ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 28
- ผู้ติดตาม: 0
ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 1
ถามผู้รู้เกี่ยวกับ Discount cash flow หน่อยนะครับว่ามีปัจจัยอะไรสำคัญกับธุรกิจ ช่วยอธิบายให้ผมหน่อยนะครับ
Discount cash flow มีคัวอย่างสั้นๆให้ผมดูหรือศึกษาหน่อยไม่ครับ
ขอให้ผู้ให้ทุกๆท่านมีความสำเร็จในการลงทุนในอนาคตครับ
Discount cash flow มีคัวอย่างสั้นๆให้ผมดูหรือศึกษาหน่อยไม่ครับ
ขอให้ผู้ให้ทุกๆท่านมีความสำเร็จในการลงทุนในอนาคตครับ
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 2
แนะนำลองอ่านในเว็บคุณหมอ reiter ครับ
http://reitertvi.wordpress.com/
มีเขียนเกี่ยวกับ DCF เข้าใจง่ายมีตัวอย่างด้วยครับ
(ไม่คิดค่าโปรโมตครับ )
http://reitertvi.wordpress.com/
มีเขียนเกี่ยวกับ DCF เข้าใจง่ายมีตัวอย่างด้วยครับ
(ไม่คิดค่าโปรโมตครับ )
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 4
ลอง ไปอ่านในหนังสือ เรื่องประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง ที่เขียนโดยคุณสุมาอี้ดูนะครับ ผมว่าเล่นนั้นอธิบายเข้าใจง่ายสุดๆละ แต่ผมว่าก็ยังมึนและยากอยู่ดี
http://www.chulabook.com/description.as ... 9740630913
http://www.chulabook.com/description.as ... 9740630913
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
รู้จักการคำนวณ มูลค่าอนาคตหรือยัง
ต้องรู้จักการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นก่อน
ถ้าฝากเงิน 100 บาท ได้ดอก 10% ต่อปี
ปีแรก เงินต้น 100
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 100+(100*10%) = 110
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 110+(110*10%) = 121
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 121+(121*10%) = 133.1
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 133.1+(133.1*10%) = 146.41
จะเห็นว่า ที่เราเรียก "ดอกเบี้ยทบต้น" เพราะตอนขึ้นปีใหม่ถัดไป ฐานที่ใช้คิดถูกทบไปด้วยกับเงินดอกเบี้ย ไม่ใช่เอาตัวเลข 100 เงินต้นเดิม
สมมติให้ r เป็น rate ดอกเบี้ย
PV คือมูลค่าเงินปัจจุบัน (ย่อมาจาก present value)
FV คือมูลค่าเงินอนาคต (ย่อมาจาก future value)
ปีแรก เงินต้น
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r) = PV (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)= PV (1+r) (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r)= PV (1+r) (1+r) (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r) = PV (1+r) (1+r) (1+r) (1+r)
เราสามารถเขียนเป็นสูตรย่อๆ ได้ว่า
FV = PV (1+r)^y
^ คือยกกำลัง
y คือ ปี
นั่นคือ ปีที่เพิ่มขึ้น อัตราก็ถูกยกกำลังเพิ่มขึ้นไปด้วยตามจำนวนปี ทางคณิตศาสตร์ คือการเอา 1+r คูณซ้ำๆ
ต้องรู้จักการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นก่อน
ถ้าฝากเงิน 100 บาท ได้ดอก 10% ต่อปี
ปีแรก เงินต้น 100
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 100+(100*10%) = 110
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 110+(110*10%) = 121
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 121+(121*10%) = 133.1
ปีถัดไป เงินเราจะกลายเป็น 133.1+(133.1*10%) = 146.41
จะเห็นว่า ที่เราเรียก "ดอกเบี้ยทบต้น" เพราะตอนขึ้นปีใหม่ถัดไป ฐานที่ใช้คิดถูกทบไปด้วยกับเงินดอกเบี้ย ไม่ใช่เอาตัวเลข 100 เงินต้นเดิม
สมมติให้ r เป็น rate ดอกเบี้ย
PV คือมูลค่าเงินปัจจุบัน (ย่อมาจาก present value)
FV คือมูลค่าเงินอนาคต (ย่อมาจาก future value)
ปีแรก เงินต้น
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r) = PV (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)= PV (1+r) (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r)= PV (1+r) (1+r) (1+r)
ปีถัดไป เงิน FV เราจะกลายเป็น PV+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r)+(PV*r) = PV (1+r) (1+r) (1+r) (1+r)
เราสามารถเขียนเป็นสูตรย่อๆ ได้ว่า
FV = PV (1+r)^y
^ คือยกกำลัง
y คือ ปี
นั่นคือ ปีที่เพิ่มขึ้น อัตราก็ถูกยกกำลังเพิ่มขึ้นไปด้วยตามจำนวนปี ทางคณิตศาสตร์ คือการเอา 1+r คูณซ้ำๆ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 6
ส่วนการคิด discounted cash flow นั้น เป็นการกลับด้าน
เรารู้ (เดา/พยากรณ์) เงินที่ได้ในอนาคตแต่ละปี ถ้าคิดแบบเด็กๆ ก็เอามาจับบวกกัน แต่ที่จริงเงินในอนาคตนั้นมีค่าต่ำกว่าปัจจุบัน เพราะมีต้นทุน
เราเอาสูตรนี้มากลับ เพื่ออยากรู้ว่าเงินในอนาคต มีมูลค่าเท่าไหร่ในปัจจุบัน
จากเดิม
FV = PV * (1+r)^y
สูตรใหม่ที่ได้ (1+r) ^ y ย้ายไปซ้ายมือ เป็นหาร
FV / (1+r)^y = PV
PV = FV / (1+r)^y
ตัวอย่าง
สมมติคุณประกอบกิจการ หรือซื้อหุ้นก็ได้ ให้ปันผลตอบแทนปีละ 100 บาท ในระยะเวลา 5 ปี
มันคือกระแสเงินสด (cash flow)
ถ้าคิดแบบเด็กประถม ก็จับบวกเลขกันตรงๆ เลย ว่าคุณได้เงินปันผลมา
ปีที่ 1... ปีที่ 2.... ปีที่ 3.... ปีที่ 4.... ปีที่ 5....
100 + 100 + 100 + 100 + 100
=500 บาท
แต่ความเป็นจริง ในอนาคต ค่าเงินจะด้อยค่าลงเรื่อยๆ หรือถูก discounted เพราะมีต้นทุนทางการเงิน
สมมติว่าต้นทุนปีละ 10% ค่าปัจจุบัน PV ของเงิน จะเป็น
100 + 100/(1+10%) + 100/(1+10%)^2 + 100/(1+10%)^3 + 100/(1+10%)^4 + 100/(1+10%)^5
= 100 + 90.90909091 + 82.6446281 +75.13148009 +68.30134554 +62.09213231
เหลือแค่ 479 บาท
จะเห็นที่มาของคำว่า dcf หรือ discounted cash flow
เสริม
1. ที่จริงปีที่ 0 สูตร หารด้วย (1+r)^y ก็ยังเป็นจริง
PV = FV / (1+r)^y
PV = FV / (1+r)^0
PV = FV / 1 (อะไรก็ตาม ยกกำลัง 0 ได้ค่า 1)
PV = FV
2. บางที่ r จะใช้ i หมายถึง interest rate
y จะใช้ n หมายถึงจนวนครั้งคิดซ้ำๆ กัน
เรารู้ (เดา/พยากรณ์) เงินที่ได้ในอนาคตแต่ละปี ถ้าคิดแบบเด็กๆ ก็เอามาจับบวกกัน แต่ที่จริงเงินในอนาคตนั้นมีค่าต่ำกว่าปัจจุบัน เพราะมีต้นทุน
เราเอาสูตรนี้มากลับ เพื่ออยากรู้ว่าเงินในอนาคต มีมูลค่าเท่าไหร่ในปัจจุบัน
จากเดิม
FV = PV * (1+r)^y
สูตรใหม่ที่ได้ (1+r) ^ y ย้ายไปซ้ายมือ เป็นหาร
FV / (1+r)^y = PV
PV = FV / (1+r)^y
ตัวอย่าง
สมมติคุณประกอบกิจการ หรือซื้อหุ้นก็ได้ ให้ปันผลตอบแทนปีละ 100 บาท ในระยะเวลา 5 ปี
มันคือกระแสเงินสด (cash flow)
ถ้าคิดแบบเด็กประถม ก็จับบวกเลขกันตรงๆ เลย ว่าคุณได้เงินปันผลมา
ปีที่ 1... ปีที่ 2.... ปีที่ 3.... ปีที่ 4.... ปีที่ 5....
100 + 100 + 100 + 100 + 100
=500 บาท
แต่ความเป็นจริง ในอนาคต ค่าเงินจะด้อยค่าลงเรื่อยๆ หรือถูก discounted เพราะมีต้นทุนทางการเงิน
สมมติว่าต้นทุนปีละ 10% ค่าปัจจุบัน PV ของเงิน จะเป็น
100 + 100/(1+10%) + 100/(1+10%)^2 + 100/(1+10%)^3 + 100/(1+10%)^4 + 100/(1+10%)^5
= 100 + 90.90909091 + 82.6446281 +75.13148009 +68.30134554 +62.09213231
เหลือแค่ 479 บาท
จะเห็นที่มาของคำว่า dcf หรือ discounted cash flow
เสริม
1. ที่จริงปีที่ 0 สูตร หารด้วย (1+r)^y ก็ยังเป็นจริง
PV = FV / (1+r)^y
PV = FV / (1+r)^0
PV = FV / 1 (อะไรก็ตาม ยกกำลัง 0 ได้ค่า 1)
PV = FV
2. บางที่ r จะใช้ i หมายถึง interest rate
y จะใช้ n หมายถึงจนวนครั้งคิดซ้ำๆ กัน
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 7
มีอีกนิด เผื่อไปเจอจะได้ไม่งง
ทางคณิตศาสตร์
a/x^n
บางคนไม่ชอบเครื่องหมายหาร เพราะเขียน 2 บรรทัด
เปลี่ยนเป็นเครื่องหมายคูณ ยกกำลัง n จะมีค่าเป็นลบ
a*x^-n
ดังนั้น สูตร
PV = FV / (1+r)^y
เราจะพบบางที่ เขียนเป็น
PV = FV (1+r) ^ -y
ซึ่งถ้าใช้ excel ช่วยคำนวณ ก็จะได้ค่าออกมาตรงกัน ทั้งสองกรณี
ทางคณิตศาสตร์
a/x^n
บางคนไม่ชอบเครื่องหมายหาร เพราะเขียน 2 บรรทัด
เปลี่ยนเป็นเครื่องหมายคูณ ยกกำลัง n จะมีค่าเป็นลบ
a*x^-n
ดังนั้น สูตร
PV = FV / (1+r)^y
เราจะพบบางที่ เขียนเป็น
PV = FV (1+r) ^ -y
ซึ่งถ้าใช้ excel ช่วยคำนวณ ก็จะได้ค่าออกมาตรงกัน ทั้งสองกรณี
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 8
DCF ถูกต้องที่สุดตาม Theory แต่เอาจริงๆ แทบไม่ได้ใช้หรอกครับ เพราะ ตัวแปรมันเยอะมาก เหตุการณ์เปลี่ยนหลังคํานวณมูลค่าก็เปลี่ยน ถ้าจะทําจริงๆควรทํา เป็น Range ครับ worse base and best case
กิจการที่เหมาะทํา DCF ที่สุดเป็นพวกที่ประมาณการ Cashflow ,Capex-Maintenance ได้ข่อนข้างแม่นยําครับ พวก Commodity นี่คงไม่เหมาะครับ
อย่างไรก็ตาม DCF คือการคํานวณครับ รึจะสู้เจ้าของลิขิต
กิจการที่เหมาะทํา DCF ที่สุดเป็นพวกที่ประมาณการ Cashflow ,Capex-Maintenance ได้ข่อนข้างแม่นยําครับ พวก Commodity นี่คงไม่เหมาะครับ
อย่างไรก็ตาม DCF คือการคํานวณครับ รึจะสู้เจ้าของลิขิต
- Mactavish
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 10
