ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 1
ที่่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์มีตัวตนที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ซึ่งบริษัทมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ การให้เช่าหรือการนำมาใช้ในการบริหารงาน การผลิต และการส่งสินค้า เป็นต้น ที่่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ต้องไม่มีไว้เพื่อการลงทุนหรือหวังผลกำไรใดๆ จากการขายสินทรัพย์ (เพราะถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ไม่ใช่ที่่ดิน อาคาร และอุปกรณ์)
ตามปกติบริษัทจะบันทึกรายจ่ายเป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์นั้น "ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์" ก็เช่นกัน บริษัทจะบันทึกรายจ่ายเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล (แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที) เมื่อบริษัทมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในการดำเนินงานตามปกติต่อเนื่องไปนานกว่า 1ปี ตัวอย่างของรายการที่ประกอบขึ้นเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ประกอบก็เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
เมื่อบริษัทเกิดรายจ่ายจากการจัดหาสินทรัพย์มาตอนเริ่มแรก บริษัทจะตัดสินว่า บรัษัทควรบันทึกรายจ่ายนั้นเป็นสินทรัพย์ในงบดุลหรือค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุน หากบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่ารายจ่ายนั้นจะให้ประโยชน์กับบริษัทในการดำเนิน งานตามปกติไปในอนาคตเกินกว่า 1 ปี บริษัทจะรับรู้รายจ่ายนั้นเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
หากบริษัทซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์มาไว้เพื่อใช้งาน รายจ่ายที่สามารถรับรู้เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ประกอบด้วยราคาซื้อ ภาษีนำเข้า ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้ ค่าขนส่งแรกเริ่ม ค่าติดตั้ง หักส่วนลดการค้า เป็นต้น หากบริษัทก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์ขึ้นมาใช้เอง รายจ่ายที่สามารถบันทึกเป็นอาคารและอุปกรณ์จะประกอบด้วยค่าวัสดุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เช่น ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าวัสดุทางอ้อม ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์การผลิต รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร และอุปกรณ์นั้น
นอกจากรายจ่ายที่จ่ายเงินไปแล้วจะสามารถบันทึกเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อตอนเริ่มแรก รายจ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป (รายจ่ายในอนาคต) ก็สามารถบันทึกรวมเป็นต้นทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย และค่าบูรณะสถานที่ตั้งของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อเลิกใช้งาน ซึ่งเป็นรายจ่ายในอนาคตที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนแม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเวลา นี้ บริษัทต้องประเมินจำนวนรายจ่ายในอนาคตเหล่านี้และบันทึกรวมเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ทันทีที่บันทึกที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ในงบดุล
หลังจากที่บริษัทบันทึกที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ในงบดุลแล้ว ในงวดบัญชีต่อๆ ไป บริษัทสามารถแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลได้ 2 วิธีคือ วิธีราคาทุน และวิธีราคาที่ตีใหม่
วิธีราคาทุน
บริษัทต้องแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมหักค่าเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ค่าเสื่อมราคาสะสม คือ ผลสะสมของค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละงวด ค่าเสื่อมราคาสะสมถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าหรือบัญชีหักของสินทรัพย์
ค่าเสื่อมราคา คือ การเฉลี่ยราคาตามบัญชีของอาคารและอุปกรณ์ในงบดุลไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุนตามอายุการใช้งานของอาคารและอุปกรณ์นั้น บริษัทต้องตัดอาคารและอุปกรณ์ไปเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากภายหลังจากที่บริษัทได้นำอาคารและอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ในการดำเนินงาน มูลค่าของอาคารและอุปกรณ์ย่อมลดลงไปจากวันที่ซื้อหรือสร้าง เนื่องจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานหรือตามกาลเวลา
วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาที่นิยมมี 4 วิธี คือ วิธีเส้นตรง วิธีคำนวณตามจำนวนผลผลิต วิธียอดลดลงทวีคูณ และวิธีผลรวมจำนวนปี
บริษัทจะเริ่มต้นคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน และต้องหยุดคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อบริษัท จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือเมื่อบริษัทเลิกใช้หรือขายสินทรัพย์นั้นออกไป
ข้อควรระวัง!!! ที่่ดินเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัดจึงไม่มีการตัดค่าเสื่อม ราคา แต่อาคารและอุปกรณ์นั้นมีอายุการใช้งานจำกัด และเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของสินทรัพย์จะลดลง ไม่ว่าจะมีการใช้งานหรือไม่
การเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ คือ บัญชีปรับมูลค่าหรือบัญชีหักของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์อีกรายการหนึ่ง ค่าเผื่อการด้อยค่าเกิดขึ้นเมื่อราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่แสดงในงบดุลมีจำนวนสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจากการ ใช้หรือขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์นั้น ในกรณีดังกล่าว บริษัทต้องบันทึกลดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลและรับรู้รายการ "ขาดทุนจากการด้อยค่า" ของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที หากต่อมาภายหลัง ราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เพิ่มสูงขึ้น บริษัทสามารถกลับบัญชีขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้ว มาเป็นกำไรหรือค่าใช้จ่ายติดลบในงวดที่ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์มีราคาเพิ่มสูงขึ้น
วิธีตีราคาที่ตีใหม่
บริษัทต้องแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรม (ราคาที่ใกล้เคียงราคาตลาด) หักค่าเสื่อมราคาสะสม (ตามมูลค่ายุติธรรม) หักค่าเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
การตีราคาใหม่ต้องทำโดยสม่ำเสมอเพื่อมิให้ราคาในงบดุลแตกต่างจากราคาตลาดมาก จนเกินไป เมื่อตีราคาใหม่แล้วสินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น บริษัทจะบันทึกเพิ่มที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล ขณะเดียวกับที่บันทึก "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" เป็นกำไรเบ็ดเสร็จอื่นในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่ต่อมาภายหลัง ถ้าราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดต่ำลงจากราคาที่ตีใหม่ (แต่ไม่ต่ำกว่าราคาทุนเดิม) บริษัทจะบันทึกลดมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลง ขณะเดียวกับที่บันทึกลด "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" แต่ถ้าราคาที่ตีใหม่ลดต่ำลงจากราคาทุนเดิม บริษัทต้องล้าง "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" ให้หมด และบันทึกราคาที่ลดเกินราคาทุนเดิมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที
การบันทึกกำไรขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีการตีราคาใหม่มีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับการตีราคาใหม่ ต่างกันตรงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการด้อยค่าจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างฉับพลัน ทันทีเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง ในขณะที่ผลกระทบจากการตีราคาใหม่เกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปตามวงจรเศรษฐกิจหรือ ธุรกิจ
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์มีตัวตนที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ซึ่งบริษัทมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ การให้เช่าหรือการนำมาใช้ในการบริหารงาน การผลิต และการส่งสินค้า เป็นต้น ที่่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ต้องไม่มีไว้เพื่อการลงทุนหรือหวังผลกำไรใดๆ จากการขายสินทรัพย์ (เพราะถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ไม่ใช่ที่่ดิน อาคาร และอุปกรณ์)
ตามปกติบริษัทจะบันทึกรายจ่ายเป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อบริษัทมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์นั้น "ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์" ก็เช่นกัน บริษัทจะบันทึกรายจ่ายเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล (แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที) เมื่อบริษัทมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในการดำเนินงานตามปกติต่อเนื่องไปนานกว่า 1ปี ตัวอย่างของรายการที่ประกอบขึ้นเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ประกอบก็เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
เมื่อบริษัทเกิดรายจ่ายจากการจัดหาสินทรัพย์มาตอนเริ่มแรก บริษัทจะตัดสินว่า บรัษัทควรบันทึกรายจ่ายนั้นเป็นสินทรัพย์ในงบดุลหรือค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุน หากบริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่ารายจ่ายนั้นจะให้ประโยชน์กับบริษัทในการดำเนิน งานตามปกติไปในอนาคตเกินกว่า 1 ปี บริษัทจะรับรู้รายจ่ายนั้นเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
หากบริษัทซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์มาไว้เพื่อใช้งาน รายจ่ายที่สามารถรับรู้เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ประกอบด้วยราคาซื้อ ภาษีนำเข้า ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้ ค่าขนส่งแรกเริ่ม ค่าติดตั้ง หักส่วนลดการค้า เป็นต้น หากบริษัทก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์ขึ้นมาใช้เอง รายจ่ายที่สามารถบันทึกเป็นอาคารและอุปกรณ์จะประกอบด้วยค่าวัสดุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เช่น ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าวัสดุทางอ้อม ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์การผลิต รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร และอุปกรณ์นั้น
นอกจากรายจ่ายที่จ่ายเงินไปแล้วจะสามารถบันทึกเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อตอนเริ่มแรก รายจ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป (รายจ่ายในอนาคต) ก็สามารถบันทึกรวมเป็นต้นทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย และค่าบูรณะสถานที่ตั้งของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อเลิกใช้งาน ซึ่งเป็นรายจ่ายในอนาคตที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนแม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเวลา นี้ บริษัทต้องประเมินจำนวนรายจ่ายในอนาคตเหล่านี้และบันทึกรวมเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ทันทีที่บันทึกที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ในงบดุล
หลังจากที่บริษัทบันทึกที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ในงบดุลแล้ว ในงวดบัญชีต่อๆ ไป บริษัทสามารถแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลได้ 2 วิธีคือ วิธีราคาทุน และวิธีราคาที่ตีใหม่
วิธีราคาทุน
บริษัทต้องแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมหักค่าเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ค่าเสื่อมราคาสะสม คือ ผลสะสมของค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละงวด ค่าเสื่อมราคาสะสมถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าหรือบัญชีหักของสินทรัพย์
ค่าเสื่อมราคา คือ การเฉลี่ยราคาตามบัญชีของอาคารและอุปกรณ์ในงบดุลไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุนตามอายุการใช้งานของอาคารและอุปกรณ์นั้น บริษัทต้องตัดอาคารและอุปกรณ์ไปเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากภายหลังจากที่บริษัทได้นำอาคารและอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ในการดำเนินงาน มูลค่าของอาคารและอุปกรณ์ย่อมลดลงไปจากวันที่ซื้อหรือสร้าง เนื่องจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานหรือตามกาลเวลา
วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาที่นิยมมี 4 วิธี คือ วิธีเส้นตรง วิธีคำนวณตามจำนวนผลผลิต วิธียอดลดลงทวีคูณ และวิธีผลรวมจำนวนปี
บริษัทจะเริ่มต้นคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน และต้องหยุดคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อบริษัท จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย หรือเมื่อบริษัทเลิกใช้หรือขายสินทรัพย์นั้นออกไป
ข้อควรระวัง!!! ที่่ดินเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัดจึงไม่มีการตัดค่าเสื่อม ราคา แต่อาคารและอุปกรณ์นั้นมีอายุการใช้งานจำกัด และเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของสินทรัพย์จะลดลง ไม่ว่าจะมีการใช้งานหรือไม่
การเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ คือ บัญชีปรับมูลค่าหรือบัญชีหักของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์อีกรายการหนึ่ง ค่าเผื่อการด้อยค่าเกิดขึ้นเมื่อราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่แสดงในงบดุลมีจำนวนสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจากการ ใช้หรือขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์นั้น ในกรณีดังกล่าว บริษัทต้องบันทึกลดที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลและรับรู้รายการ "ขาดทุนจากการด้อยค่า" ของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที หากต่อมาภายหลัง ราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เพิ่มสูงขึ้น บริษัทสามารถกลับบัญชีขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้ว มาเป็นกำไรหรือค่าใช้จ่ายติดลบในงวดที่ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์มีราคาเพิ่มสูงขึ้น
วิธีตีราคาที่ตีใหม่
บริษัทต้องแสดงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรม (ราคาที่ใกล้เคียงราคาตลาด) หักค่าเสื่อมราคาสะสม (ตามมูลค่ายุติธรรม) หักค่าเผื่อการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
การตีราคาใหม่ต้องทำโดยสม่ำเสมอเพื่อมิให้ราคาในงบดุลแตกต่างจากราคาตลาดมาก จนเกินไป เมื่อตีราคาใหม่แล้วสินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น บริษัทจะบันทึกเพิ่มที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล ขณะเดียวกับที่บันทึก "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" เป็นกำไรเบ็ดเสร็จอื่นในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่ต่อมาภายหลัง ถ้าราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดต่ำลงจากราคาที่ตีใหม่ (แต่ไม่ต่ำกว่าราคาทุนเดิม) บริษัทจะบันทึกลดมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลง ขณะเดียวกับที่บันทึกลด "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" แต่ถ้าราคาที่ตีใหม่ลดต่ำลงจากราคาทุนเดิม บริษัทต้องล้าง "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" ให้หมด และบันทึกราคาที่ลดเกินราคาทุนเดิมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที
การบันทึกกำไรขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ที่มีการตีราคาใหม่มีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับการตีราคาใหม่ ต่างกันตรงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการด้อยค่าจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างฉับพลัน ทันทีเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง ในขณะที่ผลกระทบจากการตีราคาใหม่เกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปตามวงจรเศรษฐกิจหรือ ธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 3
ตามมาตรฐานการบัญชี ไม่จำเป็นค่ะ ใครจะประเมินราคาก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี แต่โดยส่วนมากบริษัทชอบที่จะใช้ผู้ประเมินราคาอิสระเนื่องจากขี้เกียจมีปัญหากับผู้ตรวจสอบบัญชี เพราะการประเมินราคาที่มาจากผู้ประเมินอิสระ (บุคคลภายนอก) สำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีนั้นน่าเชื่อถือกว่าการที่บริษัทประเมินราคาเองchatchai เขียน:การตีราคาสินทรัพย์ถาวรใหม่นั้น มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดไหมครับว่าใครเป็นผู้ประเมินมูลค่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ประเมินอิสระก็ต้องประเมินราคาตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีเช่นกันค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 4
1.การตีราคาใหม่นั้นมีข้อบังคับไหมครับว่าต้องทำทุกกี่ปี
2.มูลค่าของทรัพย์สินที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาจะแสดงไว้ในรายการอะไรครับ
3.เราจะทราบได้อย่างไรว่าบริษัทมีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าเสื่อมราคา
2.มูลค่าของทรัพย์สินที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาจะแสดงไว้ในรายการอะไรครับ
3.เราจะทราบได้อย่างไรว่าบริษัทมีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าเสื่อมราคา
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 5
1. ไม่มีการบังคับนะคะว่าต้องทำทุกกี่ปี แต่การตีราคาต้องทำอย่างสม่ำเสมอ โดยความถี่นั้นขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของราคาตลาดของสินทรัพย์ที่จะตีราคา (ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญบ่อยครั้ง ต้องตีราคาสินทรัพย์ใหม่ทุกปี)nearly เขียน:1.การตีราคาใหม่นั้นมีข้อบังคับไหมครับว่าต้องทำทุกกี่ปี
2.มูลค่าของทรัพย์สินที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาจะแสดงไว้ในรายการอะไรครับ
3.เราจะทราบได้อย่างไรว่าบริษัทมีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าเสื่อมราคา
2. - 3. ถ้ามีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าเสื่อมราคา กิจการจะแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในส่วนของ "นโยบายการบัญชี" และส่วนรายละเอียดจำนวนเงินว่าเปลี่ยนไปเท่าไร อาจแสดงไว่้ในหมายเหตุเรื่อง "ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์" ค่ะ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณคับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 9
คำถาม ในส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงยืดอายุการตัดค่าเสื่อมจากเดิม ที่ตัดค่าเสื่อม ของ อาคารจากเดิม 15-20 ปี เป็น 30 ปี
มีผลอย่างไงต่องบการเงิน และในส่วนของค่าเสื่อมราคาต้องปรับปรุงอย่างใด
ในส่วนของที่ดิน เมื่อมีการตีราคายุติธรรม ทั้งนี้มีทั้งราคาสูงขึ้นและราคาที่ลดลง บริษัทฯบันทึกรายการดังกล่าวไว้ที่ใดในงบการเงินในส่วนของผลต่างการตีราคาดังกล่าว
อันนี้ผมถามเล่นๆเอาความรู้ล่ะกัน
มีไหมว่า เปลี่ยนแปลงวิธีค่าเสื่อมจากวิธีเส้นตรงเป็นวิธีอื่นๆเลย อันนี้สามารถทำได้ในเมืองไทยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงยืดอายุการตัดค่าเสื่อมจากเดิม ที่ตัดค่าเสื่อม ของ อาคารจากเดิม 15-20 ปี เป็น 30 ปี
มีผลอย่างไงต่องบการเงิน และในส่วนของค่าเสื่อมราคาต้องปรับปรุงอย่างใด
ในส่วนของที่ดิน เมื่อมีการตีราคายุติธรรม ทั้งนี้มีทั้งราคาสูงขึ้นและราคาที่ลดลง บริษัทฯบันทึกรายการดังกล่าวไว้ที่ใดในงบการเงินในส่วนของผลต่างการตีราคาดังกล่าว
อันนี้ผมถามเล่นๆเอาความรู้ล่ะกัน
มีไหมว่า เปลี่ยนแปลงวิธีค่าเสื่อมจากวิธีเส้นตรงเป็นวิธีอื่นๆเลย อันนี้สามารถทำได้ในเมืองไทยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 10
คำถามข้อแรก หากบริษัทยืดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ออกไป กิจการต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่ตามอายุการใช้งานที่เปลี่ยนไป (เช่น หลังจากปีที่ 10 ของอายุการใช้งานมีการยืดอายุการใช้งานออกไปจาก 15 ปี เป็น 30 ปี แทนที่กิจการจะคิดค่าเสื่อมจากอายุการใช้งานอีก 5 ปีที่เหลือ กิจการต้องคิดจากอายุการใช้งานอีก 20 ปี) การเปลี่ยนอายุการใช้งาน ในทางบัญชีถือว่าเป็นการเปลี่ยนประมาณการ (change in estimate) ต้องใช้วีธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป (prospective) กล่าวง่ายๆก็คือกิจการต้องใช้ค่าเสื่อมราคาใหม่ตั้งแต่รอบบัญชีที่มีการ เปลี่ยนแปลงเป็นต้นไป (ปีที่ 11)miracle เขียน:คำถาม ในส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงยืดอายุการตัดค่าเสื่อมจากเดิม ที่ตัดค่าเสื่อม ของ อาคารจากเดิม 15-20 ปี เป็น 30 ปี
มีผลอย่างไงต่องบการเงิน และในส่วนของค่าเสื่อมราคาต้องปรับปรุงอย่างใด
ในส่วนของที่ดิน เมื่อมีการตีราคายุติธรรม ทั้งนี้มีทั้งราคาสูงขึ้นและราคาที่ลดลง บริษัทฯบันทึกรายการดังกล่าวไว้ที่ใดในงบการเงินในส่วนของผลต่างการตีราคาดังกล่าว
อันนี้ผมถามเล่นๆเอาความรู้ล่ะกัน
มีไหมว่า เปลี่ยนแปลงวิธีค่าเสื่อมจากวิธีเส้นตรงเป็นวิธีอื่นๆเลย อันนี้สามารถทำได้ในเมืองไทยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
และเนื่องจากโดยปกติแล้วค่าเสื่อมราคาจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จะทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคามีจำนวนน้อยลงกว่าปีก่อนหน้า (เนื่องจากตัวหารซึ่งคืออายุการใช้งานที่เหลือมากขึ้น)
คำถามข้อที่สอง เมื่อตีราคาใหม่แล้วสินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น บริษัทจะบันทึกเพิ่มที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในงบดุล ขณะเดียวกับที่บันทึก "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" เป็นกำไรเบ็ดเสร็จอื่นในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่ต่อมาภายหลัง ถ้าราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดต่ำลงจากราคาที่ตีใหม่ (แต่ไม่ต่ำกว่าราคาทุนเดิม) บริษัทจะบันทึกลดมูลค่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลง ขณะเดียวกับที่บันทึกลด "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" แต่ถ้าราคาที่ตีใหม่ลดต่ำลงจากราคาทุนเดิม บริษัทต้องล้าง "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์" ให้หมด และบันทึกราคาที่ลดเกินราคาทุนเดิมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที
ส่วนคำถามสุดท้าย ทำได้ โดยมีข้อแม้ว่ารูปแบบการใช้งานของสินทรัพย์เปลี่ยนไป บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีคิดค่าเสื่อมให้เหมาะสมขึ้นค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 12
คำถามต่อเนื่องจากคำถามที่หนึ่ง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการตัดค่าเสื่อมจาก 10 ปี เป็น 15 ปีหรือ 20 ปีหรือ 30 ปี เพิ่มขึ้น
มีการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลต่อรายจ่ายที่ลดลง ไปด้วย
ดังนั้น กระแสเงินสดดำเนินการดีขึ้นกว่าปกติ
เมื่อค่าใช้จ่ายลดลงจากค่าเสื่อมราคาที่เปลี่ยนแปลงไป กำไรก่อนภาษีและจ่ายดอกเบี้ย (EBIT) เพิ่มขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ (ขอไล่ให้ครบวงจร logic ที่เรียนรู้มา)
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการตัดค่าเสื่อมจาก 10 ปี เป็น 15 ปีหรือ 20 ปีหรือ 30 ปี เพิ่มขึ้น
มีการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลต่อรายจ่ายที่ลดลง ไปด้วย
ดังนั้น กระแสเงินสดดำเนินการดีขึ้นกว่าปกติ
เมื่อค่าใช้จ่ายลดลงจากค่าเสื่อมราคาที่เปลี่ยนแปลงไป กำไรก่อนภาษีและจ่ายดอกเบี้ย (EBIT) เพิ่มขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ (ขอไล่ให้ครบวงจร logic ที่เรียนรู้มา)
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 13
ถูกต้องแล้วค่ะmiracle เขียน:คำถามต่อเนื่องจากคำถามที่หนึ่ง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการตัดค่าเสื่อมจาก 10 ปี เป็น 15 ปีหรือ 20 ปีหรือ 30 ปี เพิ่มขึ้น
มีการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลต่อรายจ่ายที่ลดลง ไปด้วย
ดังนั้น กระแสเงินสดดำเนินการดีขึ้นกว่าปกติ
เมื่อค่าใช้จ่ายลดลงจากค่าเสื่อมราคาที่เปลี่ยนแปลงไป กำไรก่อนภาษีและจ่ายดอกเบี้ย (EBIT) เพิ่มขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ (ขอไล่ให้ครบวงจร logic ที่เรียนรู้มา)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 14
เมื่อค่่าเสื่อมราคาลดลง กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนจะสูงขึ้น แต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่ถูกกระทบ เพราะค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดเงินสดtop_poppy เขียน:ถูกต้องแล้วค่ะmiracle เขียน:คำถามต่อเนื่องจากคำถามที่หนึ่ง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการตัดค่าเสื่อมจาก 10 ปี เป็น 15 ปีหรือ 20 ปีหรือ 30 ปี เพิ่มขึ้น
มีการปรับปรุงค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลต่อรายจ่ายที่ลดลง ไปด้วย
ดังนั้น กระแสเงินสดดำเนินการดีขึ้นกว่าปกติ
เมื่อค่าใช้จ่ายลดลงจากค่าเสื่อมราคาที่เปลี่ยนแปลงไป กำไรก่อนภาษีและจ่ายดอกเบี้ย (EBIT) เพิ่มขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ (ขอไล่ให้ครบวงจร logic ที่เรียนรู้มา)
แม้ในงบกระแสเงินสด เราจะเห็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายการบวกกลับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากิจการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น การบวกกลับแค่เป็นกรรมวิธีในการกระทบยอดกำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างให้เป็นเกณฑ์เงินสด
สรุปว่า เมื่อค่าสื่อมราคาลดลง นั่นไม่ได้ความว่่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำนินงานจะ "ดีขึ้นกว่าปกติ"
เพราะในความเป็นจริง เงินสดน่าจะไหลออกจากบริษัทไปในปีที่มีซื้อเครื่องจักรแล้ว (หรือเวลาใดก็ได้ที่จ่ายเจ้าหนี้ ถ้าบริษัทซื้อเครื่องจักรด้วยเงินเชื่อ) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงค่าเสื่อมราคาจึงมีผลต่องบกำไรขาดทุน ไม่ใช่งบกระแสเงินสด
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 15
มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 16
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้miracle เขียน:มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 22
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 17
รบกวนขยายความตรงที่บอกว่า " กระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่ถูกกระทบ เพราะค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดเงินสด " และ "ในงบกระแสเงินสด เราจะเห็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายการบวกกลับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากิจการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น การบวกกลับแค่เป็นกรรมวิธีในการกระทบยอดกำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างให้เป็นเกณฑ์เงินสด"
ผมงงว่าสรุปแล้วค่าเสื่อมราคาจะไปแสดงหรือกระทบในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรือไม่ครับ หรือถ้าแสดงจะไปกระทบยังไงครับ เนื่องจากมันไม่ใช่เงินสดรับออกจากการดำเนินงานจริงๆ
รบกวนหน่อยนะครับ กำลังเริ่มศึกษา
ขอบพระคุณมากครับ
ผมงงว่าสรุปแล้วค่าเสื่อมราคาจะไปแสดงหรือกระทบในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรือไม่ครับ หรือถ้าแสดงจะไปกระทบยังไงครับ เนื่องจากมันไม่ใช่เงินสดรับออกจากการดำเนินงานจริงๆ
รบกวนหน่อยนะครับ กำลังเริ่มศึกษา
ขอบพระคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 18
ค่าเสื่อมราคาไม่กระทบกับเงินสด เพราะเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้าง ดังนั้น เมื่อตอนออกงบกำไรขาดทุน บริษัทได้นำค่าเสื่ิมราคาไปหักจากงบกำไรขาดทุนจนทำให้กำไรสุทธิลดลง พอบริษัทนำกำไรสุทธิมาปรับให้เป็นกำไรที่เป็นเงินสดในงบกระแสเงินสด บริษัทต้องนำค...่าเสื่อมราคามาบวกกลับเข้าไปกับกำไรสุทธิ (ตามวิธีทางอ้อม) สรุปว่า ค่าเสื่ิมราคาไม่มีผลทำให้บริษัทสูญเสียเงินสดแน่นอน บริษัทจึงต้องนำค่าเสื่อมราคามาบวกกลับในงบกระแสเงินสดrmeng_bt เขียน:รบกวนขยายความตรงที่บอกว่า " กระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่ถูกกระทบ เพราะค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดเงินสด " และ "ในงบกระแสเงินสด เราจะเห็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายการบวกกลับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากิจการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น การบวกกลับแค่เป็นกรรมวิธีในการกระทบยอดกำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างให้เป็นเกณฑ์เงินสด"
ผมงงว่าสรุปแล้วค่าเสื่อมราคาจะไปแสดงหรือกระทบในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรือไม่ครับ หรือถ้าแสดงจะไปกระทบยังไงครับ เนื่องจากมันไม่ใช่เงินสดรับออกจากการดำเนินงานจริงๆ
รบกวนหน่อยนะครับ กำลังเริ่มศึกษา
ขอบพระคุณมากครับ
ถ้าสงสัยอะไรเพิ่มเติมลองไปอ่านใน 'งบกระแสเงินสด' ของ siravut ดูได้นะคะ จะมีอธิบายอยู่ในนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 19
แล้ว ใช้ตัวดอกเบี้ยตัวไหนที่คิดเรื่อง ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยละครับaai_aai เขียน:เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้miracle เขียน:มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 20
การวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ตัวเลขที่นำมาใช้ต้องปรับปรุง ตัวเลขดอกเบี้ยจ่ายครับ0
UpvoteDownvote
aai_aai wrote:
miracle wrote:
มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ
แล้ว ใช้ตัวดอกเบี้ยตัวไหนที่คิดเรื่อง ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยละครับ
_________________
อดีตเป็นเหตุอดีตที่ผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ปล่อยให้ผ่านไป
ปัจจุบันเป็นเหตุปัจจุบันขณะนี้เดี๋ยวนี้ เราเลือกได้
อนาคตเป็นผล และแสวงหาความสุขได้ทุกสถานการณ์
