วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 18 กุมภาพันธ์ 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จอร์จ โซรอส เคย “โจมตี” ค่าเงินบาทและมีส่วนทำให้ประเทศไทยตกเข้าสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 นอกจากเมืองไทยแล้ว โซรอส ยังมีประวัติในการ “โจมตี” ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและประเทศอื่น ๆ อีกหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา เป็นประเทศที่อ่อนแอและน่าจะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากคนที่แข็งแรงมากกว่า ดังนั้น ในสายตาของคนจำนวนไม่น้อย โซรอส คือ “ซาตาน” แต่ในอีกด้านหนึ่ง โซรอสกลับทำตัวเป็น “นักบุญ” เขาบริจาคเงินจำนวนมากช่วยเหลือประเทศและคนที่ด้อยกว่าทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเคยบริจาคเงินให้กับคนในประเทศที่มีสังคม “ปิด” ในยุโรปตะวันออกเพื่อช่วยให้คนเหล่านั้นต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นสังคม “เปิด” ซึ่งจะทำให้ประเทศก้าวหน้าและมีชีวิตที่ดีขึ้น บุคลิกที่ขัดแย้งกันในตัวของโซรอสนั้น ผมคิดว่าเราน่าจะอธิบายได้บ้างจากแนวความคิดที่นักวิชาการเรียกว่าเป็นเรื่องของ “วัฒนธรรมเภท”
วัฒนธรรมเภทนั้น ความหมายคร่าว ๆ ก็คือ เป็นอาการของคนที่มีบุคลิกสองด้านที่ขัดแย้งกัน ด้านหนึ่งนั้นเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปโดยปกติวิสัยตามสามัญสำนึกของตนเอง แต่อีกด้านหนึ่งนั้น เป็นคุณค่าหรือเป็นแก่นสารที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของตนที่อยากจะเป็น เขาคิดว่า ทั้งสองสิ่งนี้แยกออกจากกันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นกันมากมายก็คือเรื่องของวัฒนธรรมของคนไทยในปัจจุบันที่คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะที่เป็นดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก “โหยหา” และพยายามแสดงออกถึงความเป็น “ไทย” แต่ในชีวิตปกติประจำวันนั้น พวกเขาอยู่ในโลกของ “โลกาภิวัตร” ความเป็นไทยสำหรับพวกเขานั้น ดูเหมือนจะเป็น “สัญลักษณ์” ที่ถูก “แช่แข็ง” ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ “ในใจ” เช่น ถ้าเป็นหญิงก็จะต้องสงบเสงี่ยมเรียบร้อยเป็นแม่บ้านแม่เรือน การแต่งกายก็ต้องเป็นชุดไทยภาคกลางยุครัตนโกสินทร์เป็นต้น
ลองมาดูตัวอย่างของวัฒนธรรมเภทของดาราที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ เช่น ดาราหญิงดังและบางคนก็ออกแนว “เซ็กซี่” ด้วย ในภาพที่เห็นทุกวันนั้น เธอมักมีข่าวคราวที่เป็นเรื่องของความ “ฟู่ฟ่า” เฉกเช่นเดียวกับดาราระดับ “อินเตอร์” ทั้งหลาย เช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง เดินทางต่างประเทศบ่อย ๆ ใช้บริการและซื้อสินค้าที่มีราคาสูงมาก บางครั้งก็มีข่าว “คาว ๆ” แต่ในอีกด้านหนึ่งก็บอกว่าตนเองนั้นชอบศึกษาธรรมะและเข้าวัดบ่อย บางคนก็ “นุ่งขาวห่มขาว” ทำสมาธิอยู่ที่วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราว บางคนก็บอกว่าตัวเองนั้นรักและชอบวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็น “ไทย” อยู่มาก (เวลาอยู่ที่บ้านหรือไม่ได้ทำงาน)
คนร่ำรวยและมีชื่อเสียง บางคนอาจจะเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ ก็มีวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน ในชีวิตประจำวันเขาอาจจะใช้ชีวิตที่ “หวือหวาวุ่นวายและมีระดับ” เขาอาจจะขับรถสปอร์ตเฟอร์รารี่และขับเร็วอย่างร้ายกาจ เขาอาจจะใช้ชีวิตที่วุ่นวายกับงานธุรกิจมากมายในฐานะนักบริหารที่ทันสมัยและเป็น “อินเตอร์” มาก ๆ แต่ในด้านของชีวิตอีกด้านหนึ่ง เขาอาจจะชอบสิ่งที่เป็นไทย ๆ เป็นของยุคเก่า บางทีเขาก็จะแต่งตัวเป็นไทยหรือเป็นแบบของสังคมเก่าของต่างประเทศหรืออาจจะออกแนวนักพรต เขาอาจจะพูดถึงการใช้ชีวิตที่ “พอเพียง” และไม่ติดยึดในวัตถุสิ่งของ เขาไม่อยากให้คนมองว่าเขาเป็นคนโลภที่เห็นแก่เงิน เขาอยากให้คนเห็นว่าเขาเป็นคนที่สมถะและมองคุณค่าทางด้านของจิตวิญญาณมากกว่าสิ่งอื่นใด
ในแวดวงของนักลงทุนเองนั้น แน่นอน ก็ต้องมีเรื่องของวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน การเป็นนักลงทุนนั้น ถ้าพูดกันไปแล้วก็เป็นอาชีพที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยมองว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ความโลภ” เป็นอันดับต้น ๆ เพราะภาพโดยทั่วไปก็คือ เป็นธุรกิจหรือกิจกรรมที่ได้เงินมาง่าย เร็ว และมากจนบางครั้ง “ไม่น่าเชื่อ” คนที่เข้ามาในยุทธจักรของการลงทุนนั้น ต้องพร้อมที่จะ “กิน” คนอื่นเสมอ มันไม่มีภาพของการ “ทำงานหนัก” อย่างคนกินเงินเดือนหรือนักธุรกิจที่ต้องทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้กับสิ่งที่ทำและได้ผลตอบแทนมาอย่างเหมาะสม ชีวิตของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไรก็เป็นอย่างนั้น พวกเขาอยู่กับความโลภ ชีวิตประจำวันก็เกี่ยวข้องอยู่กับกิเลส ความอยากได้และความร่ำรวย
นักลงทุนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงบางคนก็เช่นเดียวกับคนที่ประสบความสำเร็จในวงการอื่น เขาไม่อยากจะถูกมองว่าเป็นคนโลภ อยู่ในโลกที่ฟุ้งเฟ้อและอะไรอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เขาอยากจะมีอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่มีความโลภอยากได้ใคร่ดี โลกของคนที่อยู่ในศีลธรรมมีธรรมะประจำใจ มีชีวิตที่พอเพียง เขาอาจจะพูดถึงเรื่องการทำสมาธิเพื่อให้ใจสงบแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นที่ร้อนแรงและมีการซื้อขายที่รวดเร็ว เขาอาจจะพูดถึงความสมถะไม่โลภแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นแบบ “ทุ่มตัวเดียว” และใช้มาร์จินเต็มวงเงิน เขาอาจจะใช้เงินทองซื้อหาสิ่งของเท่า ๆ กับคนรวยที่มีฐานะเท่าเทียมกันแต่ก็อาจจะมีบางด้านที่ทำตัว “แบกับดิน”
ในความรู้สึกของผม วัฒนธรรมเภทนั้นคงเกิดขึ้นจากความต้องการของคนที่จะมีเอกลักษณ์และต้องการตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่น ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องหรือเป็นที่ “น่าทึ่ง” สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น เราพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงแต่เป็นสิ่งที่อาจจะอยู่ใน “จินตนาการ” และเป็นสิ่งที่คนยอมรับมากกว่าชีวิตที่เป็นจริงของเรา
ในฐานะของ Value Investor การรู้เรื่องของวัฒนธรรมเภทนั้น น่าจะมีประโยชน์อย่างน้อยในแง่ที่ว่ามันช่วยให้เราได้รู้จักโลกหรือคนมากขึ้นว่า คนเรานั้น บางทีก็มีสองบุคลิก สิ่งที่เราได้เห็นได้ยินได้ฟังจากปากของคนอาจจะไม่ใช่ของจริง เขาอาจจะบอกในสิ่งที่ทำให้เขาดูดีแต่ไม่ใช่สิ่งที่เขาทำจริง กลยุทธ์และเท็คนิกที่เขาใช้ลงทุนที่ออกมาจากปากของเขาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาปฏิบัติจริง ๆ เช่นเดียวกัน ชีวิตและความคิดของเขาก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น แต่คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคน ๆ หนึ่งนั้นมีตัวตนที่แท้จริงอย่างไร เราควรจะเชื่ออะไร คำตอบของผมก็คือ ถ้าจะดูบุคลิกที่เป็นจริงของใคร การดูในช่วงวัยเด็กหรือดูพื้นฐานทางสังคมที่เขาผ่านมาในวัยเด็กน่าจะเป็นตัวบอกที่ดีที่สุด จริงอยู่ คนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่นั่นเป็นข้อยกเว้น เราจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนจริง ๆ แต่ถ้าเราไม่รู้จักเขาในวัยเด็ก และไม่รู้จักพื้นเพของเขาเลย การที่จะรู้จักเขาได้ถูกต้องจริง ๆ น่าจะดูจากการกระทำมากกว่าที่มาจากคำพูดถ้าสองสิ่งนั้นไม่ตรงกัน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จอร์จ โซรอส เคย “โจมตี” ค่าเงินบาทและมีส่วนทำให้ประเทศไทยตกเข้าสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 นอกจากเมืองไทยแล้ว โซรอส ยังมีประวัติในการ “โจมตี” ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและประเทศอื่น ๆ อีกหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา เป็นประเทศที่อ่อนแอและน่าจะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากคนที่แข็งแรงมากกว่า ดังนั้น ในสายตาของคนจำนวนไม่น้อย โซรอส คือ “ซาตาน” แต่ในอีกด้านหนึ่ง โซรอสกลับทำตัวเป็น “นักบุญ” เขาบริจาคเงินจำนวนมากช่วยเหลือประเทศและคนที่ด้อยกว่าทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเคยบริจาคเงินให้กับคนในประเทศที่มีสังคม “ปิด” ในยุโรปตะวันออกเพื่อช่วยให้คนเหล่านั้นต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นสังคม “เปิด” ซึ่งจะทำให้ประเทศก้าวหน้าและมีชีวิตที่ดีขึ้น บุคลิกที่ขัดแย้งกันในตัวของโซรอสนั้น ผมคิดว่าเราน่าจะอธิบายได้บ้างจากแนวความคิดที่นักวิชาการเรียกว่าเป็นเรื่องของ “วัฒนธรรมเภท”
วัฒนธรรมเภทนั้น ความหมายคร่าว ๆ ก็คือ เป็นอาการของคนที่มีบุคลิกสองด้านที่ขัดแย้งกัน ด้านหนึ่งนั้นเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปโดยปกติวิสัยตามสามัญสำนึกของตนเอง แต่อีกด้านหนึ่งนั้น เป็นคุณค่าหรือเป็นแก่นสารที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของตนที่อยากจะเป็น เขาคิดว่า ทั้งสองสิ่งนี้แยกออกจากกันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นกันมากมายก็คือเรื่องของวัฒนธรรมของคนไทยในปัจจุบันที่คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะที่เป็นดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก “โหยหา” และพยายามแสดงออกถึงความเป็น “ไทย” แต่ในชีวิตปกติประจำวันนั้น พวกเขาอยู่ในโลกของ “โลกาภิวัตร” ความเป็นไทยสำหรับพวกเขานั้น ดูเหมือนจะเป็น “สัญลักษณ์” ที่ถูก “แช่แข็ง” ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ “ในใจ” เช่น ถ้าเป็นหญิงก็จะต้องสงบเสงี่ยมเรียบร้อยเป็นแม่บ้านแม่เรือน การแต่งกายก็ต้องเป็นชุดไทยภาคกลางยุครัตนโกสินทร์เป็นต้น
ลองมาดูตัวอย่างของวัฒนธรรมเภทของดาราที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ เช่น ดาราหญิงดังและบางคนก็ออกแนว “เซ็กซี่” ด้วย ในภาพที่เห็นทุกวันนั้น เธอมักมีข่าวคราวที่เป็นเรื่องของความ “ฟู่ฟ่า” เฉกเช่นเดียวกับดาราระดับ “อินเตอร์” ทั้งหลาย เช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง เดินทางต่างประเทศบ่อย ๆ ใช้บริการและซื้อสินค้าที่มีราคาสูงมาก บางครั้งก็มีข่าว “คาว ๆ” แต่ในอีกด้านหนึ่งก็บอกว่าตนเองนั้นชอบศึกษาธรรมะและเข้าวัดบ่อย บางคนก็ “นุ่งขาวห่มขาว” ทำสมาธิอยู่ที่วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราว บางคนก็บอกว่าตัวเองนั้นรักและชอบวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็น “ไทย” อยู่มาก (เวลาอยู่ที่บ้านหรือไม่ได้ทำงาน)
คนร่ำรวยและมีชื่อเสียง บางคนอาจจะเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ ก็มีวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน ในชีวิตประจำวันเขาอาจจะใช้ชีวิตที่ “หวือหวาวุ่นวายและมีระดับ” เขาอาจจะขับรถสปอร์ตเฟอร์รารี่และขับเร็วอย่างร้ายกาจ เขาอาจจะใช้ชีวิตที่วุ่นวายกับงานธุรกิจมากมายในฐานะนักบริหารที่ทันสมัยและเป็น “อินเตอร์” มาก ๆ แต่ในด้านของชีวิตอีกด้านหนึ่ง เขาอาจจะชอบสิ่งที่เป็นไทย ๆ เป็นของยุคเก่า บางทีเขาก็จะแต่งตัวเป็นไทยหรือเป็นแบบของสังคมเก่าของต่างประเทศหรืออาจจะออกแนวนักพรต เขาอาจจะพูดถึงการใช้ชีวิตที่ “พอเพียง” และไม่ติดยึดในวัตถุสิ่งของ เขาไม่อยากให้คนมองว่าเขาเป็นคนโลภที่เห็นแก่เงิน เขาอยากให้คนเห็นว่าเขาเป็นคนที่สมถะและมองคุณค่าทางด้านของจิตวิญญาณมากกว่าสิ่งอื่นใด
ในแวดวงของนักลงทุนเองนั้น แน่นอน ก็ต้องมีเรื่องของวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน การเป็นนักลงทุนนั้น ถ้าพูดกันไปแล้วก็เป็นอาชีพที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยมองว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ความโลภ” เป็นอันดับต้น ๆ เพราะภาพโดยทั่วไปก็คือ เป็นธุรกิจหรือกิจกรรมที่ได้เงินมาง่าย เร็ว และมากจนบางครั้ง “ไม่น่าเชื่อ” คนที่เข้ามาในยุทธจักรของการลงทุนนั้น ต้องพร้อมที่จะ “กิน” คนอื่นเสมอ มันไม่มีภาพของการ “ทำงานหนัก” อย่างคนกินเงินเดือนหรือนักธุรกิจที่ต้องทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้กับสิ่งที่ทำและได้ผลตอบแทนมาอย่างเหมาะสม ชีวิตของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไรก็เป็นอย่างนั้น พวกเขาอยู่กับความโลภ ชีวิตประจำวันก็เกี่ยวข้องอยู่กับกิเลส ความอยากได้และความร่ำรวย
นักลงทุนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงบางคนก็เช่นเดียวกับคนที่ประสบความสำเร็จในวงการอื่น เขาไม่อยากจะถูกมองว่าเป็นคนโลภ อยู่ในโลกที่ฟุ้งเฟ้อและอะไรอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เขาอยากจะมีอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่มีความโลภอยากได้ใคร่ดี โลกของคนที่อยู่ในศีลธรรมมีธรรมะประจำใจ มีชีวิตที่พอเพียง เขาอาจจะพูดถึงเรื่องการทำสมาธิเพื่อให้ใจสงบแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นที่ร้อนแรงและมีการซื้อขายที่รวดเร็ว เขาอาจจะพูดถึงความสมถะไม่โลภแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นแบบ “ทุ่มตัวเดียว” และใช้มาร์จินเต็มวงเงิน เขาอาจจะใช้เงินทองซื้อหาสิ่งของเท่า ๆ กับคนรวยที่มีฐานะเท่าเทียมกันแต่ก็อาจจะมีบางด้านที่ทำตัว “แบกับดิน”
ในความรู้สึกของผม วัฒนธรรมเภทนั้นคงเกิดขึ้นจากความต้องการของคนที่จะมีเอกลักษณ์และต้องการตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่น ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องหรือเป็นที่ “น่าทึ่ง” สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น เราพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงแต่เป็นสิ่งที่อาจจะอยู่ใน “จินตนาการ” และเป็นสิ่งที่คนยอมรับมากกว่าชีวิตที่เป็นจริงของเรา
ในฐานะของ Value Investor การรู้เรื่องของวัฒนธรรมเภทนั้น น่าจะมีประโยชน์อย่างน้อยในแง่ที่ว่ามันช่วยให้เราได้รู้จักโลกหรือคนมากขึ้นว่า คนเรานั้น บางทีก็มีสองบุคลิก สิ่งที่เราได้เห็นได้ยินได้ฟังจากปากของคนอาจจะไม่ใช่ของจริง เขาอาจจะบอกในสิ่งที่ทำให้เขาดูดีแต่ไม่ใช่สิ่งที่เขาทำจริง กลยุทธ์และเท็คนิกที่เขาใช้ลงทุนที่ออกมาจากปากของเขาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาปฏิบัติจริง ๆ เช่นเดียวกัน ชีวิตและความคิดของเขาก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น แต่คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคน ๆ หนึ่งนั้นมีตัวตนที่แท้จริงอย่างไร เราควรจะเชื่ออะไร คำตอบของผมก็คือ ถ้าจะดูบุคลิกที่เป็นจริงของใคร การดูในช่วงวัยเด็กหรือดูพื้นฐานทางสังคมที่เขาผ่านมาในวัยเด็กน่าจะเป็นตัวบอกที่ดีที่สุด จริงอยู่ คนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่นั่นเป็นข้อยกเว้น เราจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนจริง ๆ แต่ถ้าเราไม่รู้จักเขาในวัยเด็ก และไม่รู้จักพื้นเพของเขาเลย การที่จะรู้จักเขาได้ถูกต้องจริง ๆ น่าจะดูจากการกระทำมากกว่าที่มาจากคำพูดถ้าสองสิ่งนั้นไม่ตรงกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ชอบมากที่สุดเท่าที่อ่านมา
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 206
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณ ดร.นิเวศน์มากครับ สำหรับผมแล้วเป็นบทความที่โดนใจมากๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ อาจารย์ให้ระวังคนปากหวานก้นเปรี้ยวหรือครับ
แต่ไม่ค่อยเก็ต ยังไม่รู้เลยว่าใคร เพราะส่วนตัว ผมคิดว่ามีแต่เพื่อนดีๆเยอะ แต่ก็ขอบคุณครับที่เตือน
ปล.รู้สึกอาจารย์จะหนักหน่วงบ่อยครับ ช่วงนี้ แต่ก็ดี จะได้รอบคอบกัน
แต่ไม่ค่อยเก็ต ยังไม่รู้เลยว่าใคร เพราะส่วนตัว ผมคิดว่ามีแต่เพื่อนดีๆเยอะ แต่ก็ขอบคุณครับที่เตือน
ปล.รู้สึกอาจารย์จะหนักหน่วงบ่อยครับ ช่วงนี้ แต่ก็ดี จะได้รอบคอบกัน
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ชอบมาก ครับ
และน่าจะเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่จะรู้ แต่เลือกรับในสิ่งตัวเองต้องการ ทำเป็นไม่เห็น(ไม่รับรู้)ในด้านที่ตัวเองไม่ชอบมากกว่า
ขอบคุณ ท่านดร.มาก ครับ
(หรือท่านดร.มาอ่านอะไรในนี้ แล้วดลใจให้เขียนหรือเปล่า หวังว่าจะไม่มี มาม่า มาแจกเร็วนี้ นะ ครับ)
และน่าจะเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่จะรู้ แต่เลือกรับในสิ่งตัวเองต้องการ ทำเป็นไม่เห็น(ไม่รับรู้)ในด้านที่ตัวเองไม่ชอบมากกว่า
ขอบคุณ ท่านดร.มาก ครับ
(หรือท่านดร.มาอ่านอะไรในนี้ แล้วดลใจให้เขียนหรือเปล่า หวังว่าจะไม่มี มาม่า มาแจกเร็วนี้ นะ ครับ)
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1242
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วยกับ ดร. มาก ๆ โดยเฉพาะที่บอกว่า อยู่รู้จักคนต้องดูจากการกระทำ มากกว่าสิ่งที่เขาพูด
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
navapon เขียน:ขอบคุณครับ อาจารย์ให้ระวังคนปากหวานก้นเปรี้ยวหรือครับ
แต่ไม่ค่อยเก็ต ยังไม่รู้เลยว่าใคร เพราะส่วนตัว ผมคิดว่ามีแต่เพื่อนดีๆเยอะ แต่ก็ขอบคุณครับที่เตือน
ปล.รู้สึกอาจารย์จะหนักหน่วงบ่อยครับ ช่วงนี้ แต่ก็ดี จะได้รอบคอบกัน
ไม่ต้องไปรู้หรอกครับว่าใครเป็นแบบนั้น อ.คงอยากเตือนว่า "อย่ามองใครว่าดีแค่เพียงภายนอกจากสถานะทางสังคมหรือการกระทำที่ดูดีบางอย่าง" เพราะเราไม่เคยรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเค้า โดยเฉพาะในโลก "ออนไลน์" ที่ซึ่งเราจะสร้างให้ตัวเองดีเลวยังไงก็ได้ครับnavapon เขียน:ขอบคุณครับ อาจารย์ให้ระวังคนปากหวานก้นเปรี้ยวหรือครับ
แต่ไม่ค่อยเก็ต ยังไม่รู้เลยว่าใคร เพราะส่วนตัว ผมคิดว่ามีแต่เพื่อนดีๆเยอะ แต่ก็ขอบคุณครับที่เตือน
ปล.รู้สึกอาจารย์จะหนักหน่วงบ่อยครับ ช่วงนี้ แต่ก็ดี จะได้รอบคอบกัน
ในแวดวงของนักลงทุนเองนั้น แน่นอน ก็ต้องมีเรื่องของวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน การเป็นนักลงทุนนั้น ถ้าพูดกันไปแล้วก็เป็นอาชีพที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยมองว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ความโลภ” เป็นอันดับต้น ๆ เพราะภาพโดยทั่วไปก็คือ เป็นธุรกิจหรือกิจกรรมที่ได้เงินมาง่าย เร็ว และมากจนบางครั้ง “ไม่น่าเชื่อ” คนที่เข้ามาในยุทธจักรของการลงทุนนั้น ต้องพร้อมที่จะ “กิน” คนอื่นเสมอ มันไม่มีภาพของการ “ทำงานหนัก” อย่างคนกินเงินเดือนหรือนักธุรกิจที่ต้องทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้กับสิ่งที่ทำและได้ผลตอบแทนมาอย่างเหมาะสม ชีวิตของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไรก็เป็นอย่างนั้น พวกเขาอยู่กับความโลภ ชีวิตประจำวันก็เกี่ยวข้องอยู่กับกิเลส ความอยากได้และความร่ำรวย
นักลงทุนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงบางคนก็เช่นเดียวกับคนที่ประสบความสำเร็จในวงการอื่น เขาไม่อยากจะถูกมองว่าเป็นคนโลภ อยู่ในโลกที่ฟุ้งเฟ้อและอะไรอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เขาอยากจะมีอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่มีความโลภอยากได้ใคร่ดี โลกของคนที่อยู่ในศีลธรรมมีธรรมะประจำใจ มีชีวิตที่พอเพียง เขาอาจจะพูดถึงเรื่องการทำสมาธิเพื่อให้ใจสงบแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นที่ร้อนแรงและมีการซื้อขายที่รวดเร็ว เขาอาจจะพูดถึงความสมถะไม่โลภแต่ในชีวิตจริงนั้นเขายังเล่นหุ้นแบบ “ทุ่มตัวเดียว” และใช้มาร์จินเต็มวงเงิน เขาอาจจะใช้เงินทองซื้อหาสิ่งของเท่า ๆ กับคนรวยที่มีฐานะเท่าเทียมกันแต่ก็อาจจะมีบางด้านที่ทำตัว “แบกับดิน”
ในความรู้สึกของผม วัฒนธรรมเภทนั้นคงเกิดขึ้นจากความต้องการของคนที่จะมีเอกลักษณ์และต้องการตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่น ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องหรือเป็นที่ “น่าทึ่ง” สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น เราพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงแต่เป็นสิ่งที่อาจจะอยู่ใน “จินตนาการ” และเป็นสิ่งที่คนยอมรับมากกว่าชีวิตที่เป็นจริงของเรา
อ่านประโยคข้างบนครับ ผมว่ามันชัดเจนครับ เรื่องของ "ผลประโยชน์" อย่ามองโลกในแง่ดีเกินไปว่าใครจะหยิบยื่นอะไรมาให้โดยเค้าจะไม่ได้หวังอะไรครับ ไม่อยากให้มองโลกในแง่ร้ายนะครับ แต่ต้องรู้จักระวังป้องกันตัวเองด้วยครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
บทความนี้เหนือชั้นมากครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
Wow.... this is one of the best. One of the most important skills in ilfe is an ability to read people......
In search of super stocks
- warrant_buffer
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณมากครับ
Good investing habits lead to Great return opportunities
- lengmanutd
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
"ในความรู้สึกของผม วัฒนธรรมเภทนั้นคงเกิดขึ้นจากความต้องการของคนที่จะมีเอกลักษณ์และต้องการตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่น ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องหรือเป็นที่ “น่าทึ่ง” สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น เราพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงแต่เป็นสิ่งที่อาจจะอยู่ใน “จินตนาการ” และเป็นสิ่งที่คนยอมรับมากกว่าชีวิตที่เป็นจริงของเรา"
ชอบครับ อ่านแล้วเห็นภาพเลยครับ ทำให้รู้สึกว่ามีอยู่จริงๆ
ขอบคุณครับอ.
ชอบครับ อ่านแล้วเห็นภาพเลยครับ ทำให้รู้สึกว่ามีอยู่จริงๆ
ขอบคุณครับอ.
ลงทุนในบริษัทที่ดี ราคาหุ้นมี MOS (Downside = Limited) และแนวโน้มกำไรมี Growth (Upside = Infinity)
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
เรื่องนี้ผมอยากออก "ความเห็น"
สรุปเป็นภาษาชาวบ้านเชิง common social perception ใช้สองคำ
สร้างภาพ
สรุปภาษา psychology
...............คงยาวน่าดู แต่ผมจะพยายามสรุปสั้นๆให้.......... perception ของ subject ต่อ object นั้นยังไงก็มีความ
'subjective' สูง นี้ยังไม่รวมมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวอีกในเชิงของการเปลี่ยนแปลงของ state of object, ดังนั้นถ้าเราถอยออกมาสักก้าวจาก core ของบทความ , universe ของ การ "judge" ใครสักคนนั้น ค่อนข้างถูก govern ด้วย perception และ time สูงมาก ท้ายสุดจุดยืนคือ value ของ subject พยายามสะท้อน value ของ object... เป็น endless loop เลยครับ
มีคนพูดไว้ว่า when you judge someone, you dont define them, you define yourself
แต่ท้ายสุดก็แล้วแต่ว่าคนหนึ่งคนจะหยิบอะไรมาใส่สมองตัวเอง ส่วนตัวผมว่าถ้าจะกินขนมเข่งด้วยมือกินยังไงมือก็เลอะ ใช้ส้อมกินดีกว่าครับ
สรุปเป็นภาษาชาวบ้านเชิง common social perception ใช้สองคำ
สร้างภาพ
สรุปภาษา psychology
...............คงยาวน่าดู แต่ผมจะพยายามสรุปสั้นๆให้.......... perception ของ subject ต่อ object นั้นยังไงก็มีความ
'subjective' สูง นี้ยังไม่รวมมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวอีกในเชิงของการเปลี่ยนแปลงของ state of object, ดังนั้นถ้าเราถอยออกมาสักก้าวจาก core ของบทความ , universe ของ การ "judge" ใครสักคนนั้น ค่อนข้างถูก govern ด้วย perception และ time สูงมาก ท้ายสุดจุดยืนคือ value ของ subject พยายามสะท้อน value ของ object... เป็น endless loop เลยครับ
มีคนพูดไว้ว่า when you judge someone, you dont define them, you define yourself
แต่ท้ายสุดก็แล้วแต่ว่าคนหนึ่งคนจะหยิบอะไรมาใส่สมองตัวเอง ส่วนตัวผมว่าถ้าจะกินขนมเข่งด้วยมือกินยังไงมือก็เลอะ ใช้ส้อมกินดีกว่าครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
อย่าไปแตะที่แห่งนั้นเลยครับ คุณ appendix 5555+ อ่านไปจับใจความด้าน principle เป็นอันพอ เรื่อง subject กับ object ผมเขียนแบบ indirect พอครับappendix เขียน:ผมว่าผมรู้ว่า ใคร เป็นแรงบันดาลใจของบทความนี้ จัดหนักครับงวดนี้
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
การ์ตูนเรื่อง Vagabond เคยมีตอนนึงครับ มุซาชิพูดว่าmultipleceilings เขียน: มีคนพูดไว้ว่า when you judge someone, you dont define them, you define yourself
"ตัวตนของข้า ในหัวของเอ็ง จะแสดงตัวตนที่แท้จริงของเอ็งออกมา"
อารมณ์เดียวกันเป๊ะ
บทความนี้เจ๋งมากครับ
แต่ถ้าเค้าทำตัว 2 ด้านอย่างนั้นจริงๆ บางทีเราก็ไม่มีทางรู้เลยว่าแบบไหนก้นแน่ที่เค้าสร้างเป็นภาพขึ้นมา
แบบไหนกันแน่ที่เป็นตัวตนของเค้า หรือมันเป็นตัวตนของเค้าทั้ง 2 แบบ
ถ้าขาดทักษะด้านการสังเกต ขาดทักษะความเข้าใจพื้นฐานเรื่องของมนุษย์
การจะมองคนให้ออก เป็นเรื่องยากมากจริงๆ ครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10548
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
สำหรับผมบทความนี้ เป็นเหมือนที่ผมเห็น คนทั่วไปในสังคม ที่เจอรอบตัวในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
โดยส่วนตัว ผมก็เจอคนที่เป็นอย่างนี้อยู่เป็นเนืองๆ
แต่ที่ผมชอบมากที่สุดคือ comment ของเพื่อนๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดแต่ละท่านที่แตกต่างกันไปภายในมากกว่า
อย่างไรก็แล้วแต่ บทความนี้ทำให้รู้ว่า " ในใจผมคิดยังไง "
ส่วนตัวผมอยากให้เราย้อนกลับมามองที่ตัวของเราเองมากกว่าครับ
ผมก็จะเอาสิ่งที่ซ่อนในบทความนี้ย้อนกลับไปพิจารณาที่ตัวเองครับ
โดยส่วนตัว ผมก็เจอคนที่เป็นอย่างนี้อยู่เป็นเนืองๆ
แต่ที่ผมชอบมากที่สุดคือ comment ของเพื่อนๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดแต่ละท่านที่แตกต่างกันไปภายในมากกว่า
อย่างไรก็แล้วแต่ บทความนี้ทำให้รู้ว่า " ในใจผมคิดยังไง "
ส่วนตัวผมอยากให้เราย้อนกลับมามองที่ตัวของเราเองมากกว่าครับ
ผมก็จะเอาสิ่งที่ซ่อนในบทความนี้ย้อนกลับไปพิจารณาที่ตัวเองครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
นี่ไม่ใช่ครั้งแรก
ก่อนหน้าสิ้นปี ดร. ก็ให้สัมภาณ์กรุงเทพธุรกิจ แต่เป็นประโยคสั้นๆ แต่ในแง่เดียว
ก่อนหน้าสิ้นปี ดร. ก็ให้สัมภาณ์กรุงเทพธุรกิจ แต่เป็นประโยคสั้นๆ แต่ในแง่เดียว
http://bit.ly/w4IMzg
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 20 ธันวาคม 2554 01:00
ตลาดหุ้นอืด!...แต่เซียน 'รวย' 'เซียนรายใหญ่' กำไรถ้วนหน้า!!!
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักลงทุนรายใหญ่ลงทุนปี 2554 'ยิ้มหน้าบาน' โกยกำไรตามเป้าหมาย สวนทางดัชนี 'ต้นปี-ปลายปี' ปิด 'เท่าทุน' เซียนต้นตำรับ 'ดร.นิเวศน์' หอบกำไร 30%
ตลาดหุ้นปีกระต่าย (2554) ต้นปีกับปลายปีดัชนีใกล้เคียงกันมาก SET Index ปิดสิ้นปี 2553 ที่ระดับ 1,032 จุด ระหว่างปีขึ้นไปสูงสุด 1,148 จุด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 และลงไปต่ำสุดที่ระดับ 843 จุด เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ล่าสุดดัชนีเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 1,030 จุด เท่ากับว่าเล่นหุ้นปีนี้ "เสมอตัว" ไม่ให้ผลตอบแทนนักลงทุน แต่เมื่อสอบถามนักลงทุนรายใหญ่ระดับแนวหน้า ต่างพากัน "โกยกำไร" เข้ากระเป๋าไม่น้อย
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร แวลูอินเวสเตอร์ระดับตำนานของเมืองไทย เล่าให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังด้วยน้ำเสียงสดใสว่า สมเป็นปี "กระต่ายทอง" จริงๆ (หัวเราะ) เพราะปีนี้ สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้มากถึง 30% เรียกได้ว่า "ทะลุเป้า" จากที่ตั้งใจถ้าได้ผลตอบแทนปีละ 10-15% ก็พอใจแล้ว
"หุ้นทุกตัวที่ผมลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามใจปรารถนา เพราะหุ้นในพอร์ตไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม และหนี้สินยุโรป โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยตรงกันข้ามมีแต่ได้ประโยชน์ จะเรียกว่ากลุ่มค้าปลีก (CPALL, HMPRO ฯลฯ) เป็น “พระเอก” ในพอร์ตก็ได้ แต่หุ้นตัวเล็กตัวน้อยที่ถืออยู่ก็สร้างผลตอบแทนไม่น้อยหน้าเหมือนกัน"
อาจารย์นิเวศน์วิเคราะห์ให้ฟัง เหตุผลที่หุ้นกลุ่มค้าปลีกแรงดีไม่มีตกเป็นเพราะนักลงทุนเริ่มสนใจหุ้นค้าปลีกมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันต่างชาติ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ยังสามารถเติบโตได้ปีละกว่า 10% และสามารถทนทานได้ต่อทุกๆ สถานการณ์ ไม่ว่าเหตุการณ์ร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่สะทกสะท้าน
จุดเด่นอีกประการของหุ้นกลุ่มค้าปลีก (โมเดิร์นเทรด) ธุรกิจมีไซส์ขนาดใหญ่มากขึ้นและมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ และยังได้รับประโยชน์เต็มๆ จากการที่รัฐบาลจะปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ฉะนั้นไม่แปลกที่หุ้นกลุ่มนี้กำลังได้รับความนิยม
แวลูอินเวสเตอร์พันล้าน บอกต่อว่า ในปี 2555 ยังคงตั้งเป้าผลตอบแทนจากการลงทุนเหมือนเดิมที่ 10-15% ยังเน้นลงทุนในหุ้นที่อิงผลประโยชน์ในประเทศเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน, ค้าปลีก และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ถามว่าจะเน้นหุ้นกลุ่มไหนเป็นพิเศษหรือไม่! อาจารย์นิเวศน์ ตอบว่า ขอรอดูสถานการณ์ต้นปี 2555 ก่อน แต่ไม่ว่าจะถือหุ้นตัวไหนก็จะนอนกอดยาวๆ
สำหรับคำแนะนำจาก "เซียนต้นตำรับ" นักลงทุนที่นิยมความเสี่ยงสูง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ให้ลงทุนในตลาดหุ้นไปเลย 50-57% ที่เหลือให้นำไปลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาล กองทุนต่างๆ และทองคำ ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยหน่อยให้ลงทุนในตลาดหุ้นเพียง 30-50% กลยุทธ์การลงทุนนี้หวังผลตอบแทน 10-15%
อาจารย์นิเวศน์ ยังฝากถึงนักลงทุนแนววีไอว่า ขอให้อย่าลืม! การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือ การลงทุน "ระยะยาว" เน้นซื้อบริษัทพื้นฐานดีๆ ไม่ใช่เล่นสั้นๆ
"ผมเห็นพักหลังๆ มีนักลงทุนหนุ่มๆ ออกแนว “มือไว ใจเร็ว อารมณ์ร้อน” ที่พยายามบอกว่าตัวเองเป็นนักลงทุนแนว VI แต่กลับหันไปลงทุนแบบ “เก็งกำไร” มากขึ้น..ซื้อขายสั้นมาก ถือว่าคุณ "เดินไม่ถูกทาง" ถ้าคุณยังยึดหลัก VI ต้องไม่ลงทุนแบบนี้ มันผิดหลักการ" ผู้เผยแพร่แนวคิด VI คนแรกของเมืองไทยระบายความอึดอัดที่อยู่ในใจ
เซียนหุ้นรายใหญ่ระดับแถวหน้าอีกคน นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ประเมินว่าจากสถานการณ์น้ำท่วม และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ที่ลดลงจาก 4% เหลือ 2% รวมถึงปัญหาหนี้สินยุโรป ทำให้การลงทุนในปีกระต่ายของตนเอง "พลาดเป้าหมายเล็กน้อย" จากเดิมที่คาดว่าจะโกยกำไร 10% ถึงตอนนี้ยังทำได้เพียง 5-6% เท่านั้น แต่ก็ไม่ถือว่า “ขี้เหร่” รับได้ (เจ้าตัวหัวเราะ!)
"ปีนี้ ผมเน้นลงทุนหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และกลุ่มพลังงาน หุ้นกลุ่มนี้ไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย ตรงกันข้ามกลับลดลงค่อนข้างมาก ตอนหุ้นหล่นทำผมใจหาย..เชื่อมั้ย!! (ลงทุนไว้เยอะ) เมื่อหุ้นไม่เป็นดั่งใจ ทำให้ผมลดการลงทุนลง 30-40% แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในหลักร้อยล้านบาท"
หมอบุญ เชื่อมั่นว่า ในปีมังกร (2555) พอร์ตลงทุนของตนเองจะเด้งกลับมาเหมือนเดิม เพราะปัญหาการเงินยุโรปจะเริ่ม "นิ่ง" ขึ้น แถมเศรษฐกิจเมืองไทยมีโอกาสเติบโต 4-6% ฉะนั้นในช่วง 6 เดือนแรกให้นักลงทุนซื้อหุ้น 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด เรียกได้ว่าสูงกว่าปีก่อนที่เชียร์ให้ลงหุ้นเพียง 40% ที่เหลืออีก 30% ให้นำไปซื้อกองทุนต่างๆ และพันธบัตรเอกชน คาดว่าจะให้ผลตอบแทน 5-6% รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลที่จะให้ผลตอบแทน 3% ส่วนที่เหลือเก็บไว้เป็นเงินสด เผื่อหุ้นตัวดีๆ ลดลงมา เราก็จะได้มีเงินสดไว้ซื้อ ไม่อยากให้นักลงทุนทุกท่านตกรถไฟ
ถามว่าปีหน้าหุ้นกลุ่มไหนจะเป็น “ดาวเด่น” หมอใหญ่ มองว่าโดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มสถาบันการเงิน, พลังงาน, อาหาร และท่องเที่ยว เพราะเศรษฐกิจในประเทศจะเติบโตมากขึ้น ฉะนั้นหุ้นพวกนี้ก็จะได้รับผลประโยชน์ตามไปด้วย ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ก็น่าสนใจ ถ้าหุ้นปรับตัวลดลง "ช้อนเก็บไว้" เชื่อว่าถ้าลงทุนตามสูตรนี้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ต่อปี ไม่ใช่เรื่องยาก
คุณหมอนักลงทุน แนะนำว่า ครึ่งปีแรกให้ซื้อหุ้นไปเลย 50% (ถือเงินสดให้น้อย) แต่ถ้าเฉลี่ยทั้งปี 2555 ควรซื้อหุ้นเฉลี่ยที่ 30% ที่เหลือ 40% ซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเก็บไว้เป็นเงินสด 30% เพราะมองว่าหุ้นน่าจะดีช่วง "ครึ่งปีแรก" แม้ยุโรปจะเริ่มดีขึ้น แต่มันมีตัวแปรอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสงครามในตะวันออกกลาง หากรุนแรงขึ้นมาวันไหนตลาดหุ้นกระทบแน่นอน
ถามแหย่! ว่า ในปีหน้าจะได้เห็นหมอบุญ ไปเทคโอเวอร์กิจการอะไรอีกหรือไม่! เจ้าตัวหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถาม โดยบอกสั้นๆ ว่า "เรื่องนี้สงสัยต้องคุยกันยาว"
ถามอีกคน นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี นักลงทุนพอร์ตใหญ่ระดับ "สองพันล้านบาท" เจ้าของคลินิกเสริมความงาม “พงศ์ศักดิ์คลินิก” เจ้าตัวเล่าว่า ผลตอบแทนการลงทุนปีนี้ เรียกได้ว่า "เกินเป้าหมาย" จากปกติตั้งเป้าทำได้ปีละ 10-15% แต่จะเกินมาเท่าไรขอไม่เปิดเผย "ผมหวังไม่เยอะ (หัวเราะ) ส่วนมูลค่าพอร์ตก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน"
คุณหมอพงศ์ศักดิ์ บอกว่า ปี 2554 ถือเป็นปีที่ตนเอง "เปลี่ยนหุ้นเล่น" ค่อนข้างเยอะ จากปกติที่แทบไม่เคยปรับเปลี่ยนอะไรบ่อยๆ เมื่อเรามองเห็นโอกาสที่ดีกว่าก็ควรเปลี่ยน การลงทุนแนว VI ไม่ได้หมายความว่าต้องถือหุ้นระยะยาวเสมอไป เพราะหากระหว่างทางราคาหุ้นดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ก็ควร "ขาย" เพื่อไปซื้อตัวที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า
“ในพอร์ตผมมีหุ้นประมาณ 8 ตัว ทุกตัวถือว่าเป็น “พระเอก” เพราะก่อนลงทุนจะศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบแล้ว”
สำหรับในปี 2555 นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งใจจะลงทุนในตลาดหุ้น 90% ลงเยอะเพราะรู้ว่า "ไม่เสี่ยง" เขามองว่า ปีหน้าไม่มีอะไรน่ากังวล แม้ปัญหาหนี้สินยุโรปจะยังหาข้อสรุปไม่ได้แต่ตลาดก็รับรู้ไปมากแล้ว ซึ่งในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ ถ้าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ปีละ 10-15% ได้แค่นี้ก็ดีใจแล้ว ส่วนหุ้นที่คิดว่า "น่าสนใจ" ยังเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายในประเทศ เช่นกลุ่มท่องเที่ยว, สุขภาพ (โรงพยาบาล-ประกัน) หรือค้าปลีกก็ยังน่าสนใจมาก โดยเฉพาะบริษัทที่ขายของให้กับ "คนชนชั้นกลาง"
"หากนักลงทุนติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องก็จะรู้เลยว่าหุ้นกลุ่มไหนจะได้รับประโยชน์บ้าง มันเห็นๆ กันอยู่ ของดีอยู่รอบๆ ตัวเรานี่แหละ! อย่ามองผ่านเลยไป หรือมัวไปมองอย่างอื่น"
คุณหมอทำนายตลาดหุ้นปี 2555 ว่า "น่าจะโอเค" เพราะได้ปัจจัยหนุนรัฐบาลลงทุนในโครงการใหม่ๆ ค่อนข้างมาก และยังปรับค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวมากขึ้น ส่วนในมุมของต่างประเทศยังต้องจับตาดูปัญหาหนี้สินยุโรป แต่โดยรวมๆ ตลาดหุ้นไทย "ยังลงทุนได้"
“ต้องมองตลาดหุ้นยาวๆ เชื่อว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า หุ้นไทยจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปีหน้าทุกคนคงเริ่มเห็นอะไรๆ ดีขึ้น หลังรัฐบาลเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และมีแผนใช้เงินในโปรเจคใหม่ๆ รวมถึงใช้เงินเพื่อฟื้นฟูน้ำท่วม”
สำหรับคำแนะนำนักลงทุนมือใหม่ หากยังไม่เคยลงทุนหุ้นตัวไหนเลย แรกๆ ควรซื้อหุ้นเพียง 20% เพราะตลาดหุ้นต้องใช้เวลาศึกษานานๆ ต้องเข้าใจอารมณ์การลงทุนด้วย...อยากฝากบอกนักลงทุนแนว VI ว่าก่อนลงทุน สิ่งสำคัญต้อง "มีศรัทธา" แม้วันนี้คุณจะมองไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็น แต่ถ้ามีแรงศรัทธาวันหนึ่งก็จะเห็น เมื่อมีศรัทธาที่ดี ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบด้าน มั่นใจในสิ่งที่ทำ คุณก็จะเป็นนักลงทุนที่ดี...นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าว
ด้าน พีรเจต สุวรรณนภาศรี ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ยูเนี่ยน อินทราโก้ หนึ่งในนักลงทุนแนว VI เปิดเผยว่า ในปี 2554 พอร์ตลงทุนส่วนตัวเพิ่มขึ้นราวๆ 10% และได้กำไรจากการลงทุน 10-20% ถือว่า "เข้าเป้า" แม้ในช่วงครึ่งปีหลังหุ้นบางตัวจะโดนผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และบางช่วงต้อง Cut Loss (ตัดขาดทุน) หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 20-30% ยอมขาดทุนไป 9% เพราะไม่มั่นใจว่าแลนด์แบงก์ที่เขามีแถวบางบัวทอง และปทุมธานี ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือไม่
สำหรับมุมมองในปี 2555 พีรเจต ประเมินว่า GDP ในประเทศมีโอกาสทะลุ 6% แน่นอน เพราะบริษัทที่หยุดผลิตหลังน้ำท่วมจะกลับมาทำงานเหมือนเดิมในช่วงเดือนมกราคม ส่วนมุมต่างประเทศ หนี้สินยุโรปยังตามหลอกหลอนเหมือนเดิมทุกอย่างจะจบไม่จบขึ้นอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ถ้าผู้นำบอกว่า “ไม่” อะไรหลายอย่างคงแย่ลง
"ผมมองว่าปีหน้า ควรซื้อลงทุนระยะปานกลาง 6-8 เดือน น่าจะปลอดภัยที่สุด ไม่เชียร์ให้ถือยาว 3-5 ปี หรือซื้อทิ้งๆ ไม่ดูแล เพราะรอบโลกยังมีปัจจัยอีกมากมายที่พร้อมจะกระทบราคาหุ้น ทุกครั้งที่มีข่าวร้ายก็จัด “ชุดใหญ่” ตลอด ตั้งตัวไม่เคยติด ฉะนั้นเราควรมอนิเตอร์หุ้นตัวเองทุกๆ 1 ไตรมาส"
สำหรับนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ในมือแล้ว 20-30% ก็ควรซื้อไม่ให้เกินเพดาน 60% ของพอร์ต ถ้าซื้อตัวใหม่ต้องขายตัวเก่า “อย่าลืม” ที่เหลือถือเป็นเงินสด มีโอกาสเสมอที่หุ้นจะตกแรงๆ เราจะได้มีเงินช้อนซื้อไม่เสียโอกาส ทุกปีจะมี “เซอร์ไพรส์” (เรื่องร้ายๆ) เสมอ ส่วนตัวมักจะถือเงินสด 20-30% ไว้เสมอ และไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นเต็มพอร์ต 100%
“ตอนนี้ผมยังไม่คิดซื้อหุ้นเพิ่มเติม ในพอร์ตมีอยู่ 10 ตัว ถามว่าปี 2555 กลุ่มไหนจะกลับมาเท่าที่มองตอนนี้น่าจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ และหุ้นค้าปลีกบางตัว ส่วนหุ้นพลังงานก็น่าสนใจ ปีหน้าราคาน่าจะขึ้นได้" พีรเจต ประเมิน
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
cultural schizophrenia มั้งครับTsar เขียน:วัฒนธรรมเภท แปลมาจากคำว่าอะไร
ใครรู้ช่วยบอกหน่อย
อ่านบทความนี้แล้วกระตุ้นให้ย้อนกลับมาคิดวิเคราะห์ตัวเองดีครับ ว่าตัวเราเองกำลังทำอะไรอยู่ ตัวเราเองมีแรงจูงใจอะไรแอบแฝงเบื้องหลังอยู่บ้าง ซึ่งผมคิดว่าสุดท้ายแล้วตัวเราเองเป็นอย่างไร ตัวเราเองพยายามที่จะเป็นอะไร มีแต่ตัวเราเองที่รู้ดีที่สุด และบางครั้งมันก็มี paradox แบบนี้อย่างนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งแรงจูงใจอาจจะมีได้หลายอย่างอยู่เหมือนกัน
ในมุมมองของผม คนศึกษาธรรม คนปฏิบัติธรรม เพราะ เค้ารู้ตัวว่าตัวเค้าเองมีข้อเสียบางอย่างที่อยากจะฝึกฝนตัวเองอยู่ พยายามที่จะขัดเกลาตัวเองอยู่ ซึ่งในกระบวนการที่ตัวเรายังไม่ดีพร้อมนั้น บางครั้งก็จะเกิด paradox แบบนี้ขึ้นอยู่เสมอๆ อย่างกรณีของความโลภในการหาเงิน เพราะเรารู้ตัวว่าเราโลภ เราจึงควรเริ่มที่จะบริจาค เพราะการให้ทานช่วยขัดเกลาให้ความโลภเบาบางลง ซึ่งจริงๆ แล้วคนบริจาคอาจจะไม่ได้ต้องการการสร้างภาพว่าเขาเป็นนักบุญแต่อย่างใด คำถามก็คือ เรามีสติที่จะตามกิเลสได้มากยิ่งขึ้นไหม เราสามารถขัดเกลาความโลภของเราให้เบาบางมากขึ้นได้ไหม? และขัดเกลาอย่างไรมากกว่า
ผมว่าอ่านบทความนี้แล้วร้อนตัวกันหน่อยก็ดีนะครับ เราควรที่จะมีโอกาสได้ตรวจสอบกายใจและพฤติกรรมของตัวเราเองว่าเรามีความโลภขนาดไหน เราควรที่จะจัดการอะไรกับมันบ้างรึเปล่า ถ้าบทความนี้ช่วยทำให้เราเท่าทันความโลภของเราได้มากขึ้นอีกสักนิด ก็ถือว่าสุดยอดมากแล้วครับ
ขอบคุณอาจารย์ ที่กระตุ้นเตือนให้ย้อนกลับมาตรวจสอบตัวเองครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 24
วัฒนธรรมเภท
เป็นคำที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยรู้ความหมาย
เดาว่าอาจารย์น่าจะเป็นคนบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาเอง
เดาต่อว่า อาจารย์น่าจะบัญญัติคำนี้ จากคำว่า จิตเภท (โรคทางจิตชนิดหนึ่งมีคนเป็นมากที่สุด)
วัฒนธรรมเภท ก็น่าจะแปลว่า โรคทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง (แสดงว่าเรามีโรคทาง
วัฒนธรรมหลายชนิด แต่โรคทางวัฒนธรรมชนิดนี้มีคนเป็นมากที่สุด)
วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม
เป็นคำที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยรู้ความหมาย
เดาว่าอาจารย์น่าจะเป็นคนบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาเอง
เดาต่อว่า อาจารย์น่าจะบัญญัติคำนี้ จากคำว่า จิตเภท (โรคทางจิตชนิดหนึ่งมีคนเป็นมากที่สุด)
วัฒนธรรมเภท ก็น่าจะแปลว่า โรคทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง (แสดงว่าเรามีโรคทาง
วัฒนธรรมหลายชนิด แต่โรคทางวัฒนธรรมชนิดนี้มีคนเป็นมากที่สุด)
วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
แบบไม่มีเหตุผล แต่ผมกลับนึกถึงคลิปนี้ขึ้นมาครับ...
Nash: Thank you. I've always believed in numbers and the equations and logics that lead to reason.
But after a lifetime of such pursuits, I ask,
"What truly is logic?"
"Who decides reason?"
My quest has taken me through the physical, the metaphysical, the delusional -- and back.
And I have made the most important discovery of my career, the most important discovery of my life: It is only in the mysterious equations of love that any logic or reasons can be found.
I'm only here tonight because of you [wife, Alicia].
You are the reason I am.
You are all my reasons.
Thank you.
ที่มา : http://www.americanrhetoric.com/MovieSp ... lmind.html
Nash: Thank you. I've always believed in numbers and the equations and logics that lead to reason.
But after a lifetime of such pursuits, I ask,
"What truly is logic?"
"Who decides reason?"
My quest has taken me through the physical, the metaphysical, the delusional -- and back.
And I have made the most important discovery of my career, the most important discovery of my life: It is only in the mysterious equations of love that any logic or reasons can be found.
I'm only here tonight because of you [wife, Alicia].
You are the reason I am.
You are all my reasons.
Thank you.
ที่มา : http://www.americanrhetoric.com/MovieSp ... lmind.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
"เซียน" กับ "เทพ" แทบจะเดินชนกันอยู่แล้วครับkoh เขียน:เซียนหุ้นเป็นกันง่ายจังนะพรรคหลังๆนี่
เพราะมีเยอะครับ
บางทีแอบคิดว่า ถ้าทุกคนกำไรกันหมด แล้วใครขาดทุนฟร่ะ!!!
ผมเองเริ่มลงทุนมาตั้งแต่ปี 2537 เห็น Set ซื้อขายกันทั้งวันแค่ 2 พันล้านบาท
แต่ช่วงนั้น...เซียนไม่ค่อยมีครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 480
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วัฒนธรรมเภท/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
คงเป็นกระแสพูดต่อได้อีกมาก เพียงแต่เมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว ผมคิดว่าเราควรจบที่การพิจารณาตนเองเป็นดีที่สุด มองตนเอง วิเคราะห์ตนเอง เข้าใจตนเอง และพัฒนาตนเอง อย่าได้มองข้ามสิ่งที่ตัวเองเป็นแล้วประมาทละเลยไปเพ่งยึดเอาแต่สิ่งที่คนอื่นๆ เป็น
"วิเคราะห์คนอื่นแล้วอาจลืมกลับมามองตัวเราเอง"
"วิเคราะห์ตัวเราเอง ประโยชน์สูงสุดย่อมเกิดขี้น"
"วิเคราะห์คนอื่นแล้วอาจลืมกลับมามองตัวเราเอง"
"วิเคราะห์ตัวเราเอง ประโยชน์สูงสุดย่อมเกิดขี้น"
The miracle of compounding,