พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 1
ช่วงนี้เห็นมีเงินฝากดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติออกมาเช่น TMB Nofixed หรือล่าสุด ME by TMB ดอกเบี้ย 3.5% เผื่อว่าเพื่อนๆบางท่านพักเงินสดกันไว้ในบัญชีเหล่านี้..อย่าลืมพิจารณาว่ายังมีเรื่องภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์มาเกี่ยวข้องด้วย ผมขอสรุปประเด็นที่สำคัญ ตามที่ผมเข้าใจดังนี้ครับ
1. ถ้ามีรายได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์ (ไม่ว่าจะกี่บัญชี หรือกี่ธนาคารก็ตาม) ที่มีจำนวน
- น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- มากกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษี (แต่เราเลือกได้ว่าจะให้เป็น Final Tax หรือนำไปคำนวนรวมกับรายได้อื่น)
2. หากธนาคารจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์เกิน 20,000 บาท ธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ. ที่จ่ายไว้ 15% (และธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากร)
3. ในกรณีที่เรามีบัญชีอยู่หลายบัญชีหรือหลายธนาคาร แล้วเราได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์รวมแล้วเกิน 20,000 บาท เรามีหน้าที่แจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ถ้าเราไม่แจ้งและโดนธนาคารหักภาษีไว้บ้าง ไม่หักบ้าง อาจต้องจ่ายเพิ่ม!!
จากข้อมูล http://www.sanpakornsarn.com/page_artic ... hp?aID=131 ) กล่าวว่า"ในกรณีที่เลือกนำมา รวมคำนวณกับเงินได้อื่น จะต้องนำเงินได้ดอกเบี้ยที่ได้รับในปีภาษีนั้นทั้งหมดมารวมคำนวณภาษี จะเลือกเฉพาะบางส่วนหรือบางรายการมารวมคำนวณภาษีไม่ได้"
ดังนั้นกรณีที่เราได้รับดอกเบี้ยจากหลายธนาคารหรือหลายบัญชี และหากบางบัญชีไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ (อาจเกิดจากธนาคารไม่รู้ว่าเราได้รับ ดอกเบี้ยเกิน 20,000 หรือเราอาจไม่ได้แจ้งให้ธนาคารทราบก็ตาม)...ผลที่ตามมาคือเราจะต้องนำดอกเบี้ยที่ไม่ได้ถูกหักภาษีไว้มาคำนวนเป็นรายได้...และเนื่องจากข้อกฏหมายที่กำหนดให้เราต้องนำมาทั้งจำนวน...ดังนั้นเราต้องนำดอกเบี้ยที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วมารวมกับรายได้ด้วยโดยปริยาย (ไม่สามารถคิด Final Tax ได้โดยปริยายเหมือนกัน)
กรณีนี้คล้ายๆกับเงินปันผลกองทุน ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินปันผลมารวมกับรายได้ หรือเป็น Final Tax ก็ได้...แต่ต้องทำทุกรายการ จะเลือกเฉพาะบางส่วนหรือบางรายการมารวมคำนวณภาษีไม่ได้
ดังนั้นหากมีฐานภาษีเกิน 15% ต้องวางแผนหน่อยนะครับ ถ้าคิดว่าได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 จากหลายธนาคาร ก็ให้แจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตั้งแต่แรกเลยเพราะถ้าไม่แจ้งเขาจะไม่หักไว้ แทนที่จะเสียภาษี 15% อาจต้องจ่ายเพิ่มตามฐานภาษีเรานะครับ!!
หมายเหตุ:
ขอขอบคุณ คุณจักรพงษ์ จาก Money Coach ที่ให้คำแนะนำครับ https://www.facebook.com/MoneyCoachforT ... ed_comment
1. ถ้ามีรายได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์ (ไม่ว่าจะกี่บัญชี หรือกี่ธนาคารก็ตาม) ที่มีจำนวน
- น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- มากกว่า 20,000 บาท ต้องเสียภาษี (แต่เราเลือกได้ว่าจะให้เป็น Final Tax หรือนำไปคำนวนรวมกับรายได้อื่น)
2. หากธนาคารจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์เกิน 20,000 บาท ธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ. ที่จ่ายไว้ 15% (และธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากร)
3. ในกรณีที่เรามีบัญชีอยู่หลายบัญชีหรือหลายธนาคาร แล้วเราได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์รวมแล้วเกิน 20,000 บาท เรามีหน้าที่แจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ถ้าเราไม่แจ้งและโดนธนาคารหักภาษีไว้บ้าง ไม่หักบ้าง อาจต้องจ่ายเพิ่ม!!
จากข้อมูล http://www.sanpakornsarn.com/page_artic ... hp?aID=131 ) กล่าวว่า"ในกรณีที่เลือกนำมา รวมคำนวณกับเงินได้อื่น จะต้องนำเงินได้ดอกเบี้ยที่ได้รับในปีภาษีนั้นทั้งหมดมารวมคำนวณภาษี จะเลือกเฉพาะบางส่วนหรือบางรายการมารวมคำนวณภาษีไม่ได้"
ดังนั้นกรณีที่เราได้รับดอกเบี้ยจากหลายธนาคารหรือหลายบัญชี และหากบางบัญชีไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ (อาจเกิดจากธนาคารไม่รู้ว่าเราได้รับ ดอกเบี้ยเกิน 20,000 หรือเราอาจไม่ได้แจ้งให้ธนาคารทราบก็ตาม)...ผลที่ตามมาคือเราจะต้องนำดอกเบี้ยที่ไม่ได้ถูกหักภาษีไว้มาคำนวนเป็นรายได้...และเนื่องจากข้อกฏหมายที่กำหนดให้เราต้องนำมาทั้งจำนวน...ดังนั้นเราต้องนำดอกเบี้ยที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วมารวมกับรายได้ด้วยโดยปริยาย (ไม่สามารถคิด Final Tax ได้โดยปริยายเหมือนกัน)
กรณีนี้คล้ายๆกับเงินปันผลกองทุน ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินปันผลมารวมกับรายได้ หรือเป็น Final Tax ก็ได้...แต่ต้องทำทุกรายการ จะเลือกเฉพาะบางส่วนหรือบางรายการมารวมคำนวณภาษีไม่ได้
ดังนั้นหากมีฐานภาษีเกิน 15% ต้องวางแผนหน่อยนะครับ ถ้าคิดว่าได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 จากหลายธนาคาร ก็ให้แจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตั้งแต่แรกเลยเพราะถ้าไม่แจ้งเขาจะไม่หักไว้ แทนที่จะเสียภาษี 15% อาจต้องจ่ายเพิ่มตามฐานภาษีเรานะครับ!!
หมายเหตุ:
ขอขอบคุณ คุณจักรพงษ์ จาก Money Coach ที่ให้คำแนะนำครับ https://www.facebook.com/MoneyCoachforT ... ed_comment
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
-
- Verified User
- โพสต์: 227
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 2
ของผมเคยเกิน 20,000 ถ้ารวมกันหลายแบงค์เหมือนกันคับ..ผมเคยทักท้วงให้ธนาคารหัก ณ ที่จ่ายกรณีนี้เหมือนกันคับ แต่ในทางปฏิบัติพนักงานธนาคารไม่ยอมหัก ณ ที่จ่ายให้
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 3
กรณีของคุณ rakoilnaka คือไปแจ้งธนาคารให้หักภาษีหลังจากได้ดอกเบี้ยมาแล้วหรือเปล่าครับ ธนาคารจึงไม่ยอมหักให้?rakoilnaka เขียน:ของผมเคยเกิน 20,000 ถ้ารวมกันหลายแบงค์เหมือนกันคับ..ผมเคยทักท้วงให้ธนาคารหัก ณ ที่จ่ายกรณีนี้เหมือนกันคับ แต่ในทางปฏิบัติพนักงานธนาคารไม่ยอมหัก ณ ที่จ่ายให้
ผมเข้าใจว่าเราจะต้องแจ้งให้ธนาคารหักภาษีไว้ ก่อนที่ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้เราครับ ซึ่งธนาคารก็ไม่ควรที่จะปฏิเสธเราด้วย
ข้อมูลจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 55) ก็ระบุว่าให้เราแ้จ้งธนาคารได้ครับ
ข้อ 5 “กรณีผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามข้อ ๒ จากทุกธนาคารรวมกัน มีจำนวนทั้งสิ้นเกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดปีภาษีนั้น ให้แจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา ๕๐ (๒) และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยแต่ละแห่งได้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวมีจำนวนรวมกันทั้งสิ้นเกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดปีภาษีนั้นให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากนั้นหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา ๕๐ (๒) และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร”
(อ้างอิง http://www.rd.go.th/publish/3187.0.html)
เนื่องจากผมไม่เคยแจ้งธนาคารเหมือนกัน เพราะผมวางแผนไว้ว่าจะรับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 จึงไม่ทราบว่าในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร
แต่ผมเคยสอบ ME by TMB ผ่านทาง facebook ก็ได้รับคำตอบว่าเราสามารถแจ้งให้ธนาคารหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ครับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 4
ด้วยความหลากหลายของกองทุนรวมประเภท Money Market Fund, Bond Fund อย่างปัจจุบัน ผมไม่เห็นสาเหตุของการเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ จนได้ดอกเบี้ยถึง 20,000 บาท จากบัญชีออมทรัพย์เลยครับ
อยากทำ Asset Allocation เอาเงินไปเก็บไว้ใน MMF ดีกว่า ได้ดอกเบี้ยเยอะกว่า และเรารู้ว่ากองทุนเอาเงินไปลงทุนในอะไร ปลอดภัยกว่าเอาเงินไป"ฝาก"ธนาคารอีกครับ
อยากทำ Asset Allocation เอาเงินไปเก็บไว้ใน MMF ดีกว่า ได้ดอกเบี้ยเยอะกว่า และเรารู้ว่ากองทุนเอาเงินไปลงทุนในอะไร ปลอดภัยกว่าเอาเงินไป"ฝาก"ธนาคารอีกครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 5
ผมเคยพักเงินไว้ในกองทุนเหมือนกันครับ จนกระทั้งมีเงินฝากแบบไม่ประจำของ TMB 2.5% และล่าสุด ME by TMB 3.5% ออกมา ผมจึงเปลี่ยนออกมาพักไว้ที่บัญชีเงินฝากเหล่านี้บางช่วงเวลา ผมมีเหตุผลดังนี้ครับsimplelife เขียน:ด้วยความหลากหลายของกองทุนรวมประเภท Money Market Fund, Bond Fund อย่างปัจจุบัน ผมไม่เห็นสาเหตุของการเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ จนได้ดอกเบี้ยถึง 20,000 บาท จากบัญชีออมทรัพย์เลยครับ
อยากทำ Asset Allocation เอาเงินไปเก็บไว้ใน MMF ดีกว่า ได้ดอกเบี้ยเยอะกว่า และเรารู้ว่ากองทุนเอาเงินไปลงทุนในอะไร ปลอดภัยกว่าเอาเงินไป"ฝาก"ธนาคารอีกครับ
1. จากที่ผมดูผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนเปิด(แบบขายได้ทุกวัน) ทั้งตลาดเงินกับตราสารหนี้ในประเทศ (ดูแบบผ่านๆ) ผมคิดว่าน้อยกอง(ไม่แน่ใจว่ามีหรือเปล่า)ที่ได้ผลตอบแทน 3.5% และกองที่ผมพักประจำก็ทำได้แค่สูงสุดไม่เกิน 1.x% เท่านั้น
2. เท่าที่สังเกตดู performance trend ของกองทุนเหล่านี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ (และไม่แน่ใจว่า Top 5 จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆด้วยหรือเปล่า) และผมไม่รู้กองใดจะได้ผลตอบแทนสูงๆเป็นกองต่อไป ผมจึงเลือกแบบชัวร์ๆ 3.5% ไว้ก่อนน่ะครับ
อยากได้คำแนะนำในการเลือกกองทุนจากคุณ simplelife เหมือนกัน เพราะผมใ้ช้วิธีนี้แบบชั่วคราว สุดท้ายถ้ายังไม่ได้ซื้่อหุ้นก็ต้องโยกออกไปกองทุนเหมือนเดิม หรือถ้าหาผลตอบซัก 3% จากกองทุนไม่ได้ ก็จะพักไว้ที่บัญชีเงินฝากนี้เหมือนเดิมและยอมถูกหักภาษี 15% ซึ่งเท่ากับว่าได้ผลตอบดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.975% ครับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 6
กองทุน MMF ผลตอบแทนจะผันแปรไปตามภาวะดอกเบี้ยของตลาดครับ ส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับดอกเบี้ยระยะสั้นมากๆของพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งดูง่ายๆดูจากPathfinder เขียน:อยากได้คำแนะนำในการเลือกกองทุนจากคุณ simplelife เหมือนกัน เพราะผมใ้ช้วิธีนี้แบบชั่วคราว สุดท้ายถ้ายังไม่ได้ซื้่อหุ้นก็ต้องโยกออกไปกองทุนเหมือนเดิม หรือถ้าหาผลตอบซัก 3% จากกองทุนไม่ได้ ก็จะพักไว้ที่บัญชีเงินฝากนี้เหมือนเดิมและยอมถูกหักภาษี 15% ซึ่งเท่ากับว่าได้ผลตอบดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.975% ครับ
http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/YieldTTM.aspx
ช่วง 0.08 ปี (30 วัน) กับ 0.25 ปี (3 เดือน) ตอนนี้ดอกเบี้ยได้ประมาณ 3.02 กองทุนพวกนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องหักจาก 3.02 นี้ แต่จะสอดแทรกไปด้วยตราสารอื่นที่อาจจะความเสี่ยงสูงกว่าเล็กน้อย แต่ผลตอบแทนมากขึ้นไปอีกนิด ทำให้ปัจจุบัน yield ของกองทุนพวกนี้อยู่ใกล้เคียง 3% ทั้งนั้นครับ อาจจะ +/- นิดหน่อย
เช่นลองดู ทหารไทยธนพลัส ผลตอบแทน 3 เดือนย้อนหลังก็ประมาณ 3% ครับ
http://www.tmbam.com/v2/th/pricesPerfor ... p?accept=1
น่าจะยุ่งยากน้อยกว่าการไปฝากออมทรัพย์ เยอะจนได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 ในระดับที่ต้องจ่ายภาษีครับ ผลตอบแทนใกล้เคียงกันครับ เพราะถ้า 3.5% โดนหัก 15% ก็เหลือแค่ 2.975% ครับ แล้วยังไปเบียดเบียนส่วนของเครดิตปันผลที่อาจจะได้จากหุ้นอีก
แต่ถ้าจะ manage ให้ได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อที่จะยังไม่ถึงส่วนที่จะจ่ายภาษี บัญชีออมทรัพย์พิเศษพวกนี้ก็น่าสนใจครับ อ้อ ตอนนี้มีของ ไทยเครดิตเพื่อรายย่อยที่ได้ 3.7% นะครับ แต่ต้องฝาก 1 ปี อย่างกับฝากประจำ แต่ดันเลี่ยงมาใช้ชื่อออมทรัพย์ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ถ้าฝากประมาณ 500,000 ครับ
http://www.tcrbank.com/promotion_detail.php?proid=80
อ้อ และสำหรับยอดเงินฝากที่น้อยๆหน่อย ดอกเบี้ยต่างกัน 0.1-0.2% สมมติว่าเงินฝากซัก 100,000 บาท ดอกเบี้ยต่างกัน แค่ 100-200 บาทเองครับ เลือกฝากกับกองทุน/ธนาคารที่เดินทางสะดวกน่าจะคุ้มกว่าครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 7
จาก link ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนของกองทุนเปิดทหารไทยธนพลัสได้ 3.06% น่าสนใจครับ แต่ยังต้องถูกหักค่าธรรมเนียมอีก 0.4% ใช่ไหมครับ?simplelife เขียน: ลองดู ทหารไทยธนพลัส ผลตอบแทน 3 เดือนย้อนหลังก็ประมาณ 3% ครับ
http://www.tmbam.com/v2/th/pricesPerfor ... p?accept=1
น่าจะยุ่งยากน้อยกว่าการไปฝากออมทรัพย์ เยอะจนได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 ในระดับที่ต้องจ่ายภาษีครับ ผลตอบแทนใกล้เคียงกันครับ เพราะถ้า 3.5% โดนหัก 15% ก็เหลือแค่ 2.975% ครับ แล้วยังไปเบียดเบียนส่วนของเครดิตปันผลที่อาจจะได้จากหุ้นอีก
และที่บอกว่าไปเบียดเบียนส่วนของเครดิตปันผลที่อาจจะได้จากหุ้น นี่หมายถึงอะไรครับ?
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 8
เข้าใจว่านั่นเป็นผลตอบแทน หลังจากการหักค่าธรรมเนียมไปแล้วครับPathfinder เขียน:จาก link ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนของกองทุนเปิดทหารไทยธนพลัสได้ 3.06% น่าสนใจครับ แต่ยังต้องถูกหักค่าธรรมเนียมอีก 0.4% ใช่ไหมครับ?
สมมติว่า ปันผลรวมเครดิตปันผลแล้ว 150,000 บาท เป็นรายได้ไม่เสียภาษีเลยซักบาท แต่ถ้ามีดอกเบี้ยอีกซัก 30,000 บาท กลายเป็น 180,000 ต้องเสียภาษี 3,000 บาทแทน ถ้าปล่อยให้หัก 15% ไปแบบไม่เอาคืนเท่ากับเสียภาษี 4,500 บาทPathfinder เขียน: และที่บอกว่าไปเบียดเบียนส่วนของเครดิตปันผลที่อาจจะได้จากหุ้น นี่หมายถึงอะไรครับ?
ถ้้าทำแบบนี้ สู้ฝากออมทรัพย์ให้ไม่ได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 แล้วที่เหลือไปซื้อกองทุนรวมเลยดีกว่า ใช่ไหมครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 9
ถ้าได้เท่านี้ก็ดีเลยครับ หลังจากออกจากดอกเบี้ย 3.5% แล้วเหมาะที่จะย้ายเข้าไปsimplelife เขียน: เข้าใจว่านั่นเป็นผลตอบแทน หลังจากการหักค่าธรรมเนียมไปแล้วครับ
อ้อเข้าใจล่ะครับ...option ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนจะต่างกันไป ถ้าฐานภาษีสูงกว่า 15% เช่นทำงานประจำด้วย การปล่อยให้เป็น final tax จะคุ้มกว่าsimplelife เขียน: สมมติว่า ปันผลรวมเครดิตปันผลแล้ว 150,000 บาท เป็นรายได้ไม่เสียภาษีเลยซักบาท แต่ถ้ามีดอกเบี้ยอีกซัก 30,000 บาท กลายเป็น 180,000 ต้องเสียภาษี 3,000 บาทแทน ถ้าปล่อยให้หัก 15% ไปแบบไม่เอาคืนเท่ากับเสียภาษี 4,500 บาท
ใช่ครับ อย่างน้อยวิธีนี้จะได้ส่วนต่างจากดอกเบี้ยเพิ่มมาอีกหน่อยsimplelife เขียน: ถ้้าทำแบบนี้ สู้ฝากออมทรัพย์ให้ไม่ได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 แล้วที่เหลือไปซื้อกองทุนรวมเลยดีกว่า ใช่ไหมครับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
-
- Verified User
- โพสต์: 227
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 10
ถึงดอกเบี้ยออมทรัพย์รวมกันไม่เกิน 20,000 บาทเช่น 19,999 บาท แต่ถ้าเรามีดอกเบี้ยเงินฝากประจำหรือดอกเบี้ยพันธบัตรอื่นอีก อย่างงี้เราต้องขอให้ธนาคารหัก ณ ที่จ่ายป่าวคับ
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 11
คิดเฉพาะประเภทดอกเบี้ยออมทรัพย์ ไม่นำประเภทอื่นมารวมครับ (อ้างอิง http://www.rd.go.th/publish/3187.0.html )rakoilnaka เขียน:ถึงดอกเบี้ยออมทรัพย์รวมกันไม่เกิน 20,000 บาทเช่น 19,999 บาท แต่ถ้าเรามีดอกเบี้ยเงินฝากประจำหรือดอกเบี้ยพันธบัตรอื่นอีก อย่างงี้เราต้องขอให้ธนาคารหัก ณ ที่จ่ายป่าวคับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- Goldenpig
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พักเงินในออมทรัพย์ ระวังเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย!
โพสต์ที่ 12
ผมเพิ่งคุยกับธนาคาร
ดอกเบี้ยปีนี้ยังไม่ออก ผมก็คิดว่าน่าจะทำเรื่องให้เขาหัก ณ ที่จ่ายไปเลย
ไม่อยากเอามาคิดภาษี เพราะ ผมมีบัญชีหลายธนาคาร หลายบัญชี
คำตอบ คือ ปัจจุบันไม่สามารถทำได้
ดอกเบี้ยปีนี้ยังไม่ออก ผมก็คิดว่าน่าจะทำเรื่องให้เขาหัก ณ ที่จ่ายไปเลย
ไม่อยากเอามาคิดภาษี เพราะ ผมมีบัญชีหลายธนาคาร หลายบัญชี
คำตอบ คือ ปัจจุบันไม่สามารถทำได้