ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 1
ขอถามพี่พี่หน่อยครับ ว่าการประชุมผู้ถือหุ้นกับการไปงาน opportunity day
ต่างกันยังไง แบบว่ายังไม่เคยไปครับ
1. ประชุมผู้ถือหุ้น เขาประชุมเนื้อหาอะไรกันครับ ใช้เวลานานไหม
2. opportunituday เขาประชุมเนื้อหาอะไรกันครับ ใช้เวลานานไหม
thanks kub.
(^ ^)
ต่างกันยังไง แบบว่ายังไม่เคยไปครับ
1. ประชุมผู้ถือหุ้น เขาประชุมเนื้อหาอะไรกันครับ ใช้เวลานานไหม
2. opportunituday เขาประชุมเนื้อหาอะไรกันครับ ใช้เวลานานไหม
thanks kub.
(^ ^)
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1746
- ผู้ติดตาม: 0
ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 2
opportunity day
- เหมือนการที่บริษัทมาแนะนำตัวให้นักลงทุนรู้จักว่าบริษัทประกอบกิจการอะไร เป็นอย่างไร หน้าตาผู้บริหารเป็นยังไง เผื่อนักลงทุนสนใจจะซื้อหุ้น แต่ว่าก็จะมีผู้ถือหุ้นเข้ามานั่งฟังและถามอะไรที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบ้าง ในส่วนนี้ใคร ๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้
ประชุมผู้ถือหุ้น
- เฉพาะผู้ถือหุ้นก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม ส่วนมากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของบริษัท และจะมีการโหวตรับรองรายงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่บริษัทจะต้องรายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบ ขณะเดียวกัน ผู้ถือหุ้นก็จะซักไซร้ไล่เลียง ฝ่ายบริหารถึงการดำเนินงานและนโยบายต่าง ๆ มีทะเลาะกันบ้างเป็นน้ำจิ้มเวลาความเห็นหรือผลประโยชน์ไม่ลงตัว (อยากรู้ลองซื้อ THAI แล้วเข้าไปประชุมดูครับ ปีนี้น่าจะสนุก)
- เหมือนการที่บริษัทมาแนะนำตัวให้นักลงทุนรู้จักว่าบริษัทประกอบกิจการอะไร เป็นอย่างไร หน้าตาผู้บริหารเป็นยังไง เผื่อนักลงทุนสนใจจะซื้อหุ้น แต่ว่าก็จะมีผู้ถือหุ้นเข้ามานั่งฟังและถามอะไรที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบ้าง ในส่วนนี้ใคร ๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้
ประชุมผู้ถือหุ้น
- เฉพาะผู้ถือหุ้นก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม ส่วนมากจะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของบริษัท และจะมีการโหวตรับรองรายงานต่าง ๆ ตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่บริษัทจะต้องรายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบ ขณะเดียวกัน ผู้ถือหุ้นก็จะซักไซร้ไล่เลียง ฝ่ายบริหารถึงการดำเนินงานและนโยบายต่าง ๆ มีทะเลาะกันบ้างเป็นน้ำจิ้มเวลาความเห็นหรือผลประโยชน์ไม่ลงตัว (อยากรู้ลองซื้อ THAI แล้วเข้าไปประชุมดูครับ ปีนี้น่าจะสนุก)
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 3
งั้นถ้าอยากรู้เกี่ยวกับ business model และ แนวโน้มการขยายธุรกิจนี่ ก็น่าจะไปงาน opportunity day ใช่ไหมครับ
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 5
thank you krub
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1643
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 8
วันบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day)
Opportunity Day เป็นกิจกรรมที่ทางตลาดหลักทรัพย์จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนนำเสนอผลประกอบการรายไตรมาสรวมถึงตอบข้อซักถามแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วไป ปกติจะจัดขึ้นที่ชั้น 11 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลังช่วงเวลาประกาศงบการเงินได้ไม่นาน เราสามารถติดตามตารางเวลาได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ (http://www.set.or.th) การจัดกิจกรรมที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ มีบริษัทจดทะเบียนต่างๆ สนใจเข้าร่วมมากขึ้น อย่างไตรมาส 4 ที่กำลังจะมาถึงนี้ มีบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมเกือบ 100 บริษัทรวมถึงบริษัทใหญ่ๆ อย่างบ้านปูและปตท. จำนวนนักลงทุนเเฝ้าติดตามกิจกรรมนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับรูปแบบของกิจกรรม Opportunity day มีการพัฒนาให้ดีขึ้นมาโดยตลอด จากเดิมที่ต้องเดินทางมาฟังที่ตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดผ่านทางผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่ดูทางอินเตอร์เน็ตสามารถส่งคำถามแบบ real time ได้ สำหรับผู้ที่พลาดการถ่ายทอดสด ยังสามารถฟังคลิปวิดีโอย้อนหลังได้หลายไตรมาส นอกจากดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว ตอนนี้ยังสามารถดูได้จากอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น Smartphone, Tablet ฯลฯ ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลของนักลงทุน ผมยังให้ความสำคัญในการไปฟังผู้บริหารที่ตลาดหลักทรัพย์ด้วยตัวเอง ประโยชน์ในการไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ที่เราจะได้รับในมุมมองของผม มีดังต่อไปนี้
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เรามีสมาธิในการตั้งใจฟัง มากกว่าการนั่งฟังที่บ้าน
■การซักถาม ถึงแม้ว่าเราจะส่งคำถามผ่านทางอินเตอร์เน็ตระหว่างถ่ายทอดสดได้ ส่วนใหญ่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญของผู้ฟังที่อยู่ในห้องประชุมเป็นอันดับแรก เวลาในการตอบคำถามทางอินเตอร์เน็ตจะมีน้อย และบางคำถามผู้บริหารอาจจะเลือกที่จะไม่พูดออกอากาศ การถามเกี่ยวกับประเด็นต่อเนื่องจากคำถามเดิมก็ทำได้ยาก เพราะจำนวนคำถามทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก โอกาสที่จะไม่ได้รับคำตอบมีค่อนข้างสูง
■บางบริษัทซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จะไม่อนุญาตให้มีการบันทึกหรือถ่ายทอดสดในช่วงถาม-ตอบ จะมีเฉพาะคนในห้องเท่านั้นที่รับรู้
■หลังจบการนำเสนอรวมถึงการถ่ายทอดสด ผู้ฟังที่ตลาดหลักทรัพย์สามารถสอบถามประเด็นเพิ่มเติมรวมถึงคำถามที่มีความละเอียดอ่อนกับผู้บริหารนอกห้องประชุมได้
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ เราสามารถทำความรู้จักกับผู้บริหารและขอนามบัตรเพื่อติดต่อในภายหลังได้
■อีกวิธีที่ผมใช้ในการพูดคุยกับผู้บริหารแบบเป็นกันเอง คือ ถ้าบริษัทไหนผมสนใจลงทุนโดยเฉพาะบริษัทใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยมีข้อมูล ผมจะมาถึงตลาดหลักทรัพย์ก่อนเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้บริหารระหว่างที่นั่งรอคิว ซึ่งเป็นการคุยแบบตัวต่อตัว ไม่มีนักข่าวหรือนักลงทุนอื่นรุมถามเหมือนตอนจบการนำเสนอ แต่สิ่งที่ต้องเตรียม คือศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี และรู้ว่าจะถามอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ผู้บริหารยินดีที่จะพูดคุยกับนักลงทุนอยู่แล้ว
■บางบริษัทใช้โอกาสนี้ให้ผู้ที่สนใจลงรายชื่อเพื่อเยี่ยมชมกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย ซึ่ง Company visit เป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน
■บางบริษัท จะมีการนำสินค้าของบริษัทมาแสดง หรือจำหน่ายในราคาพิเศษ หรือนำตัวอย่างมาแจก จะทำให้เราเข้าใจสินค้าของบริษัทมากขึ้น
■การนั่งฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ผมจะใช้เวลาสังเกตผู้ฟังด้วยว่า กลุ่มคนที่สนใจบริษัทนี้มีใครบ้าง นักวิเคราะห์ นักลงทุน ผู้จัดการกองทุนในประเทศ ผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ ฯลฯ โดยจะให้ความสำคัญกับผู้จัดการกองทุนเป็นหลัก ซึ่งเราจะไม่สามารถทราบกลุ่มผู้ฟังได้ ถ้าเรานั่งฟังทางอินเตอร์เน็ต
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เรารู้จักและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ นักลงทุนที่สนใจในหุ้นตัวเดียวกัน
■อันนี้ของแถมครับ คือทางตลาดหลักทรัพย์ จัดให้มีชากาแฟ และขนม ช่วงพักเบรคแก่ผู้เข้าฟังในแต่ละช่วงการนำเสนอ =)
วันประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้น (Annual General Shareholder meeting)
บริษัทจดทะเบียนจะจัดประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นทุกปี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นควรให้ความสนใจ ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจประชุม บางคนไปเพื่อเอาของชำร่วย, รับประทานอาหารหรือพบปะเพื่อนฝูงเท่านั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุมผู้ถือหุ้นในมุมมองของผม ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
■เราจะได้ทราบข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงแผนงานสำหรับปีนี้รวมถึงทิศทางของธุรกิจในระยะยาว
■บางบริษัทไม่ได้ร่วมกิจกรรม Opportunity Day เนื่องจากอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง Investor Relation ดังนั้นงานประชุมผู้ถือหุ้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พูดคุยหรือซักถามข้อมูลจากผู้บริหาร
■ปกติ บริษัทระดับกลาง-ใหญ่ จะส่งเจ้าหน้าที่ด้านการเงินหรือเจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์ไปแถลงผลงานใน Opportunity Day คำถามบางข้ออาจจะไม่ได้รับคำตอบในงาน Opportunity Day เนื่องจากผู้ตอบไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ดังนั้น งานประชุมผู้ถือหุ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบกับประธานบริษัท ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบบัญชี กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ ฯลฯ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถหาคำตอบเท่าที่บริษัทจะสามารถตอบได้ เรียกได้ว่าเป็นวันของผู้ถือหุ้นเลยทีเดียว
■บางบริษัทจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทหรือโรงงาน ทำให้เรามีโอกาสได้ไปสัมผัสสถานที่ทำงานจริง แม้ว่าจะไม่ได้เยี่ยมชมกระบวนการทำงานก็ตาม นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับทางบริษัทอีกด้วย
■การไปประชุมด้วยตัวเอง เราสามารถเขียนบันทึกสิ่งที่ได้จากการประชุมในมุมมองของตัวเอง แม้ว่าการประชุมผู้ถือหุ้นจะมีบันทึกรายงานการประชุม แต่การบันทึกไม่ได้บันทึกทุกคำพูด เป็นการบันทึกสรุปมากกว่า ซึ่งเป็นไปได้มากที่ข้อมูลสำคัญบางอย่างในมุมมองของเราขาดหายไป
■การประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากคำถามของเราเองแล้ว เราได้จะเรียนรู้กับคำถามจากผู้ถือหุ้นท่านอื่น โดยเฉพาะท่านที่ถือหุ้นมานาน หรือท่านที่มีความรู้ความชำนาญในอุตสาหกรรมที่บริษัทอยู่ ทำให้เราเข้าใจธุรกิจของบริษัทรวมถึงความเป็นมาต่างๆ ในอดีตมากขึ้น
■ของชำร่วย เดี๋ยวนี้เหมือนเป็นประเพณี คือประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีแจกของชำร่วย ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าของบริษัท หรือไม่ก็ของพรีเมียมเล็กๆ น้อยๆ เป็นสินน้ำใจให้ผู้ถือหุ้นติดมือกลับบ้าน ผู้ถือหุ้นมีทั้งพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ซึ่งผมมองของชำร่วยเป็นสิ่งไม่จำเป็น และก็เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบริษัท
Opportunity Day เป็นกิจกรรมที่ทางตลาดหลักทรัพย์จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนนำเสนอผลประกอบการรายไตรมาสรวมถึงตอบข้อซักถามแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วไป ปกติจะจัดขึ้นที่ชั้น 11 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลังช่วงเวลาประกาศงบการเงินได้ไม่นาน เราสามารถติดตามตารางเวลาได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ (http://www.set.or.th) การจัดกิจกรรมที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ มีบริษัทจดทะเบียนต่างๆ สนใจเข้าร่วมมากขึ้น อย่างไตรมาส 4 ที่กำลังจะมาถึงนี้ มีบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมเกือบ 100 บริษัทรวมถึงบริษัทใหญ่ๆ อย่างบ้านปูและปตท. จำนวนนักลงทุนเเฝ้าติดตามกิจกรรมนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับรูปแบบของกิจกรรม Opportunity day มีการพัฒนาให้ดีขึ้นมาโดยตลอด จากเดิมที่ต้องเดินทางมาฟังที่ตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดผ่านทางผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่ดูทางอินเตอร์เน็ตสามารถส่งคำถามแบบ real time ได้ สำหรับผู้ที่พลาดการถ่ายทอดสด ยังสามารถฟังคลิปวิดีโอย้อนหลังได้หลายไตรมาส นอกจากดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว ตอนนี้ยังสามารถดูได้จากอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น Smartphone, Tablet ฯลฯ ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลของนักลงทุน ผมยังให้ความสำคัญในการไปฟังผู้บริหารที่ตลาดหลักทรัพย์ด้วยตัวเอง ประโยชน์ในการไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ที่เราจะได้รับในมุมมองของผม มีดังต่อไปนี้
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เรามีสมาธิในการตั้งใจฟัง มากกว่าการนั่งฟังที่บ้าน
■การซักถาม ถึงแม้ว่าเราจะส่งคำถามผ่านทางอินเตอร์เน็ตระหว่างถ่ายทอดสดได้ ส่วนใหญ่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญของผู้ฟังที่อยู่ในห้องประชุมเป็นอันดับแรก เวลาในการตอบคำถามทางอินเตอร์เน็ตจะมีน้อย และบางคำถามผู้บริหารอาจจะเลือกที่จะไม่พูดออกอากาศ การถามเกี่ยวกับประเด็นต่อเนื่องจากคำถามเดิมก็ทำได้ยาก เพราะจำนวนคำถามทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก โอกาสที่จะไม่ได้รับคำตอบมีค่อนข้างสูง
■บางบริษัทซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จะไม่อนุญาตให้มีการบันทึกหรือถ่ายทอดสดในช่วงถาม-ตอบ จะมีเฉพาะคนในห้องเท่านั้นที่รับรู้
■หลังจบการนำเสนอรวมถึงการถ่ายทอดสด ผู้ฟังที่ตลาดหลักทรัพย์สามารถสอบถามประเด็นเพิ่มเติมรวมถึงคำถามที่มีความละเอียดอ่อนกับผู้บริหารนอกห้องประชุมได้
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ เราสามารถทำความรู้จักกับผู้บริหารและขอนามบัตรเพื่อติดต่อในภายหลังได้
