เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปลไทย)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
artvirus
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปลไทย)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียน
ชัชวนันท์ สันธิเดช แปล

ผู้คนมักกล่าวว่า การลงทุน คือการกระบวนการในการเอาเงินออกมาบริหาร โดยหวังว่าจะได้รับเงินมากขึ้นในอนาคต

แต่ที่เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์ เราใช้หลักที่เข้มงวดกว่านั้นมาก เราให้คำจำกัดความของ การลงทุน ว่าเป็นการส่งต่ออำนาจซื้อไปสู่ผู้อื่น ด้วยความคาดหวังอย่างมีเหตุผลว่าจะเกิดเป็นอำนาจซื้อที่มากขึ้นในอนาคต หลังจากหักภาษีในอัตราที่น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ หากจะให้ชี้ชัดยิ่งขึ้น ต้องบอกว่า การลงทุนคือการผัดผ่อนการบริโภค ณ วันนี้ เพื่อให้มีความสามารถที่จะบริโภคได้มากขึ้นในวันข้างหน้า

ด้วยนิยามของเรา จึงก่อให้เกิดผลที่ตามมาอันสำคัญยิ่งประการหนึ่ง กล่าวคือ ความเสี่ยงจากการลงทุน มิอาจวัดได้โดยค่าเบต้า (อันเป็นค่าที่คนในวอลล์สตรีทชอบใช้กัน) หากแต่วัดได้โดยหลักความน่าจะเป็น แต่ต้องเป็น ความน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของเงินจะสูญเสียอำนาจซื้อหลังจากถือสินทรัพย์นั้นไประยะหนึ่ง

ทั้งนี้ ราคาของสินทรัพย์อาจผันผวนขึ้นลงอย่างรุนแรงได้โดยไม่มีความเสี่ยงอันใด หากว่ามันยังคงเพิ่มอำนาจซื้อให้กับผู้ถือสินทรัพย์นั้นอย่างมั่นคงและแน่นอน หลังจากถือมันไว้ระยะหนึ่ง ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า แม้สินทรัพย์ที่ราคาไม่ผันผวนเลย ก็อาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงได้

ความน่าจะเป็นในการลงทุนนั้นมีอยู่มากมายและหลากหลาย อย่างไรก็ตาม ความน่าจะเป็นดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทหลักๆ ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณลักษณะของความน่าจะเป็นแต่ละประเภท เรามาดูกันเถอะครับ

การลงทุนต่างๆ ที่อิงกับค่าเงิน เช่น กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) พันธบัตร การจดจำนอง เงินฝากธนาคาร และอื่นๆ มักถูกเข้าใจว่ามี “ความปลอดภัย” แต่ที่จริงแล้ว พวกมันคือสินทรัพย์ที่อันตรายที่สุด ค่าเบต้าของมันอาจจะเป็นศูนย์ แต่ความเสี่ยงนั้นมากมายเหลือเกิน

ในศตวรรษที่ผ่านมา เครื่องมือเหล่านี้ได้ทำลายอำนาจซื้อของนักลงทุนในหลายต่อหลายประเทศ แม้ว่าคนที่ถือมันอยู่จะได้รับผลตอบแทนเป็นระยะๆ ทั้งในรูปของดอกเบี้ยและเงินต้น แต่ผลลัพธ์อันอัปลักษณ์จะยังคงอยู่ตลอดไป รัฐบาลเป็นผู้กำหนดมูลค่าของเงินตรา แต่ระบบที่เป็นอยู่จะบีบบังคับให้รัฐบาลต้องไหลตามน้ำ โดยใช้นโยบายที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ และมีหลายครั้งหลายหนที่นโยบายเหล่านั้นหลุดออกไปอยู่เหนือความควบคุม

แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ผู้คนคาดหวังว่าค่าเงินน่าจะมีความแข็งแกร่ง เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็ยังลดค่าลงถึง 86% ตั้งแต่ปี 1965 ซึ่งเป็นเวลาที่ผมเข้ามาบริหารเบิร์คไชร์ ณ วันนี้ เราต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 7 ดอลล่าร์ เพื่อซื้อสิ่งที่เราเคยซื้อได้ด้วยเงิน 1 ดอลล่าร์ ในเวลานั้น

ด้วยเหตุนี้ กองทุนหรือสถาบันการเงินใดๆ ที่ไม่มีภาระต้องจ่ายภาษี จึงต้องทำดอกเบี้ยให้ได้ถึง 4.3% ต่อปี จากการลงทุนในตั๋วเงินคลังของสหรัฐอเมริกาตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงจะสามารถรักษาอำนาจซื้อของตัวเองไว้ได้ ผู้จัดการของกองทุนหรือสถาบันการเงินเหล่านั้นคงกำลังหลอกตัวเองแน่ๆ ถ้าพวกเขาจะเรียกดอกเบี้ยที่ได้รับว่า “รายได้”

สำหรับนักลงทุนที่ต้องจ่ายภาษีอย่างคุณและผม ภาพที่เห็นกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลา 47 ปีที่ผ่านมา ตั๋วเงินคลังของสหรัฐอเมริกาให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.7% ต่อปี ฟังดูแล้วเหมือนจะน่าพอใจ แต่ถ้านักลงทุนแต่ละคนจ่ายภาษีในอัตรา 25% ต่อปี ผลตอบแทน 5.7% นี้ จะทำให้พวกเขาไม่ได้อะไรเลยในแง่ของรายได้ที่แท้จริง

ภาษีเงินได้ที่พวกเขาต้องจ่าย จะกินผลตอบแทนที่ว่าไปถึง 1.4% ในขณะที่ “ภาษีเงินเฟ้อ” ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะกัดกินผลตอบแทนอีก 4.3% ที่เหลือจนหมดสิ้น ที่น่าสังเกตก็คือ ภาษีเงินเฟ้อ มีค่ามากกว่าภาษีเงินได้ธรรมดาที่นักลงทุนคิดว่าเป็นภาระหลักของพวกเขาถึงเกือบ 3 เท่า

ในธนบัตรอาจมีคำว่า “เราเชื่อมั่นในพระเจ้า” (In God We Trust) อยู่ก็จริง แต่มือที่ทำให้เครื่องพิมพ์เงินของประเทศเราพิมพ์ธนบัตรออกมานั้น เป็นมือของคนเดินดินธรรมดาๆ นี่เอง

แน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยสูงๆ จะช่วยชดเชยความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เกิดจากการลงทุนซึ่งอิงกับค่าเงินได้ และอัตราดอกเบี้ยในทศวรรษที่ 80 ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะครอบคลุมความเสี่ยงจากการสูญเสียอำนาจซื้อดังกล่าวได้เลยแม้แต่น้อย ที่จริงแล้ว พันธบัตรควรมีฉลากคำเตือนให้ระวังอันตรายแปะอยู่ด้วยซ้ำ

ภายใต้สภาวการณ์ทุกวันนี้ ผมจึงไม่ชอบการลงทุนใดๆ ที่อิงกับค่าเงิน อย่างไรก็ตาม เบิร์คไชร์ ฮาแธเวย์ ก็ยังมีการลงทุนเหล่านั้นอยู่พอสมควรในรูปแบบของการลงทุนระยะสั้นต่างๆ สำหรับ เบิร์คไชร์ สภาพคล่องจำนวนมหาศาลถือเป็นหัวใจสำคัญ และเป็นสิ่งที่เรา ไม่มีทาง จะละเลย

เราจำเป็นต้องมองข้ามอัตราผลตอบแทนที่ไม่เพียงพอนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพคล่องมหาศาล เราจึงถือตั๋วเงินคลัง ซึ่งเป็นการลงทุนประเภทเดียวที่พอจะไว้วางใจได้ในเรื่องของสภาพคล่อง ภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่แสนจะสับสนอลหม่านดังเช่นในปัจจุบัน บนหน้าตักของเราในเวลานี้มีอยู่ราวๆ 2 หมื่นล้านดอลล่าร์ และอย่างน้อยที่สุดต้องมี 1 หมื่นล้านดอลล่าร์สำรองไว้เสมอ

นอกเหนือจากความจำเป็นในเรื่องของสภาพคล่องและกฎระเบียบต่างๆ แล้ว เราจะซื้อหลักทรัพย์ที่อิงกับค่าเงินก็ต่อเมื่อมีโอกาสที่มันจะให้ผลตอบแทนในระดับที่สูงผิดปกติเท่านั้น เช่น เมื่อมีการตั้งราคาสินเชื่อผิดๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาของวิกฤตการเงิน จนเกิดเป็นพันธบัตรขยะ (Junk Bonds) มากมาย หรือเมื่ออัตราดอกเบี้ยนั้นสูง จนเราสามารถที่จะทำกำไรจากพันธบัตรชั้นดีได้ในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยนั้นลดลง

แม้ว่าในอดีต เราจะเคยศึกษาถึงโอกาสที่ทั้งสองเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น และอาจทำการศึกษาซ้ำอีกในอนาคต แต่ตอนนี้ เราแทบไม่เห็นว่าความคาดหวังดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เลย
ณ วันนี้ ความเห็นของ เชลบี้ คัลลอม คนในวอลล์สตรีทที่เคยพูดเอาไว้เมื่อนานมาแล้วดูเหมือนจะเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน

“พันธบัตรที่เชื่อกันว่าให้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง กำลังถูกตั้งราคาราวกับมันเป็นสิ่งที่ให้ความเสี่ยงโดยไม่มีผลตอบแทน”

(ต่อตอนหน้านะครับ)

[บทความนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนลงในนิตยสาร Fortune ฉบับวันที่ 27 ก.พ. ผมกำลังทยอยแปลลงในบล็อก แต่ตอนนี้ยังไม่เสร็จ เอามาลงใน Thai VI ก่อน ยังเหลืออีกพอสมควร จะค่อยๆ แปลเรื่อยๆ ครับ]
http://www.ClubVI.com

พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
vegeta
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
Sumeth6
Verified User
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ รออ่านต่อ... :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ จะรออ่านตอนต่อไปครับ :bow: :bow: :bow:
panda2010
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์จริงๆ
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 991
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 1

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ

จะรอติดตามอ่านภาคต่อนะครับ

:D :D :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปล้องนาง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 441
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณม่ักม่ักครับ
Res tantum valet quantum vendi potest.....
send
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 340
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ซอกแซกไปดูตามชื่อ

ทีี่แท้คุณอาร์ท แฟนพันธุ์แท้สามก๊กนี่เอง :D
rareman
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 0

Re: เหตุใดหุ้นจึงชนะทองคำและพันธบัตร - วอร์เรน บัฟเฟตต์ (แปล

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับ
Small Details Make a Big Difference
โพสต์โพสต์