ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 มีนาคม 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
กลยุทธ์ “ยอดนิยม” อย่างหนึ่งของบริษัทในตลาดหุ้นก็คือ ถ้ากิจการของบริษัทนั้นดีหรืออยู่ในช่วง “ขาขึ้น” บริษัทก็ไปเทคโอเวอร์หรือซื้อกิจการที่ทำเหมือนกันแต่อาจจะทำไม่ได้ดีเท่าเข้ามาเพิ่มเติม การทำแบบนี้อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นไปอีก หรืออย่างน้อยก็ทำให้คน “เชื่อ” ว่ากิจการของบริษัทจะดีขึ้นไปอีก ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะ “วิ่งระเบิด” ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว บริษัทอาจจะไม่ดีขึ้นเลยเมื่อคำนึงถึงเม็ดเงินที่ต้องใช้ในการซื้อกิจการที่อาจจะสูงไม่คุ้มค่ากับกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นมา เหตุผลก็คือ คนที่ขายกิจการนั้น เขารู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร คงไม่ยอมขายถูก ๆ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อซื้อกิจการแล้ว คนซื้อนั้นสามารถ “เพิ่มมูลค่า” ของกิจการนั้นได้มากน้อยแค่ไหน อย่าไปคิดว่าบริษัทชำนาญในการบริหารกิจการประเภทนั้นอยู่แล้วและการเทคโอเวอร์กิจการแบบเดียวกันจะต้องมี Synergy หรือสามารถลดต้นทุนของกิจการลงได้มาก เราจะต้องวิเคราะห์ถึงแหล่งของการประหยัดที่ว่านั้นได้จริง ๆ ไม่ใช่เชื่อแต่คำพูดของผู้บริหารโดยไม่ตั้งคำถาม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเทคโอเวอร์สำหรับผมแล้ว มันเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และอะไรที่ทำได้ง่าย ผมมักจะ “ไม่ให้ราคา” มากนัก
ถ้ากิจการของบริษัทนั้นไม่ดี หรืออยู่ในช่วง “ขาลง” หรือบางทีก็ “เจ๊ง” อยู่ บริษัทต้องการ “Turnaround” หรือฟื้นฟูกิจการให้กลับมามีกำไร บริษัทก็ไปซื้อกิจการหรือไปสร้างธุรกิจใหม่ที่กำลังมีอนาคต “สดใส” เป็นธุรกิจ “Sun Rise” หรือธุรกิจที่กำลังเติบโต ทุกคนกล่าวขวัญถึงตัวอย่าง เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน โดยเฉพาะที่สามารถขายโดยได้เงินชดเชยจากหน่วยงานของรัฐ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่กำลัง “ร้อนแรง” ในช่วงนี้ หรือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ “มีกำไร” อยู่แล้วที่เจ้าของอาจจะ “โอนเข้ามา” ในบริษัท ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะ “วิ่งระเบิด” ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง กำไรที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจจะไม่ได้มากมายอะไรนักเมื่อเทียบกับเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ตัวธุรกิจใหม่เองนั้น ก็ยังไม่รู้ว่าจะเติบโตต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน การ Turnaround หรือฟื้นตัวนั้นอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจเดิมเลย ดังนั้น หุ้นแบบนี้จึงไม่น่าจะเป็นหุ้น Turnaround แต่น่าจะเป็นเรื่องของการทำ “ธุรกิจใหม่” ซึ่งบริษัทไม่เคยมีประสบการณ์ และดังนั้น หุ้นจึงไม่น่าจะมี Value หรือมูลค่ามากนัก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มันเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และอะไรที่ทำได้ง่าย ผมมักจะ “ไม่ให้ราคา” มากนัก
การที่ผมไม่ใคร่จะให้ราคาธุรกิจที่ทำได้ง่ายนั้น เป็นเพราะผมเห็นว่าธุรกิจเหล่านั้นจะไม่สามารถทำกำไรสูง ๆ หรือกำไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์สูงได้ในระยะยาว พูดง่าย ๆ กำไรที่ได้มานั้นต้องอาศัยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และสินทรัพย์ที่สูงนั้นก็ต้องอาศัยเงินทุนของเจ้าของมาก และเงินทุนนี้มี “ต้นทุน” ซึ่งคิดไปแล้วก็อาจจะพอ ๆ กับกำไรที่ได้รับ ส่วนสาเหตุที่ธุรกิจที่ทำได้ง่ายไม่สามารถทำกำไรสูงได้นั้น เป็นเพราะว่าถ้าธุรกิจนั้นทำเงินมาก ๆ ในบางช่วงเวลา ก็จะมีคนอื่นเข้ามาทำแข่ง และเมื่อมีคนมาแข่งมาก ราคาสินค้าก็จะลดลง สุดท้าย กำไรของธุรกิจก็จะลดลง และเมื่อกำไรของธุรกิจลดลง ราคาหุ้นก็จะลดลง
ที่ผมพูดว่าธุรกิจที่ทำได้ง่ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทขายนั้น ทำได้ง่าย ธุรกิจหลายอย่าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากในแง่ของคนที่มาทำ พวกเขาจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือเป็นวิศวกรที่ชำนาญการ แต่ธุรกิจเหล่านี้ถ้าคนจะก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับเจ้าเดิมอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ทางหนึ่งก็คือ เราก็จ้างพนักงานเก่ง ๆ ที่ทำงานเหล่านั้นอยู่แล้วออกมาทำแข่งกับบริษัทที่มีอยู่เดิม ประเด็นก็คือ บริษัทใหม่ของเรานั้น สามารถแข่งขันกับเจ้าเดิมได้โดยที่ไม่ได้มีข้อเสียเปรียบมากนัก นี่ก็คือความหมายของธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย” ในสายตาของผม
ตัวอย่างของธุรกิจที่ทำได้ง่ายก็เช่น ทำธุรกิจเหมืองถ่านหิน นี่ก็ไม่ยากนักถ้าเรามีเงินและอาจจะต้องจ้างคนที่มีความเชี่ยวชาญไปหาซื้อเหมืองหรือสัมปทานที่อินโดนีเซีย ขุด แล้วก็ส่งมาขายที่ประเทศไทย เช่นเดียวกัน เราอาจจะทำธุรกิจขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม วิธีก็คือ เราต้องไป “ประมูล” เสนอราคาขายพลังงานไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้า ถ้าข้อเสนอเราดี เราก็จะได้ธุรกิจและเราก็สามารถทำธุรกิจนี้ได้ดีเท่า ๆ กับคู่แข่งหรือผู้ให้บริการรายอื่น ธุรกิจอื่น ๆ ที่ผมคิดว่าทำได้ไม่ยากรวมถึงโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย เหตุผลก็คือ อสังหาริมทรัพย์นั้น มีปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งถ้าเรามีที่ดินหรือซื้อที่ดินที่ดีแล้ว ปัจจัยอย่างอื่นก็มักจะเป็นรองและถ้าเราไม่มีเราก็สามารถจ้างหรือหามาได้ และนั่นเป็นที่มาว่า นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มือใหม่จำนวนมากสามารถทำโครงการและประสบความสำเร็จได้ ที่น่าสนใจก็เช่น โครงการคอมมูนิตี้มอลหลาย ๆ แห่งที่เปิดขึ้นมาในช่วงเร็ว ๆ นี้
กิจการบางอย่างนั้นเป็นกิจการ “โลว์เท็ค” ดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายมาก เช่น ร้านสะดวกซื้อ นี่ดูเหมือนว่าใคร ๆ ก็ทำได้ พนักงานนั้นขอให้คิดเลขเป็นบ้างก็ทำได้แล้ว ระบบอะไรต่าง ๆ ก็ดูไม่น่ายากและก็สามารถหาซื้อได้ในตลาด แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ในยุคสมัยนี้ การทำร้านสะดวกซื้อที่จะ “ทำกำไรได้” นั้น เป็นเรื่องที่ยาก สาเหตุก็เพราะในขณะนี้เรามีผู้ให้บริการรายใหญ่มากที่เขาได้สร้างกิจการมาจนมีความได้เปรียบในด้านของต้นทุนและคุณภาพของบริการรวมถึงความได้เปรียบในด้านการตลาดมากซึ่งทำให้รายที่เข้ามาใหม่ที่ต้องเริ่มจากขนาดที่เล็กไม่สามารถแข่งขันได้ พูดง่าย ๆ มันเป็นธุรกิจที่ทำยาก ถ้าจะทำให้ได้กำไร และนี่คือคำจำกัดความของ “ธุรกิจที่ทำยาก” ของผม
การที่ธุรกิจจะทำได้ง่ายหรือทำได้ยากนั้น นอกจากเรื่องของธรรมชาติของอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวโครงสร้างและวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าในขณะนั้นเป็นอย่างไร ในบางธุรกิจที่วงจรชีวิตยังเพิ่งจะเริ่มต้นไม่มีผู้นำหรือรายใหญ่ที่แท้จริง การทำธุรกิจอาจจะง่าย ผู้ที่เริ่มเข้ามาทำก่อนอาจจะทำได้ง่าย แต่เมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงและในที่สุดก็มี “ผู้ชนะ” ที่สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้มากพอและเหนือกว่าคู่แข่งลำดับต่อ ๆ ไปมาก การทำธุรกิจสำหรับรายใหม่ก็จะยากขึ้นและยากขึ้นเรื่อย ๆ หน้าที่ของ VI ก็คือ คอยวิเคราะห์ดูว่าธุรกิจที่เรากำลังดูอยู่นั้นทำได้ง่ายหรือยากในขณะนั้น ถ้าธุรกิจนั้นทำได้ง่ายสำหรับคนมาใหม่เราก็อย่าให้คุณค่ามากแม้ว่าในขณะที่เราดูนั้นบริษัทอาจจะทำกำไรได้ดีหรือคาดว่าจะทำกำไรได้ดีก็ตาม
บางครั้งเราอาจจะพบว่า กิจการที่เราดูอยู่นั้นสามารถทำกำไรได้ดีมาก แล้วบริษัทก็ประกาศขยายงานอย่างรวดเร็ว นักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างก็ตื่นเต้นและประมาณการการเติบโตของกำไรในอนาคตสูงมากอาจจะเป็น 2 เท่าตัว นอกจากกำไรที่โตแบบก้าวกระโดดแล้ว พวกเขาก็อาจจะตีความว่าบริษัทเป็นบริษัทที่ “โตเร็วมาก” ดังนั้น พวกเขาก็จะให้ค่า PE สูงขึ้นมากเช่นที่เคยซื้อขายที่ 10 เท่าก็กลายเป็น 20 เท่า ซึ่งทำให้มูลค่าของหุ้นโตขึ้น 4 เท่าตัว แต่สิ่งที่เขาอาจจะไม่ได้ดูก็คือ นี่อาจจะเป็นธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย” กำไรที่เห็นหรือคาดอาจจะไม่ยั่งยืน และในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป กำไรอาจจะถอยกลับลงมาหรือไปไม่ถึงตามที่คาด ราคาหุ้นก็อาจจะตกลงมา และคนที่ซื้อหุ้นในราคาที่สูงลิ่วก็จะเจ็บตัวอย่างหนัก และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย”
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
กลยุทธ์ “ยอดนิยม” อย่างหนึ่งของบริษัทในตลาดหุ้นก็คือ ถ้ากิจการของบริษัทนั้นดีหรืออยู่ในช่วง “ขาขึ้น” บริษัทก็ไปเทคโอเวอร์หรือซื้อกิจการที่ทำเหมือนกันแต่อาจจะทำไม่ได้ดีเท่าเข้ามาเพิ่มเติม การทำแบบนี้อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นไปอีก หรืออย่างน้อยก็ทำให้คน “เชื่อ” ว่ากิจการของบริษัทจะดีขึ้นไปอีก ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะ “วิ่งระเบิด” ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว บริษัทอาจจะไม่ดีขึ้นเลยเมื่อคำนึงถึงเม็ดเงินที่ต้องใช้ในการซื้อกิจการที่อาจจะสูงไม่คุ้มค่ากับกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นมา เหตุผลก็คือ คนที่ขายกิจการนั้น เขารู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร คงไม่ยอมขายถูก ๆ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อซื้อกิจการแล้ว คนซื้อนั้นสามารถ “เพิ่มมูลค่า” ของกิจการนั้นได้มากน้อยแค่ไหน อย่าไปคิดว่าบริษัทชำนาญในการบริหารกิจการประเภทนั้นอยู่แล้วและการเทคโอเวอร์กิจการแบบเดียวกันจะต้องมี Synergy หรือสามารถลดต้นทุนของกิจการลงได้มาก เราจะต้องวิเคราะห์ถึงแหล่งของการประหยัดที่ว่านั้นได้จริง ๆ ไม่ใช่เชื่อแต่คำพูดของผู้บริหารโดยไม่ตั้งคำถาม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเทคโอเวอร์สำหรับผมแล้ว มันเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และอะไรที่ทำได้ง่าย ผมมักจะ “ไม่ให้ราคา” มากนัก
ถ้ากิจการของบริษัทนั้นไม่ดี หรืออยู่ในช่วง “ขาลง” หรือบางทีก็ “เจ๊ง” อยู่ บริษัทต้องการ “Turnaround” หรือฟื้นฟูกิจการให้กลับมามีกำไร บริษัทก็ไปซื้อกิจการหรือไปสร้างธุรกิจใหม่ที่กำลังมีอนาคต “สดใส” เป็นธุรกิจ “Sun Rise” หรือธุรกิจที่กำลังเติบโต ทุกคนกล่าวขวัญถึงตัวอย่าง เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน โดยเฉพาะที่สามารถขายโดยได้เงินชดเชยจากหน่วยงานของรัฐ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่กำลัง “ร้อนแรง” ในช่วงนี้ หรือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ “มีกำไร” อยู่แล้วที่เจ้าของอาจจะ “โอนเข้ามา” ในบริษัท ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะ “วิ่งระเบิด” ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง กำไรที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจจะไม่ได้มากมายอะไรนักเมื่อเทียบกับเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ตัวธุรกิจใหม่เองนั้น ก็ยังไม่รู้ว่าจะเติบโตต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน การ Turnaround หรือฟื้นตัวนั้นอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจเดิมเลย ดังนั้น หุ้นแบบนี้จึงไม่น่าจะเป็นหุ้น Turnaround แต่น่าจะเป็นเรื่องของการทำ “ธุรกิจใหม่” ซึ่งบริษัทไม่เคยมีประสบการณ์ และดังนั้น หุ้นจึงไม่น่าจะมี Value หรือมูลค่ามากนัก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มันเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และอะไรที่ทำได้ง่าย ผมมักจะ “ไม่ให้ราคา” มากนัก
การที่ผมไม่ใคร่จะให้ราคาธุรกิจที่ทำได้ง่ายนั้น เป็นเพราะผมเห็นว่าธุรกิจเหล่านั้นจะไม่สามารถทำกำไรสูง ๆ หรือกำไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์สูงได้ในระยะยาว พูดง่าย ๆ กำไรที่ได้มานั้นต้องอาศัยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และสินทรัพย์ที่สูงนั้นก็ต้องอาศัยเงินทุนของเจ้าของมาก และเงินทุนนี้มี “ต้นทุน” ซึ่งคิดไปแล้วก็อาจจะพอ ๆ กับกำไรที่ได้รับ ส่วนสาเหตุที่ธุรกิจที่ทำได้ง่ายไม่สามารถทำกำไรสูงได้นั้น เป็นเพราะว่าถ้าธุรกิจนั้นทำเงินมาก ๆ ในบางช่วงเวลา ก็จะมีคนอื่นเข้ามาทำแข่ง และเมื่อมีคนมาแข่งมาก ราคาสินค้าก็จะลดลง สุดท้าย กำไรของธุรกิจก็จะลดลง และเมื่อกำไรของธุรกิจลดลง ราคาหุ้นก็จะลดลง
ที่ผมพูดว่าธุรกิจที่ทำได้ง่ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทขายนั้น ทำได้ง่าย ธุรกิจหลายอย่าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากในแง่ของคนที่มาทำ พวกเขาจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือเป็นวิศวกรที่ชำนาญการ แต่ธุรกิจเหล่านี้ถ้าคนจะก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับเจ้าเดิมอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ทางหนึ่งก็คือ เราก็จ้างพนักงานเก่ง ๆ ที่ทำงานเหล่านั้นอยู่แล้วออกมาทำแข่งกับบริษัทที่มีอยู่เดิม ประเด็นก็คือ บริษัทใหม่ของเรานั้น สามารถแข่งขันกับเจ้าเดิมได้โดยที่ไม่ได้มีข้อเสียเปรียบมากนัก นี่ก็คือความหมายของธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย” ในสายตาของผม
ตัวอย่างของธุรกิจที่ทำได้ง่ายก็เช่น ทำธุรกิจเหมืองถ่านหิน นี่ก็ไม่ยากนักถ้าเรามีเงินและอาจจะต้องจ้างคนที่มีความเชี่ยวชาญไปหาซื้อเหมืองหรือสัมปทานที่อินโดนีเซีย ขุด แล้วก็ส่งมาขายที่ประเทศไทย เช่นเดียวกัน เราอาจจะทำธุรกิจขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม วิธีก็คือ เราต้องไป “ประมูล” เสนอราคาขายพลังงานไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้า ถ้าข้อเสนอเราดี เราก็จะได้ธุรกิจและเราก็สามารถทำธุรกิจนี้ได้ดีเท่า ๆ กับคู่แข่งหรือผู้ให้บริการรายอื่น ธุรกิจอื่น ๆ ที่ผมคิดว่าทำได้ไม่ยากรวมถึงโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลาย เหตุผลก็คือ อสังหาริมทรัพย์นั้น มีปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งถ้าเรามีที่ดินหรือซื้อที่ดินที่ดีแล้ว ปัจจัยอย่างอื่นก็มักจะเป็นรองและถ้าเราไม่มีเราก็สามารถจ้างหรือหามาได้ และนั่นเป็นที่มาว่า นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มือใหม่จำนวนมากสามารถทำโครงการและประสบความสำเร็จได้ ที่น่าสนใจก็เช่น โครงการคอมมูนิตี้มอลหลาย ๆ แห่งที่เปิดขึ้นมาในช่วงเร็ว ๆ นี้
กิจการบางอย่างนั้นเป็นกิจการ “โลว์เท็ค” ดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายมาก เช่น ร้านสะดวกซื้อ นี่ดูเหมือนว่าใคร ๆ ก็ทำได้ พนักงานนั้นขอให้คิดเลขเป็นบ้างก็ทำได้แล้ว ระบบอะไรต่าง ๆ ก็ดูไม่น่ายากและก็สามารถหาซื้อได้ในตลาด แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ในยุคสมัยนี้ การทำร้านสะดวกซื้อที่จะ “ทำกำไรได้” นั้น เป็นเรื่องที่ยาก สาเหตุก็เพราะในขณะนี้เรามีผู้ให้บริการรายใหญ่มากที่เขาได้สร้างกิจการมาจนมีความได้เปรียบในด้านของต้นทุนและคุณภาพของบริการรวมถึงความได้เปรียบในด้านการตลาดมากซึ่งทำให้รายที่เข้ามาใหม่ที่ต้องเริ่มจากขนาดที่เล็กไม่สามารถแข่งขันได้ พูดง่าย ๆ มันเป็นธุรกิจที่ทำยาก ถ้าจะทำให้ได้กำไร และนี่คือคำจำกัดความของ “ธุรกิจที่ทำยาก” ของผม
การที่ธุรกิจจะทำได้ง่ายหรือทำได้ยากนั้น นอกจากเรื่องของธรรมชาติของอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวโครงสร้างและวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าในขณะนั้นเป็นอย่างไร ในบางธุรกิจที่วงจรชีวิตยังเพิ่งจะเริ่มต้นไม่มีผู้นำหรือรายใหญ่ที่แท้จริง การทำธุรกิจอาจจะง่าย ผู้ที่เริ่มเข้ามาทำก่อนอาจจะทำได้ง่าย แต่เมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงและในที่สุดก็มี “ผู้ชนะ” ที่สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้มากพอและเหนือกว่าคู่แข่งลำดับต่อ ๆ ไปมาก การทำธุรกิจสำหรับรายใหม่ก็จะยากขึ้นและยากขึ้นเรื่อย ๆ หน้าที่ของ VI ก็คือ คอยวิเคราะห์ดูว่าธุรกิจที่เรากำลังดูอยู่นั้นทำได้ง่ายหรือยากในขณะนั้น ถ้าธุรกิจนั้นทำได้ง่ายสำหรับคนมาใหม่เราก็อย่าให้คุณค่ามากแม้ว่าในขณะที่เราดูนั้นบริษัทอาจจะทำกำไรได้ดีหรือคาดว่าจะทำกำไรได้ดีก็ตาม
บางครั้งเราอาจจะพบว่า กิจการที่เราดูอยู่นั้นสามารถทำกำไรได้ดีมาก แล้วบริษัทก็ประกาศขยายงานอย่างรวดเร็ว นักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างก็ตื่นเต้นและประมาณการการเติบโตของกำไรในอนาคตสูงมากอาจจะเป็น 2 เท่าตัว นอกจากกำไรที่โตแบบก้าวกระโดดแล้ว พวกเขาก็อาจจะตีความว่าบริษัทเป็นบริษัทที่ “โตเร็วมาก” ดังนั้น พวกเขาก็จะให้ค่า PE สูงขึ้นมากเช่นที่เคยซื้อขายที่ 10 เท่าก็กลายเป็น 20 เท่า ซึ่งทำให้มูลค่าของหุ้นโตขึ้น 4 เท่าตัว แต่สิ่งที่เขาอาจจะไม่ได้ดูก็คือ นี่อาจจะเป็นธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย” กำไรที่เห็นหรือคาดอาจจะไม่ยั่งยืน และในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป กำไรอาจจะถอยกลับลงมาหรือไปไม่ถึงตามที่คาด ราคาหุ้นก็อาจจะตกลงมา และคนที่ซื้อหุ้นในราคาที่สูงลิ่วก็จะเจ็บตัวอย่างหนัก และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย”
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
"the company is a "serial acquirer." An average of more than two or three acquisition a year is
a sign of potential trouble.
After all if the company itself would rather buy the stock of other business than invest in its own,
shouldn't you take the hint and look elsewhere too?
source:commentary on chapter 11 p303 "The Intelligent Investor" Benjamin Graham revised edition by Jason Zweig
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
Definition of 'Inorganic Growth'
A growth in the operations of a business that arises from mergers or takeovers, rather than an increase in the companies own business activity.
Read more: http://www.investopedia.com/terms/i/ino ... z1pT4pIyAW
-
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ส่วนตัว ผมไม่ค่อยเห็นกับคำว่า "ธุรกิจทำง่าย" ซักเท่าไหร่อ่ะครับ อ่านแล้วมันรู้สึกว่า มันมีความขัดแย้งในตัวมันเองมากเกินไป
เพราะอ่านจากนิยาม "ธุรกิจทำง่าย" ของอาจารย์ แล้ว มันก็เหมือนกับว่า ในโลกนี้ มันไม่มีธุรกิจที่ทำได้ยากเลย
ซึ่งจริง ๆ แล้ว จากบทความของอาจารย์ น่าจะเป็น "ธุรกิจที่แข่งด้วยง่าย" กับ "ธุรกิจที่แข่งด้วยยาก" มากกว่านะครับ
เพราะอ่านจากนิยาม "ธุรกิจทำง่าย" ของอาจารย์ แล้ว มันก็เหมือนกับว่า ในโลกนี้ มันไม่มีธุรกิจที่ทำได้ยากเลย
ซึ่งจริง ๆ แล้ว จากบทความของอาจารย์ น่าจะเป็น "ธุรกิจที่แข่งด้วยง่าย" กับ "ธุรกิจที่แข่งด้วยยาก" มากกว่านะครับ
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ปัญหาของพี่ ไม่ใช่สิ่งที่พี่คิดblueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่เป็นอัตตาในตัวพี่ต่างหาก
ว่างๆ ก็เคาะออกไปบ้างครับ
จะได้ไม่เครียด...
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1242
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ในธุรกิจที่ว่าทำง่ายนั้น มันก็มีคนเก่งที่ทำได้ดีกว่าเจ้าอื่นจนโดดเด่นนะ
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
-
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ไม่แปลกหลอกครับ ผมก็เห็นด้วยกับพี่blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
แสดงความคิดเห็นมาเถอะครับ ผมก็แสดงความเห็นแย้งบ่อยๆ หลายๆครั้งความเห็นแย้งมันทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าจะเออออห่อหมกตามๆกันไปเสียอีก แต่ขอให้แสดงบนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ผมอ่านบทความของอาจารย์ หลายครั้งมักจะเชื่อมโยงเข้าสู้ร้านสะดวกซื้อและค้าปลีก
ในบทความนี้ ดูเหมือนบทสรุปออกจะง่ายไปสักหน่อยที่ว่า ธุรกิจที่ทำง่ายหรือยาก เพราะในความเป็นจริงบนพื้นฐานของการทำธุรกิจทุกประเภทไม่มีคำว่าง่าย แต่มันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ใหม่ๆที่จะมีเข้ามาตีตลาดมากกว่า
ในบทความนี้ ดูเหมือนบทสรุปออกจะง่ายไปสักหน่อยที่ว่า ธุรกิจที่ทำง่ายหรือยาก เพราะในความเป็นจริงบนพื้นฐานของการทำธุรกิจทุกประเภทไม่มีคำว่าง่าย แต่มันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ใหม่ๆที่จะมีเข้ามาตีตลาดมากกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
ผมว่า ดร.ใช้คำถูกแล้วครับ ธุรกิจทำง่าย และร้านสะดวกซื้อก็เกี่ยวข้องอย่างมากเลยครับ
การที่เราจะทำร้านแบบ 7-11 นั้นมันยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง supply chain, economic of scale, ระบบการบริหาร, ระบบการกระจ่ายสินค้า
การเริ่มต้นที่จะทำแบบ 7-11 นั้นจำเป็นต้องขาดทุน และกว่าจะเติบโตเป็น cash cow มันใช้เวลานานมาก ถ้าไม่ใช่กลุ่ม CP ที่เป็นผู้สนับสนุนการทำธุรกิจผมว่าไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ เราอาจจะเปรียบเทียบได้กับ Family mart หรือ 108shop ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งๆที่ทุกคนก็อย่างเป็นเหมือน 7-11
เราจะเห็นการปรับเปลี่ยนให้ 7-11 มีกำไรสูงอยู่เสมอ เช่นการเข้าสู่ร้านอาหารสะดวกซื้อ, ขายสินค้าcatalog หรือหลายๆ สุดท้ายมันก็เป็นช่องทางจัดจำหน่ายที่มีอำนาจต่อรองสูง เพราะอยู่ใกล้ผู้บริโภคมากที่สุด เรื่องพวกนี้ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะถ้าจะแข่งก็ต้องมีกลยุทธ์และการบริหารที่ดีกว่า 7-11 ,ต้องใช้เงินทุนสูง และพร้อมที่จะขาดทุนในช่วงแรกของการดำเนินงานซึ่งอาจจะกินเวลาหลายปีเลยก็ได้
แต่อะไรก็เกิดชึ้นได้เสมอ ถ้าเราได้อ่านหนังสือ SAM WALTON เจ้าของ walmart จะพบกว่า สาขาแรกของ walmart เกิดขึ้นในขณะที่ kmart มีสาขาธุรกิจหลายร้อยสาขา สุดท้าย kmart ก็ต้องล้มละลาย
ใครที่ตำหนิคุณ blueplanet ผมว่าใจแคบครับ เพราะก็แสดงความเห็นก็เป็นเสรีภาพของประชาชน และในเมื่อไม่ได้ผิดกฎอะไรของเว๊ป ก็ไม่ควรจะตำหนิกัน ไม่งั้นจะมีการพัฒนาได้อย่างไร ในวิชาการต่างๆก็มีการถกเถียงกันอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อการพัฒนาของงานวิชาการนั้นๆให้ดียิ่งขึ้น
การที่เราจะทำร้านแบบ 7-11 นั้นมันยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง supply chain, economic of scale, ระบบการบริหาร, ระบบการกระจ่ายสินค้า
การเริ่มต้นที่จะทำแบบ 7-11 นั้นจำเป็นต้องขาดทุน และกว่าจะเติบโตเป็น cash cow มันใช้เวลานานมาก ถ้าไม่ใช่กลุ่ม CP ที่เป็นผู้สนับสนุนการทำธุรกิจผมว่าไม่เป็นอย่างทุกวันนี้ เราอาจจะเปรียบเทียบได้กับ Family mart หรือ 108shop ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งๆที่ทุกคนก็อย่างเป็นเหมือน 7-11
เราจะเห็นการปรับเปลี่ยนให้ 7-11 มีกำไรสูงอยู่เสมอ เช่นการเข้าสู่ร้านอาหารสะดวกซื้อ, ขายสินค้าcatalog หรือหลายๆ สุดท้ายมันก็เป็นช่องทางจัดจำหน่ายที่มีอำนาจต่อรองสูง เพราะอยู่ใกล้ผู้บริโภคมากที่สุด เรื่องพวกนี้ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะถ้าจะแข่งก็ต้องมีกลยุทธ์และการบริหารที่ดีกว่า 7-11 ,ต้องใช้เงินทุนสูง และพร้อมที่จะขาดทุนในช่วงแรกของการดำเนินงานซึ่งอาจจะกินเวลาหลายปีเลยก็ได้
แต่อะไรก็เกิดชึ้นได้เสมอ ถ้าเราได้อ่านหนังสือ SAM WALTON เจ้าของ walmart จะพบกว่า สาขาแรกของ walmart เกิดขึ้นในขณะที่ kmart มีสาขาธุรกิจหลายร้อยสาขา สุดท้าย kmart ก็ต้องล้มละลาย
ใครที่ตำหนิคุณ blueplanet ผมว่าใจแคบครับ เพราะก็แสดงความเห็นก็เป็นเสรีภาพของประชาชน และในเมื่อไม่ได้ผิดกฎอะไรของเว๊ป ก็ไม่ควรจะตำหนิกัน ไม่งั้นจะมีการพัฒนาได้อย่างไร ในวิชาการต่างๆก็มีการถกเถียงกันอยู่ตลอดเวลา ก็เพื่อการพัฒนาของงานวิชาการนั้นๆให้ดียิ่งขึ้น
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- siebelize
- Verified User
- โพสต์: 451
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
อยากทราบเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยน่ะครับ เป็นวิทยาทานblueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
ถ้าเกิดว่าการแสดงความคิดเห็น เกิดจากเจตนาดี ผมว่าอย่าได้แคร์เลยว่าแสดงความเห็นแล้วถูกด่า
แต่แค่ขอให้ใช้คำ,ใช้สำนวนที่ดูแล้วสร้างสรรค์หน่อย
ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นพวกโลกสวย
โพสต์ได้แค่ "+1", "like", "เห็นด้วยครับ", "ยกนิ้วให้ๆๆ"
อะไรได้แค่นี้แหละครับ
ผมว่าคนจะประสบความสำเร็จในการลงทุน โดยเฉพาะสไตล์ VI น่าจะเป็นคนที่ มองเห็นอะไรที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นนะ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
การที่ธุรกิจจะทำได้ง่ายหรือทำได้ยากนั้น นอกจากเรื่องของธรรมชาติของอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวโครงสร้างและวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมว่าในขณะนั้นเป็นอย่างไร ในบางธุรกิจที่วงจรชีวิตยังเพิ่งจะเริ่มต้นไม่มีผู้นำหรือรายใหญ่ที่แท้จริง การทำธุรกิจอาจจะง่าย ผู้ที่เริ่มเข้ามาทำก่อนอาจจะทำได้ง่าย แต่เมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงและในที่สุดก็มี “ผู้ชนะ” ที่สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมาได้มากพอและเหนือกว่าคู่แข่งลำดับต่อ ๆ ไปมาก การทำธุรกิจสำหรับรายใหม่ก็จะยากขึ้นและยากขึ้นเรื่อย ๆ หน้าที่ของ VI ก็คือ คอยวิเคราะห์ดูว่าธุรกิจที่เรากำลังดูอยู่นั้นทำได้ง่ายหรือยากในขณะนั้น ถ้าธุรกิจนั้นทำได้ง่ายสำหรับคนมาใหม่เราก็อย่าให้คุณค่ามากแม้ว่าในขณะที่เราดูนั้นบริษัทอาจจะทำกำไรได้ดีหรือคาดว่าจะทำกำไรได้ดีก็ตาม
ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์พูดเรื่องจริงๆเห็นภาพจริงๆครับ
ในโลกธุรกิจ ใครทำอะไรที่คนอื่นทำไม่ได้ (ได้เงินครับ เพราะืทำคนเดียว กินคนเดียว)
สมัยก่อนผู้พันแซนเดอร์คิดค้นสูตรไก่ทอด ก้ยังรวยได้เลยครับ
เฮนรี่ ฟอรด์ คิดค้นรถฟอรด์
บิลเกต กับวินโดว์
รวมถึง ผู้นำแนวทางการลงทุนแบบ value investment ในประเทศไทย คนแรกอย่างท่านอาจารย์
อะไรก้ตาม ที่เริ่มรู้และลงทุนเป็นคนแรกถ้า ตลาดมองว่ามันใช่ ถ้าไม่รวยผมยอมให้เตะก้น
ไม่ใช่แค่ธุรกิจ ตลาดหุ้นเองก้เช่นกัน วิธีการแบบหนึ่งที่เคยได้ผลดีตอนหนึ่งอาจจะไม่ได้
ผลดีในอนาคต เพราะตลาดมีประสิทธิภาพครับ
ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์พูดเรื่องจริงๆเห็นภาพจริงๆครับ
ในโลกธุรกิจ ใครทำอะไรที่คนอื่นทำไม่ได้ (ได้เงินครับ เพราะืทำคนเดียว กินคนเดียว)
สมัยก่อนผู้พันแซนเดอร์คิดค้นสูตรไก่ทอด ก้ยังรวยได้เลยครับ
เฮนรี่ ฟอรด์ คิดค้นรถฟอรด์
บิลเกต กับวินโดว์
รวมถึง ผู้นำแนวทางการลงทุนแบบ value investment ในประเทศไทย คนแรกอย่างท่านอาจารย์
อะไรก้ตาม ที่เริ่มรู้และลงทุนเป็นคนแรกถ้า ตลาดมองว่ามันใช่ ถ้าไม่รวยผมยอมให้เตะก้น
ไม่ใช่แค่ธุรกิจ ตลาดหุ้นเองก้เช่นกัน วิธีการแบบหนึ่งที่เคยได้ผลดีตอนหนึ่งอาจจะไม่ได้
ผลดีในอนาคต เพราะตลาดมีประสิทธิภาพครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
อีกกลยุทธ์ ที่กิจการที่ประสบความสำเร็จ คือ เหาฉลาม ครับ
ถ้าเราเป็นตัวแทนจำหน่าย สินค้าหรือบริการ แต่เพียงเจ้าเดียวในประเทศนั้นๆ
โดยที่สินค้านั้น ขายดีและบริษัทที่ขายนั้นสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
เชื่อได้เถอะครับ
รวย รวย รวย
เป็นธุรกิจที่ ทำไม่ง่ายนะครับ เพราะ เจ้าของสินค้าหรือบริการ ให้ เรา ขายได้ คนเดียว
ถ้าเราเป็นตัวแทนจำหน่าย สินค้าหรือบริการ แต่เพียงเจ้าเดียวในประเทศนั้นๆ
โดยที่สินค้านั้น ขายดีและบริษัทที่ขายนั้นสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
เชื่อได้เถอะครับ
รวย รวย รวย
เป็นธุรกิจที่ ทำไม่ง่ายนะครับ เพราะ เจ้าของสินค้าหรือบริการ ให้ เรา ขายได้ คนเดียว
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 170
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
ผมนึกว่าผมคิดอยู่คนเดียวDan_Green เขียน:ผมอ่านบทความของอาจารย์ หลายครั้งมักจะเชื่อมโยงเข้าสู้ร้านสะดวกซื้อและค้าปลีก
ในบทความนี้ ดูเหมือนบทสรุปออกจะง่ายไปสักหน่อยที่ว่า ธุรกิจที่ทำง่ายหรือยาก เพราะในความเป็นจริงบนพื้นฐานของการทำธุรกิจทุกประเภทไม่มีคำว่าง่าย แต่มันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ใหม่ๆที่จะมีเข้ามาตีตลาดมากกว่า
ประเด็นคือผมอยากได้ยินข้อเสียของร้านสะดวกซื้อ พวกโมเดินเทรดบ้างครับ
ทุกอย่างต้องมีสองด้านเสมอ
อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 170
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
ผมว่าจิตใจแกอาจทุ่มอยู่กับโมเดินเทรดคับ ไม่ผิดหรอก คิดวิเคราะอะไรก็เข้าหาโดยไม่รู้ตัวmaiaowna เขียน:ไม่แปลกหลอกครับ ผมก็เห็นด้วยกับพี่blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่ผมแค่อยากได้ยินข้อแตกต่างออกมาครับ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
7/11 ในอนาคตอาจจะเจอศึกหนักนะครับArpieaw เขียน:ผมว่าจิตใจแกอาจทุ่มอยู่กับโมเดินเทรดคับ ไม่ผิดหรอก คิดวิเคราะอะไรก็เข้าหาโดยไม่รู้ตัวmaiaowna เขียน:ไม่แปลกหลอกครับ ผมก็เห็นด้วยกับพี่blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่ผมแค่อยากได้ยินข้อแตกต่างออกมาครับ
lotus big c โผล่หนักขนาดนี้ เท่าที่ดู 7/11 ขายดีเฉพาะของกินเล่น
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 23
และในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป กำไรอาจจะถอยกลับลงมาหรือไปไม่ถึงตามที่คาด ราคาหุ้นก็อาจจะตกลงมา และคนที่ซื้อหุ้นในราคาที่สูงลิ่วก็จะเจ็บตัวอย่างหนัก และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย”
ประโยคนี้ใช้ได้กับทุกธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ ธุรกิจสะดวกซื้อ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
นั้นแหละครับ กำไรของ 7-11 แต่ อะไรที่ทำให้ 7-11 เหนือกว่า lotus bigcchukieat30 เขียน:7/11 ในอนาคตอาจจะเจอศึกหนักนะครับArpieaw เขียน:ผมว่าจิตใจแกอาจทุ่มอยู่กับโมเดินเทรดคับ ไม่ผิดหรอก คิดวิเคราะอะไรก็เข้าหาโดยไม่รู้ตัวmaiaowna เขียน:ไม่แปลกหลอกครับ ผมก็เห็นด้วยกับพี่blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่ผมแค่อยากได้ยินข้อแตกต่างออกมาครับ
lotus big c โผล่หนักขนาดนี้ เท่าที่ดู 7/11 ขายดีเฉพาะของกินเล่น
เพราะ
1.เป็นร้านสะดวกซื้อ เราซื้อเพราะสะดวก มันเลยต้องแพงกว่า
2.ผู้บริหารร้าน(แฟรน์ชาย) 7-11 คือผู้ลงทุนร่วม(แต่ผมเรียกว่าลูกจ้าง ที่มีความเสี่ยงสูง) คนเหล่านี้ต้องทำงานหนักเพื่อรักษายอด (ทำให้7-11มีกำไรสูงเพราะส่วนนี้ด้วย), ต้องบริหาร 24 ชม และต้องเอาเงินมาให้ 7-11 ขยายธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ. lotus bigc ไม่มี
3.อาหารคือจุดแข็งของ 7-11
4.ทำเลที่ถูกยึดก่อน ทำให้คู่แข่งเข้าได้อยาก
แต่ความเห็นส่วนตัวผมคือ 7-11 เป็นหุ้นที่แพงมาก ไม่ควรซื้อลงทุน
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
-
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
ถ้า lotus express เปิดประกบ 711 mini big c บุกไปพร้อมกับบางจาก 711ก็ย่อมมีคู่แข่งแน่นอนการเปิดร้านหาทำเลยากขึ้น เพราะแย่งกัน ดังนั้นเป้าหมายไปถึง100000ก็ช้าลงหรือเปล่าต้องแบ่งกำลังมาสู้กับคู่แข่งจากที่เดิมสบายๆ
ของที่ขายอยู่เหมือนกันหรือเปล่าหรือคนละอย่าง กำไรจากคนเดียวในตลาดจะเปลี่อนไปหรือเปล่า จะรู้ได้อย่างไรมีสัญณาณอะไรบอกบ้าง ฝากช่วยคิดด้วย
ของที่ขายอยู่เหมือนกันหรือเปล่าหรือคนละอย่าง กำไรจากคนเดียวในตลาดจะเปลี่อนไปหรือเปล่า จะรู้ได้อย่างไรมีสัญณาณอะไรบอกบ้าง ฝากช่วยคิดด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
อย่างกรณีของ เซเว่น ถ้าเกิดมีคู่แข่ง ที่พร้อมที่จะลงแข่งขันจริง ๆ ไล่เปิดสาขา ยอมขาดทุนในช่วงแรก
ถามว่า ลูกค้า ส่วนใหญ่ มี royalty ที่จะเข้า "เซเว่น" อยู่เหมือนเดิมหรือไม่
ถ้าโดยส่วนตัวผม ร้านไหนที่ผมสะดวกมากที่สุด (ใกล้บ้านที่สุด) และราคาสมเหตุสมผล ไม่แพงกว่ามาก
มีของให้ซื้อเหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านนั้น นั่นแหล่ะครับ
ซึ่งสิ่งที่ผมจะสื่อ ก็คือ ผมไม่มีความยึดติดในแบรนด์ "เซเว่น" แต่ผมเน้นสะดวก สบาย ซื้อง่าย ราคาเหมาะสม เป็นหลัก
ดังนั้น หากวันหนึ่งวันใด มีใครมาเปิดร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านผม ที่ไม่ใช่เซเว่น
และมีราคาที่เหมาะสม รับได้ เลือกซื้อของได้เหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านที่ ผมสะดวกมากที่สุดนั่นแหล่ะครับ
อย่างช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสกลับไปที่บ้าน ที่สุราษฎร์
ก็เห็นคู่แข่ง อย่าง TOP ก็เปิดร้านสะดวกซื้อ แข่งกับ เซเว่น อยู่พอสมควรในตัวเมือง เหลืองเด่นทีเดียว
สังเกตก็มีลูกค้าเข้าร้านอยู่พอสมควรเหมือนกัน
เพียงแต่ ปัจจุบัน "เซเว่น" มีการยึดหัวหาดไว้อย่างมากมาย นั่นจึงเป็นเสมือนเกราะกำบัง ป้องกัน คู่แข่ง ไม่ให้เข้ามาได้ง่าย จากขนาดของธุรกิจ
แต่ถ้าคู่แข่ง พร้อมลงมาแข่งขันอย่างจริงจัง
"เซเว่น" ที่เป็น "ธุรกิจทำยาก" จะยังคงถูกกำหนดเป็น "ธุรกิจทำยาก" อีกต่อไปหรือไม่ ???
ถามว่า ลูกค้า ส่วนใหญ่ มี royalty ที่จะเข้า "เซเว่น" อยู่เหมือนเดิมหรือไม่
ถ้าโดยส่วนตัวผม ร้านไหนที่ผมสะดวกมากที่สุด (ใกล้บ้านที่สุด) และราคาสมเหตุสมผล ไม่แพงกว่ามาก
มีของให้ซื้อเหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านนั้น นั่นแหล่ะครับ
ซึ่งสิ่งที่ผมจะสื่อ ก็คือ ผมไม่มีความยึดติดในแบรนด์ "เซเว่น" แต่ผมเน้นสะดวก สบาย ซื้อง่าย ราคาเหมาะสม เป็นหลัก
ดังนั้น หากวันหนึ่งวันใด มีใครมาเปิดร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านผม ที่ไม่ใช่เซเว่น
และมีราคาที่เหมาะสม รับได้ เลือกซื้อของได้เหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านที่ ผมสะดวกมากที่สุดนั่นแหล่ะครับ
อย่างช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสกลับไปที่บ้าน ที่สุราษฎร์
ก็เห็นคู่แข่ง อย่าง TOP ก็เปิดร้านสะดวกซื้อ แข่งกับ เซเว่น อยู่พอสมควรในตัวเมือง เหลืองเด่นทีเดียว
สังเกตก็มีลูกค้าเข้าร้านอยู่พอสมควรเหมือนกัน
เพียงแต่ ปัจจุบัน "เซเว่น" มีการยึดหัวหาดไว้อย่างมากมาย นั่นจึงเป็นเสมือนเกราะกำบัง ป้องกัน คู่แข่ง ไม่ให้เข้ามาได้ง่าย จากขนาดของธุรกิจ
แต่ถ้าคู่แข่ง พร้อมลงมาแข่งขันอย่างจริงจัง
"เซเว่น" ที่เป็น "ธุรกิจทำยาก" จะยังคงถูกกำหนดเป็น "ธุรกิจทำยาก" อีกต่อไปหรือไม่ ???
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 28
ในแง่สะดวก 7/11 อาจจะตอบสนองได้ครับ แต่แง่ราคาสินค้า ถือว่าสุดกู่ทีเดียวwj เขียน:นั้นแหละครับ กำไรของ 7-11 แต่ อะไรที่ทำให้ 7-11 เหนือกว่า lotus bigcchukieat30 เขียน:7/11 ในอนาคตอาจจะเจอศึกหนักนะครับArpieaw เขียน:ผมว่าจิตใจแกอาจทุ่มอยู่กับโมเดินเทรดคับ ไม่ผิดหรอก คิดวิเคราะอะไรก็เข้าหาโดยไม่รู้ตัวmaiaowna เขียน:ไม่แปลกหลอกครับ ผมก็เห็นด้วยกับพี่blueplanet เขียน:เห็นด้วยและชอบมากเกี่ยวกับ เรื่องกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และธุรกิจที่ทำได้ง่าย
แต่ ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร้านสดวกซื้อ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เพราะกลัวถูกด่า
แต่จริงๆแล้วชอบอ่านสิ่งที่ ดร.นิเวศน์เขียนมาก กระตุ้นให้ผมรู้จักคิด
แต่ผมแค่อยากได้ยินข้อแตกต่างออกมาครับ
lotus big c โผล่หนักขนาดนี้ เท่าที่ดู 7/11 ขายดีเฉพาะของกินเล่น
เพราะ
1.เป็นร้านสะดวกซื้อ เราซื้อเพราะสะดวก มันเลยต้องแพงกว่า
2.ผู้บริหารร้าน(แฟรน์ชาย) 7-11 คือผู้ลงทุนร่วม(แต่ผมเรียกว่าลูกจ้าง ที่มีความเสี่ยงสูง) คนเหล่านี้ต้องทำงานหนักเพื่อรักษายอด (ทำให้7-11มีกำไรสูงเพราะส่วนนี้ด้วย), ต้องบริหาร 24 ชม และต้องเอาเงินมาให้ 7-11 ขยายธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ. lotus bigc ไม่มี
3.อาหารคือจุดแข็งของ 7-11
4.ทำเลที่ถูกยึดก่อน ทำให้คู่แข่งเข้าได้อยาก
แต่ความเห็นส่วนตัวผมคือ 7-11 เป็นหุ้นที่แพงมาก ไม่ควรซื้อลงทุน
ถ้าให้ผมมอง 7/11 ก้เคยล้ม 108ช๊อบมา่ก่อน
แต่อะไรจะการันตีได้ว่า 7/11 จะไม่เจอโลตัส หรือ บิ๊กซีเอ็กตร้า ตีแตก
ผมว่า ป่าล้อมเมืองที่เป็นไม้ตาย 7/11 ก้กำลังจะเจอโลตัส ทำกำแพงล้อมป่าไว้อีกชั้นนึง
ด้วยขนาดของโมเดินเทรด +ร้านค้าเช่าที่น่าเดิน+ที่จอดรถและสินค้าที่ครบๆมีให้เลือกเยอะ
ไม่ว่าจะโชว์ห่วย 7/11 หรือ ร้านเล็กๆๆ อนาคตดูแล้ว คงรอดยากครับ
เด๋วนี้การใช้ชีวิตมันเปลี่ยนไปหมดแล้ว คนไปเดินเข็นรถโมเดินเทรดซื้อของกันหมดในวัน
หยุดเสารอาทิตย์ ดูร้านข้างนอก เงียบเป็นป่าช้าทีเดียว
ก้อย่างว่า ร้อนขนาดนี้ ใครๆๆก้อยากจะเดินแอร์ และเลือกห้างที่มีสินค้าหลากหลายแบรนด์
+สินค้าครบๆๆ
ผมมองว่า โลตัส เหมือนต้นไม้ใหญ่ การตลาดที่ร้ายกาจ แถมยังมีแบ่งร่างแทรกซึมไป
ทุกตรอกซอกซอย
ปกติที่ผมเห็นก้มี โลตัสใหญ่(ไฮเปอร) 2ชั้น ตลาดโลตัส(ชั้นเดียว) ร้านคุ้มค่า
โลตัสเอ็กเพรส ดูแล้วไอ้ที่ดูน่ากลัวคือ โลตัสตั้งแต่ระดับ ร้านคุ้มค่า ขึ้นไป
7/11 สู้ไม่ได้เรื่อง 1.ขนาด 2.ราคา3.ความหลากหลายสินค้า
ถ้าเป็นมวย ระดับ7/11 ก้คงเป็นมิดเดินเวท ไปต่อยกับโลตัส ฮารด์เวท รอดยาก
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจทำง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 29
punfreedom เขียน:อย่างกรณีของ เซเว่น ถ้าเกิดมีคู่แข่ง ที่พร้อมที่จะลงแข่งขันจริง ๆ ไล่เปิดสาขา ยอมขาดทุนในช่วงแรก
ถามว่า ลูกค้า ส่วนใหญ่ มี royalty ที่จะเข้า "เซเว่น" อยู่เหมือนเดิมหรือไม่
ถ้าโดยส่วนตัวผม ร้านไหนที่ผมสะดวกมากที่สุด (ใกล้บ้านที่สุด) และราคาสมเหตุสมผล ไม่แพงกว่ามาก
มีของให้ซื้อเหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านนั้น นั่นแหล่ะครับ
ซึ่งสิ่งที่ผมจะสื่อ ก็คือ ผมไม่มีความยึดติดในแบรนด์ "เซเว่น" แต่ผมเน้นสะดวก สบาย ซื้อง่าย ราคาเหมาะสม เป็นหลัก
ดังนั้น หากวันหนึ่งวันใด มีใครมาเปิดร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านผม ที่ไม่ใช่เซเว่น
และมีราคาที่เหมาะสม รับได้ เลือกซื้อของได้เหมือน ๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน ผมก็เข้าร้านที่ ผมสะดวกมากที่สุดนั่นแหล่ะครับ
อย่างช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสกลับไปที่บ้าน ที่สุราษฎร์
ก็เห็นคู่แข่ง อย่าง TOP ก็เปิดร้านสะดวกซื้อ แข่งกับ เซเว่น อยู่พอสมควรในตัวเมือง เหลืองเด่นทีเดียว
สังเกตก็มีลูกค้าเข้าร้านอยู่พอสมควรเหมือนกัน
เพียงแต่ ปัจจุบัน "เซเว่น" มีการยึดหัวหาดไว้อย่างมากมาย นั่นจึงเป็นเสมือนเกราะกำบัง ป้องกัน คู่แข่ง ไม่ให้เข้ามาได้ง่าย จากขนาดของธุรกิจ
แต่ถ้าคู่แข่ง พร้อมลงมาแข่งขันอย่างจริงจัง
"เซเว่น" ที่เป็น "ธุรกิจทำยาก" จะยังคงถูกกำหนดเป็น "ธุรกิจทำยาก" อีกต่อไปหรือไม่ ???
ตอนแรกว่าจะพิมแต่ขี้เกียจพิม มีเรื่องจะพิมยาวไปหมด-_-'แต่คุณpunfreedom คุณพูดที่ผมอยากจะพูดไปเกือบหมดแล้วครับฮ่าๆๆๆ
ผมคิดว่าจุดอ่อนหลักของโมเดลธุรกิจร้านสะดวกซื้อ คือ การเป็นเพียง"ช่องทางกระจายสินค้า" ของสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจะทำให้ไม่มีการยึดติดในแบรนด์สักเท่าไรนัก
ถามง่ายๆนะครับ คุณคิดว่า โค้ก ชาเขียว คอนเน่ ปลากระป๋อง ขนมปัง เอ่อ....อีกหลายอย่างมากมาย พวกนี้ที่ตั้งวางขายอยู่ในเซเว่นเนี่ย "อร่อยกว่า" ของfamily mart มั้ยครับ
ถ้าfamily mart ตั้งใกล้บ้านคุณมากกว่าเซเว่น คุณจะคิดยังงี้มั้ยครับ"โค้กเซเว่นอร่อยกว่า ชั้นไปซื้อโค้กที่เซเว่นดีกว่า เดินไกลไม่เป็นไร"........
แต่ตรงนี้เป็นจุดที่เซเว่นตีโจทแตก เค้ารู้ว่าจุดสำคัญที่ควรโฟกัสในการเอาชนะในการแข่งของร้านสะดวกซื้อคืออะไร
กลับไปที่คำถามเดิม จริงๆแล้วคนส่วนใหญ่คงคิดว่า"family martอยู่ใกล้บ้านกว่า เดินไปแป๊ปเดียวถึง ไปซื้อfamily mart ก็ได้" เพราะฉะนั้นโจทย์ที่เซเว่นต้องตีแตกคือ "ทำยังไงก็ได้ให้เซเว่นเป็นมินิมาร์ทที่มันอยู่ใกล้ตัวคุณที่สุด"
ดังนั้นสิ่งที่เซเว่นทำคือ expansion ...หรือจริงๆแล้วผมเคยได้ยินว่า ในเซเว่นเนี่ย เค้าใช้ หมากล้อม ครับ เค้าใช้กลยุทธ์หมากล้อม ล้อมมมมมันซะให้หมด ซึ่งการexpansionอย่างรวดเร็วนี่ ไม่พ้นต้องรับขาดทุนหน่อยในตอนแรก แต่ผลที่ตามมาทำให้มันได้ชัยชนะในภายหลัง เพราะมันกลายเป็นมินิมาร์ทที่"อยู่ใกล้ตัวคุณที่สุด" ซึ่งจะทำเช่นนี้ได้ แน่นอนต้องมีเงินทุนสูงพอควรเพราะอาจต้องรับขาดทุนในตอนแรก
ส่วนที่คุณ wj พูดถึงเรื่องความยากในเรื่องlogistic นั้น อันนี้เห็นด้วยครับไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่ผมยังมองว่า มันเป็นสิ่งที่ทำกันได้ถ้ามีคู่แข่งคนไหนคิดจะรุกตลาดจริงจัง
และคำพูดสุดท้ายของคุณpunfreedom...
"แต่ถ้าคู่แข่ง พร้อมลงมาแข่งขันอย่างจริงจัง
"เซเว่น" ที่เป็น "ธุรกิจทำยาก" จะยังคงถูกกำหนดเป็น "ธุรกิจทำยาก" อีกต่อไปหรือไม่ ???"
ถ้าใครสงสัยในคำพูดในทั้งหมดของคุณ punfreedom และมีเวลาว่างพอนะครับ แนะนำให้ลองไปเที่ยวภูเก็ตดู คุณจะเห็นเองว่า ถ้ามีคู่แข่งพร้อมลงมาแข่งอย่างจริงจังโดยการ expansion เหมือนกันแล้วเนี่ย ผลมันจะเป็นอย่างไร..
คุณคงไม่คิดหรอกนะครับว่า ผู้บริโภคจะคิดว่า"ชั้นต้องซื้อโค้กที่เซเว่นเท่านั้น" ลองไปเที่ยวแล้วลองดูด้วยตาตัวเองก็ได้ครับ
หมายเหตุ. เซเว่นนั้นบุกตลาดภูเก็ตมาน่าจะเป็น10ปีแล้ว แต่เมื่อ2-3ปีที่ผ่านมา นอกจากtop daily หรือminimart รายอื่น มีผู้ที่บุกตลาดแบบexpansionกลยุทธ์เดียวกับเซเว่นคือ supercheap 24 hr เซเว่นเปิดที่ไหนเค้าเปิดข้างๆเลย ถึงแม้กลุ่มเป้าหมายจะต่างกันนิดหน่อยที่เน้น กลาง-ล่าง แต่สินค้าหลายๆอย่างก็เหมือนเซเว่น และบางแห่งก็มีสินค้าหลายหลายกว่าด้วยครับ ในอนาคตไม่รู้จะเป็นไงนะครับ รู้อย่างเดียวว่าตอนนี้คนเยอะกว่าเซเว่น
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง