มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 1
เป็นเวลาค่อนข้างนานแล้วที่ผมไม่รู้สึกถึงแรงผลักดันในการตั้งกระทู้ขึ้นมาในเว็บแห่งนี้ อาจเป็นเพราะงานที่รัดตัวและปัจจัยอื่นๆหลายๆอย่าง แต่แล้ววันนี้ ผมกลับรู้สึกถึงแรงผลักดันที่ค่อนข้างรุนแรงที่ทำให้ผมรู้สึกอยากจะแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆในเว็บนักลงทุนหุ้นคุณค่าแห่งนี้นะครับ
สิ่งกระตุ้นของแรงนี้เกิดขึ้นในขณะที่ผมนั่งติดตามข่าวน้ำท่วมจากช่อง TNN 24 เวลาประมาณทุ่มนิดๆ โดยแขกรับเชิญ ณ ขณะนั้นคือ ดร. สมบัติ อยู่เมือง ปัจจุบันท่านเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย http://www.gisthai.org ซึ่งเป็นเว็บที่หลายๆท่านน่าจะเคยเข้าไปติดตามภาพภ่ายดาวเทียมของน้ำที่หลากในประเทศไทย
การให้สัมภาษณ์ของอาจารย์ อาจจะไม่หวือหวาและมีสีสันด้วยความที่อาจารย์ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้น “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า “ความเห็น” ที่เกิดจากการคิดโดยขาดสมมติฐานและข้อมูลที่ละเอียดเพียงพอ
อาจารย์มีแนวทางการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำใน กทม ว่าเราควรมองภาพใหญ่ก่อน ซึ่งก็คือมวลน้ำที่มีอยู่และทิศทางน้ำที่กำลังจะเคลื่อนตัวไป ดังนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือแผนที่แสดงถึงเขตต่างๆใน กทม และปากกาไฮไลท์สี โดยท่านแนะนำว่า เราควรติดตามสถานการณ์น้ำว่า ในวันนี้น้ำมีทิศทางเลื่อนตัวไปทิศทางใด ช้าหรือเร็ว ใกล้หรือห่างจากบ้านที่เราพักอาศัยอยู่
ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นก็คือ การเดินทางของน้ำที่หลากมานั้น เดินทางค่อนข้างช้ากว่าที่หลายๆคนคิดกัน เนื่องจากสภาพพื้นผิวของ กทม ที่มีระดับความลาดชันที่ไม่มากนัก ดังนั้นบ้านที่จะต้องระวังคือส่วนที่ใกล้บริเวณคลองหรือบริเวณที่ใกล้แนวคันกั้นน้ำที่มีโอกาสเกิดน้ำล้นออกมาจากคลองหรือคันกั้นน้ำ ในขณะที่บ้านเรื่อนที่อยู่ในพื้นที่ห่างออกมา ก็ยังพอมีเวลาที่จะติดตามว่า ในแต่ละวันนั้น น้ำได้เดินทางตามแนวสูงต่ำของพื้นที่อย่างไร
ข้อเท็จจริงอีกประการที่เกิดขึ้นแล้วและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็คือ คันกั้นน้ำชั่วคราวในฝั่งตะวันออกหลายๆแห่งที่หลายๆคนเป็นห่วงว่าจะไม่แข็งแรงและอาจจะมีความเสี่ยงที่จะพังลงมา กลับแทบจะไม่มีปัญหาเลย ซึ่งเราอาจสามารถวิเคราะห์จากแผนที่ได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการไหลของมวลน้ำที่ไม่ได้เข้าปะทะโดยตรงกับคันกั้นน้ำ หากแต่ไหลเอียงไปทางทิศตะวันตกของ กทม มากกว่า ทำให้แรงของน้ำที่ปะทะกับคันกั้นน้ำนั้น ไม่ได้แรงขนาดที่เราคาดการณ์เอาไว้
แต่สิ่งที่ปฏิเสธอีกไม่ได้เหมือนกันคือ “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอดีต ซึ่งอนาคตที่กำลังจะมานั้น มีตัวแปรมากมายหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนทิศทางน้ำหรือความน่าจะเป็นที่น้ำจะเข้ามาท่วมบ้านเรา
หลังจากเกริ่นมาซะนาน สิ่งที่ผมแว้บขึ้นมาจากการติดตามข่าวของอาจารย์ท่านนี้ ทำให้ผมได้คิดเชิงเปรียบเทียบกับการลงทุนหุ้นคุณค่า สรุปออกมาได้ดังนี้ครับ
น้ำท่วม: “คนกรุงเทพเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง คาด น้ำอาจถึงอนุสาวรีย์ชัยในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหากคันแตก” หากแต่ข้อเท็จจริงที่เราประสบนั้น หากคันกั้นน้ำเกิดแตก ก็จะมีการแตกเป็นจุดๆโดยเริ่มจุดที่มีความอ่อนแอที่สุดก่อน (ทำให้เรามีเวลาไปอุดทัน ผ่อนหนักเป็นเบา) ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่น้ำจะท่วมจากคลองหกวาไปถึงอนุสาวรีย์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การมองที่พื้นฐานของกิจการหรือคุณค่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ VI ทุกคนต้องประเมิน ซึ่ง “มูลค่า” ของกิจการนั้น ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นักลงทุนแต่ละคนคิดเอาไว้ โดยที่ความถูกต้องแม่นยำของการประมาณการนั้น ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งก็คือความเข้าใจที่ละเอียดเพียงพอกับกิจการที่เราจะลงทุน ว่าสิ่งใดคือ “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้น และสิ่งใดคือ “ความเห็น” ที่เกิดจากสมมติฐานของคนบางกลุ่ม เปรียบได้กับข่าวน้ำท่วมที่มีการทำนายออกมานั้นก็ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นักวิเคราะห์แต่ละค่ายได้คิดเอาไว้ ซึ่งอาจจะไม่มีความละเอียดเพียงพอ ดังนั้น เราจึงควรกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับมานั้นด้วยเหตุและผล ประกอบกับข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้น จะทำให้เราสามารถ “ทำนาย” ได้แม่นยำขึ้นว่า น้ำจะท่วมบ้านหรือไม่ ช้าหรือเร็ว ทำให้เราสามารถเตรียมตัวตั้งรับได้ทันโดยไม่ตื่นตระหนก
น้ำท่วม: “ผู้คนเตรียมตัวไม่ทัน เพราะน้ำมาเร็วและแรงกว่าที่คิด” สิ่งนี้มักเกิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณจุดเสี่ยง คือบริเวณที่ใกล้แม่น้ำ ลำคลองหรือแนวกั้นน้ำที่มีความแข็งแรงน้อย และอาจไม่ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดหรือไม่ตระหนักที่ความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่
การลงทุนหุ้นคุณค่า: “ความเสี่ยง” ที่มูลค่าของกิจการจะเปลี่ยนไปนั้น แตกต่างกันตามบริษัทแต่ละบริษัท หากเราสนใจที่จะลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงหรือความผันผวนของกำไรสูง สิ่งที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัย คือการติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ แต่หากเราไม่มีเวลามากมายขนาดนั้น เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงกิจการที่มีความเสี่ยงของกำไรที่ค่อนข้างสูง
น้ำท่วม: “คนกรุงแห่เอารถจอดบนสะพานเพราะกลัวรถจมน้ำ”
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การตื่นตระหนกจนเกินไปโดยขาดการควบคุมอารมณ์ที่ดีอาจจะทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุน เช่นเดียวกับการนำรถไปจอดบนทางหลวง ซึ่งมีโอกาสที่รถจะเสียหายจากอุบัติเหตุหรืออาจประสบกับความยากลำบากหากเราต้องการจะอพยพไปต่างจังหวัด
น้ำท่วม: คนกรุงเทพแห่กันอพยพออกต่างจังหวัด เนื่องจากหวั่นน้ำทะลักเข้ากรุง ทำให้เส้นทางออกต่างจังหวัดรถติดนาน 3 ชั่วโมง ของกินของใช้ในตัวเมืองเริ่มหายาก
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การเลี่ยนแปลงของราคาหุ้นนั้น บ่อยครั้งเกิดจาก “อารมณ์ของตลาด” มากกว่า “ข้อเท็จจริง” ดังนั้นการลงทุนให้ชนะตลาดได้นั้น เราจะต้องไม่หลงไปกับทิศทางของอารมณ์ตลาดโดยปราศจากการคิดอย่างรอบคอบด้วยข้อเท็จจริงที่มี ดังเช่นการอพยพออกต่างจังหวัดนั้น หากเรามีสติเพียงพอและติดตามข่าวสารอยู่ เราอาจจะพอทำนายได้ว่า เราอาจจะยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอพยพภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ตามฝูงชน ซึ่งเป็นช่วงที่รถติดหนักและเสียเวลาโดยใช่เหตุ (แต่จองห้องไว้ก่อน แล้วค่อยอาศัยช่วงที่ซาๆ ลง ค่อยอพยพไป)
สิ่งกระตุ้นของแรงนี้เกิดขึ้นในขณะที่ผมนั่งติดตามข่าวน้ำท่วมจากช่อง TNN 24 เวลาประมาณทุ่มนิดๆ โดยแขกรับเชิญ ณ ขณะนั้นคือ ดร. สมบัติ อยู่เมือง ปัจจุบันท่านเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย http://www.gisthai.org ซึ่งเป็นเว็บที่หลายๆท่านน่าจะเคยเข้าไปติดตามภาพภ่ายดาวเทียมของน้ำที่หลากในประเทศไทย
การให้สัมภาษณ์ของอาจารย์ อาจจะไม่หวือหวาและมีสีสันด้วยความที่อาจารย์ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้น “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า “ความเห็น” ที่เกิดจากการคิดโดยขาดสมมติฐานและข้อมูลที่ละเอียดเพียงพอ
อาจารย์มีแนวทางการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำใน กทม ว่าเราควรมองภาพใหญ่ก่อน ซึ่งก็คือมวลน้ำที่มีอยู่และทิศทางน้ำที่กำลังจะเคลื่อนตัวไป ดังนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือแผนที่แสดงถึงเขตต่างๆใน กทม และปากกาไฮไลท์สี โดยท่านแนะนำว่า เราควรติดตามสถานการณ์น้ำว่า ในวันนี้น้ำมีทิศทางเลื่อนตัวไปทิศทางใด ช้าหรือเร็ว ใกล้หรือห่างจากบ้านที่เราพักอาศัยอยู่
ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฎขึ้นก็คือ การเดินทางของน้ำที่หลากมานั้น เดินทางค่อนข้างช้ากว่าที่หลายๆคนคิดกัน เนื่องจากสภาพพื้นผิวของ กทม ที่มีระดับความลาดชันที่ไม่มากนัก ดังนั้นบ้านที่จะต้องระวังคือส่วนที่ใกล้บริเวณคลองหรือบริเวณที่ใกล้แนวคันกั้นน้ำที่มีโอกาสเกิดน้ำล้นออกมาจากคลองหรือคันกั้นน้ำ ในขณะที่บ้านเรื่อนที่อยู่ในพื้นที่ห่างออกมา ก็ยังพอมีเวลาที่จะติดตามว่า ในแต่ละวันนั้น น้ำได้เดินทางตามแนวสูงต่ำของพื้นที่อย่างไร
ข้อเท็จจริงอีกประการที่เกิดขึ้นแล้วและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็คือ คันกั้นน้ำชั่วคราวในฝั่งตะวันออกหลายๆแห่งที่หลายๆคนเป็นห่วงว่าจะไม่แข็งแรงและอาจจะมีความเสี่ยงที่จะพังลงมา กลับแทบจะไม่มีปัญหาเลย ซึ่งเราอาจสามารถวิเคราะห์จากแผนที่ได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการไหลของมวลน้ำที่ไม่ได้เข้าปะทะโดยตรงกับคันกั้นน้ำ หากแต่ไหลเอียงไปทางทิศตะวันตกของ กทม มากกว่า ทำให้แรงของน้ำที่ปะทะกับคันกั้นน้ำนั้น ไม่ได้แรงขนาดที่เราคาดการณ์เอาไว้
แต่สิ่งที่ปฏิเสธอีกไม่ได้เหมือนกันคือ “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอดีต ซึ่งอนาคตที่กำลังจะมานั้น มีตัวแปรมากมายหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนทิศทางน้ำหรือความน่าจะเป็นที่น้ำจะเข้ามาท่วมบ้านเรา
หลังจากเกริ่นมาซะนาน สิ่งที่ผมแว้บขึ้นมาจากการติดตามข่าวของอาจารย์ท่านนี้ ทำให้ผมได้คิดเชิงเปรียบเทียบกับการลงทุนหุ้นคุณค่า สรุปออกมาได้ดังนี้ครับ
น้ำท่วม: “คนกรุงเทพเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง คาด น้ำอาจถึงอนุสาวรีย์ชัยในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหากคันแตก” หากแต่ข้อเท็จจริงที่เราประสบนั้น หากคันกั้นน้ำเกิดแตก ก็จะมีการแตกเป็นจุดๆโดยเริ่มจุดที่มีความอ่อนแอที่สุดก่อน (ทำให้เรามีเวลาไปอุดทัน ผ่อนหนักเป็นเบา) ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่น้ำจะท่วมจากคลองหกวาไปถึงอนุสาวรีย์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การมองที่พื้นฐานของกิจการหรือคุณค่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ VI ทุกคนต้องประเมิน ซึ่ง “มูลค่า” ของกิจการนั้น ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นักลงทุนแต่ละคนคิดเอาไว้ โดยที่ความถูกต้องแม่นยำของการประมาณการนั้น ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งก็คือความเข้าใจที่ละเอียดเพียงพอกับกิจการที่เราจะลงทุน ว่าสิ่งใดคือ “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้น และสิ่งใดคือ “ความเห็น” ที่เกิดจากสมมติฐานของคนบางกลุ่ม เปรียบได้กับข่าวน้ำท่วมที่มีการทำนายออกมานั้นก็ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นักวิเคราะห์แต่ละค่ายได้คิดเอาไว้ ซึ่งอาจจะไม่มีความละเอียดเพียงพอ ดังนั้น เราจึงควรกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับมานั้นด้วยเหตุและผล ประกอบกับข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้น จะทำให้เราสามารถ “ทำนาย” ได้แม่นยำขึ้นว่า น้ำจะท่วมบ้านหรือไม่ ช้าหรือเร็ว ทำให้เราสามารถเตรียมตัวตั้งรับได้ทันโดยไม่ตื่นตระหนก
น้ำท่วม: “ผู้คนเตรียมตัวไม่ทัน เพราะน้ำมาเร็วและแรงกว่าที่คิด” สิ่งนี้มักเกิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณจุดเสี่ยง คือบริเวณที่ใกล้แม่น้ำ ลำคลองหรือแนวกั้นน้ำที่มีความแข็งแรงน้อย และอาจไม่ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดหรือไม่ตระหนักที่ความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่
การลงทุนหุ้นคุณค่า: “ความเสี่ยง” ที่มูลค่าของกิจการจะเปลี่ยนไปนั้น แตกต่างกันตามบริษัทแต่ละบริษัท หากเราสนใจที่จะลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงหรือความผันผวนของกำไรสูง สิ่งที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัย คือการติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ แต่หากเราไม่มีเวลามากมายขนาดนั้น เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงกิจการที่มีความเสี่ยงของกำไรที่ค่อนข้างสูง
น้ำท่วม: “คนกรุงแห่เอารถจอดบนสะพานเพราะกลัวรถจมน้ำ”
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การตื่นตระหนกจนเกินไปโดยขาดการควบคุมอารมณ์ที่ดีอาจจะทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุน เช่นเดียวกับการนำรถไปจอดบนทางหลวง ซึ่งมีโอกาสที่รถจะเสียหายจากอุบัติเหตุหรืออาจประสบกับความยากลำบากหากเราต้องการจะอพยพไปต่างจังหวัด
น้ำท่วม: คนกรุงเทพแห่กันอพยพออกต่างจังหวัด เนื่องจากหวั่นน้ำทะลักเข้ากรุง ทำให้เส้นทางออกต่างจังหวัดรถติดนาน 3 ชั่วโมง ของกินของใช้ในตัวเมืองเริ่มหายาก
การลงทุนหุ้นคุณค่า: การเลี่ยนแปลงของราคาหุ้นนั้น บ่อยครั้งเกิดจาก “อารมณ์ของตลาด” มากกว่า “ข้อเท็จจริง” ดังนั้นการลงทุนให้ชนะตลาดได้นั้น เราจะต้องไม่หลงไปกับทิศทางของอารมณ์ตลาดโดยปราศจากการคิดอย่างรอบคอบด้วยข้อเท็จจริงที่มี ดังเช่นการอพยพออกต่างจังหวัดนั้น หากเรามีสติเพียงพอและติดตามข่าวสารอยู่ เราอาจจะพอทำนายได้ว่า เราอาจจะยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอพยพภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ตามฝูงชน ซึ่งเป็นช่วงที่รถติดหนักและเสียเวลาโดยใช่เหตุ (แต่จองห้องไว้ก่อน แล้วค่อยอาศัยช่วงที่ซาๆ ลง ค่อยอพยพไป)
Inactive investor
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 2
ยอดเย่ียมมากครับ คือไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์นำ้ท่วมในครั้งนี้ แต่รู้ว่า ประเทศไทยจะยังคงอยู่ต่อไปครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 5
ความคิดของพี่คล้ายๆกับผมเลยครับว่าพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราคล้ายกับพฤติกรรมการลงทุน
จากการอยู่ในตลาดหุ้นมาซักระยะมีความรู้สึกว่า
1. คนเราชอบบริโภคข่าวดีเมื่อเรายังไม่ได้ commit ยกตัวอย่างเช่น ก่อนซื้อหุ้นอะไรก็ตามเรามักมองหุ้นตัวนั้นในแง่ดีหมด กำไรเติบโตแน่นนอน ได้สิบเด้งชัวร์ๆ และมักเข้าข้างตัวเองว่าศึกษามาดีพอแล้ว
2. คนเราชอบบริโภคข่าวร้ายเมื่อเรา commit กับมันไปแล้ว เช่น เชื่อข่าวลือโดยเฉพาะในแง่ร้าย Over react กับข่าวร้าย
ซึ่งผมว่าพฤติกรรมการซื้อหุ้นนั้นมันสะท้อนมาถึงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องเหตุการณ์น้ำท่วมก่อนหน้านี้ซัก สามอาทิตย์ก่อน (คนยังไม่ได้ Commit กับเหตุการณ์) หากใครเริ่มหาจองโรงแรมต่างจังหวัด เริ่มซื้อน้ำ ซื้ออาหาร คงเป็นแค่คนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่คงมองว่าคนกลุ่มนี้แปลกด้วยซ้ำ เปรียบเสมือนคนส่วนน้อยในตลาดเท่านั้นที่มีการเตรียมตัว หรือเรียนรู้ที่จะ Cut loss หลายคนกว่าจะรู้ตัวก็ติดดอย (ติดน้ำท่วมแล้ว) หรือเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่มองว่าคนอ่าน Annual Report โดยละเอียดก่อนซื้อหุ้นเป็นพวกที่แปลกมาก
หรือ อีกอย่างหนึ่งที่มักเป็นกันคือซื้อตามเพื่อนหรือซื้อตามนักวิเคราะห์ในทีวี โดยไม่ได้ไตรตรองก่อน เทียบกับเหตุการณ์น้ำท่วมคงเป็นเรื่องที่คน Panic กันเหลือเกิน บางคนเชื่อว่าน้ำท่วมจะเกินสามเมตร หรือเชื่อว่ามกราคมน้ำยังไม่ลด พอถามว่าได้ยินมาจากไหน ก็จะบอกว่าคนโน้นหรือคนนี้บอกมาซึ่งหากลองวิเคราะห์ด้วยตัวเองกันหน่อย ก็จะขำๆว่าคนเชื่อข่าวลือพวกนี้ไปได้อย่างไร
ถามว่าผิดมั๊ย ก๊คงไม่ผิดครับ มันเป็นพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ ผมเองก็เป็นและหวั่นไหวตามข่าวบ่อยๆ แต่ผมเชื่อว่าเป็นเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เป้นแมงเม่าในลาดหุ้นนั่นเอง
จากการอยู่ในตลาดหุ้นมาซักระยะมีความรู้สึกว่า
1. คนเราชอบบริโภคข่าวดีเมื่อเรายังไม่ได้ commit ยกตัวอย่างเช่น ก่อนซื้อหุ้นอะไรก็ตามเรามักมองหุ้นตัวนั้นในแง่ดีหมด กำไรเติบโตแน่นนอน ได้สิบเด้งชัวร์ๆ และมักเข้าข้างตัวเองว่าศึกษามาดีพอแล้ว
2. คนเราชอบบริโภคข่าวร้ายเมื่อเรา commit กับมันไปแล้ว เช่น เชื่อข่าวลือโดยเฉพาะในแง่ร้าย Over react กับข่าวร้าย
ซึ่งผมว่าพฤติกรรมการซื้อหุ้นนั้นมันสะท้อนมาถึงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องเหตุการณ์น้ำท่วมก่อนหน้านี้ซัก สามอาทิตย์ก่อน (คนยังไม่ได้ Commit กับเหตุการณ์) หากใครเริ่มหาจองโรงแรมต่างจังหวัด เริ่มซื้อน้ำ ซื้ออาหาร คงเป็นแค่คนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่คงมองว่าคนกลุ่มนี้แปลกด้วยซ้ำ เปรียบเสมือนคนส่วนน้อยในตลาดเท่านั้นที่มีการเตรียมตัว หรือเรียนรู้ที่จะ Cut loss หลายคนกว่าจะรู้ตัวก็ติดดอย (ติดน้ำท่วมแล้ว) หรือเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่มองว่าคนอ่าน Annual Report โดยละเอียดก่อนซื้อหุ้นเป็นพวกที่แปลกมาก
หรือ อีกอย่างหนึ่งที่มักเป็นกันคือซื้อตามเพื่อนหรือซื้อตามนักวิเคราะห์ในทีวี โดยไม่ได้ไตรตรองก่อน เทียบกับเหตุการณ์น้ำท่วมคงเป็นเรื่องที่คน Panic กันเหลือเกิน บางคนเชื่อว่าน้ำท่วมจะเกินสามเมตร หรือเชื่อว่ามกราคมน้ำยังไม่ลด พอถามว่าได้ยินมาจากไหน ก็จะบอกว่าคนโน้นหรือคนนี้บอกมาซึ่งหากลองวิเคราะห์ด้วยตัวเองกันหน่อย ก็จะขำๆว่าคนเชื่อข่าวลือพวกนี้ไปได้อย่างไร
ถามว่าผิดมั๊ย ก๊คงไม่ผิดครับ มันเป็นพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ ผมเองก็เป็นและหวั่นไหวตามข่าวบ่อยๆ แต่ผมเชื่อว่าเป็นเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เป้นแมงเม่าในลาดหุ้นนั่นเอง
Connecting the dots
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณทุกท่านครับ เป็นการเตือนสติที่ดีเยี่ยมทั้งด้านอุทกภัยและการลงทุนเลยครับ ลึกซึ้งมากครับๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มหาอุทกภัย VS มุมมองการลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์ที่ 7
อาศัยว่ากระทู้นี้มีพอมีเรื่องราวเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอยู่บ้าง เลยอาศัยเนียนอยู่ในห้องนี้อัพเดท
"ข้อเท็จจริง" ของน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในบ้านเรานะครับ...อิอิ
http://www.gisthai.org/map-galery/Flood ... 202554.jpg
จากเว็บด้านบนแสดงถึงน้ำของวันที่ 6 ตุลาคม (สีชมพู) เทียบกับ 26 ตุลาคม (สีฟ้า) นะครับ
จะเห็นว่าน้ำก้อนใหญ่นั้น ได้มาถึง กทม ฝั่งตะวันออกอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว และ กทม ก็ยังสามารถรับน้ำได้อยู่
(จะเห็นว่าสีฟ้าจะถูกหยุดอยู่บริเวณคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ) แต่ก็มีส่วนน้อยที่แอบล็อดเล็ดออกมาบริเวณที่เป็นข่าว
กันอยู่ในถนนวิภาวดีและพหลโยธินในขณะนี้
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือมวลน้ำสีฟ้าทางด้านตะวันตกที่ ณ ขณะนี้ได้มาจัดเต็มรออยู่ที่คลองมหาสวัสดิ์และได้ล้นจนสร้าง
ปัญหาในแนวเขตทวีวัฒนาอยู่ในขณะนี้
โดยจากที่ฟังอาจารย์สมบัติ ท่านคิดว่าเขตที่ควรระวังต่อไปคือเขตที่มีพื้นที่ต่ำและอยู่ใกล้บริเวณเขตทวีวัฒนา
โดยเฉพาะบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่บริเวณใกล้ริมคลองฝั่งธนต่างๆ ที่น่าจะมีน้ำเอ่อล้นออกมา
กลับมาที่มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่ากันดีกว่านะครับ "ข้อเท็จจริง" ของการไหลของน้ำที่ "เปรียบเทียบ"
ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคมกับวันที่ 26 ตุลาคม ก็เปรียบได้กับการเปรียบเทียบสถานะของกิจการ หรือการวิเคราะห์ "งบการเงิน"
ของกิจการที่เราลงทุนอยู่นั่นเอง ดังนั้น ความสามารถในการอ่าน "งบการเงิน" ให้เป็นนั้น เราจะต้องวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบ
โดยมีความสามารถในการทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของ "ข้อเท็จจริง" ที่ปรากฎในงบการเงินให้ได้ว่า "ข้อเท็จจริง" ด้านรายได้
นั้นสูงขึ้นหรือต่ำลงจากอะไร "ข้อเท็จจริง" ต้นทุนขาย สูงขึ้นหรือต่ำลงเพราะอะไร
เมื่อเราสามารถรู้ได้ถึง "ปัจจัย" ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขทางการเงินได้แล้ว ก็จะทำให้เรามีความสามารถ
ในการที่จะพยากรณ์อนาคตของกิจการเพื่อที่จะประเมินมูลค่าของกิจการที่เราลงทุนได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
หวังว่าบทความเชิงเปรียบเทียบนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อมือใหม่ในการลงทุนแบบ VI ไม่มากก็น้อยนะครับ
"ข้อเท็จจริง" ของน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในบ้านเรานะครับ...อิอิ
http://www.gisthai.org/map-galery/Flood ... 202554.jpg
จากเว็บด้านบนแสดงถึงน้ำของวันที่ 6 ตุลาคม (สีชมพู) เทียบกับ 26 ตุลาคม (สีฟ้า) นะครับ
จะเห็นว่าน้ำก้อนใหญ่นั้น ได้มาถึง กทม ฝั่งตะวันออกอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว และ กทม ก็ยังสามารถรับน้ำได้อยู่
(จะเห็นว่าสีฟ้าจะถูกหยุดอยู่บริเวณคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ) แต่ก็มีส่วนน้อยที่แอบล็อดเล็ดออกมาบริเวณที่เป็นข่าว
กันอยู่ในถนนวิภาวดีและพหลโยธินในขณะนี้
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือมวลน้ำสีฟ้าทางด้านตะวันตกที่ ณ ขณะนี้ได้มาจัดเต็มรออยู่ที่คลองมหาสวัสดิ์และได้ล้นจนสร้าง
ปัญหาในแนวเขตทวีวัฒนาอยู่ในขณะนี้
โดยจากที่ฟังอาจารย์สมบัติ ท่านคิดว่าเขตที่ควรระวังต่อไปคือเขตที่มีพื้นที่ต่ำและอยู่ใกล้บริเวณเขตทวีวัฒนา
โดยเฉพาะบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่บริเวณใกล้ริมคลองฝั่งธนต่างๆ ที่น่าจะมีน้ำเอ่อล้นออกมา
กลับมาที่มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่ากันดีกว่านะครับ "ข้อเท็จจริง" ของการไหลของน้ำที่ "เปรียบเทียบ"
ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคมกับวันที่ 26 ตุลาคม ก็เปรียบได้กับการเปรียบเทียบสถานะของกิจการ หรือการวิเคราะห์ "งบการเงิน"
ของกิจการที่เราลงทุนอยู่นั่นเอง ดังนั้น ความสามารถในการอ่าน "งบการเงิน" ให้เป็นนั้น เราจะต้องวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบ
โดยมีความสามารถในการทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของ "ข้อเท็จจริง" ที่ปรากฎในงบการเงินให้ได้ว่า "ข้อเท็จจริง" ด้านรายได้
นั้นสูงขึ้นหรือต่ำลงจากอะไร "ข้อเท็จจริง" ต้นทุนขาย สูงขึ้นหรือต่ำลงเพราะอะไร
เมื่อเราสามารถรู้ได้ถึง "ปัจจัย" ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขทางการเงินได้แล้ว ก็จะทำให้เรามีความสามารถ
ในการที่จะพยากรณ์อนาคตของกิจการเพื่อที่จะประเมินมูลค่าของกิจการที่เราลงทุนได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
หวังว่าบทความเชิงเปรียบเทียบนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อมือใหม่ในการลงทุนแบบ VI ไม่มากก็น้อยนะครับ
Inactive investor