Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 1
Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น หรือ Warrants คือ สิทธิที่บริษัทมอบให้แก่ผู้รับ(ผู้ถือหุ้นหรือพนักงาน) เพื่อนำมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตามราคาที่กำหนด (Exercise price) และเวลาที่กำหนดไว้ (Expiry date)
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นมีหลายประเภทตัวอย่างเช่น
1. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทขายควบกับหุ้นกู้ (หรือที่รู้จักกันในนาม “หุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิ”) ใบสำคัญแสดงสิทธิประเภทนี้มักเป็นที่นิยมของนักลงทุน เพรามีราคาซื้อขายในตลาด (เช่น SIRI-W1) ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงสิทธิมีราคาในตัวเอง บริษัทต้องบันทึกใบสำคัญแสดงสิทธิพร้อมกับหุ้นกู้ โดยแสดงอยู่ภายใต้ส่วนทุน (ในขณะที่หุ้นกู้แสดงอยู่ภายใต้หนี้สิน)
2. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Stock Rights) เพื่อให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่กำลังจะออกใหม่ ซึ่งหมายความว่า บริษัทนั้นๆ ให้ความสำคัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนในการเลือกว่าจะรักษาสัดส่วนในการถือครองหุ้น และสิทธิในการออกเสียง (Voting rights) ในอัตราส่วนเดิมหรือไม่ ในอีกกรณีหนึ่ง บริษัทอาจแจกใบสำคัญแสดงสิทธิแพนักงานเพื่อให้พนักงานนำมาแลกซื้อหุ้น การให้ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้ต้องออกให้พนักงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น บริษัทจะไม่ต้องทำการบันทึกบัญชีใดๆ จนกระทั่งผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ บริษัทจึงจะบันทึกบัญชีเงินสดที่ได้รับเป็นสินทรัพย์พร้อมกับรับรู้หุ้นสามัญในส่วนทุน
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้บริหารหรือพนักงานซึ่งเรียกว่า Stock Options ในทางบัญชี บริษัทต้องพิจารณาว่าการให้ Stock options ถือว่าเป็นการแจก ”โบนัส” หรือเป็นการให้ใบสำคัญแสดงสิทธิตามข้อ 2 ข้างต้น หากเป็นการแจกโบนัส บริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายโบนัสในงบกำไรขาดทุน ในขณะที่บันทึกหนี้สินควบคู่กันไป จนกระทั่งผู้บริหารหรือพนักงานใช้สิทธิซื้อหุ้น บริษัทจึงจะบันทึกลดหนี้สินไปเพิ่มเป็นหุ้นสามัญในส่วนทุน แต่ถ้าหากเป็นการให้สิทธิตามข้อ 2 บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นว่าการออก Warrants แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.) แบบที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Rights)
2.) แบบที่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Options)
นั่นหมายความว่านักลงทุนควรพิจารณาว่า การออก Warrants ของบริษัทที่ท่านสนใจมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะจะมีผลกระทบกับกำไรขาดทุน ตัวอย่างเช่น
1.) บริษัทแจก Stock Options ให้แก่พนักงานทุกคน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือเฉพาะบางคน (ถือเป็นการให้โบนัส ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
2.) บริษัทแจก Stock Options ให้พนักงานทุกคนในอัตราที่เท่ากัน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน (ถือเป็นการให้โบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
3.) Stock Options ได้กำหนดกรอบเวลาที่ให้สิทธิแก่พนักงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ถ้านานเกินไป จะถือเป็นการจ่ายโบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
4.) ราคา Exercise price ต้องไม่ต่ำกว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นมากเกินไป เพราะถ้าต่ำเกินไปทางบัญชีจะถือว่าเป็นการจ่ายโบนัส (บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
พี่ๆท่านไหนมีคำถามตรงไหน โพสต์ถามได้เลยนะคะ
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น หรือ Warrants คือ สิทธิที่บริษัทมอบให้แก่ผู้รับ(ผู้ถือหุ้นหรือพนักงาน) เพื่อนำมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตามราคาที่กำหนด (Exercise price) และเวลาที่กำหนดไว้ (Expiry date)
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นมีหลายประเภทตัวอย่างเช่น
1. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทขายควบกับหุ้นกู้ (หรือที่รู้จักกันในนาม “หุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิ”) ใบสำคัญแสดงสิทธิประเภทนี้มักเป็นที่นิยมของนักลงทุน เพรามีราคาซื้อขายในตลาด (เช่น SIRI-W1) ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงสิทธิมีราคาในตัวเอง บริษัทต้องบันทึกใบสำคัญแสดงสิทธิพร้อมกับหุ้นกู้ โดยแสดงอยู่ภายใต้ส่วนทุน (ในขณะที่หุ้นกู้แสดงอยู่ภายใต้หนี้สิน)
2. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Stock Rights) เพื่อให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่กำลังจะออกใหม่ ซึ่งหมายความว่า บริษัทนั้นๆ ให้ความสำคัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนในการเลือกว่าจะรักษาสัดส่วนในการถือครองหุ้น และสิทธิในการออกเสียง (Voting rights) ในอัตราส่วนเดิมหรือไม่ ในอีกกรณีหนึ่ง บริษัทอาจแจกใบสำคัญแสดงสิทธิแพนักงานเพื่อให้พนักงานนำมาแลกซื้อหุ้น การให้ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้ต้องออกให้พนักงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น บริษัทจะไม่ต้องทำการบันทึกบัญชีใดๆ จนกระทั่งผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ บริษัทจึงจะบันทึกบัญชีเงินสดที่ได้รับเป็นสินทรัพย์พร้อมกับรับรู้หุ้นสามัญในส่วนทุน
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้บริหารหรือพนักงานซึ่งเรียกว่า Stock Options ในทางบัญชี บริษัทต้องพิจารณาว่าการให้ Stock options ถือว่าเป็นการแจก ”โบนัส” หรือเป็นการให้ใบสำคัญแสดงสิทธิตามข้อ 2 ข้างต้น หากเป็นการแจกโบนัส บริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายโบนัสในงบกำไรขาดทุน ในขณะที่บันทึกหนี้สินควบคู่กันไป จนกระทั่งผู้บริหารหรือพนักงานใช้สิทธิซื้อหุ้น บริษัทจึงจะบันทึกลดหนี้สินไปเพิ่มเป็นหุ้นสามัญในส่วนทุน แต่ถ้าหากเป็นการให้สิทธิตามข้อ 2 บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นว่าการออก Warrants แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.) แบบที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Rights)
2.) แบบที่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Options)
นั่นหมายความว่านักลงทุนควรพิจารณาว่า การออก Warrants ของบริษัทที่ท่านสนใจมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะจะมีผลกระทบกับกำไรขาดทุน ตัวอย่างเช่น
1.) บริษัทแจก Stock Options ให้แก่พนักงานทุกคน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือเฉพาะบางคน (ถือเป็นการให้โบนัส ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
2.) บริษัทแจก Stock Options ให้พนักงานทุกคนในอัตราที่เท่ากัน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน (ถือเป็นการให้โบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
3.) Stock Options ได้กำหนดกรอบเวลาที่ให้สิทธิแก่พนักงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ถ้านานเกินไป จะถือเป็นการจ่ายโบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
4.) ราคา Exercise price ต้องไม่ต่ำกว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นมากเกินไป เพราะถ้าต่ำเกินไปทางบัญชีจะถือว่าเป็นการจ่ายโบนัส (บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
พี่ๆท่านไหนมีคำถามตรงไหน โพสต์ถามได้เลยนะคะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 2
พนักงานทุกคน หมายถึง พนักงานทุกคน ทุกระดับ ของบริษัท เลยหรือเปล่าครับmooque เขียน:1.) บริษัทแจก Stock Options ให้แก่พนักงานทุกคน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือเฉพาะบางคน (ถือเป็นการให้โบนัส ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน))
อัตราที่เท่ากัน ไม่ใช่จำนวนที่เท่ากันใช่ไหมครับ แล้วปกติจะมีหลักในการพิจารณาไหมว่าจำนวนที่ได้เทียบกับอะไร เช่น เงินเดือน ระดับตำแหน่งmooque เขียน:2.) บริษัทแจก Stock Options ให้พนักงานทุกคนในอัตราที่เท่ากัน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน (ถือเป็นการให้โบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน))
มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนไหมครับว่า นานเท่าไรถึงจะเรียกว่านานเกินไปmooque เขียน:3.) Stock Options ได้กำหนดกรอบเวลาที่ให้สิทธิแก่พนักงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ถ้านานเกินไป จะถือเป็นการจ่ายโบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน))
เหมือนข้อ 3 ครับ ว่ามีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนไหมว่า ราคาแปลงสภาพต่ำกว่าราคาตลาดเท่าไรถึงจะต่ำเกินไปmooque เขียน:4.) ราคา Exercise price ต้องไม่ต่ำกว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นมากเกินไป เพราะถ้าต่ำเกินไปทางบัญชีจะถือว่าเป็นการจ่ายโบนัส (บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 3
กฎของใบสำคัญแสดงสิทธิที่ไม่ถือเป็นโบนัสคือ ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนต้องได้สิทธิเท่ากัน โดยไม่คำนึงว่่าคนๆ นั้นเป็นใคร มีตำแหน่งอะไรครับ
ดังนั้น คำตอบของข้อ 1 คือ ควรให้ทุกคนทุกระดับเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนา ถ้าแจกวอร์แรนท์แต่พนักงาน แต่ไม่ให้ผู้บริหาร ก็น่าจะไม่ต้องบันทึกบัญชี แต่ถ้าแจกผู้บริหารไม่ให้พนักงาน ก็น่าจะเป็นโบนัส
ข้อ 2 ที่ว่าตามอัตรา ปกติจะเป็นอัตราต่อหุ้นที่ถืออยู่เดิมมากกว่าอย่างอื่น แต่ถ้ากำหนดให้วอร์แรนท์ตามอัตราเงินเดือนหรือตำแหน่ง น่าจะเข้าข่ายเป็นโบนัสมากกว่า
ข้อ 3 ดูความเหมาะสมเทียบกับการให้วอร์แรนท์กับผู้ถือหุ้นปกติ คำถามนี้ตอบยากเพราะไม่มีประสบการณ์ว่าปกติ บริษัทให้วอร์แรนท์กันกี่เดือน แต่การจ่ายโบนัสนั้น ปกติอย่างน้อยก็เป็นปี เพราะโบนัสมักจ่ายปีละครั้ง บางครั้งสัญญาที่ทำกับผู้บรหารระดับสูงจะเกินปี บางครั้ง 3-5 ปี ตามสัญญาการจ้างงาน
ข้อ 4 ตามหลักบัญชีสากล ไม่กำหนดอัตราเป็นตัวเลข แต่พูดถึงสามัญสำนึก ถ้าสัก 5% ก็อาจไม่น่าเกลียดจนต้องเข้าข่ายเป็นโบนัส 10% ก็ยังอาจพอทน แต่ถ้าเกิน 10% ไม่น่าจะเถียงได้ว่าเป็นโบนัส
ขอบคุณครับ
ปล. ขอบคุณอาจารย์ภาพรด้วยครับ
ดังนั้น คำตอบของข้อ 1 คือ ควรให้ทุกคนทุกระดับเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนา ถ้าแจกวอร์แรนท์แต่พนักงาน แต่ไม่ให้ผู้บริหาร ก็น่าจะไม่ต้องบันทึกบัญชี แต่ถ้าแจกผู้บริหารไม่ให้พนักงาน ก็น่าจะเป็นโบนัส
ข้อ 2 ที่ว่าตามอัตรา ปกติจะเป็นอัตราต่อหุ้นที่ถืออยู่เดิมมากกว่าอย่างอื่น แต่ถ้ากำหนดให้วอร์แรนท์ตามอัตราเงินเดือนหรือตำแหน่ง น่าจะเข้าข่ายเป็นโบนัสมากกว่า
ข้อ 3 ดูความเหมาะสมเทียบกับการให้วอร์แรนท์กับผู้ถือหุ้นปกติ คำถามนี้ตอบยากเพราะไม่มีประสบการณ์ว่าปกติ บริษัทให้วอร์แรนท์กันกี่เดือน แต่การจ่ายโบนัสนั้น ปกติอย่างน้อยก็เป็นปี เพราะโบนัสมักจ่ายปีละครั้ง บางครั้งสัญญาที่ทำกับผู้บรหารระดับสูงจะเกินปี บางครั้ง 3-5 ปี ตามสัญญาการจ้างงาน
ข้อ 4 ตามหลักบัญชีสากล ไม่กำหนดอัตราเป็นตัวเลข แต่พูดถึงสามัญสำนึก ถ้าสัก 5% ก็อาจไม่น่าเกลียดจนต้องเข้าข่ายเป็นโบนัส 10% ก็ยังอาจพอทน แต่ถ้าเกิน 10% ไม่น่าจะเถียงได้ว่าเป็นโบนัส
ขอบคุณครับ
ปล. ขอบคุณอาจารย์ภาพรด้วยครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 4
ขอยกตัวอย่าง ABC-w1, ABC-w2 ณ เวลาหนึ่ง
ABC-W1 Expiration Date 15/8/2014
ABC-W2 Expiration Date 21/4/2015
________________________________________W1__________________________W2
Conversation ratio(1:x)____________________1.0001________________________1.0000
Excercise price___________________________1.818_________________________1.75
Volatility_______________________________17.68%_______________________17.68%
BlackScholes(BS)_________________________0.7472________________________0.7583
All in premium(%)_______________________-5.58_________________________-4.23
Premium on BS(%)______________________27.14__________________________27.92
Gearing Ratio____________________________3.29__________________________2.93
Delta__________________________________0.8997________________________0.9495
Delta Elasticity__________________________2.9589________________________2.7800
อยากถามว่า
1) ค่าVolatility, BS, Gearing Ratio, Delta Elasticity คืออะไรเเละในการดูwarrantว่าจะคุ้มค่าในการลงทุนดูควรดูค่าอะไรครับ?...ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่...การลงทุนในWarrant ตัวผมเองจะดูง่ายๆว่าwarrant มัน In Money อยู่หรือไม่?เเละดูอนาคตของบริษัทเเม่เพราะจะต้องเอาไปเเปลงเป็นหุ้นเเม่ในอนาคต ไม่ได้ดูค่าอื่นๆพวกBS, Gearingเลยเพราะไม่ทราบว่ามันคืออะไร...
2) เราจะเปรียบเทียบอย่างไรว่าWarrant 1 หรือ 2 ดีกว่าในการลงทุน?
ขอบคุณมากครับ
ปล.อันนี้ยกตัวอย่างจากWarrantจริงๆ ส่วนค่าสถิติต่างๆ เป็นค่า ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ซึ่งปัจจุบันราคาWarrantทั้งสองได้เปลี่ยนเเปลงไปมากเเล้วจึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นการชี้นำเพื่อซื้อขายเเต่อย่างใด เเต่ขอสอบถามเพื่อการเรียนรู้อย่างเเท้จริงครับ
ABC-W1 Expiration Date 15/8/2014
ABC-W2 Expiration Date 21/4/2015
________________________________________W1__________________________W2
Conversation ratio(1:x)____________________1.0001________________________1.0000
Excercise price___________________________1.818_________________________1.75
Volatility_______________________________17.68%_______________________17.68%
BlackScholes(BS)_________________________0.7472________________________0.7583
All in premium(%)_______________________-5.58_________________________-4.23
Premium on BS(%)______________________27.14__________________________27.92
Gearing Ratio____________________________3.29__________________________2.93
Delta__________________________________0.8997________________________0.9495
Delta Elasticity__________________________2.9589________________________2.7800
อยากถามว่า
1) ค่าVolatility, BS, Gearing Ratio, Delta Elasticity คืออะไรเเละในการดูwarrantว่าจะคุ้มค่าในการลงทุนดูควรดูค่าอะไรครับ?...ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่...การลงทุนในWarrant ตัวผมเองจะดูง่ายๆว่าwarrant มัน In Money อยู่หรือไม่?เเละดูอนาคตของบริษัทเเม่เพราะจะต้องเอาไปเเปลงเป็นหุ้นเเม่ในอนาคต ไม่ได้ดูค่าอื่นๆพวกBS, Gearingเลยเพราะไม่ทราบว่ามันคืออะไร...
2) เราจะเปรียบเทียบอย่างไรว่าWarrant 1 หรือ 2 ดีกว่าในการลงทุน?
ขอบคุณมากครับ
ปล.อันนี้ยกตัวอย่างจากWarrantจริงๆ ส่วนค่าสถิติต่างๆ เป็นค่า ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ซึ่งปัจจุบันราคาWarrantทั้งสองได้เปลี่ยนเเปลงไปมากเเล้วจึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นการชี้นำเพื่อซื้อขายเเต่อย่างใด เเต่ขอสอบถามเพื่อการเรียนรู้อย่างเเท้จริงครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 5
torpongpak เขียน:ขอยกตัวอย่าง ABC-w1, ABC-w2 ณ เวลาหนึ่ง
ABC-W1 Expiration Date 15/8/2014
ABC-W2 Expiration Date 21/4/2015
________________________________________W1__________________________W2
Conversation ratio(1:x)____________________1.0001________________________1.0000
Excercise price___________________________1.818_________________________1.75
Volatility_______________________________17.68%_______________________17.68%
BlackScholes(BS)_________________________0.7472________________________0.7583
All in premium(%)_______________________-5.58_________________________-4.23
Premium on BS(%)______________________27.14__________________________27.92
Gearing Ratio____________________________3.29__________________________2.93
Delta__________________________________0.8997________________________0.9495
Delta Elasticity__________________________2.9589________________________2.7800
อยากถามว่า
1) ค่าVolatility, BS, Gearing Ratio, Delta Elasticity คืออะไรเเละในการดูwarrantว่าจะคุ้มค่าในการลงทุนดูควรดูค่าอะไรครับ?...ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่...การลงทุนในWarrant ตัวผมเองจะดูง่ายๆว่าwarrant มัน In Money อยู่หรือไม่?เเละดูอนาคตของบริษัทเเม่เพราะจะต้องเอาไปเเปลงเป็นหุ้นเเม่ในอนาคต ไม่ได้ดูค่าอื่นๆพวกBS, Gearingเลยเพราะไม่ทราบว่ามันคืออะไร...
2) เราจะเปรียบเทียบอย่างไรว่าWarrant 1 หรือ 2 ดีกว่าในการลงทุน?
ขอบคุณมากครับ
ปล.อันนี้ยกตัวอย่างจากWarrantจริงๆ ส่วนค่าสถิติต่างๆ เป็นค่า ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ซึ่งปัจจุบันราคาWarrantทั้งสองได้เปลี่ยนเเปลงไปมากเเล้วจึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นการชี้นำเพื่อซื้อขายเเต่อย่างใด เเต่ขอสอบถามเพื่อการเรียนรู้อย่างเเท้จริงครับ
ห้องนี้เป็นห้องบัญชีนะคะ คำถามที่ถามมา เด็กบัญชีตอบไม่ได้ค่ะ เพราะเป็นคำถามการเงิน ต้องขอโทษด้วย
- airazoc
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 904
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 6
หมวดว่าด้วยการอ่านและการตีความตัวเลขต่างๆในงบการเงิน
ท่านสามารถถามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆในหมวดได้
*โปรดจำกัดถามเพียงในแง่ตัวเลขบัญชี ถ้าถามเรื่องการลงทุน
เช่น ตัวไหนคุ้มกว่ากัน หรือ อะไรถูกแพง สมาชิกที่เป็นนักบัญชีจะไม่ตอบท่านนะครับ
โปรดถามในห้อง Value Investing แทนจะตรงจุดกว่า*
ท่านสามารถถามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆในหมวดได้
*โปรดจำกัดถามเพียงในแง่ตัวเลขบัญชี ถ้าถามเรื่องการลงทุน
เช่น ตัวไหนคุ้มกว่ากัน หรือ อะไรถูกแพง สมาชิกที่เป็นนักบัญชีจะไม่ตอบท่านนะครับ
โปรดถามในห้อง Value Investing แทนจะตรงจุดกว่า*
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 7
ขอโทษทีครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากๆครับอาจารย์
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 10
warrant พื้นฐานของตัวมันจริงๆ ก็คือ call option แบบหนึ่ง วิธีการคำนวณราคาก็ใช้ Blackshole Model เหมือนกัน ดังนั้นการลงทุนใน warrant ต้องคิดเสมอว่าลงทุนใน derivative ตัวหนึ่ง พื้นฐานการลงทุนใน derivative คือเป็น hedge instrument แต่ก็นำมาใช้เป็น speculative investment instrument บ่อยๆ การซื้อ warrant นั้นถุกต้องในส่วนหนึ่งแล้วที่ต้องดูพื้นฐานหุ้นแม่ (underlying asset) ประกอบ แต่ก็ควรดู Gearing ratio หรือ delta ratio ประกอบด้วยก็จะดี gearing ย่อๆหมายความว่า อัตราการเปลี่ยนแปลง (เป็นเท่า) ณ ราคาปัจจุบัน ของ warrant กับหุ้นอ้างอิง เช่น warrant มีค่า gearing เท่ากับ 3 หมายความว่าถ้าราคาหุ้นขึ้น 10% ราคา warrant จะสามารถปรับขึ้นในทางทฤษฎีได้ถึง 30% ถ้าลงก็จะลงมากกว่า 3 เท่าเช่นกัน ส่วน delta คือ การเปลี่นแปลงในราคา warrant เปรียบเทียบกับราคาหุ้นแม่ 0.8 แปลว่า แม่เปลี่ยนไป 1 บาท วอร์แร้นท์ (ลูก) เปลี่ยนไป 0.8 (อย่าลืมว่าราคาแม่มากกว่าลูก) ส่วน delta elasticity คืออัตราความชันหรือการเปลี่ยนในช่วงราคาถัดไป ง่ายๆ คือถ้าค่านี้มาก อัตราเปลี่ยนแปลงจะงมากกว่าค่า delta ในปัจจุบันมาก คงจะงงกันพอควร
สรุบง่ายๆ ให้ดู gearing เพิ่มอีกค่าน่าจะพอ delta กับอื่นๆ ไม่เป็นไร เพิ่มอีกนิด ราคา warrant or call option price ขึ้นกับตัวแปร 5 ตัวหลัก stock price, exercise price, ระยะเวลาที่เหลือ (time), volatility (ความผันผวนหุ้นแม่) และสุดท้ายคืออัตรา risk free หรืออัตราดอกเบี้ย
stock price + ---> Warrant +
volatility มาก ---> Warrant +
time เหลือมากๆ ---> Warrant +
risk free หรือ อัตราดอกเบี้ย สูง --> Warrant +
excercise มาก --> Warrant -
การลงทุนใน warrant ต้องถามตัวเองว่าลงทุน แบบ investment or เก็งกำไร (ส่วนต่างราคา) แบบแรก ต้องพร้อมแปลงเป็นหุ้นทุน แบบสองต้องไม่ถือจนเป็นกระดาษเปล่า (ไม่แปลงเป็นหุ้น) แบบแรกต้องวิเคราะห์ว่า บริษัทดีจริงๆ ในระยะยาว และเมื่อเอาเงินลงทุนเพิ่มต้นทุนคือ excrcie + warrant ที่ซื้อ ราคาอนาคตหุ้นมากกว่า ต้นทุนหุ้น อย่างนี้ลงทุนยาวได้ ถ้าไม่คิดถึงเช่นนั้น เอาส่วนต่างคือแบบสอง ดูพื้นฐานหุ้นว่าไปได้ ok อย่าเจ๊งก่อน แนวโน้มตลาดโดยรวม ok และหาก gearing สูงๆ ก็ยิ่งดี ลงทุนแบบสอง พยายาอย่าเลือก warrant ที่อายุเหลือน้อยๆ เพราะเวลายิ่งน้อยมูลค่ายิ่งลด ยกเนราคาแม่ขึ้นเร็วมากกว่ามูลค่าเวลาที่ลดลง เอาเท่านี้ก่อนนะครับ
สรุบง่ายๆ ให้ดู gearing เพิ่มอีกค่าน่าจะพอ delta กับอื่นๆ ไม่เป็นไร เพิ่มอีกนิด ราคา warrant or call option price ขึ้นกับตัวแปร 5 ตัวหลัก stock price, exercise price, ระยะเวลาที่เหลือ (time), volatility (ความผันผวนหุ้นแม่) และสุดท้ายคืออัตรา risk free หรืออัตราดอกเบี้ย
stock price + ---> Warrant +
volatility มาก ---> Warrant +
time เหลือมากๆ ---> Warrant +
risk free หรือ อัตราดอกเบี้ย สูง --> Warrant +
excercise มาก --> Warrant -
การลงทุนใน warrant ต้องถามตัวเองว่าลงทุน แบบ investment or เก็งกำไร (ส่วนต่างราคา) แบบแรก ต้องพร้อมแปลงเป็นหุ้นทุน แบบสองต้องไม่ถือจนเป็นกระดาษเปล่า (ไม่แปลงเป็นหุ้น) แบบแรกต้องวิเคราะห์ว่า บริษัทดีจริงๆ ในระยะยาว และเมื่อเอาเงินลงทุนเพิ่มต้นทุนคือ excrcie + warrant ที่ซื้อ ราคาอนาคตหุ้นมากกว่า ต้นทุนหุ้น อย่างนี้ลงทุนยาวได้ ถ้าไม่คิดถึงเช่นนั้น เอาส่วนต่างคือแบบสอง ดูพื้นฐานหุ้นว่าไปได้ ok อย่าเจ๊งก่อน แนวโน้มตลาดโดยรวม ok และหาก gearing สูงๆ ก็ยิ่งดี ลงทุนแบบสอง พยายาอย่าเลือก warrant ที่อายุเหลือน้อยๆ เพราะเวลายิ่งน้อยมูลค่ายิ่งลด ยกเนราคาแม่ขึ้นเร็วมากกว่ามูลค่าเวลาที่ลดลง เอาเท่านี้ก่อนนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณอาจารย์sun_cisa2มากครับ กระจ่างขึ้นเยอะ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 12
คำถามคือ
ส่วนของ Warrant นั้นมีทั้งที่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และไม่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วย
แต่อย่างไงก็ตามบริษัทนั้นดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงสิทธิดังกล่าวไว้ก่อน
ประเด็นคือ ถ้าหากบริษัทจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่มากกว่า 80% ขึ้นไป ทำให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ(warrant) มีการปรับเปลี่ยนการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิทุกชุด ดังนั้นทางบัญชีจำเป็นต้องบันทีึกการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปบันทึกที่จุดไหนของงบครับ
ประเด็นที่สอง เนื่องจาก Warrant ในประเด็นที่บริษัทเราไปซื้อ Warrant บริษัทไว้
ในส่วนนี้บัญชีจำเป็นต้อง mark to market ของ Warrant ดังกล่าวด้วยราคาตลาดใช่ไหมครับ
แล้วถ้าหากมีการแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลาที่จัดทำบัญชี
โดยที่บริษัทยังไม่ได้รับหุ้นสามัญดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกสินทรัพย์นี้ในรายการไหนของงบการเงิน
ด้วยราคาใบสำคัญแสดงสิทธิสุดท้าย+ราคาใช้สิทธิหรือราคาของหุ้นสามัญที่กำลังได้รับ ณ วันที่จัดทำงบ
ส่วนของ Warrant นั้นมีทั้งที่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และไม่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วย
แต่อย่างไงก็ตามบริษัทนั้นดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงสิทธิดังกล่าวไว้ก่อน
ประเด็นคือ ถ้าหากบริษัทจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่มากกว่า 80% ขึ้นไป ทำให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ(warrant) มีการปรับเปลี่ยนการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิทุกชุด ดังนั้นทางบัญชีจำเป็นต้องบันทีึกการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปบันทึกที่จุดไหนของงบครับ
ประเด็นที่สอง เนื่องจาก Warrant ในประเด็นที่บริษัทเราไปซื้อ Warrant บริษัทไว้
ในส่วนนี้บัญชีจำเป็นต้อง mark to market ของ Warrant ดังกล่าวด้วยราคาตลาดใช่ไหมครับ
แล้วถ้าหากมีการแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลาที่จัดทำบัญชี
โดยที่บริษัทยังไม่ได้รับหุ้นสามัญดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกสินทรัพย์นี้ในรายการไหนของงบการเงิน
ด้วยราคาใบสำคัญแสดงสิทธิสุดท้าย+ราคาใช้สิทธิหรือราคาของหุ้นสามัญที่กำลังได้รับ ณ วันที่จัดทำงบ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 13
ขอบคุนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 14
คำถามแรก ในแง่มุมของผู้ออก warrant ยังไม่ต้องบันทึกในงบ แต่การเปลี่ยนวแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวควรเปิเผยในหมายเหตุmiracle เขียน:คำถามคือ
ส่วนของ Warrant นั้นมีทั้งที่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และไม่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วย
แต่อย่างไงก็ตามบริษัทนั้นดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงสิทธิดังกล่าวไว้ก่อน
ประเด็นคือ ถ้าหากบริษัทจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่มากกว่า 80% ขึ้นไป ทำให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ(warrant) มีการปรับเปลี่ยนการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิทุกชุด ดังนั้นทางบัญชีจำเป็นต้องบันทีึกการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปบันทึกที่จุดไหนของงบครับ
ประเด็นที่สอง เนื่องจาก Warrant ในประเด็นที่บริษัทเราไปซื้อ Warrant บริษัทไว้
ในส่วนนี้บัญชีจำเป็นต้อง mark to market ของ Warrant ดังกล่าวด้วยราคาตลาดใช่ไหมครับ
แล้วถ้าหากมีการแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลาที่จัดทำบัญชี
โดยที่บริษัทยังไม่ได้รับหุ้นสามัญดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกสินทรัพย์นี้ในรายการไหนของงบการเงิน
ด้วยราคาใบสำคัญแสดงสิทธิสุดท้าย+ราคาใช้สิทธิหรือราคาของหุ้นสามัญที่กำลังได้รับ ณ วันที่จัดทำงบ
คำถามที่สอง ในด้านเราไปซื้อลงทุน ก็เปรียบเหมือนการไปซื้อหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งมา หากหลักทรัพย์มีราคาตลาดก็ควร MTM ส่วนผลต่างจะบันทึกที่ใดก็อยู่ที่เป็นแบบ เพื่อค้าหรือเผื่อขาย ส่วนถ้าเราจ่ายค่าการใช้สิทธิแปลงสภาพแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบหุ้น ก็ลงเป็นหุ้นทุนในเงินลงทุนปกติ ถ้ายังไม่จ่ายก็ยังไม่ต้องทำอะไร MTM มูลค่า warrant ตามปกติ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น)
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณครับsun_cisa2 เขียน:คำถามแรก ในแง่มุมของผู้ออก warrant ยังไม่ต้องบันทึกในงบ แต่การเปลี่ยนวแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวควรเปิเผยในหมายเหตุmiracle เขียน:คำถามคือ
ส่วนของ Warrant นั้นมีทั้งที่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และไม่บันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วย
แต่อย่างไงก็ตามบริษัทนั้นดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงสิทธิดังกล่าวไว้ก่อน
ประเด็นคือ ถ้าหากบริษัทจ่ายเงินปันผลในจำนวนที่มากกว่า 80% ขึ้นไป ทำให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ(warrant) มีการปรับเปลี่ยนการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิทุกชุด ดังนั้นทางบัญชีจำเป็นต้องบันทีึกการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปบันทึกที่จุดไหนของงบครับ
ประเด็นที่สอง เนื่องจาก Warrant ในประเด็นที่บริษัทเราไปซื้อ Warrant บริษัทไว้
ในส่วนนี้บัญชีจำเป็นต้อง mark to market ของ Warrant ดังกล่าวด้วยราคาตลาดใช่ไหมครับ
แล้วถ้าหากมีการแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญในช่วงเวลาที่จัดทำบัญชี
โดยที่บริษัทยังไม่ได้รับหุ้นสามัญดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกสินทรัพย์นี้ในรายการไหนของงบการเงิน
ด้วยราคาใบสำคัญแสดงสิทธิสุดท้าย+ราคาใช้สิทธิหรือราคาของหุ้นสามัญที่กำลังได้รับ ณ วันที่จัดทำงบ
คำถามที่สอง ในด้านเราไปซื้อลงทุน ก็เปรียบเหมือนการไปซื้อหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งมา หากหลักทรัพย์มีราคาตลาดก็ควร MTM ส่วนผลต่างจะบันทึกที่ใดก็อยู่ที่เป็นแบบ เพื่อค้าหรือเผื่อขาย ส่วนถ้าเราจ่ายค่าการใช้สิทธิแปลงสภาพแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบหุ้น ก็ลงเป็นหุ้นทุนในเงินลงทุนปกติ ถ้ายังไม่จ่ายก็ยังไม่ต้องทำอะไร MTM มูลค่า warrant ตามปกติ