เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 1
Modified Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)
Modified Debt Principal Payback Period = Long-term Debts or Total Debts / CFO
อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าหนี้สินระยะยาวมีอยู่กี่เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานสุทธิ หรืออาจมองอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าบริษัทนำเงินสดจากการดำเนินงาน (หลังหักรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ย) แล้วมาจ่ายเงินต้น ถ้าบริษัทสามารถได้เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานจำนวนดังกล่าวคงที่ จะใช้ระยะเวลากี่งวดจึงจะจ่ายเงินต้นได้หมด
ค่าที่คำนวณได้จะบอกนัยแก่ผู้บริหารหรือนักลงทุนว่า ระยะเวลาของหนี้ระยะยาวที่เหลืออยู่โดยเฉลี่ยกับระยะเวลาที่จะจ่ายหนี้หมดถ้าระยะเวลาเฉลี่ยของหนี้ระยะยาวมากกว่าค่าที่คำนวณได้ตามสูตร หมายความว่า เมื่อถึงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะยังมีหนี้เหลืออยู่ที่ต้องชำระทันที สิ่งที่ทำได้คือ การ refinance หรือก่อหนี้ก้อนใหม่ หรืออาจต้องหาเงินมาชำระโดยการเพิ่มทุน
หนี้ระยะยาวควรจะเป็นหนี้ที่ต้องชำระจริง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีอาจจะมีการบันทึกรายการลักษณะหนี้สินรอตัดบัญชี เช่น หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ถ้ามีไม่ต้องนำมารวมคำนวณ เพราะจำนวนดังกล่าวจะนำมาปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชี ซึ่งผลจากการเพิ่มลดทางบัญชีนี้ในการคำนวณเงินสดได้ปรับปรุงในตัวอยู่แล้ว หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จึงไม่ต้องนำมารวมในการคำนวณ
** ย้ำนะครับว่าต้องเป็น debt ไม่ใช่ liability เอ... 2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร
ในทางการเงินเมื่อพูดถึง debt จะหมายถึงหนี้ที่มีดอกเบี้ย ส่วน liability จะหมายถึงหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเสียส่วนใหญ่ เช่นเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้าเป็นต้น
การนำไปใช้ เช่น ถ้าบริษัท ABC ออกหุ้นกู้ 2,000 ลบ อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 4% เสนอขาย public นอกจากดู coupon rate, YTM, อายุ Duration อื่นๆ ด้านการเงิน ทางงบการเงินก็ช่วยประเมินได้ด้วย สิ่งที่น่าจะสนใจเพิ่มคือออกหุ้นกู้แล้ว ความเสี่ยงเพิ่มไหม ดู D/E Ratio บริษัทอาจออกบริคณฑ์สนธิ แน่นอนมีประมาณการอะไรมายืดยาว แต่ผมอาจไม่ต้องรอนานแค่ดูจากงบล่าสุดถอยไปอีก 2 ปี ก็พอประเมินขั้นต้นได้แล้วว่าบริษัทนี้จะเกิดอะไรในวันข้างหน้าได้บ้าง หุ้นสามัญจะซื้อมั๊ย หุ้นกู้จะจองมั๊ย
สมมติล่าสุดบริษัทมีหนี้ธนาคารระยะยาว 1,000 ลบ equity รวม 2,000 ออกหุ้นกู้ไปจ่ายหนี้ธนาคาร ดอกเบี้ย 7.5% ที่เหลือ ขยายกิจการเพิ่มกำลังการผลิต
CFO สุทธิ 250 ลบ.
เบิ้องต้นดูเหมือนดีจ่ายหนี้เก่าดอกเบี้ย 7.5% แต่มองทางบัญชีคร่าวๆ เดิมจ่ายดอกเบี้ย 75 ลบ ของใหม่จ่าย 80 ลบ ถ้าขายคงที่ กำไร EBIT คงที กำไรลดแน่ แต่งคงมีการเติบโตบ้างละ ก็ไม่น่ามีกำไรลด.....
ทีนี้มาดูเฉพาะ Ratio นี้กัน
หนี้ระยะยาวใหม่เป็น 2,000 ลบ อายุ 4 ปี หากอัตราส่วน Modified Debt Principal Payback Period ชำระได้เท่ากับ 4 พอดี CFO ต้องเฉลี่ยเท่ากับปีละ 500 ลบ ล่าสุด CFO ได้ 300 ถ้าจะเฉลี่ยได้ 500 ใน ระยะ 4 ปี ต้องมีกำไรเติบโตปีละราว 35.4%
สิ่งที่ควรดูคือขายโตคงที่ 35-36% ต่อปีไม่ใช่เรื่องง่ายยกเว้นอุตสาหกรรมโตมากๆ เงินอีก 1000 ลบ ขยายลงทุนได้ขนาดนี้หรือไม่ ถ้าประเมินว่ายากแสดงว่าหุ้นกู้นี้เมื่อครบอายุก็ต้องหาหนี้มา refinance อีก หรือไม่ก็ต้องเพิ่มทุนใช้หนี้ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ที่ดีต่อผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)
Modified Debt Principal Payback Period = Long-term Debts or Total Debts / CFO
อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าหนี้สินระยะยาวมีอยู่กี่เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานสุทธิ หรืออาจมองอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าบริษัทนำเงินสดจากการดำเนินงาน (หลังหักรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ย) แล้วมาจ่ายเงินต้น ถ้าบริษัทสามารถได้เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานจำนวนดังกล่าวคงที่ จะใช้ระยะเวลากี่งวดจึงจะจ่ายเงินต้นได้หมด
ค่าที่คำนวณได้จะบอกนัยแก่ผู้บริหารหรือนักลงทุนว่า ระยะเวลาของหนี้ระยะยาวที่เหลืออยู่โดยเฉลี่ยกับระยะเวลาที่จะจ่ายหนี้หมดถ้าระยะเวลาเฉลี่ยของหนี้ระยะยาวมากกว่าค่าที่คำนวณได้ตามสูตร หมายความว่า เมื่อถึงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจะยังมีหนี้เหลืออยู่ที่ต้องชำระทันที สิ่งที่ทำได้คือ การ refinance หรือก่อหนี้ก้อนใหม่ หรืออาจต้องหาเงินมาชำระโดยการเพิ่มทุน
หนี้ระยะยาวควรจะเป็นหนี้ที่ต้องชำระจริง เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีอาจจะมีการบันทึกรายการลักษณะหนี้สินรอตัดบัญชี เช่น หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ถ้ามีไม่ต้องนำมารวมคำนวณ เพราะจำนวนดังกล่าวจะนำมาปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชี ซึ่งผลจากการเพิ่มลดทางบัญชีนี้ในการคำนวณเงินสดได้ปรับปรุงในตัวอยู่แล้ว หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จึงไม่ต้องนำมารวมในการคำนวณ
** ย้ำนะครับว่าต้องเป็น debt ไม่ใช่ liability เอ... 2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร
ในทางการเงินเมื่อพูดถึง debt จะหมายถึงหนี้ที่มีดอกเบี้ย ส่วน liability จะหมายถึงหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยเสียส่วนใหญ่ เช่นเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้าเป็นต้น
การนำไปใช้ เช่น ถ้าบริษัท ABC ออกหุ้นกู้ 2,000 ลบ อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 4% เสนอขาย public นอกจากดู coupon rate, YTM, อายุ Duration อื่นๆ ด้านการเงิน ทางงบการเงินก็ช่วยประเมินได้ด้วย สิ่งที่น่าจะสนใจเพิ่มคือออกหุ้นกู้แล้ว ความเสี่ยงเพิ่มไหม ดู D/E Ratio บริษัทอาจออกบริคณฑ์สนธิ แน่นอนมีประมาณการอะไรมายืดยาว แต่ผมอาจไม่ต้องรอนานแค่ดูจากงบล่าสุดถอยไปอีก 2 ปี ก็พอประเมินขั้นต้นได้แล้วว่าบริษัทนี้จะเกิดอะไรในวันข้างหน้าได้บ้าง หุ้นสามัญจะซื้อมั๊ย หุ้นกู้จะจองมั๊ย
สมมติล่าสุดบริษัทมีหนี้ธนาคารระยะยาว 1,000 ลบ equity รวม 2,000 ออกหุ้นกู้ไปจ่ายหนี้ธนาคาร ดอกเบี้ย 7.5% ที่เหลือ ขยายกิจการเพิ่มกำลังการผลิต
CFO สุทธิ 250 ลบ.
เบิ้องต้นดูเหมือนดีจ่ายหนี้เก่าดอกเบี้ย 7.5% แต่มองทางบัญชีคร่าวๆ เดิมจ่ายดอกเบี้ย 75 ลบ ของใหม่จ่าย 80 ลบ ถ้าขายคงที่ กำไร EBIT คงที กำไรลดแน่ แต่งคงมีการเติบโตบ้างละ ก็ไม่น่ามีกำไรลด.....
ทีนี้มาดูเฉพาะ Ratio นี้กัน
หนี้ระยะยาวใหม่เป็น 2,000 ลบ อายุ 4 ปี หากอัตราส่วน Modified Debt Principal Payback Period ชำระได้เท่ากับ 4 พอดี CFO ต้องเฉลี่ยเท่ากับปีละ 500 ลบ ล่าสุด CFO ได้ 300 ถ้าจะเฉลี่ยได้ 500 ใน ระยะ 4 ปี ต้องมีกำไรเติบโตปีละราว 35.4%
สิ่งที่ควรดูคือขายโตคงที่ 35-36% ต่อปีไม่ใช่เรื่องง่ายยกเว้นอุตสาหกรรมโตมากๆ เงินอีก 1000 ลบ ขยายลงทุนได้ขนาดนี้หรือไม่ ถ้าประเมินว่ายากแสดงว่าหุ้นกู้นี้เมื่อครบอายุก็ต้องหาหนี้มา refinance อีก หรือไม่ก็ต้องเพิ่มทุนใช้หนี้ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์ที่ดีต่อผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 385
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณมากครับอาจารย์ เห็นภาพเลยครับ
ขอถามต่อหน่อยนะครับ
คือ ถ้าเราเอา FCF มาหาร Debt
จะเหมาะกว่าใช้ CFO หรือปล่าวครับอาจารย์ ?
(เพราะ ถึงเวลาจริงๆ เราเอา CFO ไปจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ทั้งหมด
เพราะ อย่างน้อยเราต้องมี Maintenance Capex มาบั่นทอน CFOให้ลดลงก่อนจะเอาไปจ่ายหนี้ได้)
ขอบคุณมากๆคร๊าฟฟฟฟ
ขอถามต่อหน่อยนะครับ
คือ ถ้าเราเอา FCF มาหาร Debt
จะเหมาะกว่าใช้ CFO หรือปล่าวครับอาจารย์ ?
(เพราะ ถึงเวลาจริงๆ เราเอา CFO ไปจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ทั้งหมด
เพราะ อย่างน้อยเราต้องมี Maintenance Capex มาบั่นทอน CFOให้ลดลงก่อนจะเอาไปจ่ายหนี้ได้)
ขอบคุณมากๆคร๊าฟฟฟฟ
- waririn
- Verified User
- โพสต์: 80
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 3
อาจารย์คะ กำไรเติบโตที่ 35.4% นี่คำนวณยังไงคะหนี้ระยะยาวใหม่เป็น 2,000 ลบ อายุ 4 ปี หากอัตราส่วน Modified Debt Principal Payback Period ชำระได้เท่ากับ 4 พอดี CFO ต้องเฉลี่ยเท่ากับปีละ 500 ลบ ล่าสุด CFO ได้ 300 ถ้าจะเฉลี่ยได้ 500 ใน ระยะ 4 ปี ต้องมีกำไรเติบโตปีละราว 35.4%
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 4
ปัญหาคือ หนี้ระยะยาว เราสามารถดูในงบดุลได้ แต่จ่ายดอกเบี้ยปีละเท่าไรนี้ดูจากตรงไหนเหรอครับ หรือเอาดอกเบี้ยจ่ายของปีที่แล้ว มาเทียบกับหนี้ระยะยาวดูว่ามีกี่เปอร์เซนขอบคุณครับ แล้วไม่เอาปัจจัยเรื่องหนี้ระยะสั่นมาร่วมคำนวณด้วยเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 6
ตัวจริงไม่สบาย ตัวสำรองมาแทนMaiFuen เขียน:ขอบคุณมากครับอาจารย์ เห็นภาพเลยครับ
ขอถามต่อหน่อยนะครับ
คือ ถ้าเราเอา FCF มาหาร Debt
จะเหมาะกว่าใช้ CFO หรือปล่าวครับอาจารย์ ?
(เพราะ ถึงเวลาจริงๆ เราเอา CFO ไปจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ทั้งหมด
เพราะ อย่างน้อยเราต้องมี Maintenance Capex มาบั่นทอน CFOให้ลดลงก่อนจะเอาไปจ่ายหนี้ได้)
ขอบคุณมากๆคร๊าฟฟฟฟ
เรื่องการจะใช้ FCF แทน CFO นั้นทำได้ แต่ปัญหาของ FCF คือ การจ่าย capex นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท เนื่องจากบริษัทสามารถปรับแผนในการจ่าย capex ให้ยืดหยุ่นตามความจำเป็นได้ ซึ่งถ้าจำเป็นจริงๆ บริษัทสามารถนำเงินที่หาได้ทั้งหมดไปจ่่ายดอกเบี้ยกับเงินต้น ซึ่งทำให้จำนวนที่จะนำมาจ่ายหนี้จริงกลับมาเท่ากับจำนวนเงินสดที่หาได้จากการ ดนง หรือ CFO ดังนั้น การจะนำ FCF มาถือเป็น benchmark ในเรื่องการจ่ายหนี้จึงให้ภาพที่ไม่นิ่งเท่า CFO
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 7
อย่างที่คุณ nut776 ว่าcyber-shot เขียน:ปัญหาคือ หนี้ระยะยาว เราสามารถดูในงบดุลได้ แต่จ่ายดอกเบี้ยปีละเท่าไรนี้ดูจากตรงไหนเหรอครับ หรือเอาดอกเบี้ยจ่ายของปีที่แล้ว มาเทียบกับหนี้ระยะยาวดูว่ามีกี่เปอร์เซนขอบคุณครับ แล้วไม่เอาปัจจัยเรื่องหนี้ระยะสั่นมาร่วมคำนวณด้วยเหรอครับ
ถ้าจะหาอัตราดอกเบี้ยของหนี้แต่ละรายการ หมายเหตุประกอบงบการเงินจะบอกไว้
แต่ปกติในเรื่องของการวิเคราะห์ เรามักไม่ใช้ข้อมูลละเอียดขนาดนั้น เพราะเราวิเคราะห์จากภาพรวม ดังนั้น เราจึงสามารถหยิบดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุนมาใช้ หรือถ้าต้องการดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นเงินสด เราก็ลงไปหยิบตัวเลขจากงบกระแสเงินสด ข้อควรระวังกับการหยิบดอกเบี้ยจ่ายจากงบกำไรขาดทุนคือ ดอกเบี้ยบางจำนวนอาจบันทึกเป็นสินทรัพย์ แทนที่จะเป็นค่าใช้จ่าย ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น ดอกเบี้ยจ่่ายที่เรานำมาวิเคราะห์ก็จะต่ำเกินจริง ให้ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินว่าบริษัทได้ cap ดอกเบี้ยไปบ้างหรือเปล่า ถ้าใช่ เราอาจวิเคราะห์ดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นเงินสดควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ความมั่นใจมากขึ้น
- waririn
- Verified User
- โพสต์: 80
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณค่ะ ได้คำแนะนำจากคุณ beethoven แล้วไปลองค้นต่อ เจอสูตรจาก excel ที่ใช้คำนวณแล้วค่ะbeethoven เขียน:คุณ 3W3 ครับ
ผมลองกดเครื่องคิดเลขตามดู เห็นว่าได้ตัวเลขเติบโตคล้ายของอาจารย์ คือ
N=4, PV=0, PMT=(300), FV=2000
then i/y= 35.37%
ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยนะครับ
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 11
[quote="MaiFuen"]ขอบคุณมากครับอาจารย์ เห็นภาพเลยครับ
ขอถามต่อหน่อยนะครับ
คือ ถ้าเราเอา FCF มาหาร Debt
จะเหมาะกว่าใช้ CFO หรือปล่าวครับอาจารย์ ?
(เพราะ ถึงเวลาจริงๆ เราเอา CFO ไปจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ทั้งหมด
เพราะ อย่างน้อยเราต้องมี Maintenance Capex มาบั่นทอน CFOให้ลดลงก่อนจะเอาไปจ่ายหนี้ได้)
ขอบคุณมากๆคร๊าฟฟฟฟ
อัตราส่วนนี้ต้องการพิจารณาว่า การก่อหนี้ของกิจการ มีความสามารถในการชำระหนี้ด้วยการดำเนินงานเองหรือไม่ มิได้หมายถึงให้กิจการต้องเอาเงิน operation ทั้งหมดจริงๆไปจ่ายหนี้ ซึ่งในความจริงคงหาไม่ค่อยมี แต่อย่างน้อยเราก็รู้ได้ว่า กิจการแข็งแกร่งพอไหม การเอา FCF ไปแทนก็ไม่ต่างอะไรกับกับการเอาหนี้ไปจ่ายหนี้หนี้ไม่ลดซ้ำก่อหนี้ซำซ้อนไม่รู้จบ กิจกาจอย่างนี้อนตรายในระยะยาว
ขอถามต่อหน่อยนะครับ
คือ ถ้าเราเอา FCF มาหาร Debt
จะเหมาะกว่าใช้ CFO หรือปล่าวครับอาจารย์ ?
(เพราะ ถึงเวลาจริงๆ เราเอา CFO ไปจ่ายคืนหนี้ไม่ได้ทั้งหมด
เพราะ อย่างน้อยเราต้องมี Maintenance Capex มาบั่นทอน CFOให้ลดลงก่อนจะเอาไปจ่ายหนี้ได้)
ขอบคุณมากๆคร๊าฟฟฟฟ
อัตราส่วนนี้ต้องการพิจารณาว่า การก่อหนี้ของกิจการ มีความสามารถในการชำระหนี้ด้วยการดำเนินงานเองหรือไม่ มิได้หมายถึงให้กิจการต้องเอาเงิน operation ทั้งหมดจริงๆไปจ่ายหนี้ ซึ่งในความจริงคงหาไม่ค่อยมี แต่อย่างน้อยเราก็รู้ได้ว่า กิจการแข็งแกร่งพอไหม การเอา FCF ไปแทนก็ไม่ต่างอะไรกับกับการเอาหนี้ไปจ่ายหนี้หนี้ไม่ลดซ้ำก่อหนี้ซำซ้อนไม่รู้จบ กิจกาจอย่างนี้อนตรายในระยะยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพิ่มเติมวิเคราะห์อัตราส่วนกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยถามตอบตอนไม่สบายครับ ผมป่วยอยู่ 10 กว่าวัน ตอนี้ดีขึ้นมากแล้ว3w3 เขียน:ขอบคุณค่ะ ได้คำแนะนำจากคุณ beethoven แล้วไปลองค้นต่อ เจอสูตรจาก excel ที่ใช้คำนวณแล้วค่ะbeethoven เขียน:คุณ 3W3 ครับ
ผมลองกดเครื่องคิดเลขตามดู เห็นว่าได้ตัวเลขเติบโตคล้ายของอาจารย์ คือ
N=4, PV=0, PMT=(300), FV=2000
then i/y= 35.37%
ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยนะครับ
ขอบคุณมากๆ ค่ะ
วิธีหาข้างต้นถูกครับ หรืออาจเข้า excel ทำก็ได้ครับง่ายๆ ถ้าใครไม่มีเครื่องคำนวณแบบการเงิน