คาใจ ?
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 2
หาหนังสือมาอ่านก่อนครับมีเยอะแยะเลย
หามูลค่าที่แท้จริง ผมยังไม่เก่งเหมือนกัน
แต่ margin of safety คือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยครับ หมายถึงราคาหุ้นถูกมากจากราคา
ที่เราคำนวณได้ว่ามันควรอยู่เท่าไหร่ สมมติเีราคิดว่ามันราคาควรเป็น 100 บาท
แต่ราคาปัจจุบัน 60 บาทเท่ากับมี mos 40% ประมาณนี้
หามูลค่าที่แท้จริง ผมยังไม่เก่งเหมือนกัน
แต่ margin of safety คือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยครับ หมายถึงราคาหุ้นถูกมากจากราคา
ที่เราคำนวณได้ว่ามันควรอยู่เท่าไหร่ สมมติเีราคิดว่ามันราคาควรเป็น 100 บาท
แต่ราคาปัจจุบัน 60 บาทเท่ากับมี mos 40% ประมาณนี้
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 3
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 5
ความเห็นที่ผมรับรู้เกี่ยวกับคำว่า "มูลค่าที่แท้จริง" และ "Margin of Safety (MOS)"
1. มูลค่าที่แท้จริงไม่มีสูตรคำนวณใดๆที่จะสามารถหาอ่านในหนังสือได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
2. มูลค่าที่แท้จริงค่อนข้างเป็นนามธรรมและให้ 10 คน คำนวณก็มีโอกาสที่จะได้ 10 ค่า
3. ค่าที่เป็นไปได้ของมูลค่าที่แท้จริงมักจะกำหนดเป็นช่วงราคา เป็นค่าที่แน่นอนเป๊ะๆทำได้ยาก
4. สมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงจะไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณด้วยวิธีใด แม้กระทั่งการใช้ PE ก็ต้องมีการให้ PE ที่เหมาะสม แต่ละคนจะให้ความเหมาะสมของ PE ไม่เท่ากัน
5. การฝึกคิด ฝึกคำนวณมูลค่าที่แท้จริงไม่มีทางลัด ประสบการณ์ที่ถูกต้อง ความรู้ลึกในธุรกิจทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจะช่วยให้เราประเมินมูลค่าได้ดีขึ้น แต่แม่นยำคงยาก แต่สำหรับในการลงทุนการประเมินมูลค่าได้ใกล้เคียงก็น่าจะทำกำไรได้แล้ว แม้กระทั่งเซียนก็มี ขายหมู ซื้อควาย นั่นหมายความว่า ไม่มีใครคำนวณได้ถูกต้องเสมอไป เพราะมูลค่าที่แท้จริงเปลี่ยนไปตลอดตามพื้นฐานของกิจการ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนภายในข้ามคืนได้สำหรับภาวะปกติ
6. Margin of Safety เป็นค่าที่คำนวณได้ง่าย เพราะมาจากส่วนต่างมูลค่าที่เราคำนวณและราคาตลาด ณ เวลานั้นๆ และแต่ละคนก็จะมีแนวทางไม่เหมือนกัน บางคนต้องการ 20% discounted จาก his/her calculated intrinsic value บางคนขอมากหน่อย 50% ขึ้นไป อันนี้แล้วแต่จริตแต่ละคน ผมเองก็ประสบการณ์ไม่ถึงปี เข้าใจว่าและเคยได้ยินจากเซียนหลายท่านบอกว่า ประสบการณ์หรือบางทีเขาพูดด้วยซ้ำว่าจิตใต้สำนึกจะบอกเราเองว่า MOS เท่าไหร่น่าเข้าและกำไรตั้งแต่ตอนซื้อเลย
พอนึกออกแค่นี้ครับ
1. มูลค่าที่แท้จริงไม่มีสูตรคำนวณใดๆที่จะสามารถหาอ่านในหนังสือได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
2. มูลค่าที่แท้จริงค่อนข้างเป็นนามธรรมและให้ 10 คน คำนวณก็มีโอกาสที่จะได้ 10 ค่า
3. ค่าที่เป็นไปได้ของมูลค่าที่แท้จริงมักจะกำหนดเป็นช่วงราคา เป็นค่าที่แน่นอนเป๊ะๆทำได้ยาก
4. สมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงจะไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณด้วยวิธีใด แม้กระทั่งการใช้ PE ก็ต้องมีการให้ PE ที่เหมาะสม แต่ละคนจะให้ความเหมาะสมของ PE ไม่เท่ากัน
5. การฝึกคิด ฝึกคำนวณมูลค่าที่แท้จริงไม่มีทางลัด ประสบการณ์ที่ถูกต้อง ความรู้ลึกในธุรกิจทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจะช่วยให้เราประเมินมูลค่าได้ดีขึ้น แต่แม่นยำคงยาก แต่สำหรับในการลงทุนการประเมินมูลค่าได้ใกล้เคียงก็น่าจะทำกำไรได้แล้ว แม้กระทั่งเซียนก็มี ขายหมู ซื้อควาย นั่นหมายความว่า ไม่มีใครคำนวณได้ถูกต้องเสมอไป เพราะมูลค่าที่แท้จริงเปลี่ยนไปตลอดตามพื้นฐานของกิจการ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนภายในข้ามคืนได้สำหรับภาวะปกติ
6. Margin of Safety เป็นค่าที่คำนวณได้ง่าย เพราะมาจากส่วนต่างมูลค่าที่เราคำนวณและราคาตลาด ณ เวลานั้นๆ และแต่ละคนก็จะมีแนวทางไม่เหมือนกัน บางคนต้องการ 20% discounted จาก his/her calculated intrinsic value บางคนขอมากหน่อย 50% ขึ้นไป อันนี้แล้วแต่จริตแต่ละคน ผมเองก็ประสบการณ์ไม่ถึงปี เข้าใจว่าและเคยได้ยินจากเซียนหลายท่านบอกว่า ประสบการณ์หรือบางทีเขาพูดด้วยซ้ำว่าจิตใต้สำนึกจะบอกเราเองว่า MOS เท่าไหร่น่าเข้าและกำไรตั้งแต่ตอนซื้อเลย
พอนึกออกแค่นี้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณมากครับ สำหรับเจ้าของกระทู้ และทุก ๆ ความเห็น
การหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ น่าจะเริ่มต้นจากกิจการที่เราคุ้นเคย หรืออยู่ในวงการก่อนจะมีส่วนช่วยได้เยอะกว่าการไปหามูลค่าของกิจการที่ไม่รู้จักมักคุ้นนะครับ
การหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ น่าจะเริ่มต้นจากกิจการที่เราคุ้นเคย หรืออยู่ในวงการก่อนจะมีส่วนช่วยได้เยอะกว่าการไปหามูลค่าของกิจการที่ไม่รู้จักมักคุ้นนะครับ
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 7
ดูภาพประกอบช่วยให้เข้าใจได้ไม่น้อยครับ
แนบไฟล์
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 8
ลืมให้ credit ที่มาครับ http://www.investinvalue.com/index.php
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 11
ยังงงนิดนึง ว่ามูลค่าที่แท้จริง มันควรดูจากอะไรบ้างครับ และหลักๆ ควรดูตรงไหน
ที่ผมคิดนะครับ
1.การทำกำไรในอนาคตของบริษัท
2.ฐานะการเงิน เช่น หนี้ระยะ กำไรสะสม สภาพคล่องทางการเงิน
3.ผู้บริหาร
ผมคิดประมาณนี้ ไม่รุมีส่วนถูกบ้างไหม ช่วยแชร์ความคิดหน่อยครับ
ที่ผมคิดนะครับ
1.การทำกำไรในอนาคตของบริษัท
2.ฐานะการเงิน เช่น หนี้ระยะ กำไรสะสม สภาพคล่องทางการเงิน
3.ผู้บริหาร
ผมคิดประมาณนี้ ไม่รุมีส่วนถูกบ้างไหม ช่วยแชร์ความคิดหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 12
วิธีที่ง่ายและคนส่วนใหญ่ชอบใช้ก็คือวิธี PE ดังนี้
1. กำหนด PE ของหุ้นที่จะหามูลค่า (วิธีกำหนด เรื่องยาวและผมก็พยายามจับทางมันอยู่) เช่น หุ้นค้าปลีก กำไรสม่ำเสมอ สามารถคำนวณกำไรได้ไม่ยากนัก จากยอดขายต่อสาขาและดูจากการทำกำไรในอดีต แบบคร่าวๆนะครับ สมมติว่าเป็นหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แข็งแกร่ง (ดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลัง) ให้ PE = 15
2. ประมาณกำไรที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะทำได้ใน 1 ปี 3 ปี (อาจจะยากหน่อยแต่ก็พยายามมองยาวๆ โดยอันนี้ต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยได้) สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100/100 = 1 บาท
3. ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท เราก็จะได้ค่า forward PE ในอีก 1 ปีข้างหน้าเป็น 10/1 = 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับค่า PE ที่เรากำหนดให้หุ้นนี้คือ PE = 15 แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ นอกจากเราจะหวังทำกำไรในอีก 3 ปี และเรากะถือยาวมาก เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าหุ้นนี้อาจจะทำกำไรได้เป็น 150 ล้าน หรือ EPS = 1.5 ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อคิดเป็น forward PE (3 ปีข้างหน้า) ก็จะเท่ากับ ราคาหุ้นวันนี้/กำไรต่อหุ้นใน 3 ปี =15/1.5 = 10 หมายความว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ
1. กำหนด PE ของหุ้นที่จะหามูลค่า (วิธีกำหนด เรื่องยาวและผมก็พยายามจับทางมันอยู่) เช่น หุ้นค้าปลีก กำไรสม่ำเสมอ สามารถคำนวณกำไรได้ไม่ยากนัก จากยอดขายต่อสาขาและดูจากการทำกำไรในอดีต แบบคร่าวๆนะครับ สมมติว่าเป็นหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แข็งแกร่ง (ดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลัง) ให้ PE = 15
2. ประมาณกำไรที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะทำได้ใน 1 ปี 3 ปี (อาจจะยากหน่อยแต่ก็พยายามมองยาวๆ โดยอันนี้ต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยได้) สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100/100 = 1 บาท
3. ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท เราก็จะได้ค่า forward PE ในอีก 1 ปีข้างหน้าเป็น 10/1 = 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับค่า PE ที่เรากำหนดให้หุ้นนี้คือ PE = 15 แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ นอกจากเราจะหวังทำกำไรในอีก 3 ปี และเรากะถือยาวมาก เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าหุ้นนี้อาจจะทำกำไรได้เป็น 150 ล้าน หรือ EPS = 1.5 ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อคิดเป็น forward PE (3 ปีข้างหน้า) ก็จะเท่ากับ ราคาหุ้นวันนี้/กำไรต่อหุ้นใน 3 ปี =15/1.5 = 10 หมายความว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 13
แก้ไขนะครับ
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15)*1.5 = 22.5 (PEที่ควรจะเป็น*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี
แก้เป็นviim เขียน: ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15)*1.5 = 22.5 (PEที่ควรจะเป็น*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 14
นี่ถ้าทำเป็นแบบตารางเอ็กเซลใส่สูตรการคำนวนเข้าไปก็จะไม่ใช่น้อยนะครับ เอาแบบที่สามารถเปลี่ยนค่าได้ยิ่งดี สงสัยต้องรอให้คนที่เก่งทำด้านมาช่วยแล้วครับ ใครจะจิตอาสาบ้างหนอ แบบว่าว่าได่อยากได้มากครับviim เขียน:วิธีที่ง่ายและคนส่วนใหญ่ชอบใช้ก็คือวิธี PE ดังนี้
1. กำหนด PE ของหุ้นที่จะหามูลค่า (วิธีกำหนด เรื่องยาวและผมก็พยายามจับทางมันอยู่) เช่น หุ้นค้าปลีก กำไรสม่ำเสมอ สามารถคำนวณกำไรได้ไม่ยากนัก จากยอดขายต่อสาขาและดูจากการทำกำไรในอดีต แบบคร่าวๆนะครับ สมมติว่าเป็นหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แข็งแกร่ง (ดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลัง) ให้ PE = 15
2. ประมาณกำไรที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะทำได้ใน 1 ปี 3 ปี (อาจจะยากหน่อยแต่ก็พยายามมองยาวๆ โดยอันนี้ต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยได้) สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100/100 = 1 บาท
3. ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท เราก็จะได้ค่า forward PE ในอีก 1 ปีข้างหน้าเป็น 10/1 = 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับค่า PE ที่เรากำหนดให้หุ้นนี้คือ PE = 15 แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ นอกจากเราจะหวังทำกำไรในอีก 3 ปี และเรากะถือยาวมาก เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าหุ้นนี้อาจจะทำกำไรได้เป็น 150 ล้าน หรือ EPS = 1.5 ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อคิดเป็น forward PE (3 ปีข้างหน้า) ก็จะเท่ากับ ราคาหุ้นวันนี้/กำไรต่อหุ้นใน 3 ปี =15/1.5 = 10 หมายความว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 16
ยากครับ..ยากเกินไปสำหรับผม แล้วก็ไม่ใช่คนๆเดียวกันครับ
- SupachaiZ594
- Verified User
- โพสต์: 834
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 17
up ขึ้นมาอ่าน
ช่วงนี้ หลาย ๆ คนคงคิดถึงคำนี้อีกครั้ง MOS
ช่วงนี้ หลาย ๆ คนคงคิดถึงคำนี้อีกครั้ง MOS
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณมากๆครับที่Upขึ้นมา ขอเเลกเปลี่ยนด้วยครับ...ตามความเข้าใจของผมนะครับ
-ส่วนต่างความปลอดภัย(Margin of safety) ไม่ใช่"ความรู้สึก" เเต่เป็น "ข้อเท็จจริง(fact)" ที่อ้างอิงกับ"มูลค่าที่เเท้จริง" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องหาได้ก่อนที่จะกำหนด"Margin of safety"
เช่นเราประเมินว่าหุ้นabcราคาเป้าหมาย1.4บาท ถ้าเราพอใจMargin of safety ที่40% เราก็จะเข้าซื้อที่ราคา 1 บาท
-การวัดมูลค่าที่เเท้จริงมีหลายวิธีการ...ขึ้นอยู่กับว่าเราเชื่อว่าวิธีการไหนเเม่นยำที่สุดในการคาดการณ์มูลค่าในอนาคต
-ความ"พอใจ"ของการเผื่อส่วนต่างความปลอดภัย(Margin of safety)ของเเต่ละคนไม่เท่ากัน
อาทิเช่น...
ของพวกBroker ถ้าเค้าคาดการณ์ว่าหุ้นตัวนั้นๆมีUpsideของCapital gainจากราคาปัจจุบันเเค่ 15%ขึ้นไป ส่วนใหญ่ก็เเนะนำ"ซื้อ"กันเเล้ว....เเสดงว่าหลายๆBroke accept Margin of safetyเเค่15%
หรือ จากข้อเเนะนำของหนังสือ"นักลงทุนดันโด" เล่มนั้นเค้าเเนะนำว่ารอซื้อในราคาที่มี Discount อย่างน้อย50% จากมูลค่าที่เเท้จริง....เเสดงว่าเค้า"พอใจ"Margin of safetyที่100%
หรือ ด้านความพอใจ"Margin of safety"ของผมไม่มีตัวเลขกำหนดเเน่นอน ขึ้นกับเเนวโน้มสภาวะตลาด, เงินสดที่มีในport, ค่าBetaของหุ้น, สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ"ความอยาก"ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆ เเต่โดยรวมเเล้วผมว่าควรมีMargin of safetyอย่างน้อย30%ในภาวะตลาดกระทิง ทุกอย่างดูสดใส....เเต่ในตลาดที่รุมเร้าไปด้วยปัญหาเเละข่าวร้าย ผมมองว่าเป็นโอกาส ที่เราจะพอใจกับMargin of safetyที่>50%
สรุป จากการใช้วิธีวัดมูลค่าหุ้นที่ไม่เหมือนกัน+ความพึงพอใจส่วนต่างของความปลอดภัยที่ไม่เท่ากัน ทำให้หุ้นตัวเดียวกันจึงเกิดการ"มองต่าง" ที่หุ้นตัวเดียวกัน ราคาเท่ากัน บางคนว่าถูก บางคนว่าเเพง
จุดที่ผมยังไม่เข้าใจคือ ระยะเวลาของการวัมูลค่าที่เเท้จริงในอนาคตควรมองยาวเท่าไหร่? 1, 3, หรือ 5 ปีข้างหน้าเพราะยิ่งมองยาวยิ่งไม่ชัด เเต่ถ้ามองสั้นไปก็เสียโอกาส
ปล. เดี๋ยวลองตามอ่านLinkที่คุณkabupostทิ้งไว้ในห้องนี้หน้าเเรก...ขอบคุณมากครับ
-ส่วนต่างความปลอดภัย(Margin of safety) ไม่ใช่"ความรู้สึก" เเต่เป็น "ข้อเท็จจริง(fact)" ที่อ้างอิงกับ"มูลค่าที่เเท้จริง" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องหาได้ก่อนที่จะกำหนด"Margin of safety"
เช่นเราประเมินว่าหุ้นabcราคาเป้าหมาย1.4บาท ถ้าเราพอใจMargin of safety ที่40% เราก็จะเข้าซื้อที่ราคา 1 บาท
-การวัดมูลค่าที่เเท้จริงมีหลายวิธีการ...ขึ้นอยู่กับว่าเราเชื่อว่าวิธีการไหนเเม่นยำที่สุดในการคาดการณ์มูลค่าในอนาคต
-ความ"พอใจ"ของการเผื่อส่วนต่างความปลอดภัย(Margin of safety)ของเเต่ละคนไม่เท่ากัน
อาทิเช่น...
ของพวกBroker ถ้าเค้าคาดการณ์ว่าหุ้นตัวนั้นๆมีUpsideของCapital gainจากราคาปัจจุบันเเค่ 15%ขึ้นไป ส่วนใหญ่ก็เเนะนำ"ซื้อ"กันเเล้ว....เเสดงว่าหลายๆBroke accept Margin of safetyเเค่15%
หรือ จากข้อเเนะนำของหนังสือ"นักลงทุนดันโด" เล่มนั้นเค้าเเนะนำว่ารอซื้อในราคาที่มี Discount อย่างน้อย50% จากมูลค่าที่เเท้จริง....เเสดงว่าเค้า"พอใจ"Margin of safetyที่100%
หรือ ด้านความพอใจ"Margin of safety"ของผมไม่มีตัวเลขกำหนดเเน่นอน ขึ้นกับเเนวโน้มสภาวะตลาด, เงินสดที่มีในport, ค่าBetaของหุ้น, สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ"ความอยาก"ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆ เเต่โดยรวมเเล้วผมว่าควรมีMargin of safetyอย่างน้อย30%ในภาวะตลาดกระทิง ทุกอย่างดูสดใส....เเต่ในตลาดที่รุมเร้าไปด้วยปัญหาเเละข่าวร้าย ผมมองว่าเป็นโอกาส ที่เราจะพอใจกับMargin of safetyที่>50%
สรุป จากการใช้วิธีวัดมูลค่าหุ้นที่ไม่เหมือนกัน+ความพึงพอใจส่วนต่างของความปลอดภัยที่ไม่เท่ากัน ทำให้หุ้นตัวเดียวกันจึงเกิดการ"มองต่าง" ที่หุ้นตัวเดียวกัน ราคาเท่ากัน บางคนว่าถูก บางคนว่าเเพง
จุดที่ผมยังไม่เข้าใจคือ ระยะเวลาของการวัมูลค่าที่เเท้จริงในอนาคตควรมองยาวเท่าไหร่? 1, 3, หรือ 5 ปีข้างหน้าเพราะยิ่งมองยาวยิ่งไม่ชัด เเต่ถ้ามองสั้นไปก็เสียโอกาส
ปล. เดี๋ยวลองตามอ่านLinkที่คุณkabupostทิ้งไว้ในห้องนี้หน้าเเรก...ขอบคุณมากครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- SupachaiZ594
- Verified User
- โพสต์: 834
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 19
สุดยอดครับพี่ torpongpak
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 20
อาจไม่เหมือนแต่คล้ายบูรพาไม่แพ้ เขียน:นี่ถ้าทำเป็นแบบตารางเอ็กเซลใส่สูตรการคำนวนเข้าไปก็จะไม่ใช่น้อยนะครับ เอาแบบที่สามารถเปลี่ยนค่าได้ยิ่งดี สงสัยต้องรอให้คนที่เก่งทำด้านมาช่วยแล้วครับ ใครจะจิตอาสาบ้างหนอ แบบว่าว่าได่อยากได้มากครับviim เขียน:วิธีที่ง่ายและคนส่วนใหญ่ชอบใช้ก็คือวิธี PE ดังนี้
1. กำหนด PE ของหุ้นที่จะหามูลค่า (วิธีกำหนด เรื่องยาวและผมก็พยายามจับทางมันอยู่) เช่น หุ้นค้าปลีก กำไรสม่ำเสมอ สามารถคำนวณกำไรได้ไม่ยากนัก จากยอดขายต่อสาขาและดูจากการทำกำไรในอดีต แบบคร่าวๆนะครับ สมมติว่าเป็นหุ้นที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แข็งแกร่ง (ดูงบการเงินหลายๆปีย้อนหลัง) ให้ PE = 15
2. ประมาณกำไรที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะทำได้ใน 1 ปี 3 ปี (อาจจะยากหน่อยแต่ก็พยายามมองยาวๆ โดยอันนี้ต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยได้) สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100/100 = 1 บาท
3. ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท เราก็จะได้ค่า forward PE ในอีก 1 ปีข้างหน้าเป็น 10/1 = 10 ซึ่งเมื่อเทียบกับค่า PE ที่เรากำหนดให้หุ้นนี้คือ PE = 15 แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ นอกจากเราจะหวังทำกำไรในอีก 3 ปี และเรากะถือยาวมาก เพราะในอีก 3 ปีข้างหน้าหุ้นนี้อาจจะทำกำไรได้เป็น 150 ล้าน หรือ EPS = 1.5 ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อคิดเป็น forward PE (3 ปีข้างหน้า) ก็จะเท่ากับ ราคาหุ้นวันนี้/กำไรต่อหุ้นใน 3 ปี =15/1.5 = 10 หมายความว่า ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่เราคาดไว้ หุ้นนี้จะมีราคาขึ้นไปเป็น (15/10)*1.5 = 22.5 ((PEที่ควรจะเป็น/forwardPE(3ปีข้างหน้า))*EPS(3ปีข้างหน้า)) นั่นคือเราได้กำไร 22.5-15 = 7.5 บาทหรือ 50% เช่นกันแต่ภายใน 3 ปี คิดต่อปีก็คร่าวๆคือ 15% เป็นต้นครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=34&t=49909
แจก Excel คำนวณ Fair value ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=34&t=42914
เนื่องจากมีเพื่อนในบอร์ด ส่งข้อความมาหาผมขอ EXCEL DCF
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=34&t=51385
โปรแกรมคำนวณ "มูลค่าปัจจุบัน" "มูลค่าอนาคต" "อัตราผลตอบแทน"
=> http://board.thaivi.org/viewforum.php?f=34
Multimedia Forum
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 21
รบกวนถามครับ พอดีงงๆ เรื่องการคำนวนนิดหน่อยtorpongpak เขียน:-ส่วนต่างความปลอดภัย(Margin of safety) ไม่ใช่"ความรู้สึก" เเต่เป็น "ข้อเท็จจริง(fact)" ที่อ้างอิงกับ"มูลค่าที่เเท้จริง" ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องหาได้ก่อนที่จะกำหนด"Margin of safety"
เช่นเราประเมินว่าหุ้นabcราคาเป้าหมาย1.4บาท ถ้าเราพอใจMargin of safety ที่40% เราก็จะเข้าซื้อที่ราคา 1 บาท
การคำนวน mos นี่ น่าจะเป็น
ราคาเป้าหมาย 1.4 บาท Margin of safety ที่40% = 1.4 - (1.4x0.4) = 0.84 หรือเปล่าครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คาใจ ?
โพสต์ที่ 22
กับคำถามข้างบน...
บางตอนจากBlogของหมอgobครับ
http://pongsakorne.blogspot.com/2011/06 ... 1.html?m=1
อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะคิดย้อนกลับจากราคาเป้าหมายหรือคิดไปข้างหน้าจากราคาตลาด ผมคิดว่าไม่สำคัญมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรา"พอใจ"MOSอันนั้นหรือไม่
โค้ด: เลือกทั้งหมด
อธิบายแนวคิดเรื่อง MOS – การซื้อโดยได้ส่วนลดราคาจากมูลค่าที่จริง เช่น ถ้าเราคำนวณมูลค่าหุ้น A ได้ 100 บาท ถ้าเรามี MOS 50% เราจะซื้อหุ้น A ที่ 50 บาท ถ้าเราต้องการ MOS แค่ 30% เราจะซื้อหุ้น A ที่ 70 บาท เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนี้มาจากปรมาจารย์ท่าน Benjamin Graham บิดาแห่ง Value investment อาจารย์ของปู่บัฟเฟตต์ เนื่องจากการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท (intrinsic value) เป็นเรื่องมุมมองและความเห็นที่แตกต่างกันไปตามนักลงทุน (Subjective) บางทีอาจจะไม่ถูกต้องนัก การซื้อในราคาที่มีส่วนลดจะเป็นตัวที่ทำให้เราไม่ขาดทุนและทำกำไรได้แม้ว่าเหตุการณ์อาจจะไม่เป็นไปตามที่คิด เปรียบเหมือนการสร้างสะพานที่มีรถหนัก100 ตันวิ่งผ่านไปมา นักสร้างสะพานที่ดีคงไม่สร้างให้สะพานรับน้ำหนักได้แค่ 100 ตัน แต่อาจจะเพิ่มให้สะพานรับได้ถึง 130-150 ตัน หรืออาจจะมากกว่านั้น คนที่ข้ามสะพานนี้ก็จะรู้สึกปลอดภัยว่าสะพานจะไม่พังเวลารถวิ่งผ่านไปมา
ซื้อหุ้นที่ราคาตลาดถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง
http://pongsakorne.blogspot.com/2011/06 ... 1.html?m=1
อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะคิดย้อนกลับจากราคาเป้าหมายหรือคิดไปข้างหน้าจากราคาตลาด ผมคิดว่าไม่สำคัญมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรา"พอใจ"MOSอันนั้นหรือไม่
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0