■อีกวิธีที่ผมใช้ในการพูดคุยกับผู้บริหารแบบเป็นกันเอง คือ ถ้าบริษัทไหนผมสนใจลงทุนโดยเฉพาะบริษัทใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยมีข้อมูล ผมจะมาถึงตลาดหลักทรัพย์ก่อนเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้บริหารระหว่างที่นั่งรอคิว ซึ่งเป็นการคุยแบบตัวต่อตัว ไม่มีนักข่าวหรือนักลงทุนอื่นรุมถามเหมือนตอนจบการนำเสนอ แต่สิ่งที่ต้องเตรียม คือศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี และรู้ว่าจะถามอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ผู้บริหารยินดีที่จะพูดคุยกับนักลงทุนอยู่แล้ว
■บางบริษัทใช้โอกาสนี้ให้ผู้ที่สนใจลงรายชื่อเพื่อเยี่ยมชมกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย ซึ่ง Company visit เป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน
■บางบริษัท จะมีการนำสินค้าของบริษัทมาแสดง หรือจำหน่ายในราคาพิเศษ หรือนำตัวอย่างมาแจก จะทำให้เราเข้าใจสินค้าของบริษัทมากขึ้น
■การนั่งฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ผมจะใช้เวลาสังเกตผู้ฟังด้วยว่า กลุ่มคนที่สนใจบริษัทนี้มีใครบ้าง นักวิเคราะห์ นักลงทุน ผู้จัดการกองทุนในประเทศ ผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ ฯลฯ โดยจะให้ความสำคัญกับผู้จัดการกองทุนเป็นหลัก ซึ่งเราจะไม่สามารถทราบกลุ่มผู้ฟังได้ ถ้าเรานั่งฟังทางอินเตอร์เน็ต
■การไปฟังที่ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เรารู้จักและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ นักลงทุนที่สนใจในหุ้นตัวเดียวกัน
■อันนี้ของแถมครับ คือทางตลาดหลักทรัพย์ จัดให้มีชากาแฟ และขนม ช่วงพักเบรคแก่ผู้เข้าฟังในแต่ละช่วงการนำเสนอ =)
วันประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้น (Annual General Shareholder meeting)
บริษัทจดทะเบียนจะจัดประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นทุกปี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นควรให้ความสนใจ ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจประชุม บางคนไปเพื่อเอาของชำร่วย, รับประทานอาหารหรือพบปะเพื่อนฝูงเท่านั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุมผู้ถือหุ้นในมุมมองของผม ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
■เราจะได้ทราบข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงแผนงานสำหรับปีนี้รวมถึงทิศทางของธุรกิจในระยะยาว
■บางบริษัทไม่ได้ร่วมกิจกรรม Opportunity Day เนื่องจากอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง Investor Relation ดังนั้นงานประชุมผู้ถือหุ้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พูดคุยหรือซักถามข้อมูลจากผู้บริหาร
■ปกติ บริษัทระดับกลาง-ใหญ่ จะส่งเจ้าหน้าที่ด้านการเงินหรือเจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์ไปแถลงผลงานใน Opportunity Day คำถามบางข้ออาจจะไม่ได้รับคำตอบในงาน Opportunity Day เนื่องจากผู้ตอบไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ดังนั้น งานประชุมผู้ถือหุ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบกับประธานบริษัท ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบบัญชี กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ ฯลฯ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถหาคำตอบเท่าที่บริษัทจะสามารถตอบได้ เรียกได้ว่าเป็นวันของผู้ถือหุ้นเลยทีเดียว
■บางบริษัทจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทหรือโรงงาน ทำให้เรามีโอกาสได้ไปสัมผัสสถานที่ทำงานจริง แม้ว่าจะไม่ได้เยี่ยมชมกระบวนการทำงานก็ตาม นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับทางบริษัทอีกด้วย
■การไปประชุมด้วยตัวเอง เราสามารถเขียนบันทึกสิ่งที่ได้จากการประชุมในมุมมองของตัวเอง แม้ว่าการประชุมผู้ถือหุ้นจะมีบันทึกรายงานการประชุม แต่การบันทึกไม่ได้บันทึกทุกคำพูด เป็นการบันทึกสรุปมากกว่า ซึ่งเป็นไปได้มากที่ข้อมูลสำคัญบางอย่างในมุมมองของเราขาดหายไป
■การประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากคำถามของเราเองแล้ว เราได้จะเรียนรู้กับคำถามจากผู้ถือหุ้นท่านอื่น โดยเฉพาะท่านที่ถือหุ้นมานาน หรือท่านที่มีความรู้ความชำนาญในอุตสาหกรรมที่บริษัทอยู่ ทำให้เราเข้าใจธุรกิจของบริษัทรวมถึงความเป็นมาต่างๆ ในอดีตมากขึ้น
■ของชำร่วย เดี๋ยวนี้เหมือนเป็นประเพณี คือประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีแจกของชำร่วย ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าของบริษัท หรือไม่ก็ของพรีเมียมเล็กๆ น้อยๆ เป็นสินน้ำใจให้ผู้ถือหุ้นติดมือกลับบ้าน ผู้ถือหุ้นมีทั้งพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ซึ่งผมมองของชำร่วยเป็นสิ่งไม่จำเป็น และก็เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบริษัท
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประชุมผู้ถือหุ้น vs ประชุม oppotunity day
โพสต์ที่ 10
เกร็ดจากการประชุมผู้ถือหุ้น (2)
บทความ โดย อธึก อัศวานันท์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 05 พฤษภาคม 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3476 (2676)
ภาพที่เห็นกันเป็นประจำในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือจะมีผู้ถือหุ้นรายย่อย ลุกขึ้นมาถามคำถาม หรือให้คำแนะนำต่อบรรดากรรมการของบริษัท จนบางครั้งคล้ายเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่ใช้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นสนามฝึกการปราศรัยหาเสียง หรือเป็นเวที Talk Show อยู่เนืองๆ แม้ภาพเหล่านี้ จะไม่เป็นที่พึงประสงค์ สำหรับผู้มีความอดทนน้อย แต่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสังคมของตลาดทุนกำลังเคลื่อนไปสู่ความโปร่งใส ซึ่งจะนำไปสู่ระบบของตลาดทุนที่เข้มแข็งและความรับผิดชอบมากขึ้น
ความจริงสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้วก่อนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเสียอีก เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุใดเมื่อผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถซักถามผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังไม่สามารถป้องกัน การบริหารงานที่ผิดพลาด ความทุจริตและสิ่งไม่พึงปรารถนาต่างๆ ที่พวกเราได้เห็นกันในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนี้
เราแบ่งบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้คือ
กลุ่มแรกเป็นนักลงทุนผู้ถือหุ้นด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ (ฝรั่งเรียกโก้ๆ ว่า strategic investors) เป็นการถือหุ้นเพื่อควบคุมหรือมีส่วนร่วมในการบริหารในบริษัทจดทะเบียนนั้น ผู้ถือหุ้นเหล่านี้ นอกจากจะมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการแล้ว ก็จะมีตัวแทนเข้าร่วมในฝ่ายบริหารด้วย ซึ่งมักจะเป็นฝ่ายการเงิน (เพื่อดูแลกระเป๋าสตางค์ไม่ให้เงินในกระเป๋าหายไปไหน) ฝ่ายเทคนิคสำหรับบริษัทไฮ-เทค บางทีก็อยู่ในฝ่ายจัดซื้อ หรือฝ่ายขายเพื่อควบคุมดูแลผลประโยชน์
ในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทร่วมทุน และนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายสำหรับการบริการ (service mark) มาใช้ นักลงทุนผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายก็อาจมีผู้ดูแลบริหารระดับความนิยมของเครื่องหมายนั้นๆ ซึ่งมักจะเรียกกันว่าเป็น Brand Manager สรุปแล้วผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับฝ่ายผู้บริหารอยู่แล้ว ส่วนจะใกล้ชิดกันมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละท่านที่เกี่ยวข้อง โดยปกติผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้จะมีผู้แทนเพียงจำนวนน้อยมาร่วมประชุม เพราะผู้บริหารจะต้องมีการปรับความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นประเภทนี้จนใจอ่อน มีใจเทคะแนนเสียงไปในทางเดียวกันก่อนการประชุมอยู่แล้ว
นักลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ไม่หวังผลทางยุทธศาสตร์จะถือหุ้นด้วยเหตุผลทางการเงิน คือหวังได้เงินปันผลหรือหวังขายหุ้นที่ตนมีอยู่โดยได้กำไร ฝรั่งเรียกพวกนี้ว่า financial investors ผู้ถือหุ้นเหล่าจะไม่มีผู้แทนเข้าร่วมในการบริหารของบริษัท นักลงทุนประเภทนี้ยังสามารถแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่ม คือ
นักลงทุนระยะยาว จะเป็นผู้ถือที่เชื่อว่าการถือหุ้นระยะยาวจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการถือหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาในบริษัท หรือในผู้ถือหุ้นใหญ่หรือในผู้บริหาร หรือมีเหตุผลอื่น ผู้ถือหุ้นเหล่านี้หลายท่านจะมาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี และแม้ว่าเขาเหล่านี้จะถือหุ้นจำนวนน้อยนิด แต่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทก็มักจะให้ความเกรงใจ และรับฟังความคิดเห็นของท่านเหล่านี้เสมอ
นักลงทุนอีกประเภทหนึ่งคือ นักลงทุนระยะสั้นประสงค์ที่จะมีความคล่องตัวในการซื้อและขายหุ้นได้ตลอดเวลาเพื่อแสวงหากำไร
ผู้ถือหุ้นประเภทที่สาม ได้แก่ บรรดาอดีตเจ้าหนี้ผู้ยอมแปลงหนี้ที่บริษัทติดค้างชำระเจ้าหนี้ให้เป็นหุ้น เป็นการเข้าถือหุ้นภายใต้ภาวะจำยอม เมื่อถือหุ้นแล้วบางรายก็เป็นแค่ financial investor ไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร แต่บางรายก็กลายเป็น strategic investor ขอมีส่วนร่วมในการบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน อีกพวกหนึ่งคือ กองทุนต่างๆ ซึ่งรับคำสั่งจากนักลงทุนระยะยาว และนักลงทุนระยะสั้นให้ทำการซื้อหุ้นแทนลูกค้า
เมื่อเข้าใจโครงสร้างและส่วนประกอบของผู้ถือหุ้นแล้วจะเห็นได้ว่า ผู้มาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นนั้นจะประกอบไปด้วยบุคลิกภาพต่างๆ ดังนี้
ผู้นิ่งเงียบเพราะทราบอยู่แล้วว่าจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนฝ่ายบริหาร บุคคลเหล่านี้เป็นผู้รับมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่บริหารกิจการอยู่ หรือเป็นผู้แทนของบรรดา strategic investors ซึ่งสนับสนุนฝ่ายบริหารอยู่แล้ว
ผู้นิ่งเงียบกลุ่มที่สองเป็นผู้แทนของลูกค้าที่ท่านดูแลหุ้นให้ โดยมาเข้าร่วมประชุมตามหนังสือมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น หรือตามคำสั่งตราสารอื่นใด ที่นิ่งเงียบก็เพราะว่าทราบอยู่แล้วว่าในวาระใดจะต้องลงคะแนนอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งของเจ้าของหุ้น จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้นิ่งเงียบกลุ่มที่สามมักเป็นผู้รับมอบฉันทะของกองทุน ซึ่งมาลงคะแนนเสียงตามหนังสือมอบฉันทะจากกองทุน ซึ่งมักจะกำหนดวิธีการลงคะแนนล่วงหน้าตามนโยบาย เช่น กองทุนบางแห่งจะงดออกเสียงในกรณีที่บริษัทขอเพิ่มทุน หรือจะออกเสียงคัดค้านในกรณีที่มีการให้ stock option แก่ผู้บริหาร เป็นต้น
กลุ่มสุดท้ายที่มักจะเป็นผู้แสดงความเห็นต่างๆ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น คือ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งมีทั้งผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นบริษัทระยะยาว และผู้ที่ซื้อหุ้นบริษัทไว้จำนวนเล็กน้อยเพื่อจะใช้มาเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อฝึกซ้อมการปาฐกถาตามอัธยาศัย
เท่าที่ฟังมาผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายรายมีทัศนวิสัยที่ดีเยี่ยม และเสนอข้อคิดเห็นที่น่ารับฟังและน่าสนับสนุน เพราะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
น่าเสียดายครับไม่ว่าผู้ถือหุ้นผู้แสดงความคิดเห็นจะพูดเก่งปานสาลิกาลิ้นทอง หรือมีข้อคิดเห็นที่ยอดเยี่ยมจนท่านผู้รับมอบฉันทะอื่นๆ ที่มาร่วมประชุมจะมีใจโอนเอนเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นรายย่อยเพียงใด ท่านผู้รับมอบฉันทะเหล่านั้นก็ยังต้องลงคะแนนเสียงตามคำสั่งของเจ้าของหุ้น ซึ่งได้ทำการตัดสินใจสั่งการไปก่อนที่จะได้ยินข้อคิดเห็นที่แสดงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น จะพูดดีเพียงใดก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงผลการลงคะแนน
ผมคิดว่าเราควรจะส่งเสริมการแสดงทัศนวิสัยของผู้ถือหุ้นต่างๆ ต่อเรื่องที่ต้องพิจารณาในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้มากขึ้น โดยให้มีการออกกฎระเบียบในเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่บริษัทต้องเปิดเผยให้ชัดเจนในหนังสือเชิญประชุม ผมเองเคยได้ศึกษา Proxy Statements ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ที่นิวยอร์ก จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นเพื่อเชิญประชุมโดยมีรายละเอียดในทุกวาระที่จะประชุมอย่างมากมาย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าใจได้มากขึ้น ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องจะลองศึกษาดูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ความโปร่งใสในการจัดการประชุมจะดียิ่งขึ้นไปอีก โดยอาจกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทำการเผยแพร่ "ร่างหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น" พร้อมกับร่างงบดุลประจำปีลงใน web site ของบริษัท (ถ้าหากมี) หรือโดยวิธีอื่นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยผู้มีฝีมือผู้ที่มีความสนใจจริงๆ ส่งคำถาม คำเสนอแนะ รวมทั้งข้อติวิจารณ์ทางอินเทอร์เน็ตเข้าไปยัง web site ของบริษัท (ถ้าหากมี) ถ้าไม่มี web site ก็ให้ทำผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯก็ได้
เมื่อบริษัทได้รับคำถาม ฯลฯ แล้วจะได้จัดตอบคำถาม ฯลฯ เหล่านั้นลงในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับจริงที่ต้องส่งให้ผู้ถือหุ้น วิธีนี้น่าจะเพิ่มความโปร่งใส ทำให้ผู้ถือหุ้นต่างๆ สามารถตัดสินใจลงคะแนนเสียงได้อย่างถูกต้อง และเมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว บริษัทก็ควรเผยแพร่คำถามคำตอบที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ (แต่คำถามคำตอบที่ว่าเมื่อใดหุ้นราคาจะขึ้น ก็คงไม่ต้องเผยแพร่ครับ จะเข้าข่ายปั่นหุ้นได้ง่ายๆ ลงใน web site ด้วยจะเพิ่มความโปร่งใสได้มากทีเดียวครับ !)
บทความ โดย อธึก อัศวานันท์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 05 พฤษภาคม 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 3476 (2676)
ภาพที่เห็นกันเป็นประจำในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือจะมีผู้ถือหุ้นรายย่อย ลุกขึ้นมาถามคำถาม หรือให้คำแนะนำต่อบรรดากรรมการของบริษัท จนบางครั้งคล้ายเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ ที่ใช้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นสนามฝึกการปราศรัยหาเสียง หรือเป็นเวที Talk Show อยู่เนืองๆ แม้ภาพเหล่านี้ จะไม่เป็นที่พึงประสงค์ สำหรับผู้มีความอดทนน้อย แต่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสังคมของตลาดทุนกำลังเคลื่อนไปสู่ความโปร่งใส ซึ่งจะนำไปสู่ระบบของตลาดทุนที่เข้มแข็งและความรับผิดชอบมากขึ้น
ความจริงสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้วก่อนเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเสียอีก เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุใดเมื่อผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถซักถามผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังไม่สามารถป้องกัน การบริหารงานที่ผิดพลาด ความทุจริตและสิ่งไม่พึงปรารถนาต่างๆ ที่พวกเราได้เห็นกันในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนี้
เราแบ่งบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้คือ
กลุ่มแรกเป็นนักลงทุนผู้ถือหุ้นด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ (ฝรั่งเรียกโก้ๆ ว่า strategic investors) เป็นการถือหุ้นเพื่อควบคุมหรือมีส่วนร่วมในการบริหารในบริษัทจดทะเบียนนั้น ผู้ถือหุ้นเหล่านี้ นอกจากจะมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการแล้ว ก็จะมีตัวแทนเข้าร่วมในฝ่ายบริหารด้วย ซึ่งมักจะเป็นฝ่ายการเงิน (เพื่อดูแลกระเป๋าสตางค์ไม่ให้เงินในกระเป๋าหายไปไหน) ฝ่ายเทคนิคสำหรับบริษัทไฮ-เทค บางทีก็อยู่ในฝ่ายจัดซื้อ หรือฝ่ายขายเพื่อควบคุมดูแลผลประโยชน์
ในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทร่วมทุน และนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายสำหรับการบริการ (service mark) มาใช้ นักลงทุนผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายก็อาจมีผู้ดูแลบริหารระดับความนิยมของเครื่องหมายนั้นๆ ซึ่งมักจะเรียกกันว่าเป็น Brand Manager สรุปแล้วผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับฝ่ายผู้บริหารอยู่แล้ว ส่วนจะใกล้ชิดกันมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละท่านที่เกี่ยวข้อง โดยปกติผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้จะมีผู้แทนเพียงจำนวนน้อยมาร่วมประชุม เพราะผู้บริหารจะต้องมีการปรับความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นประเภทนี้จนใจอ่อน มีใจเทคะแนนเสียงไปในทางเดียวกันก่อนการประชุมอยู่แล้ว
นักลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ไม่หวังผลทางยุทธศาสตร์จะถือหุ้นด้วยเหตุผลทางการเงิน คือหวังได้เงินปันผลหรือหวังขายหุ้นที่ตนมีอยู่โดยได้กำไร ฝรั่งเรียกพวกนี้ว่า financial investors ผู้ถือหุ้นเหล่าจะไม่มีผู้แทนเข้าร่วมในการบริหารของบริษัท นักลงทุนประเภทนี้ยังสามารถแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่ม คือ
นักลงทุนระยะยาว จะเป็นผู้ถือที่เชื่อว่าการถือหุ้นระยะยาวจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการถือหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาในบริษัท หรือในผู้ถือหุ้นใหญ่หรือในผู้บริหาร หรือมีเหตุผลอื่น ผู้ถือหุ้นเหล่านี้หลายท่านจะมาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี และแม้ว่าเขาเหล่านี้จะถือหุ้นจำนวนน้อยนิด แต่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทก็มักจะให้ความเกรงใจ และรับฟังความคิดเห็นของท่านเหล่านี้เสมอ
นักลงทุนอีกประเภทหนึ่งคือ นักลงทุนระยะสั้นประสงค์ที่จะมีความคล่องตัวในการซื้อและขายหุ้นได้ตลอดเวลาเพื่อแสวงหากำไร
ผู้ถือหุ้นประเภทที่สาม ได้แก่ บรรดาอดีตเจ้าหนี้ผู้ยอมแปลงหนี้ที่บริษัทติดค้างชำระเจ้าหนี้ให้เป็นหุ้น เป็นการเข้าถือหุ้นภายใต้ภาวะจำยอม เมื่อถือหุ้นแล้วบางรายก็เป็นแค่ financial investor ไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร แต่บางรายก็กลายเป็น strategic investor ขอมีส่วนร่วมในการบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน อีกพวกหนึ่งคือ กองทุนต่างๆ ซึ่งรับคำสั่งจากนักลงทุนระยะยาว และนักลงทุนระยะสั้นให้ทำการซื้อหุ้นแทนลูกค้า
เมื่อเข้าใจโครงสร้างและส่วนประกอบของผู้ถือหุ้นแล้วจะเห็นได้ว่า ผู้มาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นนั้นจะประกอบไปด้วยบุคลิกภาพต่างๆ ดังนี้
ผู้นิ่งเงียบเพราะทราบอยู่แล้วว่าจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนฝ่ายบริหาร บุคคลเหล่านี้เป็นผู้รับมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่บริหารกิจการอยู่ หรือเป็นผู้แทนของบรรดา strategic investors ซึ่งสนับสนุนฝ่ายบริหารอยู่แล้ว
ผู้นิ่งเงียบกลุ่มที่สองเป็นผู้แทนของลูกค้าที่ท่านดูแลหุ้นให้ โดยมาเข้าร่วมประชุมตามหนังสือมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น หรือตามคำสั่งตราสารอื่นใด ที่นิ่งเงียบก็เพราะว่าทราบอยู่แล้วว่าในวาระใดจะต้องลงคะแนนอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งของเจ้าของหุ้น จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ผู้นิ่งเงียบกลุ่มที่สามมักเป็นผู้รับมอบฉันทะของกองทุน ซึ่งมาลงคะแนนเสียงตามหนังสือมอบฉันทะจากกองทุน ซึ่งมักจะกำหนดวิธีการลงคะแนนล่วงหน้าตามนโยบาย เช่น กองทุนบางแห่งจะงดออกเสียงในกรณีที่บริษัทขอเพิ่มทุน หรือจะออกเสียงคัดค้านในกรณีที่มีการให้ stock option แก่ผู้บริหาร เป็นต้น
กลุ่มสุดท้ายที่มักจะเป็นผู้แสดงความเห็นต่างๆ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น คือ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งมีทั้งผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นบริษัทระยะยาว และผู้ที่ซื้อหุ้นบริษัทไว้จำนวนเล็กน้อยเพื่อจะใช้มาเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อฝึกซ้อมการปาฐกถาตามอัธยาศัย
เท่าที่ฟังมาผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายรายมีทัศนวิสัยที่ดีเยี่ยม และเสนอข้อคิดเห็นที่น่ารับฟังและน่าสนับสนุน เพราะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
น่าเสียดายครับไม่ว่าผู้ถือหุ้นผู้แสดงความคิดเห็นจะพูดเก่งปานสาลิกาลิ้นทอง หรือมีข้อคิดเห็นที่ยอดเยี่ยมจนท่านผู้รับมอบฉันทะอื่นๆ ที่มาร่วมประชุมจะมีใจโอนเอนเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นรายย่อยเพียงใด ท่านผู้รับมอบฉันทะเหล่านั้นก็ยังต้องลงคะแนนเสียงตามคำสั่งของเจ้าของหุ้น ซึ่งได้ทำการตัดสินใจสั่งการไปก่อนที่จะได้ยินข้อคิดเห็นที่แสดงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น จะพูดดีเพียงใดก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงผลการลงคะแนน
ผมคิดว่าเราควรจะส่งเสริมการแสดงทัศนวิสัยของผู้ถือหุ้นต่างๆ ต่อเรื่องที่ต้องพิจารณาในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้มากขึ้น โดยให้มีการออกกฎระเบียบในเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่บริษัทต้องเปิดเผยให้ชัดเจนในหนังสือเชิญประชุม ผมเองเคยได้ศึกษา Proxy Statements ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ที่นิวยอร์ก จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นเพื่อเชิญประชุมโดยมีรายละเอียดในทุกวาระที่จะประชุมอย่างมากมาย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าใจได้มากขึ้น ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องจะลองศึกษาดูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ความโปร่งใสในการจัดการประชุมจะดียิ่งขึ้นไปอีก โดยอาจกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทำการเผยแพร่ "ร่างหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น" พร้อมกับร่างงบดุลประจำปีลงใน web site ของบริษัท (ถ้าหากมี) หรือโดยวิธีอื่นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยผู้มีฝีมือผู้ที่มีความสนใจจริงๆ ส่งคำถาม คำเสนอแนะ รวมทั้งข้อติวิจารณ์ทางอินเทอร์เน็ตเข้าไปยัง web site ของบริษัท (ถ้าหากมี) ถ้าไม่มี web site ก็ให้ทำผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯก็ได้
เมื่อบริษัทได้รับคำถาม ฯลฯ แล้วจะได้จัดตอบคำถาม ฯลฯ เหล่านั้นลงในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับจริงที่ต้องส่งให้ผู้ถือหุ้น วิธีนี้น่าจะเพิ่มความโปร่งใส ทำให้ผู้ถือหุ้นต่างๆ สามารถตัดสินใจลงคะแนนเสียงได้อย่างถูกต้อง และเมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว บริษัทก็ควรเผยแพร่คำถามคำตอบที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ (แต่คำถามคำตอบที่ว่าเมื่อใดหุ้นราคาจะขึ้น ก็คงไม่ต้องเผยแพร่ครับ จะเข้าข่ายปั่นหุ้นได้ง่ายๆ ลงใน web site ด้วยจะเพิ่มความโปร่งใสได้มากทีเดียวครับ !)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."