เห็นด้วยครับพี่Rocker เขียน:DCF ถูกต้องที่สุดตาม Theory แต่เอาจริงๆ แทบไม่ได้ใช้หรอกครับ เพราะ ตัวแปรมันเยอะมาก เหตุการณ์เปลี่ยนหลังคํานวณมูลค่าก็เปลี่ยน ถ้าจะทําจริงๆควรทํา เป็น Range ครับ worse base and best case
กิจการที่เหมาะทํา DCF ที่สุดเป็นพวกที่ประมาณการ Cashflow ,Capex-Maintenance ได้ข่อนข้างแม่นยําครับ พวก Commodity นี่คงไม่เหมาะครับ
อย่างไรก็ตาม DCF คือการคํานวณครับ รึจะสู้เจ้าของลิขิต
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 12
ประมาณนั้นครับ แต่ถึงจะเป็นยังงั้น การคำนวณก็ยังต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานมากมาย ลองดูตัวอย่างการคำนวณ DCF ที่อยู่ใน รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ ของ SST ที่ซื้อ dunkin donunt กับ aubon pain ดูครับrafael เขียน:ถ้างั้นหุ้นจำพวกที่เหมาะที่จะทำ DCF ก็คงเป็นจำพวกทีี่มีรายได้ที่แน่นอนเหรอครับ อาทิ ของที่คนจำเป็นต้องบริโภคไม่ว่าจะตอนวิกฤตหรือไม่วิกฤต ใช่ไม่ครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 13
DCF เป็นแค่อุปกรณ์ทำให้ปรับตัวเลขในอนาคต เป็นตัวเลขในปัจจุบัน
ไม่ให้เราหลงไปว่าจับตัวเลขมาบวกๆ กัน เฉยๆ เพราะเงินมีต้นทุนการกู้ยืม, ความเสี่ยง, เงินเฟ้อ, .... ที่ทำให้ค่าเงินจับบวกกันไม่ได้ เงินอนาคต ค่้าด้อยลง
ประเด็นที่สำคัญกว่าที่ซ่อนอยู่ ....ไม่ใช่เรื่องตัว "D" แต่เป็น "CF"
ดังนั้น คำถามคือ ธุรกิจที่กำลังประเมินอยู่ สามารถพยากรณ์ได้ดีที่สุดแค่ไหน... พยากรณ์ที่ว่า คือพยากรณ์ cash flow, พยากรณ์งบลงทุน & working capital, ก่อนจะได้มาเป็น FCF, พยากรณ์รายได้ พยากรณ์กำไร ...
ถ้าเป็น DDM Dividend Discount Model พยากรณ์ Dividend ได้แค่ไหนว่ามั่นคงแบบนั้นไปเรื่อย
ต้องย้อนกลับไปดู ถ้าใครเคยอ่านบัฟฟเฟต์ว่าชอบธุรกิจที่ง่ายๆ อย่างโค้ก วอชิงตันโพสต์ เป็นต้น หรือไปซื้อกิจการนอกตลาด แต่เลือกที่มั่นคงเป็นระยะเวลายาวนาน แม้แต่ร้านคุณป้าแก่ๆ แกก็ซื้อ ถ้ามั่นใจ ว่ารู้จักได้ดี
และไม่เห็นปู่แกซื้อหุ้น IPO ไม่เอาหุ้นอินเตอร์เน็ตหวือหวา เป็นแค่ฟองสบู่ จับต้องยาก วันนี้โต มะรืนนี้ตาย
ที่จริงเพราะหุ้นที่มีผลิตภัณฑ์เก่าแก่ บางที่ดูเหมือนโบราณ และสินค้าไม่ซับซ้อน มันพยากรณ์ง่าย และไม่ผันผวนมาก
โดยอ่านดูจากผลงานในอดีต เป็นระยะเวลานานพอควรที่จะรู้จักได้ เห็นความแข็งแกร่งหรือได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่ต่อสู้อย่างยั่งยืน (durable compettive advantage) สร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ มันเคยสร้างตัวแบบนี้มาสิบปี แบบนี้แล้วเชื่อว่ามันคงทำแบบนี้ซ้ำๆ ได้อีกนาน แล้วผสมกับการ ดูว่ามันสร้างตัวให้ "โต" ขึ้นด้วย จึงกลายเป็น Value+Growth
นอกจากเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลขแล้ว ดูแง่เชิงคุณภาพไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการพยากรณ์ได้อีกด้าน จะไปดูเป็นองค์ประกอบของหุ้นอย่า่งคุณ Rocker ว่า มันก็เข้าประเด็นนี้
เอาข้อมูลของธุรกิจมาประเมินกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ว่าจะมีอะไรทำให้ติดขัดหรือไม่
ถ้าเป็นการซื้อธุรกิจอย่างของปู่บัฟฟ์ คนที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนองค์กรและการทำเงิน คือคนบริหาร/คนก่อตั้ง สร้างความสำเร็จมายาวนานแล้ว ต้องบริหารต่อไปด้วย นั่นคือมองคนทำงานด้วย
และถัดมาขั้นจะตัดสินใจแล้ว จังหวะซื้อดีแค่ไหน
พูดง่าย แต่จะหาบริษัทที่องค์ประกอบครบไม่ง่าย และพยากรณ์ไม่ง่ายอย่างที่ว่า
เขาจึงหาสารพัดวิธี รอบด้าน เพื่อจะลดควรามเสี่ยงให้มากที่สุด อย่างคุณสุมาอี้ เอา quote มาขึ้นหนังสือ "การวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ว่า ยอมให้ถูกต้องแต่ไม่แ่ม่นยำ ดีกว่าผิดพลาดอย่างแม่นยำ
เหมือนหาคนที่จะอยู่กับเราไปตลอดรอดฝั่ง จะหาครบ perfect อย่างที่ต้องการคงไม่ง่ายนัก และคงจะประเมินไม่ได้ถึงขั้นเดาใจได้ทุกอิริยาบถ
แต่ก็ต้องหาหุ้น หาคนที่เราทำความเข้าใจกันได้ดีที่สุด
หุ้นก็คืออาร์ตตัวพ่อตัวแม่เหมือนกัน
โชคดีกว่า ที่ความต่างคือในการหาและครอบครองหุ้น คือมีได้หลายคนพร้อมๆ กัน และเรายังเปลี่ยนได้บ่อย โดยไม่ต้องเจ็บตัวทุกครั้งเสมอไป
ไม่ให้เราหลงไปว่าจับตัวเลขมาบวกๆ กัน เฉยๆ เพราะเงินมีต้นทุนการกู้ยืม, ความเสี่ยง, เงินเฟ้อ, .... ที่ทำให้ค่าเงินจับบวกกันไม่ได้ เงินอนาคต ค่้าด้อยลง
ประเด็นที่สำคัญกว่าที่ซ่อนอยู่ ....ไม่ใช่เรื่องตัว "D" แต่เป็น "CF"
ดังนั้น คำถามคือ ธุรกิจที่กำลังประเมินอยู่ สามารถพยากรณ์ได้ดีที่สุดแค่ไหน... พยากรณ์ที่ว่า คือพยากรณ์ cash flow, พยากรณ์งบลงทุน & working capital, ก่อนจะได้มาเป็น FCF, พยากรณ์รายได้ พยากรณ์กำไร ...
ถ้าเป็น DDM Dividend Discount Model พยากรณ์ Dividend ได้แค่ไหนว่ามั่นคงแบบนั้นไปเรื่อย
ต้องย้อนกลับไปดู ถ้าใครเคยอ่านบัฟฟเฟต์ว่าชอบธุรกิจที่ง่ายๆ อย่างโค้ก วอชิงตันโพสต์ เป็นต้น หรือไปซื้อกิจการนอกตลาด แต่เลือกที่มั่นคงเป็นระยะเวลายาวนาน แม้แต่ร้านคุณป้าแก่ๆ แกก็ซื้อ ถ้ามั่นใจ ว่ารู้จักได้ดี
และไม่เห็นปู่แกซื้อหุ้น IPO ไม่เอาหุ้นอินเตอร์เน็ตหวือหวา เป็นแค่ฟองสบู่ จับต้องยาก วันนี้โต มะรืนนี้ตาย
ที่จริงเพราะหุ้นที่มีผลิตภัณฑ์เก่าแก่ บางที่ดูเหมือนโบราณ และสินค้าไม่ซับซ้อน มันพยากรณ์ง่าย และไม่ผันผวนมาก
โดยอ่านดูจากผลงานในอดีต เป็นระยะเวลานานพอควรที่จะรู้จักได้ เห็นความแข็งแกร่งหรือได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่ต่อสู้อย่างยั่งยืน (durable compettive advantage) สร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ มันเคยสร้างตัวแบบนี้มาสิบปี แบบนี้แล้วเชื่อว่ามันคงทำแบบนี้ซ้ำๆ ได้อีกนาน แล้วผสมกับการ ดูว่ามันสร้างตัวให้ "โต" ขึ้นด้วย จึงกลายเป็น Value+Growth
นอกจากเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลขแล้ว ดูแง่เชิงคุณภาพไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการพยากรณ์ได้อีกด้าน จะไปดูเป็นองค์ประกอบของหุ้นอย่า่งคุณ Rocker ว่า มันก็เข้าประเด็นนี้
เอาข้อมูลของธุรกิจมาประเมินกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ว่าจะมีอะไรทำให้ติดขัดหรือไม่
ถ้าเป็นการซื้อธุรกิจอย่างของปู่บัฟฟ์ คนที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนองค์กรและการทำเงิน คือคนบริหาร/คนก่อตั้ง สร้างความสำเร็จมายาวนานแล้ว ต้องบริหารต่อไปด้วย นั่นคือมองคนทำงานด้วย
และถัดมาขั้นจะตัดสินใจแล้ว จังหวะซื้อดีแค่ไหน
พูดง่าย แต่จะหาบริษัทที่องค์ประกอบครบไม่ง่าย และพยากรณ์ไม่ง่ายอย่างที่ว่า
เขาจึงหาสารพัดวิธี รอบด้าน เพื่อจะลดควรามเสี่ยงให้มากที่สุด อย่างคุณสุมาอี้ เอา quote มาขึ้นหนังสือ "การวัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ว่า ยอมให้ถูกต้องแต่ไม่แ่ม่นยำ ดีกว่าผิดพลาดอย่างแม่นยำ
เหมือนหาคนที่จะอยู่กับเราไปตลอดรอดฝั่ง จะหาครบ perfect อย่างที่ต้องการคงไม่ง่ายนัก และคงจะประเมินไม่ได้ถึงขั้นเดาใจได้ทุกอิริยาบถ
แต่ก็ต้องหาหุ้น หาคนที่เราทำความเข้าใจกันได้ดีที่สุด
หุ้นก็คืออาร์ตตัวพ่อตัวแม่เหมือนกัน
โชคดีกว่า ที่ความต่างคือในการหาและครอบครองหุ้น คือมีได้หลายคนพร้อมๆ กัน และเรายังเปลี่ยนได้บ่อย โดยไม่ต้องเจ็บตัวทุกครั้งเสมอไป
-
- Verified User
- โพสต์: 55
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 15
ควรดูประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพของบริษัทประกอบ
ว่ามีการทำธุกิจยังไง ทำตลาดอย่างไร Trend เป็นไง ฯลฯ
แล้วดูว่ามันน่าจะเป็นไปตาม DCF ที่คำนวณออกมาหรือไม่
ขนาดผมทำธุรกิจเอง ยังไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำเลย
ความไม่แน่นอนคือ สิ่งที่แน่นอนครับ
ว่ามีการทำธุกิจยังไง ทำตลาดอย่างไร Trend เป็นไง ฯลฯ
แล้วดูว่ามันน่าจะเป็นไปตาม DCF ที่คำนวณออกมาหรือไม่
ขนาดผมทำธุรกิจเอง ยังไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำเลย
ความไม่แน่นอนคือ สิ่งที่แน่นอนครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามตอบเรื่อง DCF หน่อยครับ
โพสต์ที่ 16
เห็นด้วยกับคุณ Ii'8N ครับ เนื่องจากการทำDCFต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานมากมาย หุ้นที่ผมคิดว่าเหมาะที่สุดในการทำคือหุ้นที่อยู่ในสภาวะ stable คือ growthอย่าง stable, กำลังร่วงอย่างstable หรือ นิ่งๆเรือ่ยๆอย่างstable ซึ่งจะทำให้ตัวแปรต่างๆคาดการณ์ได้ใกล้เคียง
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง