นก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ปัญหาคือ เจตจำนงทางการเมือง
ตรงกันข้ามกับแนวความคิด "rational expectation" (ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่า คนในระบบเศรษฐกิจแต่ละคน คาดหวังหรือคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต โดยใช้การเรียนรู้อย่างมีเหตุผล) นักการเมืองนั้นเรียนรู้เหตุการณ์ช้ากว่าที่พวกควรจะทำ ตลาดก็ได้เห็นสิ่งนี้แล้ว เพราะฉะนั้น คำถามก็คือ เมื่อไรละ ที่นักลงทุนจะมองข้ามปัญหานี้ไปได้? ความชัดเจนของทิศทางตลาด หรือจุดสำคัญสูงสุดของเหตุการณ์ในตลาดหุ้นนั้นใกล้เข้ามาเต็มที และจะเกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 94
นักเศรษฐศาสตร์คาด BOE อาจมี QE3 อีกรอบ
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 16:51:54 น.
ผู้เข้าชม : 94 คน
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ โดยระบุว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษเพิ่มขึ้นอีก 5 หมื่นล้านปอนด์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจาก BOE เพิ่งประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 (QE2) เมื่อวานนี้ โดยขยายวงเงินในมาตรการดังกล่าวสู่ระดับ 2.75 แสนล้านปอนด์ จากเดิมที่ 2 แสนล้านปอนด์
BOE ประกาศเมื่อวานนี้ว่า BOE จะเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ หลังจากที่ซื้อไปแล้ว 2 แสนล้านปอนด์ภายใต้มาตรการ QE1
ทั้งนี้ เศรษฐกิจอังกฤษแทบไม่ได้ขยายตัวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของอังกฤษเผชิญกับวิกฤติหนี้สาธารณะ และสิ่งนี้ถือเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจและภาคการเงินของอังกฤษ และเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ BOE ประกาศ QE2 เมื่อวานนี้
นักเศรษฐศาสตร์ 34 จาก 47 ราย หรือราว 2 ใน 3 ของโพลล์รอยเตอร์ระบุว่า BOE จำเป็นต้องดำเนินมาตรการ QE มากยิ่งขึ้นเพื่อทำให้เศรษฐกิจอังกฤษฟื้นตัว
นายไมเคิล ซอนเดอร์ส นักเศรษฐศาสตร์จากซิตี้กรุ๊ปคาดว่ามาตรการQE อาจมีวงเงิน 5 แสนล้านปอนด์ในอนาคต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวเลขคาดการณ์สูงสุด ขณะที่นายซอนเดอร์สเป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์เพียงสองคนที่คาดการณ์ได้อย่างถูกต้องทั้งในเรื่องกำหนดเวลาและวงเงินการปรับเพิ่ม QE ในครั้งนี้
นายฟิลิป ชอว์ นักเศรษฐศาสตร์ของอินเวสเทคกล่าวว่า "เราควรมองว่ามาตรการ QE รอบล่าสุดถือเป็นการตอบรับต่อข่าวกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง และเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างรุนแรงในอนาคต"
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21759/นัก ... ีกรอบ-.htm
วันศุกร์ที่ 07 ตุลาคม 2554 เวลา 16:51:54 น.
ผู้เข้าชม : 94 คน
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ โดยระบุว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษเพิ่มขึ้นอีก 5 หมื่นล้านปอนด์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจาก BOE เพิ่งประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 2 (QE2) เมื่อวานนี้ โดยขยายวงเงินในมาตรการดังกล่าวสู่ระดับ 2.75 แสนล้านปอนด์ จากเดิมที่ 2 แสนล้านปอนด์
BOE ประกาศเมื่อวานนี้ว่า BOE จะเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ หลังจากที่ซื้อไปแล้ว 2 แสนล้านปอนด์ภายใต้มาตรการ QE1
ทั้งนี้ เศรษฐกิจอังกฤษแทบไม่ได้ขยายตัวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ยูโรโซนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของอังกฤษเผชิญกับวิกฤติหนี้สาธารณะ และสิ่งนี้ถือเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจและภาคการเงินของอังกฤษ และเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ BOE ประกาศ QE2 เมื่อวานนี้
นักเศรษฐศาสตร์ 34 จาก 47 ราย หรือราว 2 ใน 3 ของโพลล์รอยเตอร์ระบุว่า BOE จำเป็นต้องดำเนินมาตรการ QE มากยิ่งขึ้นเพื่อทำให้เศรษฐกิจอังกฤษฟื้นตัว
นายไมเคิล ซอนเดอร์ส นักเศรษฐศาสตร์จากซิตี้กรุ๊ปคาดว่ามาตรการQE อาจมีวงเงิน 5 แสนล้านปอนด์ในอนาคต ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวเลขคาดการณ์สูงสุด ขณะที่นายซอนเดอร์สเป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์เพียงสองคนที่คาดการณ์ได้อย่างถูกต้องทั้งในเรื่องกำหนดเวลาและวงเงินการปรับเพิ่ม QE ในครั้งนี้
นายฟิลิป ชอว์ นักเศรษฐศาสตร์ของอินเวสเทคกล่าวว่า "เราควรมองว่ามาตรการ QE รอบล่าสุดถือเป็นการตอบรับต่อข่าวกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง และเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างรุนแรงในอนาคต"
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21759/นัก ... ีกรอบ-.htm
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 95
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 18:44:29 น.
ฟิลิปป์ โรสเลอร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนีกล่าวในระหว่างการเดินทางเยือนกรีซว่า กรีซไม่มีทางที่จะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจกรีซ ในขณะที่มีการคาดการณ์อย่างต่อเนื่องว่ากรีซอาจจะล้มละลาย
"ไม่มีการหารือเรื่องผืดนัดชำระหนี้ ประเด็นคือ การสนับสนุนกรีซและประเทศสมาชิกในยูโรโซนทั้งหมด" เขากล่าว
รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีกล่าวว่า "ในช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับกรีซ ยุโรป และทั่วโลกเช่นนี้ เรามาที่นี่เพื่อที่จะให้การสนับสนุน" พร้อมกับเสริมว่า กรีซเองก็ควรจะเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างอย่างเต็มที่ ตามที่เคยให้คำมั่นไว้ว่าจะทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีเสถียรภาพ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ นายไมคาลิส คริสโซโฮอิดิส รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนา ความสามารถในการแข่งขัน และขนส่งของกรีซ และรมว.เศรษฐกิจเยอรมนี จะลงนามในบันทึกความร่วมมือระดับทวิภาคีร่วมกันในวันนี้
ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เยอรมนีจะช่วยเหลือกรีซในการปฏิรูปโครงสร้าง และจะให้เงินสนับสนุนด้านการลงทุนผ่านทางธนาคารยูโรเปียน อินเวสเมนท์ แบงก์
ทั้งนี้ ข้อตกลงยังมีเป้าหมายที่จะปูทางไปสู่การคลี่คลายข้อขัดแย้งทางกฎหมายของบริษัทเยอรมนีในกรีซ
รมว.กระทรวงพัฒนาของกรีซกล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลกรีซที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้ และฟื้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะเป็นการดำเนินการที่เจ็บปวดก็ตาม
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ฟิลิปป์ โรสเลอร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนีกล่าวในระหว่างการเดินทางเยือนกรีซว่า กรีซไม่มีทางที่จะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจกรีซ ในขณะที่มีการคาดการณ์อย่างต่อเนื่องว่ากรีซอาจจะล้มละลาย
"ไม่มีการหารือเรื่องผืดนัดชำระหนี้ ประเด็นคือ การสนับสนุนกรีซและประเทศสมาชิกในยูโรโซนทั้งหมด" เขากล่าว
รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีกล่าวว่า "ในช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับกรีซ ยุโรป และทั่วโลกเช่นนี้ เรามาที่นี่เพื่อที่จะให้การสนับสนุน" พร้อมกับเสริมว่า กรีซเองก็ควรจะเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างอย่างเต็มที่ ตามที่เคยให้คำมั่นไว้ว่าจะทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีเสถียรภาพ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ นายไมคาลิส คริสโซโฮอิดิส รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนา ความสามารถในการแข่งขัน และขนส่งของกรีซ และรมว.เศรษฐกิจเยอรมนี จะลงนามในบันทึกความร่วมมือระดับทวิภาคีร่วมกันในวันนี้
ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เยอรมนีจะช่วยเหลือกรีซในการปฏิรูปโครงสร้าง และจะให้เงินสนับสนุนด้านการลงทุนผ่านทางธนาคารยูโรเปียน อินเวสเมนท์ แบงก์
ทั้งนี้ ข้อตกลงยังมีเป้าหมายที่จะปูทางไปสู่การคลี่คลายข้อขัดแย้งทางกฎหมายของบริษัทเยอรมนีในกรีซ
รมว.กระทรวงพัฒนาของกรีซกล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลกรีซที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปเพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้ และฟื้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะเป็นการดำเนินการที่เจ็บปวดก็ตาม
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 96
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554 08:30:00 น.
นางคริสติน ลาการ์ด ผุ้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เดินทางถึงฝรั่งเศสวานนี้ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศส ในประเด็นเกี่ยวกับหนี้สินยุโรป
การเดินทางเยือนของนางลาการ์ดมีขึ้นก่อนที่ปธน.ซาร์โคซีจะเดินทางเยือนเยอรมนี ซึ่งคาดว่าเขาจะพบปะกับนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือครั้งใหม่สำหรับกรีซ
สื่อท้องถิ่นฝรั่งเศสรายงานว่า การหารือระหว่างนางลาการ์ดและปธน.ซาร์โคซี ยังจะให้ความสำคัญกับการเตรียมการเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดจี-20 ที่เมืองคานส์ในเดือนหน้าด้วย ซึ่งมีความชัดเจนว่าปัญหาหนี้สินยูโรโซนจะเป็นประเด็นสำคัญของวาระการประชุม
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
นางคริสติน ลาการ์ด ผุ้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เดินทางถึงฝรั่งเศสวานนี้ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศส ในประเด็นเกี่ยวกับหนี้สินยุโรป
การเดินทางเยือนของนางลาการ์ดมีขึ้นก่อนที่ปธน.ซาร์โคซีจะเดินทางเยือนเยอรมนี ซึ่งคาดว่าเขาจะพบปะกับนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือครั้งใหม่สำหรับกรีซ
สื่อท้องถิ่นฝรั่งเศสรายงานว่า การหารือระหว่างนางลาการ์ดและปธน.ซาร์โคซี ยังจะให้ความสำคัญกับการเตรียมการเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดจี-20 ที่เมืองคานส์ในเดือนหน้าด้วย ซึ่งมีความชัดเจนว่าปัญหาหนี้สินยูโรโซนจะเป็นประเด็นสำคัญของวาระการประชุม
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 97
ประธานธ.กลางยุโรปชี้ EFSF ต้องยืดหยุ่น มองอียูเชื่อมโยงสูง ความเสี่ยงเพิ่ม
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2554 เวลา 16:39:40 น.
ผู้เข้าชม : 13 คน
นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานคณะกรรมการความเสี่ยงต่อระบบของยุโรป (ESRB) และประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า ควรจะทำให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน มีความยืดหยุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ได้ดึงอีซีบีเข้ามาควบคุมกองทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ การเชื่อมโยงสูงในระบบการเงินของอียูนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่จะเกิดการลุกลามครั้งสำคัญ และเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพทางการเงินในอียูทั้งระบบ และมีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจที่แท้จริงในยุโรป และอื่นๆ ด้วย ดังนั้นรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ยุโรปดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤติครั้งนี้ พร้อมทั้งเสริมว่าความล่าช้าจะเป็นหายนะต่อเศรษฐกิจ
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21972/ประ ... เพิ่ม-.htm
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2554 เวลา 16:39:40 น.
ผู้เข้าชม : 13 คน
นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานคณะกรรมการความเสี่ยงต่อระบบของยุโรป (ESRB) และประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า ควรจะทำให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน มีความยืดหยุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ได้ดึงอีซีบีเข้ามาควบคุมกองทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ การเชื่อมโยงสูงในระบบการเงินของอียูนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่จะเกิดการลุกลามครั้งสำคัญ และเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพทางการเงินในอียูทั้งระบบ และมีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจที่แท้จริงในยุโรป และอื่นๆ ด้วย ดังนั้นรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ยุโรปดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤติครั้งนี้ พร้อมทั้งเสริมว่าความล่าช้าจะเป็นหายนะต่อเศรษฐกิจ
ที่มา...http://www.kaohoon.com/online/21972/ประ ... เพิ่ม-.htm
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 98
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 11 ตุลาคม 2554 12:16:15 น.
นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆใช้เงินยูโร เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดจากวิกฤตหนี้ในกรีซและประเทศสมาชิกยูโรโซนรายอื่นๆ ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือทางการเงินจากญี่ปุ่นหรือสหรัฐ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า อาซูมิ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า วาระสำคัญในการประชุม G-20 ที่จะจัดขึ้นในปลายสัปดาห์ที่กรุงปารีสนั้น การใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาคงจะเป็นวาระสำคัญอย่างมากในการประชุม
รมว.คลังกล่าวว่า โดยหลักการแล้ว เขาต้องการให้ยุโรปหารืออย่างถี่ถ้วนก่อนว่าจะใช้กลไกใด หรือพิจารณาว่า ยุโรปต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อจัดสรรให้กับประเทศหรือสถาบันการเงินที่เผชิญกับวิกฤตหรือไม่
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆใช้เงินยูโร เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดจากวิกฤตหนี้ในกรีซและประเทศสมาชิกยูโรโซนรายอื่นๆ ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือทางการเงินจากญี่ปุ่นหรือสหรัฐ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า อาซูมิ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า วาระสำคัญในการประชุม G-20 ที่จะจัดขึ้นในปลายสัปดาห์ที่กรุงปารีสนั้น การใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาคงจะเป็นวาระสำคัญอย่างมากในการประชุม
รมว.คลังกล่าวว่า โดยหลักการแล้ว เขาต้องการให้ยุโรปหารืออย่างถี่ถ้วนก่อนว่าจะใช้กลไกใด หรือพิจารณาว่า ยุโรปต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อจัดสรรให้กับประเทศหรือสถาบันการเงินที่เผชิญกับวิกฤตหรือไม่
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 99
ผมคิดว่าtorpongpak เขียน:555 จริงๆครับพี่ใครตอบได้ก็รวยซิ เเต่ผมก็ได้คำตอบนะครับJeng เขียน:ตอบได้ก็รวยซิtorpongpak เขียน:ขอถามวิธีการตัดสินใจเข้าซื้อของพี่jengเเละพี่ท่านอื่นๆหน่อยครับ ว่าจะตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น"จังหวะ"ไหน?Jeng เขียน:เก็บเงินสดไว้รอตลาดตกสุดๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
ผมขอยกตัวอย่างสมมุตินะครับเช่น
ผมสนใจหุ้นZ เมื่อคำนวณราคาที่คิดว่าถูกเเละมีMargin of safety(ไม่ว่าจะคิดเเบบ Forward PE, P/BV, PEG หรือ ดูDividend) เราได้ตัวเลขมาที่ราคา 190-210 บาท
เเต่ในขณะนี้หุ้นZ ราคา 300 บาทที่ Set 1,000 จุด...เเน่นอนครับเราก็ต้องรอ
ปรากฏว่าผ่านไปไม่ถึงสี่เดือนต่อจากนี้ สมมุติว่าวิกฤติหนี้ยุโรปเเย่ลงกรีซอาจล้มละลาย Setหลุดมาที่700จุด ราคาหุ้นZลงมาที่200บาท เเละไม่รู้ว่าเเนวโน้มSetจะไปทางไหน ตลาดโลกดูอึมครึม เเต่รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมถึงอาจออกมาตรการบางอย่างกระตุ้นเศรฐกิจ ซึ่งหุ้นZอาจได้ประโยชน์ทางออ้อม
ถามว่าพี่ๆจะซื้อหุ้นZเลยไหมจะมีวิธีการซื้ออย่างไร ทยอยซื้อไปทีละนิด หรือทุ่มซื้อตามที่ตั้งงบไว้ว่าอยากมีหุ้นzเป็นจำนวนกี่หุ้น(เเล้วปิดจอไปเลย) หรือยังไม่ซื้ออาจใช้กราฟเทคนิคดูภาพรวมของSetให้กลับเป็นขาขึ้นก่อนเเล้วค่อยซื้อหุ้นz หรือรอให้เเนวโน้มตลาดรวมเป็นขาขึ้นก่อน ยอมซื้อหุ้นZที่ราคาเเพงกว่า200บาทเเต่รอให้วิกฤติจบเเน่ๆก่อน
ปล.ผมยังไม่เคยเจอวิกฤติเเบบปี2008ครับ
สำหรับพี่เหรอ ถ้าเป็นพอร์ท VI ซื้อแล้วก็ถือ รับปันผล ถือไปปีหน้าเลย
ส่วนพอร์ทเก็งกำไร ก็รอของดี ราคาลงมาจัดๆ ยิ่งลงยิ่งชอบ (ส่วนสำนักอื่น เขาไม่ให้ซื้อวิธีนี้ เขาบอกว่า ของถูก จะมีถูกกว่า )
ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าเป็นพอร์ทเก็งกำไร ก็อยากได้หุ้นที่พื้นฐานดี ราคาคนเขาบ่นกันว่า ลงมาขนาดนี้ได้ไง
แล้วถือไปขายตอนคนบ่นกันว่า ขึ้นไปแบบนี้ได้ไง (ความอยากนะครับ ทำได้ หรือไม่ได้อีกเรื่อง)
ผมรู้สึกว่าเราอ่านทฤษฎีมาเยอะเเล้ว คิดๆตามก็เเล้วได้Conceptของตนเองบางอย่างเเล้ว
เเต่จังหวะตัดสินใจซื้อมันต้องอาศัยความ"กล้า"มากๆเลยนะครับ ต้องกล้าที่จะเชื่อสิ่งที่เราคิด
สมมุติว่าถ้าผมตัดสินใจซื้อหุ้นZ ตอน200บาทเเละถ้ามันตกมาอีกเหลือ150 ตกมาอีกเหลือ 130 เเล้วผมกลับ"ตื่นเต้น" "อยากซื้อเพิ่ม" เเละรีบรีดเงินสดออกมาจากช่องทางต่างๆเพื่อเป็นกระสุนไปซื้อเพิ่ม...ตอนนั้นเเหละผมจะถือว่าผมผ่านจากVIฝึกหัด เป็นVIพันธ์เเท้
หุ้นตัวหนึ่งเล่นได้หลายแบบ หุ้นตัวเดียวกันคนซื้อต่างกัน ได้กำไรไม่เท่ากัน
ถ้าราคาที่ประเมินเป็น ราคาในอนาคตหลายปี
แสดงว่าหุ้นถือยาวๆพอสมควร ราคามาอยู่ในช่วงที่เราจะซื้อ
เศรษฐกิจไม่ดี ดัชนี้ตลาดหุ้นไม่ดีต้นปีตกมาไม่เยอะ แบ่งซื้อซัก 3 ครั้ง จะซื้อนิดหน่อยก่อน
ถ้าราคาที่ประเมินเป็น ราคาในอนาคตอันใกล้
แสดงว่าเป็รหุ้นถือระยะสั้น ราคาหุ้นจะไม่เหวี่ยงตามกำไรมากนัก และ เศรษฐกิจไม่ดี ดัชนี้ตลาดหุ้นไม่ดี แบ่งซื้อซัก 3 ครั้ง จะยังไม่ซื้อรอจังหวะไปก่อน มันอาจจะตกลงไปต่กกว่าโซนซื้อ แล้ววิ่งกลับเข้าโซนซื้อใหม่ และ ราคาเพ่ิมไปเเรื่อยๆ
รอรับขามันวกกลับครับ เพาะเราจะยังถือเงินสดไว้ก่อนเผื่อเจอหุ้นดีๆตัวอื่นอีก
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 100
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2554 08:47:18 น.
นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยแผนการเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ในยุโรป เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคธนาคารได้รับความเสียหายจากปัญหาหนี้สาธารณะจากกรีซและประเทศอื่นๆในยูโรโซน
นายบาร์โรโซได้เสนอแผนการดังกล่าวต่อรัฐสภายุโรป โดยกล่าวว่า ธนาคารที่มีเงินทุนไม่เพียงพอและจำเป็นต้องเพิ่มทุน ด้วยการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนเอกชน ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในฐานะแหล่งเงินทุนแห่งสุดท้าย พร้อมระบุว่า ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุน หรือจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน นอกเสียจากว่าธนาคารจะสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดเพื่อการระดมทุน
นอกจากนี้ นายบาร์โรโซกล่าวว่า การที่ธนาคารจะใช้เงินจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยูโรปนั้น (EFSF) นั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐสภายุโรปเห็นชอบทางเลือกสองทางดังกล่าวแล้วเท่านั้น
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า สมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) คาดว่า จะหารือกันเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 ต.ค. โดยคาดว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมครั้งนี้
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประมาณว่าธนาคารพาณิชย์ในยุโรปจำเป็นต้องเสริมฐานเงินทุนด้วยวงเงินราว 1-2 แสนล้านยูโร
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยแผนการเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ในยุโรป เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคธนาคารได้รับความเสียหายจากปัญหาหนี้สาธารณะจากกรีซและประเทศอื่นๆในยูโรโซน
นายบาร์โรโซได้เสนอแผนการดังกล่าวต่อรัฐสภายุโรป โดยกล่าวว่า ธนาคารที่มีเงินทุนไม่เพียงพอและจำเป็นต้องเพิ่มทุน ด้วยการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนเอกชน ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในฐานะแหล่งเงินทุนแห่งสุดท้าย พร้อมระบุว่า ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุน หรือจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน นอกเสียจากว่าธนาคารจะสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดเพื่อการระดมทุน
นอกจากนี้ นายบาร์โรโซกล่าวว่า การที่ธนาคารจะใช้เงินจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยูโรปนั้น (EFSF) นั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐสภายุโรปเห็นชอบทางเลือกสองทางดังกล่าวแล้วเท่านั้น
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า สมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) คาดว่า จะหารือกันเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 ต.ค. โดยคาดว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมครั้งนี้
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประมาณว่าธนาคารพาณิชย์ในยุโรปจำเป็นต้องเสริมฐานเงินทุนด้วยวงเงินราว 1-2 แสนล้านยูโร
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 101
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2554 10:21:52 น.
นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นขานรับการลงมติการขยายกองทุนกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ของสโลวาเกีย เพื่อแก้วิกฤตหนี้ในภูมิภาค ชี้การลงมติครั้งนี้เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รมว.คลังญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงข่าวว่า การตัดสินใจให้ความช่วยเหลือกรีซของสโลวาเกียครั้งนี้ ถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสโลวาเกียและประชาชน แต่สหภาพยุโรปนั้นสามารถผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าครั้งใหญ่ได้ เนื่องจากประเทศในกลุ่มยูโรโซนทั้ง 17 ประเทศก็ได้อนุมัติกองทุนแล้วในที่สุด
"สหภาพยุโรปสามารถหลีกเลี่ยงการล่มสลายของสกุลเงินเดียวได้แล้ว" รมว.คลังกล่าว
สโลวาเกียเป็นประเทศสมาชิกรายสุดท้ายในกลุ่มยูโรโซน 17 ประเทศ ที่ได้อนุมัติให้มีการขยายกองทุน EFSF ซึ่งการขยายกองทุนจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาของประเทศสมาชิกทั้ง 17 ประเทศ
การขยายกองทุนจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการปล่อยกู้ของ EFSF เพิ่มขึ้นเป็น 4.40 แสนล้านยูโร จากระดับ 2.50 แสนล้านยูดร และยังทำให้กองทุนสามารถอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารต่างๆได้
ปัญหาหนี้ยุโรปคาดว่า จะเป็นประเด็นที่ได้มีการหารือกันในการประชุมรมว.คลังและผู้ว่าการธนาคารกลางในกลุ่ม G-20 ซึ่งรมว.คลังวางแผนว่า จะเข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน
นายอาซูมิกล่าวว่า เขาอาจจะไม่มีเวลาจัดการเจรจาทวิภาคีอย่างเป็นทางการกับนนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงคลังสหรัฐนอกรอบการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่ก็หวังว่า จะได้พูดคุยกันในประเด็นต่างๆ และเรื่องสถานการณ์ในยุโรป
รมว.คลังญี่ปุ่น กล่าวย้ำว่า ญี่ปุ่นจะพิจารณาซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเพิ่มเติมที่ออกโดยกองทุน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ และจะหารือกับสหรัฐถึงวิธีการรับมือกับปัญหาหนี้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นขานรับการลงมติการขยายกองทุนกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ของสโลวาเกีย เพื่อแก้วิกฤตหนี้ในภูมิภาค ชี้การลงมติครั้งนี้เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รมว.คลังญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงข่าวว่า การตัดสินใจให้ความช่วยเหลือกรีซของสโลวาเกียครั้งนี้ ถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสโลวาเกียและประชาชน แต่สหภาพยุโรปนั้นสามารถผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าครั้งใหญ่ได้ เนื่องจากประเทศในกลุ่มยูโรโซนทั้ง 17 ประเทศก็ได้อนุมัติกองทุนแล้วในที่สุด
"สหภาพยุโรปสามารถหลีกเลี่ยงการล่มสลายของสกุลเงินเดียวได้แล้ว" รมว.คลังกล่าว
สโลวาเกียเป็นประเทศสมาชิกรายสุดท้ายในกลุ่มยูโรโซน 17 ประเทศ ที่ได้อนุมัติให้มีการขยายกองทุน EFSF ซึ่งการขยายกองทุนจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาของประเทศสมาชิกทั้ง 17 ประเทศ
การขยายกองทุนจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการปล่อยกู้ของ EFSF เพิ่มขึ้นเป็น 4.40 แสนล้านยูโร จากระดับ 2.50 แสนล้านยูดร และยังทำให้กองทุนสามารถอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารต่างๆได้
ปัญหาหนี้ยุโรปคาดว่า จะเป็นประเด็นที่ได้มีการหารือกันในการประชุมรมว.คลังและผู้ว่าการธนาคารกลางในกลุ่ม G-20 ซึ่งรมว.คลังวางแผนว่า จะเข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน
นายอาซูมิกล่าวว่า เขาอาจจะไม่มีเวลาจัดการเจรจาทวิภาคีอย่างเป็นทางการกับนนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงคลังสหรัฐนอกรอบการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่ก็หวังว่า จะได้พูดคุยกันในประเด็นต่างๆ และเรื่องสถานการณ์ในยุโรป
รมว.คลังญี่ปุ่น กล่าวย้ำว่า ญี่ปุ่นจะพิจารณาซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเพิ่มเติมที่ออกโดยกองทุน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ และจะหารือกับสหรัฐถึงวิธีการรับมือกับปัญหาหนี้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 102
Standard & Poor's (S&P) has cut Spain's long-term credit rating by one notch, from AA to AA-,
http://www.bbc.co.uk/news/business-15301826
http://www.bbc.co.uk/news/business-15301826
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 103
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2554 09:10:57 น.
ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) หลังจากที่สมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หารือกันเรื่องการเพิ่มความสามารถในการปล่อยกู้ให้ยุโรปเพื่อยุติวิกฤตหนี้ ขณะที่สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ดีเกินคาด
ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 62.98 จุด หรือ 1.2% ปิดที่ 5,466.36 จุด และปิดบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน นับว่าปิดบวกต่อเนื่องนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน
เจ้าหน้าที่จากกลุ่มจี20 และไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า ประเทศต่างๆตั้งแต่จีนไปจนถึงบราซิล ต่างกำลังพิจารณาว่าจะเพิ่มเงินช่วยเหลือไอเอ็มเอฟเพื่อนำไปกู้วิกฤตยูโรโซน
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐขยายตัว 1.1% ในเดือนกันยายน เหนือกว่าระดับ 0.3% ในเดือนสิงหาคม และสูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 0.7% นอกจากนั้นยังขยายตัวมากที่สุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวและเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาด
ทั้งนี้ หุ้นเฟรสนิลโล พีแอลซี ผู้ประกอบการเหมืองโลหะเงินรายใหญ่ เพิ่มขึ้น 1.9% และหุ้นบีพี พีแอลซี ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาด ทะยาน 2.6%
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.02-2535000 ต่อ 338 อีเมล์: [email protected]--
ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) หลังจากที่สมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หารือกันเรื่องการเพิ่มความสามารถในการปล่อยกู้ให้ยุโรปเพื่อยุติวิกฤตหนี้ ขณะที่สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ดีเกินคาด
ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 62.98 จุด หรือ 1.2% ปิดที่ 5,466.36 จุด และปิดบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน นับว่าปิดบวกต่อเนื่องนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน
เจ้าหน้าที่จากกลุ่มจี20 และไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า ประเทศต่างๆตั้งแต่จีนไปจนถึงบราซิล ต่างกำลังพิจารณาว่าจะเพิ่มเงินช่วยเหลือไอเอ็มเอฟเพื่อนำไปกู้วิกฤตยูโรโซน
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐขยายตัว 1.1% ในเดือนกันยายน เหนือกว่าระดับ 0.3% ในเดือนสิงหาคม และสูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 0.7% นอกจากนั้นยังขยายตัวมากที่สุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวและเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาด
ทั้งนี้ หุ้นเฟรสนิลโล พีแอลซี ผู้ประกอบการเหมืองโลหะเงินรายใหญ่ เพิ่มขึ้น 1.9% และหุ้นบีพี พีแอลซี ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาด ทะยาน 2.6%
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.02-2535000 ต่อ 338 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 104
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 07:01:35 น.
นายหลี่ เตากุย หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางจีนได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปจะสิ้นสุดลงในระยะเวลา 3 ปีเป็นอย่างน้อย พร้อมกับเชื่อมั่นว่า ยูโรโซนจะไม่ล่มสลาย และยูโรโซนจะแข็งแกร่งขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ
นายหลี่แสดงความเห็นว่า กรีซและโปรตุเกสจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้อย่างแน่นอน ซึ่งทั้งสองประเทศจะต้องจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว อย่างไรก็ตาม คาดว่าเยอรมนีและฝรั่งเศสจะสามารถจะสามารถปกป้องตัวเองเอาไว้จากวิกฤตหนี้ได้ ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่มีผลกระทบในเชิงระบบ
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นอกจากนั้นแล้ว นายหลี่ยังได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงทางการเมืองในระยะยาวของสหรัฐ พร้อมกล่าวว่า ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือปัญหาทางสังคม ซึ่งปัจจุบันได้เกิดความไม่สงบในพื้นที่หลายแห่งของสหรัฐ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยากต่อการแก้ไข
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายหลี่ เตากุย หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางจีนได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปจะสิ้นสุดลงในระยะเวลา 3 ปีเป็นอย่างน้อย พร้อมกับเชื่อมั่นว่า ยูโรโซนจะไม่ล่มสลาย และยูโรโซนจะแข็งแกร่งขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ
นายหลี่แสดงความเห็นว่า กรีซและโปรตุเกสจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้อย่างแน่นอน ซึ่งทั้งสองประเทศจะต้องจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว อย่างไรก็ตาม คาดว่าเยอรมนีและฝรั่งเศสจะสามารถจะสามารถปกป้องตัวเองเอาไว้จากวิกฤตหนี้ได้ ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่มีผลกระทบในเชิงระบบ
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นอกจากนั้นแล้ว นายหลี่ยังได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงทางการเมืองในระยะยาวของสหรัฐ พร้อมกล่าวว่า ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือปัญหาทางสังคม ซึ่งปัจจุบันได้เกิดความไม่สงบในพื้นที่หลายแห่งของสหรัฐ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยากต่อการแก้ไข
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 105
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 11:41:00 น.
นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมมนตรีกรีซ ได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศในแถบยุโรปหาทางแก้วิกฤตหนี้กรีซอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มยูโรโซนทั้งหมดต้องได้รับผลกระทบหากกรีซผิดนัดชำระหนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายกฯกรีซให้สัมภาษณ์กับนสพ.โปรโต เทอม่า ของกรีซฉบับเมื่อวานนี้ก่อนที่การประชุมสุดยอดอียูจะเปิดฉากขึ้นในสัปดาห์หน้าว่า รัฐบาลกรีซพยายามที่จะรับมือกับวิกฤต และไม่สามารถทสำเร็จได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ
นายกฯกรีซกล่าวว่า เขาอยากจะรับประกันกับชาวกรีซถึงมาตรการแก้ปัญหาในขณะนี้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ และเตือนว่า ความล้มเหลวจะทำให้เกิดหายนะในกรีซ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่สามารถคาดเดาได้ตามมาในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร
หากไม่ได้รับความช่วยเหลืองวดต่อไปจากอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กรีซก็จะขาดแคลนเงินสดในเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ได้มีการใช้มาตรการรัดเข็มขัดเป็นเวลากว่า 1 ปี สถานการณ์ในกรีซก็ยังคงมืดมน ขณะที่กรีซพยายามหาทางคลายวิกฤต ขณะที่มีการพิจารณาเรื่องการนำวิธี "haircut" หรือการปรับลดมูลค่าพันธบัตรของกรีซ ตามที่ได้มีการให้ความเห็นชอบในการประชุมสุดยอดยูโรโซนเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินงวดที่ 2 แก่กรีซ
นายกฯกรีซกล่าวว่า กรีซไม่ใช่เทพเจ้าที่จะสามารถแบกรับปัญหาหนี้ทั้งหมดของยุโรปไว้เพียงผู้เดียวได้ และไม่มีประเทศใดในยุโรปที่ทำได้ แม้แต่เยอรมนี
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมมนตรีกรีซ ได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศในแถบยุโรปหาทางแก้วิกฤตหนี้กรีซอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มยูโรโซนทั้งหมดต้องได้รับผลกระทบหากกรีซผิดนัดชำระหนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายกฯกรีซให้สัมภาษณ์กับนสพ.โปรโต เทอม่า ของกรีซฉบับเมื่อวานนี้ก่อนที่การประชุมสุดยอดอียูจะเปิดฉากขึ้นในสัปดาห์หน้าว่า รัฐบาลกรีซพยายามที่จะรับมือกับวิกฤต และไม่สามารถทสำเร็จได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ
นายกฯกรีซกล่าวว่า เขาอยากจะรับประกันกับชาวกรีซถึงมาตรการแก้ปัญหาในขณะนี้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ และเตือนว่า ความล้มเหลวจะทำให้เกิดหายนะในกรีซ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่สามารถคาดเดาได้ตามมาในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร
หากไม่ได้รับความช่วยเหลืองวดต่อไปจากอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กรีซก็จะขาดแคลนเงินสดในเดือนหน้า
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ได้มีการใช้มาตรการรัดเข็มขัดเป็นเวลากว่า 1 ปี สถานการณ์ในกรีซก็ยังคงมืดมน ขณะที่กรีซพยายามหาทางคลายวิกฤต ขณะที่มีการพิจารณาเรื่องการนำวิธี "haircut" หรือการปรับลดมูลค่าพันธบัตรของกรีซ ตามที่ได้มีการให้ความเห็นชอบในการประชุมสุดยอดยูโรโซนเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินงวดที่ 2 แก่กรีซ
นายกฯกรีซกล่าวว่า กรีซไม่ใช่เทพเจ้าที่จะสามารถแบกรับปัญหาหนี้ทั้งหมดของยุโรปไว้เพียงผู้เดียวได้ และไม่มีประเทศใดในยุโรปที่ทำได้ แม้แต่เยอรมนี
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 106
นี่ผมคิดผิดหรอเนี้ย...ตอนแรกผมคิดว่าที่กรีซมีหนี้สินเยอะมากมายขนาดนี้เพราะนโยบายลดแลกแจกแถมของรัฐบาลของเขาเอง กลับเป็นว่าที่กรีซเป็นหนี้เยอะขนาดนี้เพราะกรีซเขาต้องมาทนแบกรับหนี้ของยุโรปทั้งหมดไว้คนเดียว...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 107
555
มหากาพย์ เรื่องนี้คงมีให้ชมอีกยาวครับ ตอนนี้อิตาลีเเละสเปน ก็เป็นเหมือน เทพนิยายกรีซ ภาค2, ภาค3 ให้เราติดตามกันต่อไป...
มหากาพย์ เรื่องนี้คงมีให้ชมอีกยาวครับ ตอนนี้อิตาลีเเละสเปน ก็เป็นเหมือน เทพนิยายกรีซ ภาค2, ภาค3 ให้เราติดตามกันต่อไป...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 108
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 10:02:38 น.
นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้ผู้นำชาติกลุ่มจี-20 มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์ภายในประเทศและภูมิภาคของตน เพื่อดำเนินนโยบายที่จะรักษาโลกจากวิกฤตระลอกใหม่
นายบันกล่าวขณะแถลงข่าวร่วมกับนางมิเชลีน คาร์ลมี-เรย์ ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ในเมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำจี-20 ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสจะเริ่มต้นขึ้นเพียง 2 สัปดาห์
“หากทำงานไปตามปกติหรือมองแต่ประเด็นทางเศรษฐกิจภายในประเทศตามปกติ เราก็จะไม่ได้คำตอบสำหรับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงระดับโลกที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้" สำนักข่าวซินหัวรายงานคำกล่าวของนายบัน
เลขาฯยูเอ็นยังต้องการให้ผู้นำชาติจี-20 ดำเนินการด้วย “ความยืดหยุ่นและประนีประนอม" และวางมาตรการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ทั้งนี้ นายบันอยู่ระหว่างเดินทางเยือนเบิร์น และเข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศครั้งที่ 125
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้ผู้นำชาติกลุ่มจี-20 มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์ภายในประเทศและภูมิภาคของตน เพื่อดำเนินนโยบายที่จะรักษาโลกจากวิกฤตระลอกใหม่
นายบันกล่าวขณะแถลงข่าวร่วมกับนางมิเชลีน คาร์ลมี-เรย์ ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ในเมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำจี-20 ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสจะเริ่มต้นขึ้นเพียง 2 สัปดาห์
“หากทำงานไปตามปกติหรือมองแต่ประเด็นทางเศรษฐกิจภายในประเทศตามปกติ เราก็จะไม่ได้คำตอบสำหรับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงระดับโลกที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้" สำนักข่าวซินหัวรายงานคำกล่าวของนายบัน
เลขาฯยูเอ็นยังต้องการให้ผู้นำชาติจี-20 ดำเนินการด้วย “ความยืดหยุ่นและประนีประนอม" และวางมาตรการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ทั้งนี้ นายบันอยู่ระหว่างเดินทางเยือนเบิร์น และเข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศครั้งที่ 125
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 109
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 14:49:26 น.
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดวันนี้ตกลง เหตุวิตกสถานการณ์วิกฤตหนี้ในภูมิภาค ขณะที่ฝรั่งเศสอาจจะถูกมูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนไตรมาส 3 ที่ชะลอตัวลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.4% แตะที่ 232.99 จุด ณ เวลา 08:11 น.ตามเวลาลอนดอน
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ขยายตัวที่ระดับ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี น้อยกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 9.5% และน้อยกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ดีถึง 9.7%
นายเฉิง ไหล่หยุน โฆษก NBS กล่าวว่า ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย. เศรษฐกิจจีนขยายตัว 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าของจีดีพีอยู่ที่ระดับ 32.07 ล้านล้านหยวน (5.01 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดตลาดวันนี้ตกลง เหตุวิตกสถานการณ์วิกฤตหนี้ในภูมิภาค ขณะที่ฝรั่งเศสอาจจะถูกมูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนไตรมาส 3 ที่ชะลอตัวลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.4% แตะที่ 232.99 จุด ณ เวลา 08:11 น.ตามเวลาลอนดอน
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ขยายตัวที่ระดับ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี น้อยกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 9.5% และน้อยกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ดีถึง 9.7%
นายเฉิง ไหล่หยุน โฆษก NBS กล่าวว่า ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย. เศรษฐกิจจีนขยายตัว 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าของจีดีพีอยู่ที่ระดับ 32.07 ล้านล้านหยวน (5.01 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 110
จากนี้ไปผมว่าแมลงสาบคงจะออกมาเรื่อยๆแล้วครับ มันจะไม่เฉพาะที่ยูโรโซนเท่านั้นแล้วตอนนี้ IMF ได้ออกมาเตือนแล้วว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆต่อให้หุ้นดีมากแค่ก็คงไม่รอดที่จะต้องลงตามเพื่อนอย่างแน่นอน
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 111
ผมเองก็ตามข่าวเรื่องนี้อยู่ แต่ไม่เห็นว่า ตลาดจะซึมซับข่าวนี้เลย เหมือนทุกคนพยายามซุกซ่อนอะไรไว้
-
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 112
น่าจะเข้ากับประโยคนี้นะครับ Citigroup's former boss, Chuck Prince: "We have to dance until the music stops." As George Soros subsequently pointed out, unbeknown to Citigroup, the music had already stopped.
บอสใหญ่ Citigroup สมัย บูมๆก่อนซับไพรมืแตก, Chuck Prince กล่าวไว้ "We have to dance until the music stops." ซึ่งในเรื่อง Inside jobs, George Soros ได้ชี้ให้เห็นว่า ตอนนั้นทุกคนไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ในตอนนั้น ว่าเพลงน่ะหยุดไปนานแล้ว... แต่ยังเต้นกลบเกลื่อนหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ
อนิจจัง
บอสใหญ่ Citigroup สมัย บูมๆก่อนซับไพรมืแตก, Chuck Prince กล่าวไว้ "We have to dance until the music stops." ซึ่งในเรื่อง Inside jobs, George Soros ได้ชี้ให้เห็นว่า ตอนนั้นทุกคนไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ในตอนนั้น ว่าเพลงน่ะหยุดไปนานแล้ว... แต่ยังเต้นกลบเกลื่อนหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ
อนิจจัง
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 113
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 17:24:48 น.
ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรปในเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีร่วงหนักเกินคาดในเดือนตุลาคม สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 หรือในรอบเกือบสามปี
ผลสำรวจนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 271 รายเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงสู่ระดับลบ 48.3 จุดในเดือนตุลาคม จากระดับลบ 43.3 จุดในเดือนกันยายน แย่กว่าที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับลบ 45.0 จุด
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนีรวมถึงยุโรปค่อนข้างมืดมนเพราะวิกฤตหนี้ยูโรโซน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศเศรษฐกิจหลักหลายๆประเทศ
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ZEW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรปในเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีร่วงหนักเกินคาดในเดือนตุลาคม สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 หรือในรอบเกือบสามปี
ผลสำรวจนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 271 รายเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงสู่ระดับลบ 48.3 จุดในเดือนตุลาคม จากระดับลบ 43.3 จุดในเดือนกันยายน แย่กว่าที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับลบ 45.0 จุด
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนีรวมถึงยุโรปค่อนข้างมืดมนเพราะวิกฤตหนี้ยูโรโซน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศเศรษฐกิจหลักหลายๆประเทศ
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 114
เอาง่ายๆนะครับ ทุกคนฝากความหวังเอาไว้ที่ Deutsche Bank ที่จะรวมทุนได้ "9 พันล้าน ยูโร" คิดต่อได้ไม่ยากแล้วนิครับ แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นอะไรกันไปครับเนี่ย นี่มันเกมส์อะไรกัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 115
ทุกอย่างตั้งอยู่กับคำคำเดียว"Hope"...just Hope เท่านั้น
อย่างไรก็ตามจากที่อ่านในหลายๆห้อง ผมสังเกตได้ดังนี้
กลุ่มที่1 พี่ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนเเบบVI(เรียกง่ายๆคือพี่ที่เป็นCelebที่ยังร่วมเเสดงความเห็นในWeb boardอยู่)...เมื่อวิกฤติเกิดจะกลับไปFocusที่กิจการ ถ้ากิจการไม่กระทบจากวิกฤติEuro Zone หลายๆคนมีความเห็นคล้ายๆกันคือ ไม่ขาย ถ้ากิจการยังดีอยู่เเต่ก็ไม่ซื้อเพิ่ม อยู่เฉยๆ เพราะราคาหุ้นตอนนี้ยังไม่ถูกมาก ถ้าในportเป็นหุ้น100%ก็ยังคงถืออยู่อย่างนั้น ไม่เห็นเค้าพูดถึงการ"ปรับPort"
กลุ่มที่ 2 VI ขั้นกลาง ยังดูPortทุกวัน ยังมีอารมณ์ ร่วมกับราคาหุ้น...กับวิกฤติครั้งนี้ทุกคนใช้คำว่า"ปรับPort" ขายออกบ้าง ซื้อตัวใหม่บ้าง บางคนซื้อเพิ่ม ปรับตามความสบายใจ ไม่กล้าถือหุ้น100%
กลุ่มที่3 ลูกผสม กลุ่มนี้น่ากลัวสุด ถ้าเป็นลูกผสมที่ยิดเเนวทางใดเเนวทางหนึ่งก็ดีไป เเต่ถ้าเป็นลูกผสม"มั่วๆ" ก็ซวย ได้ล้างPortกันหลายรอบ ในช่วงเดือนสองเดือนนี้...ลง ก็ล้างPort เฮ้ยเริ่มขึ้นเเล้ว กลัวตกรถ ก็ซื้อ...ซักพัก ไม่เเน่ใจ ลงอีกเเเล้ว ก็ล้างPortเริ่มใหม่อีก
กลุ่มที่4 กลุ่มอื่นๆเช่น VS, Technical...ตอนนี้เงินเค้าคงไม่อยู่ในตลาดหุ้นเเล้วหรืออยู่ก็อยู่เล็กน้อย
ส่วนตัวผมเองคงเป็นVIชั้นกลาง(ตำ่) เพราะทำการปรับPortขายหุ้นที่ไม่คิดว่ามีความรู้เเละปิดportที่เเอบ"เล่น"พนันเก็งกำไรลง...จริงๆเเล้วถ้าหุ้นขึ้นลงตามข่าวเเบบนี้"เดิม"ผมชอบเพราะตอนวันที่ตกจะเอาเงินส่วนหนึ่งไปซื้อ(เล่นพนัน)หุ้นอสังหา พอขึ้นก็ขาย เเต่ต้องวางจุดcutlossชัด เเละควรทำในตลาดเป็นเเนวโน้มขาขึ้นเท่านั้นนะครับ...เเต่ตอนนี้ผมไม่ทำเเล้วครับ เพราะมันจะทำให้เรานิสัยเสีย จะยังคงเป็นนัก"พนัน"หุ้นไปเรื่อยๆ โอกาสที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงิน(โดยไม่ต้องเฝ้าPort)ยากมากๆ การที่ต้องลงทุนหุ้นโดยการเฝ้าPorทุกวินาที ต่อให้รวยเป็นพันล้านก็ตาม ผมว่านั่นไม่ใช่"อิสรภาพ"ทางการเงินครับ
ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลไม่ออกชื่อใครครับ
อย่างไรก็ตามจากที่อ่านในหลายๆห้อง ผมสังเกตได้ดังนี้
กลุ่มที่1 พี่ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนเเบบVI(เรียกง่ายๆคือพี่ที่เป็นCelebที่ยังร่วมเเสดงความเห็นในWeb boardอยู่)...เมื่อวิกฤติเกิดจะกลับไปFocusที่กิจการ ถ้ากิจการไม่กระทบจากวิกฤติEuro Zone หลายๆคนมีความเห็นคล้ายๆกันคือ ไม่ขาย ถ้ากิจการยังดีอยู่เเต่ก็ไม่ซื้อเพิ่ม อยู่เฉยๆ เพราะราคาหุ้นตอนนี้ยังไม่ถูกมาก ถ้าในportเป็นหุ้น100%ก็ยังคงถืออยู่อย่างนั้น ไม่เห็นเค้าพูดถึงการ"ปรับPort"
กลุ่มที่ 2 VI ขั้นกลาง ยังดูPortทุกวัน ยังมีอารมณ์ ร่วมกับราคาหุ้น...กับวิกฤติครั้งนี้ทุกคนใช้คำว่า"ปรับPort" ขายออกบ้าง ซื้อตัวใหม่บ้าง บางคนซื้อเพิ่ม ปรับตามความสบายใจ ไม่กล้าถือหุ้น100%
กลุ่มที่3 ลูกผสม กลุ่มนี้น่ากลัวสุด ถ้าเป็นลูกผสมที่ยิดเเนวทางใดเเนวทางหนึ่งก็ดีไป เเต่ถ้าเป็นลูกผสม"มั่วๆ" ก็ซวย ได้ล้างPortกันหลายรอบ ในช่วงเดือนสองเดือนนี้...ลง ก็ล้างPort เฮ้ยเริ่มขึ้นเเล้ว กลัวตกรถ ก็ซื้อ...ซักพัก ไม่เเน่ใจ ลงอีกเเเล้ว ก็ล้างPortเริ่มใหม่อีก
กลุ่มที่4 กลุ่มอื่นๆเช่น VS, Technical...ตอนนี้เงินเค้าคงไม่อยู่ในตลาดหุ้นเเล้วหรืออยู่ก็อยู่เล็กน้อย
ส่วนตัวผมเองคงเป็นVIชั้นกลาง(ตำ่) เพราะทำการปรับPortขายหุ้นที่ไม่คิดว่ามีความรู้เเละปิดportที่เเอบ"เล่น"พนันเก็งกำไรลง...จริงๆเเล้วถ้าหุ้นขึ้นลงตามข่าวเเบบนี้"เดิม"ผมชอบเพราะตอนวันที่ตกจะเอาเงินส่วนหนึ่งไปซื้อ(เล่นพนัน)หุ้นอสังหา พอขึ้นก็ขาย เเต่ต้องวางจุดcutlossชัด เเละควรทำในตลาดเป็นเเนวโน้มขาขึ้นเท่านั้นนะครับ...เเต่ตอนนี้ผมไม่ทำเเล้วครับ เพราะมันจะทำให้เรานิสัยเสีย จะยังคงเป็นนัก"พนัน"หุ้นไปเรื่อยๆ โอกาสที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงิน(โดยไม่ต้องเฝ้าPort)ยากมากๆ การที่ต้องลงทุนหุ้นโดยการเฝ้าPorทุกวินาที ต่อให้รวยเป็นพันล้านก็ตาม ผมว่านั่นไม่ใช่"อิสรภาพ"ทางการเงินครับ
ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลไม่ออกชื่อใครครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 116
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 ตุลาคม 2554 10:29:21 น.
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของกรีซ (PDMA) เปิดเผยว่า รัฐบาลกรีซสามารถระดมทุนครั้งล่าสุดได้ 1.625 พันล้านยูโร (2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากการออกพันธบัตรชุดใหม่อายุ 3 เดือน ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 4.61% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประมูลครั้งก่อนที่ 4.56%
ในขณะที่กรีซพยายามดิ้นรนเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากการล้มละลายอันเนื่องมาจากตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซพุ่งขึ้นแตะระดับ 144.9% ของจีดีพีเมื่อปีที่แล้วนั้น กรีซจำเป็นต้องพึ่งพามาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่อนุมัติโดยสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อเดือนพ.ค. 2553 และต้องพึ่งพาการขายพันธบัตรระยะสั้นรายเดือน เพื่อระดมทุนสำหรับการใช้จ่ายที่จำเป็น
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประมูลขายพันธบัตรของกรีซมีขึ้นก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะมีขึ้นในอาทิตย์ที่ 23 ต.ค. โดยมีเป้าหมายที่จะคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของกรีซ (PDMA) เปิดเผยว่า รัฐบาลกรีซสามารถระดมทุนครั้งล่าสุดได้ 1.625 พันล้านยูโร (2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากการออกพันธบัตรชุดใหม่อายุ 3 เดือน ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 4.61% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประมูลครั้งก่อนที่ 4.56%
ในขณะที่กรีซพยายามดิ้นรนเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากการล้มละลายอันเนื่องมาจากตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซพุ่งขึ้นแตะระดับ 144.9% ของจีดีพีเมื่อปีที่แล้วนั้น กรีซจำเป็นต้องพึ่งพามาตรการให้ความช่วยเหลือมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่อนุมัติโดยสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อเดือนพ.ค. 2553 และต้องพึ่งพาการขายพันธบัตรระยะสั้นรายเดือน เพื่อระดมทุนสำหรับการใช้จ่ายที่จำเป็น
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประมูลขายพันธบัตรของกรีซมีขึ้นก่อนที่การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะมีขึ้นในอาทิตย์ที่ 23 ต.ค. โดยมีเป้าหมายที่จะคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 117
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 ตุลาคม 2554 16:06:42 น.
ชาวกรีซรวมตัวประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลอีกครั้งในวันนี้ ซึ่งคาดว่าการประท้วงครั้งล่าสุดจะกินเวลา 48 ชั่วโมง ในขณะที่รัฐสภาเตรียมลงคะแนนเสียงมาตรการรัดเข็มขัดรอบล่าสุด ซึ่งประกอบด้วยการขึ้นภาษี การลดเงินเดือน และการลดการจ้างงาน
สมาชิกของสหภาพขนาดใหญ่ 2 แห่ง ซึ่งครอบคลุมทั้งพนักงานภาครัฐและเอกชน เป็นแกนนำเรียกร้องให้มีการประท้วงในวันนี้และพรุ่งนี้
ทั้งนี้ คาดว่าหน่วยงานของรัฐบาล ธุรกิจ สำนักงาน และร้านค้าต่างๆ จะปิดทำการทั้งหมด ขณะที่เจ้าของกิจการขนาดเล็กและเจ้าของร้านค้าต่างก็เข้าร่วมการประท้วงเป็นครั้งแรก
ในส่วนของพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศก็ได้ผละงานประท้วงเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยมีการยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศแล้วประมาณ 150 เที่ยวบิน รถไฟ รถโดยสาร แท็กซี่ และรถบรรทุกสินค้า จะหยุดให้บริการด้วยเช่นกัน
ชาวกรีซรวมตัวประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลอีกครั้งในวันนี้ ซึ่งคาดว่าการประท้วงครั้งล่าสุดจะกินเวลา 48 ชั่วโมง ในขณะที่รัฐสภาเตรียมลงคะแนนเสียงมาตรการรัดเข็มขัดรอบล่าสุด ซึ่งประกอบด้วยการขึ้นภาษี การลดเงินเดือน และการลดการจ้างงาน
สมาชิกของสหภาพขนาดใหญ่ 2 แห่ง ซึ่งครอบคลุมทั้งพนักงานภาครัฐและเอกชน เป็นแกนนำเรียกร้องให้มีการประท้วงในวันนี้และพรุ่งนี้
ทั้งนี้ คาดว่าหน่วยงานของรัฐบาล ธุรกิจ สำนักงาน และร้านค้าต่างๆ จะปิดทำการทั้งหมด ขณะที่เจ้าของกิจการขนาดเล็กและเจ้าของร้านค้าต่างก็เข้าร่วมการประท้วงเป็นครั้งแรก
ในส่วนของพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศก็ได้ผละงานประท้วงเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยมีการยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศแล้วประมาณ 150 เที่ยวบิน รถไฟ รถโดยสาร แท็กซี่ และรถบรรทุกสินค้า จะหยุดให้บริการด้วยเช่นกัน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 118
คนในประเทศกรีซไม่รู้หรือว่าปรเทศของเขาจะล้มละลายอยู่แล้ว ทำไมไม่ช่วยกันแก้ไขนะ หากไม่รัดเข็มขัดแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ หรือว่าต้องขายรัฐวิสาหกิจดีๆเอาเงินไปใช้หนี้เหมือนอาเจนติน่ากับประเทศแถวๆนี้ ตอนที่เป็นหนี้ IMF
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 119
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 11:04:22 น.
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี พบกับประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศสเมื่อวันพุธที่เยอรมนี เพื่อหารือเรื่องการกู้วิกฤตหนี้ยูโรโซน แต่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนียังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการเพิ่มทุนให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) แต่ทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาข้อยุติให้ได้ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะเปิดฉากขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคมนี้
"รัฐบาลผสมของเยอรมนียังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้" นายซาร์โกซีกล่าว ซึ่งถ้อยแถลงของเขาก่อให้เกิดความกังวลว่า ในวันอาทิตย์นี้บรรดาผู้นำยูโรโซนจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่
ทั้งนี้ ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสเข้าร่วมงานเลี้ยงอำลานายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ซึ่งกำลังจะลงจากตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อย่างเป็นทางการ ซึ่งในงานนี้นางแมร์เคลแสดงความเชื่อมั่นว่า ยุโรปจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตหนี้ไปได้ด้วยความพยายามของตนเอง สำนักข่าวซินหัวรายงาน
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี พบกับประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศสเมื่อวันพุธที่เยอรมนี เพื่อหารือเรื่องการกู้วิกฤตหนี้ยูโรโซน แต่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมแต่อย่างใด
ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนียังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการเพิ่มทุนให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) แต่ทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาข้อยุติให้ได้ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะเปิดฉากขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคมนี้
"รัฐบาลผสมของเยอรมนียังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้" นายซาร์โกซีกล่าว ซึ่งถ้อยแถลงของเขาก่อให้เกิดความกังวลว่า ในวันอาทิตย์นี้บรรดาผู้นำยูโรโซนจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่
ทั้งนี้ ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสเข้าร่วมงานเลี้ยงอำลานายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ซึ่งกำลังจะลงจากตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อย่างเป็นทางการ ซึ่งในงานนี้นางแมร์เคลแสดงความเชื่อมั่นว่า ยุโรปจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตหนี้ไปได้ด้วยความพยายามของตนเอง สำนักข่าวซินหัวรายงาน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 120
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 16:25:31 น.
ชาวกรีซ ซึ่งไม่พอใจมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ประกาศว่า จะยกพลออกมาเดินประท้วงตามท้องถนนตามกรุงเอเธนส์เป็นวันที่ 2 ในวันนี้ ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติเตรียมโหวตรับรองร่างมาตรการรัดเข็มขัดชุดใหม่ เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากนานาชาติ
แผนการประท้วงหนึ่งคือ การล้อมรัฐสภาเพื่อไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าอาคารไปทำการโหวตได้ หลังจากที่เมื่อวันพุธกลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันได้ถึงกว่า 1 แสนคน
ขณะที่ตำรวจได้เตรียมพร้อมรับมือ หลังจากที่การประท้วงวันแรกนั้นได้มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่
ส่วนพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งผละงานประท้วงเป็นเวลา 12 ชั่วโมงเมื่อวานนี้นั้น ได้กลับมาทำงานแล้ว ส่งผลให้เที่ยวบินภายในและต่างประเทศสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ
สำหรับมาตรการเข็มขัดดังกล่าวผ่านการรับรองเบื้องต้นด้วยเสียงข้างมากเมื่อวานนี้ และฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ระหว่างการรับรองรายละเอียด มาตรการดังกล่าวยังรวมถึงการระงับการจ่ายค่าจ้างข้าราชการ 30,000 คนและระงับสัญญาแรงงานแบบผสม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แม้แต่กับผู้แทนในพรรคสังคมนิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอยู่ในขณะนี้ด้วย
ชาวกรีซ ซึ่งไม่พอใจมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ประกาศว่า จะยกพลออกมาเดินประท้วงตามท้องถนนตามกรุงเอเธนส์เป็นวันที่ 2 ในวันนี้ ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติเตรียมโหวตรับรองร่างมาตรการรัดเข็มขัดชุดใหม่ เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากนานาชาติ
แผนการประท้วงหนึ่งคือ การล้อมรัฐสภาเพื่อไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าอาคารไปทำการโหวตได้ หลังจากที่เมื่อวันพุธกลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันได้ถึงกว่า 1 แสนคน
ขณะที่ตำรวจได้เตรียมพร้อมรับมือ หลังจากที่การประท้วงวันแรกนั้นได้มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่
ส่วนพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งผละงานประท้วงเป็นเวลา 12 ชั่วโมงเมื่อวานนี้นั้น ได้กลับมาทำงานแล้ว ส่งผลให้เที่ยวบินภายในและต่างประเทศสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ
สำหรับมาตรการเข็มขัดดังกล่าวผ่านการรับรองเบื้องต้นด้วยเสียงข้างมากเมื่อวานนี้ และฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ระหว่างการรับรองรายละเอียด มาตรการดังกล่าวยังรวมถึงการระงับการจ่ายค่าจ้างข้าราชการ 30,000 คนและระงับสัญญาแรงงานแบบผสม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แม้แต่กับผู้แทนในพรรคสังคมนิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอยู่ในขณะนี้ด้วย