ใช้ EPS16Years แสกนหาหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Vassili Zaitsev
Verified User
โพสต์: 286
ผู้ติดตาม: 0

ใช้ EPS16Years แสกนหาหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เราสามารถใช้ EPS16Years ของพี่ครรชิต scan หาหุ้นกลุ่มนี้ ได้หรือไม่ครับ
1. หุ้น Asset play
2. หุ้น Net-Net stock

ว่าจะเอาไปใช้ scan หาหุ้นกลุ่มนี้เป็นเบื้องต้น เพื่อนำไปต่อยอดศึกษาในรายละเอียดของแต่ละตัวอีกทีครับ
ในที่สุด ราคาจะวิ่งเข้าหา มูลค่าที่แท้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใช้ EPS16Years แสกนหาหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ได้แน่นอนครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4637
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใช้ EPS16Years แสกนหาหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ในกรณี Asset Play
ใน EPS16YEAR บันทึกแต่ รวม ที่ดินอาคารเครื่องจักร ในงบดุลที่ประกาศเท่านั้น
ไม่อาจรู้มูลค่าแฝงของ มูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นได้ ครับ
จึงไม่รู้จะกรองหาได้อย่างไร ครับ ถ้าจะกรอง ก็กรองได้แต่ว่า ราคาหุ้น เทียบกับ ที่ดินอาคารเครื่องจักร ตามในงบดุล

ส่วน หุ้น Net-Net stock นี้ EPS16YEAR หาและกรอง ให้ได้ครับ
เขาให้สูตรของ NET-net Asset Value เป็นดังนี้ครับ
NET-net Asset Value = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน – หนี้สินระยะยาว
0017: Asset Play

by DEKISUGI posted on NOVEMBER 15, 2006
มีวิธีการลงทุนแบบหนึ่ง เรียกว่า Asset Play วิธีนี้คือการหาว่าบริษัทเป็นเจ้าของสินทรัพย์อะไรที่มีมูลค่าซ้อนเร้นอยู่หรือไม่ ถ้าราคาหุ้นในกระดานของบริษัทยังไม่ได้สะท้อนค่าของสินทรัพย์นั้น การเข้าไปซื้อหุ้นนั้นไว้ก็ถือว่าเป็นการซื้อของลดราคา

ตัวอย่างยอดนิยมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าแฝงก็คือ ที่ดิน เพราะที่ดินจะถูกลงบัญชีที่ราคาต้นทุนที่ซื้อมา และจะคงที่อยู่อย่างนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอีกสักกี่สิบปี ถ้าคุณออกแรงสักนิดด้วยการตรวจดูที่ดินของบริษัทต่างๆ ในตลาดว่ามีอยู่กี่ไร่ นำมาคูณด้วยราคาประเมินของกรมที่ดินในปัจจุบัน คุณอาจพบที่ดินของบางบริษัทที่มีราคาประเมินสูงกว่ามูลค่าตลาดของทั้งบริษัทหักด้วยหนี้สิน หุ้นนั้นเสียอีก หุ้นเหล่านี้คือ Asset Play

ปัญหาสำคัญของการเล่นหุ้นด้วยวิธีนี้ก็คือ เราไม่รู้ว่าเมื่อไรราคาหุ้นในกระดานจะสะท้อนมูลค่าแฝงของสินทรัพย์นั้นเสียที ในบางกรณีผู้บริหารของบริษัทยังดำเนินงานแบบธุรกิจครอบครัวอยู่จึงไม่นำพาต่อหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้บริหารของบริษัทมหาชน ได้แก่ การ maximize shareholder’s value แม้พวกเขาจะรู้ดีว่าการขายที่ดินนั้นเสียแล้วย้ายโรงงานไปอยู่ในที่ที่ที่ดินราคาต่ำลงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าของบริษัท แต่ก็ไม่ทำเพราะเป็นความรู้สึกผูกพันกับสมบัติประจำตระกูล อย่างนี้แล้วนักลงทุนรายย่อยที่ไปเข้าไปซื้อหุ้นเอาไว้ก็บอกได้คำเดียวต้องรอจนเหงื่อแห้งครับ

การลงทุนในตลาดหุ้นมีต้นทุนของเงินทุนอยู่ราวปีละ 10% เสมอ ถ้าคุณถือหุ้น Asset Play ไว้เฉยๆ หนึ่งปีแล้วราคาไม่ไปไหน ก็ต้องถือว่าขาดทุนไปแล้ว 10% ไม่ใช่เสมอตัว ยิ่งถ้าต้องรออีก 10 ปี ผู้บริหารคนเก่าจึงจะแก่ตาย ผู้บริหารคนใหม่จึงจะสั่งขายที่ดิน ก็ต้องถือว่า คุณขาดทุนหุ้นตัวนั้นหมดทั้ง 100% แล้ว ดังนั้นถ้าดูแล้วไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อไรราคาหุ้นในกระดานจะมีโอกาสสะท้อนมูลค่าที่แฝงอยู่ได้ การเล่นหุ้นด้วยวิธีนี้ก็นับว่าค่อนข้าง “ลมๆ แล้งๆ” ครับ

Asset Play จะได้ผลเฉพาะกับนักลงทุนรายใหญ่ที่สามารถซื้อหุ้นของบริษัทได้ในสัดส่วนที่มากพอที่จะเข้ามาควบคุมบริษัทได้เท่านั้น ถ้าคุณซื้อหุ้นจนเกิน 51% ไล่กรรมการชุดเก่าออกให้หมด ขายที่ดิน นำเงินสดที่ได้ไปใช้หนี้บริษัท เลิกบริษัท แล้วนำเงินที่เหลือเก็บเข้ากระเป๋า แบบนี้คุ้มค่าแน่นอนครับ

คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่สวยหรูว่า “ผู้ถือหุ้น คุณคือเจ้าของ” แต่ในความเป็นจริง ถ้าคุณและพวกอีกอย่างน้อย 24 คนมีปัญญาซื้อหุ้นรวมกันได้แค่ไม่เกิน 10% ก็ต้องขอบอกว่า คุณและพวกปราศจากอำนาจในการควบคุมบริษัทมหาชนโดยสิ้นเชิง แค่ขอเรียกประชุมผู้ถือหุ้นยังไม่ได้เลย ดังนั้น การเล่นหุ้นแบบ Asset Play ให้ประสบความสำเร็จดูจะมีข้อจำกัดมากสำหรับคนที่เป็นนักลงทุนรายย่อย ความเห็นส่วนตัวของผมคือ เวลาที่คุณซื้อหุ้น คุณควรซื้อความสามารถในการทำกำไรมากกว่าที่จะซื้อเพราะสินทรัพย์ (ถ้าคุณอยากได้โต๊ะและเก้าอี้สำนักงานเหล่านั้น ไปซื้อที่ชั้น 5 มาบุญครองก็ได้ครับ ไม่ต้องไปซื้อหุ้นหรอก) เพราะสิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่หุ้นที่ตนเองถืออยู่เป็นสิทธิที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีเท่ากับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างแน่นอนโดยเสมอภาคกัน



Read more: http://dekisugi.net/archives/27#ixzz1kfV7ohSL
Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives

http://www.thaivi.com/2010/02/168/
ลงทุนแบบ ‘ก้นบุหรี่’ (Cigar Butt Investing)
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
เห็นคุณวิบูลย์เขียนถึงอาจารย์ ‘เกรแฮม’ ทำให้ผมนึกถึง วิธีการลงทุน ตามแบบท่านอาจารย์ผู้นี้ คือ แบบก้นบุหรี่ จริงๆ แล้วเป็นคำเหน็บแนมของ ‘Warren Buffett’ ต่อการลงทุนแบบถอดแบบจากท่านเกรแฮม เขากล่าวว่า มันเป็นเสมือนการหยิบก้นบุหรี่ ที่คนอื่นทิ้งไว้ที่พื้น แต่มันยังคงมียาสูบเหลืออยู่ แล้วเราเก็บมาสูบ แม้มันจะยังคงมีควันอยู่ แต่มันก็สูบได้อีกครั้งสองครั้ง ก็ต้องทิ้งแล้ว แต่มันเป็นของฟรีครับ

ผมเองใช้การลงทุนแบบนี้ก็บ่อยเหมือนกันครับ สำหรับผมแล้วการลงทุนแบบนี้ใช้ได้ผลดีทีเดียว แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไรนัก หากไม่ขายหุ้นนั้นออกไปก่อนเมื่อราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงราคาที่ แท้จริงในระยะสั้นๆ ในแบบของเกรแฮมจะขายเมื่อราคาปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของราคาที่ซื้อ แต่สำหรับลูกศิษรุ่นต่อๆ มาของเกรแฮมได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้นซึ่งได้ ผลดีทีเดียว
สำหรับหลักการนั้นฉบับก่อนคุณวิบูลย์กล่าวไว้แล้ว ท่านใดสนใจลองกลับไปอ่านได้ครับ มาครั้งนี้ผมจะลงรายละเอียดและยกตัวอย่างมานำเสนอพอแต่หน้ากระดาษจะอำนวย
วิธีคิดในการเลือกซื้อหุ้นตามแบบก้นบุหรี่นี้ต้องใช้งบการเงิน โดยเฉพาะงบดุลเป็นสำคัญครับ เพราะเราต้องหา NET-net Asset Value บางท่านเรียกหุ้นแบบนี้ว่า ‘NET-NET Stock’ อย่าเข้าใจผิดว่าซื้อเช้า ขายสาย หรือซื้อสายขายบ่าย หรือถ้าเหลือความหวังเล็กๆ น้อยเข้าสนามรบตอนเช้าแล้วขอตายตอนปิดตลาดนะครับ
NET-NET Stock นี้ซื้อแล้วถือรอราคาปรับตัวขึ้น ใช้เวลาพอสมควรนะครับ ไม่เสี่ยงขนาดนั้น การลดความเสี่ยงของการลงทุนแบบนี้ใช้การวิเคราะห์งบดุล และกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นแบบนี้หลายๆ บริษัท
สูตรของ NET-net Asset Value เป็นดังนี้ครับ
NET-net Asset Value = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน – หนี้สินระยะยาว
จะเห็นว่า NET-net Asset Value คือเอาสินทรัพย์หมุนเวียนมาหักเอาหนี้สินทั้งสั้นและยาวออกให้หมด สังเกตว่าเขาไม่เอาสินทรัพย์คงที่หรือ Fixed Assets มาคิดเลย ยังไม่พอนะครับ เราจะต้องซื้อหุ้นแบบนี้ในราคา 1/3 NET-net Asset Value อีกต่างหาก
ลำพังหาหุ้นที่ NET-net Asset Value ต่ำกว่าราคาหุ้นก็ยากอยู่แล้ว นี่ต้องหาหุ้นที่ต่ำกว่า NET-net Asset Value ถึงสามเท่าอีก ยิ่งไปกันใหญ่ ผมเคยหาตอนตลาดประมาณ 200 – 300 จุด เอาหุ้นที่กำลังซื้อขายได้ก็ยังหาไม่เจอเลยครับ ที่มีอยู่ก็กำลังจะไปไม่รอดแล้วครับ
เมื่อหาไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร มีลูกศิษย์ของอาจารย์เกรแฮมท่านหนึ่งคือ Walter Schlosse ได้ใช้หลักการ NET-net Asset Value ก่อนแต่หลังๆ ใช้ไม่ได้ เขาเลยใช้ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ทั้งหมดหรือ Total tangible Assets หักด้วยหนี้สินระยะสั้นหรือ Current Liabilities มาหักลบกัน
แล้วมองหาหุ้นที่ราคาต่ำกว่าค่าที่หาได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีราคาต่ำกว่าค่าที่หาได้ถึงสามเท่าครับ ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี เพราะถ้าดูแล้ว(ตามความเห็นของผม) เราควรเอาสินทรัพย์ที่มีตัวตนทั้งหมดเช่นโรงงาน เครื่องจักรที่ยังใช้งานได้ สินค้าคงเหลือ และลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้สูญเพราะเห็นอยู่ว่ามันมีอยู่จริง ส่วนหนี้สินระยะสั้นหรือ Current Liabilities ต้องตัดออกแน่ๆ เพราะยังไงต้องจ่ายเจ้าหนี้ภายในหนึ่งปี
หากไม่มีจ่ายเราไม่ควรไปยุ่งเพราะบริษัทก็คงไม่มีเหลือจ่ายผู้ถือหุ้นเหมือน กัน ส่วนหนี้สินระยะยาวนั้นเชื่อว่าหากบริษัทยังพอไปได้เจ้าหนี้ก็ยังคงยอม ประนอมหนี้ให้ได้ ไม่น่าห่วงนักซึ่งเราก็เห็นกรณีอย่านี้มากมาย เช่นแปลงหนี้เป็นทุน ลดหนี้ ตัดดอก เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างที่ผมจะยกมาให้ดูกันนั้นเป็นตัวอย่างในอดีตทั้งนั้นครับ เพราะเพื่อไม่ให้เกิดการชี้นำ เป็นเพื่อการยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาจริงๆ ผมขอยกกรณีหุ้น ATC ในอดีตที่เศรษฐกิจดีราคาสูงมาก แต่เมื่อเกิดวิกฤติราคาร่วงเอาร่วงเอา จนราคามาอยู่แถวๆ 3 – 5 บาท แต่ถ้าเราไปดูสินทรัพย์แล้วพบว่ามีมากเอาการ แต่หนี้สินก็ไม่น้อย
แต่อย่าลืมว่า บริษัทนี้ตั้งมาได้ไม่นานเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ก็ยังคงมีสภาพดีอยู่ แถมบริษัทนี้มีการดำเนินธุรกิจแบบเป็นรอบ ที่ราคา 3-5 บาท ถือว่าต่ำมากๆ เอาจำนวนหุ้นคูณราคาแล้ว สร้างโรงงานขนาดนี้ไม่ได้แน่ พอราคาผ่านไปไม่นานประมาณ ปีสองปี ราคาหุ้นก็ปรับตัวขึ้นแบบไม่เคยให้เห็นเลขหลักเดียวอีกเลย ขณะนี้ราคาก็อยู่ 60 กว่าบาท(ขณะเขียนต้นฉบับ) ใครซื้อไว้แล้วใจแข็งถือมาจนทุกวันนี้รวยไม่รู้เรื่องครับ ผมเองรับสารภาพว่าซื้อแถว 3 – 5 บาท แต่จากหลักการก้นบุหรี่แล้วคาบไว้นานไม่ได้เลยคายเร็วไปหน่อยเลยอดรวยเลย และนี่คือจุดอ่อนของหลักการแบบนี้
อีกตัวอย่างหนึ่งค่อนข้างคลาสสิกมากครับ กรณีหุ้น APRINT เมื่อหลายปีก่อนราคาร่วงมาแถวๆ 7 – 10 กว่าบาท ในขณะที่ Book Value ก็สูงกว่าราคามาก แถมบริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลตลอดไม่เคยขาดเลย ราคาหุ้นแม้จะปรับตัวสูงขึ้นแต่ก็ยังต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีมาหลายปี
แต่เนื่องจากเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยหวือหวาจึงไม่ค่อยมีคนสนใจ ปรากฏว่าเวลาผ่านไปราคาก็สะท้อนมูลค่าจนได้ เป็นกรณีคลาสสิกอย่างไรหรือครับ ก็ตรงที่ว่าเป็นบริษัทที่ดีไม่ขาดทุนจ่ายปันผลตลอด มูลค่าตามบัญชีสูงกว่าราคาหุ้นมาก จัดว่าเป็นบริษัทที่ไม่วิกฤติเลยแต่ราคาวิกฤติมากจริงๆ ใครซื้อแล้วถือไว้สบายใจไม่ต้องระแวง ลุ้นปันผลอย่างเดียวครับ
ว่าไปแล้วถ้าขยันหาเราจะพบหุ้นก้นบุหรี่มากมายในช่วงวิกฤติ และหากถือมาจนปัจจุบันเราก็แทบไม่ต้องทำอะไรเลย ราคาปรับตัวขึ้นเอง แต่ในยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่าหายากมากครับ ถึงมีก็ถือได้สั้นๆ ไม่ยาวจนราคาปรับตัวขึ้นหลายเท่าตัว และเราต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีนวัตกรรมใหม่ทางการเงินและการบัญชีมากมาย ตบแต่งบัญชีได้แนบเนียนมาก การปล่อยข่าวลือ การปั่นหุ้น สารพัดวิธีการจนผมเองก็งงไปหมด หากมีโอกาสจะเอามาคุยให้ฟังครับ
การลงทุนแบบก้นบุหรี่นี้ค่อนข้างใช้ได้ผลดีในยามเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้น ราคาตกมากเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่ควรจะเป็น
แต่จุดอ่อนของมันก็คือเราไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพของมัน ทำให้บางครั้งเราอาจพลาดท่าได้ หรือเราอาจขายออกเร็วเกินไปได้
หากเราตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ครับ อีกอย่างหนึ่งคือจิตใจต้องมั่นคงไม่หวั่นไหวง่ายๆ แม้ซื้อแล้วราคาจะลงมาอีก
เราต้องตรวจดูให้ชัดยิ่งขึ้นว่าเป็นอย่างที่เราคิดหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่วิเคราะห์ไว้ราคาลงมาถือเป็นการลดราคาท้า วิกฤติครับ รีบตะครุบด่วน!–จบ–
–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 24 – 30 กันยายน 2547–
This entry was posted in Value Way. Bookmark the permalink.
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
Vassili Zaitsev
Verified User
โพสต์: 286
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใช้ EPS16Years แสกนหาหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ต้นฉบับมาเองเลย :D

ขอบคุณมากครับ พี่ครรชิต :bow:
ในที่สุด ราคาจะวิ่งเข้าหา มูลค่าที่แท้จริง
โพสต์โพสต์