โดยกรณีที่มีการรวมดอกเบี้ยดป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน จะมีการเปิดเผยจำนวนต้นทุนการกู้ยืม(ดอกเบี้ยจ่าย)ที่รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างงวดบัญชี ให้นำตัวเลขนี้ไปรวมกับดอกเบี้ยจ่ายที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุน เท่านี้ก็จะได้ตัวเลขภาระดอกเบี้ยของงวดบัญชีนั้น ซึ่งนำไปใช้ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เช่น อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่นิยมใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสามารถการจ่ายดอกเบี้ยของกิจการตรับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 21
[quote="aai_aai"][quote="miracle"]มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)[/quote]
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ[/quote]
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ
กรณีที่เรากู้เงินมาสร้างอาคาร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างอาคารสามารถนำมาบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารในงบดุลได้ แต่ถ้ากรณีที่อาคารนั้นสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าใช้งาน ดอกเบี้ยที่ยังคงเกิดขึ้นจากการเงินกู้มาสร้างอาคารนั้นจะไม่สามารถบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารได้อีก แต่จะเปลี่ยนเป็นต้นทุนทางการเงิน หรือ ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนเลยใช่หรือเปล่าครับ
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)[/quote]
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ[/quote]
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ
กรณีที่เรากู้เงินมาสร้างอาคาร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างอาคารสามารถนำมาบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารในงบดุลได้ แต่ถ้ากรณีที่อาคารนั้นสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าใช้งาน ดอกเบี้ยที่ยังคงเกิดขึ้นจากการเงินกู้มาสร้างอาคารนั้นจะไม่สามารถบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารได้อีก แต่จะเปลี่ยนเป็นต้นทุนทางการเงิน หรือ ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนเลยใช่หรือเปล่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 22
[quote="itnas"][quote="aai_aai"][quote="miracle"]มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)[/quote]
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ[/quote]
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ
กรณีที่เรากู้เงินมาสร้างอาคาร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างอาคารสามารถนำมาบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารในงบดุลได้ แต่ถ้ากรณีที่อาคารนั้นสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าใช้งาน ดอกเบี้ยที่ยังคงเกิดขึ้นจากการเงินกู้มาสร้างอาคารนั้นจะไม่สามารถบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารได้อีก แต่จะเปลี่ยนเป็นต้นทุนทางการเงิน หรือ ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนเลยใช่หรือเปล่าครับ[/quote]
ถ้าพูดแบบสรุปในภาพรวม ความเข้าใจของคุณถูกต้องค่ะ
เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด
ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ
ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)[/quote]
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้
ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ[/quote]
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ
กรณีที่เรากู้เงินมาสร้างอาคาร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างอาคารสามารถนำมาบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารในงบดุลได้ แต่ถ้ากรณีที่อาคารนั้นสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าใช้งาน ดอกเบี้ยที่ยังคงเกิดขึ้นจากการเงินกู้มาสร้างอาคารนั้นจะไม่สามารถบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารได้อีก แต่จะเปลี่ยนเป็นต้นทุนทางการเงิน หรือ ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนเลยใช่หรือเปล่าครับ[/quote]
ถ้าพูดแบบสรุปในภาพรวม ความเข้าใจของคุณถูกต้องค่ะ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณครับ