หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 409
- ผู้ติดตาม: 0
หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
โพสต์ที่ 1
อยากจะถามว่า ไม่ทราบมีใครอ่านไปบ้างหรือยังครับ
อยากให้รบกวนชี้แนะการประเมิน EPV (Earing Power Value)ให้หน่อยครับ
อ่านแล้วค่อนข้างงงมาก
ขอบคุณครับ
ปล ตั้งกระทู้ใน ร้อยคน ร้อยเล่ม ไม่ได้อ่ะครับ
อยากให้รบกวนชี้แนะการประเมิน EPV (Earing Power Value)ให้หน่อยครับ
อ่านแล้วค่อนข้างงงมาก
ขอบคุณครับ
ปล ตั้งกระทู้ใน ร้อยคน ร้อยเล่ม ไม่ได้อ่ะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 2
อ่านแล้วครับ แต่ยังอ่านไม่จบเลย เค้าเขียนออกแนววิชาการมากไป เลยค่อนข้างน่าเบื่อ แต่epvนี่อ่านแล้วครับ คิดว่าพอเข้าใจนะครับ คุณ charonp งงตรงไหนครับcharonp เขียน:อยากจะถามว่า ไม่ทราบมีใครอ่านไปบ้างหรือยังครับ
อยากให้รบกวนชี้แนะการประเมิน EPV (Earing Power Value)ให้หน่อยครับ
อ่านแล้วค่อนข้างงงมาก
ขอบคุณครับ
ปล ตั้งกระทู้ใน ร้อยคน ร้อยเล่ม ไม่ได้อ่ะครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 5
ในตาราง คำว่า EPV ที่ 12 % ไม่ได้หมายความว่า EPV =12% นะครับ เค้าหมายถึง EPV ที่ต้นทุนเงินทุน = 12% โดย EPV = ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้ว*1/ต้นทุนเงินทุนcharonp เขียน:หน้า 181 อ่ะครับ เรื่องของ Intel
ผมงงว่า อยู่ดี EPV มันโผล่มาได้ไง แล้วทำไมต้องใช้ EPV 12 เปอร์เซ็นต์ด้วย
วิธีการหาEPVเพิ่มเติมให้ดูตัวอย่างในบทที่ 6 ครับ ที่เค้าหามูลค่าศักยภาพการทำกำไรของบริษัท WD-40 แล้วจะเข้าใจขึ้นเยอะ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 6
ผมเข้าใจว่า คุณยังไม่รู้จัก EPV ใช่มั้ยครับ? ขออธิบายEPVง่ายๆก่อนละกันครับ EPV คือ มูลค่าของศักยภาพการทำกำไร ซึ่งก็คือ ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้ว*1/ต้นทุนเงินทุน
สมมุติ ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้วของบริษัทคุณ(ตรงนี้ก็คือการปรับผลกำไรโดยขจัดค่าใช้จ่ายหรือรายได้พิเศษหรือทำให้เหมาะกับสถาณการณ์ของบริษัท เป็นต้น) = 100 ล้าน
ต้นทุนเงินทุน มักจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยหรือWACC เนื่องจากต้นทุนเงินทุนก็ประกอบด้วย ส่วนที่เราไปกู้ยืมมาบวกกับส่วนของตัวเองหรือก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ซึ่งต้นทุนของเงินกู้ก็คือดอกเบี้ย ส่วนต้นทุนของผู้ถือหุ้นก็มักจะเป็นผลตอบแทนที่คาดหวังในการลงทุนของนักลงทุนในบริษัทนั้น ซึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเสี่ยงของกิจการ
สมมติกิจการคุณไม่ได้กู้เลย เงินทุนเป็นในส่วนequityทั้งหมด และให้ผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง = 10%
ดังนั้น EPVของบริษัทคุณ= 100*1/0.1 = 1000 ล้านบาท
ก็คือ มูลค่าของบริษัทคุณ(ที่อิงอยู่บนความสามารถของการทำกำไรเพียงอย่างเดียว ยังไม่ต้องนึกถึงการเติบโต) = 1000 ล้านบาท
ถ้ายังงงๆก็คิดง่ายๆครับ EPVไม่มีอะไรเลย ก็แค่ว่า สมมติผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง=10เปอร์เซนต์ แสดงว่าปีนึงคุณต้องการได้กำไร10เปอเซนต์จากกิจการที่คุณซื้อมา ดังนั้นคุณควรซื้อกิจการที่ราคาเท่าไรถ้ากิจการทำกำไรได้100 ล้าน ก็เท่านี้เอง ก็เทียบบัญยัติไตรยางค์ง่ายๆก็ได้คำตอบเหมือนกัน
ส่วนรายละเอียดย่อยๆอื่นๆเช่น ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้ว ต้องปรับปรุงยังไง ก็ลองอ่านตัวอย่างบทที่6อย่างที่ผมบอกไปครับ
สมมุติ ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้วของบริษัทคุณ(ตรงนี้ก็คือการปรับผลกำไรโดยขจัดค่าใช้จ่ายหรือรายได้พิเศษหรือทำให้เหมาะกับสถาณการณ์ของบริษัท เป็นต้น) = 100 ล้าน
ต้นทุนเงินทุน มักจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยหรือWACC เนื่องจากต้นทุนเงินทุนก็ประกอบด้วย ส่วนที่เราไปกู้ยืมมาบวกกับส่วนของตัวเองหรือก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ซึ่งต้นทุนของเงินกู้ก็คือดอกเบี้ย ส่วนต้นทุนของผู้ถือหุ้นก็มักจะเป็นผลตอบแทนที่คาดหวังในการลงทุนของนักลงทุนในบริษัทนั้น ซึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเสี่ยงของกิจการ
สมมติกิจการคุณไม่ได้กู้เลย เงินทุนเป็นในส่วนequityทั้งหมด และให้ผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง = 10%
ดังนั้น EPVของบริษัทคุณ= 100*1/0.1 = 1000 ล้านบาท
ก็คือ มูลค่าของบริษัทคุณ(ที่อิงอยู่บนความสามารถของการทำกำไรเพียงอย่างเดียว ยังไม่ต้องนึกถึงการเติบโต) = 1000 ล้านบาท
ถ้ายังงงๆก็คิดง่ายๆครับ EPVไม่มีอะไรเลย ก็แค่ว่า สมมติผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง=10เปอร์เซนต์ แสดงว่าปีนึงคุณต้องการได้กำไร10เปอเซนต์จากกิจการที่คุณซื้อมา ดังนั้นคุณควรซื้อกิจการที่ราคาเท่าไรถ้ากิจการทำกำไรได้100 ล้าน ก็เท่านี้เอง ก็เทียบบัญยัติไตรยางค์ง่ายๆก็ได้คำตอบเหมือนกัน
ส่วนรายละเอียดย่อยๆอื่นๆเช่น ผลกำไรที่ปรับปรุงแล้ว ต้องปรับปรุงยังไง ก็ลองอ่านตัวอย่างบทที่6อย่างที่ผมบอกไปครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 409
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 7
ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงแปลงต้นทุนเงินทุน ไปเป็นอัตราผลตอบแทน แล้วถ้าต้นทุนเงินทุนเท่านี้ จะแปลงเป็นอัตราผลตอบแทนได้เท่าไรครับsakkaphan เขียน: ต้นทุนเงินทุน มักจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยหรือWACC เนื่องจากต้นทุนเงินทุนก็ประกอบด้วย ส่วนที่เราไปกู้ยืมมาบวกกับส่วนของตัวเองหรือก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ซึ่งต้นทุนของเงินกู้ก็คือดอกเบี้ย ส่วนต้นทุนของผู้ถือหุ้นก็มักจะเป็นผลตอบแทนที่คาดหวังในการลงทุนของนักลงทุนในบริษัทนั้น ซึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเสี่ยงของกิจการ
ถามต่อครับ สมมติว่า บริษัทนี้ ทำกำไรได้ 100 ล้าน ซึ่งเป็นกำไรที่ปรับปรุงแล้ว
โดยบริษัทนี้ กู้เงินมา 200 ล้าน + ด้วยทุนตัวเองอีก 400 ล้าน ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละสิบต่อปี
ดังนั้นต้นทุนเงินทุน =200(0.1)+200+400 =620 ล้านใช่มั้ยครับ
รบกวนชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 8
ไม่ใช่ 620 ล้าน ครับ ต้นทุนเงินทุนมีหน่วยเป็นเปอร์เซนต์ครับcharonp เขียน:ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงแปลงต้นทุนเงินทุน ไปเป็นอัตราผลตอบแทน แล้วถ้าต้นทุนเงินทุนเท่านี้ จะแปลงเป็นอัตราผลตอบแทนได้เท่าไรครับsakkaphan เขียน: ต้นทุนเงินทุน มักจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยหรือWACC เนื่องจากต้นทุนเงินทุนก็ประกอบด้วย ส่วนที่เราไปกู้ยืมมาบวกกับส่วนของตัวเองหรือก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง ซึ่งต้นทุนของเงินกู้ก็คือดอกเบี้ย ส่วนต้นทุนของผู้ถือหุ้นก็มักจะเป็นผลตอบแทนที่คาดหวังในการลงทุนของนักลงทุนในบริษัทนั้น ซึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเสี่ยงของกิจการ
ถามต่อครับ สมมติว่า บริษัทนี้ ทำกำไรได้ 100 ล้าน ซึ่งเป็นกำไรที่ปรับปรุงแล้ว
โดยบริษัทนี้ กู้เงินมา 200 ล้าน + ด้วยทุนตัวเองอีก 400 ล้าน ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละสิบต่อปี
ดังนั้นต้นทุนเงินทุน =200(0.1)+200+400 =620 ล้านใช่มั้ยครับ
รบกวนชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
ต้นทุนเงินทุนของเงินกู้ คือ อัตราดอกเบี้ย สมมติ 5 เปอร์เซนต์ต่อปี
ต้นทุนเงินทุนของเงินตัวเอง คือ ผลตอบแทนที่คาดหวัง สมมติคุณคาดหวังผลตอบแทนจากเงินลงทุน 10เปอร์เซนต์ต่อปี
ดังนั้น ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย = [200(0.05) + 400(0.1)] / (200+400) = 0.083
จะได้ว่า ในเงินทุนทั้งหมด 600 ล้านของคุณเนี่ย มีต้นทุนเมื่อคิดถัวเฉลี่ยแล้ว = 0.083 หรือ 8.3 เปอร์เซนต์ต่อปี
หมายความว่า เงินลงทุนทั้งหมดของคุณเนี่ย คุณต้องการนำไปลงทุนแล้ว ต้องได้ 8.3 เปอร์เซนต์ต่อปีเป็นอย่างต่ำนะ
กำไร100ล้านบาทใช่มั้ยครับ
แล้วคุณก็เอาไอ 0.083 เนี่ย ไปหาค่าEPV ได้แล้วว่า 100*1/0.083 = มูลค่าที่คุณควรซื้อคือ1204.8 ล้านบาท
ตรวจคำตอบ.... คุณซื้อบริษัทมาในราคา 1204.8 ล้านบาท มันทำกำไรให้คุณ100ล้านบาทต่อปี กดเครื่องคิดเลขดูว่า ได้ผลตอบแทนกี่เปอร์เซนต์ 100/1204.8 = 0.083 หรือก็คือได้ผลตอบแทน8.3 เปอร์เซนต์
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตรมหาวิทยาลัยโคลัมเบ
โพสต์ที่ 10
ในแง่ศักยภาพการทำกำไรอย่างเดียวนะครับ ยังไม่คิดถึงแง่การเติบโต ถ้ารวมมูลค่าความสามารถในการเติบโตของแฟรนไชส์เข้าไปด้วยก็น่าจะควรมีมูลค่าตลาดมากกว่านั้น แต่การคำนวณในส่วนตรงนี้ผมยังไม่ได้อ่าน เด๋วว่างๆอีกสักพักค่อยอ่านครับ ฮ่าๆ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง