กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 1
ได้ติดตามอ่านหัข้อบัญชีต่าง น้องนิสิต ตอบคำถมทางบัญชีได้ดีครับ แต่บางเรื่องดูๆ ปนเปกับการวิเคราะห์ การลงทุน นองๆ นิสิตอาจตอบไม่ได้ และผมก็ตามอ่านทกๆ topic ไม่ไหวเพราะเยอะมาก แต่พยายามเข้าไปช่วยเสริมให้ อาจารย์ภาภรและผมได้คุยกันมาแล้วว่า ลองเปิดอีกห้อง เป็นการวิเคราะห์ทางบัญชีน่าจะช่วยได้ จากการเข้าไปช่วยเสริมและอ่านหลายคำถาม บางเรื่องต้องผสมผสานความรู้มากกว่าบัญชี เช่น เรื่องวอรร์แร้นท์ การลดทุน เพิ่มทุน ซื้อหุ้นคืน ดีหรืไม่ดีอย่างไร จ่ายปันผลสูง บางที่กลับไม่จ่ายปันผล อะไรดีกว่า บางทีไม่จ่ายก็อาจดีครับมีตัวอย่างมาแล้ว หรือการจ่ายปันผลระหว่างเงินสดกับจ่ายหุ้นปันผล ในทางบัญชีอะไรต้องบันทึกอย่างไร แสดงอย่างไร น้องๆ เขาตอบได้ แต่ทำแบบไหนดีอย่างไรน้องเขาอาจตอบลำบาก เลยเปิดห้องนี้ขึ้นมาช่วย
บางคำถามที่อยู่ในห้องต่างๆ ทางบัญชี เรื่องบัญชีถามทางห้องนั้นๆ ได้เลย ไม่ต้องกังวลว่าน้องๆ จะตอบได้ไหม เพราะผมก็จะพยายามเข้าไปช่วยเสริมให้ สำหรับบางคำถามที่น้องๆ ไม่แน่ใจ และนอกเหนือประเด็นทางบัญชี น้องๆ นิสิตก็นำมาถามในนี้ได้ แล้วเอาไปตอบต่อได้ครับ ส่วนสมาชิกบางคนที่จะนำมาถามตรงเลยก็ได้ครับ
จะพยายามตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐาน แบบที่ VI ควรรู้ บางคำถามที่เป็นประเด็นทางกฎหมาย หรือภาษี อาจไม่ตอบนะครับ
ป.ล.ผมพิมพ์ช้า ดังนั้นใช้เวลาบ้างครับ มีพิมพ์ถูกบางผิดบ้าง ไม่ว่ากันนะครับ และไม่ชอบตอบสั้นเกินไป เพราะไหนๆ จะหาความรู้กัน ก็ควรรู้แบบใช้คิดต่อยอดได้ ไม่ใช่จำเอาแบบพื้นไม่แน่น อันตรายกับการลงทุน
บางคำถามที่อยู่ในห้องต่างๆ ทางบัญชี เรื่องบัญชีถามทางห้องนั้นๆ ได้เลย ไม่ต้องกังวลว่าน้องๆ จะตอบได้ไหม เพราะผมก็จะพยายามเข้าไปช่วยเสริมให้ สำหรับบางคำถามที่น้องๆ ไม่แน่ใจ และนอกเหนือประเด็นทางบัญชี น้องๆ นิสิตก็นำมาถามในนี้ได้ แล้วเอาไปตอบต่อได้ครับ ส่วนสมาชิกบางคนที่จะนำมาถามตรงเลยก็ได้ครับ
จะพยายามตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐาน แบบที่ VI ควรรู้ บางคำถามที่เป็นประเด็นทางกฎหมาย หรือภาษี อาจไม่ตอบนะครับ
ป.ล.ผมพิมพ์ช้า ดังนั้นใช้เวลาบ้างครับ มีพิมพ์ถูกบางผิดบ้าง ไม่ว่ากันนะครับ และไม่ชอบตอบสั้นเกินไป เพราะไหนๆ จะหาความรู้กัน ก็ควรรู้แบบใช้คิดต่อยอดได้ ไม่ใช่จำเอาแบบพื้นไม่แน่น อันตรายกับการลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 2
โลกนี้ยังมีอะไรที่ยังไม่รู้อีกเยอะครับ อย่างน้อยแค่ชีว่าไปต่อที่ประตูไหนก็เยี่ยมแล้วครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 364
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 3
บางบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรที่มีมูลค่าสูงมาก ซึ่งเมื่อบริษัทต้องการขยายกิจการจึงนำสินทรัพย์ถาวรบางส่วน ขายเข้าเป็นกองทุนอสังหาฯ โดยจะจ่ายเงินให้กับผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นเงินปันผลแทน และนำเงินที่ได้มาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯ ประมาณ30%ของหน่วยลงทุน การทำลักษณะนี้มีข้อดีข้อด้อย อย่างไรบ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 4
ดูๆ แล้วน่าจะเป็นบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นะครับ ที่ถามมา แต่ยังงงว่า บริษัทขายสินทรัพย์ เงินเข้าบริษัท แล้วเอาเงินที่ได้มาจ่ายปันผลให้คนซื้อหน่วยลงทุน ฟังดูแปลกๆ คนซื้อหน่วยลงทุน กองทุนต้องเป็นคนจ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยไม่ควรเป็นบริษัท บริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นจึงจะถูกต้องมากกว่า กองทุนถ้าบริหารมีกำไรก็จ่ายปันผลได้ครับ อาจมากหรือน้อยกว่าผลตอบแทนที่บริษัทเองทำได้ก็ได้ การที่บริษัทเอาเงินจากการขายสินมรัพย์ให้กองทุนแล้วเอาเงินไปซื้องกองทุนกลับนั้น คล้ายๆกับธนาคารตั้ง AMC บริการหนี้เสียเอาหนี้ตัวเองขายออกทุนไปเพื่อดูเหมือนว่าลด NPL แต่ความจริงไม่ใช่ กรณีเช่นนี้ต้องดูว่าขายขาดหรือไม่ โดยเบื้องต้นต้องดู (น่าจะเปิดเผยในหมายเหตูนะครับ) การโอนสินทรัพย์ที่ถือเป็นขายต้องพิจารณาว่า สินทรัพย์ที่โอนต้องแยกจากผู้โอน มีเงื่อนไขที่จำกัดสิทธิผู้รับโอนหรือไม่ และสิทธิหรือภาระผูกพันที่ผู้โอนสามารถได้รับสินทรัพย์คืนมาหรือไม่ ง่ายๆ เข้าเกณฑ์ขายไหม ถ้าไม่เข้าก็ไม่ใช่การขายsnowsand เขียน:บางบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรที่มีมูลค่าสูงมาก ซึ่งเมื่อบริษัทต้องการขยายกิจการจึงนำสินทรัพย์ถาวรบางส่วน ขายเข้าเป็นกองทุนอสังหาฯ โดยจะจ่ายเงินให้กับผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นเงินปันผลแทน และนำเงินที่ได้มาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯ ประมาณ30%ของหน่วยลงทุน การทำลักษณะนี้มีข้อดีข้อด้อย อย่างไรบ้างครับ
ช้อดีข้อเสีย ขอตอบดังนี้ ถ้าเป็นการขายขาดจริง (ในด้านของผู้ถือหุ้นบริษัท)
- ถ้าบริษัทขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาตลาดยุติธรรมได้ถือว่าดี อย่างน้อยควรมีกำไรจากการขายสินทรัยพ์
- ในระยะยาวแล้ว (ดูจากอัตราส่วนการวิเคราะห์ความสามารถการบริหารสินทรัพย์) ถ้าแนวโน้มไม่ดี การขายให้กองทุนบริหารแล้วจ่ายปันผลโดยบริษัทเข้าไปถือหน่วยลงทุนแทน อาจมีผลตอบแทนกีกว่าบริหารเอง ถือว่าดีเช่นกัน
- ถ้าดูแล้วไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองข้อ ไม่ดีต่อผู้ถือหุ้นแน่นอน
- การทำเช่นีนี้ต้องระวังมีการตกแต่งตัวเลขหรือไม่ (ขายสินทรพย์แล้วซื้อกองทุนกลับคืน) แต่งกำไรได้
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 5
การที่บริษัท สร้างเสร็จก็ขายสินทรัพย์ถาวรให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ แล้วบริษัทก็ได้เงิน
ก้อนมาลงทุนสร้างที่ใหม่ โดยไม่ต้องกู้เงินธนาคาร หรือกู้นิดหน่อย เทียบกับบริษัทที่ไม่
ขายเก็บไว้บริหารจัดการเอง ในแง่ผู้ถือหุ้นบริษัท อย่างใหนดีกว่ากันครับ
อย่างแรกก็อาจได้จาก capital gain อย่างที่สองก็อาจได้จาก dividend yield
ก้อนมาลงทุนสร้างที่ใหม่ โดยไม่ต้องกู้เงินธนาคาร หรือกู้นิดหน่อย เทียบกับบริษัทที่ไม่
ขายเก็บไว้บริหารจัดการเอง ในแง่ผู้ถือหุ้นบริษัท อย่างใหนดีกว่ากันครับ
อย่างแรกก็อาจได้จาก capital gain อย่างที่สองก็อาจได้จาก dividend yield
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 6
ส่วนมากที่พบเห็นมักจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงานให้เช่า คอนโดมิเนี่ยนหรืออาคารที่ทั้งแบบขายหรือให้เช่าพักที่มักอยู่ในแถวที่คนไปพักผ่อนได้ เช่นแถวภูเก็ต พัทยา หัวหิน อพไรแบนี้ การสร้างแล้วขายออกให้กองทุน ฃนำไปบริหารต่อเองกับริษัทที่เก็บไว้จัดการบริหารเองมองได้ 2 มิติLikhit เขียน:การที่บริษัท สร้างเสร็จก็ขายสินทรัพย์ถาวรให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ แล้วบริษัทก็ได้เงิน
ก้อนมาลงทุนสร้างที่ใหม่ โดยไม่ต้องกู้เงินธนาคาร หรือกู้นิดหน่อย เทียบกับบริษัทที่ไม่
ขายเก็บไว้บริหารจัดการเอง ในแง่ผู้ถือหุ้นบริษัท อย่างใหนดีกว่ากันครับ
อย่างแรกก็อาจได้จาก capital gain อย่างที่สองก็อาจได้จาก dividend yield
มิมติ 1 ความเสี่ยง การขายสินทรัพย์ดังกล่าวออกให้กองทุน บริษัทตัดหรือโอนความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของอัตราค่าเช่าและค่าที่ดินที่อาจจะผันผวนตามอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อในอนาคตไปให้กองทุนรับแทน บริษัทเอาเฉพาะผลตอบแทนวันนี้
มิติที่ 2 ผลตอบแทน บริษัทอาจเสียโอกาสจากการสร้างผลกำไรในอนาคตในแง่บริษัทเมื่อขายได้กำไร (ไม่ใช่ capital gain เพราะคำนี้ใช้กับการได้ส่วนต่างจากราคาหลักทรัพย์ ส่วนการขายแบบแรกคือสร้างเสร็จแล้วขาย บันทึกเป็นกำไรจากการดำเนินงาน) ผู้ถือหุ้นบริษัทก็จะได้เงินปันผลกำไรหากสิ้นปีโดยรวมยังมีกำไร ส่วนการบริหารจัดการเอง รายได้จะทยอยรับรู้ในรูปค่าเช่ารับไปเรื่อยๆ (หากสร้างเพื่อให้เช่า)
ส่วนถ้าใครเข้าไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนนี้ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลเหมือนกองทุนทั่วไปและอาจได้ในรูป capital gain ถ้าหน่วยลงทุนมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
การจะบอกว่าแบบใดดีกว่า ตอบทันทีไม่ได้ แต่ควรพิจารณาว่า
1. ถ้าเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มานานในการบริหารงานอาคารให้เช่าหรือสร้างคอนโดขายและประสพความสำเร็จมาด้วยดี น่าจะเก็บไว้แล้วบริหารเอง หลักการลงทุนข้อนึงที่ยึดมาตลอดคือ high risk high return ตราบใดที่เรามั่นใจและบริหารความเสี่ยงได้ ผลตอบแทนส่วนเกินที่มากกว่าจะอยู่ที่คนถือ asset
2. ถ้าบริษัทไม่มีประสบการณ์มากนัก เป็นแต่เรื่องสร้างตึกเสียส่วนใหญ่ การเลี่ยงความเสี่ยงในอนาคตจากความผันผวนดอก่บี้ยและเงินเฟ้อ การขายออกเพื่อเอากำไรที่เห็นในวันนี้น่าจะดีถว่า
3. บริษัทที่มีสายป่านไม่ยาว มีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนสูง การขายเพื่อเอาเงินสดมาสร้างโครงการใหม่น่าจะปลอดภัยต่อฐานะการเงินบริษัทครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 7
รบกวนสอบถามหน่อยคับ
ผมไม่เข้าใจงบ tcap
ในส่วนทุนของtcap มีผุ้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เกือบเท่าส่วนทุนหลัก
เวลาคำนวณ de pbv จะต้องไม่นำส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมารวม
เหมือนใน set คิดให้หรือเปล่าคับ
แล้วการมีผู้ถือหุ้นในลักษณะนี้หมายถึง เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ. หรือเปล่าคับ
แล้วในการคำนวณการสำรอง หรือคิดเงินกองทุนชั้นต่างๆ
รายการผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีเกณฑ์การคิดแตกต่างจากปกติหรือไม่คับ
ผมไม่เข้าใจงบ tcap
ในส่วนทุนของtcap มีผุ้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เกือบเท่าส่วนทุนหลัก
เวลาคำนวณ de pbv จะต้องไม่นำส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมารวม
เหมือนใน set คิดให้หรือเปล่าคับ
แล้วการมีผู้ถือหุ้นในลักษณะนี้หมายถึง เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ. หรือเปล่าคับ
แล้วในการคำนวณการสำรอง หรือคิดเงินกองทุนชั้นต่างๆ
รายการผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีเกณฑ์การคิดแตกต่างจากปกติหรือไม่คับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 8
การคำนวณต้องเอามารวมหมดครับ ตาม set หากไม่รวมถือว่าไม่ถูกต้องครับ เราะว่าอัตราส่วน D/E บอกถึงความเสี่ยงทางการเงินหรือความสามารถในการอยู่รอดโดยรวมของบริษัท การไม่เอาส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย คำถามคือบริษัม้สียงลดเลงหรือ หนี้สินแบ่งได้หรือว่าส่วนนี้ของผุ้ถือหุ้นหลัก ก้อนนี้ของส่วนน้อย เจ้าหนี้ฟ้องแยกหรือ เวลาปรับโครงสร้างหนี้มีไหมปรับเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นหลัก ด้าการคำนวณ PBV ก็เช่นกันต้องรวมครับnut776 เขียน:รบกวนสอบถามหน่อยคับ
ผมไม่เข้าใจงบ tcap
ในส่วนทุนของtcap มีผุ้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เกือบเท่าส่วนทุนหลัก
เวลาคำนวณ de pbv จะต้องไม่นำส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมารวม
เหมือนใน set คิดให้หรือเปล่าคับ
แล้วการมีผู้ถือหุ้นในลักษณะนี้หมายถึง เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ. หรือเปล่าคับ
แล้วในการคำนวณการสำรอง หรือคิดเงินกองทุนชั้นต่างๆ
รายการผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีเกณฑ์การคิดแตกต่างจากปกติหรือไม่คับ
ส่วนที่บอก TCAp หรือ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ผมลงไปดุงบการเงินแล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (ผู้ถือหุ้นหลัก) 27,504.7 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย 6,300.1 ล้านบาท ต่างกันมากพอควร ทำให้งง เหมือนกันตัวเลข ณ 31/03/54
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย จะหมายถึงส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษริษัทย่อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ.เข้าใจว่าคือย่อยของบริษัทร่วมอีกที) การคิด BIS II นั้นใช้ส่วนผู้ถือผู้ถือหุ้นรวม (สถาบันการเงิน) ครับ ไม่แยกของผู้ถือผู้ถือหุ้นหลักหรือย่อยหากต้องเพิ่มทุน การคำนวณในงบไมต้องคำนวณเองเพราะยากวุ่นวาย สถาบันการเงินจะเปิดเผยไว้ว่า ณ ตอนนี้ BIS เกินมากน้อยเท่าไร เราใช้ประโยชน์โดยดูว่า สถาบันการเงินที่มี BIS II มากๆ แสดงว่าโอกาสในการขยายสืนเชื่อมาก ย่อมเติบโต แมโกสทางธุรกิสสูง หากมี BIS ต่ำก็อาจต้องเพิ่มทุนหากจะขยายพร์อตสินเชื่อ หรือการทำธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 9
แก้ แมโกสทางธุรกิสสูง เป็นมีโอกาสทางธุรกิสสูงsun_cisa2 เขียน:การคำนวณต้องเอามารวมหมดครับ ตาม set หากไม่รวมถือว่าไม่ถูกต้องครับ เราะว่าอัตราส่วน D/E บอกถึงความเสี่ยงทางการเงินหรือความสามารถในการอยู่รอดโดยรวมของบริษัท การไม่เอาส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย คำถามคือบริษัม้สียงลดเลงหรือ หนี้สินแบ่งได้หรือว่าส่วนนี้ของผุ้ถือหุ้นหลัก ก้อนนี้ของส่วนน้อย เจ้าหนี้ฟ้องแยกหรือ เวลาปรับโครงสร้างหนี้มีไหมปรับเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นหลัก ด้าการคำนวณ PBV ก็เช่นกันต้องรวมครับnut776 เขียน:รบกวนสอบถามหน่อยคับ
ผมไม่เข้าใจงบ tcap
ในส่วนทุนของtcap มีผุ้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เกือบเท่าส่วนทุนหลัก
เวลาคำนวณ de pbv จะต้องไม่นำส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมารวม
เหมือนใน set คิดให้หรือเปล่าคับ
แล้วการมีผู้ถือหุ้นในลักษณะนี้หมายถึง เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ. หรือเปล่าคับ
แล้วในการคำนวณการสำรอง หรือคิดเงินกองทุนชั้นต่างๆ
รายการผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีเกณฑ์การคิดแตกต่างจากปกติหรือไม่คับ
ส่วนที่บอก TCAp หรือ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ผมลงไปดุงบการเงินแล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (ผู้ถือหุ้นหลัก) 27,504.7 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย 6,300.1 ล้านบาท ต่างกันมากพอควร ทำให้งง เหมือนกันตัวเลข ณ 31/03/54
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย จะหมายถึงส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษริษัทย่อยเท่านั้น ไม่ใช่เป็นบ.ร่วม หรือ บ.ย่อย ของอีกบ.เข้าใจว่าคือย่อยของบริษัทร่วมอีกที) การคิด BIS II นั้นใช้ส่วนผู้ถือผู้ถือหุ้นรวม (สถาบันการเงิน) ครับ ไม่แยกของผู้ถือผู้ถือหุ้นหลักหรือย่อยหากต้องเพิ่มทุน การคำนวณในงบไมต้องคำนวณเองเพราะยากวุ่นวาย สถาบันการเงินจะเปิดเผยไว้ว่า ณ ตอนนี้ BIS เกินมากน้อยเท่าไร เราใช้ประโยชน์โดยดูว่า สถาบันการเงินที่มี BIS II มากๆ แสดงว่าโอกาสในการขยายสืนเชื่อมาก ย่อมเติบโต แมโกสทางธุรกิสสูง หากมี BIS ต่ำก็อาจต้องเพิ่มทุนหากจะขยายพร์อตสินเชื่อ หรือการทำธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 11
พอดีในข้อมูล กลต มี TCAP 2 ตัว ตัวหนึ่งๆ ก่อนการซื้อ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ถามมาเข้าใจถูกต้องแล้วครับ เนื่องจากธนาคารธนชาตเข้าถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทยในอัตราร้อยละ 47.58 ในเดือนเมษายน 2553 และเมื่อรวมส่วนที่บริษัทฯถืออยู่ก่อนอีกร้อยละ 4.97 รวมเป็นการถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทยในอัตราร้อยละ 52.55 จะเห็นว่าส่วนส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมหรือผู้ถือหุ้นส่วนน้อยนั้นมีสัดส่วนราว 47% จึงเป็นไปได้ที่จะแสดงสัดสาวนดังกล่าว สินทรัพย์สุทธิของธนาคารชาตก่อนรวมมีส่วนของเจ้าของ (สินทรัพย์สุทธิ) 40.6 หมื่นล้าน แต่ธนาคารนครหลวงไทยมีสินทรัพย์สุทธิ 52.7 หมื่นล้าน (รายละเอียดในหมายเหตุ 2.3 การปันส่วนต้นทุนการรวมธุรกิจ)
case นี้เป็น merger ไม่ใช่การเข้า takeover แต่ในมาตรฐานการบัญชีการรวมธุรกิจ ต้องระบุใครเป็นผู้ซื้อ ใครเป็นผู้ขาย และจึงจะปฏิบัติตามแนววิธีตามที่กำหนดในมาตรฐาน
ในทางการเงินเราจะดูว่าใครได้ประโยชน์ในการรวมกิจการ ราคาหุ้นที่จะ swap กันใครได้ใครเสียประโยชน์ เป็น fair deal หรือไม่ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงเพราะ deal จบไปแล้ว ในการพิจารณาว่าจะลงทุนหรือไม่ให้ดูว่า การรวมกันนี้มี synergy หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่า V(AB) >V(A)+V(B) นั่นคือมูลค่าหลังรวมจะสูงกว่ามูลค่าก่อนรวมกิจการ
ในกรณีนี้ไม่ใช่การ take over แต่ป็นการรวมธุรกิจจริงๆ จึงวิเคราะห์ด้วยหลัก merger จะดีกว่าลักษณะกิจการทั่วๆไป
กรณีบริษัททั่วไปจะเป็นการจัดโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจากการถือหุ้นเป็นใยแมงมุม จะจัดให้โครงสร้างที่ชัดเจน รายการระหว่างกันจะนำมาตัดในรายการระหว่างกันเมื่อทำงบการเงินรวม บริทที่มีรายการระหว่างกันอยู่แม้การงบรวมแล้ว เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ รายการบริษัทที่เกี่ยวข้องกันมาก ต้องระวังเพราโอกาสจะ saiphon ได้ง่าย ตัวอย่างแบบนี้ลองไปดูตัวอย่างดูยานภัณฑ์ (YP)
case นี้เป็น merger ไม่ใช่การเข้า takeover แต่ในมาตรฐานการบัญชีการรวมธุรกิจ ต้องระบุใครเป็นผู้ซื้อ ใครเป็นผู้ขาย และจึงจะปฏิบัติตามแนววิธีตามที่กำหนดในมาตรฐาน
ในทางการเงินเราจะดูว่าใครได้ประโยชน์ในการรวมกิจการ ราคาหุ้นที่จะ swap กันใครได้ใครเสียประโยชน์ เป็น fair deal หรือไม่ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงเพราะ deal จบไปแล้ว ในการพิจารณาว่าจะลงทุนหรือไม่ให้ดูว่า การรวมกันนี้มี synergy หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่า V(AB) >V(A)+V(B) นั่นคือมูลค่าหลังรวมจะสูงกว่ามูลค่าก่อนรวมกิจการ
ในกรณีนี้ไม่ใช่การ take over แต่ป็นการรวมธุรกิจจริงๆ จึงวิเคราะห์ด้วยหลัก merger จะดีกว่าลักษณะกิจการทั่วๆไป
กรณีบริษัททั่วไปจะเป็นการจัดโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งจากการถือหุ้นเป็นใยแมงมุม จะจัดให้โครงสร้างที่ชัดเจน รายการระหว่างกันจะนำมาตัดในรายการระหว่างกันเมื่อทำงบการเงินรวม บริทที่มีรายการระหว่างกันอยู่แม้การงบรวมแล้ว เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ รายการบริษัทที่เกี่ยวข้องกันมาก ต้องระวังเพราโอกาสจะ saiphon ได้ง่าย ตัวอย่างแบบนี้ลองไปดูตัวอย่างดูยานภัณฑ์ (YP)
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 12
ขอแก้ไขเพิ่มเติมที่ตอบ คุณ NUT776
เมือวานเป็นไข้ เลยไม่ได้ดูรายละเอียด deal นี้ ไม่ใช่การ swap หุ้น แต่เป็นการตั้งโตะซื้อตามปกติ ที่มี่ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมามก น่าจะเกิดจากการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น ไม่สำเร็จภายในงวดที่ปิดบัญชีสิ้นปีล่าสุดจะเข้าควบคุมได้เกือบ 100% ดังนั้นไมน่าจะปรากฏรายการนี้อยู่ น้องชายผมทำอบู่ บล.นครหลวงไทย ตามหมายเหตุน่าจะปิดตัวเมื่อปีทีแล้วเรียบร้อย เอาเข้าจริงเพิ่งจัดการเสร็จตอนใกล้สิ้นปี 54 นี้เอง จึงคาดว่า deal นี้น่าจะข้ามปีและอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติ process สุดท้าย เลนมียอดนี้ค้างสูงเกือบครึ่ง คาดว่างวดถัดๆไปน่าจะลดลงนะครับ
เมือวานเป็นไข้ เลยไม่ได้ดูรายละเอียด deal นี้ ไม่ใช่การ swap หุ้น แต่เป็นการตั้งโตะซื้อตามปกติ ที่มี่ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมามก น่าจะเกิดจากการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น ไม่สำเร็จภายในงวดที่ปิดบัญชีสิ้นปีล่าสุดจะเข้าควบคุมได้เกือบ 100% ดังนั้นไมน่าจะปรากฏรายการนี้อยู่ น้องชายผมทำอบู่ บล.นครหลวงไทย ตามหมายเหตุน่าจะปิดตัวเมื่อปีทีแล้วเรียบร้อย เอาเข้าจริงเพิ่งจัดการเสร็จตอนใกล้สิ้นปี 54 นี้เอง จึงคาดว่า deal นี้น่าจะข้ามปีและอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุมัติ process สุดท้าย เลนมียอดนี้ค้างสูงเกือบครึ่ง คาดว่างวดถัดๆไปน่าจะลดลงนะครับ
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 14
รบกวนสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับกรณีเงินกู้บริษัทในเครือที่มีสกุลเงินต่างประเทศครับ
หากบริษัทที่เราลงทุนทำการกู้เงินจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ต่างประเทศตอนกลางปี
เป็นสกุลเงินดอลล่า และยังไม่ถึงกำหนดชำระในปีนั้นๆ
เมื่อตอนบริษัททำรายงานงบกำไรขาดทุนสิ้นงวด
1) บริษัทจะต้องทำการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนตอนสิ้นปีหรือไม่ครับ สำหรับกรณีกู้จากบริษัทในเครือ
2) ถ้าต้องปรับ หากมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ตรงส่วนใดครับ
3) บริษัทจะมีภาระทางภาษีจากกำไรขาดทุนส่วนนี้รึเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
หากบริษัทที่เราลงทุนทำการกู้เงินจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ต่างประเทศตอนกลางปี
เป็นสกุลเงินดอลล่า และยังไม่ถึงกำหนดชำระในปีนั้นๆ
เมื่อตอนบริษัททำรายงานงบกำไรขาดทุนสิ้นงวด
1) บริษัทจะต้องทำการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนตอนสิ้นปีหรือไม่ครับ สำหรับกรณีกู้จากบริษัทในเครือ
2) ถ้าต้องปรับ หากมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ตรงส่วนใดครับ
3) บริษัทจะมีภาระทางภาษีจากกำไรขาดทุนส่วนนี้รึเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
Inactive investor
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 15
ท่าทางอาจารย์สรรพงศ์จะไม่สบายหนัก เห็นบ่นมาเป็นอาทิตย์แล้ว เลยเข้ามาช่วยตอบให้ค่ะsatit เขียน:ถามเรื่อง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น หรือส่วนต่ำมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้น
อันนี้คิดจาก ราคาในตลาดเทียบกับราคาพาร์ หรือ bv ครับ
ช่วยชี้แนะในรายละเอียดหน่อยครับ
ส่วนเกินหรือส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเกินเมื่อราคาตลาดวันที่ขายหุ้นสูงหรือต่ำกว่าราคาพาร์
ในวันที่ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์ การบันทึกบัญชีคือ เดบิตเงินสด (เงินสดเพิ่ม) เครดิต ทุนเรือนหุ้น (ทุนเรือนหุ้นเพิ่มเท่ากับราคาพาร์) และเครดิต ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ( ส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่ม เท่ากับเงินสดที่ได้รับ ลบ พาร์)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 16
1. ต้องแปลงค่าทุกสิ้นงวดด้วยอัตราปิด (อัตราขายเนื่องจากเป็นหนี้)doodeemak เขียน:รบกวนสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับกรณีเงินกู้บริษัทในเครือที่มีสกุลเงินต่างประเทศครับ
หากบริษัทที่เราลงทุนทำการกู้เงินจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ต่างประเทศตอนกลางปี
เป็นสกุลเงินดอลล่า และยังไม่ถึงกำหนดชำระในปีนั้นๆ
เมื่อตอนบริษัททำรายงานงบกำไรขาดทุนสิ้นงวด
1) บริษัทจะต้องทำการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนตอนสิ้นปีหรือไม่ครับ สำหรับกรณีกู้จากบริษัทในเครือ
2) ถ้าต้องปรับ หากมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ตรงส่วนใดครับ
3) บริษัทจะมีภาระทางภาษีจากกำไรขาดทุนส่วนนี้รึเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
2. กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นถือเป็นรายได้หรือค่่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิสำหรับงวดนั้น
3. เรื่องของภาษีนั้น ตามที่เข้าใจ (หมายความว่าคุณต้องไป confirm อีกที เดี๋ยวอาจารย์วิเชษฐ์อาจเข้ามาช่วย) กฎสรรพากรจะคล้่ายกับกฎบัญชี แต่ไม่เหมือนทีเดียว เพราะกรมสรรพากร ระบุให้ใช้อัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในการแปลงค่า แต่กฎบัญชีให้ใช้อัตราปิด ดังนั้น ภาษีที่ต้องจ่ายกรมสรรพากรจะรวมรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้สินจำนวนนี้ตามอัตราที่สรรพากรกำหนด (อ่านข้อ 2 ในประกาศที่แนบมา ประกาศเกิดปี 2548 ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นมีการ update อีกหรือเปล่า)
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป.132/2548
เรื่อง การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำเกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.71/2541 เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในการปฏิบัติการเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การหักภาษีตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การออกใบ กำกับภาษี และการลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก)
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 17
ไม่แน่ใจว่าถามตรงนี้จะถูกที่รึเปล่า คืออยากถามเกี่ยวกับหนี้สินนอกงบดุลอ่ะครับ
คือบริษัทสามารถสร้างหนี้สินได้ด้วยการปล่อยให้บริษัทร่วมกู้เงิน แล้วบริษัทแม่ ค้ำประกัน อย่างงี้ก็มีด้วยเหรอครับ อ่านในหนังสือของอาจารย์ภาพร เล่มแกะเงื่อนงบการเงิน หน้า 146 147 แล้วมันมีวิธีอื่นอีกมั้ยครับที่จะซ้อนหนี้สินนอกงบดุล เห็นแล้วน่ากลัวๆจริง ปกติชอบซื้อหุ้นที่มี d/e ไม่เกิน สองเท่า ไม่นึกว่าจะมีหนี้สินนอกงบดุลให้บริษัทแต่งเล่นได้อีก
นอกจากนี้เห็นมีเรื่องหนี้สินที่ไม่เข้าพวกหนี้สินในงบดุล แต่อาจเป็นหนี้สินได้ในอานาคตเช่น การค้ำประกัน ภาระผูกพัน ภาวะหนี้สินที่จะเกิดขึ้น พวกนี้เราควรเอามาร่วมมั้ยครับเวลาจะคำนวณ D/E
คือบริษัทสามารถสร้างหนี้สินได้ด้วยการปล่อยให้บริษัทร่วมกู้เงิน แล้วบริษัทแม่ ค้ำประกัน อย่างงี้ก็มีด้วยเหรอครับ อ่านในหนังสือของอาจารย์ภาพร เล่มแกะเงื่อนงบการเงิน หน้า 146 147 แล้วมันมีวิธีอื่นอีกมั้ยครับที่จะซ้อนหนี้สินนอกงบดุล เห็นแล้วน่ากลัวๆจริง ปกติชอบซื้อหุ้นที่มี d/e ไม่เกิน สองเท่า ไม่นึกว่าจะมีหนี้สินนอกงบดุลให้บริษัทแต่งเล่นได้อีก
นอกจากนี้เห็นมีเรื่องหนี้สินที่ไม่เข้าพวกหนี้สินในงบดุล แต่อาจเป็นหนี้สินได้ในอานาคตเช่น การค้ำประกัน ภาระผูกพัน ภาวะหนี้สินที่จะเกิดขึ้น พวกนี้เราควรเอามาร่วมมั้ยครับเวลาจะคำนวณ D/E
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 18
ทำไมคำถามนี้คุ้นๆ เหมือนตอบไปแล้วที่ไหนสักที่cyber-shot เขียน:ไม่แน่ใจว่าถามตรงนี้จะถูกที่รึเปล่า คืออยากถามเกี่ยวกับหนี้สินนอกงบดุลอ่ะครับ
คือบริษัทสามารถสร้างหนี้สินได้ด้วยการปล่อยให้บริษัทร่วมกู้เงิน แล้วบริษัทแม่ ค้ำประกัน อย่างงี้ก็มีด้วยเหรอครับ อ่านในหนังสือของอาจารย์ภาพร เล่มแกะเงื่อนงบการเงิน หน้า 146 147 แล้วมันมีวิธีอื่นอีกมั้ยครับที่จะซ้อนหนี้สินนอกงบดุล เห็นแล้วน่ากลัวๆจริง ปกติชอบซื้อหุ้นที่มี d/e ไม่เกิน สองเท่า ไม่นึกว่าจะมีหนี้สินนอกงบดุลให้บริษัทแต่งเล่นได้อีก
นอกจากนี้เห็นมีเรื่องหนี้สินที่ไม่เข้าพวกหนี้สินในงบดุล แต่อาจเป็นหนี้สินได้ในอานาคตเช่น การค้ำประกัน ภาระผูกพัน ภาวะหนี้สินที่จะเกิดขึ้น พวกนี้เราควรเอามาร่วมมั้ยครับเวลาจะคำนวณ D/E
วิธีหลบหนี้สินนอกงบดุลมีหลายวิธี เช่น
1. ให้บริษัทในเครือ (ที่ไม่ใช่บริษัทย่อย) กู้เงินแทน แล้วบริษัทแม่ค้ำประกัน จากนั้นเงินส่งกลับมาให้แม่ในลักษณะการซื้อสินค้าจากแม่ หรือปันผล หรือ Management Fee ฯลฯ แม่บันทึกรายได้แทนหนี้สิน
2. ไม่บันทึกประมาณการหนี้สิน เช่น ผลประโยชน์พนักงานก่อนปี 54 บริษัทบางบริษัทมีหนี้สินหลายร้อยล้านที่ไม่นำมาบันทึก แต่ปี 54 ได้บันนืึกเรียบร้อยแล้ว (แต่บางบริษัท เช่น CP เลือกทยอยตั้งหนี้สิน 5 ปี ก็ยังเหลือเวลาหลบหนี้สินนอกงบดุลอีก 4 ปี กว่าจะล้วงออกมาบันทึกหมด) สมัยก่อนก็มีหนี้สินโบนัสกรรมการที่ผูกติดกับราคาหุ้นก็ไม่ได้นำมาบันทึก แต่ปี 54 มาตรฐานการบัญชีกวาดมาบันทึกเกือบหมดแล้ว ตอนนี้ก็เหลืออนุพันธ์ทางการเงิน derivatives กับหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่บางบริษัทยังไม่บันทึก รอปี 56 ก็น่าจะโดนบังคับให้บันทึกหมด การไม่บันทึกหนี้สินนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายลด กำไรเพิ่ม อีกด้วย
3. หลบหนี้สินโดยการทำว่าขายสินทรัพย์หรือสินค้าทั้งที่มีสัญญาซื้อคืน เช่น ขายลูกหนี้และรับเงินมาทั้งๆ ที่มีสัญญาซื้อคืนลูกหนี้ด้วยราคาที่กำหนดไว้ หรือยังรับผิดชอบจ่ายหนี้สูญให้ ฯลฯ ธุรกรรมอย่างนี้เท่ากับกู้ยืมเงินโดยมีสินทรัพย์ (ที่หลอกว่าขาย) เป็นหลักประกัน ทำให้บริษัทสามารถหลบไม่บันทึกหนี้สิน การไม่บันทึกหนี้สินแบบนี้ทำให้รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม
4. อีกธุรกรรมหนึ่งที่เห็นบ่อยๆ คือ การขายแล้วเช่ากลับคืน sale and lease back (ไม่บันทึกหนี้สิน บางครั้งแถมบันทึกกำไรอีกต่างหาก)
ทั่วๆ ไปก็มีประมาณนี้ แต่ลูกเล่นเกี่ยวกับหนี้สินนี้มีสารพัด เช่น ที่ธนาคารเคยเล่นในอดีต คือ จัดประเภทหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหุ้นบุริมสิทธิที่สามารถไถ่ถอนได้เป็นส่วนทุนแทนที่จะเป็นหนี้สิน หนังสือของอาจารย์หลายเล่ม เช่น กลบัญชี น่าจะมีพูดถึง
ในเรื่องของภาระผูกพันตามสัญญาหรือการค้ำประกันว่าจะนำมารวมคำนวณใน DE หรือไม่นั้น ขึ้นกับสถานการณ์ บางทีก็ควรนำมารวม เช่น แม่ค้ำประกันลูกที่ไม่ใช่บริษัทย่อย ถ้าเรารู้ว่าลูกร่อแร่ เราก็อาจนำจำนวนที่แม่ค้ำประกันมารวม (อาจไม่นำมารวมทั้งจำนวนเพราะเวลาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ แม่อาจไม่ต้องจ่ายหนี้เต็ม หรือเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกก่อนจึงจะมาไล่เบี้ยแม่)
เรื่องรวมหรือไม่รวมนี้ต้องดูเป็นรายการๆ ไป
บางครั้ง ถ้าเรานำเงินต้นมารวม อย่าลืมนำดอกเบี้ยมารวมล่ะ เพราะดอกเบี้ยมีผลกระทบกับ ratios หลายอย่าง
พออาจารย์สรรพงศ์หาย อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการวิเคราะห์ได้ แต่ตอนนี้ปล่อยให้อาจารย์นอนไปก่อน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 289
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณอาจารย์มากครับที่สละเวลามาตอบด้วยตัวเองparporn เขียน:ท่าทางอาจารย์สรรพงศ์จะไม่สบายหนัก เห็นบ่นมาเป็นอาทิตย์แล้ว เลยเข้ามาช่วยตอบให้ค่ะsatit เขียน:ถามเรื่อง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น หรือส่วนต่ำมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้น
อันนี้คิดจาก ราคาในตลาดเทียบกับราคาพาร์ หรือ bv ครับ
ช่วยชี้แนะในรายละเอียดหน่อยครับ
ส่วนเกินหรือส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเกินเมื่อราคาตลาดวันที่ขายหุ้นสูงหรือต่ำกว่าราคาพาร์
ในวันที่ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์ การบันทึกบัญชีคือ เดบิตเงินสด (เงินสดเพิ่ม) เครดิต ทุนเรือนหุ้น (ทุนเรือนหุ้นเพิ่มเท่ากับราคาพาร์) และเครดิต ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ( ส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่ม เท่ากับเงินสดที่ได้รับ ลบ พาร์)
ขอเพิ่มเติมหน่อยครับ เป็นcaseที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่แปลงหนี้เป็นทุุน สมมุติว่ามีหนี้ 2 บาท ขอแฮคัทได้ 1 บาท เหลือหนี้ 1 บาท แล้วบริษัทขอจ่ายเป็นหุ้น (พาร์ 1 บาท) ให้เจ้าหนี้ 2 หุ้นๆละ .50 บาท ครับ
1.ต้องบันทึกกำไรจากแฮคัท 1 บาท ในงบกำไรขาดทุน และจะไปปรากฏเป็นกำไรสะสมในงบดุลที่เพิ่มขึ้น 1 บาทใช่มั้ยครับ
2.ในงบดุล ส่วนของเจ้าหนี้จะหายไป 2 บาท
3.ส่วนผู้ถือหุ้น มีส่วนทุนเรือนหุ้นเพิ่ม 2 บาท (2 หุ้นๆละ 1 บาท) และต้องบันทึกส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 1 บาท (2 หุ้นๆละ .50 บาท) ด้วยใช่มั้ยครับ ผมเข้าใจถูกต้องใช่มั้ยครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 20
ตอบคำถาม 3) บริษัทมีต้องนำกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมาคำนวณกำไรทางภาษีครับ โดยอัตราแลกเปลี่ยนให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธปท ประกาศ ดังที่ อ.ภาพร ได้ตอบไว้ครับdoodeemak wrote:
รบกวนสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับกรณีเงินกู้บริษัทในเครือที่มีสกุลเงินต่างประเทศครับ
หากบริษัทที่เราลงทุนทำการกู้เงินจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ต่างประเทศตอนกลางปี
เป็นสกุลเงินดอลล่า และยังไม่ถึงกำหนดชำระในปีนั้นๆ
เมื่อตอนบริษัททำรายงานงบกำไรขาดทุนสิ้นงวด
1) บริษัทจะต้องทำการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนตอนสิ้นปีหรือไม่ครับ สำหรับกรณีกู้จากบริษัทในเครือ
2) ถ้าต้องปรับ หากมีกำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้ตรงส่วนใดครับ
3) บริษัทจะมีภาระทางภาษีจากกำไรขาดทุนส่วนนี้รึเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณอาจารย์ครับ กระทู้ผมถามไปแล้วหน้าห้องแต่สงสัยโดน admin ลบ เขาบอกว่าถามผิดที่ ผมก็งง เลยลองมาถามใหม่ในนี้ดูครับ ไม่รู้ว่าจะผิดที่อีกรึเปล่าparporn เขียน:ทำไมคำถามนี้คุ้นๆ เหมือนตอบไปแล้วที่ไหนสักที่cyber-shot เขียน:ไม่แน่ใจว่าถามตรงนี้จะถูกที่รึเปล่า คืออยากถามเกี่ยวกับหนี้สินนอกงบดุลอ่ะครับ
คือบริษัทสามารถสร้างหนี้สินได้ด้วยการปล่อยให้บริษัทร่วมกู้เงิน แล้วบริษัทแม่ ค้ำประกัน อย่างงี้ก็มีด้วยเหรอครับ อ่านในหนังสือของอาจารย์ภาพร เล่มแกะเงื่อนงบการเงิน หน้า 146 147 แล้วมันมีวิธีอื่นอีกมั้ยครับที่จะซ้อนหนี้สินนอกงบดุล เห็นแล้วน่ากลัวๆจริง ปกติชอบซื้อหุ้นที่มี d/e ไม่เกิน สองเท่า ไม่นึกว่าจะมีหนี้สินนอกงบดุลให้บริษัทแต่งเล่นได้อีก
นอกจากนี้เห็นมีเรื่องหนี้สินที่ไม่เข้าพวกหนี้สินในงบดุล แต่อาจเป็นหนี้สินได้ในอานาคตเช่น การค้ำประกัน ภาระผูกพัน ภาวะหนี้สินที่จะเกิดขึ้น พวกนี้เราควรเอามาร่วมมั้ยครับเวลาจะคำนวณ D/E
วิธีหลบหนี้สินนอกงบดุลมีหลายวิธี เช่น
1. ให้บริษัทในเครือ (ที่ไม่ใช่บริษัทย่อย) กู้เงินแทน แล้วบริษัทแม่ค้ำประกัน จากนั้นเงินส่งกลับมาให้แม่ในลักษณะการซื้อสินค้าจากแม่ หรือปันผล หรือ Management Fee ฯลฯ แม่บันทึกรายได้แทนหนี้สิน
2. ไม่บันทึกประมาณการหนี้สิน เช่น ผลประโยชน์พนักงานก่อนปี 54 บริษัทบางบริษัทมีหนี้สินหลายร้อยล้านที่ไม่นำมาบันทึก แต่ปี 54 ได้บันนืึกเรียบร้อยแล้ว (แต่บางบริษัท เช่น CP เลือกทยอยตั้งหนี้สิน 5 ปี ก็ยังเหลือเวลาหลบหนี้สินนอกงบดุลอีก 4 ปี กว่าจะล้วงออกมาบันทึกหมด) สมัยก่อนก็มีหนี้สินโบนัสกรรมการที่ผูกติดกับราคาหุ้นก็ไม่ได้นำมาบันทึก แต่ปี 54 มาตรฐานการบัญชีกวาดมาบันทึกเกือบหมดแล้ว ตอนนี้ก็เหลืออนุพันธ์ทางการเงิน derivatives กับหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่บางบริษัทยังไม่บันทึก รอปี 56 ก็น่าจะโดนบังคับให้บันทึกหมด การไม่บันทึกหนี้สินนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายลด กำไรเพิ่ม อีกด้วย
3. หลบหนี้สินโดยการทำว่าขายสินทรัพย์หรือสินค้าทั้งที่มีสัญญาซื้อคืน เช่น ขายลูกหนี้และรับเงินมาทั้งๆ ที่มีสัญญาซื้อคืนลูกหนี้ด้วยราคาที่กำหนดไว้ หรือยังรับผิดชอบจ่ายหนี้สูญให้ ฯลฯ ธุรกรรมอย่างนี้เท่ากับกู้ยืมเงินโดยมีสินทรัพย์ (ที่หลอกว่าขาย) เป็นหลักประกัน ทำให้บริษัทสามารถหลบไม่บันทึกหนี้สิน การไม่บันทึกหนี้สินแบบนี้ทำให้รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม
4. อีกธุรกรรมหนึ่งที่เห็นบ่อยๆ คือ การขายแล้วเช่ากลับคืน sale and lease back (ไม่บันทึกหนี้สิน บางครั้งแถมบันทึกกำไรอีกต่างหาก)
ทั่วๆ ไปก็มีประมาณนี้ แต่ลูกเล่นเกี่ยวกับหนี้สินนี้มีสารพัด เช่น ที่ธนาคารเคยเล่นในอดีต คือ จัดประเภทหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบใบสำคัญแสดงสิทธิหรือหุ้นบุริมสิทธิที่สามารถไถ่ถอนได้เป็นส่วนทุนแทนที่จะเป็นหนี้สิน หนังสือของอาจารย์หลายเล่ม เช่น กลบัญชี น่าจะมีพูดถึง
ในเรื่องของภาระผูกพันตามสัญญาหรือการค้ำประกันว่าจะนำมารวมคำนวณใน DE หรือไม่นั้น ขึ้นกับสถานการณ์ บางทีก็ควรนำมารวม เช่น แม่ค้ำประกันลูกที่ไม่ใช่บริษัทย่อย ถ้าเรารู้ว่าลูกร่อแร่ เราก็อาจนำจำนวนที่แม่ค้ำประกันมารวม (อาจไม่นำมารวมทั้งจำนวนเพราะเวลาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ แม่อาจไม่ต้องจ่ายหนี้เต็ม หรือเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกก่อนจึงจะมาไล่เบี้ยแม่)
เรื่องรวมหรือไม่รวมนี้ต้องดูเป็นรายการๆ ไป
บางครั้ง ถ้าเรานำเงินต้นมารวม อย่าลืมนำดอกเบี้ยมารวมล่ะ เพราะดอกเบี้ยมีผลกระทบกับ ratios หลายอย่าง
พออาจารย์สรรพงศ์หาย อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการวิเคราะห์ได้ แต่ตอนนี้ปล่อยให้อาจารย์นอนไปก่อน
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 22
ถูกต้องค่ะsatit เขียน:ขอบคุณอาจารย์มากครับที่สละเวลามาตอบด้วยตัวเองparporn เขียน:ท่าทางอาจารย์สรรพงศ์จะไม่สบายหนัก เห็นบ่นมาเป็นอาทิตย์แล้ว เลยเข้ามาช่วยตอบให้ค่ะsatit เขียน:ถามเรื่อง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น หรือส่วนต่ำมูลค่าในส่วนของผู้ถือหุ้น
อันนี้คิดจาก ราคาในตลาดเทียบกับราคาพาร์ หรือ bv ครับ
ช่วยชี้แนะในรายละเอียดหน่อยครับ
ส่วนเกินหรือส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเกินเมื่อราคาตลาดวันที่ขายหุ้นสูงหรือต่ำกว่าราคาพาร์
ในวันที่ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์ การบันทึกบัญชีคือ เดบิตเงินสด (เงินสดเพิ่ม) เครดิต ทุนเรือนหุ้น (ทุนเรือนหุ้นเพิ่มเท่ากับราคาพาร์) และเครดิต ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ( ส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่ม เท่ากับเงินสดที่ได้รับ ลบ พาร์)
ขอเพิ่มเติมหน่อยครับ เป็นcaseที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่แปลงหนี้เป็นทุุน สมมุติว่ามีหนี้ 2 บาท ขอแฮคัทได้ 1 บาท เหลือหนี้ 1 บาท แล้วบริษัทขอจ่ายเป็นหุ้น (พาร์ 1 บาท) ให้เจ้าหนี้ 2 หุ้นๆละ .50 บาท ครับ
1.ต้องบันทึกกำไรจากแฮคัท 1 บาท ในงบกำไรขาดทุน และจะไปปรากฏเป็นกำไรสะสมในงบดุลที่เพิ่มขึ้น 1 บาทใช่มั้ยครับ
2.ในงบดุล ส่วนของเจ้าหนี้จะหายไป 2 บาท
3.ส่วนผู้ถือหุ้น มีส่วนทุนเรือนหุ้นเพิ่ม 2 บาท (2 หุ้นๆละ 1 บาท) และต้องบันทึกส่วนต่ำมูลค่าหุ้น 1 บาท (2 หุ้นๆละ .50 บาท) ด้วยใช่มั้ยครับ ผมเข้าใจถูกต้องใช่มั้ยครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 23
อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 24
ช่วยถามใหม่ในห้อง "ค่่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ" ได้ไหมคะ เด็กเขายังรับผิดชอบตอบคำถามถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ มันสำคัญสำหรับคะแนนที่เขาจะได้ค่ะcyber-shot เขียน:อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 25
ถามแล้วนะครับอาจารย์ครับparporn เขียน:ช่วยถามใหม่ในห้อง "ค่่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ" ได้ไหมคะ เด็กเขายังรับผิดชอบตอบคำถามถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ มันสำคัญสำหรับคะแนนที่เขาจะได้ค่ะcyber-shot เขียน:อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- beethoven
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 26
ขอรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหลักการวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทในกลุ่มการเงิน/ธนาคาร/ประกัน ให้ด้วยครับ
เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจ และการแสดงงบการเงินที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ค่า ROE, D.E ROIC เหมือนจะใช้งานได้ไม่ดีนักในธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้นเราควรพิจารณา profitability, cash flow, financial health และ efficiency อย่างไรจึงจะเหมาะสม ขอบคุณครับ
เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจ และการแสดงงบการเงินที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ค่า ROE, D.E ROIC เหมือนจะใช้งานได้ไม่ดีนักในธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้นเราควรพิจารณา profitability, cash flow, financial health และ efficiency อย่างไรจึงจะเหมาะสม ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 27
การวิเคราะห์กลุ่มธนาคาร นิยมใช้ CAMEL ดังนี้ขอรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหลักการวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทในกลุ่มการเงิน/ธนาคาร/ประกัน ให้ด้วยครับ
เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจ และการแสดงงบการเงินที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ค่า ROE, D.E ROIC เหมือนจะใช้งานได้ไม่ดีนักในธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้นเราควรพิจารณา profitability, cash flow, financial health และ efficiency อย่างไรจึงจะเหมาะสม ขอบคุณครับ
ขอรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหลักการวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทในกลุ่มการเงิน/ธนาคาร/ประกัน ให้ด้วยครับ
เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจ และการแสดงงบการเงินที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ค่า ROE, D.E ROIC เหมือนจะใช้งานได้ไม่ดีนักในธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้นเราควรพิจารณา profitability, cash flow, financial health และ efficiency อย่างไรจึงจะเหมาะสม ขอบคุณครับ
C = Capital ดูว่าเงินกองทุนเพียงพอที่จะ Absorb Loss จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้หรือไม่ เช่นในกรณีวิกฤต Capiatal อาจดูได้จาก Capital Ratio (BIS Ratio) หากเป็น บริษัทหลักทรัพย์ ดูจาก Net Capital Ratio
A = Asset Quality ดูว่าคุณภาพของสินทรัพย์ดีหรือไม่ เช่น คุณภาพของสินเชื่อ เงินลงทุน โดยอาจดูจากการจัดชั้นสินรัพย์ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เปรียบเทียบกับสินเชื่อรวม
M = Management ผู้บริหาร มีความสำคัญยิ่ง อาจดูจากประวัติในอดีต ว่ามีจริยธรรมในการบริหารเพียงใด สไตร์การบริหาร วิสัยทัศน์ การให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย การมีธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง ความโปร่งใส
Earning = การทำกำไร มี ROE ROA เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละงวด หรือเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน คุณภาพการทำกำไร (quality of Earning)
Liquidity = สภาพคล่อง วิเคราะห์ได้จากงบการเงินว่ากิจการถือสินทรัพย์สภาพคล่องมากน้อยเพียงใด มีหมายเหตุประกอบงบการเงิน เดี๋ยวนี้จะมีการเปิดเผยเกี่ยวกับ Liquidity GAP
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 29
1. Bank Management & Financial Services (Finance, Insurance and Real Estate) by Peter Rose (Author), Sylvia Hudgins (Author)
2. An Introduction to Banking: Liquidity Risk and Asset-Liability Management (Securities Institute)
by Moorad Choudhry
3. Financial Institutions Management: A Risk Management Approach (McGraw-Hill/Irwin Series in Finance, Insurance and Real Estate) by Anthony Saunders (Author) (Highly Recommended)
2. An Introduction to Banking: Liquidity Risk and Asset-Liability Management (Securities Institute)
by Moorad Choudhry
3. Financial Institutions Management: A Risk Management Approach (McGraw-Hill/Irwin Series in Finance, Insurance and Real Estate) by Anthony Saunders (Author) (Highly Recommended)
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 30
ในงบกำไร ขาดทุน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด จะรวมอยู่ใน กำไรขั้นต้น และ SG&A อยู่แล้วใช่มั้ยครับ แต่มันไม่ใ่ช่รายการที่จ่ายไปจริง จึงต้องบวกกลับในงบกระแสเงินสดครับ
เพราะ ว่า ตอนคำนวณ Free cash flow ต้อง ใช้ ebit หัก ภา๊ษีเงินได้ แล้วค่อยบวกDA กลับ แสดงว่าถ้าเป็นเช่นข้างบน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ก็โดนคำนวณรวมในการจ่ายภาษีด้วยใช่มั้ยครับ
เพราะ ว่า ตอนคำนวณ Free cash flow ต้อง ใช้ ebit หัก ภา๊ษีเงินได้ แล้วค่อยบวกDA กลับ แสดงว่าถ้าเป็นเช่นข้างบน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ก็โดนคำนวณรวมในการจ่ายภาษีด้วยใช่มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก