ที่มาที่ไปของการบันทึกต้นทุนสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ที่มาที่ไปของการบันทึกต้นทุนสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
โพสต์ที่ 1
ถ้าคุณมีความสนใจที่อยากจะลงทุนในธุรกิจเหมืองแร่ รายการหนึ่งที่มีความสำคัญกับคุณมากในการตัดสินใจ ก็คือ รายการที่เรียกว่า "รายจ่ายในการสำรวจและประเมินค่ารอการตัดบัญชี" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบดุล
รายจ่ายในการสำรวจและประเมินค่านี้เกิดขึ้นจากการที่กิจการนำรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาแหล่งทรัพยากรแร่หลังจากที่กิจการได้รับสิทธิตามกฎหมายให้สำรวจพื้นที่ในการทำเหมืองแร่ มาบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น
• รายจ่ายในการได้มาซึ่งสิทธิ์ในการสำรวจ
• รายจ่ายการศึกษาทางด้านภูมิประเทศ ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ และธรณีฟิสิกส์
• รายจ่ายในการขุดเจาะ
• รายจ่ายเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของทรัพยากรแร่ที่อาจขุดขึ้นมา
รายจ่ายรอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์เหล่านี้ต้องวัดมูลค่าและบันทึกในงบแสดงฐานะการเงินโดยใช้ราคาทุน จากนั้นกิจการต้องต้องทำการประเมินการด้อยค่าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการด้อยค่าของสินทรัพย์จะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าตามบัญชีมีจำนวนน้อยกว่ามูลค่าตลาด หากสินทรัพย์ด้อยค่า กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีที่การด้อยค่าเกิดขึ้น
แม้บริษัทจะสามารถบันทึกรายจ่ายบางรายการเป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า รายจ่ายเกี่ยวกับเหมืองแร่ทุกรายการจะสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ รายจ่ายที่ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุนทันทีที่เกิดขึ้น หมายความว่า กิจการต้องบันทึกรายจ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ไม่ใช่บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงบดุล รายจ่ายที่ต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายทันทีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
• รายจ่ายที่เกิดก่อนกิจการได้รับสิทธิในการสำรวจ
• รายจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าทรัพยากรแร่ที่ขุดขึ้นมานั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
นอกจากนี้ยังไม่อีกหนึ่งรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งคือรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรแร่ซึ่งจะรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่เป็นคนละบัญชีกับบัญชีสินทรัพย์ "รายจ่ายในการสำรวจและประเมินค่ารอการตัดบัญชี" ด้านบน
อย่างที่เห็น บัญชีรายการนี้มีความซับซ้อนยุ่งยากในตัวเอง ดังนั้น การที่เราเข้าใจที่มาที่ไปของการบันทึกรายการจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
รายจ่ายในการสำรวจและประเมินค่านี้เกิดขึ้นจากการที่กิจการนำรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาแหล่งทรัพยากรแร่หลังจากที่กิจการได้รับสิทธิตามกฎหมายให้สำรวจพื้นที่ในการทำเหมืองแร่ มาบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น
• รายจ่ายในการได้มาซึ่งสิทธิ์ในการสำรวจ
• รายจ่ายการศึกษาทางด้านภูมิประเทศ ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ และธรณีฟิสิกส์
• รายจ่ายในการขุดเจาะ
• รายจ่ายเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของทรัพยากรแร่ที่อาจขุดขึ้นมา
รายจ่ายรอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์เหล่านี้ต้องวัดมูลค่าและบันทึกในงบแสดงฐานะการเงินโดยใช้ราคาทุน จากนั้นกิจการต้องต้องทำการประเมินการด้อยค่าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการด้อยค่าของสินทรัพย์จะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าตามบัญชีมีจำนวนน้อยกว่ามูลค่าตลาด หากสินทรัพย์ด้อยค่า กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีที่การด้อยค่าเกิดขึ้น
แม้บริษัทจะสามารถบันทึกรายจ่ายบางรายการเป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า รายจ่ายเกี่ยวกับเหมืองแร่ทุกรายการจะสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ รายจ่ายที่ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุนทันทีที่เกิดขึ้น หมายความว่า กิจการต้องบันทึกรายจ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ไม่ใช่บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงบดุล รายจ่ายที่ต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายทันทีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
• รายจ่ายที่เกิดก่อนกิจการได้รับสิทธิในการสำรวจ
• รายจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าทรัพยากรแร่ที่ขุดขึ้นมานั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
นอกจากนี้ยังไม่อีกหนึ่งรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งคือรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรแร่ซึ่งจะรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่เป็นคนละบัญชีกับบัญชีสินทรัพย์ "รายจ่ายในการสำรวจและประเมินค่ารอการตัดบัญชี" ด้านบน
อย่างที่เห็น บัญชีรายการนี้มีความซับซ้อนยุ่งยากในตัวเอง ดังนั้น การที่เราเข้าใจที่มาที่ไปของการบันทึกรายการจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่มาที่ไปของการบันทึกต้นทุนสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมเหมืองแ
โพสต์ที่ 3
ปกติการวัดด้อยค่ามี 2 ขณะ คือ
1. วัดทุกปี เช่น Goodwil
2. วัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น PPE
โดยปกติการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์จะทำการทดสอบปีละครั้งค่ะ แต่ว่าถ้ามีเหตูการณ์ที่อาจทำให้สินทรัพย์เกิดการด้อยค่า เราก็ควรที่จะทำการทดสอบอีกครั้งค่ะ
การประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์อาจทำได้ในช่วงใดของปีก็ได้ค่ะ แต่จะต้องเป็นช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละปี แต่ละรายการสามารถได้รับการทดสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันค่ะ แต่ว่าหลังจากนั้นก็จะต้องใช้ช่วงเวลานั้นต่อไปทุกปีของแต่ละรายการนั้นๆ ค่ะ
1. วัดทุกปี เช่น Goodwil
2. วัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น PPE
โดยปกติการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์จะทำการทดสอบปีละครั้งค่ะ แต่ว่าถ้ามีเหตูการณ์ที่อาจทำให้สินทรัพย์เกิดการด้อยค่า เราก็ควรที่จะทำการทดสอบอีกครั้งค่ะ
การประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์อาจทำได้ในช่วงใดของปีก็ได้ค่ะ แต่จะต้องเป็นช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละปี แต่ละรายการสามารถได้รับการทดสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันค่ะ แต่ว่าหลังจากนั้นก็จะต้องใช้ช่วงเวลานั้นต่อไปทุกปีของแต่ละรายการนั้นๆ ค่ะ