ใบหุ้นปลอม!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
ใบหุ้นปลอม!!!
โพสต์ที่ 1
จากเนื้อข่าวเดิมครับ
v
v
===================================================================
ซิเมนต์ไทย โดนลูบคม! ทายาทเศรษฐีนอนกอดใบหุ้นปลอม5ปี
ที่มา ไทยรัฐ 21 ก.พ. 52
พนักงานตัวแสบเล่นกล! ทายาทเศรษฐีซื้อหุ้นปูนใหญ่ นอกนกอดใบหุ้นปลอมมาร่วม 5ปี เพิ่งรู้หลังพ่อเสีย-แบ่งสมบัติ ถึงเวลาเอาใบหุ้นไปขึ้นเงินที่ศูนย์รับฝาก แทบล้มทั้งยืน กลายเป็นใบหุ้นปลอม เงินค่าหุ้นร่วม 67ล้านบาท แทบสูญ ต้องวิ่งโร่แจ้งความสอบกันวุ่น
พฤติกรรมต้มตุ๋นเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นที่ทำเอาทายาทเศรษฐีแทบช็อก หลังเอาใบหุ้นไปขอขึ้นเงินแล้วพบว่าเป็นใบหุ้นปลอมครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯถึงการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้มีมติให้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทจำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้นในขณะนี้ประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบภายในบริษัทพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบ เลขที่ 0025001- 0025034 ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว โดยได้ตั้งข้อสงสัยว่าพนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว และผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน บริษัทจึงได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยและศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าผู้ต้องสงสัยได้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมาและนำไปมอบให้แก่เจ้าของหุ้นแทนใบหุ้นฉบับจริง ส่วนใบหุ้นฉบับจริงนั้นคาดว่าผู้ต้องสงสัยได้นำไปขายแล้ว บริษัทถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เร่งสืบหาข้อเท็จจริงนับตั้งแต่วันที่ทราบเหตุ และสามารถรวบรวมข้อมูลได้ ในเบื้องต้นจึงได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งทางอาญาและทางแพ่งจนถึงที่สุดโดยไม่มีข้อยกเว้น
สำหรับมูลเหตุที่ทำให้เรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมานั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าของหุ้นเดิมซึ่งเป็น "คุณหญิง" ที่เป็นผู้ถือหุ้นในยุคบุกเบิกของการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณ ได้มีการโอนหุ้นไปให้ทายาท แต่ต่อมาทายาทคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา และผู้จัดการมรดกได้นำใบหุ้นมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อนำหุ้นจำนวนดังกล่าวจัดสรรให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต แต่จากการตรวจสอบใบหุ้นของศูนย์รับฝากพบว่าเป็นใบหุ้นปลอม จึงได้มีการประสานตรวจสอบกลับไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จนกระทั่งพบว่าพนักงานบริษัทซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยได้มีการยักยอกใบหุ้นจริงออกไปก่อนหน้านี้ และจัดทำใบหุ้นปลอมให้ผู้ถือหุ้นไว้ โดยอาศัยจากความไว้เนื้อเชื่อใจ เนื่องจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทเก่าแก่ ที่มีผู้ถือหุ้นลักษณะพิเศษคือ เป็นผู้ถือหุ้นเก่าแก่ยุคบุกเบิกที่ผูกปิ่นโตกันมานาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาตระกูลเศรษฐีเก่าแก่ของเมืองไทย ที่มักจะถือหุ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นในช่วงต้นๆ เมื่อปี 2518 และถือไว้ระยะยาวเป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน โดยในระหว่างนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้ทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 15 บาท มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกเหล่านี้มีปัญหาข้อสงสัย ก็มักจะอาศัยความเคยชิน หรือเมื่อต้องทำธุรกรรมอะไรกับบริษัทก็มักจะดำเนินการติดต่อไปยังบริษัทโดยตรง ซึ่งทางบริษัทเองมีการจัดพนักงานไว้ คอยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ถือหุ้นเหล่านี้ จนก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจกัน จนเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวกระทำการฉ้อฉล โดยเจ้าของหุ้นอาจมอบอำนาจให้พนักงานบริษัทคนดังกล่าวดำเนินการติดต่อกับทางศูนย์รับฝาก จนกระทั่งมีการยักยอกนำเอาใบหุ้นจริงออกไป และจัดทำใบหุ้นปลอมส่งให้ผู้ถือหุ้นถือไว้แทน โดยที่เจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัวมาก่อนว่าที่ผ่านมาได้นอนกอดใบหุ้นปลอมเอาไว้
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และศูนย์รับฝากนั้น ยังพบว่าใบหุ้นฉบับ จริงนั้นได้ถูกนำหุ้นออกไปขายตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ไทยทะยานขึ้นไปสูงสุดเกือบ 300 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ต้องสงสัยได้ดำเนินการที่แยบยลด้วยการปกปิด และยังคงดำเนินการจ่ายเงิน ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกที่ถือใบหุ้นปลอมนี้ไว้ โดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ระแคะระคายมาก่อน เพราะเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยังคงส่งเงินปันผลให้เจ้าของหุ้นตัวจริง อย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ที่ถูกขายออกมาในช่วงปี 2547 และ 2548 นั้น พบว่าช่วงนั้นราคาหุ้นอยู่ ในระดับที่สูงมาก หากมีการขายหุ้นออกมาในช่วงดังกล่าว เฉพาะหุ้น 2 ใบ รวม 672,000 หุ้นดังกล่าวจะได้รับเงินสูงถึง 150-180 ล้านบาท เพราะราคาหุ้นปูนซิเมนต์ในปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ 230 บาท และขึ้นไปสูงสุดที่ 264 บาท หากขายที่ราคาเฉลี่ยจะได้เงินประมาณ 160 ล้านบาท
ด้านนางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่า บริษัทได้รับทราบเรื่องนี้เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ ซึ่งใน 2 ใบนี้มีจำนวนหุ้นรวมกัน 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า ณ ปัจจุบัน 67 ล้านบาท บริษัทจึงได้ตรวจสอบรายละเอียด และพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญหายไป 34 ใบ คือเลขที่ 0025001-0025034 จึงได้ไปแจ้งความเพื่อยกเลิกใบหุ้นที่หายไปดังกล่าว และผลจากการตรวจ สอบยังพบว่ามีพนักงาน 1 คน เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และได้หายตัวไปแล้ว บริษัทจึงได้ไปแจ้งความดำเนิน คดีรายนี้ โดยศาลอาญาได้ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
นางวีนัสกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดทั้งหมด บริษัทกำลังค้นข้อมูล เบื้องต้นทราบว่าผู้ต้องสงสัยทำปลอมขึ้นมา และนำไปมอบให้เจ้าของหุ้นแทนใบจริง ส่วนใบจริงได้ถูกขายไปแล้ว สำหรับใบหุ้นที่เหลือทั้งหมดจะปลอมหรือไม่ เท่าที่ตรวจสอบขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการปลอมแปลง แต่ขอแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นทั้ง 34 ใบตามหมายเลขดังกล่าว นำใบหุ้นไปขอตรวจสอบข้อมูลที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นหรือไม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงในวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือ แบบฟอร์มใบหุ้นสามัญที่บริษัทตรวจสอบเพิ่มเติมแล้วพบว่าได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบนั้น แม้บริษัทจะได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว แต่ก็น่าสงสัยและติดตามว่าใบหุ้นดังกล่าวจะถูกนำไปทำเป็นใบหุ้นปลอมให้กับผู้ถือหุ้นอีกหรือไม่ ดังนั้น ทางที่ดี ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ถือครองใบหุ้นอยู่ ควรนำใบหุ้นของตนเองมาตรวจสอบกับทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยด่วน เพราะอาจจะกอดใบหุ้นปลอมอยู่โดยไม่รู้ตัวเหมือนในกรณีนี้ได้
ด้านนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หากผู้ถือหุ้นปูนซิเมนต์ไทยคนใดที่ถือครองเป็นใบหุ้นอยู่ และไม่แน่ใจก็สามารถนำใบหุ้นมาให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯตรวจสอบได้ และอยากแนะนำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกคน ควรนำหุ้นที่ถืออยู่มาเข้าระบบสคริปเลส (Scrip less) หรือระบบไร้ใบหุ้น เพราะระบบของศูนย์รับฝากฯ จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบอย่างดีปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญหายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ศูนย์รับฝากจะจัดส่งสเตตเมนต์หรือใบรายงานถือครองหุ้นไปอัพเดต หรือยืนยันข้อมูลให้ทุก 6 เดือน โดยผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากเงินปันผลต่างๆ ก็ยังคงได้รับครบถ้วนไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ ตั้งแต่ตลาด หลักทรัพย์ใช้ระบบไร้ใบหุ้นยังไม่เคยเกิดปัญหาใดๆ
v
v
===================================================================
ซิเมนต์ไทย โดนลูบคม! ทายาทเศรษฐีนอนกอดใบหุ้นปลอม5ปี
ที่มา ไทยรัฐ 21 ก.พ. 52
พนักงานตัวแสบเล่นกล! ทายาทเศรษฐีซื้อหุ้นปูนใหญ่ นอกนกอดใบหุ้นปลอมมาร่วม 5ปี เพิ่งรู้หลังพ่อเสีย-แบ่งสมบัติ ถึงเวลาเอาใบหุ้นไปขึ้นเงินที่ศูนย์รับฝาก แทบล้มทั้งยืน กลายเป็นใบหุ้นปลอม เงินค่าหุ้นร่วม 67ล้านบาท แทบสูญ ต้องวิ่งโร่แจ้งความสอบกันวุ่น
พฤติกรรมต้มตุ๋นเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นที่ทำเอาทายาทเศรษฐีแทบช็อก หลังเอาใบหุ้นไปขอขึ้นเงินแล้วพบว่าเป็นใบหุ้นปลอมครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯถึงการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้มีมติให้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทจำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้นในขณะนี้ประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบภายในบริษัทพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบ เลขที่ 0025001- 0025034 ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว โดยได้ตั้งข้อสงสัยว่าพนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว และผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน บริษัทจึงได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยและศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าผู้ต้องสงสัยได้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมาและนำไปมอบให้แก่เจ้าของหุ้นแทนใบหุ้นฉบับจริง ส่วนใบหุ้นฉบับจริงนั้นคาดว่าผู้ต้องสงสัยได้นำไปขายแล้ว บริษัทถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เร่งสืบหาข้อเท็จจริงนับตั้งแต่วันที่ทราบเหตุ และสามารถรวบรวมข้อมูลได้ ในเบื้องต้นจึงได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งทางอาญาและทางแพ่งจนถึงที่สุดโดยไม่มีข้อยกเว้น
สำหรับมูลเหตุที่ทำให้เรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมานั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าของหุ้นเดิมซึ่งเป็น "คุณหญิง" ที่เป็นผู้ถือหุ้นในยุคบุกเบิกของการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณ ได้มีการโอนหุ้นไปให้ทายาท แต่ต่อมาทายาทคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา และผู้จัดการมรดกได้นำใบหุ้นมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อนำหุ้นจำนวนดังกล่าวจัดสรรให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต แต่จากการตรวจสอบใบหุ้นของศูนย์รับฝากพบว่าเป็นใบหุ้นปลอม จึงได้มีการประสานตรวจสอบกลับไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จนกระทั่งพบว่าพนักงานบริษัทซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยได้มีการยักยอกใบหุ้นจริงออกไปก่อนหน้านี้ และจัดทำใบหุ้นปลอมให้ผู้ถือหุ้นไว้ โดยอาศัยจากความไว้เนื้อเชื่อใจ เนื่องจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทเก่าแก่ ที่มีผู้ถือหุ้นลักษณะพิเศษคือ เป็นผู้ถือหุ้นเก่าแก่ยุคบุกเบิกที่ผูกปิ่นโตกันมานาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาตระกูลเศรษฐีเก่าแก่ของเมืองไทย ที่มักจะถือหุ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นในช่วงต้นๆ เมื่อปี 2518 และถือไว้ระยะยาวเป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน โดยในระหว่างนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้ทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 15 บาท มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกเหล่านี้มีปัญหาข้อสงสัย ก็มักจะอาศัยความเคยชิน หรือเมื่อต้องทำธุรกรรมอะไรกับบริษัทก็มักจะดำเนินการติดต่อไปยังบริษัทโดยตรง ซึ่งทางบริษัทเองมีการจัดพนักงานไว้ คอยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ถือหุ้นเหล่านี้ จนก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจกัน จนเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวกระทำการฉ้อฉล โดยเจ้าของหุ้นอาจมอบอำนาจให้พนักงานบริษัทคนดังกล่าวดำเนินการติดต่อกับทางศูนย์รับฝาก จนกระทั่งมีการยักยอกนำเอาใบหุ้นจริงออกไป และจัดทำใบหุ้นปลอมส่งให้ผู้ถือหุ้นถือไว้แทน โดยที่เจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัวมาก่อนว่าที่ผ่านมาได้นอนกอดใบหุ้นปลอมเอาไว้
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และศูนย์รับฝากนั้น ยังพบว่าใบหุ้นฉบับ จริงนั้นได้ถูกนำหุ้นออกไปขายตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ไทยทะยานขึ้นไปสูงสุดเกือบ 300 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ต้องสงสัยได้ดำเนินการที่แยบยลด้วยการปกปิด และยังคงดำเนินการจ่ายเงิน ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกที่ถือใบหุ้นปลอมนี้ไว้ โดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ระแคะระคายมาก่อน เพราะเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยังคงส่งเงินปันผลให้เจ้าของหุ้นตัวจริง อย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ที่ถูกขายออกมาในช่วงปี 2547 และ 2548 นั้น พบว่าช่วงนั้นราคาหุ้นอยู่ ในระดับที่สูงมาก หากมีการขายหุ้นออกมาในช่วงดังกล่าว เฉพาะหุ้น 2 ใบ รวม 672,000 หุ้นดังกล่าวจะได้รับเงินสูงถึง 150-180 ล้านบาท เพราะราคาหุ้นปูนซิเมนต์ในปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ 230 บาท และขึ้นไปสูงสุดที่ 264 บาท หากขายที่ราคาเฉลี่ยจะได้เงินประมาณ 160 ล้านบาท
ด้านนางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่า บริษัทได้รับทราบเรื่องนี้เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ ซึ่งใน 2 ใบนี้มีจำนวนหุ้นรวมกัน 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า ณ ปัจจุบัน 67 ล้านบาท บริษัทจึงได้ตรวจสอบรายละเอียด และพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญหายไป 34 ใบ คือเลขที่ 0025001-0025034 จึงได้ไปแจ้งความเพื่อยกเลิกใบหุ้นที่หายไปดังกล่าว และผลจากการตรวจ สอบยังพบว่ามีพนักงาน 1 คน เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และได้หายตัวไปแล้ว บริษัทจึงได้ไปแจ้งความดำเนิน คดีรายนี้ โดยศาลอาญาได้ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
นางวีนัสกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดทั้งหมด บริษัทกำลังค้นข้อมูล เบื้องต้นทราบว่าผู้ต้องสงสัยทำปลอมขึ้นมา และนำไปมอบให้เจ้าของหุ้นแทนใบจริง ส่วนใบจริงได้ถูกขายไปแล้ว สำหรับใบหุ้นที่เหลือทั้งหมดจะปลอมหรือไม่ เท่าที่ตรวจสอบขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการปลอมแปลง แต่ขอแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นทั้ง 34 ใบตามหมายเลขดังกล่าว นำใบหุ้นไปขอตรวจสอบข้อมูลที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นหรือไม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงในวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือ แบบฟอร์มใบหุ้นสามัญที่บริษัทตรวจสอบเพิ่มเติมแล้วพบว่าได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบนั้น แม้บริษัทจะได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว แต่ก็น่าสงสัยและติดตามว่าใบหุ้นดังกล่าวจะถูกนำไปทำเป็นใบหุ้นปลอมให้กับผู้ถือหุ้นอีกหรือไม่ ดังนั้น ทางที่ดี ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ถือครองใบหุ้นอยู่ ควรนำใบหุ้นของตนเองมาตรวจสอบกับทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยด่วน เพราะอาจจะกอดใบหุ้นปลอมอยู่โดยไม่รู้ตัวเหมือนในกรณีนี้ได้
ด้านนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หากผู้ถือหุ้นปูนซิเมนต์ไทยคนใดที่ถือครองเป็นใบหุ้นอยู่ และไม่แน่ใจก็สามารถนำใบหุ้นมาให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯตรวจสอบได้ และอยากแนะนำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกคน ควรนำหุ้นที่ถืออยู่มาเข้าระบบสคริปเลส (Scrip less) หรือระบบไร้ใบหุ้น เพราะระบบของศูนย์รับฝากฯ จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบอย่างดีปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญหายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ศูนย์รับฝากจะจัดส่งสเตตเมนต์หรือใบรายงานถือครองหุ้นไปอัพเดต หรือยืนยันข้อมูลให้ทุก 6 เดือน โดยผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากเงินปันผลต่างๆ ก็ยังคงได้รับครบถ้วนไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ ตั้งแต่ตลาด หลักทรัพย์ใช้ระบบไร้ใบหุ้นยังไม่เคยเกิดปัญหาใดๆ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ใบหุ้นปลอม!!!
โพสต์ที่ 2
โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น สร้าง "ความปั่นป่วน" ได้มากทีเดียว จากเนื้อข่าวนี้ครับ
v
v
==========================================================
ผู้ถือหุ้นปูนใหญ่ป่วนแห่เช็กใบหุ้นปลอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก
ตำรวจเชื่อคดีปลอมใบหุ้นปูนซิเมนต์ไทยหลอกขายนักลงทุน คนร้ายทำเป็นขบวนการ ขณะที่ผู้ถือหุ้นตื่น แห่ตรวจสอบใบหุ้นหวั่นเจอของปลอม ทีเอสดีแนะเปลี่ยนใช้ระบบไร้ใบหุ้นปลอดภัยและสะดวกกว่า ด้าน "กรณ์" สั่งตลาดหลักทรัพย์เร่งออกมาตรการสกัดใบหุ้นปลอม หวั่นกระทบความเชื่อมั่น "อธิบดีศาลแรงงาน" ผู้เสียหายยังไม่แจ้งความขอดูท่าที บริษัทปูนซิเมนต์ไทยก่อนว่าจะรับผิดชอบอย่างไร
ความคืบหน้ากรณี นายประพันธ์ ชูเมือง อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ปลอมใบหุ้น 2 ใบ จำนวน 6.72 แสนหุ้นมูลค่าประมาณ 180 ล้านบาท ไปหลอกขายให้นักลงทุน ล่าสุดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายวิสิทธิ์ อัครพรวินิจ ผู้จัดการกิจกรรมพิเศษ ฝ่ายบริการกลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เข้าให้ข้อมูลต่อพนักงานสอบสวน สน.เตาปูน
พ.ต.ท.สมควร พึ่งทรัพย์ รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สน.เตาปูน กล่าวว่า พนักงานสอบสวนเตรียมออกหมายเรียกโบรกเกอร์ของบริษัท เกียรตินาคิน ที่ผู้ต้องหาเปิดเครดิตเพื่อขายหุ้น มาสอบปากคำว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะเรียกเจ้าหน้าที่รับฝากใบหุ้นของบริษัทคินไฟร์เซฟมาให้ข้อมูลว่า ใบหุ้นที่ผู้ต้องหาแจ้งความหาย หายได้อย่างไร พร้อมกับจะประสานไปยังศูนย์ข้อมูลคุ้มครองหลักทรัพย์ เพื่อขอดูเอกสารที่ผู้ต้องหายื่นขอแตกใบหุ้นจาก 2 ใบ เป็น 12 ใบ เพื่อตรวจสอบว่ามีลายมือชื่อใครเซ็นกำกับรับรองไว้บ้าง รวมทั้งจะตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาและบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย ทั้งนี้ตำรวจเชื่อว่า นายประพันธ์ไม่น่าจะลงมือทำเพียงลำพัง ต้องมีผู้ร่วมขบวนการด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งจะสืบสวนขยายผล เพื่อตามจับกุมตัวทั้งหมดมาดำเนินคดีต่อไป ในส่วนของนายประพันธ์เชื่อว่ายังกบดานอยู่ในประเทศไทย
ด้าน นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซิเมนต์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการรอผลการสืบสวนและสอบสวนผู้กระทำผิด และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปคดีให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจะมีการประชุมกับคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการหรือช่วยเหลืออย่างไรกับผู้ถูกปลอมแปลงใบหุ้น ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จะเข้าไปซื้อหุ้นที่ถูกจำหน่ายไปโดยไม่ถูกต้องมา เพื่อนำเงินมาคืนให้แก่ทายาทผู้เสียหายได้หรือไม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สรุปคดี อีกทั้งต้องให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาร่วมกันเพื่อดำเนินการต่อไป ในส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ นั้น เท่าที่ทราบยังไม่มีปฏิกิริยาแตกตื่นกับเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายใดไม่มั่นใจเกี่ยวกับใบหุ้นที่ถืออยู่สามารถนำไปตรวจสอบกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้
ขณะที่ นายเกียรติพงศ์ อมาตยกุล อธิบดีศาลแรงงานภาค 6 ผู้เสียหายคดีนี้ ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องการปลอมใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย มูลค่า 67 ล้านบาท ว่า ที่ระบุว่าหุ้นดังกล่าวซื้อเมื่อปี 2546 นั้น ไม่ใช่ความจริง แต่หุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นมรดกตั้งแต่สมัยย่าของตน ที่ซื้อไว้เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว พ.ศ.2517-2518 และไม่เคยมอบหมายให้นายประพันธ์ ชูเมือง ผู้ต้องหาที่เป็นพนักงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทย นำหุ้นดังกล่าวไปทำการซื้อขายแต่อย่างใด เพียงแค่มีการติดต่อขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากชื่อย่าเป็นชื่อของบิดา แต่เมื่อเปลี่ยนชื่อเรียบร้อยแล้ว ผู้ต้องหาได้นำใบถือหุ้นปลอมมาให้บิดา ส่วนตัวจริงแอบเอาไปขาย แล้วไม่เคยให้ค่าตอบแทน
"เรื่องนี้เรารู้มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องคดีความ โดยจะขอดูความรับผิดชอบของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยก่อนว่าจะรับผิดชอบอย่างไร โดยต้องขอเวลาประมาณ 2-3 วัน จะชี้แจงเรื่องนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง" นายเกียรติพงศ์ กล่าว
ด้าน น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีเอสดี เปิดเผยว่า หลังจากการเผยแพร่ข่าวการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ได้มีนักลงทุนโทรศัพท์เข้ามาสอบถามผ่านทางทีเอสดี คอลเซ็นเตอร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2229-2888 มากกว่า 100 สาย และมีนักลงทุนบางส่วนสอบถามโดยตรงไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย โดยประเด็นที่สอบถามคือ วิธีการตรวจสอบและสังเกตใบหุ้น
บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ให้ข้อมูลว่า นักลงทุนไม่สามารถตรวจสอบใบหุ้นปลอมด้วยสายตาได้ แต่หากมีข้อสงสัยขอให้นำใบหุ้นมาตรวจสอบที่ทีเอสดีได้โดยตรง ซึ่งก็มีนักลงทุนนำใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยมาตรวจสอบที่ทีเอสดี โดยหุ้นปูนซิเมนต์ไทยที่ยังไม่เข้าระบบไร้ใบหุ้น หรือสคริปต์เลส มีอยู่ประมาณ 50%
น.ส.โสภาวดี กล่าวต่อว่า ปัญหาใบหุ้นปลอมที่เกิดขึ้น จะมีผลทำให้นักลงทุนนำหุ้นมาฝากไว้กับทีเอสดีมากขึ้น หรือใช้ระบบไร้ใบหุ้นมากขึ้น ซึ่งทีเอสดีขอแนะนำให้ใช้ระบบไร้ใบหุ้นจะปลอดภัยกว่า เนื่องจากมีระบบเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยที่สุด โดยรัฐวิสาหกิจและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินก็ใช้ระบบไร้ใบหุ้นเช่นกัน ปัจจุบันมีนักลงทุนเพียง 20% ที่ยังคงถือใบหุ้นอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน และนักลงทุนส่วนใหญ่ราว 80% จะอยู่ในระบบไร้ใบหุ้น
ขณะที่ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มีการออกกฎหมายบังคับให้นักลงทุนใช้ระบบไร้ใบหุ้น ในส่วนของประเทศไทย คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 3 ปี จะจึงเกิดระบบไร้ใบหุ้นแบบสมบูรณ์ เพราะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับนักลงทุน เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนนิยมถือใบหุ้นมากกว่า
"ขอให้ผู้ถือหุ้นใช้ความระมัดระวัง กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำธุรกรรมแทน และแนะนำให้ผู้ถือหุ้นนำหุ้นมาฝากไว้กับระบบไร้ใบหุ้น ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลการถือครองหุ้น และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตรฐานสากลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาใบหุ้นชำรุด สูญหาย และการปลอมแปลงใบหุ้น โดยผู้ที่ฝากหุ้นไว้กับระบบอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับข้อมูลแจ้งสถานะการถือครองหุ้นทุกเดือน กรณีมีการซื้อขายหุ้น แต่หากไม่มีการซื้อขายหุ้นจะได้รับรายงานทุก 6 เดือน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการถือครองหุ้นได้สะดวก ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่เสียโอกาสหากต้องการขายหุ้นในจังหวะเวลาที่ต้องการ" น.ส.โสภาวดีกล่าว
นอกจากการฝากใบหุ้นผ่านบัญชีบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์แล้ว ผู้สนใจใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เปิดบัญชีไว้ หรือสมัครโดยตรงที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส งานรับฝากหลักทรัพย์ ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนผู้ที่ถือใบหุ้นไว้และต้องการตรวจสอบใบหุ้นของตนเอง ติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ ถ.รัชดาภิเษก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-18.00 น. หรือสอบถามได้ที่ทีเอสดี คอลเซ็นเตอร์ 0-2229-2888
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียนและพิธีลงนามต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์ไทย ว่า ได้สั่งการให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ควบคุมและออกกฎเกณฑ์ เพื่อไม่ให้เกิดการปลอมแปลงใบหุ้นของบริษัทจดทะเบียนให้ได้มาตรฐาน หลังเกิดกรณีการปลอมแปลงใบหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย เพราะกระแสข่าวดังกล่าวที่ออกมาส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในแง่การลงทุน จึงต้องการให้ตลาดควบคุมดูแลให้ได้มาตรฐาน
v
v
==========================================================
ผู้ถือหุ้นปูนใหญ่ป่วนแห่เช็กใบหุ้นปลอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก
ตำรวจเชื่อคดีปลอมใบหุ้นปูนซิเมนต์ไทยหลอกขายนักลงทุน คนร้ายทำเป็นขบวนการ ขณะที่ผู้ถือหุ้นตื่น แห่ตรวจสอบใบหุ้นหวั่นเจอของปลอม ทีเอสดีแนะเปลี่ยนใช้ระบบไร้ใบหุ้นปลอดภัยและสะดวกกว่า ด้าน "กรณ์" สั่งตลาดหลักทรัพย์เร่งออกมาตรการสกัดใบหุ้นปลอม หวั่นกระทบความเชื่อมั่น "อธิบดีศาลแรงงาน" ผู้เสียหายยังไม่แจ้งความขอดูท่าที บริษัทปูนซิเมนต์ไทยก่อนว่าจะรับผิดชอบอย่างไร
ความคืบหน้ากรณี นายประพันธ์ ชูเมือง อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ปลอมใบหุ้น 2 ใบ จำนวน 6.72 แสนหุ้นมูลค่าประมาณ 180 ล้านบาท ไปหลอกขายให้นักลงทุน ล่าสุดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายวิสิทธิ์ อัครพรวินิจ ผู้จัดการกิจกรรมพิเศษ ฝ่ายบริการกลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เข้าให้ข้อมูลต่อพนักงานสอบสวน สน.เตาปูน
พ.ต.ท.สมควร พึ่งทรัพย์ รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สน.เตาปูน กล่าวว่า พนักงานสอบสวนเตรียมออกหมายเรียกโบรกเกอร์ของบริษัท เกียรตินาคิน ที่ผู้ต้องหาเปิดเครดิตเพื่อขายหุ้น มาสอบปากคำว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะเรียกเจ้าหน้าที่รับฝากใบหุ้นของบริษัทคินไฟร์เซฟมาให้ข้อมูลว่า ใบหุ้นที่ผู้ต้องหาแจ้งความหาย หายได้อย่างไร พร้อมกับจะประสานไปยังศูนย์ข้อมูลคุ้มครองหลักทรัพย์ เพื่อขอดูเอกสารที่ผู้ต้องหายื่นขอแตกใบหุ้นจาก 2 ใบ เป็น 12 ใบ เพื่อตรวจสอบว่ามีลายมือชื่อใครเซ็นกำกับรับรองไว้บ้าง รวมทั้งจะตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาและบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย ทั้งนี้ตำรวจเชื่อว่า นายประพันธ์ไม่น่าจะลงมือทำเพียงลำพัง ต้องมีผู้ร่วมขบวนการด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งจะสืบสวนขยายผล เพื่อตามจับกุมตัวทั้งหมดมาดำเนินคดีต่อไป ในส่วนของนายประพันธ์เชื่อว่ายังกบดานอยู่ในประเทศไทย
ด้าน นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซิเมนต์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการรอผลการสืบสวนและสอบสวนผู้กระทำผิด และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปคดีให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจะมีการประชุมกับคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการหรือช่วยเหลืออย่างไรกับผู้ถูกปลอมแปลงใบหุ้น ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จะเข้าไปซื้อหุ้นที่ถูกจำหน่ายไปโดยไม่ถูกต้องมา เพื่อนำเงินมาคืนให้แก่ทายาทผู้เสียหายได้หรือไม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สรุปคดี อีกทั้งต้องให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาร่วมกันเพื่อดำเนินการต่อไป ในส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ นั้น เท่าที่ทราบยังไม่มีปฏิกิริยาแตกตื่นกับเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายใดไม่มั่นใจเกี่ยวกับใบหุ้นที่ถืออยู่สามารถนำไปตรวจสอบกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้
ขณะที่ นายเกียรติพงศ์ อมาตยกุล อธิบดีศาลแรงงานภาค 6 ผู้เสียหายคดีนี้ ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องการปลอมใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย มูลค่า 67 ล้านบาท ว่า ที่ระบุว่าหุ้นดังกล่าวซื้อเมื่อปี 2546 นั้น ไม่ใช่ความจริง แต่หุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นมรดกตั้งแต่สมัยย่าของตน ที่ซื้อไว้เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว พ.ศ.2517-2518 และไม่เคยมอบหมายให้นายประพันธ์ ชูเมือง ผู้ต้องหาที่เป็นพนักงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทย นำหุ้นดังกล่าวไปทำการซื้อขายแต่อย่างใด เพียงแค่มีการติดต่อขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากชื่อย่าเป็นชื่อของบิดา แต่เมื่อเปลี่ยนชื่อเรียบร้อยแล้ว ผู้ต้องหาได้นำใบถือหุ้นปลอมมาให้บิดา ส่วนตัวจริงแอบเอาไปขาย แล้วไม่เคยให้ค่าตอบแทน
"เรื่องนี้เรารู้มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องคดีความ โดยจะขอดูความรับผิดชอบของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยก่อนว่าจะรับผิดชอบอย่างไร โดยต้องขอเวลาประมาณ 2-3 วัน จะชี้แจงเรื่องนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง" นายเกียรติพงศ์ กล่าว
ด้าน น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีเอสดี เปิดเผยว่า หลังจากการเผยแพร่ข่าวการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ได้มีนักลงทุนโทรศัพท์เข้ามาสอบถามผ่านทางทีเอสดี คอลเซ็นเตอร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2229-2888 มากกว่า 100 สาย และมีนักลงทุนบางส่วนสอบถามโดยตรงไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย โดยประเด็นที่สอบถามคือ วิธีการตรวจสอบและสังเกตใบหุ้น
บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ให้ข้อมูลว่า นักลงทุนไม่สามารถตรวจสอบใบหุ้นปลอมด้วยสายตาได้ แต่หากมีข้อสงสัยขอให้นำใบหุ้นมาตรวจสอบที่ทีเอสดีได้โดยตรง ซึ่งก็มีนักลงทุนนำใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยมาตรวจสอบที่ทีเอสดี โดยหุ้นปูนซิเมนต์ไทยที่ยังไม่เข้าระบบไร้ใบหุ้น หรือสคริปต์เลส มีอยู่ประมาณ 50%
น.ส.โสภาวดี กล่าวต่อว่า ปัญหาใบหุ้นปลอมที่เกิดขึ้น จะมีผลทำให้นักลงทุนนำหุ้นมาฝากไว้กับทีเอสดีมากขึ้น หรือใช้ระบบไร้ใบหุ้นมากขึ้น ซึ่งทีเอสดีขอแนะนำให้ใช้ระบบไร้ใบหุ้นจะปลอดภัยกว่า เนื่องจากมีระบบเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยที่สุด โดยรัฐวิสาหกิจและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินก็ใช้ระบบไร้ใบหุ้นเช่นกัน ปัจจุบันมีนักลงทุนเพียง 20% ที่ยังคงถือใบหุ้นอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน และนักลงทุนส่วนใหญ่ราว 80% จะอยู่ในระบบไร้ใบหุ้น
ขณะที่ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มีการออกกฎหมายบังคับให้นักลงทุนใช้ระบบไร้ใบหุ้น ในส่วนของประเทศไทย คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 3 ปี จะจึงเกิดระบบไร้ใบหุ้นแบบสมบูรณ์ เพราะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับนักลงทุน เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนนิยมถือใบหุ้นมากกว่า
"ขอให้ผู้ถือหุ้นใช้ความระมัดระวัง กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำธุรกรรมแทน และแนะนำให้ผู้ถือหุ้นนำหุ้นมาฝากไว้กับระบบไร้ใบหุ้น ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลการถือครองหุ้น และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตรฐานสากลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาใบหุ้นชำรุด สูญหาย และการปลอมแปลงใบหุ้น โดยผู้ที่ฝากหุ้นไว้กับระบบอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับข้อมูลแจ้งสถานะการถือครองหุ้นทุกเดือน กรณีมีการซื้อขายหุ้น แต่หากไม่มีการซื้อขายหุ้นจะได้รับรายงานทุก 6 เดือน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการถือครองหุ้นได้สะดวก ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่เสียโอกาสหากต้องการขายหุ้นในจังหวะเวลาที่ต้องการ" น.ส.โสภาวดีกล่าว
นอกจากการฝากใบหุ้นผ่านบัญชีบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์แล้ว ผู้สนใจใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เปิดบัญชีไว้ หรือสมัครโดยตรงที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส งานรับฝากหลักทรัพย์ ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนผู้ที่ถือใบหุ้นไว้และต้องการตรวจสอบใบหุ้นของตนเอง ติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ ถ.รัชดาภิเษก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-18.00 น. หรือสอบถามได้ที่ทีเอสดี คอลเซ็นเตอร์ 0-2229-2888
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียนและพิธีลงนามต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์ไทย ว่า ได้สั่งการให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ควบคุมและออกกฎเกณฑ์ เพื่อไม่ให้เกิดการปลอมแปลงใบหุ้นของบริษัทจดทะเบียนให้ได้มาตรฐาน หลังเกิดกรณีการปลอมแปลงใบหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย เพราะกระแสข่าวดังกล่าวที่ออกมาส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในแง่การลงทุน จึงต้องการให้ตลาดควบคุมดูแลให้ได้มาตรฐาน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ใบหุ้นปลอม!!!
โพสต์ที่ 3
ล่าสุด "คำพิพากษา" จากศาลชั้นต้นมาแล้วครับ!!!v
v
====================================================
หลักทรัพย์ SCC
แหล่งข่าว SCC
หัวข้อข่าว คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีใบหุ้น
วันที่/เวลา 30 พ.ย. 2554 18:37:30
30 พฤศจิกายน 2554
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรื่อง คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีใบหุ้น
ตามที่ได้มีผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ถือหุ้นที่ถูกปลอมแปลงใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
ยื่นฟ้องบริษัทฯ พร้อมกับบุคคลและนิติบุคคลอื่นรวม 9 รายต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552
ให้ร่วมรับผิดในฐานละเมิด เรียกคืนหุ้นและค่าเสียหาย จำนวนทุนทรัพย์ประมาณ 223 ล้านบาท นั้น
บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาว่านายประพันธิ์ ชูเมือง
(อดีตพนักงานของบริษัทฯ) กระทำละเมิดต่อโจทก์และให้นายประพันธิ์คืนหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 672,000
หุ้นให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาหุ้นเป็นเงิน 164,633,800 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5
ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ พร้อมทั้งเงินปันผลที่ยังขาดอยู่ และให้บริษัทฯ
ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของนายประพันธิ์ด้วย ซึ่งบริษัทฯ
กำลังพิจารณาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(นายอารีย์ ชวลิตชีวินกุล)
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง
v
====================================================
หลักทรัพย์ SCC
แหล่งข่าว SCC
หัวข้อข่าว คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีใบหุ้น
วันที่/เวลา 30 พ.ย. 2554 18:37:30
30 พฤศจิกายน 2554
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรื่อง คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีใบหุ้น
ตามที่ได้มีผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ถือหุ้นที่ถูกปลอมแปลงใบหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
ยื่นฟ้องบริษัทฯ พร้อมกับบุคคลและนิติบุคคลอื่นรวม 9 รายต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2552
ให้ร่วมรับผิดในฐานละเมิด เรียกคืนหุ้นและค่าเสียหาย จำนวนทุนทรัพย์ประมาณ 223 ล้านบาท นั้น
บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาว่านายประพันธิ์ ชูเมือง
(อดีตพนักงานของบริษัทฯ) กระทำละเมิดต่อโจทก์และให้นายประพันธิ์คืนหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 672,000
หุ้นให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาหุ้นเป็นเงิน 164,633,800 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5
ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ พร้อมทั้งเงินปันผลที่ยังขาดอยู่ และให้บริษัทฯ
ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของนายประพันธิ์ด้วย ซึ่งบริษัทฯ
กำลังพิจารณาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(นายอารีย์ ชวลิตชีวินกุล)
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."