กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
magician
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 31

โพสต์

HVI เขียน: ในไทย บริษัทไหนได้งาน Outsource ของรอยเตอร์บ้างครับ
เท่าที่ทราบคือ รอยเตอร์ ยังไม่จ้างใคร Outsource งานส่วน Software นะครับ ถ้าจะจ้างก็คงต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆ ละครับ

เท่าที่ทราบมาคือ รอยเตอร์ เลือกมาเมืองไทยแทนที่จะไปอินเดียก็เพราะคนไทยนิสัยน่ารักกว่า เมืองน่าอยู่กว่า ครับ ตอนนี้มี Outsource ไปที่เมืองจีนเป็นบางส่วนด้วย
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1485
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 32

โพสต์

magician wrote:
ถ้าจะจ้างก็คงต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆ ละครับ
บริษัทใหญ่ครับ เป็นเบอร์ 1 ของญี่ปุ่น ในอดีต เป็นรองแต่IBM

ส่วนoutsource อะไรมาบ้าง ยังไม่ชัดครับ
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 33

โพสต์

Fujitsu  :?:
"Winners never quit, and quitters never win."
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1485
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ขออนุญาต คุณปรัชญา เอามาลงซ้ำในกระทู้นี้ จะได้เห็นภาพธุรกิจชัดๆ


--------------------------------------------------------------------------------



ปีที่ 58 ฉบับที่ 17995 วันอาทิตย์ ที่ 29 เมษายน 2550



ฟังเสียงผู้บริหารเอ็มเฟคสะท้อนภาพ ความจริงหลังเฝ้าไข้ไอซีทีไทย [28 เม.ย. 50 - 11:37]

ตัวเลขทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอทีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในภาพรวม อาจเป็นตัวเลขที่น่ายินดี เพราะมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากติดตามให้ลึกลงไปแล้วอาจต้องถามต่อว่า เม็ดเงินที่ได้ตกอยู่ภายในประเทศ หรือไหลไปยังมือต่างชาติ และสภาพการแข่งขันที่แท้จริงเป็นอย่างไร เหนือไปกว่านั้นการสนับสนุนจากทางภาครัฐในเชิงนโยบาย ที่จะช่วยให้บริษัทคนไทยลืมตาอ้าปาก และยืนหยัดต่อสู้กับเจ้าตลาดซอฟต์แวร์รายใหญ่ระดับโลกดำเนินไปในทิศทางใด รวมทั้งเห็นเป็นรูปธรรมแล้วหรือไม่

คำถามเหล่านี้ คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีไปกว่า ผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการไอที อย่าง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกรกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค บริษัทไอทีคนไทยที่ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาถึงปีที่ 10 และมีรายได้ปีละกว่า 2 พันล้านบาท พร้อมที่จะเปิดเผยสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญ เบื้องหลังวงการไอทีไทยเป็นอย่างไร และจะถึงมีโอกาสลืมตาอ้าปากด้วยตนเองหรือไม่ ขอเชิญติดตามได้ ณ บัดนี้

IT Exclusive: ที่มาที่ไปและภาพรวมของเอ็มเฟค

ศิริวัฒน์: ถ้าดูภาพรวมของเอ็มเฟคตอนนี้เป็นกลุ่มบริษัทที่มีขนาดของรายได้ยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านโดยประมาณ มีพนักงาน 700 คน และติด 1 ใน 500 บริษัทในเอเชียแปซิฟิคที่เติบโตเร็ว และอยู่ในอันดับ 466 จากการจัดอันดับของ Deloitte Technology Fast ดูแล้วอนาคตก็ยังไปได้ดี

ลักษณะของบริษัททำบริการด้านไอทีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน แอพลิเคชันเทิร์นคีย์ เป็นบริษัทคนไทยที่พยายามดิ้นรนหาจุดที่ มีความสามารถในการแข่งขันกับคนอื่น จะเห็นได้ว่าเอ็มเอฟอีซีพยายามให้บริการหลากหลายแบบ End-to-End โดยพยายามหาสิ่งที่เด็กไทย คนไทย มีความสามารถที่จะแข่งขันกับคนอื่นได้ ตั้งแต่การทำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจต่างๆ จนกระทั่งถึงวางระบบเครือข่าย และแอพลิเคชัน รวมถึงแอพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ และเกมแอนิเมชัน

เราลงทุนหว่านไปทุกด้านเพื่อจะหาว่า จุดไหนที่เด็กไทยมีศักยภาพ คือ ส่วนมากเด็กที่ทำงานกับเอ็มเฟคจะเป็นเด็กจบใหม่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 26 ปี เพราะเราสามารถดึงทรัพยากรบุคคลกลุ่มนี้เข้ามาได้ ในขณะที่การดึงเด็กมีประสบการณ์มา 2-3 ปี แล้วเก่งจริงจะทำได้ยาก เนื่องจากร้อยละ 90 ของเด็กเก่ง จะไปอยู่บริษัทข้ามชาติหมดเลย เขาจะไม่อยู่บริษัทคนไทย เราดูว่าเราจะคัดเลือกคนอย่างไร แล้วก็ตัดสินใจเลือกเด็กที่จบใหม่ แล้วสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เขา

IT Exclusive: มาถึงวันนี้เอ็มเฟคดำเนินธุรกิจเป็นปีที่เท่าไร และจุดใดเป็นส่วนที่เด็กไทยหรือบุคลากรในบริษัทมีศักยภาพในการให้บริการด้านไอที และน่าจะเป็นบริการหลัก หลังจากหว่านมาได้ระยะหนึ่ง?

ศิริวัฒน์: ในส่วนของการบริการพื้นฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ผมคิดว่าคนไทยให้บริการได้ แต่ถ้าดูในสัดส่วนรายได้แล้ว ยังเป็นบริการที่มีมูลค่าอยู่ในระดับล่างๆ ทำไปก็ไม่ค่อยมีกำไร เพราะเหมือนกับเป็นการส่งของ ติดตั้ง ดังนั้น เราจึงพยายามขยับมูลค่าการให้บริการเช่น พวกแอพลิเคชันจะมีกำไรมากขึ้น ส่วนบริการให้คำปรึกษาที่ต่างชาติทำจะเป็นกำไรสูงสุด พวกนั้นก็เป็นส่วนที่เราจะไต่ระดับมูลค่าขึ้นมา

คำถามที่ว่าส่วนไหนที่เด็กไทยทำได้นั้น เราเคยมีความคิดว่า เราน่าจะสร้างซอฟต์แวร์ หรือบริการในระดับโลกได้ หลังจากที่เราเข้าตลาดหลักทรัพย์ เราก็เชื่อว่าเรามีเด็กเก่ง เรามีเงินทุน เราน่าจะทำได้ แต่จริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะธุรกิจไอทีเมืองไทยตามวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นมา ถูกควบคุมโดยเทคโนโลยี เวนเดอร์ หรือผู้ผลิตเทคโนโลยี ที่เป็นต่างชาติทั้งหมด เขาควบคุมได้ทั้งเทคโนโลยีและผลกำไรว่า บริษัทไทยควรจะได้เท่าใด โดยก็เป็นผลกำไรที่เป็นในลักษณะสาละวันเตี้ยลง ในขณะที่องค์ความรู้ต่างๆ ก็ไม่ได้ถ่ายทอดให้บริษัทไทย ส่วนไหนที่เป็น ครีม หรือมีกำไรดีเขาก็จะทำเอง แต่ส่วนไหนที่ไม่ค่อยมีอะไร เป็นลักษณะใช้แรงงานเขาก็จะถ่ายทอดให้คนไทยเป็นคนทำ

IT Exclusive: ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของอุตสาหกรรมในภาพรวมเลยหรือไม่

ศิริวัฒน์: ใช่ เป็นปัญหาในภาพรวม เพราะไม่มีใครรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมนี้ โดยความเป็นจริงคืออุตสาหกรรมไหนที่เข้มแข็งจะมีเป็นกลุ่ม เช่น 5-6 ตระกูล สามารถคุยรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มี 3-4 ตระกูล หรือ อุตสาหกรรมน้ำตาล ที่มีกำลังพอจะบอกให้ทางภาครัฐช่วยสนับสนุนอย่างไร ดังนั้น ผ่านมาสักระยะหนึ่งเราจึงสามารถอยู่ในจุดที่ส่งออกได้ แต่ลักษณะของธุรกิจไอทีไม่ใช่อย่างนั้น เป็นเบี้ยหัวแตกหมดเลย ใน 1,200 บริษัท ไม่มีบริษัทไหน หรือ ตระกูลไหนใหญ่ที่จะมารักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมได้ หรือมีเสียงพอที่จะขับเคลื่อนให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนได้

ถามว่า ทำไมประเทศอินเดียอุตสาหกรรมไอทีถึงโตเร็วนัก นั่นเป็นเพราะเขามี 5 ตระกูลใหญ่ กลุ่มธาธา กลุ่มซาเตียม กลุ่มวิโปร ฯลฯ คอยชี้นำกระทรวงไอซีทีของอินเดียได้ แต่ของประเทศไทยผู้ที่มาบริหารด้านไอซีทีก็ไม่มีความเข้าใจ และไม่มีแรงพอที่จะสร้าง แปลว่า ถ้าอุตสาหกรรมนี้เหมือนกับ 10-20 ปีที่ผ่านมา ไม่มีความได้เปรียบในระดับประเทศ ที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมด้านนี้เกิด เหมือนกับประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ ที่จากไม่มีอะไรแล้วโตขึ้นมา

สาเหตุที่ประเทศเหล่านี้เติบโตได้ ก็เพราะเขามีการสนับสนุนจากภาครัฐเข้ามา แล้วช่วยผลักดันอุตสาหกรรม แต่สำหรับไอซีทีเมืองไทย ผมมองว่ายังแย่ที่สุดในภูมิภาคในเชิงที่ว่า ไม่มีวิสัยทัศน์ เมื่อไม่มีวิสัยทัศน์ก็นำทางไม่ได้ และสิ่งที่ทำอยู่ เขาก็ไม่เห็นอนาคต ไม่เห็นว่าปัจจุบันมีปัญหาอะไรไม่รู้



IT Exclusive: ในส่วนนี้มองว่าเป็นปัญหาจากตัวบุคคลที่ขึ้นดำรงตำแหน่งในระดับบริหารหรือเพราะอะไร?

ศิริวัฒน์: ใช่ ผมยกตัวอย่างว่า ถ้าหากว่าในอุตสาหกรรมมีสัก 5-6 ตระกูลที่ทำไอพี (IP: Intellectual Property) เมื่อทำไม่ถูกเขาก็จะรู้ แล้วหาทางวางตัวคนเก่งๆ เข้ามา จากนั้นก็จะวางทิศทางขับเคลื่อนออกมา การเติบโตทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอาท์ซอร์สหรือไอทีของอินเดีย ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นภาครัฐผสมกับเอกชน เช่นกลุ่มซาเตียมบอกว่าจะทำงานออกมาในระดับโลก ต้องลงทุนมาก รัฐก็จะบอกว่ามาตั้งสำนักงานหลักที่นี่ จะให้ที่ดินในราคาถูกหรือเกือบฟรีเลย รัฐก็จะช่วยสนับสนุน ทำให้ต้นทุนถูก เขาก็จะสร้างคนให้มีความสามารถในการแข่งขัน

แต่ของเราถามว่า สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า มีเงินงบประมาณปีละ 500 ล้านบาทมาช่วยอุตสาหกรรมไอซีทีไทยนั้น มีการวัดผลอย่างไร? ทำไมผ่านมาถึงปีที่ 5 แล้ว ทำไมไม่เห็นมีอะไรเลย เพราะถ้าวัดผลจริงโดยพื้นฐานเลยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนี้ยังไม่มีเลย คือ ธุรกิจนี้เติบโตอย่างไร กำไรอย่างไร มีซอฟต์แวร์อย่างไร ใน 1,200 บริษัท แต่ละปีสาละวันเตี้ยลงหรือเปล่า เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ดำเนินอุตสาหกรรมนี้มา 30 ปี ไม่มีบริษัทไหนโตเลย ถ้าแคระแกร็นหมดทั้งพันกว่าบริษัทนี้ก็แย่แล้ว

ประกอบกับนโยบายด้านไอซีทีที่ออกมาก็สวนทางกัน อาจจะเนื่องจากความไม่รู้ก็เป็นได้ เหมือนกับเรากำลังจะแข่งกับชาวบ้าน ทุกชาติเขาให้สิทธิคนของเขาก่อน อย่างมาเลเซียบอกว่าถ้าใครจะเข้ามารับทำโครงการในมาเลเซียจะต้องมีเทคโนโลยีมาให้กับบริษัทในประเทศของเขา เพราะฉะนั้น 50% ต้องมีบริษัทในประเทศร่วมกับบริษัทต่างชาติเข้ามา เพื่อให้ได้โครงการมาทำ อันจะทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาสู่บริษัทในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเรื่องภาษี

ในประเทศไทยการสนับสนุนแบบนี้ไม่มี ซ้ำเวลาให้ ยังให้ความได้เปรียบแก่บริษัทต่างชาติ เช่น ได้บีโอไอไม่ต้องเสียภาษี แปลว่าการที่พวกบริษัทต่างชาติเข้ามา มีต้นทุนถูกกว่า มีของขายแพงกว่า กำไรดีกว่า บวกกับไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น เมื่อเขาเข้ามาเขาก็กวาด ครีม ของประเทศไป คนที่จบมาเก่งๆ ร้อยละ 90 อยู่บริษัทต่างชาติ จะเห็นว่า บริษัทของคนไทยก็จะได้คนในระดับรอง และธุรกิจนี้ไม่ได้ต้องการเงิน หรือเครื่องจักร แต่ต้องการคนอย่างเดียว ถ้าคนโง่กว่า ก็สู้ไม่ได้อยู่แล้ว ตรงนี้คือภาพรวมที่ผ่านมาของอุตสาหกรรมนี้

จากที่เอ็มเฟคเห็นปัญหาตามที่กล่าวมา ก็แปลว่าเราพึ่งภาครัฐไม่ได้ต่อให้เขาตั้งอะไรมาก็ไม่มีวิสัยทัศน์อยู่ดี เราจึงลองผิดลองถูกของเราเอง ความฝันว่าสักวันจะมีไอพี หรือ สิทธิบัตรของเราเอง มีซอฟต์แวร์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของเราไปขายให้คนอื่น หลังจากเข้าตลาดมาถึงวันนี้ กับ 3 ปีในการลงทุนทำไอพี เริ่มรู้แล้วว่าไม่ใช่ คือ ไม่มีความสามารถ คุณทำอะไรตั้งแต่ศูนย์ คุณสู้เขาไม่ได้ เอาแค่มาเลเซีย สิงคโปร์ก็สู้เขาไม่ได้แล้ว ตอนนี้ก็มีเวียดนามที่แซงเราแน่นอน

เอ็มเฟคจึงเปลี่ยนมาสู่ความเป็นจริงว่า เลิกแล้วที่จะทำวิจัยและพัฒนาด้วยตนเอง สิ่งที่เราทำตอนนี้คือ เตรียมตัวเราให้พร้อม แล้วหาเทคโนโลยีเวนเดอร์ หรือเจ้าของเทคโนโลยีมีจะเข้าไปเป็นพันธมิตรกับเขา แทนที่จะนับจากศูนย์ก็อาจจะกลายเป็นนับจาก 500 พูดง่ายๆ อีกอันก็คือ เทียบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเราเลิกคิดแล้วว่าประเทศไทยจะมีรถยี่ห้อของเราเองไปแข่งกับโตโยต้าหรืออะไร และเราจะเกาะกับโตโยต้า ทำอะไรบางส่วนกับเขา เพื่อให้เขาดึงเราออกไปสู่ตลาดโลก เช่นต้องให้คนไทยทำไฟท้าย แล้วรถโตโยต้าวิ่งที่ไหนก็จะมีไฟท้ายฝีมือคนไทยติดไปด้วย

IT Exclusive: คือเมื่อสภาพรวมรัฐยังสนับสนุนบริษัทต่างชาติ เราก็จำเป็นต้องไปรวมกับบริษัทข้ามชาติเหล่านี้

ศิริวัฒน์: ถูกต้อง เพื่อหาทางรอด พูดถึงสภาพของเอ็มเฟคแต่ละปีเราเติบโตดี ปีที่แล้วโต 40% ปีนี้เราตั้งเป้า 2.8 พันล้านบาท เราก็น่าจะไปถึง เราอยู่รอดด้วยตัวเองได้ แต่ว่าอุตสาหกรรมจะดี หรือไม่ดีต้องมาเป็นขบวน ไม่ใช่โผล่มาหน่อหรือสองหน่อเพื่อจะลุย ในขณะที่ส่วนอื่นแห้งตายหมด

IT Exclusive: ขณะนี้อุตสาหกรรมไอทีเข้าขั้นผู้ป่วยไอซียูแล้วหรือยัง?

ศิริวัฒน์: คือ ผมว่าธุรกิจนี้อีกไม่นานคงไม่ต่างกับงานทำความสะอาด ไม่ต้องสนใจอะไร หาคนเยอะๆ แล้วก็ใช้แรงงานอย่างเดียว เพราะถ้าบริษัทอื่นไม่มีการขยับตัวเองขึ้นมา ก็เหมือนกับธุรกิจใช้แรงงาน และเป็นแรงงานที่ยากด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าจะสื่อออกไปก็คือ ทั้งหมดเหมือนกับผู้ใหญ่รังแกเด็ก อย่างซิป้าเพิ่งประกาศรายชื่อบอร์ด ชื่อซิป้าย่อมาจากซอฟต์แวร์ แต่ไม่มีคนซอฟต์แวร์เลย แปลว่าอีก 4 ปี เขาก็คงไม่รู้เรื่อง นโยบายที่ออกมาว่าจะทำเรื่องสมองกลฝังตัวหรืออะไร ก็เหมือนกับการเอาโครงการหนึ่งโครงการมาเป็นนโยบายของประเทศเรา เขาแยกวิสัยทัศน์ของประเทศกับงานหนึ่งงานไม่ออก ถ้าคนรู้ดูแล้วก็ต้องส่ายหน้า

อย่างรัฐมนตรีบอกว่าไม่อยากให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะถ้าเอาคนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เข้ามาจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ในวงการนี้ถ้าเอาคนที่ไม่รู้เรื่องซอฟต์แวร์เข้ามามันเสียหายกว่าเยอะอยู่แล้ว อันนี้เป็นข้อผิดพลาดของประเทศไทย ถ้าทรุด ทรุดทีละหลายปี ทำไมเวียดนามรุ่งเอารุ่งเอา เขาแค่ตั้งเรดาร์ให้ถูก ผ่านไป 3 ปี บริษัทไอทีเล็กๆ ของไอทีก็เติบโต สักพักหนึ่งเขาก็จะปีกกล้าขาแข็ง

ซิป้ามีเงินปีละ 500 ล้านบาท แต่ไม่สามารถทำให้บริษัทซอฟต์แวร์มีผลประกอบการหรืออะไรดีขึ้น แสดงว่าสิ่งที่คุณทำนั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย ถ้าบริษัทหน้ามืดเดินตามก็ตายไปแล้ว เมื่อ 4 ปีที่แล้วเป็นคณะกรรมการบริหารของซิป้าเป็นคนที่มาจากด้านแอนิเมชัน 4 ปีนี้ก็มาเป็นสมองกลฝังตัว พวกนี้ควรจะเป็นโครงการไม่ใช่วิสัยทัศน์ หรือถ้าจะทำแอนิเมชันเป็นวิสัยทัศน์ก็ต้องตอบได้ว่าทำอย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร รู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ จะไปถึงได้อย่างไร จะบอกแค่อยากทำไม่ได้ มาสู่ใจความสำคัญก็คือ เป็นเพราะเอาคนทำไม่เป็นไม่รู้มาวางนโยบาย

หน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมไอซีทีของไทย เมื่อเทียบกับหน่วยงานในระดับเดียวกันของเพื่อนบ้านแล้ว เราแย่ที่สุด เพราะข้อมูลพื้นฐานยังไม่มีเลย เพราะเมื่อไปต่างประเทศ เราต้องรู้ว่าประเทศเรามีความสามารถตรงนี้ แล้วเราจะไปตรงไหน ปีหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อไม่มีส่วนนี้ก็เป็นการทำงานโดยวัดผลไม่ได้ ผ่านไป 4 ปีคณะกรรมการชุดนี้หมดไปก็จะไม่มีอะไร ต้องบอร์ดใหม่ขึ้นมา มีรัฐมนตรีใหม่ก็จะมีความฝันใหม่ๆ เกิดขึ้น แล้วก็ไม่มีวิถีทางที่จะสร้างให้ประสบความสำเร็จอีก

IT Exclusive: เมื่อมองว่าภาครัฐยังหลงทางอยู่และไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เอ็มเฟคมองว่าควรกลับไปเริ่มต้นที่จุดใด?

ศิริวัฒน์: นอกจากภาครัฐจะไม่มีทิศทางแล้ว ผู้ใช้อย่างหน่วยงานราชการที่ใช้ไอทีก็ยังหลงทางด้วย ไม่มีใครที่จะสนับสนุนบริษัทคนไทย ล็อกสเปกเอาแต่ของฝรั่ง บริษัทคนไทยก็ไม่เกิดเสียที สักพักบริษัทที่คิดเขียนไอพีที่มีราคาสูงจะไม่รอด ที่รอดคือพวกซื้อมาขายไป เป็นปรากฏการณ์โดมิโนที่เริ่มจากส่วนหัวที่ผิดพลาด ผู้ใช้ก็ผิดพลาด

IT Exclusive: แล้วในส่วนของเอ็มเฟคเติบโตมากถึง 40% ได้อย่างไร ยึดหลักการอะไรในการดำเนินธุรกิจ?

ศิริวัฒน์: ในธุรกิจนี้ไม่มีอะไรยาก ถ้าอะไรที่เราสู้เขาไม่ได้ก็เลิกสู้ อะไรที่เป็นศัตรูไม่ได้ก็ไปเป็นพันธมิตร เอ็มเฟคโตได้เพราะอ่านสถานการณ์เก่งว่า เราควรจะเป็นพันธมิตรของใคร และรู้ว่าใครจะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เรา 10 ปีที่แล้ว มองว่าซิสโก้จะต้องใหญ่แน่นอน เราก็จับมือกับซิสโก้ ปัจจุบันมองว่าซอฟต์แวร์ดังๆ ต่อไปจะเป็นออราเคิล เราก็เป็นพันธมิตรกับออราเคิล เพราะออราเคิลซื้อบริษัทต่างๆ ไปหมดแล้ว และเขามีวิสัยทัศน์ที่ดี ขอให้คุณมีความรู้ในอุตสาหกรรมนี้ คุณอยู่รอดได้อยู่แล้ว จะคิดให้ภาครัฐช่วยคงไม่ได้ ต้องพึ่งลำแข้งของตัวเอง

ตอนนี้รัฐมนตรีหรือผู้บริหารยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไม่เชี่ยวชาญด้านนี้ ถ้าไม่เป็น เมื่อมีเงินตั้งเยอะก็ไปจ้างคนที่เป็นมาจากประเทศไหนก็ได้เพื่อมาวางนโยบายให้ได้ ไม่ต้องสร้างสรรค์หรืออะไรมาก คัดลอกเขามาก็ได้ หลายประเทศก็ใช้วิธีนี้ แต่ของคนไทย เป็นก็ไม่เป็น จะลอกคนอื่นก็ไม่เอา จะกลายเป็นเสียฟอร์มไป จะเอาคนที่รู้เรื่องมาทำก็ไม่เอาอีก เพราะกลัวว่าจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน สรุปว่าเอาคนไม่เป็นมาทำดีกว่า และมีความเชื่อว่าสักวันคนเหล่านี้จะเป็น และจะกำหนดวิสัยทัศน์ของชาติได้

IT Exclusive: ในภาพของการแข่งขันกับบริษัทต่างชาติ มาถึงวันนี้บริษัทไทยไม่มีหนทางที่จะสู้แล้วหรือ นอกจากจะเข้าไปร่วมเป็นพันธมิตร?

ศิริวัฒน์: คืออย่างนี้ เราถูกควบคุมโดยบริษัทต่างชาติ ถ้าเขาบอกว่า เขาไม่ให้บริษัทไทยขาย บริษัทไทยก็จะไม่มีอะไรทำมาหากินเลยนะ แล้วปกติชาติอื่นที่เขาทำ เขาจะใช้วิธีว่า คุณขายในประเทศเรา แต่คุณต้องนำพันธมิตรไปขายประเทศอื่นด้วย เขาต่อรองกันอย่างนี้ เขาชัดเจนว่าเขาไม่แข่ง แต่จะสร้างบริการแล้วโตไปด้วยกัน

IT Exclusive: มีทางไหนที่บริษัทไอทีไทยจะหลุดพ้นจากการควบคุมของต่างชาติ?

ศิริวัฒน์: มีวิธีเดียว คือ จะต้องมีรัฐมนตรี หรือมีคนกำหนดนโยบายที่ฉลาด เพราะทุกคนที่เข้ามาในประเทศนี้ต้องการกอบโกย ขายของให้กับเรา เรามีกำลังซื้ออยู่แล้ว อย่างเวียดนามต้อนรับไมโครซอฟท์ เขาก็บอกว่าไมโครซอฟท์ต้องสนับสนุนประเทศนี้นะ ประเทศนี้จะซื้อของไมโครซอฟท์เยอะ ช่วยสนับสนุนส่วนนั้นส่วนนี้หน่อย สร้างไมโครซอฟท์แคมปัส อะไรอย่างนี้ โดยการมีผู้บริหารในระดับนโยบายที่เข้าใจ เป็นวิธีเดียวที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ไม่มีวิธีอื่น เอกชนไม่สามารถทำเองได้ เพราะเอกชนที่มีอยู่เล็กทั้งหมด และถูกควบคุมอยู่ ถ้าหากไปงัดข้อ ไปโวยวาย บริษัทต่างชาติบอกไม่ให้ขายก็จบกัน

IT Exclusive: ถ้าเช่นนั้น มองช่องทางการเติบโตของไอทีไทยว่าควรมีการปรับตัวมากน้อยอย่างไร?

ศิริวัฒน์: ต้องปรับตัวเยอะ พวกที่บริษัทมีซูเปอร์แมนคนสองคน แล้วคิดจะเขียนซอฟต์แวร์ ผมทำนายได้เลยว่าอย่างไรก็ไม่รอด ขณะนี้บริษัทเล็กๆ ต้องโฟกัสเน้นลงเลยว่าจะทำด้านไหน แล้วรวมกับบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อให้มีทุกอย่างที่สมบูรณ์ ทั้งแบรนด์ การตลาด นโยบายอะไรต่างๆ

สำหรับการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีของไทยในภาพรวมนั้น มองว่าตัวเลขโต อย่างเวลาอ่านหนังสือพิมพ์จะเข้าใจผิด เพราะตัวเลขโต ที่โตคือการบริโภคสูง แต่ผลกำไรทุกเม็ดทุกหน่วยขาดดุล 100% ออกนอกทั้งหมด ไม่ใช่บริษัทของคนไทยที่โต เพราะฉะนั้นที่บอกว่าโต ก็คือหลอกตัวเอง เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ในไทยไปรวยแถวอเมริกา ไทยก็ใช้แรงงานไป แต่ถ้าถามว่าเมื่อไรคนไทยจะรวยนั้น เราต้องมีผู้นำที่ดีก่อน

IT Exclusive: ฝากถึงภาครัฐและเอกชนว่าควรจะเริ่มที่จุดไหน จึงจะทำให้อุตสาหกรรมไอทีไทยมีความเข้มแข็ง

ศิริวัฒน์: จะต้องมองเห็นในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้าต่างคนต่างไป มันไม่มีทางเจริญอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอันดับแรก ภาครัฐจะต้องมองหาคนที่มีความเข้าใจจริงๆ และเป็นจริงๆ เพราะอยู่ๆ บอกว่าจะทำหน้าที่เป็นหมอ แต่ไม่รู้อาการคนไข้เลย จะรักษาได้อย่างไร วิธีเดียวจึงอยู่ที่ภาครัฐและเอกชนต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรประเทศไทยก็เป็นประเทศผู้บริโภคอยู่แล้ว และในภูมิภาคนี้ประเทศเราแย่ที่สุด ของคนอื่นบริโภคแล้วยังได้ผลประโยชน์ ยังมีรายได้ไอทีเข้าประเทศ

การเปลี่ยนตัวผู้นำบ่อยไม่เป็นไร แต่ขอให้มีทิศทางที่ชัดเจน และขอบอกว่าคนที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ไม่รู้ไม่ผิด แต่เมื่อไม่รู้ก็ให้จ้างคนที่รู้ขึ้นมาช่วยกำหนดนโยบาย ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไอทีไทยอยู่ในสภาพเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ช่วยตัวเองยังไม่ได้ ต้องคอยให้คนช่วยป้อนข้าวป้อนน้ำ อีกทั้งอนาคตของแต่ละฝ่ายก็ยังตัวใครตัวมัน และเมื่อการทำเอฟทีเอเข้าในไทย การแข่งขันของธุรกิจภายในประเทศก็จะสูงขึ้น และเมื่อทุกคนเก่งกว่าเรากันหมด ถ้าวันนี้เรายังไม่รู้ตัวว่าเราเป็นง่อย ก็คงไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้อีกแล้ว...

http://www.thairath.co.th/news.php?sect ... tent=45206
ภาพประจำตัวสมาชิก
mashura
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 35

โพสต์

magician เขียน: เท่าที่ทราบคือ รอยเตอร์ ยังไม่จ้างใคร Outsource งานส่วน Software นะครับ ถ้าจะจ้างก็คงต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆ ละครับ

เท่าที่ทราบมาคือ รอยเตอร์ เลือกมาเมืองไทยแทนที่จะไปอินเดียก็เพราะคนไทยนิสัยน่ารักกว่า เมืองน่าอยู่กว่า ครับ ตอนนี้มี Outsource ไปที่เมืองจีนเป็นบางส่วนด้วย
เหมือนอย่างที่คุณ HVI บอกครับ ตอนนี้รอยเตอร์ outsource fujitsu มาทำส่วน IT Support (Infrastructure/network setup) ครับ ท่าทางเพื่อนๆ ITS ที่นั่นคงต้องหางานใหม่กันไม่ก็ต้อง apply ไปเป็นพนักงานของ fujitsu

เพื่อนบอกมาอีกทีครับ  :)
อาจไม่จริงไม่จังเรื่องราวของความฝัน แต่โลกนี้เริ่มต้นที่จุดนั้น...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 1

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 36

โพสต์

007-s เขียน: เห็นแว๊บๆ สองสามวันก่อน ที่ บีทูเอสยังเหลือเยอะ แล้วก็ร้านพวกไม่มีเครือข่ายมากๆก้ยังน่าจะเหลือ เช่น แพร่พิทยา

:D
มาถึงบ้านนอกแล้วครับ

รูปภาพ
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 37

โพสต์

โห หนังสือเดินทางช้าจังค่ะ

คนบ้านกรุงรออ่านเล่มสามกันแล้ว ยังไม่ออก

:D




พูดถึงแพร่พิทยา ที่นี่แปลก มักหาหนังสือเจอในเวลาที่ๆอื่นเขายกเก็บหรือขายหมดกันแล้ว ที่นี่ยังหลงเหลือบ่อยๆ
เช่น ไปเดินหาแทบตาย ประวัติย่อกาลเวลา ที่ไหนๆก็หมด ไม่มี ที่นี่ไปเจอมาเมื่อวานยังวางอยู่เลย แต่หยิ่งนะ ปกก็ไม่ห่อให้ แถมไม่ค่อยจะยอมลดราคาเสียด้วย
แต่คนก็แน่นร้านตลอด แปลกจริงเออ

:lol: ไม่เกี่ยวกะหุ้น การลงทุนเลย แต่ขอบ่น ไปเรื่อยเปื่อย อ่า....
kongkang
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1085
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 38

โพสต์

เสน่ห์ของแพร่พิทยา คงเป็นหนังสือเยอะมั้งคะ ร้านก็ใหญ่บริการก็ดี เหมาะกับ่คนชอบอ่านหนังสือ เทียบกับร้านข้างๆ อย่างซีเอ็ด ร้านก็เล็กกว่า บางทีไปถามว่าหนังสือเล่มที่ต้องการมีรึเปล่าพนักงานหน้าบึ้งมาก ๆ แถมเกี่ยงกันไปหาให้ลูกค้าอีก
ขอโทษค่ะ :D ทำให้กะทู้เสียเลย นี่มันกะทู้ it นะไม่ใช่ซีเอ็ด :lol:
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1485
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ซิป้าหวังตลาดไอทีแตะ1.4แสนล้านบาท

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 11:24:00

ซิป้า คาดผลสำรวจตลาดไอทีไทยปีนี้แตะ 1.4 แสนล้าน ได้แรงส่งการลงทุนเอกชนรับมือแข่งขัน - เอสเอ็มอี ตื่นรับเอฟทีเอ เผยยอดส่งออกซอฟต์แวร์ไทยต่ำกว่า 3 พันล้าน เดินเครื่องเร่งยอดโตเท่าตัว

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) กล่าวว่า จากที่ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำรวจผู้ประกอบการธุรกิจไอทีไทย 980 บริษัท ช่วงพฤศจิกายน 2549 - มกราคม 2550 ประมาณการมูลค่าตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ปีนี้ไว้ที่ 148,822 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้วซึ่งมีมูลค่าตลาดราว 131,480 ล้านบาท 13.2%

สัดส่วนหลักมาจากตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ 48.7% ซอฟต์แวร์ 41.8% บริการคอมพิวเตอร์ 9.9% ที่น่าสังเกต ปีนี้ แม้ฮาร์ดแวร์จะครองตลาดหลัก แต่มีสัดส่วนลดลงจากปีที่แล้วเป็น 50.2% ซอฟต์แวร์มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40.1% และบริการคอมพิวเตอร์เพิ่มเล็กน้อยจากปีที่แล้วอยู่ที่ 9.7%

"ช่วงปี 2549-2550 เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ซอฟต์แวร์มีอัตราเติบโตแซงหน้าฮาร์ดแวร์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้องค์กรชะลอการลงทุนฮาร์ดแวร์ แต่ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มโปรดักทิวิตี้จึงยังคงลงทุนด้านนี้" นายอาวุธ กล่าว

พร้อมตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ปี 2550 เป็นปีที่รัฐบาลจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่ค่อยมีโครงการขนาดใหญ่ แต่ยังได้ปัจจัยการขับเคลื่อนจากองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่ลงทุนระบบบริหารความเสี่ยงตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย และความนิยมที่จะใช้โมบาย แอพพลิเคชั่นในกลุ่มองค์กรธุรกิจ การจัดซื้อเครื่องใหม่เพื่อทดแทนเครื่องเก่า รวมถึงความตื่นตัวการลงทุนไอทีของกลุ่มเอสเอ็มอี ที่เตรียมรับการแข่งขันจากเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)

ขณะที่ตลาดปีก่อน รัฐเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลัก ทั้งโครงการอี-กอฟเวิร์นเม้นท์ ทั้งมีการลงทุนจากการแข่งขันทางธุรกิจของธนาคาร การเติบโตของผู้ใช้มือถือมาเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของโครงการภาครัฐช่วงปลายปี

ส่วนเซคเตอร์ที่ใช้จ่ายไอทีปี 2549 ภาครัฐ ใช้จ่าย 38,331 ล้านบาท เป็น 29% ของตลาดรวม องค์กรธุรกิจและเอสเอ็มอี รวมถึงตลาดบ้าน ใช้จ่าย 93,150 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน 71%

ที่น่าสังเกต กลุ่มองค์กรจะใช้ซอฟต์แวร์สูง คิดเป็นสัดส่วน 60% ของมูลค่าตลาดรวม แต่ตลาดบ้านมีเพียง 11% และภาครัฐ 29% ซึ่งมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ปี 2550 ที่นับรวมแอนิเมชัน คาดจะเติบโตจากปีก่อน 17.8% มูลค่า 62,174 ล้านบาท ตลาดใหญ่ที่สุดสัดส่วน 84% เป็นกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ ซอฟต์แวร์ 52,216 บาท โมบายแอพพลิเคชั่น 2,069 ล้านบาท สัดส่วน 3.3%, ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (เอ็มเบ็ดเด็ด) 1,915 ล้านบาท สัดส่วน 3.1% แอนิเมชัน 3,042 ล้านบาท 4.7% และอื่นๆ อีก 2,931 ล้านบาท สัดส่วน 4.7%

ปัจจุบันตลาดซอฟต์แวร์มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า 5% มูลค่า 2,896.9 ล้านบาท จากตลาดซอฟต์แวร์ที่ไม่นับรวมแอนิเมชันมูลค่า 50,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ซิป้า ตั้งเป้าการส่งออกซอฟต์แวร์ปีนี้ไว้ 6,000 ล้านบาทเพิ่มเท่าตัวจากปี 2549 จากการขยายความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออกทำกิจกรรมไปต่างประเทศ โดยเห็นว่ามีเอ็นเตอร์ไพรส์ ซอฟต์แวร์กลุ่มโรงพยาบาล และโปรแกรมบริหารการเงิน ที่มีศักยภาพส่งออก รวมถึงแอนิเมชัน และปี 2551 คาดจะเพิ่มอีกเท่าตัว ทำให้การส่งออกซอฟต์แวร์มีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านบาทได้

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์สร้างลูกค้าไปต่างประเทศได้จะนำกลับมาอ้างอิงเจาะตลาดภาคราชการได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า หน่วยงานราชการอาจให้ความเชื่อมั่นซอฟต์แวร์ต่างประเทศมากกว่า เพราะหากโครงการมีปัญหา ผู้จัดซื้อจะไม่ถูกจับตามองมากเท่ากับจัดซื้อซอฟต์แวร์ไทย โดยอ้างได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ระดับโลก

ผลสำรวจยังพบ 5 ปัญหาหลักของอุตสาหกรรม ได้แก่ รัฐขาดการสนับสนุนเพียงพอ ขาดแคลนบุคลากรและผลิตได้ไม่ตรงความต้องการ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดความรู้ด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bankniti
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 627
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 40

โพสต์

kongkang เขียน:เสน่ห์ของแพร่พิทยา คงเป็นหนังสือเยอะมั้งคะ ร้านก็ใหญ่บริการก็ดี เหมาะกับ่คนชอบอ่านหนังสือ เทียบกับร้านข้างๆ อย่างซีเอ็ด ร้านก็เล็กกว่า บางทีไปถามว่าหนังสือเล่มที่ต้องการมีรึเปล่าพนักงานหน้าบึ้งมาก ๆ แถมเกี่ยงกันไปหาให้ลูกค้าอีก
ขอโทษค่ะ :D ทำให้กะทู้เสียเลย นี่มันกะทู้ it นะไม่ใช่ซีเอ็ด :lol:

ผมเห็นด้วยว่าแพร่หนังสือเยอะมาก ผมว่าเยอะกว่า se-ed ร้านข้างๆเสียอีก แต่ไม่ค่อยชอบตรงที่หนังสือไม่ค่อยลดและพนักงานที่เคาร์เตอร์หน้าบูด หนังสือที่ร้านอื่นหมด ต้องแวะมาที่นี่ โอกาสมี 80% จะยังเหลืออยู่

แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยซื้อหนังสือที่ร้านนอกจากจะมีลดราคาอย่างน้อย 15% เพราะถ้าซื้อทาง internet จะได้ราคาถูกกว่า 15-20% (web ของ se-ed กับร้านนายอินทร์ ลด 5%, bangkokbiznews กับ มติชน ลด 15%,  DMG books ลด 20%)
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1485
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 41

โพสต์

007-s wrote:
พูดถึงแพร่พิทยา ที่นี่แปลก มักหาหนังสือเจอในเวลาที่ๆอื่นเขายกเก็บหรือขายหมดกันแล้ว ที่นี่ยังหลงเหลือบ่อยๆ
เช่น ไปเดินหาแทบตาย ประวัติย่อกาลเวลา ที่ไหนๆก็หมด ไม่มี ที่นี่ไปเจอมาเมื่อวานยังวางอยู่เลย แต่หยิ่งนะ ปกก็ไม่ห่อให้ แถมไม่ค่อยจะยอมลดราคาเสียด้วย
แต่คนก็แน่นร้านตลอด แปลกจริงเออ
แพร่พิทยา คนแน่นร้านตลอด เพราะทำเล ซึ่งเป็นหัวใจของการทำร้านหนังสือ ครับ
ที่นี่หนังสืออะไรก็มี น่าจะเป็นเพราะลงเกือบทุกสำนักพิมพ์และทำกันเองกึ่งครอบครัว ทำให้หลงหูหลงตาเวลาเช็คยอดหนังสือจึงอยู่ในร้านนานกว่าที่อื่น สังเกตุว่า โพสิชั่นเหมือนศูนย์จุฬาฯ แต่การบริหารสต๊อคกับการเรียงจะสู้ไม่ได้
ส่วนพวกซีเอ็ด กับนายอินทร์ บริหารเชลฟ์เหมือน 7-11


คุณ 007-s ซื้อที่ร้านผมสิครับ ครบ200 ลด 5% ,เล่มละ 100 ขึ้นไป ห่อปกพลาสติกฟรีครับ

kongkang wrote:
ขอโทษค่ะ  ทำให้กะทู้เสียเลย นี่มันกะทู้ it นะไม่ใช่ซีเอ็ด
ไม่เป็นไรครับ จขกท เป็นเจ้าของร้านหนังสือด้วย ถ้ามีเวลายินดีตอบครับ
Gaiz
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 42

โพสต์

CopyWriter เขียน: บริษัทอะไรเนี้ย พึ่งจบ ค่าจ้างสูงจังครับ
เป็นปกติแล้วครับสำหรับคนจบวิศวะ หรือวิทยาคอม
ตอนนี้เด็กจบใหม่ ถ้าทำงานบริษัทต่างประเทศเงินเฉลี่ยเดือนประมาณ 20k ครับ
ผมเองจบวิศวะคอมทำมา 3 ปี เงินเดือนราวๆ 40k เพื่อนผมบางคนแตะ 50k ไปแล้ว
จริงๆ อุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในไทย ผมว่าค่อนข้างดีมากครับ
บริษัทลด cost ได้เยอะ เพราะผมเท่าที่ผมเห็นมา อย่าง Reuters ถ้าจ้างโปรแกรมเมอร์จบใหม่ที่ อังกฤษ
ก็ต้องจ้างคิดเป็นเงินไทยแล้วราวๆ 2 แสนบาทต่อเดือน
(เอามาจ้าง เด็กจบใหม่ที่ไทยได้ 10 คนเลย ยังไม่รวมพวก Provident, ประกัน, ...)
ยิ่งช่วงนี้หลายๆบริษัทขยายฐานมาในไทยมากขึ้น (อย่าง Reuters ก็หลักพันแล้ว)

ผมว่าหลังๆมาเนี่ย คณะวิศวะคอมหลายๆที่ มีคนเรียนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
แต่เรื่องบริษัทไทยที่ไป outsource บริษัทจากต่างประเทศเหล่านี้ผมไม่ค่อยเห็นนะครับ
ที่ผมเคยเห็นก็ประมาณ MFEC เป็น outsource ให้ AIS อะไรแบบนี้มากกว่า
I am a programmer
007-s
Verified User
โพสต์: 2496
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 43

โพสต์

contrarian เขียน:
แพร่พิทยา คนแน่นร้านตลอด เพราะทำเล ซึ่งเป็นหัวใจของการทำร้านหนังสือ ครับ
ที่นี่หนังสืออะไรก็มี น่าจะเป็นเพราะลงเกือบทุกสำนักพิมพ์และทำกันเองกึ่งครอบครัว ทำให้หลงหูหลงตาเวลาเช็คยอดหนังสือจึงอยู่ในร้านนานกว่าที่อื่น สังเกตุว่า โพสิชั่นเหมือนศูนย์จุฬาฯ แต่การบริหารสต๊อคกับการเรียงจะสู้ไม่ได้
ส่วนพวกซีเอ็ด กับนายอินทร์ บริหารเชลฟ์เหมือน 7-11


คุณ 007-s ซื้อที่ร้านผมสิครับ ครบ200 ลด 5% ,เล่มละ 100 ขึ้นไป ห่อปกพลาสติกฟรีครับ
อ่า ที่ไหนคะ (หลังไมค์มาบอกก้ได้ค่ะ เดี๋ยวเข้าข่ายโฆษณาแฝง เกรงใจเวบ :lol: ) เผื่อว่าถ้ามีโอกาสผ่านๆไปจะได้แวะไปอุดหนุน


:mrgreen: ดิฉันจบเรื่องหนังสือแต่เพียงเท่านี้ก่อน กระทู้เริ่มเบี่ยงเบนแล้ว
kongkang
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1085
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 44

โพสต์

[quote="contrarian"]007-s wrote:
[
kongkang wrote:
[quote]ขอโทษค่ะ
contrarian
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1485
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ร้านอยู่ที่ "ดินแดนแห่งความสุข ของคนอยู่และผู้มาเยือน" ครับ

พอเรื่องหนังสือ ก่อนนะครับ

แต่ถ้าสมาชิกสนใจอยากถามเรื่องธุรกิจหนังสือ pm ละกันนะครับ ตั้งแต่เข้าtvi ไม่เคยเปิดกระทู้หุ้นหนังสืออ่านเลยครับ
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 46

โพสต์

เพิ่งรู้ว่าพี่ contrarian มีร้านขายหนังสือ...

เสียดายเพิ่งไปซื้อหนังสือมาอ่าน 2 เล่ม...

money game (K.วิศิษฐ์) กับ the zurich axioms (ดร. ก้องเกียรติ)...

รู้งี้รอซื้อร้านพี่ contrarian ดีกว่า...pm มาบอกบ้างนะครับ... :lol:  :lol:  :lol:
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 47

โพสต์

'ไออาร์ซีพี' ลุ้นปีนี้โตก้าวกระโดด หวังงานประมูล 90 โครงการ-เป้าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านต่อปี คาด
บริษัทลูกสถานะแกร่งพร้อมดันเข้าตลาดหลักทรัพย์
[ กรุงเทพธุรกิจ, 16 ม.ค. 54 ]

ไออาร์พีซี เดินหน้าประมูลโครงสร้างระบบไอทีภาครัฐ-เอกชน 100 โครงการ หลังปลายปี 54
ธุรกิจสะดุดจากปัญหาน้ำท่วม ชูจุดขายบุคลากรมืออาชีพวางเป้าหมายรักษาระดับงานในมือไม่ต่ำกว่า 500
ล้านบาทต่อปี หวังอัตราการเติบโตของรายได้สม่ำเสมอ คาดปี 55 ผลงานโตก้าวกระโดด ส่วนบริษัทลูก
สถานะแกร่งดูแลตัวเองได้ คาดอนาคตดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัดทรัพย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 48

โพสต์

^
^
"IRPC" กับ "โครงสร้างระบบไอทีภาครัฐ-เอกชน 100 โครงการ"
งงนิดหน่อยครับ ???
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 49

โพสต์

pak เขียน:'ไออาร์ซีพี' ลุ้นปีนี้โตก้าวกระโดด หวังงานประมูล 90 โครงการ-เป้าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านต่อปี คาด
บริษัทลูกสถานะแกร่งพร้อมดันเข้าตลาดหลักทรัพย์
[ กรุงเทพธุรกิจ, 16 ม.ค. 54 ]

ไออาร์พีซี เดินหน้าประมูลโครงสร้างระบบไอทีภาครัฐ-เอกชน 100 โครงการ หลังปลายปี 54
ธุรกิจสะดุดจากปัญหาน้ำท่วม ชูจุดขายบุคลากรมืออาชีพวางเป้าหมายรักษาระดับงานในมือไม่ต่ำกว่า 500
ล้านบาทต่อปี หวังอัตราการเติบโตของรายได้สม่ำเสมอ คาดปี 55 ผลงานโตก้าวกระโดด ส่วนบริษัทลูก
สถานะแกร่งดูแลตัวเองได้ คาดอนาคตดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัดทรัพย์

มาอีกแล้วเหรอครับ

:roll:
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 50

โพสต์

อีกหน่อย System Administrator ก็จะ outsource เพราะยกระบบไปไว้บนกลุ่มเมฆ (cloud computing) แทน
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re:

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ปรัชญา เขียน:
007-s เขียน: เห็นแว๊บๆ สองสามวันก่อน ที่ บีทูเอสยังเหลือเยอะ แล้วก็ร้านพวกไม่มีเครือข่ายมากๆก้ยังน่าจะเหลือ เช่น แพร่พิทยา

:D
มาถึงบ้านนอกแล้วครับ

รูปภาพ



คุณ pak นี่ช่างขุดกระทู้จริงๆ

เห็นหนังสือพี่ปรัชญาข้างบน
มันหลายปีมาแล้ว แต่เผื่อใครสนใจอยากอ่าน เพราะตอนนี้ก็ยังอยู่ในยุคนั้น
ผู้แปลเคยเอามาลงในประชาชาติเป็นตอนๆ และ nida รวบรวมมาเผยแพร่้

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q ... ay22p3.htm
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q ... y22p3a.htm
niranam
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 52

โพสต์

JTS พุ่ง 24.44% บริษัทมองรีบาวน์กลับหลังลงไปมาก-ราคาหุ้นยังต่ำกว่า BV. ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2554หุ้น JTS ราคาพุ่งพรวดขึ้น 24.44% มาอยู่ที่ 1.68 บาท เพิ่มขึ้น 0.33 บาท มูลค่าซื้อขาย 175.65 ล้านบาท เมื่อเวลา 15.38 น. โดยเปิดตลาดที่ 1.42 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 1.70 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 1.40 บาท
แหล่งข่าวระดับบริหารจาก บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์(JTS)เปิดเผยกับ"อินโฟเควสท์"ว่า ราคาหุ้น JTS วันนี้ปรับตัวขึ้นสูงด้วยวอลุ่มเทรดหนาแน่น น่าจะเป็นการรีบาวน์หลังจากราคาปรับลงไปมากจากระดับก่อนหน้านี้ที่เคยอยู่แถว 1.8-2.0 บาท และราคาหุ้นปัจจุบันก็ยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี(Book value)ของบริษัทที่ประมาณ 2.40 บาท/หุ้น


ส่วนกระแสข่าวที่ออกมาในห้องค้าหลักทรัพย์ว่า JTS มีโอกาสที่จะเพิ่มทุนพร้อมแจกวอแรนต์นั้น แหล่งข่าว กล่าวว่า ไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ซึ่งก็อาจอยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีอะไรชัดเจนในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในปีหน้าบริษัทมีงานใหญ่ที่กำลังพิจารณาอยู่และเชื่อว่าน่าจะได้รับส่วนแบ่งบ้าง อย่างเช่นงาน Next-Generation Network(NGN)เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของ บมจ.ทีโอที(TOT)ซึ่งเป็นโครงข่ายอัจฉริยะ มูลค่าสัญญาเต็มที่ 12,000 ล้านบาท และโครงการไซเบอร์ ทู โฮม ของ บมจ.กสท.โทรคมนาคม มูลค่า 5,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องรอดูว่าจะมีการแบ่งย่อยงานออกมาหรือไม่ รวมทั้งปลายปี 55 ก็ยังมีงานประมูลไลเซ่นต์ 3G ด้วย

"บริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสาร ดังนั้นเราก็ดูงานทั้งหมดของ TOT และการสื่อสารฯ ซึ่งก็ต้องดูว่างานตรงไหนบ้างที่เราทำได้ เราก็จะทำ"แหล่งข่าว JTS กล่าว

แหล่งข่าว JTS กล่าวต่อว่า การดำเนินธุรกิจในปีนี้เป็นไปตาม Business plan ที่วางไว้ ซึ่งทางบริษัทฯจะพิจารณางานต่าง ๆ จากอัตรากำไรเทียบจากรายได้(มาร์จิ้น) ซึ่งจะเห็นได้ว่าทำได้มากขึ้น โดยบริษัทจะไม่เน้นที่การเติบโตของยอดขาย แต่จะเน้นที่มาร์จินที่จะได้รับจากงานมากกว่า
"ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจโครงการ ซึ่งต้องทยอยรับรู้รายได้ ดังนั้นเราจะไม่เน้น Growth แต่จะดูการบริหารให้ Stable และมีเงินสดอยู่ในบริษัทฯให้มากพอ รวมถึงมีการดำเนินธุรกิจไปอย่างยั่งยืนจะดีกว่า"แหล่งข่าว กล่าว

--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ไอซีทีดันสรอ.เชื่อมต่อหน่วยงานรัฐ [ ข่าวหุ้น, 19 ม.ค. 55 ]

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เร่งเชื่อมบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ของหน่วยงานของรัฐบาลที่ขณะนี้มีประมาณ 800 บริการให้เข้าไว้ด้วยกัน โดยเป้าหมายที่ต้องการ คือในปีนี้
บัตรประชาชนอเนกประสงค์ (สมาร์ทการ์ด) จะต้องสามารถใช้งานได้จากจุดเดียว และถือเป็นก้าวแรก
ของการพัฒนาสู่สมาร์ท ไทยแลนด์ ตามแผนที่กระทรวงไอซีทีได้วางไว้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ไอซีทีร่วมปตท.เปิดไวไฟฟรีทุกปั๊ม [ ข่าวหุ้น, 6 ก.พ. 55 ]

"อนุดิษฐ์" เปิดงานสัมมนาประชุมใหญ่สามัญประจำปี'55 ชมรมนักข่าวไอทีพีซีร่วมถก "ICT for
Thailand" พร้อมดัน "นครนายก" เข้าสู่สมาร์ทไทยแลนด์ ระบุไม่เกินเดือนเม.ย.คนไทยได้ใช้ไวไฟฟรี
ทุกปั๊มน้ำมันของ ปตท.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 55

โพสต์

[InfoQuest] ไอซีทีร่วมปตท.เปิดไวไฟฟรีทุกปั๊ม
6 กุมภาพันธ์ 2555

ไอซีทีร่วมปตท.เปิดไวไฟฟรีทุกปั๊ม "อนุดิษฐ์" เปิดงานสัมมนาประชุมใหญ่สามัญประจำปี 55 ชมรมนักข่าวไอทีพีซีร่วมถก "ICT for Thailand" พร้อมดัน "นครนายก" เข้าสู่สมาร์ทไทยแลนด์ ระบุไม่เกินเดือนเม.ย.คนไทยได้ใช้ไวไฟฟรี ทุกปั๊มน้ำมันของ ปตท.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 และรายงานผลการดำเนินงาน 2554 ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2555 ณ บ้านนา รีสอร์ท จ. นครนายก โดยได้รับเกียรติจาก น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงานในหัวข้อไอซีทีเพื่อไทยแลนด์ (ICT for Thailand)

นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุนีย์ โรจนโอฬารรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ส่วนงานบริการเสริม บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (ADVANC) นายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่าย 3 จี โมบายด์ อินเทอร์เน็ต มาร์เก็ตติ้ง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ในหัวข้อเสวนา 3 จี มีแล้วชีวิตดีขึ้นอย่างไร

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังจะนำร่องจังหวัดนครนายกก้าวสู่สมาร์ทไทยแลนด์ ซึ่งการนำประเทศไทยก้าวสู่สมาร์ทไทยแลนด์ ต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 อย่าง คือ เน็ตเวิร์ก คลาวด์ และคอนเทนต์ ในฐานะรัฐบาลจะนำจุดที่บกพร่องมาปรับใช้ ขณะเดียวกัน สมาร์ทเน็ตเวิร์ก เป้าหมายเพื่อเข้าถึงประชาชน 80% โดยขั้นแรกคือ การทำฟรีไวไฟ

ขณะเดียวกัน ยังได้พูดคุยกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยคาดว่าประมาณมีนาคม-เมษายน 2555 ทุกหน่วยให้บริการน้ำมันจะสามารถให้บริการฟรีไวไฟ นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือจากสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อการใช้งานไวไฟเพื่อเพิ่มการถึง นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคาดการณ์ว่าหลังจากแผนแม่บทฯ ออก เชื่อมั่นว่า กสทช. จะออกไลเซนส์ 3 จี ให้ผู้ประกอบการได้ ส่วน บมจ.ทีโอที (TOT) และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) นั้นให้ทำงานร่วมกันเพื่อให้สร้างพื้นที่ครอบคลุมการใช้งาน เพื่อรวมเป็นหนึ่งในการสร้างเครือข่าย 3 จี ให้เป็นหนึ่งด้วย

สำหรับในส่วนที่หลายฝ่ายได้ตั้งคำถามที่ว่าทำไม 4 จี เปิดให้มีการทดสอบแล้ว แต่ 3 จี ยังไม่เกิด นั้น น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า 3 จี กับ 4 จี ส่วนหนึ่งทับซ้อนกัน ซึ่ง 3 จี เป็นการส่งข้อมูลตามปกติ แต่ 4 จี เป็นเน็ตเวิร์กเฉพาะสำหรับดาต้า บางที่ใช้เป็นพรีเมียมเซอร์วิส (premium service) ใช้ในระบบการแพทย์ และผ่าตัดทางไกล เน้นตลาดที่มีข้อมูลจำนวนมาก และต้องการความเร็วสูง เป็นต้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 56

โพสต์

เมินคุยบอร์ดซิป้า เดือนหน้าชงครม. ตั้งบอร์ดใหม่ 6 มี.ค. [ ข่าวหุ้น, 5 มี.ค. 55 ]

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย
ว่า ไอซีทียืนยันที่จะเสนอให้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 6 มีนาคมนี้ ในการพิจารณาอนุมัติให้
คณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า
ชุดเก่า ที่มี นายศุภชัย ตั้งวงศ์กานต์ เป็นประธาน พ้นจากตำแหน่งหลังจากที่ผ่านมาการทำงานเป็นไป
อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 57

โพสต์

โอนเงินผ่านเน็ต-มือถืออู้ฟู่คนไทยมั่นใจใช้สมาร์ทโฟนทำธุรกรรมการเงิน [ ไทยรัฐ, 8 มี.ค. 55 ]

ธปท.ระบุ คนไทยหันมาใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต มากขึ้น ส่งผลธุรกรรมโอนเงินผ่านมือถือ-เน็ตอู้ฟู่
พบปี 54 มูลค่าเงินที่โอนผ่านโมบายแบงก์กิ้งเพิ่มขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า วงเงินการโอนทะลุ 1.87
แสนล้านบาท ขณะที่การโอนเงินผ่านเน็ต ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง มูลค่าอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งสูงถึง 8.72
ล้านล้านบาท คาดปี 2555 ยอดการใช้บริการเพิ่มต่อ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กลุ่ม IT SERVICE ห่านกำลังบิน?

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ไอทีไทยรุ่ง 3 พันธมิตรผุดบัฟฟาโล [ โพสต์ทูเดย์, 14 มี.ค. 55 ]

ไอทีไทยโตสุดในอาเซียน บัฟฟาโล อิงค์สบช่องเปิดคอนเซปต์สโตร์แห่งแรกของโลก

นายณรงค์ อิงค์ธเนศ ประธานกลุ่มเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีซีเอส โฮลดิงส์ และประธานบริหาร
บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ 2 พันธมิตรธุรกิจ คือ บริษัทบัฟฟาโล อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น
และบริษัท คอปเปอร์ ไวร์ดเปิดร้านจำหน่ายสินค้าไอที "บัฟฟาโล" รูปแบบคอนเซปต์สโตร์ ในไทยเป็นแห่ง
แรกในโลก บนพื้นที่ 115 ตร.ม. ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."