จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipitvitt

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipitvitt

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากคำที่ว่า “Simple is the best” ในการลงทุนนั้นมีอะไรที่ยากๆเต็มไปหมด
มีสมการทางการเงินที่ดูแล้วชวนปวดเศียรเวียนกระหม่อมอย่างแรง
แต่พอเอาเข้าจริงๆกลับไม่ค่อยเห็นมีคนนำมาใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

จะว่าไม่เคยเห็นก็ไม่ได้ เพราะผมเคยเห็นกองทุนหนึ่งเป็นกองทุนที่ใช้การคำนวนเชิงปริมาณที่ค่อนข้างซับซ้อน
โดยว่าจ้างนักวิชาการมาทำตัวแบบเพื่อใช้ในการลงทุน ไม่ต้องเดาให้ปวดห...ัวครับ
กองทุนกองนี้ยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้เท่าทุนเลยด้วยซ้ำ
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่ตัวแบบการคำนวณผิดพลาดอะไรหรอกครับ แต่มันเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการซื้อๆขายๆหุ้นเข้าๆออกๆนั่นเอง
ถ้าตัวแบบคำนวณว่าต้องขายก็ต้องขาย บอกว่าต้องซื้อก็ซื้อ ทำไปทำมาค่าใช้จ่ายเลยสูงมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทน
และนี่เป็นเรื่องที่ยืนยันในชั้นแรกว่า “Simple is the best”

การลงทุนของกองทุนที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ไม่ได้พิจารณาเลือกลงทุนในธุรกิจ
หากแต่เลือกลงทุนเพราะมันเป็นเพียงตราสารทางการเงินซึ่งมีผลตอบแทนและความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเป็นปัจจัยหลัก
แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ไม่ได้มองเพียงเพราะมันเป็นหุ้นหรือเป็นเพียงตราสารทางการเงินที่ใช้ความไม่แน่นอนของราคามาใช้ในการตัดสินใจลงทุน

มูลค่าของหุ้นซึ่งในวันหนึ่งมันจะสะท้อนออกมาผ่านราคาหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรระยะยาว
และความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน
และความสามารถในการแข่งขันนั้นจะต้องคงทนและสามารถปกป้องความสามารถในการทำกำไรระยะยาวของบริษัท
ไม่ให้คู่แข่งขันทั้งรายเก่ารายใหม่สามารถเข้ามาสร้างผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในระยะยาวได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ธุรกิจน้ำอัดลมของโค๊ก เป๊บซี่ และอีกหลายๆสินค้าหรือธุรกิจทั้งในประเทศและในโลกนี้

พิจารณาความสามารถในการแข่งขันนั้นให้มองหาสองสิ่ง

1) อุปสรรคในการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งทั้งในและนอกอุตสาหกรรม (Barriors to entry) และ
2) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ (Operational Effectiveness) เรามาดูกันที่ละอย่างครับ

อุปสรรคในการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งทั้งในและนอกอุตสาหกรรม (Barriors to entry)
ธุรกิจใดก็ตามที่ไม่สามารถสกัดกั้นคู่แข่งได้ ธุรกิจนั้นขาดซึ่งความสามารถในการแข่งขันโดยสิ้นเชิง
แม้ในระยะสั้นจะเหนือกว่าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ถ้าคู่แข่งสามารถรุกเข้ามาในกำแพงแห่งการแข่งขันได้
และบริษัทที่เหนือกว่าไม่ใช้ความได้เปรียบที่เหนือกว่าสกัดให้ถอยออกไป ไม่นานคู่แข่งก็จะสามารถลดความเสียเปรียบลงได้ในไม่ช้า
ความได้เปรียบที่ว่านั้นหมายถึง ขนาดของการผลิต ขนาดของเครือข่ายการจัดส่งสินค้า และกำลังในการทำการตลาด
และส่งเสริมการขาย ซึ่งบริษัทเจ้าตลาดจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่าคู่แข่งที่เล็กกว่าเสมอ
แต่หากคู่แข่งสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความได้เปรียบนี้จะค่อยๆลดหายไปในที่สุด
ปรากฎการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นในตลาดเครื่องดื่มชาเขียวในบ้านเรา การตอบโต้กันไปมาไม่น่าสนใจเท่า
“การเคลื่อนตัวเชิงกลยุทธ์(Strategic Moves)” ของทั้งสองฝ่าย ถ้าใครสนใจก็ติดตามไว้เป็นกรณีศึกษาก็ดีไม่น้อย

หากเมื่อใดที่ท่านพบเห็นบริษัทใดมีทั้งขนาดที่ใหญ่และมาพร้อมกับความยึดติดและความเคยชินของลูกค้านั่นแหละ

“สุดยอดธุรกิจ”

ขนาดที่ใหญ่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงจนคู่แข่งเกิดความยากลำบากในการต่อสู้ แถมสู้ไปลูกค้าก็ไม่เอาด้วย
เพราะยึดติดกับตราสินค้า และคุณภาพ รวมถึงเคยชินไปเรียบร้อยแล้ว คู่แข่งไม่เพียงแต่ต้องทำให้ต้นทุนเทียบเท่าเจ้าตลาดเท่านั้น
ยังจะต้องทำให้ต่ำกว่ามากๆเพื่อให้ลูกค้าเปลี่ยนไปลองใช้บริการบ้าง ธุรกิจแบบนี้ในบ้านเรามีอยู่ตามปั๊มน้ำมันและริมถนนต่างๆ
อยู่ตามห้างสรรพสินค้า และจุดต่างๆมากมาย แต่ถ้าเอาระดับโลกและชัดเจนมากๆคือ Louis Vitton
และสินค้าแบรนด์เนมดังๆทั้งหลายซึ่งขนาดเศรษฐีน้อยใหญ่ยอมไปต่อคิวยาวๆเพื่อเข้าไปซื้อได้เพียงชิ้นสองชิ้น
เรื่องนี้ฝรั่งใช้คำว่า “จับลูกค้ายัดใส่กรง หรือ Capivity” และนี่เป้นเหตุผลที่บริษัท LVMH เจ้าของ Louis Vitton
จึงไล่ซื้อธุรกิจสินค้า Premium Brand ทั่วโลกมาไว้ใต้ร่มเงาของบริษัทเป็นจำนวนมาก

ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ (Operational Effectiveness) คือการดำเนินงานในเรื่องเดียวกันกับคู่แข่งนั่นแหละ
แต่ทำได้ดีกว่า ต้นทุนถูกกว่า ถ้าบริษัทมีสิ่งนี้แต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ เพราะมันสามารถลอกเลียนแบบกันได้
และเทคโนโลยีใหม่ๆจะช่วยให้คู่แข่งขันตามทันในไม่ช้า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานจะต้องมาพร้อมๆกับขนาดที่ใหญ่พอ
จนคู่แข่งไม่สามารถเทียบได้ เราจะเห็นได้ในธุรกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ราคาของสินค้าในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับ
ต้นทุนเฉลี่ยของผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ถึงแม้ว่าธุรกิจนี้จะมีการขึ้นลงเป็นรอบวัฎจักร
แต่ไม่ว่าจะเป็นรอบขาลงบริษัทจะอยู่รอดด้วยสุขภาพที่ดีและคู่แข่งที่ด้อยกว่าจะล้มหายตายจากไป
พอรอบขาขึ้นกลับมาบริษัทจะมีผลดำเนินงานดีกว่าใครๆในตลาด ประสิทธิภาพในการดำเนินงานนี้
เราสามารถสังเกตุได้จาก การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบที่ถูกกว่า ดีกว่าคู่แข่ง การลงทุนที่ใช้เงินทุนน้อยกว่า
การผลิตที่ต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่า

หลายท่านอาจจะบอกว่า จริงๆแล้วมันไม่ง่ายที่จะมองหาสิ่งที่ผมกล่าวถึง
แต่ถ้าเอาใจใส่ในการเรียนรู้ ติดตามดูเหตุการณ์ต่างๆรอบๆตัว บันทึกจดจำ
ไม่นานสิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่านเห็นและเข้าใจมันได้ในทันที
เสมือน “ช่างเทคนิคผู้ชำนาณ แค่มองก็รู้แล้วว่าจะซ่อมสิ่งของเหล่านี้อย่างไร”
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
dr.momo
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
-------------

ชอบครับ ขออนุญาตลอกไปเผยแพร่ใน fb

แล้วก็ขอบคุณสำหรับบทความครับ
-----------------------
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้
และก็มีหลายสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้
สุดท้าย หลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้ เราอาจจะไม่รู้ก็ได้
boatwatkal
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอลอกด้วยคนครับ
this is a book
Sumeth6
Verified User
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 4

โพสต์

บริษัทขนาดใหญ่ มาพร้อมความยึดติดหรือเคยชินกับสินค้า... :D
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณ ท่านเจ้าของกระทู้ มากครับ

สูงสุดคืนสู่สามัญ ยิ่งเรียบง่าย ก็ยิ่งดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 6

โพสต์

วันนี้ บทความนี้ พี่มนตรี นำลง ในกรุงเทพธุรกิจ Value Way ด้วยนะครับ
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน
Blueplanet
kumchai
Verified User
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 8

โพสต์

blueplanet เขียน:แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน
เห็นด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Petey
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 9

โพสต์

blueplanet เขียน:แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นมูลค่านั้นจะเลือกลงทุนในธุรกิจ และต้องเป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ”
ผมไม่เห็นด้วย ตั้งแต่อ่านครั้งแรกแล้ว
ถ้าเราเลือกแบบนี้ ใครๆก็เข้าใจราคาหุ้นก็คงไม่ถูก บางครั้งอาจจะแพงเกินไปด้วยซ้ำ
สิ่งที่ควรทำ คือ เลือกธุรกิจที่ยากๆหน่อย ที่เราเข้าใจ
ความหมายคือ ถ้า เราเห็นว่าธุรกิจไหนกำไรดี แต่มันค่อนข้างยากสำหรับเรา
เราก็ควรทำความเข้าใจมัน ไม่ใช่อันไหนถ้ามันจะยุ่งยากหน่อยเราก็ข้ามไปแล้ว
แต่ถ้าเราพยายามแล้วดูยังงัยก็ไม่เข้าใจ เราก็จะไม่ซื้อมัน
เราอาจจะได้หุ้นที่ถูกหน่อยเพราะความยากของมัน
บางที่พี่เค้าอาจเขียนบทความให้คนอื่นอ่านด้วยมั้งครับ ไม่่ใช่แค่นักลงทุนที่มีเวลา/ความพยายามที่จะสร้าง COC ในสิ่งที่เราไม่มี edge อยู่...

นักลงทุนแม่ลูก 2+ทำงานประจำ อาจไม่มีเวลาศึกษาอุตฯอื่นๆ แต่ทำงาน ในบริษัทปิโตรฯ มา 20ปี มันก็เป็น “ธุรกิจที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” ของเค้า แต่ไม่ใช่ของคนส่วนใหญ่...
If you only think of things that you haven't got...
You could have it all and still never have enough...
So don't worry, be happy...
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ในความหมายของ ธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ ความหมายจริง ๆน่าจะหมายถึงธุรกิจอะไรก็ได้ ขอใหแค่คุณเข้่าใจมันได้ง่ายสำหรับคุณ. อย่างเช่น คนในอุตสาหกรรมยานยนตร์ ก็เข้าใจยานยนตร์ ขึ้นอยู่กับกรอบความรู้ของเค้า

ง่าย ยาก เป็นข้อคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องการตีความของแต่ละคน

ธุรกิจที่เราบอกว่ายาก. คนอื่นอาจบอกว่าง่าย. ขึ้นอยู่กับว่ารู้ หรือไม่รู้แค่นั้น :D
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
MrRobot
Verified User
โพสต์: 1291
ผู้ติดตาม: 0

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ยากหรือง่าย อยู่ที่ภูมิหลังหรือความเคยชินของเเต่ละบุคคลจริงๆครับ

ถ้าเอาพวกเราที่อยู่ในเมืองไปอยู่ในป่าคงอยากจะเอาชิวิตรอดออกมาได้ เเต่ถ้าเอาคนป่ามาอยู่ในเมืองเขาคงจะงงหาของกินของใช้ไม่เป็น ดีไม่ดีโดนไฟดูดเอาอีก เเต่เอาเป็นอันว่าไม่มีอะไรยากเกินที่เราจะศึกษามัน ถ้าเอาจริงก็ให้มันเชี่ยวชาญไปเลย :mrgreen:
VI Robot The Great
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 1

Re: จงเลือกธุรกิจที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดย พี่มน Montri Nipit

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอเอาบทความไปโพสต์ที่ชมรม หมอ VI นะครับ

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์