ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 2
เปิดประเด็นนี้หรือครับ
PE มันซ่อนอยู่คือ E/P คือ Earning Power บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการทำกำไรของบริษัท
เมื่อคุณลงทุนไป 1 บาทแล้ว 1 บาทนั้นสามารถทำกำไรได้เท่าไร
E ตัวนี้มาจากงบการเงินเมื่อบริษัทประกาศออกมา ทำให้เป็นข้อมูลที่เป็นอดีตไม่เป็น Stock คือไม่เคลื่อนที่
ตัวเคลื่อนที่คือ P หรือราคาหลักทรัพย์ ที่สะท้อนความกล้าและความกลัวของนักลงทุน ว่านักลงทุนประเมินว่า
ราคาหลักทรัพย์นี้เหมาะสมหรือไม่
ทุกราคาซื้อขายคือ จุดดุลยภาพที่เกิดจากความพอใจของนักลงทุน ที่พอใจที่ซื้อ ณ ราคา ดังกล่าว และพอใจที่ขาย ณ ราคานั้นๆ ถ้าไม่เกิดความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายก็ไม่มีราคาซื้อขายเกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อเกิดการซื้อขายก็เจอว่า Zero Sum Game คือ ฝ่ายหนึ่งได้ฝ่ายหนึ่งเสีย เกิดขึ้นด้วย
มาต่อด้วย E มีซ่อนอยู่คือ การทำกำไรของบริษัทนั้น ยั้งยืนถาวรหรือไม่ มีคุณภาพแค่ไหน
งานนี้ก็ต้องลงไปวิเคราะห์ตัวบริษัทโดยผ่านทางงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ว่ากำไรที่บริษัทสร้างได้นั้นมาจากำไรที่เป็นกำไรจากกิจกรรมการดำเนินงาน หรือขายสินทรัพย์กันแน่นอน
ต่อมาด้วย E ก็บอกถึงว่า บริษัทนี้สามารถบริหารงานได้ดีขนาดไหน ว่า เงินที่ท่านผู้ลงทุนลงไปนั้นได้ผลตอบแทนกลับมาเท่าไร หากทำการวิเคราะห์ทางงบการเงินต่อไป
ส่วนกับดักของ PE นั้นมีพวกหุ้นที่เป็น Cycle หุ้นที่ PE ต่ำแบบเรื้อรัง หรือ PE สูงแบบจีรัง พวกนี้ก็ต้องใช้การวิเคราะห์อื่นเข้าประกอบด้วย
แต่ทุกอย่างอย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาก่อนการลงทุน
PE มันซ่อนอยู่คือ E/P คือ Earning Power บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการทำกำไรของบริษัท
เมื่อคุณลงทุนไป 1 บาทแล้ว 1 บาทนั้นสามารถทำกำไรได้เท่าไร
E ตัวนี้มาจากงบการเงินเมื่อบริษัทประกาศออกมา ทำให้เป็นข้อมูลที่เป็นอดีตไม่เป็น Stock คือไม่เคลื่อนที่
ตัวเคลื่อนที่คือ P หรือราคาหลักทรัพย์ ที่สะท้อนความกล้าและความกลัวของนักลงทุน ว่านักลงทุนประเมินว่า
ราคาหลักทรัพย์นี้เหมาะสมหรือไม่
ทุกราคาซื้อขายคือ จุดดุลยภาพที่เกิดจากความพอใจของนักลงทุน ที่พอใจที่ซื้อ ณ ราคา ดังกล่าว และพอใจที่ขาย ณ ราคานั้นๆ ถ้าไม่เกิดความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขายก็ไม่มีราคาซื้อขายเกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อเกิดการซื้อขายก็เจอว่า Zero Sum Game คือ ฝ่ายหนึ่งได้ฝ่ายหนึ่งเสีย เกิดขึ้นด้วย
มาต่อด้วย E มีซ่อนอยู่คือ การทำกำไรของบริษัทนั้น ยั้งยืนถาวรหรือไม่ มีคุณภาพแค่ไหน
งานนี้ก็ต้องลงไปวิเคราะห์ตัวบริษัทโดยผ่านทางงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ว่ากำไรที่บริษัทสร้างได้นั้นมาจากำไรที่เป็นกำไรจากกิจกรรมการดำเนินงาน หรือขายสินทรัพย์กันแน่นอน
ต่อมาด้วย E ก็บอกถึงว่า บริษัทนี้สามารถบริหารงานได้ดีขนาดไหน ว่า เงินที่ท่านผู้ลงทุนลงไปนั้นได้ผลตอบแทนกลับมาเท่าไร หากทำการวิเคราะห์ทางงบการเงินต่อไป
ส่วนกับดักของ PE นั้นมีพวกหุ้นที่เป็น Cycle หุ้นที่ PE ต่ำแบบเรื้อรัง หรือ PE สูงแบบจีรัง พวกนี้ก็ต้องใช้การวิเคราะห์อื่นเข้าประกอบด้วย
แต่ทุกอย่างอย่าลืมว่า การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาก่อนการลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 4
การเอา P/E มากำหนดในการซื้อหุ้นนั้นบางครั้ง อาจจะทำให้เราพลาดที่จะมองภาพใหญ่ไปครับ
บาง บ. P/E มันต่ำกว่า 10 มาตลอด 5 ก็ยังมี แต่ราคาก็ไม่ได้ขยับไปไหนเลยก็มี
ในขณะเดียวกันหากมีหุ้นที่เราสนใจแล้ว เรารอให้ P/E ต่ำกว่า 10 บางทีมันอาจจะไม่เคยลดลงมาเลยก็ได้
ต้องมองถึงอัตราการเจริญเติบโตของ บ.ด้วยครับ อย่าง CPALL จะหวังรอซื้อในราคาที่ P/E ต่ำกว่า 10 คงจะต้องรอกันอีกยาวเลยทีเดียว
ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวครับ
บาง บ. P/E มันต่ำกว่า 10 มาตลอด 5 ก็ยังมี แต่ราคาก็ไม่ได้ขยับไปไหนเลยก็มี
ในขณะเดียวกันหากมีหุ้นที่เราสนใจแล้ว เรารอให้ P/E ต่ำกว่า 10 บางทีมันอาจจะไม่เคยลดลงมาเลยก็ได้
ต้องมองถึงอัตราการเจริญเติบโตของ บ.ด้วยครับ อย่าง CPALL จะหวังรอซื้อในราคาที่ P/E ต่ำกว่า 10 คงจะต้องรอกันอีกยาวเลยทีเดียว
ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวครับ
- picklife
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 5
เยี่ยมมากๆเลยครับพี่ เป็นกระทู้ที่น่าจะแชร์ความรู้ได้มากๆเลยครับ
(ปล.ขอบคุณพี่Chachaiมากๆครับ ที่เก่งแล้วยังมาโพสกระตุ้นความรู้บ่อยๆ ถ้าคนตอบกันเยอะๆแล้วรบกวนพี่แชร์ในมุมมองพี่ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ)
ในมุมมองของผม ผมมองว่าการValuationด้วยPE Ratio สิ่งที่ต้องรู้คือเราต้องประเมินด้วยสองแบบใหญ่ๆ คือเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
เชิงคุณภาพ ในความหมายผมคือ ROA ROE DE PBV %Div ความมั่นคงและการเติบโตของรายได้และกำไร ความมั่นคงของธุรกิจ ผู้บริหาร และอื่นๆอีกมากมาย ข้อมูลเหล่านี้มีผลให้PEสูงหรือต่ำ ซึ่งในมุมมองผมPE คือตัวเลขที่แสดงถึงคุณภาพโดยรวม ว่าเราจะยอมซื้อหุ้นXXXในราคาที่สูงกว่ากำไรที่บริษัททำได้กี่เท่าตัว แต่ตัวหลักๆที่ผลกับPEมากที่สุดผมว่ากำไร ดังนั้นผมชอบที่จะมองว่า PEคือตัวเลขที่แสดงถึงคุณภาพและการเติบโตของกำไร ถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืนPEก็สูงเช่นกลุ่มค้าปลีกที่มีความมั่นคงของกำไรสูงPEก็สูง กลุ่มอสังหามีความมั่นคงของกำไรต่ำPEก็ต่ำ บริษัทที่เป็นNo.1โอกาสโดยแย่งMarketShareยากPEก็สูง บริษัทที่เล็กๆกว่าก็มีโอกาสโดนแย่งMarketShareสูงก็PEต่ำ บริษัทที่โตเยอะๆPEก็สูง บริษัทที่ไม่ค่อยโตPEก็ต่ำ ผู้บริหารแย่ๆกำไรอาจจะไม่มั่นคงPEก็ต่ำ ผู้บริหารดีๆกำไรน่าจะมั่นคงPEก็ต่ำ และอื่นๆ ดังนั้นโดยสรุปผมมองว่าถ้าคุณภาพของกำไร(และบริษัท)เท่าเดิม การเติบโตของกำไรเท่าเดิม PEควรจะคงที่!!!
เชิงปริมาณ ถ้าทุกอย่างของบริษัทคงที่ PEคงที่ ดังนั้นถ้ากำไรโตเท่าไหร่ เราก็ควรจะได้ผลตอบแทนเท่านั้น+Div ดังนั้นKeysuccess ไม่ใช่การมองที่PEต่ำ แต่ต้องมองที่กำไรโตเยอะๆ ซึ่งเราสามารถกรองหุ้นที่เติบโตเยอะๆได้จากการดูหุ้นที่ROEเยอะๆ เพราะถ้าROEเยอะ แล้วไม่เอาเงินไปปันผลหมด เอาไปลงทุนต่อและยังสามารถรักษาROEเดิมได้ นั่นหมายถึงว่าบริษัทจะโตเยอะพอๆกับROE(จะน้อยกว่าROEนิดหน่อย) ดังนั้นผมจึงเข้าใจว่าทำไมBuffetถึงชอบหุ้นที่ROEสูงๆและมั่นคงสูง เพราะROEสูงเท่ากับกำไรโตสูง ผลตอบแทนก็กลับมาสูง ความมั่นคงทำให้PEคงที่ เราก็สามารถโตยาวๆไปตามROEของบริษัทได้เลย
ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ
1.หุ้นPEต่ำๆ ถ้าเชิงคุณคุณไม่เปลี่ยนPEมันก็ต่ำเท่าเดิม และกำไรดันลดลงเรื่อยๆ นั่นก็หมายถึงว่าพอร์ทคุณจะติดลบไปเรื่อยๆเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่PEต่ำอาจจะกลายเป็นกับดักที่ทำให้นักลงทุนหลายคนติดกับได้เลย แต่ก็น่ามีลุ้นเพราะถ้าสมมุติว่าคุณซื้อหุ้นที่PEต่ำๆหลายๆตัว แล้วคุณไปเจอตัวที่บริษัทสามารถพลิกกลับมากำไรโตได้ซักตัว แม้นหุ้นตัวPEต่ำๆตัวอื่นๆอาจจะทำให้พอร์ทคุณไม่ไปไหน แต่หุ้นที่สามารถพลิกกลับมากำไรโตได้คุณจะได้ผลตอบแทนจากหุ้นตัวมหาศาล2เด้ง เด้งแรกคือเชิงคุณภาพคุณเปลี่ยนPEคุณก็ต้องเปลี่ยน เด้งที่สองเชิงปริมาณกำไรโตมากๆ ดังนั้นถ้าคุณสามารถหาหุ้นPEต่ำและกำลังจะกลายเป็นGrowthได้คุณจะได้ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นอย่างมหาศาล และยิ่งคุณขยันหาหุ้นแบบนี้เจอทุกปี พอร์ทคุณก็จะเหมือนเซียนๆเลยทีเดียว
2.หุ้นPEสูง ถ้าบริษัทมั่นคงมากๆสามารถประคองคุณภาพได้เรื่อยๆ แม้นPEจะแพงแต่มันก็คงที่ คุณก็สามารถนอนรอผลตอบแทนจากการเติบโตของกำไร+Div ได้โดยที่คุณไม่ต้องลำบากไปหาหุ้นให้เหนื่อย^^ แต่!!แม้นการลงทุนแบบนี้จะสบายและได้ผลตอบแทนสูง แต่คุณก็ต้องมองธุรกิจตัวนั้นให้ขาดจริงเหมือนที่Buffetและดร.นิเวศน์มองได้ขาด ซึ่งหากคุณมองไม่ขาดแล้วบริษัทเกิดมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทคุณหยุดโต!!! หรือกำไรลดลง!!! นั่นคุณก็จะเจอ2เด้งเช่นเดียวกัน เด้งแรกเชิงคุณภาพจากPEที่ลดลงหย่างหนัก เด้งที่สองจากกำไรที่ลดลง ถ้าเจอแบบนี้พอร์ทคุณก็จะขาดทุนยับเยินเช่นกัน
ดังนั้นการลงทุนโดยการใช้PE Ratio ก็มีหลายแบบให้เลือก ไม่มีวิธีไหนผิดไม่มีวิธีไหนถูก แต่เลือกวิธีที่เหมาะสมกับเรา และขยันศึกษาในบริษัทที่เราลงทุนว่ากำไรของบริษัทมีแนวโน้มไปในทิศทางใด เท่านี้ผมว่าใครที่ทำได้ก็รวยนะครับ^^
(ปล.ขอบคุณพี่Chachaiมากๆครับ ที่เก่งแล้วยังมาโพสกระตุ้นความรู้บ่อยๆ ถ้าคนตอบกันเยอะๆแล้วรบกวนพี่แชร์ในมุมมองพี่ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ)
ในมุมมองของผม ผมมองว่าการValuationด้วยPE Ratio สิ่งที่ต้องรู้คือเราต้องประเมินด้วยสองแบบใหญ่ๆ คือเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
เชิงคุณภาพ ในความหมายผมคือ ROA ROE DE PBV %Div ความมั่นคงและการเติบโตของรายได้และกำไร ความมั่นคงของธุรกิจ ผู้บริหาร และอื่นๆอีกมากมาย ข้อมูลเหล่านี้มีผลให้PEสูงหรือต่ำ ซึ่งในมุมมองผมPE คือตัวเลขที่แสดงถึงคุณภาพโดยรวม ว่าเราจะยอมซื้อหุ้นXXXในราคาที่สูงกว่ากำไรที่บริษัททำได้กี่เท่าตัว แต่ตัวหลักๆที่ผลกับPEมากที่สุดผมว่ากำไร ดังนั้นผมชอบที่จะมองว่า PEคือตัวเลขที่แสดงถึงคุณภาพและการเติบโตของกำไร ถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืนPEก็สูงเช่นกลุ่มค้าปลีกที่มีความมั่นคงของกำไรสูงPEก็สูง กลุ่มอสังหามีความมั่นคงของกำไรต่ำPEก็ต่ำ บริษัทที่เป็นNo.1โอกาสโดยแย่งMarketShareยากPEก็สูง บริษัทที่เล็กๆกว่าก็มีโอกาสโดนแย่งMarketShareสูงก็PEต่ำ บริษัทที่โตเยอะๆPEก็สูง บริษัทที่ไม่ค่อยโตPEก็ต่ำ ผู้บริหารแย่ๆกำไรอาจจะไม่มั่นคงPEก็ต่ำ ผู้บริหารดีๆกำไรน่าจะมั่นคงPEก็ต่ำ และอื่นๆ ดังนั้นโดยสรุปผมมองว่าถ้าคุณภาพของกำไร(และบริษัท)เท่าเดิม การเติบโตของกำไรเท่าเดิม PEควรจะคงที่!!!
เชิงปริมาณ ถ้าทุกอย่างของบริษัทคงที่ PEคงที่ ดังนั้นถ้ากำไรโตเท่าไหร่ เราก็ควรจะได้ผลตอบแทนเท่านั้น+Div ดังนั้นKeysuccess ไม่ใช่การมองที่PEต่ำ แต่ต้องมองที่กำไรโตเยอะๆ ซึ่งเราสามารถกรองหุ้นที่เติบโตเยอะๆได้จากการดูหุ้นที่ROEเยอะๆ เพราะถ้าROEเยอะ แล้วไม่เอาเงินไปปันผลหมด เอาไปลงทุนต่อและยังสามารถรักษาROEเดิมได้ นั่นหมายถึงว่าบริษัทจะโตเยอะพอๆกับROE(จะน้อยกว่าROEนิดหน่อย) ดังนั้นผมจึงเข้าใจว่าทำไมBuffetถึงชอบหุ้นที่ROEสูงๆและมั่นคงสูง เพราะROEสูงเท่ากับกำไรโตสูง ผลตอบแทนก็กลับมาสูง ความมั่นคงทำให้PEคงที่ เราก็สามารถโตยาวๆไปตามROEของบริษัทได้เลย
ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ
1.หุ้นPEต่ำๆ ถ้าเชิงคุณคุณไม่เปลี่ยนPEมันก็ต่ำเท่าเดิม และกำไรดันลดลงเรื่อยๆ นั่นก็หมายถึงว่าพอร์ทคุณจะติดลบไปเรื่อยๆเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่PEต่ำอาจจะกลายเป็นกับดักที่ทำให้นักลงทุนหลายคนติดกับได้เลย แต่ก็น่ามีลุ้นเพราะถ้าสมมุติว่าคุณซื้อหุ้นที่PEต่ำๆหลายๆตัว แล้วคุณไปเจอตัวที่บริษัทสามารถพลิกกลับมากำไรโตได้ซักตัว แม้นหุ้นตัวPEต่ำๆตัวอื่นๆอาจจะทำให้พอร์ทคุณไม่ไปไหน แต่หุ้นที่สามารถพลิกกลับมากำไรโตได้คุณจะได้ผลตอบแทนจากหุ้นตัวมหาศาล2เด้ง เด้งแรกคือเชิงคุณภาพคุณเปลี่ยนPEคุณก็ต้องเปลี่ยน เด้งที่สองเชิงปริมาณกำไรโตมากๆ ดังนั้นถ้าคุณสามารถหาหุ้นPEต่ำและกำลังจะกลายเป็นGrowthได้คุณจะได้ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นอย่างมหาศาล และยิ่งคุณขยันหาหุ้นแบบนี้เจอทุกปี พอร์ทคุณก็จะเหมือนเซียนๆเลยทีเดียว
2.หุ้นPEสูง ถ้าบริษัทมั่นคงมากๆสามารถประคองคุณภาพได้เรื่อยๆ แม้นPEจะแพงแต่มันก็คงที่ คุณก็สามารถนอนรอผลตอบแทนจากการเติบโตของกำไร+Div ได้โดยที่คุณไม่ต้องลำบากไปหาหุ้นให้เหนื่อย^^ แต่!!แม้นการลงทุนแบบนี้จะสบายและได้ผลตอบแทนสูง แต่คุณก็ต้องมองธุรกิจตัวนั้นให้ขาดจริงเหมือนที่Buffetและดร.นิเวศน์มองได้ขาด ซึ่งหากคุณมองไม่ขาดแล้วบริษัทเกิดมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทคุณหยุดโต!!! หรือกำไรลดลง!!! นั่นคุณก็จะเจอ2เด้งเช่นเดียวกัน เด้งแรกเชิงคุณภาพจากPEที่ลดลงหย่างหนัก เด้งที่สองจากกำไรที่ลดลง ถ้าเจอแบบนี้พอร์ทคุณก็จะขาดทุนยับเยินเช่นกัน
ดังนั้นการลงทุนโดยการใช้PE Ratio ก็มีหลายแบบให้เลือก ไม่มีวิธีไหนผิดไม่มีวิธีไหนถูก แต่เลือกวิธีที่เหมาะสมกับเรา และขยันศึกษาในบริษัทที่เราลงทุนว่ากำไรของบริษัทมีแนวโน้มไปในทิศทางใด เท่านี้ผมว่าใครที่ทำได้ก็รวยนะครับ^^
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
- VI Wannabe
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1014
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 6
เอาแบบ วิชาการไหมครับ ^^
ทุกคนคงรู้จัก stable growth dividend discount model ดี
(1) P(t) = (DPS(t+1))/(r-g)
P(t) คือราคาหุ้น(ที่จ่าย dividend อย่างสม่ำเสมอทุกปี) ณ t
DPS คือ dividend per share ณ t+1
r คือ discount rate ซึ่งมาจาก ความเสี่ยง และ ดอกเบี้ย (CAPM)
g คือ growth ที่ stable ของธุรกิจ
ทีนี้ dividend ก็มาจาก earning ใช่ไหม? So,
(2) DPS(t+1) = EPS(t+1)*payout ratio
EPS คือ earning per share ณ t+1
payout ratio คือ นโยบายบริษัทว่าจะจ่าย dividend กี่ % ของ earning
เอา (2) ไปใส่ (1) แล้วย้ายข้างจะได้
forward PE ratio = P(t)/EPS(t+1) = payout ratio/(r-g)
เพราะฉะนั้นถ้าถามว่า forward PE คืออะไร? ขึ้นอยู่กับอะไร?
ตอบก็คือ
(1) payout ratio ยิ่งจ่าย dividend ที่สม่ำเสมอเยอะ PE ยิ่งสูง (ลึกๆแล้วแสดงว่า บริษัท สร้าง cash flow ได้มาก เช่น modern trade สื่อสาร จึงสามารถจ่าย dividend ได้เป็น % สูงๆ จาก EPS)
(2) r หรือ discount rate ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยง และ ดอกเบี้ย (เสี่ยงมาก discount rate มาก PE ต่ำ)
(3) g หรืออัตราเติบโตของกิจการ เติบโตมาก PE สูง (เพราะฉะนั้นหุ้น growth สูง(อย่างสม่ำเสมอ) PE สูง)
ไม่รู้พาออกทะเลไหมนะ
ทุกคนคงรู้จัก stable growth dividend discount model ดี
(1) P(t) = (DPS(t+1))/(r-g)
P(t) คือราคาหุ้น(ที่จ่าย dividend อย่างสม่ำเสมอทุกปี) ณ t
DPS คือ dividend per share ณ t+1
r คือ discount rate ซึ่งมาจาก ความเสี่ยง และ ดอกเบี้ย (CAPM)
g คือ growth ที่ stable ของธุรกิจ
ทีนี้ dividend ก็มาจาก earning ใช่ไหม? So,
(2) DPS(t+1) = EPS(t+1)*payout ratio
EPS คือ earning per share ณ t+1
payout ratio คือ นโยบายบริษัทว่าจะจ่าย dividend กี่ % ของ earning
เอา (2) ไปใส่ (1) แล้วย้ายข้างจะได้
forward PE ratio = P(t)/EPS(t+1) = payout ratio/(r-g)
เพราะฉะนั้นถ้าถามว่า forward PE คืออะไร? ขึ้นอยู่กับอะไร?
ตอบก็คือ
(1) payout ratio ยิ่งจ่าย dividend ที่สม่ำเสมอเยอะ PE ยิ่งสูง (ลึกๆแล้วแสดงว่า บริษัท สร้าง cash flow ได้มาก เช่น modern trade สื่อสาร จึงสามารถจ่าย dividend ได้เป็น % สูงๆ จาก EPS)
(2) r หรือ discount rate ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยง และ ดอกเบี้ย (เสี่ยงมาก discount rate มาก PE ต่ำ)
(3) g หรืออัตราเติบโตของกิจการ เติบโตมาก PE สูง (เพราะฉะนั้นหุ้น growth สูง(อย่างสม่ำเสมอ) PE สูง)
ไม่รู้พาออกทะเลไหมนะ
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1046
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 9
ถูกใจให้บวกครับ p/e 10 เท่าก็คือตามนั้น สั้นๆอาจไม่โดนใจหลายคนแต่โดนใจผมyoko เขียน:p/e=10หมายความว่า
หุ้นวันนี้มีราคาตลาด100บาทมีกำไร10บาท
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 11
เราอยากไปร่วมเป็นเจ้าของร้านขายก๋วยเตี๋ยวร้านเจ๊ดา แถวอนุสาวรีย์
ตามหลักทุนนิยมธรรมดา ตกลงจะมาแบ่งอะไรกันก็แล้วแต่ ตามอัตราส่วนที่ลงเงินลงไป ใครเงินมากได้ส่วนแบ่งมาก โดยเฉพาะถ้ามานั่งล้อมวงนับเงินกับหุ้นส่วนเมื่อเอากำไรมาแบ่งปันกันแต่ละครั้ง ที่ตกลงกันไว้
ตอนแรกเจ้ดาเอาความเป็นหุ้นส่วนร้านมาแบ่งขาย คนยังสนใจน้อย
เพื่อนของเราคนหนึ่ง เข้าไปร่วมหุ้น
มันพยายามหาวิธีคำนวณง่ายๆ เพราะไม่มีความรู้เรื่องราคาถ้วยชามรามไห ไม่รู้มูลค่าเตาแก๊สในร้านสักเท่าไหร่ รู้แต่ว่าก๋วยเตี๋ยวกินอร่อย ท่าทางขายดี กำไรงาม
เอาเป็นว่าซื้อกิจการละวะ ไม่ได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวนี่หว่า ไม่ต้องรู้ก็ได้
เลยมาคิดว่า ซื้อหุ้นส่วนกิจการด้วยเงินเท่านี้ แล้วแบ่งกำไรกันอยู่เรื่อยๆ รายเดือน รายครึ่งปีหรือรายปีก็แล้วแต่
อนาคต มันคตสมชื่อทำนายยาก แต่เพื่อความไม่งงงัน เลยสมมติก่อนว่า ร้านก๋วยเตี่ยวนี้ ทำกำไรไปเรื่อยๆ คงที่แบบนี้ตลอด อยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพ ไม่โตแต่ไม่เตี้ย จะได้คิดง่าย
ตอนนั้น มันใช้เงิน 2.5 ล้าน แล้วจากที่เจ้แกเปิดสมุดบัญชีให้ดูกำไรต่อปีคำนวณออกมาสำหรับสัดส่วนหุ้นที่เจ้ดาแบ่งให้ได้ มันจะได้เงิน 5 แสนบาทต่อปี
มันคือราคาจ่ายสำหรับการซื้อหุ้นส่วนร้านนี้ 5 เท่าของกำไร P/E = 2.5/0.5 = 5
สักพักผ่านมา มีคนสนใจซื้อความเป็นหุ้นส่วน หุ้นจำนวนมากที่เจ้ดาแบ่งขายให้คนอื่นด้วยเปลี่ยนมือไปมา บางช่วงก็แตกจำนวนหุ้น
ณ วินาทีนี้ เราอยากซื้อความเป็นหุ้นส่วนบ้าง เพราะเพื่อนมาชวน
ตอนนี้เราตกลงกับเจ้ดา ว่าหุ้นที่เราซื้อ เจ้ขายที่ราคา 5 ล้าน ขณะที่ร้านก๋วยเตี่ยวทำกำไร 5 แสนบาทต่อปีเหมือนเดิมให้สำหรับสัดส่วนหุ้นที่เราได้รับเท่ากับเพื่อนเรา
ถ้าเราไปร่วมเป็นเจ้าของ ณ วินาทีนี้
ก็คือต้องใช้เวลาสิบปี เราถึงจะคืนทุนกับสิ่งที่จ่ายออกไปบริษัท เพราะปีละแสนบาท คูณสิบปี ก็คือห้าล้าน
ราคาขายมันถูกโก่งราคาไปเยอะเลย มันคือ PE สิบ หรือราคาหุ้นเป็นสิบเท่าของกำไรสุทธิ ถ้าเราไม่เอา เจ้ดาไม่ง้อ เพราะมีคนพร้อมจะซื้ออีก เพราะชื่อร้านเจ้ดาติดตลาดไปแล้ว
แต่เพื่อนเราคนนั้นเห็นคุณค่าร้านเจ้ก่อน ตอนที่คนยังไม่สนใจมาก มันใช้เวลาแค่ 5 ปี เองก็คุ้มที่แล้ว
ได้หุ้น ได้ความเป็นเจ้าของ "มูลค่า" ของบริษัทเท่าเรา แต่จ่ายที่ "ราคา" ต้นทุนถูกกว่าเราครึ่งหนึ่ง (price is what you pay, value is what you get; graham -> buffett)
ไม่แน่ใจว่าหลักแบบปีคืนทุน เป็นหลักธรรมดารึเปล่า
แต่จำมาจากหนังสือลุงผมขาวแขวนคอ
ข้างล่าง ตอนลุงยังวัยเอ๊าะ
ตามหลักทุนนิยมธรรมดา ตกลงจะมาแบ่งอะไรกันก็แล้วแต่ ตามอัตราส่วนที่ลงเงินลงไป ใครเงินมากได้ส่วนแบ่งมาก โดยเฉพาะถ้ามานั่งล้อมวงนับเงินกับหุ้นส่วนเมื่อเอากำไรมาแบ่งปันกันแต่ละครั้ง ที่ตกลงกันไว้
ตอนแรกเจ้ดาเอาความเป็นหุ้นส่วนร้านมาแบ่งขาย คนยังสนใจน้อย
เพื่อนของเราคนหนึ่ง เข้าไปร่วมหุ้น
มันพยายามหาวิธีคำนวณง่ายๆ เพราะไม่มีความรู้เรื่องราคาถ้วยชามรามไห ไม่รู้มูลค่าเตาแก๊สในร้านสักเท่าไหร่ รู้แต่ว่าก๋วยเตี๋ยวกินอร่อย ท่าทางขายดี กำไรงาม
เอาเป็นว่าซื้อกิจการละวะ ไม่ได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวนี่หว่า ไม่ต้องรู้ก็ได้
เลยมาคิดว่า ซื้อหุ้นส่วนกิจการด้วยเงินเท่านี้ แล้วแบ่งกำไรกันอยู่เรื่อยๆ รายเดือน รายครึ่งปีหรือรายปีก็แล้วแต่
อนาคต มันคตสมชื่อทำนายยาก แต่เพื่อความไม่งงงัน เลยสมมติก่อนว่า ร้านก๋วยเตี่ยวนี้ ทำกำไรไปเรื่อยๆ คงที่แบบนี้ตลอด อยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพ ไม่โตแต่ไม่เตี้ย จะได้คิดง่าย
ตอนนั้น มันใช้เงิน 2.5 ล้าน แล้วจากที่เจ้แกเปิดสมุดบัญชีให้ดูกำไรต่อปีคำนวณออกมาสำหรับสัดส่วนหุ้นที่เจ้ดาแบ่งให้ได้ มันจะได้เงิน 5 แสนบาทต่อปี
มันคือราคาจ่ายสำหรับการซื้อหุ้นส่วนร้านนี้ 5 เท่าของกำไร P/E = 2.5/0.5 = 5
สักพักผ่านมา มีคนสนใจซื้อความเป็นหุ้นส่วน หุ้นจำนวนมากที่เจ้ดาแบ่งขายให้คนอื่นด้วยเปลี่ยนมือไปมา บางช่วงก็แตกจำนวนหุ้น
ณ วินาทีนี้ เราอยากซื้อความเป็นหุ้นส่วนบ้าง เพราะเพื่อนมาชวน
ตอนนี้เราตกลงกับเจ้ดา ว่าหุ้นที่เราซื้อ เจ้ขายที่ราคา 5 ล้าน ขณะที่ร้านก๋วยเตี่ยวทำกำไร 5 แสนบาทต่อปีเหมือนเดิมให้สำหรับสัดส่วนหุ้นที่เราได้รับเท่ากับเพื่อนเรา
ถ้าเราไปร่วมเป็นเจ้าของ ณ วินาทีนี้
ก็คือต้องใช้เวลาสิบปี เราถึงจะคืนทุนกับสิ่งที่จ่ายออกไปบริษัท เพราะปีละแสนบาท คูณสิบปี ก็คือห้าล้าน
ราคาขายมันถูกโก่งราคาไปเยอะเลย มันคือ PE สิบ หรือราคาหุ้นเป็นสิบเท่าของกำไรสุทธิ ถ้าเราไม่เอา เจ้ดาไม่ง้อ เพราะมีคนพร้อมจะซื้ออีก เพราะชื่อร้านเจ้ดาติดตลาดไปแล้ว
แต่เพื่อนเราคนนั้นเห็นคุณค่าร้านเจ้ก่อน ตอนที่คนยังไม่สนใจมาก มันใช้เวลาแค่ 5 ปี เองก็คุ้มที่แล้ว
ได้หุ้น ได้ความเป็นเจ้าของ "มูลค่า" ของบริษัทเท่าเรา แต่จ่ายที่ "ราคา" ต้นทุนถูกกว่าเราครึ่งหนึ่ง (price is what you pay, value is what you get; graham -> buffett)
ไม่แน่ใจว่าหลักแบบปีคืนทุน เป็นหลักธรรมดารึเปล่า
แต่จำมาจากหนังสือลุงผมขาวแขวนคอ
ข้างล่าง ตอนลุงยังวัยเอ๊าะ
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 12
เรื่องpeนี่จิงๆแล้วผมติดใจตรงที่กูรูวิบูลย์ออกรายการมือใหม่ในเดือนวันแม่แล้วบอกว่าถ้านายตลาดให้ค่าพีอีของบริษัททื่7เท่าแสดงว่าไม่ได้ค่าอัตราเติบโตของบริษัทไว้เลย แสดงว่าถ้าเจอบริษัทที่ดีมากแล้วนายตลาดให้ค่าพีอี7เท่าก็จะน่าสนใจมากๆคับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 13
ผมชอบมองพีอีเหมือนต้นโพธิ์แถวบ้านผมครับ
ต้นไหนความเชื่ิอมีมาก ผ้าสีไปผูกก็มากตามไปด้วย
คนเดินผ่านก็ยกมือไหว้
ไม่ทราบว่าไหว้เพราะกลัวหรือโลภ
ผูกกันเต็มไปหมด
เอาแป้งไปถู เอามือไปขัด รกไปหมด
แต่อีกต้นหลังหมู่บ้าน ผมเห็นไม่มีผ้าสีเลย
ทั้งๆ ที่เป็นต้นโพธิ์เหมือนกัน
ผมเลยเอาผ้าสีไปผูกทุกวัน แล้วก็ไปยกมือไหว้
คนเห็นผ่านมา ก็ทำตาม
นี่เรื่องจริงที่เกิดขึ้น
ทำอย่างนี้ เพราะชอบศึกษาจิตวิทยาของคน
มันก็แค่ความเชือของคน
อย่าเอาตัวเองไปผูกกับ PE ให้ดูรกก็แล้วกันครับ
ต้นไหนความเชื่ิอมีมาก ผ้าสีไปผูกก็มากตามไปด้วย
คนเดินผ่านก็ยกมือไหว้
ไม่ทราบว่าไหว้เพราะกลัวหรือโลภ
ผูกกันเต็มไปหมด
เอาแป้งไปถู เอามือไปขัด รกไปหมด
แต่อีกต้นหลังหมู่บ้าน ผมเห็นไม่มีผ้าสีเลย
ทั้งๆ ที่เป็นต้นโพธิ์เหมือนกัน
ผมเลยเอาผ้าสีไปผูกทุกวัน แล้วก็ไปยกมือไหว้
คนเห็นผ่านมา ก็ทำตาม
นี่เรื่องจริงที่เกิดขึ้น
ทำอย่างนี้ เพราะชอบศึกษาจิตวิทยาของคน
มันก็แค่ความเชือของคน
อย่าเอาตัวเองไปผูกกับ PE ให้ดูรกก็แล้วกันครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 15
PE 10 ถ้าคิดแบบง่ายๆก็คือ ถ้าหากกำไรคงที่ตลอด จะใช้เวลา 10 ปี ในการคืนทุน
แต่ถ้าคิดตามความเป็นจริง ต้องคิดถึงเงินเฟ้อด้วย สมมติให้เงินเฟ้อระยะยาวที่ 3.5 เปอร์เซนต์ต่อปี
ถ้าหากกำไรคงที่ตลอด ลงทุน 100 บาท กำไร10 บาททุกปี
ถ้าคิดผลกระทบของเงินเฟ้อ จะทำให้ใช้เวลาคืนทุนจริงๆคือ 13 ปี ได้NPV=103.3บาท
กรณีกำไรเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนทุกปี คือจาก 10 บาท ปีถัดไปเป็น 11 บาท ปีถัดไป 12.1 บาท ไปเรื่อยๆ
จะใช้เวลาคืนทุนจริงๆคือ 9 ปี NPV=112.32 บาท
กรณีกำไรเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ทุกปี จะใช้เวลาคืนทุนคือ 7 ปี
ถ้า PE = 7 แล้วกำไรคงที่ตลอด ก็จะใช้เวลาคืนทุน 8-9 ปี ในการคืนทุน
ถ้าเป็นsuperstock PE 30 ถ้ากำไรเพิ่ม 30 เปอร์เซนต์ทุกปีก็ใช้เวลา 10 ปี คืนทุน ถ้ากำไรเพิ่ม 60 เปอร์เซนต์ทุกปีก็ใช้เวลา 7 ปีคืนทุน แต่ถ้ากำไรเพิ่มแค่ 20 เปอร์ต่อปี ก็ใช้เวลา12-13 ปีคืนทุน
แต่ถ้าคิดตามความเป็นจริง ต้องคิดถึงเงินเฟ้อด้วย สมมติให้เงินเฟ้อระยะยาวที่ 3.5 เปอร์เซนต์ต่อปี
ถ้าหากกำไรคงที่ตลอด ลงทุน 100 บาท กำไร10 บาททุกปี
ถ้าคิดผลกระทบของเงินเฟ้อ จะทำให้ใช้เวลาคืนทุนจริงๆคือ 13 ปี ได้NPV=103.3บาท
กรณีกำไรเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนทุกปี คือจาก 10 บาท ปีถัดไปเป็น 11 บาท ปีถัดไป 12.1 บาท ไปเรื่อยๆ
จะใช้เวลาคืนทุนจริงๆคือ 9 ปี NPV=112.32 บาท
กรณีกำไรเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซนต์ทุกปี จะใช้เวลาคืนทุนคือ 7 ปี
ถ้า PE = 7 แล้วกำไรคงที่ตลอด ก็จะใช้เวลาคืนทุน 8-9 ปี ในการคืนทุน
ถ้าเป็นsuperstock PE 30 ถ้ากำไรเพิ่ม 30 เปอร์เซนต์ทุกปีก็ใช้เวลา 10 ปี คืนทุน ถ้ากำไรเพิ่ม 60 เปอร์เซนต์ทุกปีก็ใช้เวลา 7 ปีคืนทุน แต่ถ้ากำไรเพิ่มแค่ 20 เปอร์ต่อปี ก็ใช้เวลา12-13 ปีคืนทุน
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 16
ุ่P/E ถ้า่ว่ากันตามนิยามหรือความหมายมีหลายๆคนให้ไว้แล้ว แต่ในมุมมองของผมก็มีเพิ่มเติ่มบ้าง
ถ้าในแง่ของการดูหุ้นเติบโต (ซึ่งกว่า65%ในพอร์ตผมเป็นหุ้นจำพวกนี้หมด)
ผมมอง P/E ผูกไปกับค่าความคาดหวังของคนกับความสามารถในการเติบโต(Growth)ของหุ้นครับ
หลักๆเน้นไปในเรื่องความต่อเนื่องในการเติบโตที่ได้จากการประเมินเทียบกับความคาดหวังของตลาดด้วย หรือก็คือเทียบPEG Ratioนั่นแหละ
การเติบโตต้องมั่นใจว่าอย่างน้อยๆมีความสม่ำเสมอในระัดับหลายปี (3-5ปีขึ้นไป) ยิ่งถ้าสัดส่วนPEG Ratioมันยิ่งมากเท่าไหร่ ผมยิ่งต้องมั่นใจว่า
มันสามารถเติบโตสม่ำเสมอได้นานเท่านั้น ถ้าการเติบโตในอนาคตมีแนวโน้มลดลง ความคาดหวังของตลาดก็จะลดลง สุดท้ายมันก็ดึง P ลงมา
ตาม E และมีผลเสี่ยงทำให้ขาดทุนหรือกำไรลดลงได้
ทั้งนี้ที่จะมั่นใจได้ว่าสามารถเติบโตได้นานขนาดไหน แล้วจะไปได้ไวหรือเปล่า หัวใจหลักๆของผมพยายามเน้นมองไปที่ธุรกิจที่น่าจะสามารถ
เปลี่ยนหรือมีอิทธิพลต่อรสนิยมหรือการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนเราน่้ะครับ
เพราะโดยหลักๆยอมรับว่า ตอนนี้ผมเน้นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยตนเองมากกว่ารเจาะดูตัวเลขทางการเงินแบบละเอียดยิบกับพยายามเน้นศึกษาด้าน
จิตวิทยาการลงทุนรวมทั้งมองแนวโน้มในอนาคตโดยศึกษาพฤติกรรมจากต่างประเทศมากขึ้น
(แนวโน้มเศรษฐกิจ พฤติกรรมการลงทุน เทรนของธุรกิจต่างๆโดยมองไปที่อเมริกา ญี่ปุ่น จีน บราซิล อาร์เจนติน่า ลาว และอาจจะมีประเทศอื่น
บ้างที่มีอะไรบางอย่างคล้ายกับไทย โดยมองแนวโน้มธุรกิจทั้งจากอดีตไปจนถึงอนาึคตของประเทศนั้นๆและมาคาดการณ์แนวโน้มในประเทศไทยน่ะครับ)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
อาจจะไม่ตรงประเด็นของพี่ chatchai เท่าไหร่ เพราะไม่ได้ตอบเกี่ยวกับความหมายของP/Eเท่าไหร่เลย ส่วนหนึ่งคิดว่ามีหลายคนตอบและให้ความหมาย
อย่างชัดเจนไปแล้ว เลยคิดว่าน่าจะผสานความคิดหรือเพิ่มมุมมองเข้าไปในกระทู้แทน ความเห็นผมอาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
หรืออาจจะมองหรือคิดอะไรผิดจะได้มีคนแย้งและเปิดประเด็นสนทนากัน น่าจะทำให้ได้รับความรุ้มากขึ้นกันทุกฝ่าย น่าจะเป็นผลดีมากขึ้นครับ
ถ้าในแง่ของการดูหุ้นเติบโต (ซึ่งกว่า65%ในพอร์ตผมเป็นหุ้นจำพวกนี้หมด)
ผมมอง P/E ผูกไปกับค่าความคาดหวังของคนกับความสามารถในการเติบโต(Growth)ของหุ้นครับ
หลักๆเน้นไปในเรื่องความต่อเนื่องในการเติบโตที่ได้จากการประเมินเทียบกับความคาดหวังของตลาดด้วย หรือก็คือเทียบPEG Ratioนั่นแหละ
การเติบโตต้องมั่นใจว่าอย่างน้อยๆมีความสม่ำเสมอในระัดับหลายปี (3-5ปีขึ้นไป) ยิ่งถ้าสัดส่วนPEG Ratioมันยิ่งมากเท่าไหร่ ผมยิ่งต้องมั่นใจว่า
มันสามารถเติบโตสม่ำเสมอได้นานเท่านั้น ถ้าการเติบโตในอนาคตมีแนวโน้มลดลง ความคาดหวังของตลาดก็จะลดลง สุดท้ายมันก็ดึง P ลงมา
ตาม E และมีผลเสี่ยงทำให้ขาดทุนหรือกำไรลดลงได้
ทั้งนี้ที่จะมั่นใจได้ว่าสามารถเติบโตได้นานขนาดไหน แล้วจะไปได้ไวหรือเปล่า หัวใจหลักๆของผมพยายามเน้นมองไปที่ธุรกิจที่น่าจะสามารถ
เปลี่ยนหรือมีอิทธิพลต่อรสนิยมหรือการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนเราน่้ะครับ
เพราะโดยหลักๆยอมรับว่า ตอนนี้ผมเน้นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยตนเองมากกว่ารเจาะดูตัวเลขทางการเงินแบบละเอียดยิบกับพยายามเน้นศึกษาด้าน
จิตวิทยาการลงทุนรวมทั้งมองแนวโน้มในอนาคตโดยศึกษาพฤติกรรมจากต่างประเทศมากขึ้น
(แนวโน้มเศรษฐกิจ พฤติกรรมการลงทุน เทรนของธุรกิจต่างๆโดยมองไปที่อเมริกา ญี่ปุ่น จีน บราซิล อาร์เจนติน่า ลาว และอาจจะมีประเทศอื่น
บ้างที่มีอะไรบางอย่างคล้ายกับไทย โดยมองแนวโน้มธุรกิจทั้งจากอดีตไปจนถึงอนาึคตของประเทศนั้นๆและมาคาดการณ์แนวโน้มในประเทศไทยน่ะครับ)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
อาจจะไม่ตรงประเด็นของพี่ chatchai เท่าไหร่ เพราะไม่ได้ตอบเกี่ยวกับความหมายของP/Eเท่าไหร่เลย ส่วนหนึ่งคิดว่ามีหลายคนตอบและให้ความหมาย
อย่างชัดเจนไปแล้ว เลยคิดว่าน่าจะผสานความคิดหรือเพิ่มมุมมองเข้าไปในกระทู้แทน ความเห็นผมอาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
หรืออาจจะมองหรือคิดอะไรผิดจะได้มีคนแย้งและเปิดประเด็นสนทนากัน น่าจะทำให้ได้รับความรุ้มากขึ้นกันทุกฝ่าย น่าจะเป็นผลดีมากขึ้นครับ
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 17
ช่วยกันคิด ช่วยกันมอง หลายๆแง่ หลายๆมุม ผู้เข้ามาอ่านก็จะได้ประโยชน์มากๆเลย
อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ P/E 10 เท่า ก็หมายความง่ายๆว่า ซื้อหุ้นราคานี้ อีก 10 ปีคืนทุน หรือกำไรสะสม 10 ปีจะเท่ากับเงินที่เราจ่ายไป
วิธีอธิบายแค่นี้ คนทั่วไปก็เข้าใจง่าย คิดค่า P/E ก็ง่ายด้วย แค่เอากำไรสุทธิต่อหุ้นไปหารราคาหุ้นแค่นี้ก็เรียบร้อย เลยนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ใช้กับทุกอุตสาหกรรม ใช้กับทุกบริษัท
ทั้งๆที่ บางอุตสาหกรรมมีผลการดำเนินงานผันผวนมาก เช่น อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง
การใช้ P/E ในการประเมินราคาหุ้น อย่างน้อยต้องมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ เช่น ธุรกิจที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้วก็มักจะมาซื้อใหม่ในปีต่อๆไป
อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ P/E 10 เท่า ก็หมายความง่ายๆว่า ซื้อหุ้นราคานี้ อีก 10 ปีคืนทุน หรือกำไรสะสม 10 ปีจะเท่ากับเงินที่เราจ่ายไป
วิธีอธิบายแค่นี้ คนทั่วไปก็เข้าใจง่าย คิดค่า P/E ก็ง่ายด้วย แค่เอากำไรสุทธิต่อหุ้นไปหารราคาหุ้นแค่นี้ก็เรียบร้อย เลยนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ใช้กับทุกอุตสาหกรรม ใช้กับทุกบริษัท
ทั้งๆที่ บางอุตสาหกรรมมีผลการดำเนินงานผันผวนมาก เช่น อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง
การใช้ P/E ในการประเมินราคาหุ้น อย่างน้อยต้องมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ เช่น ธุรกิจที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้วก็มักจะมาซื้อใหม่ในปีต่อๆไป
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 18
PE มีกับดักอีกอย่างที่อย่าลืมเลือนกันคือ
PE ที่ต่ำๆแบบถูกเรื้อรัง ต่ำแบบว่า PE 2-3 แบบนานๆ
ต้องลงไปดูด้วยว่า PE ถูกขนาดนั้นเป็นเพราะ สภาพคล่องของการซื้อขายไม่มีหรือเปล่า
ผู้ถือหุ้นมีเพียงไม่กี่รายที่ถือหุ้นแบบสัดส่วนที่สูงมากๆ จนมีอำนาจควบคุมบริษัทได้เบ็ดเตร็ดเด็ดขาด
การลงทุนนั้น นักลงทุนต้องการอยู่สองสิ่งคือ Capital Gain และ Dividend
แต่ Capital Gain เป็นสิ่งที่ได้มากกว่า Dividend แถมได้เป็นเด้งเลย
ส่วน Dividend นั้นเหมือนน้ำซึมบ่อทราย แบบว่า อย่างน้อยปีละครั้งที่ได้ทีหนึ่ง
ทำให้สภาพคล่องของหุ้นก็มีส่วนในการประเมินด้วย
PE ก็มีวัฏจักรของมันตาม Cycle ของ Business ด้วย ว่าเป็นเป็นช่วงไหน
(อันนี้โดยทั่วไป)
PE สูงๆ อยู่ช่วงที่กำลังเติบโต เร่งด้วยค่า g ที่สูงๆๆ
ส่วน PE ที่ต่ำๆ อาจจะอยู๋ในช่วงที่ Business ตอนปลายๆแล้ว
ก็ต้องดูกันด้วยละ
PE ที่ต่ำๆแบบถูกเรื้อรัง ต่ำแบบว่า PE 2-3 แบบนานๆ
ต้องลงไปดูด้วยว่า PE ถูกขนาดนั้นเป็นเพราะ สภาพคล่องของการซื้อขายไม่มีหรือเปล่า
ผู้ถือหุ้นมีเพียงไม่กี่รายที่ถือหุ้นแบบสัดส่วนที่สูงมากๆ จนมีอำนาจควบคุมบริษัทได้เบ็ดเตร็ดเด็ดขาด
การลงทุนนั้น นักลงทุนต้องการอยู่สองสิ่งคือ Capital Gain และ Dividend
แต่ Capital Gain เป็นสิ่งที่ได้มากกว่า Dividend แถมได้เป็นเด้งเลย
ส่วน Dividend นั้นเหมือนน้ำซึมบ่อทราย แบบว่า อย่างน้อยปีละครั้งที่ได้ทีหนึ่ง
ทำให้สภาพคล่องของหุ้นก็มีส่วนในการประเมินด้วย
PE ก็มีวัฏจักรของมันตาม Cycle ของ Business ด้วย ว่าเป็นเป็นช่วงไหน
(อันนี้โดยทั่วไป)
PE สูงๆ อยู่ช่วงที่กำลังเติบโต เร่งด้วยค่า g ที่สูงๆๆ
ส่วน PE ที่ต่ำๆ อาจจะอยู๋ในช่วงที่ Business ตอนปลายๆแล้ว
ก็ต้องดูกันด้วยละ
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 19
เป็นคำถามที่ถามง่ายๆ แต่ตอบได้ยากมากๆ
ถึงโพสต์นี้แล้วน่าจะถามต่อว่า ราคาหุ้น XXX ทำไมถึงซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
เพราะถ้ามองว่า หุ้นมีกำไร 1 บาทต่อหุ้นต่อปี แล้วราคา 10 บาทก็บอกได้ว่า p/e 10
แต่กิจการมีทั้งที่รายได้ผันผวน หรือกำไรผันผวน ในแง่ความเสี่ยงกิจการมีความเสี่ยงทั้งจากตัวธุรกิจเอง และความเสี่ยงจากโครงสร้างทางการเงิน
การจะให้ p/e เท่าไหร่ดีนั้นสำคัญมากๆเลยทีเดียว ว่า p จะเป็นเท่าไหร่ ด้วย p/e เท่าไหร่ จาก e แบบไหน ถึงจะเหมาะสมและน่าจะมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากพอ
ถึงโพสต์นี้แล้วน่าจะถามต่อว่า ราคาหุ้น XXX ทำไมถึงซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
เพราะถ้ามองว่า หุ้นมีกำไร 1 บาทต่อหุ้นต่อปี แล้วราคา 10 บาทก็บอกได้ว่า p/e 10
แต่กิจการมีทั้งที่รายได้ผันผวน หรือกำไรผันผวน ในแง่ความเสี่ยงกิจการมีความเสี่ยงทั้งจากตัวธุรกิจเอง และความเสี่ยงจากโครงสร้างทางการเงิน
การจะให้ p/e เท่าไหร่ดีนั้นสำคัญมากๆเลยทีเดียว ว่า p จะเป็นเท่าไหร่ ด้วย p/e เท่าไหร่ จาก e แบบไหน ถึงจะเหมาะสมและน่าจะมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากพอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 20
การประเมินด้วย PE เหมาะสมที่สุด!
เพราะว่าถึงแม้ว่าผมจะทำวิธีที่ดีแค่ไหน แต่คนส่วนใหญ่ใช้ PE
ผมก็ต้องใช้ PE เพื่อขายหุ้น
ยกตัวอย่างหุ้นรับเหมา อย่าง SPTI, MCS, TRT
เรารู้ว่ามีงานที่จะรับรู้อีก 2-3q ข้างหน้าสูงและกำไรจะสูงก็ซื้อหุ้น
และรอขายเมื่อมันมีกำไรมากจริงๆ ราคาหุ้นก็จะถูกปรับตามกำไร ณ ขณะนั้น
วิธีนี้แพร่หลายในTHAIVI เป็นเวลานาน แต่ถ้าเราถือหุ้นเหล่านี้ผ่านไปนานๆ เราอาจจะพบว่า
PE ปรับเปลี่ยนได้เร็วมาก ทำให้ต้องใช้หลัก ซื้อตอนตกต่ำ ขายตอนรุ่งเรือง
หลายๆกรณี PE 3 เท่า กลับแพงกว่า PE 10 เท่า(ถึงแม้จะเป็นธรุกิจเดียวกัน รายได้เท่ากัน) เพราะมีเรื่องหนี้มาเกี่ยวข้อง
แต่ตลาดไม่ได้มองแบบนี้ กลับมองว่า PE 3 เท่านั้นถูกมาก มันทำให้การซื้อด้วย PE เพื่อหวังทำกำไรในระยะสั้นๆ 1-2 ปี ต้องตามนายตลาดถึงจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
สรุปแล้ว PE ก็คือ PE มีค่าแค่ตอนหลอกล่อให้นายตลาดซื้อขายหุ้น แต่ไม่เหมาะในการหามูลค่ากิจการ
เพราะว่าถึงแม้ว่าผมจะทำวิธีที่ดีแค่ไหน แต่คนส่วนใหญ่ใช้ PE
ผมก็ต้องใช้ PE เพื่อขายหุ้น
ยกตัวอย่างหุ้นรับเหมา อย่าง SPTI, MCS, TRT
เรารู้ว่ามีงานที่จะรับรู้อีก 2-3q ข้างหน้าสูงและกำไรจะสูงก็ซื้อหุ้น
และรอขายเมื่อมันมีกำไรมากจริงๆ ราคาหุ้นก็จะถูกปรับตามกำไร ณ ขณะนั้น
วิธีนี้แพร่หลายในTHAIVI เป็นเวลานาน แต่ถ้าเราถือหุ้นเหล่านี้ผ่านไปนานๆ เราอาจจะพบว่า
PE ปรับเปลี่ยนได้เร็วมาก ทำให้ต้องใช้หลัก ซื้อตอนตกต่ำ ขายตอนรุ่งเรือง
หลายๆกรณี PE 3 เท่า กลับแพงกว่า PE 10 เท่า(ถึงแม้จะเป็นธรุกิจเดียวกัน รายได้เท่ากัน) เพราะมีเรื่องหนี้มาเกี่ยวข้อง
แต่ตลาดไม่ได้มองแบบนี้ กลับมองว่า PE 3 เท่านั้นถูกมาก มันทำให้การซื้อด้วย PE เพื่อหวังทำกำไรในระยะสั้นๆ 1-2 ปี ต้องตามนายตลาดถึงจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
สรุปแล้ว PE ก็คือ PE มีค่าแค่ตอนหลอกล่อให้นายตลาดซื้อขายหุ้น แต่ไม่เหมาะในการหามูลค่ากิจการ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 22
P/E ที่เห็นกัน คือคำนวณจากราคาวันนี้ หารด้วยผลตอบแทนเมื่อวาน (ในอดีต)
เราซื้อหุ้น เพราะอยากจะถือกี่ปี
ถ้าอยากเป็นเจ้าของบริษัท E คงไม่ใช่เอามาแค่จากผลตอบแทนเมื่อวาน
ถ้าอยากถือหนึ่งปี E คงไม่ใช่แค่ Earning ของปีหน้าปีเดียว
คนจะให้ P/E ว่าเป็นควรเป็นเท่าไหร่ ก็เป็นอีกเรื่อง
บางครั้ง 10 ก็แพง บางครั้ง 10 ก็ถูก หุ้นตัวเดียวกันก็อาจจะมี PE ที่เหมาะสมไม่เหมือนกันในเวลาต่างกัน
อันนั้นขึ้นกับตลาด
ส่วนตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากเป็นเจ้าของนานแค่ไหน และอยากเป็นเจ้าของกิจการแบบไหน
ราคาคือสิ่งที่เราจะจ่ายไปเพื่อให้เหมาะกับแนวทางลงทุนตัวเอง
เราซื้อหุ้น เพราะอยากจะถือกี่ปี
ถ้าอยากเป็นเจ้าของบริษัท E คงไม่ใช่เอามาแค่จากผลตอบแทนเมื่อวาน
ถ้าอยากถือหนึ่งปี E คงไม่ใช่แค่ Earning ของปีหน้าปีเดียว
คนจะให้ P/E ว่าเป็นควรเป็นเท่าไหร่ ก็เป็นอีกเรื่อง
บางครั้ง 10 ก็แพง บางครั้ง 10 ก็ถูก หุ้นตัวเดียวกันก็อาจจะมี PE ที่เหมาะสมไม่เหมือนกันในเวลาต่างกัน
อันนั้นขึ้นกับตลาด
ส่วนตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากเป็นเจ้าของนานแค่ไหน และอยากเป็นเจ้าของกิจการแบบไหน
ราคาคือสิ่งที่เราจะจ่ายไปเพื่อให้เหมาะกับแนวทางลงทุนตัวเอง
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 24
มองในแง่ธรรมะบ้างลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์ เป้าหมายสูงสุดที่เข้ามาลงทุนก็คือต้องการความสุข อยากมีเงินเยอะฯเพราะจะเอาไปซื้อของได้ตามใจอยาก แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นความทุกข์เล่นหุ้นเท่าไรใจก็ร้อนรนตลอดเวลาเพราะอยากให้เป็นไปอย่างที่ใจคิด ถ้ามีสติมองหุ้นตามความเป็นจริงจะเห็นไตรลักษณ์ว่า
P ราคาก็มาจากตลาด เป็นสิ่งที่นายตลาดปรุงขึ้น มีเหตุก็ขึ้น หมดเหตุก็ทุบ สั่งให้ราคาหุ้นขึ้นไปตามใจอยากก็ไม่ได้
E ผลประกอบการ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ สั่งให้ไปตามใจอยากก็ไม่ได้เช่นกัน ทั้งยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร พนักงาน เงินปันผล ฯลฯ ปีนี้กิจการดีพอมาอีกปีเหตุเปลี่ยนเจ้งก็มี
และย้ำความหมายของ p/e อีกทีว่า
P ราคาก็มาจากตลาด เป็นสิ่งที่นายตลาดปรุงขึ้น มีเหตุก็ขึ้น หมดเหตุก็ทุบ สั่งให้ราคาหุ้นขึ้นไปตามใจอยากก็ไม่ได้
E ผลประกอบการ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ สั่งให้ไปตามใจอยากก็ไม่ได้เช่นกัน ทั้งยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร พนักงาน เงินปันผล ฯลฯ ปีนี้กิจการดีพอมาอีกปีเหตุเปลี่ยนเจ้งก็มี
และย้ำความหมายของ p/e อีกทีว่า
yoko เขียน:p/e=10หมายความว่า
หุ้นวันนี้มีราคาตลาด100บาทมีกำไร10บาท
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 25
P/E ก็คือเอาราคา มาหารด้วยกำไรเท่านั้นเพื่อประเมินว่าราคาหุ้นตัวนี้ถูกหรือเเพง
เเต่ค่าP/E ที่เหมาะสมก็เเล้วเเต่กำหนดอาจจะใช้ประวัติย้อนหลังว่าหุ้นนี้ในอดีต trade ประมาณ7-10เท่า เป็นต้น เเต่ค่าเท่าใดก็ไม่มีใครกำหนดได้
บางทีถ้าหุ้นขึ้นมาเยอะๆ นักวิเคราะห์ก็ไปหา P/E หุ้นกลุ่มนี้ในต่างประเทศมาอ้าง
เเต่ E ที่เราเห็นเป็น E ปัจุบันเเต่การซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคต นักลงทุนจึงต้องประเมินดูว่า E อนาคตเป็นเท่าไหร่ เเละคุณภาพของ E นั้นมีอะไรหมกซ้อนหรือไม่
เเต่ค่าP/E ที่เหมาะสมก็เเล้วเเต่กำหนดอาจจะใช้ประวัติย้อนหลังว่าหุ้นนี้ในอดีต trade ประมาณ7-10เท่า เป็นต้น เเต่ค่าเท่าใดก็ไม่มีใครกำหนดได้
บางทีถ้าหุ้นขึ้นมาเยอะๆ นักวิเคราะห์ก็ไปหา P/E หุ้นกลุ่มนี้ในต่างประเทศมาอ้าง
เเต่ E ที่เราเห็นเป็น E ปัจุบันเเต่การซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคต นักลงทุนจึงต้องประเมินดูว่า E อนาคตเป็นเท่าไหร่ เเละคุณภาพของ E นั้นมีอะไรหมกซ้อนหรือไม่
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 26
P/E 10 เท่า บอกไม่ได้ว่าถูกหรือแพง แต่อาจพอบอกได้เมื่อเทียบกับ P/E เฉลี่ยของบริษัทในอดีต
หากเราพอจะคาดการณ์ได้ว่า E มีอัตราการเติบโตสูงกว่าในอดีต นายตลาดก็ควรจะให้ P ที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่า E ส่งผลให้ P/E สูงขึ้น กลับกันถ้า E เติบโตลดลงหรือติดลบ ค่า P ก็น่าจะลดลงเช่นกัน
แต่สิ่งที่ผมไม่เข้าใจคือ ทำไมบางคนถึงใช้ P/E หุ้นตัวหนึ่ง ไปเทียบกับอีกตัวหนึ่งหรือ P/E ของ sector ต่างๆ ผมว่ามันเป็นเหตุเป็นผลเลย
หากเราพอจะคาดการณ์ได้ว่า E มีอัตราการเติบโตสูงกว่าในอดีต นายตลาดก็ควรจะให้ P ที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่า E ส่งผลให้ P/E สูงขึ้น กลับกันถ้า E เติบโตลดลงหรือติดลบ ค่า P ก็น่าจะลดลงเช่นกัน
แต่สิ่งที่ผมไม่เข้าใจคือ ทำไมบางคนถึงใช้ P/E หุ้นตัวหนึ่ง ไปเทียบกับอีกตัวหนึ่งหรือ P/E ของ sector ต่างๆ ผมว่ามันเป็นเหตุเป็นผลเลย
- 1154
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 894
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 27
์Normal P/E = P/E ณ ปัจจุบัน
Forward P/E = P/E x Growth
ส่วนตัวผมจะชั่งน้ำหนักถ้า P/E < Growth+Divedend ก็น่าสนใจไปทำการบ้านต่อครับ
Forward P/E = P/E x Growth
ส่วนตัวผมจะชั่งน้ำหนักถ้า P/E < Growth+Divedend ก็น่าสนใจไปทำการบ้านต่อครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 28
Forward P/E เกิดจากการทำงบล่วงหน้า บนพื้นฐานของข้อมูลที่เปิดเผย หรือข้อมูลที่ได้จากผู้บริหาร
บอกตัวเลขคร่าวว่า การเติบโตของยอดขายปีหน้าเท่าไร ค่าใช้จ่ายโดยรวมเป็นอย่างไง (ตัวเลขคร่าวๆ)
ค่าดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงได้จากการทำงบล่วงหน้าดังกล่าว คาดคะเนได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกระบวนการทำ
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขผ่านทาง What-IF Analysis ,การเปลี่ยนแปลงบ้างตัวแปร หรือ Stress Test ก็อยู่ในการทำแบบนี้ด้วย
ส่วน P ที่ได้นั้นมาจากส่วนของ Model ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ
จากงบการเงินล่วงหน้าก็สามารถคาดการณ์ปันผลในปีต่อๆไป แต่มีปัญหาที่
ผู้จัดทำงบนั้นไม่รู้ว่ากิจการเติบโตอยู่ในระยะไหน แต่ละปีมีการเติบโตที่ไม่เท่ากัน
ทำให้ P ที่ได้อาจจะคาดเคลื่อนมากกว่า E ที่ได้จากการงบการเงินเสียอีก
บอกตัวเลขคร่าวว่า การเติบโตของยอดขายปีหน้าเท่าไร ค่าใช้จ่ายโดยรวมเป็นอย่างไง (ตัวเลขคร่าวๆ)
ค่าดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงได้จากการทำงบล่วงหน้าดังกล่าว คาดคะเนได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกระบวนการทำ
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขผ่านทาง What-IF Analysis ,การเปลี่ยนแปลงบ้างตัวแปร หรือ Stress Test ก็อยู่ในการทำแบบนี้ด้วย
ส่วน P ที่ได้นั้นมาจากส่วนของ Model ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ
จากงบการเงินล่วงหน้าก็สามารถคาดการณ์ปันผลในปีต่อๆไป แต่มีปัญหาที่
ผู้จัดทำงบนั้นไม่รู้ว่ากิจการเติบโตอยู่ในระยะไหน แต่ละปีมีการเติบโตที่ไม่เท่ากัน
ทำให้ P ที่ได้อาจจะคาดเคลื่อนมากกว่า E ที่ได้จากการงบการเงินเสียอีก
- VI Wannabe
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1014
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาหุ้นที่ซื้อขายที่ P/E 10 เท่า
โพสต์ที่ 29
1154 เขียน:์Normal P/E = P/E ณ ปัจจุบัน
Forward P/E = P/E x Growth
อืมmiracle เขียน: ส่วน P ที่ได้นั้นมาจากส่วนของ Model ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ
โดยปกติ forward PE คือ ราคาปัจจุบัน หารด้วย คาดการณ์กำไรในอีก 12 เดือนข้างหน้าครับ P(t)/E(t+1)
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"